Jump to content


Photo
* * * * - 3 votes

ว่าด้วยมาตรา 190


  • Please log in to reply
19 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 tonythebest

tonythebest

    สมาชิกขั้นสูง 178 เซนติเมตร

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 13,595 posts

ตอบ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 12:58

ผมเคยตั้งกระทู้

 

สอบถามความเห็นครับ นอกจากนิรโทษกรรม ยังมีอะไรที่น่าจะสำคัญกว่านี้อีก”

http://webboard.seri...ครับ-นอกจากนิร/

 

 

ตอนนั้น ผมเริ่มสงสัยว่า ระหว่างประชาชนชาวไทยกำลังตื่นตัวในเรื่องนิรโทษ

รัฐบาลอาจมีอะไรหมกเม็ดซุ่มทำอะไรกันอีกหรือปล่าว

เพราะเพียงหลังจากมีการแสดงพลังของประชาชน

รัฐก็มีท่าทางชะงักและถอยหลัง

แม้จะมีหมกเม็ด ซ่อนร่าง พรบ นิรโทษฉบับที่ 7 ยัดไส้เข้าไป

ผมก็ยังว่า มันอาจไม่ใช่เป้าหมายเพียงเป้าหมายเดียว

 

ผมคิดโง่ๆ เอาไว้ในเฟสว่า

หรือมันเป็นการหลอกประชาชน ให้พุ่งเป้าไปสนใจเรื่องนิรโทษ

แล้วพวกมันก็มาลักหลับด้วยการชงแก้ไขมาตรา 190 ส่งผ่านไปจนถึงวาระ 3 โดยเราไม่รู้กันเลย

ซึ่งดูเหมือนตอนนี้ จะเหลือแต่นำขึ้นเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยเท่านั้น

 

ถึงตอนนี้ หลายคนก็ตื่นรู้กันแล้ว

มาพูดถึงประเด็นนี้กันเยอะแล้ว

 

สงสัยเพิ่มเติมไปอีกว่า เมื่อถึงเวลาที่ประเด็นของมาตรา 190 เริ่มแรงขึ้น

(ซึ่งอาจจะไม่ทันแล้วรึปล่าว ผมไม่แน่ใจ)

คนพูดถึงกันเยอะขึ้น รัฐบาลก็อัดตูดเราซ้ำ ด้วยการมุบมิบนิรโทษไปอีกต่อนึงด้วยซ้ำ

 

 

 

ช่วงนี้ เห็นหลายฝ่ายพูดถึงประเด็นมาตรา 190 กันเยอะขึ้น

บางฝ่าย ก็พูดกันว่า สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ ก็มีการแก้ไขกันมาแล้ว

ทำไมทีรัฐบาลนี้จะแก้ไม่ได้ล่ะ

ส่วนที่เขาหยิบยกมาพูด ผมบอกตรงๆ ผมอ่านไม่เข้าใจครับ ว่ารายละเอียดจริงๆ เป็นยังไง

และอยากทราบด้วย ว่าสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์มีแก้อะไร ต่างไปจากเดิมของ 50 ตรงไหน

และรัฐบาลนี้ นำมาแก้เพิ่มตรงไหนบ้าง

ทราบแต่รวมๆ ว่า แก้แล้ว จะทำให้การเจรจาเรื่องเขตแดน และทำสัญญาการค้าระหว่างประเทศ

ไม่ต้องผ่านความเห็นชอบจากสภา และไม่ต้องได้รับการเห็นชอบจากประชาชน

หรือเราๆ ท่านๆ ไม่มีสิทธิ์รู้ เหมือนดังเช่นกรณีขายข้าว G2G กับรัฐบาลจีน

หรือรายละเอียดเรื่องของการขายข้าว จำนำข้าวทั้งหมด

ที่วันนี้เรายังไม่รู้อะไรเลยที่เป็นข้อมูลจริง

 

จึงตั้งกระทู้นี้มาขอความรู้เพื่อนสมาชิกครับ

ว่า มาตรา 190 สมัยแรก, สมัยอภิสิทธิ์แก้ไข, สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์จะทำการแก้ไข

มีรายละเอียดแตกต่างกันอย่างไรบ้าง อะไรดี อะไรไม่ดี

เพื่อนำไปเป็นความรู้เพิ่มเติมครับ

 

 

 

 

ผมลองหาดู พบของคำนูญ ดูเหมือนจะเป็นสมัยปี 2010 ที่วิพากษ์รัฐบาลอภิสิทธิ์เอาไว้

 

 

 

 

 

 

ชมภาพเปรียบเทียบแก้ไขมาตรา 190 ของเดิมกับของรัฐบาล ที่อำมหิตถูกจับได้กลางรัฐสภา

27 พฤศจิกายน 2010 เวลา 11:57 .

 

คิดว่าจะน่าเป็นประโยชน์ในการทำความเข้าใจในการจับพิรุธและความผิดปกติตามที่ ..คำนูณ สิทธิสมาน

ได้เขียนบทความอภิปรายในสภาเกี่ยวกับการแก้ไขรัธรรมนูญมาตรา 190 จึงขอนำภาพเปรียบเทียบการ

แก้ไขรัฐธรรมนูญมาประกอบคำคัดลอกในบทความเนื้อหาบางตอนของคุณคำนูณ สิทธิสมาน และอธิบาย

เพิ่มเติมเพื่อทำให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้น

 

ตามปกติแล้วการเขียนรัฐธรรมนูญ จะมีย่อหน้า และย่อหน้าเขาจะเรียกเป็นวรรค อย่างรัฐธรรมนูญมาตรา 190 

มีทั้งสิ้น 6 วรรค

 
BFTZPs.jpg
 

มีหนังสือสัญญา 2 ประเภทที่ต้องดำเนินการตามมาตรานี้              

 

ประเภทหนึ่ง - หนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทย

มีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตารมหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือจะต้องออก

พระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา   (ตามภาพก็คือข้อความสีแดง)           

 

ประเภทสองหนังสือสัญญาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรืทอสังคมของประเทศอย่าง

กว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศ อย่างมีนัยสำคัญ

(ตามก็ข้อความคือสีน้ำเงิน)        

 

หลักการใหญ่คือหนังสือสัญญาทั้ง 2 ประเภท ซึ่งเดิมบรรจุอยู่รวมกันในมาตรา 190 วรรคเดียวกันมาก่อน

ก็คือวรรค 2 ซึ่งจะต้องได้รับความเห็นชอบต่อรัฐสภา

 

นอกจากนั้นมาตรา 190 เดิมยังกำหนดรายละเอียดไว้ด้วยทุกขั้นตอนที่หนังสือสัญญาทั้ง 2 ประเภทจะต้อง

เดินตามไปอย่างเคร่งครัดทั้งก่อนและหลังลงนาม และมีกำหนดระยะเวลาในการพิจารณาของรัฐสภาไว้ด้วย

ดังนี้              

 

ก่อนลงนาม 

1. ครม.ให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน (มาตรา 190 วรรคสาม)               

2. ครม.ชี้แจงต่อรัฐสภา และเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภา (มาตรา 190 วรรคสาม)              

 

หลังลงนาม       

3. ก่อนแสดงเจตนาให้มีผลผูกพัน ครม.ต้องให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดของหนังสือ

สัญญานั้น (มาตรา 190 วรรคสี่)              

4. ในกรณีที่การปฏิบัติตามหนังสือสัญญานั้นก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนหรือผู้ประกอบการ

