Jump to content


Photo
- - - - -

ทฤษฎี อารยะขัดขืน ดื้อแพ่ง ณ. เวทีประชาชน ราชดำเนิน


  • Please log in to reply
3 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 คนกรุงธน

คนกรุงธน

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 6,129 posts

ตอบ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 16:53

เริ่มเข้าเนื้อหา 09:00

 


Edited by คนกรุงธน, 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 16:53.

"น้อมส่งเสด็จสู่พระนิพพาน"


#2 pooyong

pooyong

    สมาชิกขั้นไม่สูง แต่สูงอายุ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 6,292 posts

ตอบ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 16:59

1394213_210198675831822_12410828_n.jpg

 

1472011_764339890258605_2026429914_n.jpg


การรับใช้แผ่นดิน คือความเบิกบาน

#3 คนกรุงธน

คนกรุงธน

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 6,129 posts

ตอบ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 17:05

อารยะขัดขืน

โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์

 หนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11055

http://www.matichon....&sectionid=0130

เป้าหมายสำคัญของวิถีแห่งการไม่ใช้ความ รุนแรง คือทำให้ฝ่ายปฏิปักษ์วางใจว่า จะไม่มีอันตรายใดๆ ไม่ว่าทางกาย หรือทางใจ เกิดขึ้นแก่ตนอย่างแน่นอน พูดอีกอย่างหนึ่งคือ ไม่ใช้ความรุนแรงเพื่อปลดเปลื้องปฏิปักษ์จากความกลัวโดยสิ้นเชิง แน่นอนว่า จะประสบความสำเร็จได้ ก็ต้องปลดเปลื้องตนเองจากความกลัวด้วย

 

เนห์รูเล่าว่า ตัวท่านเองรับคำสอนของคานธีแทบไม่ได้ เมื่อคานธีสั่งว่า ในการปฏิบัติสัตยเคราะห์ด้วยอหิงสานั้น แม้ตำรวจอินเดียของอังกฤษใช้กระบอง (ลาธิ-กระบองยาวที่แขกยามใช้) ตีศีรษะ ก็อย่าได้แม้แต่ยกมือขึ้นกันกระบองนั้นเป็นอันขาด เพราะการเคลื่อนไหวจะทำให้ตำรวจกลัว และเพราะกลัวจึงต้องตีหรือทำร้ายนักสัตยเคราะห์หนักขึ้น

ในท่ามกลาง การประกาศ "ไม่ใช้ความรุนแรง" ของทุกฝ่ายในเมืองไทยขณะนี้ ความกลัวกลับเพิ่มพูนขึ้น ต่างฝ่ายต่างคาดเดาว่าจะเกิดอันตรายอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นจากอีกฝ่ายหนึ่ง อย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก

บัดนี้ฝ่ายหนึ่งอ้างว่าได้ยกระดับขบวนการของตนไปสู่การขัดขืนอย่างอารยะ หรือที่ใช้ว่า "อารยะขัดขืน"

แม้ ไม่ชอบคำแปล Civil Disobedience (ความไม่เชื่อฟังในฐานะพลเมือง) ว่า "อารยะขัดขืน" แต่ผมก็ไม่สามารถเสนอคำแปลอื่นที่รื่นหูกว่านั้นได้ แต่ช่างเถิด ไม่ว่าจะบัญญัติศัพท์อย่างไร Civil Disobedience มีความหมายอะไรกันแน่

ประการแรกที่ควรเข้าใจให้ตรงกันก็คือ อารยะขัดขืนหมายถึงการละเมิดกฎหมายนะครับ เพียงแต่เป็นการละเมิดกฎหมายเชิงสัญลักษณ์หรือเป็นพิธีกรรม ฉะนั้นผู้ปฏิบัติอารยะขัดขืนย่อมคาดหวังอยู่แล้วว่า ย่อมนำไปสู่การถูกลงโทษตามกฎหมาย และเพราะการลงโทษนี่แหละที่จะทำให้รัฐหรือรัฐบาลที่ลงโทษตนสูญเสียความชอบ ธรรมในสังคม

