องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ 2550
กกต. มีวาระ 7 ปี มีจำนวน 5 คน มาจากการสรรหาแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนแรกให้คณะกรรมการสรรหาจำนวน 7 ทำหน้าที่สรรหา กกต. 3 คน แล้วเสนอต่อประธานวุฒิสภา ส่วนที่สองให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา พิจารณาสรรหา กกต. อีก 2 คน แล้วเสนอต่อประธานวุฒิสภา (ม.229 ,232)
รัฐธรรมนูญ 2540
กกต. มีวาระ 7 ปี มีจำนวน 5 คน มาจากการสรรหาแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกให้คณะกรรมการสรรหาจำนวน 10 คนสรรหาผู้สมควรเป็น กกต. 5 คน และส่วนที่สอง ให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาสรรหาผู้สมควรเป็น กกต. จำนวน 5 คน เพื่อให้วุฒิสภาเลือกเหลือ 5 คน
รัฐธรรมนูญ 2550
ให้มีคณะกรรมการสรรหาองค์กรอิสระชุด 7 คนประกอบด้วยประธานศาลฏีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และบุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฏีกา และที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดคัดเลือกมาฝ่ายละหนึ่งคน โดยต้องไม่ใช่ผู้พิพากษา หรือกรรมการสรรหาองค์กรอิสระอื่น (ม.231)
รัฐธรรมนูญ 2540
คณะกรรมการสรรหา กกต.ในส่วนแรก 10 คนประกอบด้วย ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด อธิการบดีของสถาบันอุดมการศึกษาของรัฐเลือกกันเองให้เหลือสี่คน ผู้แทนพรรคการเมืองที่มี ส.ส.เลือกกันเองให้เหลือสี่คน
จะเห็นว่า การได้มาของกกต.โดยสว.จากการเลือกตั้ง จนมีคดีทุจริตกับกกต.ในเวลาต่อมา
สว.จากการเลือกตั้ง เลือก กกต.มาคุมการเลือกตั้ง มันยิ่งไม่ขัดกันแห่งผลประโยชน์ไปกันใหญ่ หรือ
หากพิจารณาแล้วว่ามันมีการขัดกันของผลประโยชน์ ก็ตัดสิทธิในการเลือก กกต ของ สว ออกไปสิครับ เก็บเอาไว้ทำไม?
แล้วก็ตัดสิทธิการแต่งตั้ง สว โดยประธานศาล รธน ออกไปด้วย
ถูกต้องแล้วนี่ครับ หรือคุณจะเก็บเอาสิ่งที่มันเป็นจุดผิดพลาดของระบบเอาไว้?
ที่ยกมาแสดงให้เห็นว่าสว.เลือกตั้งทำข้อผิดพลาดอะไรไว้ ในปี 50 จึงเปลี่ยนที่มาของสว.ใหม่
หากเปลี่ยนกลับไปเป็น สว.เลือกตั้งทั้งหมดแบบเดิม ก็จะมีข้อผิดพลาดแบบเดิมอีก ศาลจึงบอกว่าเป็นการถอยหลังเข้าคลองไง ไอ้หนูลี
ความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น ถ้าให้สว.กลับไปเป็นสว.เลือกตั้งทั้งหมด
รัฐธรรมนูญ 2550
เพิ่มสิทธิ์ให้ประชาชนไม่น้อยกว่า 20,000 คน เข้าชื่อร้องขอให้วุฒิสภาถอดถอน ป.ป.ช. (ม.241)
รัฐธรรมนูญ 2540
กระบวนการถอดถอน ป.ป.ช. เริ่มโดย ส.ส. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของที่มีอยู่เท่านั้น
"แล้วตัดสิทธิการแต่งตั้ง สว โดยประธานศาล รธน ออกไปด้วย"
หมายความว่า เองจะเปลี่ยนทั้งหมดนี่ใช่ไหม
[1] คณะกรรมการสรรหา คณะกรรมการการเลือกตั้ง, ผู้ตรวจการแผ่นดิน, กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา, ประธานศาลรัฐธรรมนูญ, ประธานศาลปกครองสูงสุด, ประธานสภาผู้แทนราษฎร, ผู้นำฝ่ายค้าน, ตัวแทนที่ได้รับการคัดเลือกจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาและที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดอีกอย่างละตำแหน่ง (ดูมาตรา 231, 243, 252 และ 256)
[2] กรรมการสรรหา กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จำนวน 5 คน ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา, ประธานศาลรัฐธรรมนูญ, ประธานศาลปกครองสูงสุด, ประธานสภาผู้แทนราษฎร และ ผู้นำฝ่ายค้าน (ดูมาตรา 246)
[3] กรรมการสรรหา วุฒิสมาชิกประเภทสรรหา (74 คนจาก 150 คนในวุฒิสภา) จำนวน 7 คน ประกอบด้วย ประธานศาลรัฐธรรมนูญ, ประธานกรรมการการเลือกตั้ง, ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน, ประธานกรรมป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ, ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน, ตัวแทนที่ได้รับการคัดเลือกจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาและที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดอีกอย่างละตำแหน่ง (ดูมาตรา 113)
ถ้าเองบอกว่าผู้แต่งตั้ง สว. ขัดกันแห่งผลประโยชน์ อย่างงั้น ต้องเปลี่ยนขัอ 3 ใหม่หมด เพราะ อำนาจการถอดถอนทุกตำแหน่ง ใช้สว.ทั้งหมด
บุคคลที่วุฒิสภามีอำนาจลงมติ ถอดถอนออกจากตำแหน่ง หรือตำแหน่งที่อาจถูกร้องขอให้ถอดถอนออกจากตำแหน่งได้ เช่นนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ประธานศาลฎีกาประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด อัยการสูงสุด กรรมการในองค์กรอิสระต่าง ๆ เช่น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน และกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ผู้พิพากษา ตุลาการ พนักงานอัยการ และผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต หรือตามกฎหมายอื่น ๆ เช่น กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นต้น
Edited by Stargate-1, 21 November 2013 - 22:28.