ขนาดกลางและขนาดย่อม ครม.ต้องดำเนินการแก้ไขหรือเยียวยาอย่างรวดเร็ว เหมาะสม

และเป็นธรรม (มาตรา 190 วรรคสี่)              

 

กำหนดเวลา       

5. รัฐสภาจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวัน             

 

 มาตรา 190 เดิมนั้น ในวรรคห้าได้กำหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยการกำหนดขั้นตอนและวิธีการ

จัดทำหนังสือสัญญา รวมทั้งการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามหนังสือ

สัญญาสำหรับหนังสือสัญญาประเภทสองเอาไว้

 

แนวคิดในการเสนอแก้ไขที่เป็นมารตั้งแต่ยุคคณะกรรมการสมานฉันท์ฯชุดส..ดิเรก ถึงฝั่ง

มาจนถึงยุค 102 ..พรรคร่วมรัฐบาล คือการแก้ไขวรรคห้าเพิ่มเติมคำว่าประเภทของสัญญา

เข้าไป เพราะเกิดความไม่ชัดเจนว่าหนังสือสัญญาประเภทไหนจึงจะเข้าข่ายหนังสือสัญญาประเภทสอง    

 

ทำให้สังคมเห็นว่าพอรับได้ !              

 

เพราะหนังสือสัญญาทั้ง 2 ประเภทยังจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไข 5 ประการเหมือนเดิม

ยกเว้นหนังสือสัญญาบางอย่างในประเภทสองที่จะหลุดไป หากการแก้รัฐธรรมนูญสำเร็จ

และหนังสือสัญญาบางอย่างนั้นบังเอิญไม่อยู่ในการจำแนกประเภทของกฎหมายลูกที่จะออกมา

แต่ไม่ว่าจะอย่างไร หนังสือสัญญาประเภทหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงอาณาเขตต้องผ่านกระบวนการครบทั้ง 5 เงื่อนไข !

 

ทว่าร่างฯแก้ไขมาตรา 190 ของครม.ครั้งนี้เปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง              

 

ท่านใช้แทคติคในการเขียนกฎหมายแยกหนังสือสัญญาทั้ง 2 ประเภทที่บัญญัติอยู่รวมกัน

ในมาตรา 190 วรรคสอง ออกเป็น 2 วรรค

 

a7sYZy.jpg

 

 

การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ของรัฐบาลอภิสิทธิ์

 

 

 

หนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทยฯ...ยังอยู่ในมาตรา 190 วรรคสอง

(ตามภาพคือข้อความตามตัวอักษรสีแดง)            

 

หนังสือสัญญาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวางฯ

...ถูกแยกในอยู่ในมาตรา 190 วรรคสาม  (ตามภาพคือข้อความตามตัวอักษรสีน้ำเงิน)

 

 

ทำให้มาตรา 190 ของร่างฯแก้ไขนี้ขยายเป็น 7 วรรค              

 

แล้วในวรรคต่อ มา (คือวรรคสามและวรรคสี่เดิม หรือวรรคสี่และวรรคห้าใหม่) ที่กำหนดเงื่อนไข

4 ประการแรกไว้ดันไปจงใจเขียนบังคับแต่เฉพาะหนังสือตามวรรคสาม คือสัญญาประเภทสอง

ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวางฯเท่านั้น              

 

ตัดหนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทยฯออกไปจากเงื่อนไขบังคับปฏิบัติ 4 ประการ              

 

นี่คือประเด็นหลักที่ผมเห็นว่าคือการหมกเม็ดครั้งยิ่งใหญ่ที่อำมหิตมาก !!               

 

เพราะหากแก้ไขสำเร็จ หลอกหูหลอกตาสมาชิกรัฐสภาให้คิดว่าเป็นเรื่องแก้ไขเล็กน้อยได้ จะทำให้...              

 

หนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทยฯ แม้ว่าจะยังถูกบังคับให้ต้องได้รับความเห็นชอบ

จากรัฐสภาอยู่ แต่ก็ไม่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขเดิมทั้ง 4 ประการ              

 

1. ไม่ต้องให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน              

2. ไม่ต้องชี้แจงต่อรัฐสภา และไม่ต้องเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภา              

3. แสดงเจตนาให้มีผลผูกพันได้เลย ไม่ต้องให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดของหนังสือสัญญานั้น              

4. ในกรณีที่การปฏิบัติตามหนังสือสัญญานั้นก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนหรือผู้ประกอบการขนาดกลาง

และขนาดย่อม ก็ไม่ต้องดำเนินการแก้ไขหรือเยียวยาอย่างรวดเร็ว เหมาะสม และเป็นธรรม              

 

เรื่องแบบนี้รัฐบาลเคยชี้แจงมั้ย ?              

 

หากรัฐบาลไม่มีวาระซ่อนเร้นจะเสนอร่างแก้ไขฯนี้เข้ามาให้แตกต่างไปจากร่างฯเดิมของคณะกรรมการ

สมานฉันท์ฯชุดส..ดิเรก ถึงฝั่ง และร่างฯแก้ไขของ 102 ..ทำไม ??              

 

ถ้ารัฐบาลจงใจจะแยกหนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตฯออกไปให้พ้นหูพ้นตาพ้นความรับรู้

ของประชาชน ทำไมไม่ใช้ความกล้าหาญชี้แจงเหตุผลอย่างตรงไปตรงมา เปิดให้มีการอภิปรายตรง

ประเด็นอย่างกว้างขวาง เพราะนี่คือการแก้ไขหลักการใหญ่ที่ถอยหลังตกคลอง ??              

 

อดคิดอดตั้งคำถามไม่ได้ว่านี่เกี่ยวข้องกับการเจรจาเขตแดนไทย-กัมพูชาที่กำลังมีปัญหาคาอยู่ใน

รัฐสภาหรือไม่ ?

 

ข้อสังเกตเพิ่มเติมจากภาพและบทความของ ..คำนูณ สิทธิสมาน

 

1. เรื่องนี้ไม่ใช่ความผิดพลาดในการเคาะย่อหน้าผิด เพราะถ้าเป็นเพียงการเคาะย่อหน้าผิด 

การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะอ้างอิง "วรรคสาม"ไม่ได้เลย จะต้องอ้างอิง "วรรคสอง"เท่านั้น แสดงว่า

ไม่ใช่การเคาะย่อหน้าผิด

 

2. เมื่อวรรค 2 ของมาตรา 190 ใน รัฐธรรมนูญ 2550 แตกออกเป็น 2 วรรค (วรรคสอง และวรรคสาม)

ตามที่รัฐบาลแก้ไข การระบุขั้นตอนเดิมทั้ง 4 ประการเฉพาะเจาะจงให้ปฏิบัติเฉพาะวรรคสามอย่างเดียว

โดยไม่พูดถึงเรื่องสัญญาที่เปลี่ยนแปลงอาณาเขตในวรรคสอง ย่อมไม่ใช่การตกหล่นเช่นเดียวกัน

 

เพราะในวรรคที่เจ็ดของร่างที่แก้ไขนั้น ได้กล่าวอ้างถึงทั้ง 2 วรรค คือวรรคสอง และวรรคสาม ในกรณี

ที่ต้องมีการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ร่างย่อมรู้อยู่แล้วว่ามี 2 วรรคในสัญญาฉบับนี้ แต่จงใจที่จะให้