เพราะอะไร? ก็เพราะผู้ปฏิบัติอารยะขัดขืนเชื่อว่ามีหลักการบางอย่างที่อยู่สูงกว่า กฎหมาย เราจึงต้องเชื่อฟังหลักการนั้นยิ่งกว่ากฎหมาย ฉะนั้น อาจกล่าวได้ว่าหลักการดังกล่าวคือศีลธรรมหรือธรรมชาติของความเป็นมนุษย์

จะ เห็นได้ว่า เพื่อเคารพเชื่อฟังหลักการที่อยู่สูงกว่ากฎหมายหรือศีลธรรมของความเป็น มนุษย์ การปฏิบัติอารยะขัดขืนจึงต้องไม่ใช้ความรุนแรง เพราะเป็นการต่อสู้ทางศีลธรรม การใช้ความรุนแรงย่อมทำให้สูญเสียสถานะทางศีลธรรมไปโดยปริยายนั่นเอง

ขออนุญาตยกตัวอย่างจากชีวิตจริงของท่านมหาตมะ คานธี

อังกฤษ ออกกฎหมายเก็บภาษีการทำเกลือในอินเดีย แต่ใครๆ ก็รู้ว่าเกลือเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการดำรงชีวิต เก็บภาษีเกลือคือการเก็บภาษีการมีชีวิต อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน จึงเป็นกฎหมายที่ไร้มนุษยธรรม ท่านมหาตมะเดินเท้าจากบ้านไปยังฝั่งทะเล เป็นระยะทางหลายร้อยไมล์ นำเอากระทะเล็กๆ ไปด้วย เพื่อจะไปตักน้ำทะเลมาต้มทำเกลือ... ทั้งหมดนี้เป็นการขัดขืนเชิงสัญลักษณ์หรือพิธีกรรมทั้งนั้นนะครับ เพราะต้มเกลือด้วยกระทะใบเล็กนิดเดียว ถึงอย่างไรก็ไม่พอกิน

แต่ ท่านมหาตมะเป็นนักการเมืองด้วย (แม้เป็นภาพที่เราไม่อยากให้ท่านเป็นก็ตาม) ฉะนั้น ท่านจึงประกาศก่อนว่าท่านจะเดินไปทำเกลือที่ฝั่งทะเล มีคนอาสามาเดินตามท่านนับเป็นแสนๆ คน วันหนึ่งเดินได้ไม่กี่สิบไมล์ หนังสือพิมพ์และสื่อทั่วโลกก็คอยรายงานว่าท่านเดินถึงไหนแล้ว อีกกี่ไมล์จะถึงฝั่งทะเล

ฉะนั้น เท่ากับบังคับอังกฤษว่า ท่านต้มเกลือเมื่อไรก็ต้องจับ ไม่อย่างนั้นกฎหมายก็หมดความศักดิ์สิทธิ์ เพราะท่านไม่ได้ขออนุญาตและดังนั้นจึงไม่ต้องเสียภาษี

ในที่สุด อังกฤษซึ่งไม่อยากจับท่านเลยก็ต้องจับ และก่อให้เกิดการประท้วงไปทั่วอินเดีย เพราะมองเห็นความไม่เป็นธรรมของกฎหมายอังกฤษและตัวอังกฤษเองอย่างชัดเจน

อารยะ ขัดขืนจึงเป็น "อาวุธ" (คำที่ไม่น่าจะใช้กับวิถีที่ปฏิเสธความรุนแรง) ที่ทรงประสิทธิภาพอย่างยิ่ง แต่ในขณะเดียวกันก็อาจเป็น "อาวุธ" ที่ไร้ความหมายเลย หากไม่มีเงื่อนไขในการปฏิบัติอารยะขัดขืนครบบริบูรณ์


เงื่อนไข สำคัญสองอย่างที่ขาดไม่ได้ในการปฏิบัติอารยะขัดขืนก็คือ

   ประการแรก หลักการที่อยู่เหนือกฎหมายอันต้องเชื่อฟังยิ่งกว่ากฎหมายนั้น ต้องเป็นหลักการที่สังคมเห็นว่าถูกต้องทำนองคลองธรรม หรือเป็นธรรมชาติของความเป็นมนุษย์ และ

  

   ประการที่สอง ปฏิบัติการอารยะขัดขืนต้องเป็นปฏิบัติการที่ไม่ใช้ความรุนแรงโดยสิ้นเชิง ในทุกความหมายของคำว่า "ไม่ใช้ความรุนแรง"

ถ้าสังคมไม่เห็นว่า หลักการที่สูงกว่ากฎหมายซึ่งผู้ปฏิบัติอารยะขัดขืนยึดถือเป็นหลักการที่ถูก ต้อง (กว่ากฎหมาย) ปฏิบัติการนั้นก็ไม่บังเกิดผลอะไร ดังตัวอย่างที่เกิดกับเฮนรี เดวิด โธโร หนึ่งในบิดาของอารยะขัดขืนในโลกสมัยใหม่

ขณะนั้นสหรัฐยังเก็บภาษีราย หัวอยู่ โธโรไปใช้ชีวิตในป่าวอลเดนอยู่เกือบสองปี เจ้าพนักงานเก็บภาษีซึ่งรู้จักกับเขาดี บอกเขาว่าเขาไม่ได้เสียภาษีดังกล่าวมาหลายปีแล้ว โธโรประกาศไม่ยอมจ่ายภาษีดังกล่าว ด้วยเหตุผลว่าเขาไม่สนับสนุนรัฐที่รับรองการมีทาสและทำสงครามจักรวรรดินิยม รุกรานเมกซิโก เจ้าพนักงานจึงต้องนำตัวเขาไปจำขังในคุก แต่วันรุ่งขึ้นก็มีสุภาพสตรีคนหนึ่ง (ซึ่งเดากันว่าเป็นป้าของเขา) ควักกระเป๋าจ่ายภาษีแทน เขาจึงพ้นออกมาจากคุก โธโรคิดว่าแค่ติดคุกหนึ่งวันก็เป็นสัญลักษณ์เพียงพอแล้ว ที่จะกระตุ้นสำนึกอารยะของสังคมอเมริกัน เขาพูดว่า "ภายใต้รัฐบาลที่จำคุกใครโดยไม่ยุติธรรม ที่อันเหมาะแก่คนรักความยุติธรรมอีกแห่งหนึ่งคือคุก"

แต่คำพูดอันลือ ลั่นประโยคนี้ ไม่มีอเมริกันคนไหนได้ยินจนเมื่อเขาตายไปนานแล้ว เพราะแม้แต่หนังสือของเขาซึ่งพิมพ์เพียง 1,000 เล่มก็ขายไปได้เพียง 200 เล่ม สำนักพิมพ์ต้องเอาที่เหลือมาโยนไว้หน้าบ้านและขอเก็บเงินจากเขา การติดคุกของโธโรจึงเป็นสัญลักษณ์ของอารยะขัดขืนแก่ตัวเขาเพียงคนเดียว

คน เดียวก็ไม่เป็นไรนะครับ เพราะอย่างน้อยการอยู่กับตัวเองให้ได้ ย่อมสำคัญกว่าอยู่กับคนอื่นให้ได้ (ทั้งๆ ที่สองอย่างนี้แยกจากกันได้ยาก) แต่หลักการที่สูงกว่ากฎหมายคือศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ทั้งของทาสและของชาวเมกซิโกสิครับ นอกจากชาวอเมริกันในขณะนั้นไม่ได้ยินแล้ว คนอเมริกันส่วนใหญ่ยังไม่เห็นว่าเป็นหลักการที่สำคัญกว่ากฎหมาย และการไม่ยอมเสียภาษีนั้น เป็นปฏิบัติการที่ไม่อารยะเอาเสียเลย

เหมือน คนไทยและคนอื่นๆ ทั่วไปแหละครับ คนอเมริกันเห็นว่าภาษีที่รัฐเรียกเก็บโดยเฉพาะจากเรานั้นไม่เคยเป็นธรรมเลย แต่หลักการว่าเราต้องเสียภาษีบำรุงส่วนรวม เป็นหลักการที่ยอมรับอย่างหนักแน่น โดยเฉพาะเมื่อนำไปใช้อย่างเคร่งครัดกับคนอื่นๆ ที่ไม่ใช่เรา... ขอให้สังเกตนะครับว่า แตกต่างจากการไม่ยอมเสียภาษีเกลือของคานธีอย่างยิ่ง เพราะเกลือคือชีวิตเป็นสิ่งที่ยอมรับกันทั่วไป จึงเป็นหลักการที่ต้องเคารพยิ่งกว่ากฎหมายแน่

ทั้งนี้ไม่จำเป็นต้องพูดถึงการไม่ยอมจ่ายค่าน้ำค่าไฟนะครับ

เงื่อนไข ประการที่สองคือการไม่ใช้ความรุนแรง ต้องมีความหมายครบถ้วน ไม่ใช่เฉพาะความรุนแรงทางกายเท่านั้น การปิดถนนถาวรละเมิดสิทธิของผู้อื่นก็เป็นความรุนแรง,การเผาหุ่นแกนนำ พันธมิตรหรือเผาพริกเผาเกลือสาปแช่ง ก็เป็นความรุนแรง,การป้ายสีด้วยความเท็จก็เป็นความรุนแรง,การยั่วยุด้วยการ กระทำที่ไม่ชอบธรรมเช่นย้ายข้าราชการหรือเตะถ่วงคดีของพรรคพวกก็เป็นความ รุนแรง

ด้วยเหตุดังนั้น อารยะขัดขืนจึงถูกพวกซ้ายสุดโต่งวิพากษ์ว่า เท่ากับยอมรับระบบ ซึ่งที่จริงแล้วเลวร้ายกว่ากฎหมายปลีกๆ เสียอีก ในทางตรงข้ามพวกขวาสุดโต่งก็วิพากษ์ว่า อารยะขัดขืนย่อมนำมาซึ่งอนาธิปไตย เพราะต่างคนต่างเห็นว่ามีหลักการบางอย่างที่ตัวยึดถือย่อมอยู่สูงกว่ากฎหมาย

อย่าง ไรก็ตาม อารยะขัดขืนได้รับสถานะทางกฎหมายระหว่างประเทศระดับหนึ่ง เพราะศาลระหว่างประเทศที่พิจารณาคดีอาชญากรสงครามที่นูเรมเบิร์ก (นูร์นแบร์ก) หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ยืนยันหลักการว่า ภายใต้สถานการณ์บางอย่าง บุคคลต้องรับผิดที่ไม่ละเมิดกฎหมายของประเทศตนเอง (ฉะนั้นทหารที่สังหารหมู่ประชาชนในพฤษภาทมิฬจะอ้างคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ไม่ได้)

บุคคลที่ถือกันว่าเป็นผู้นำที่มีชื่อเสียงที่สุดของอารยะขัด ขืนในโลกสมัยใหม่คือมหาตมะ คานธี ดังนั้นจึงมักจะผูกโยงอารยะขัดขืนกับสัตยเคราะห์ด้วยวิธีอหิงสาของท่านด้วย

สัตย เคราะห์คือการยึดถือความสัตย์หรือการแสวงหาความจริงด้วยจิตใจแห่งความรักและ สันติ ไม่โกหก เพราะการโกหกป้ายสีคือการใช้ความรุนแรงอย่างหนึ่งที่ไม่แสดงความรักต่อใคร เลย ในทรรศนะของนักสัตยเคราะห์ความรักและสันติเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพราะสันติอยู่ที่ใจไม่ใช่อยู่ที่ปาก สันติจะอยู่ที่ใจได้ก็ต่อเมื่อมองคนอื่นด้วยความรัก แม้คนที่เป็นปฏิปักษ์ก็มีความรักให้เขาเต็มเปี่ยม เล่ห์เพทุบายทางการเมือง แม้ให้ผลดีในระยะสั้น แต่ในระยะยาวแล้ว ยิ่งทำให้ห่างไกลจากความสัตย์มากขึ้น

เป้าหมายของสัตยเคราะห์คือการ กลับใจปฏิปักษ์ เพราะความรักที่มีต่อปฏิปักษ์ จึงห่วงไยว่าหากเขาไม่กลับใจก็จะนำความทุกข์ยากแก่เขา (เช่นอังกฤษจะเดือดร้อนกว่า หากไม่ปล่อยให้อินเดียเป็นอิสระ) สัตยเคราะห์ไม่มุ่งเอาชนะ ถึงที่สุดแล้วไม่มีใครแพ้ไม่มีใครชนะ นอกจากความสัตย์หรือความจริงเท่านั้นที่ชนะตลอดไป

ดังนั้นสัตยเคราะห์และอหิงสาจึงมีความหมายมากกว่าอารยะขัดขืน เพราะไม่ได้เป็นเพียงมรรควิธี แต่เป็นทั้งมรรควิธีและเป้าหมายไปพร้อมกัน

ผม ไม่เห็นว่า การประท้วงและต่อต้านการประท้วงที่ก่อให้เกิดความตึงเครียดในเมืองไทยในเวลา นี้ มีฝ่ายใดที่"ไม่ใช้ความรุนแรง"จริงสักฝ่ายเดียว เพราะความรุนแรงย่อมมีความหมายมากกว่าการใช้อาวุธประหัตประหารกัน ฉะนั้นไม่จำเป็นที่จะพูดถึงการยกระดับไปสู่สิ่งอื่นที่ยิ่งกว่านั้น เช่นอารยะขัดขืนหรือสัตยเคราะห์

สังคมไทยจะรอดพ้นจากความตึงเครียด นี้อย่างไร จึงไม่ใช่เรื่องของคนกลางอีกแล้ว แต่สังคมไทยต้องหันมาทำอารยะขัดขืนและสัตยเคราะห์เอง คือเลิกเชื่อฟังกลุ่มประท้วง,กลุ่มต่อต้าน,รวมแม้กระทั่งเลิกเชื่อฟังรัฐบาล ด้วย ตราบเท่าที่พวกนี้ยังใช้ความรุนแรง (ในทุกความหมายของคำนี้) เป็นเครื่องมือ

นอกจากนี้อย่ากลัวที่จะถูกนำชื่อไปกล่าวประณามด้วย ความและคำที่หยาบคาย แต่ในขณะเดียวกันก็อย่าโกรธเกลียดผู้ประณาม เพราะจะทำให้เราห่างไกลจากความสัตย์จนกระทั่งไม่อาจปฏิบัติอารยะขัดขืนได้ อย่างมีพลัง ในฐานะพลเมือง เรามีสิทธิและยืนยันจะเรียกร้องเอาความจริงจากทุกฝ่าย ตราบเท่าที่เขายังไม่อยู่ในความสัตย์ ก็อย่าได้เชื่อฟังเขา ไม่เชื่อสิ่งที่เขาพูด และไม่ทำตามสิ่งที่เขาเรียกร้องหรือสั่ง... และขอย้ำโดยปราศจากอคติสี่ครอบงำ


Edited by คนกรุงธน, 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 17:13.

"น้อมส่งเสด็จสู่พระนิพพาน"


#4 คนกรุงธน

คนกรุงธน

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 6,129 posts

ตอบ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 17:16

ชัดเจนตรงนี้...

 

ขออนุญาตยกตัวอย่างจากชีวิตจริงของท่านมหาตมะ คานธี

อังกฤษ ออกกฎหมายเก็บภาษีการทำเกลือในอินเดีย แต่ใครๆ ก็รู้ว่าเกลือเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการดำรงชีวิต เก็บภาษีเกลือคือการเก็บภาษีการมีชีวิต อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน จึงเป็นกฎหมายที่ไร้มนุษยธรรม ท่านมหาตมะเดินเท้าจากบ้านไปยังฝั่งทะเล เป็นระยะทางหลายร้อยไมล์ นำเอากระทะเล็กๆ ไปด้วย เพื่อจะไปตักน้ำทะเลมาต้มทำเกลือ... ทั้งหมดนี้เป็นการขัดขืนเชิงสัญลักษณ์หรือพิธีกรรมทั้งนั้นนะครับ เพราะต้มเกลือด้วยกระทะใบเล็กนิดเดียว ถึงอย่างไรก็ไม่พอกิน

แต่ท่านมหาตมะเป็นนักการเมืองด้วย (แม้เป็นภาพที่เราไม่อยากให้ท่านเป็นก็ตาม) ฉะนั้น ท่านจึงประกาศก่อนว่าท่านจะเดินไปทำเกลือที่ฝั่งทะเล มีคนอาสามาเดินตามท่านนับเป็นแสนๆ คน วันหนึ่งเดินได้ไม่กี่สิบไมล์ หนังสือพิมพ์และสื่อทั่วโลกก็คอยรายงานว่าท่านเดินถึงไหนแล้ว อีกกี่ไมล์จะถึงฝั่งทะเล

ฉะนั้น เท่ากับบังคับอังกฤษว่า ท่านต้มเกลือเมื่อไรก็ต้องจับ ไม่อย่างนั้นกฎหมายก็หมดความศักดิ์สิทธิ์ เพราะท่านไม่ได้ขออนุญาตและดังนั้นจึงไม่ต้องเสียภาษี

ในที่สุด อังกฤษซึ่งไม่อยากจับท่านเลยก็ต้องจับ และก่อให้เกิดการประท้วงไปทั่วอินเดีย เพราะมองเห็นความไม่เป็นธรรมของกฎหมายอังกฤษและตัวอังกฤษเองอย่างชัดเจน

 

คุณสุเทพจะต้องไปทำอารยะขัดขืน

(ตามความหมายที่แท้จริง ซึ่งผมก็ยังนึกไม่ออก)

โดยมีมวลชนตามไปด้วย

 

ปล. แนวคิดหลักของตามนิยามอารยะขัดขืนของ รอลส์ จะเห็นได้ว่ามีคุณสมบัติสำคัญ 7 ประการกล่าวคือ

1. เป็นการกระทำที่ละเมิดกฎหมาย หรือตั้งใจที่จะละเมิดกฎหมาย

2. ในแนวทางที่ปราศจากความรุนแรง

3. เป็นการกระทำที่เปิดเผย เป็นสาธารณะและประกาศให้รัฐทราบล่วงหน้า

4. มีความเต็มใจที่จะรับโทษทางกฎหมายของการกระทำผิดกฎหมาย

5. มีเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลงนโยบาย กฎหมาย กฎระเบียบของรัฐเพื่อให้เป็นธรรมมากขึ้น

6. มุ่งที่จะก่อให้เกิดสำนึกแห่งความยุติธรรมที่แท้จริงต่อคนส่วนใหญ่ในสังคม ซึ่งอาจจะมองข้ามหรือเข้าใจความยุติธรรมที่แท้จริงผิดแปลกไป

7. มุ่งเชื่อมโยงกับสำนึกแห่งความยุติธรรมซึ่งโดยหลักแล้วเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายและสถาบันทางสังคม


Edited by คนกรุงธน, 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 17:26.

"น้อมส่งเสด็จสู่พระนิพพาน"





ผู้ใช้ 0 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 0 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน