เวลาพวกข้าเป่านกหวีด ควายแดงอย่างพวกเอ็งก็เดินตามมาสิ
เดินตามเป็นฝูงแบบข้างล่างใช่ไหม ไม่เอา ข้าไม่ชอบเสียงนกหวีด
ประวัติศาสตร์"นกหวีด"บนเส้นทางการต่อสู้
เสียง"นกหวีด"ลั่นกรุงเสียดแทงทะลุ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ชนิดกระจุยกระจาย
สัญลักษณ์ทางการเมืองชนิดนี้ แพร่หลายอย่างรวดเร็วภายหลังกระแสการคัดค้านกฎหมายนิรโทษแผ่กระจายเป็นวงกว้าง จากสามเสนถึงราชดำเนิน ... เสียงนกหวีดกรีดร้องแหลมคมทั่วทุกหัวระแหง
สำหรับประเทศไทย “นกหวีด” กับการเมืองดูเหมือนเป็นเรื่องใหม่ ทว่าในประวัติศาสตร์โลกมีการใช้ “นกหวีด” ต่อสู้มาแล้วหลายครั้ง
ปี ค.ศ.1970 Ralph Nader นักคิด นักเขียน และนักกฎหมายชาวอเมริกัน เลือกที่จะเป่านกหวีดในรัฐสภาเพื่อเตือนรัฐบาล เนื่องด้วยเห็นว่าพฤติกรรมการบริหารบ้านเมืองส่อทุจริตมากขึ้นเรื่อยๆ
ปี ค.ศ.2008 องค์การไม่แสดงหาผลกำไรอย่าง Falling Whistles ก่อตั้งขึ้น เพื่อรณรงค์ให้เกิดสันติภาพในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ขณะนั้นมีการใช้นกหวีดเป็นสัญลักษณ์ของการประท้วง และขยายแนวร่วมผู้สนับสนุนด้วยการเชิญชวนให้ร่วมเป่านกหวีดเพื่อแสดงออก
ปี ค.ศ.2009 ชาวราเนียราว 1.5 หมื่นคน จัดชุมนุมทั่วประเทศที่จัตุรัสแห่งชัยชนะ ซึ่งเป็นย่านธุรกิจกลางกรุงบูคาเรสต์เพื่อประท้วงค่าจ้างแรงงานต่ำ ก่อนเคลื่อนขบวนไปประท้วงหน้าทำเนียบรัฐบาลเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ปัญหา โดยกลุ่มผู้ชุมนุมพากันเป่านกหวีดเป็นสัญลักษณ์หนึ่งเดียวกัน
ปี ค.ศ.2012 นโยบาย “หยุดและค้น” ของตำรวจนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา สร้างความอึดอัดให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก โดยนโยบายดังกล่าวให้อำนาจตำรวจเข้าตรวจค้นประชาชนได้อย่างอิสระ ซึ่งชาวอเมริกันมองว่าเป็นการคุกคามสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างรุนแรง จึงเกิดเป็นแคมเปญให้ประชาชนพกนกหวีดติดตัวไว้ทุกคน หากพบตำรวจเข้าตรวจค้นให้เป่านกหวีดใส่ ซึ่งถือเป็นการยอกย้อนตำรวจ เนื่องจากโดยปกติแล้วตำรวจจะเป่านกหวีดใส่ผู้ที่กระทำความผิด
ปี ค.ศ.2013 ประชาชนและสื่อมวลชนของประเทศอิรัก ในดินแดนชาวเคิร์ด ได้ร่วมกันเป่านกหวีดหน้ารัฐสภา เพื่อแสดงการต่อต้านพฤติกรรมรัฐบาลที่คุกคามและจำกัดสิทธิการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร ภายหลังเจ้าหน้าที่รัฐได้จับกุมและตั้งข้อหาสื่อมวลชนที่เสนอข่าวโจมตีรัฐบาล
ว่ากันว่า นกหวีด ถือกำเนิดขึ้นโดยมีรากมาจากสมัยจีนโบราณเมื่อ 5,000 ปีก่อน สมัยนั้นนกหวีดถูกใช้เป็นเครื่องมือของทหารยามสำหรับเตือนภัยในเวลากลางคืนหากถูกข้าศึก โดยเฉพาะถูกบุกรุกโดยมองโกเลีย
จากนั้น ช่วงศตวรรษที่ 11 นกหวีดได้วิวัฒนาการและเข้าสู่ยุโรป โดยจุดประสงค์การใช้งานแรกเริ่มคือการเตือนภัย ถัดมามีการดัดแปลงเพื่อใช้ประกอบการแสดงดนตรี
กลไกการการเกิดเสียงของนกหวีด คือการทำให้เกิดลมเคลื่อนผ่านส่วนที่มีลักษณะเป็นใบแคบๆ ซึ่งเรียกว่าฟิบเปิ้ล ก่อเกิดเป็นลมในลักษณะวนและเคลื่อนตัวจนกระทั่งอากาศสั่นสะเทือนกลายเป็นคลื่นเสียง
จำแนกประเภทนกหวีดได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ ได้แก่ นกหวีดทั่วไป (ตัวป้อมกลม) และนกหวีดแบบท่อยาว โดยทั้ง 2 แบบ มีลักษณะคล้ายคลึงกับขลุ่ย แต่นกหวีดแบบท่อยาวจะมีทั้งชนิดที่มีเสียง และไม่มีเสียง (ความถี่สูงจนคนไม่ได้ยินแต่สุนัขได้ยิน) เรียกกันว่านกหวีดเรียกสุนัข
สำหรับนกหวีดมีการพัฒนาขึ้นอย่างหลากหลาย แต่ที่ยอมรับกันว่า “ดังที่สุดในโลก” เรียกว่า “นกหวีดสตรอม” (Storm) ซึ่งสามารถใช้งานได้แม้กระทั่งเปียกน้ำ
ที่มาของนกหวีดสตรอม เว็ปไซต์ Safehouse ระบุไว้ว่า เกิดขึ้นเมื่อ 100 ปีที่แล้ว จากการคิดค้นของศาสตราจารย์ทางฟิสิกส์ชื่อ Hemholtz ซึ่งได้คิดค้นกล่องที่จะใช้สร้างคลื่นเสียงขึ้นมาโดยพบว่าคลื่นเสียงที่เกิดขึ้นนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของกล่อง ซึ่งอาจจะลดเสียงหรือเพิ่มเสียงก็ได้
จากนั้นในปี 1988 นักวิทยาศาสตร์ชื่อ โฮเวิร์ด ไรท์ ได้คิดค้นนกหวีดสตรอมขึ้น โดยสร้างให้สามารถใช้งานได้ในทุกสภาพอากาศ
เสียงดังของเสียงนกหวีดชนิดนี้ ได้รับการทดสอบและจดบันทึกไว้โดยทีมวิจัยที่สถาบันสำหรับคนหูหนวกในเซนต์หลุยส์ มิสซูรี พบว่า เมื่อวัดค่าเดซิเบลแล้ว นกหวีดสตรอมดังกว่านกหวีดปกติเกือบ 2 เท่า
หากเป่านกหวีดสตรอมในป่า เสียงจะได้ยินผ่านป่าไปไกลถึง 1/4ไมล์ หรือ 400 เมตร แต่หากเป็นใต้น้ำจะได้ยินไปไกล 800 เมตร
นกหวีดธรรมดาหาซื้อง่าย ราคาไม่แพง ... น่าจะลองหามาไว้ในครอบครองสักตัว