ส่วนที่เกี่ยวข้องกับอาณาเขต ทั้งขั้นตอนการตรวจสอบและเข้าถึงข้อมูลของประชาชน และชี้แจงและการ

ขอความเห็นชอบกรอบการเจรจาของรัฐสภา หายไปจากรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ของเดิม

 

3. ได้รับฟังคำชี้แจงจาก .ดร.สมปอง สุจริตกุล ได้ให้ความรู้ว่า หากการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190

ปล่อยเอาไว้เช่นนี้แล้ว ก็จะทำให้ผลบันทึกการประชุมของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC)

ที่กำลังมีปัญหาอยู่ในขณะนี้ ไม่ต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภาอีกต่อไป และประชาชนจะไม่มีทางได้

เห็นข้อผูกพันที่จะลงนามในอนาคตอีกต่อไปด้วย

 

เรื่องนี้เมื่อ ..คำนูณ และภาคประชาชนจับได้และรู้ทัน นายกฯจึงต้องยอมกลางสภาประกาศที่จะแก้ไข

แปรญัตติในชั้นกรรมาธิการ และทำให้ JBC ยังต้องมีความจำเป็นต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภาต่อไป

 

สอดคล้องกับ FaceBook ของนายกรัฐมนตรีที่ระบุว่า

 

"นายกรัฐมนตรีระบุร่าง รธน.มาตรา 190 จะทำให้ทุกฝ่ายมีความมั่นใจ ซึ่งในส่วนของวรรค 2 ที่แยกออกมา

นั้นได้นำกลับเข้าไปบรรจุใหม่แล้ว และกรอบการเจรจาของเจบีซียังจะเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาต่อไป

 

แปลความว่า ถ้ารัฐธรรมนูญมาตรา 190 ลักไก่ผ่านได้โดยที่ไม่มีใครเห็น เจบีซีก็ไม่ต้องผ่านความเห็นชอบ

จากรัฐสภาต่อไป และประชาชนก็ไม่สามารถตรวจสอบเรื่องไทย-กัมพูชาต่อไปได้แล้ว พอถูกจับได้จึงต้อง

ยอมจำนนแก้ไขและจำต้องเดินหน้าเรื่องเจบีซีต่อไป ใช่หรือไม่?

 

แต่ใครจะมีหลักประกันได้ เพราะเนื้อหาการแบ่งวรรคตอนนั้น ถือเป็นการแก้ไขในหลักการใหญ่ เหตุใด

รัฐบาลเมื่อรู้ว่าผิดพลาดเรื่องใหญ่เช่นนี้ถึงไม่ถอนร่างออกไปแก้ไขให้แล้วเสร็จเสียก่อน แต่กลับปล่อยให้มี

ความเสี่ยงต่อไปในชั้นกรรมาธิการ และไม่มีใครมีหลักประกันว่าในวาระที่สามจะมีผลสรุปสุดท้ายเป็น

อย่างไรด้วย

 

เรื่องนี้จึงไม่ใช่เรื่องบังเอิญ เพราะผ่านตามาทั้งคณะกรรมการชุดของ .สมบัติ ธำรงธัญวงศ์, กฤษฎีกา,

กระทรวงการต่างประเทศ, คณะรัฐมนตรี, และวิปฝ่ายรัฐบาล มีหรือว่าจะไม่รู้ว่ากำลังเปลี่ยนแปลงแก้ไข

ในหลักการสำคัญ

 

เราได้ยินแต่สิ่งที่บอกประชาชนมาโดยตลอดว่า เป็นการแก้ไขเล็กน้อย เพียงแค่ทำให้มีความชัดเจนมาก

ยิ่งขึ้น แต่กลับไม่มีการพูดถึงประเด็นที่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้ประชาชนได้รับทราบมาก่อน

แม้แต่ร่างแก้ไขประชาชนส่วนใหญ่ก็ไม่เคยเห็นว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขในหลักการสำคัญเรื่องนี้

 

ถ้าเป็นเพียง "บกพร่อง ผิดพลาด" ก็ต้องถือว่าขาดความเป็นมืออาชีพ  ทั้งๆที่เป็นประเด็นกฎหมายสูงสุด

ของประเทศ แต่กลับผิดพลาดในเรื่องหลักการใหญ่ที่สุด

 

ถ้าเป็นเจตนา "หมกเม็ด" ก็ยิ่งถือว่าเจ้าเล่ห์ เพทุบาย และอำมหิตอย่างยิ่งที่สมควรถูกประชาชนประณาม

 

ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุผลใด ก็ย่อมทำให้คนที่ห่วงชาติบ้านเมือง โดยเฉพาะปัญหาเขตแดนไทย-กัมพูชา

ไว้วางใจต่อรัฐบาลน้อยลงอย่างไม่ต้องสงสัย

 

 

 

https://www.facebook...173931399302222

 

 

 

ใครพอจะอธิบายได้ง่ายๆ จะเป็นพระคุณอย่างสูงครับ


ข อ ใ ห้ โ ช ค ดี ต่ อ ค ว า ม เ ชื่ อ ค รั บ

 

 

 

เราอยู่ด้วยกัน ยืนข้างกัน เดินไปด้วยกัน ด้วยเพราะเรามีมุมมองและเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน

จนกว่าจะถึงวันที่เราพบว่า เรามีจุดหมายปลายทางคนละตำแหน่งกัน


#2 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 13:22

มาตรา 190.jpg

 

http://pantip.com/topic/31214607


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#3 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 13:28

รัฐเร่งเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา เพื่อหาแหล่งพลังงานสำรอง

อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ระบุมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งเจรจาเรื่องพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชา จำนวน 26,000 ตารางกิโลเมตร เพื่อดำเนินการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติในพื้นที่ดังกล่าวขึ้นมาใช้ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ เนื่องจากกำลังการผลิตก๊าซธรรมชาติของไทยในปัจจุบันได้ปรับขึ้นสู่ระดับสูงสุดแล้วที่ประมาณ 3,600-3,800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ขณะที่มีความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติอยู่ที่ 4,800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
"กรมฯ ประเมินว่า การรักษาระดับการผลิตสูงสุดจะทำได้เพียง 5 ปี แต่ตั้งเป้าหมายที่จะรักษาระดับผลิตสูงสุดให้ได้ 10 ปี โดยจะต้องลงทุนขุดเจาะสำรวจในแหล่งก๊าซขนาดเล็ก หลังจากนั้นปริมาณการผลิตจะลดลงเหลือเพียงประมาณ 1,000 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ใน 20-30 ปีข้างหน้า" นายทรงภพ พลจันทร์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าว
อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าวว่า การเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชา ไม่เกี่ยวข้องกับกรณีพิพาทพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหาร เพราะเป็นกฎหมายคนละฉบับ เพราะความขัดแย้งในเรื่องกฎหมายทางทะเลนั้นมาจากแต่ละฝ่ายอ้างสิทธิเหนือพื้นที่ดังกล่าว ขณะที่กรณีพิพาทพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารเป็นสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส
"ขั้นตอนการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล อยู่ระหว่างรอกระทรวงการต่างประเทศเจรจา เพื่อนำเรื่องเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี และรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ซึ่งหลังจากสองประเทศเปิดให้สัมปทาน คาดว่า จะต้องใช้เวลานานถึง 10 ปี จึงจะสามารถนำก๊าซธรรมชาติขึ้นมาใช้ได้ แต่การดำเนินการเจรจาเป็นส่วนที่รัฐบาลจะต้องนำความรู้สึกของประชาชนมาใช้ประกอบการตัดสินใจด้วย" นายทรงภพ กล่าว
ทั้งนี้ ไทยมีความต้องการก๊าซธรรมชาติเพิ่มไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 ต่อปี โดยความต้องการใช้สูงสุดเป็นการนำไปใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 62.6 การใช้ในภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 17.7 การใช้ในรถยนต์ร้อยะ 5.2 การใช้ในโรงแยกก๊าซร้อยละ 13.9 ซึ่งขณะนี้กระทรวงพลังงานเร่งจัดหาก๊าซเพิ่มเติมทั้งจากพม่า และประเทศเพื่อนบ้าน การต่ออายุสัมปทานแหล่งปิโตรเลียมในประเทศ โดยประเมินว่า หากไม่สามารถจัดหาแหล่งผลิตเพิ่มเติมเข้ามาได้ หลังปี 2565 ไทยจะต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว(แอลเอ็นจี) ประมาณ 20 ล้านตันต่อปี
โดยในปี 2555 ไทยมีสัมปานปิโตรเลียมรวม 76 แปลง มีรายได้จากการประกอบกิจการปิโตรเลียม 160,000 ล้านบาท โดยขณะนี้กรมฯ ได้เจรจากับโรงกลั่นต่างๆ เช่น บมจ.บางจากปิโตรเลียม(BCP) และ บมจ.ไออาร์พีซี(IRPC) เพื่อนำน้ำมันดิบที่มีการส่งออก 30,000 บาร์เรลต่อวัน นำมากลั่นใช้ในประเทศ โดยปริมาณส่งออกจะเหลือเพียง 13,000 บาร์เรลต่อวันในปลายปีนี้


ฉบับใหม่ จะมีผลอย่างไร ลองพิจารณาดูแล้วกัน


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#4 tonythebest

tonythebest

    สมาชิกขั้นสูง 178 เซนติเมตร

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 13,595 posts

ตอบ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 13:31

ขอบคุณ คุณสตาร์เกทนะครับ

 

อ้อ กระทู้นี้เชิญทั้งเหลืองและแดงนำข้อมูลจากฝ่ายของพวกท่านมาคุยกันได้เลยนะครับ


ข อ ใ ห้ โ ช ค ดี ต่ อ ค ว า ม เ ชื่ อ ค รั บ

 

 

 

เราอยู่ด้วยกัน ยืนข้างกัน เดินไปด้วยกัน ด้วยเพราะเรามีมุมมองและเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน

จนกว่าจะถึงวันที่เราพบว่า เรามีจุดหมายปลายทางคนละตำแหน่งกัน


#5 ธีรเดชน้อย

ธีรเดชน้อย

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,659 posts

ตอบ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 15:24

ขออนุญาตคุณtony แปะลิ้งค์ไว้ก่อนนะครับ ผมลองเพจคุณอภิสิทธิ์ย้อนหลังเห็นมีเรื่อง ม.190และคำชี้แจงข้อกล่าวหา

 

ของกลุ่มพันธมิตรกรณีเขาพระวิหารไว้ด้วย ยังไม่ได้อ่านโดยละเอียดเลย ไม่ทราบสมาชิกได้อ่านกันหรือยัง ถ้าอ่านแล้วขออภัยครับ  :)

 

แก้รัฐธรรมนูญ ปัญหาไทย-กัมพูชา https://www.facebook...168352113205555

 

ราชอาณาจักรไทยคือสิ่งที่เราควรปกป้อง https://www.facebook...173630812677685

 

สรุปถาม-ตอบกรณีชายแดนไทย-กัมพูชา https://www.facebook...173667479340685


" จุดเริ่มของการรัฐประหาร 22 พ.ค. 2557 หลังจากรัฐบาลเพื่อไทยได้บริหารประเทศล้มเหลวมาตลอด 2 ปีเศษ มีการทุจริตคอรัปชั่นมากมาย มีการนำพรบ.นิรโทษกรรมมาอนุมัติผ่านสภาฯเพื่อช่วยเหลือ น.ช. ทักษิณ ทำให้มวลมหาประชาชนลุกขึ้นประท้วงต่อต้าน แม้จนกระทั่ง ศาลรัฐธรรมนูญและปปช. ได้ตัดสินและชี้มูลความผิดจนต้องพ้นออกจากตำแหน่งแล้วก็ตาม ทำให้ประเทศชาติต้องหยุดนิ่ง สุดท้ายเมื่อ พลเอก ประยุทธ ผบ.ทบ.ได้เรียกทุกฝ่ายเข้ามาคุยเพื่อหาทางออกแล้ว โดยขอให้ ครม.ที่ยังคงเหลือลาออกเพื่อตั้งนายกฯเพื่อการปฎิรูปประเทศ แต่ไร้ซึ่งการตอบสนองและการเสียสละ ทำให้พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา จำเป็นต้องประกาศยึดอำนาจ   "

 

 


#6 ธีรเดชน้อย

ธีรเดชน้อย

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,659 posts

ตอบ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 21:27

มาดันไว้ก่อนครับ กำลังอ่านข้อมูลเยอะมาก  :)


" จุดเริ่มของการรัฐประหาร 22 พ.ค. 2557 หลังจากรัฐบาลเพื่อไทยได้บริหารประเทศล้มเหลวมาตลอด 2 ปีเศษ มีการทุจริตคอรัปชั่นมากมาย มีการนำพรบ.นิรโทษกรรมมาอนุมัติผ่านสภาฯเพื่อช่วยเหลือ น.ช. ทักษิณ ทำให้มวลมหาประชาชนลุกขึ้นประท้วงต่อต้าน แม้จนกระทั่ง ศาลรัฐธรรมนูญและปปช. ได้ตัดสินและชี้มูลความผิดจนต้องพ้นออกจากตำแหน่งแล้วก็ตาม ทำให้ประเทศชาติต้องหยุดนิ่ง สุดท้ายเมื่อ พลเอก ประยุทธ ผบ.ทบ.ได้เรียกทุกฝ่ายเข้ามาคุยเพื่อหาทางออกแล้ว โดยขอให้ ครม.ที่ยังคงเหลือลาออกเพื่อตั้งนายกฯเพื่อการปฎิรูปประเทศ แต่ไร้ซึ่งการตอบสนองและการเสียสละ ทำให้พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา จำเป็นต้องประกาศยึดอำนาจ   "

 

 


#7 THE THIRD WAY

THE THIRD WAY

    มาหาความจริง

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,417 posts

ตอบ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 23:06

ผมก็อ่นแล้วอ่านอีก

พอสรุปได้ว่าอย่างนี้ครับ

รธน.๕๐ เขียนป้องกันไว้กรณีที่เกิดเหตุเมื่อครั้งลงนามกับเขมรกรณีเขาพระวิหาร

 

บัญญัติว่า ต่อไปนี้การกรทำที่หมิ่นเหม่ทั้งหลาย

ต้องให้ผ่านรัฐสภาก่อน 

เอาง่ายๆว่า เฮ้ย..รัฐบาล ต่อไปนี้จะไปเซนต์อะไรกับใคร

ต้องมาแจ้งสภาก่อนนะ เพราะกลัวว่า

ไปลงนามกับประเทศหนึ่ง เพื่อผลประโยชน์ที่ควรได้ของตระกูลหนึ่งและพวกพ้องเท่านั้น

 

เท่านี้เอง

ทำให้ขัดใจฝ่ายธุรกิจการเมืองซึ่งต้องการความรวดเร็ว

เพื่อกำไร เท่านั้นเอง


อยู่เฉยๆ แล้วบอกว่าเป็นกลางทีคนอื่นทำอีกอย่าง บอกว่าเอียง

#8 tonythebest

tonythebest

    สมาชิกขั้นสูง 178 เซนติเมตร

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 13,595 posts

ตอบ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 23:36

ครับ
ประเด็นของมาตรา 190 ก็ว่าไว้แบบนั้น
(เท่าที่ผมอ่านมา)
ที่นี้ ประเด็นที่เราพูดถึงกัน
คือรัฐบาลพยายามจะแก้ให้ไม่จำต้องผ่านสภา
หรือผ่านสายตาประชาชนเลย
แน่นอนว่า เราคงไม่ยอม
ด้วยพฤติกรรมที่ผมได้ยกตัวอย่างมา
เช่นการจำนำข้าว หรือค้าข้าว g2g
ไม่พักต้องตีความไปถึงประเด็นร้อน คือพระวิหาร

เมื่อเราวิพากษ์กันไป ก็เจอคำตอบย้อยกลับมา
ว่าสมัยอภิสิทธิ์ก็แก้มาตรานี้
ผมจึงสงสัย ว่าแก้กันแค่ไหน อย่างไร
ต่างกันแค่ไหน เพราะเหลืองก็เอาเรื่องนี้มาโจมตีอภิสิทธิ์ด้วยเช่นกัน
(แม้จะผ่านเวลาของรัฐบาลอภิสิทธิ์ไปแล้ว 2ปี
ก็ยังมีคนเอาประเด็นนี้มาโจมตีอดีตรัฐบาลอยู่)
จึงอยากทราบรายละเอียด ข้อต่าง ข้อดีข้อด้อย

**กระทู้นี้ ผมขอเป็นข้อมูลความรู้นะครับ

ข อ ใ ห้ โ ช ค ดี ต่ อ ค ว า ม เ ชื่ อ ค รั บ

 

 

 

เราอยู่ด้วยกัน ยืนข้างกัน เดินไปด้วยกัน ด้วยเพราะเรามีมุมมองและเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน

จนกว่าจะถึงวันที่เราพบว่า เรามีจุดหมายปลายทางคนละตำแหน่งกัน


#9 ypk

ypk

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,173 posts

ตอบ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 00:30

เหอะ เหอะ  น้า tony ต้องเอารัฐธรรมนูญที่เขาแก้ไขแล้วมาดูครับ เพราะที่ สว คำนุณ

เอามาเขียนนี่ เขาเอามาแยกของเขาเองตามที่เขาคิดว่ามันเป็นอย่างนั้น มันมีอยู่ใน

รากิจจานุเบกษา 3 มีนาคม 2554 ครับ พอดีผมลอกมาไม่เป็น ถ้าเอามาเปรียบเทียบกับ

ที่เขาวิพากษ์วิจารณ์ถึงจะมองออกครับว่ามันใช่หรือเปล่า

 

ผมเข้าใจว่าเขาเขียนวิพากษ์วิจารณ์ตอนรัฐธรรมนูญที่แก้ไขมันยังอยู่ในสภาครับ เพราะ

ตัวเขาเองก็เป็น สว เขาจะมาเขียนเป็นทำนองตั้งคำถามกับคนอื่นเพื่ออะไร เขาน่าจะรู้ดี

กว่าคนอื่นแต่ไปเขียนวิจารณ์ตอนมันยังอยู่ในสภา มันคงไม่มีคำตอบได้หรอกครับ ต้องเอา

ที่เขาแก้ไขเรียบร้อยแล้วมาดูว่ามันเป็นอย่างที่เขาพูดหรือเปล่า

 

เพราะถ้าเขาบอกว่ามันเป็นการแก้ไขที่หมกเม็ด อำมหิต แล้วทำไมตอนอยู่ในสภาเขาไม่ท้วง

ละครับ เห็นผ่านกันเฉยเลยทั้งสภาล่างสภาบน ตอน ปชป เป็นรัฐบาลอาจมีเสียงข้างมากใน

สภาล่าง แต่สภาบน คงไม่มีแน่นอน ถ้ามันหมกเม็ดอำมหิตจริง คงไม่ผ่านหรอกครับ



#10 ธีรเดชน้อย

ธีรเดชน้อย

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,659 posts

ตอบ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 09:53

เหอะ เหอะ  น้า tony ต้องเอารัฐธรรมนูญที่เขาแก้ไขแล้วมาดูครับ เพราะที่ สว คำนุณ

เอามาเขียนนี่ เขาเอามาแยกของเขาเองตามที่เขาคิดว่ามันเป็นอย่างนั้น มันมีอยู่ใน

รากิจจานุเบกษา 3 มีนาคม 2554 ครับ พอดีผมลอกมาไม่เป็น ถ้าเอามาเปรียบเทียบกับ

ที่เขาวิพากษ์วิจารณ์ถึงจะมองออกครับว่ามันใช่หรือเปล่า

 

ผมเข้าใจว่าเขาเขียนวิพากษ์วิจารณ์ตอนรัฐธรรมนูญที่แก้ไขมันยังอยู่ในสภาครับ เพราะ

ตัวเขาเองก็เป็น สว เขาจะมาเขียนเป็นทำนองตั้งคำถามกับคนอื่นเพื่ออะไร เขาน่าจะรู้ดี

กว่าคนอื่นแต่ไปเขียนวิจารณ์ตอนมันยังอยู่ในสภา มันคงไม่มีคำตอบได้หรอกครับ ต้องเอา

ที่เขาแก้ไขเรียบร้อยแล้วมาดูว่ามันเป็นอย่างที่เขาพูดหรือเปล่า

 

เพราะถ้าเขาบอกว่ามันเป็นการแก้ไขที่หมกเม็ด อำมหิต แล้วทำไมตอนอยู่ในสภาเขาไม่ท้วง

ละครับ เห็นผ่านกันเฉยเลยทั้งสภาล่างสภาบน ตอน ปชป เป็นรัฐบาลอาจมีเสียงข้างมากใน

สภาล่าง แต่สภาบน คงไม่มีแน่นอน ถ้ามันหมกเม็ดอำมหิตจริง คงไม่ผ่านหรอกครับ

 

โอเค ผมเข้าใจประเด็นแล้วครับ มัวไปงมอยู่นาน งั้นไม่มีประโยชน์ที่จะค้นแล้วครับ

 

เพราะเขาพูดในสิ่งที่แย้งไม่ได้ เหมือนกับการโต้แย้งเรื่องพรบ.นิรโทษฯซึ่งเอารายละเอียดการ(พยายาม)แก้ในชั้นกมธ.มาเถียง

 

คงไม่มีข้อสรุป 


" จุดเริ่มของการรัฐประหาร 22 พ.ค. 2557 หลังจากรัฐบาลเพื่อไทยได้บริหารประเทศล้มเหลวมาตลอด 2 ปีเศษ มีการทุจริตคอรัปชั่นมากมาย มีการนำพรบ.นิรโทษกรรมมาอนุมัติผ่านสภาฯเพื่อช่วยเหลือ น.ช. ทักษิณ ทำให้มวลมหาประชาชนลุกขึ้นประท้วงต่อต้าน แม้จนกระทั่ง ศาลรัฐธรรมนูญและปปช. ได้ตัดสินและชี้มูลความผิดจนต้องพ้นออกจากตำแหน่งแล้วก็ตาม ทำให้ประเทศชาติต้องหยุดนิ่ง สุดท้ายเมื่อ พลเอก ประยุทธ ผบ.ทบ.ได้เรียกทุกฝ่ายเข้ามาคุยเพื่อหาทางออกแล้ว โดยขอให้ ครม.ที่ยังคงเหลือลาออกเพื่อตั้งนายกฯเพื่อการปฎิรูปประเทศ แต่ไร้ซึ่งการตอบสนองและการเสียสละ ทำให้พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา จำเป็นต้องประกาศยึดอำนาจ   "

 

 


#11 ธีรเดชน้อย

ธีรเดชน้อย

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,659 posts

ตอบ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 09:58

https://www.facebook.com/infodivohm /สรุปถาม-ตอบกรณีปัญหาเขตแดนไทย-กัมพูชา-ตอนที่1

 

https://www.facebook...173665769340856   สรุปถาม-ตอบกรณีปัญหาเขตแดนไทย-กัมพูชา-ตอนที่2

 

เอาลิ้งค์มาให้อ่านเพิ่มเติมครับ จากเพจคุณอภิสิทธิ์ น่าสนใจดีครับ 


" จุดเริ่มของการรัฐประหาร 22 พ.ค. 2557 หลังจากรัฐบาลเพื่อไทยได้บริหารประเทศล้มเหลวมาตลอด 2 ปีเศษ มีการทุจริตคอรัปชั่นมากมาย มีการนำพรบ.นิรโทษกรรมมาอนุมัติผ่านสภาฯเพื่อช่วยเหลือ น.ช. ทักษิณ ทำให้มวลมหาประชาชนลุกขึ้นประท้วงต่อต้าน แม้จนกระทั่ง ศาลรัฐธรรมนูญและปปช. ได้ตัดสินและชี้มูลความผิดจนต้องพ้นออกจากตำแหน่งแล้วก็ตาม ทำให้ประเทศชาติต้องหยุดนิ่ง สุดท้ายเมื่อ พลเอก ประยุทธ ผบ.ทบ.ได้เรียกทุกฝ่ายเข้ามาคุยเพื่อหาทางออกแล้ว โดยขอให้ ครม.ที่ยังคงเหลือลาออกเพื่อตั้งนายกฯเพื่อการปฎิรูปประเทศ แต่ไร้ซึ่งการตอบสนองและการเสียสละ ทำให้พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา จำเป็นต้องประกาศยึดอำนาจ   "

 

 


#12 Solid Snake

Solid Snake

    แดงกำมะลอ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,892 posts

ตอบ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 10:26

image.jpg

 

http://www.ratchakit...550/A/047/1.PDF

http://www.ratchakit...554/A/013/7.PDF

 

แยกให้ดูแบบนี้คงไม่ต้องอธิบายแล้วนะ


Edited by Solid Snake, 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 10:49.


#13 tonythebest

tonythebest

    สมาชิกขั้นสูง 178 เซนติเมตร

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 13,595 posts

ตอบ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 12:02

ขอบคุณ คุณ Solid Snake ครับ ที่กรุณานำมาเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจน

 

ปี 50


 

ให้มีกฎหมายว่าด้วยการกําหนดขั้นตอนและวิธีการจัดทําหนังสือสัญญาที่มีผลกระทบต่อ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า หรือการลงทุน อย่างมีนัยสําคัญ รวมทั้งการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญา ดังกล่าวโดยคํานึงถึงความเป็นธรรมระหว่างผู้ที่ได้ประโยชน์กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติ ตามหนังสือสัญญานั้นและประชาชนทั่วไป 


 

ปี 54


 

ให้มีกฎหมายว่าด้วยการกําหนดประเภท กรอบการเจรจา ขั้นตอนและวิธีการจัดทําหนังสือ สัญญาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพัน ด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสําคัญ รวมทั้งการแก้ไขหรือเยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญาดังกล่าว โดยคํานึงถึงความเป็นธรรมระหว่างผู้ที่ได้ ประโยชน์กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญานั้นและประชาชนทั่วไป 

 

 

ความแตกต่างตรงนี้คืออะไรครับ (ยอมรับว่าโง่ อ่านไม่เข้าใจความแตกต่างจริงๆ ครับ)

ผมเข้าใจว่า ตรงนี้หมายถึงเมื่อมีการกำหนดกรอบการเจรจา ทำหนังสือสัญญาใดๆ

ก็จำเป็นต้องผ่านความเห็นชอบจากสภานี่ครับ

อย่างนั้น การแก้ไขในปี 54 ก็น่าจะยิ่งละเอียดขึ้น กว้างขึ้นไม่ใช่เหรอครับ

 

แล้ว ส่วนที่รัฐบาลปัจจุบันต้องการแก้ไขเพิ่มเติม มีการแก้ไขตรงจุดไหน อย่างไรครับ


ข อ ใ ห้ โ ช ค ดี ต่ อ ค ว า ม เ ชื่ อ ค รั บ

 

 

 

เราอยู่ด้วยกัน ยืนข้างกัน เดินไปด้วยกัน ด้วยเพราะเรามีมุมมองและเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน

จนกว่าจะถึงวันที่เราพบว่า เรามีจุดหมายปลายทางคนละตำแหน่งกัน


#14 กรกช

กรกช

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,930 posts

ตอบ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 12:57

ฉบับแก้ไขที่ผ่านแล้วในปี 54 คงไม่น่าจะมีปัญหา ไม่งั้นก็คงถูกโจมตีไปนานแล้ว

แต่ที่ถูกจับผิดได้ตอนปี 53 มันมีปัญหา นายกฯยังยอมรับ ยอมแก้ แสดงว่ามันมีปัญหาจริงๆ

แค่ตรงนี้จากสรุปกระทู้ ที่พี่โทนี่เอามาแปะ มันก็เข้าใจเจตนาไม่ซื่อได้แล้ว

 

1. เรื่องนี้ไม่ใช่ความผิดพลาดในการเคาะย่อหน้าผิด เพราะถ้าเป็นเพียงการเคาะย่อหน้าผิด 

การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะอ้างอิง "วรรคสาม"ไม่ได้เลย จะต้องอ้างอิง "วรรคสอง"เท่านั้น แสดงว่า

ไม่ใช่การเคาะย่อหน้าผิด

 

 

2. เมื่อวรรค 2 ของมาตรา 190 ใน รัฐธรรมนูญ 2550 แตกออกเป็น 2 วรรค (วรรคสอง และวรรคสาม)

ตามที่รัฐบาลแก้ไข การระบุขั้นตอนเดิมทั้ง 4 ประการเฉพาะเจาะจงให้ปฏิบัติเฉพาะวรรคสามอย่างเดียว

โดยไม่พูดถึงเรื่องสัญญาที่เปลี่ยนแปลงอาณาเขตในวรรคสอง ย่อมไม่ใช่การตกหล่นเช่นเดียวกัน

 

เพราะในวรรคที่เจ็ดของร่างที่แก้ไขนั้น ได้กล่าวอ้างถึงทั้ง 2 วรรค คือวรรคสอง และวรรคสาม ในกรณี

ที่ต้องมีการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ร่างย่อมรู้อยู่แล้วว่ามี 2 วรรคในสัญญาฉบับนี้ แต่จงใจที่จะให้

ส่วนที่เกี่ยวข้องกับอาณาเขต ทั้งขั้นตอนการตรวจสอบและเข้าถึงข้อมูลของประชาชน และชี้แจงและการ

ขอความเห็นชอบกรอบการเจรจาของรัฐสภา หายไปจากรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ของเดิม

 

 

3. ได้รับฟังคำชี้แจงจาก .ดร.สมปอง สุจริตกุล ได้ให้ความรู้ว่า หากการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190

ปล่อยเอาไว้เช่นนี้แล้ว ก็จะทำให้ผลบันทึกการประชุมของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC)

ที่กำลังมีปัญหาอยู่ในขณะนี้ ไม่ต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภาอีกต่อไป และประชาชนจะไม่มีทางได้

เห็นข้อผูกพันที่จะลงนามในอนาคตอีกต่อไปด้วย

 

 

เรื่องนี้เมื่อ ..คำนูณ และภาคประชาชนจับได้และรู้ทัน นายกฯจึงต้องยอมกลางสภาประกาศที่จะแก้ไข

แปรญัตติในชั้นกรรมาธิการ และทำให้ JBC ยังต้องมีความจำเป็นต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภาต่อไป

 

*** แก้ไขพิมพ์ตก


Edited by กรกช, 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 13:08.


#15 tonythebest

tonythebest

    สมาชิกขั้นสูง 178 เซนติเมตร

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 13,595 posts

ตอบ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 14:10

เอาตามที่ผมพยายามอ่านและตีความ

 

พี่กรกชหมายถึง การแยกเรื่องเกี่ยวกับหนังสือสัญญาที่มีบทเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอาณาเขต

กับเรื่องสัญญาทางเศรษฐกิจการค้าออกจากกัน

 

ทีนี้ พอวรรค 4 กลับเลือกชี้เฉพาะของวรรค 3 ว่าต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นประชาชน

และต้องชี้แจงต่อรัฐสภา แต่กลับไม่พูดถึงเรื่องของวรรค 2 

ที่คงไว้แต่การให้มีความเห็นชอบของรัฐสภาเท่านั้น (เสียงข้างมาก) 

 

ผมเข้าใจถูกมั๊ยครับ


ข อ ใ ห้ โ ช ค ดี ต่ อ ค ว า ม เ ชื่ อ ค รั บ

 

 

 

เราอยู่ด้วยกัน ยืนข้างกัน เดินไปด้วยกัน ด้วยเพราะเรามีมุมมองและเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน

จนกว่าจะถึงวันที่เราพบว่า เรามีจุดหมายปลายทางคนละตำแหน่งกัน


#16 ypk

ypk

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,173 posts

ตอบ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 14:31

เหอะ เหอะ  มันคงไม่ใช่เรื่องจับผิดอะไรหรอก น้ากรกช แต่มันเป็นการตีความของ สว คำนูณ

ซึ่งทั้งสภา อาจมีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยที่ไปตีความแบบนั้น เพราะฉะนั้นมันถึงมีการแก้ไข

และผ่านสภาไปได้ไง แต่มันเป็นการแก้ไขเพื่อให้เกิดความสบายใจกันมากกว่า เพราะวัติถุประสงค์

ที่เขาต้องการแก้ไข ม 190 นั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าสัญญาลักษณะใดอย่างไรที่จะต้องนำ

เข้าสภา เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติจะได้สบายใจ ตัดสินใจได้

 

ร่างแก้ไขที่นำเข้าสภา มันก็มาจากคณะกรรมการปรองดองที่ตั้งขึ้น โดยมีอาจารย์สมบัติ ธำรงธัญวงศ์

เป็นประธาน ซึ่งมีการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญหลายมาตรา แต่ อภิสิทธิ์ ตัดสินใจแก้เพียง 2 มาตรา และ

ก็โดน แกนนำพันธมิตร และ สว แนวร่วมพันธมิตร เอาไปโจมตีทั้งสองมาตรา นั่นแหละ

 

ที่เขาเลือกแก้แค่สองมาตรานี้ก็เพราะเห็นว่า มันไม่กระทบอะไรกับประชาชน คือแก้มาตราอะไรผมจำ

ไม่ได้แล้ว เรื่องเลือกตั้งแบ่งเขตรวมเขต และแก้ ม 190 นี่แหละ

 

ผลก็คือ แกนนำพันธมิตร ถล่มเละเทะทั้งสองมาตรา เรื่องแบ่งเขตรวมเขตเลือกตั้ง ก็ไปว่าเขาว่าแก้เพื่อ

ประโยชน์ตัวเอง หวังจะได้เป็นรัฐบาลอีก ทั้ง ๆ ที่แก้แบบนี้เขาเสียเปรียบเห็น ๆ ส่วนพรรคอื่น ๆ นั้นรีบ

ตระครุบเลยไม่ว่าพรรคเล็กพรรคใหญ่ เพราะเวลาซื้อเสียงไม่ต้องลงทุนมาก แต่แกนนำพันธมิตรยังอุตสาห์

บิดเบือนว่า ปชป เห็นแก่ประโยชน์ตน หวังจะเป็นรัฐบาลอีก

 

ส่วน ม 190 นั้น ก็ได้แนวร่วม อย่าง สว คำนูณ นั่นแหละ ที่ออกมาโวยวาย เพราะฉะนั้นเมื่อมีคนเห็นว่าถ้า

ร่างมาแบบนี้มันตีความอย่างที่เขาตีความได้ เขาก็แก้ไขใหม่เท่านั้นเอง ถ้าจะไปบอกว่า ปชป หมกเม็ดมัน

ไม่น่าจะใช่ เพราะมันเป็นร่างของคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นมา  ถ้าหมกเม็ดจริงมันคงไม่จบง่ายหรอกครับ ก็ดู

ที่พรรคเพื่อไทยแก้อยู่นี่ไงครับ หมกเม็ดตัวจริง แต่แกนนำพันธมิตร และ สว คำนูณ ดูเงียบ ๆ นะ



#17 กรกช

กรกช

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,930 posts

ตอบ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 14:49

ที่ผมเข้าใจก็ประมาณนั้นแหละพี่โทนี่

 

คือในวรรคที่ 2 เขาแยกหนังสือสัญญาทั้ง 2 ประเภทที่บัญญัติอยู่รวมกัน ออกเป็น 2 วรรค

ตามภาพที่เขาทำมาเป็นตัวสีแดง และน้ำเงิน

 

ก็กลายเป็นแดง = วรรค 2 

น้ำเงินกลายเป็นวรรค = 3

 

แล้วในวรรคต่อ มาที่กำหนดเงื่อนไข 4 ประการแรกไว้ ดันไปจงใจเขียนบังคับแต่เฉพาะหนังสือตามวรรคสาม

คือสัญญาประเภทสอง ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวางเท่านั้น       

       

 

ตัดหนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทยออกไปจากเงื่อนไขบังคับปฏิบัติ 4 ประการ 



#18 กรกช

กรกช

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,930 posts

ตอบ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 14:56

ส่วนน้า ypk ก็นะ

 

ขนาดข้อมูลที่พี่โทนี่เขาเอามาแปะ ก็อธิบายเหตุผลให้ดูว่า คงไม่ใช่การผิดพลาดโดยไม่เจตนา

และระดับนี้แล้วคงยากที่ผิดพลาดได้ขนาดนี้ น้าก็ยังปกป้องปชป.เหมือนเดิม

 

ผมขอแนะนำวิธีคิดให้น้าอย่างนึงว่า

 

ถ้าบางทีเรายังสงสัย คาใจ ไม่มั่นใจในตัวบุคคลหรือคณะ ในกรณีใดกรณีหนึ่ง

น้าต้องหันไปดูองค์ประกอบเจตนาในกรณีอื่นๆของเขา มาใช้ในการประกอบการพิจารณาด้วย แล้วน้าก็จะเห็นภาพเอง

 

ถึงอาจจะไม่ถูกต้องทั้งหมด 100% แต่รับรองว่าพลาดยาก

 

 

 

ในกรณี ม.190 ถ้าก่อนๆหน้านั้น ปชป.ไม่เคยมีปัญหาใดๆให้คนติดใจสงสัย หรือส่อเจตนาไม่ซื่อมาก่อน

ก็คงมองว่างานนี้ปชป.อาจผิดพลาดโดยไม่ได้ตั้งใจได้

 

แต่ความจริงเป็นยังไง ? น้าก็ลองคิดเอาเอง


Edited by กรกช, 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 14:58.


#19 ypk

ypk

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,173 posts

ตอบ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 15:52

เหอะ เหอะ ผมแค่เอาสิ่งที่ผมรู้เห็นมาอธิบายให้น้ากรกชฟังเท่านั้น ไม่ได้ปกป้องอะไรหรอกครับ

เพราะเรื่อง ม 190 นี่ จะว่าไปแล้ว การแก้ไขมันก็มีเหตุมาจากแกนนำพันธมิตรนั่นแหละ

 

ถ้าน้าจำได้ ตอนลุงจำลองยกขบวนไปประท้วงการนำ JBC เข้าสภา นั่นเหตุหนึ่ง ซึ่งไอ้ JBC ฉบับนี้

มันตลกมาก เพราะมันเหมือนยังไม่ได้ทำอะไรเลย แต่นำเอาไปเข้าสภา ขณะเดียวกันบรรดาแกนนำ

พันธมิตรก็ดูเหมือนจะบอกว่าถ้าไอ้ JBC ฉบับนี้มันผ่านสภาแล้ว ประเทศไทยเสียดินแดนแน่ เลยยกพวก

ไปประท้วง แถมด้วยการสาบแช่งอีกต่างหาก  ฝ่ายค้านตอนนั้นคือพรรคเพื่อไทยก็เล่นการเมืองอย่างเดียว

ถือโอกาสตีรวนโดยทำเหมือนเข้าข้างพันธมิตร บอกถอนออกไปก่อนดีกว่าเพราะมีคนประท้วง ขอไปศึกษา

ก่อน สว บางคนก็บอกว่า เราก็ไม่ค่อยรู้เรื่องหรอกไอ้เรื่องนี้ แต่กลัวที่พวกประท้วงสาบแช่งไว้ ไม่เอาดีกว่า 

สส บางคนอ่านแล้วบอกว่ามันจะเสนอเข้ามาทำไมวะไม่เห็นมีสาระอะไรเลย ควรไปทำก่อน แล้วจะตัดสินใจ

อะไรค่อยนำเข้ามาดีกว่า

 

ผลที่ได้รับตอนนั้นคือ รัฐบาลถอนเรื่องออกจากสภา และส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าแบบสัญญาแบบเนี๋ยะ

มันถือว่าเป็นสัญญาที่ต้องนำเข้าสภาใหมเพราะมันสับสนเหลือเกิน เรื่องนี้ ฮุนเซ็นยังเข้ามาเกี่ยวเลย เพราะฮุนเซ็น

บอก กูละเบื่อจริง ๆ สรุปแล้ว เอ็งจะเจรจากับข้าไหมวะเนี่ยะ ยึกยักกันอยู่นั่นแหละ แบบนี้มันไม่จริงใจนี่หว่า

 

ผมมองว่าเสียหายเยอะครับ เพราะเราแค่เอาความระแวง ความไม่ชอบ หรือเล่นการเมืองอย่างเดียว เป็นตัวตั้ง

ผลประโยชน์ที่ควรได้รับมันก็เสียและเสียไปถึงความสัมพันธ์กับต่างประเทศด้วย

 

อีกเหตุหนึ่งตอนนพดลไปทำข้อตกลงกับเขมร จนถูกฟ้องศาล ซึ่งมันทำให้ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศถูกฟ้อง

ไปด้วย นั่นก็เป็นอีกเหตุหนึ่ง ที่ทำให้ข้าราชการทั้งหลายแหล่เกิดความไม่มั่นใจในการทำงานเพราะไม่กล้าตัดสินใจว่า

สัญญาแบบไหนอย่างไร ต้องนำเข้าสภา เลยต้องส่งเข้าสภาหมดไม่ว่าเรื่องอะไร

 

น้ากรกชคิดว่าเมื่อเจอปัญหาแบบนี้ คนที่รับผิดชอบเป็นรัฐบาลอยู่ควรคิดแก้ไขไหมครับ

 

เขาแก้ปัญหาไม่ใช่เรื่องนี้เรื่องเดียวนะครับ เขามองว่าอะไรที่มันเป็นปัญหาเขาก็พยายามแก้ไขโดยตั้งคณะกรรมการขึ้นมา

ถ้าน้าจำได้ มีชุดท่านอานันท์ ชุดหมอประเวศ ซึ่งดูเหมือนจะเป็นเรื่องปฏิรูปประเทศ และชุดของอาจารย์สมบัติ จะเป็นเรื่อง

ปัญหาเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ นี่แหละ ถ้าผมจำไม่ผิด

 

เพราะฉะนั้น ร่างแก้ไขที่ สว คำนูณ ไปตีความนั้น คือร่างที่คณะกรรมการชุดอาจารย์สมบัติเสนอมาครับ แต่เมื่อ สว คำนูณ

ไปตีความอย่างนั้น ซึ่งไม่ใช่วัติถุประสงค์ที่เขาจะแก้ไข เขาก็แก้ไขให้มันชัดเจนขึ้นเท่านั้นเอง

 

เรื่องนี้มันไม่มีใครผิดใครถูกหรอกครับ คณะกรรมการชุดอาจารย์สมบัติ เขารับรู้ถึงปัญหา เขาก็ไปคิดหาวิธีว่าจะร่างแก้ไข

อย่างไร เพื่อไม่ให้มีปัญหาในทางปฏิบัติ สว คำนูณ อ่านแล้ว บอกนี่มันหมกเม็ด มันอำมหิต (ทั้งที่จริงผมไม่คิดว่ากรรมการ

ชุดอาจารย์สมบัติเขาจะหมกเม็ด หรืออำมหิตอะไรหรอก แต่ร่างมาแล้วมันอาจมีช่องว่าให้ตีความเกิดขึ้นเท่านั้น) ในสภาเขา

ก็แก้ไขกันไปให้มันอุดช่องว่างไปเท่านั้นเอง

 

นี่ผมดูหลายเรื่องหลายอย่างประกอบกันแล้วนะน้า 555



#20 THE THIRD WAY

THE THIRD WAY

    มาหาความจริง

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,417 posts

ตอบ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 20:18

กระทู้นี้

ประเทืองปัญญาครับ


อยู่เฉยๆ แล้วบอกว่าเป็นกลางทีคนอื่นทำอีกอย่าง บอกว่าเอียง




ผู้ใช้ 3 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 3 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน