ความผิดฐานบุกรุก
ประมวลกฎหมายอาญา ภาค ๒ ความผิด ลักษณะ ๑๒ ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์
หมวด ๘ ความผิดฐานบุกรุก มาตรา ๓๖๒ –๓๖๖
เข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น
มาตรา ๓๖๒ ผู้ใดเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเพื่อถือการ ครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือเข้าไป กระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ ของเขาโดยปกติสุข ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับ ไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรานี้บัญญัติขึ้นเพื่อการกระทำอันเป็นความผิด 2 ประการคือ
(1) เข้าไปเพื่อแย่งการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น และ
(2)เข้าไปกระทำการบกวนการครอบครองของผู้อื่น จะเห็นได้ว่าความผิดทั้งสองนี้มีข้อแตกต่างกันอยู่บ้าง คือ
ความผิดประการแรกผู้กระทำจะต้องมีเจตนาพิเศษเพื่อแย่งการครอบครอง
ส่วนความผิดประการที่สอง ไม่ต้องมีเจตนาพิเศษ
เจตนาพิเศษ คือ มูลเหตุจูงใจในการกระทำความผิด เจตนาพิเศษเป็นคนละกรณีกับเจตนาธรรมดา เจตนาธรรมดาคือประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผล
ความผิดใดกฎหมายต้องเจตนา พิเศษ ก็จะบัญญัติถ้อยคำที่แสดงว่าเป็นเจตนาพิเศษไว้ในองค์ประกอบของความผิดนั้น ๆ โดยตรง เช่น คำว่า โดยทุจริต ถือว่าเป็นเจตนาพิเศษ
ความผิดประการแรก องค์ประกอบของความผิดมีดังนี้
องค์ประกอบภายนอก
1.เข้าไป
2.ในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น
องค์ประกอบภายใน
1.เจตนา
2.เพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วน
คำอธิบาย
เข้าไป เป็นลักษณะของการกระทำอันเป็นความผิดตามมาตรานี้ซึ่งหมายถึงว่าตัวผู้กระทำ ต้องได้ล่วงล้ำเข้าไปโดยจะล่วงล้ำเข้าไปทางพื้นดินหรือทางใต้ดิน หรือทางอากาศก็ได้ และไม่จำเป็นว่าตัวผู้กระทำจะต้องล่วงล้ำเข้าไปทั้งตัวหรือส่วนใหญ่ของร่าง กาย เพียงแต่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายของผู้กระทำ เช่น เท้า ศีรษะ ล่วงล้ำเข้าไปก็ถือว่าเป็นการเข้าไปตามความหมายในมาตรานี้แล้ว เช่น เอื้อมมือเข้าไปเด็ดดอกไม้ หรือชะโงกหน้าเข้าไปก็เป็นการบุกรุกได้ คำว่าเข้าไป
ไม่จำเป็นว่าส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายต้องล่วงล้ำเข้าไปแต่ อย่างใด เช่น จำเลยใช้ไม้กระดานตีขวางทับประตูห้องที่ของโจทย์ครอบครองในขณะที่โจทย์ไม่ อยู่ และปิดห้องไว้ทำให้โจทย์เข้าห้องไม่ได้ เป็นการล่วงล้ำเข้าไปในอำนาจครอบครองของโจทย์ ตามความในมาตรานี้แล้ว อีกตัวอย่าง จำเลยใส่กุญแจห้องที่โจทย์เช่าทำให้โจทย์
เข้าใช้ห้องพิพาทไม่ได้ ถือเป็นความผิดฐานบุกรุก
ในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น การเข้าไปดังกล่าวนั้นจะต้องเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น คือกฎหมายจำกัดวัตถุที่ถูกกระทำต่อว่าต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์ของผู้ อื่น อสังหาริมทรัพย์มีความหมายตาม ปพพ.มาตรา 139 ได้แก่ ที่ดินกับทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดิน หรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้น และหมายความรวมถึงสิทธิทั้งหลายอันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินด้วย แต่โดยสภาพของความผิดคำว่าอสังหาริมทรัพย์ในที่นี้คงหมายความรวมถึงเฉพาะ สิ่งที่มีรูปร่างซึ่งอาจมีการเข้า
ไปได้ ส่วนสิทธิอันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นเป็นเรื่องของนามธรรมไม่มีตัว ตน จะมีการเข้าไปไม่ได้ อสังหาริมทรัพย์ตามความผิดแรกนี้ จำกัดว่าต้องเป็นของผู้อื่น ถ้าเป็นของตนเอง หรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ไม่อยู่ในความหมายนี้ ดังนั้นเจ้าของร่วมเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ที่ตนมีกรรมสิทธิ์ร่วมกับผู้ อื่นก็ไม่ผิดตามความผิดแรกนี้
การบุกรุกตามมาตรานี้ เป็นการกระทำต่อสิทธิครอบครอง ฉะนั้นอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นก็ไม่จำเป็นต้องถึงขั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของ ผู้อื่น แม้อสังหาริมทรัพย์เป็นที่ดินมือเปล่า คือ มีเพียงสิทธิครอบครองมิได้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น แต่ก็เป็นทรัพย์มีเจ้าของจึงเป็นทรัพย์ที่อาจบุกรุกได้ แต่ถ้าเป็นกรณีที่โต้แย้งกันอยู่ว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของโจทย์หรือ
ของ จำเลย การที่จำเลยเข้าไปไถและปลูกปอในที่ดินนั้นยังไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้ หรือหากที่พิพาทยังมีข้อโต้เถียงความเป็นเจ้าของกันอยู่ระหว่างโจทย์กับ บุคคลที่สามยังไม่ได้ความแน่ชัดว่าเป็นที่ของโจทย์การที่จำเลยเข้าไปทำ นาในที่นั้นโดยบุคคลที่สามอนุญาตให้จำเลยทำ หรือหากสิทธิครอบครองของเจ้าของที่ดินมือเปล่าสิ้นสุดลง เพราะถูกแย่งการ ครอบครองแล้ว จำเลยเข้าไปปลูกพืชในที่ดินนั้นจำเลยก็ยังไม่ผิดฐานบุกรุก ในกรณีของที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน แม้ผู้ที่ เข้าไปครอบครองใช้ประโยชน์อยู่ก่อน จะมีสิทธิฟ้องบุคคลที่เข้าไปรบกวนสิทธิของผู้นั้นเป็นคดีแพ่งก็ตาม แต่ผู้นั้นก็ไม่ใช่ผู้เสียหายอันอาจจะดำเนินคดีอาญากับบุคคลที่เข้าไปรบกวนสิทธิดังกล่าวได้
คำว่า “ผู้อื่น” จะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ กระทรวง ทบวง กรม ดังนั้นทรัพย์สินของแผ่นดินบางอย่างรวมทั้งอสังหาริมทรัพย์ กระทรวง ทบวง กรม จึงอาจถือกรรมสิทธิ์ได้ ซึ่งหากเป็นกรณีนี้ก็ต้องถือว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ มีเจ้าของ อันอาจถูกบุกรุกได้
เจตนา ผู้กระทำจะต้องมีเจตนาในการเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น และต้องรู้ข้อเท็จจริงด้วยว่าอสังหาริมทรัพย์เป็นของผู้อื่นเพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วน เป็นเจตนาพิเศษในการกระทำผิดคือนอกจากผู้กระทำจะมีเจตนาธรรมดาแล้วก็ จะต้องมีเจตนาพิเศษเพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือบาง ส่วนด้วยจึงจะเป็นความผิด ในกรณีที่ผู้กระทำมีเจตนาพิเศษดังที่กฎหมายกำหนดแล้ว
การกระทำเป็นความ ผิดสำเร็จในขณะที่ผู้กระทำได้เข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น ส่วนการที่จะได้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นหรือไม่ไม่สำคัญ เจตนาพิเศษนี้ก็ต้องดูจากการกระทำ เช่น เข้าไปปลูกบ้าน หรือปลูกพืช ก็เห็นได้ว่ามีเจตนาพิเศษเช่นนั้น หากผู้กระทำมิได้มีเจตนาพิเศษเพื่อถือการครอบครอง เช่น เพียงเดินผ่านหรือเข้าไปเลี้ยงสัตว์
ก็ไม่เป็นความผิดแรก แต่อาจจะเป็นความผิดฐานบุกรุกตามความผิดที่สองได้ ถ้าเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะกล่าวต่อไป
ความผิดประการที่สอง เข้าไปกระทำการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ องค์ประกอบของความผิดมีดังนี้
องค์ประกอบภายนอก
1.เข้าไป
2.กระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปกติสุข
องค์ประกอบภายใน
เจตนา
คำอธิบาย
เข้าไป มีความหมายเช่นเดียวกับที่อธิบายมาแล้วในความผิดประการแรก
กระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปกติสุข ความผิดประการที่สองนี้ นอกจากเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์แล้ว ยังต้องมีการกระทำอื่นเพิ่มเติมอีกคือ กระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปกติสุข ซึ่งจะกระทำอย่าง ไรก็ได้ทั้งนั้น ถ้าเกิดผลเป็นการรบกวนแล้วก็ตามเข้าองค์ประกอบความผิด เช่น ใส่กุญแจห้องมิให้ผู้เช่าเข้าห้องได้ งัดกุญแจห้องเข้าไปเปิดทำการค้าในอาหารที่เจ้าพนักงานให้ผู้อื่นครอบ ครองรักษา ขนเครื่องเหล็กและพลาสติกไปวางไว้ทั้งชั้นบนและชั้นล่างในห้องที่ผู้อื่น เช่าอาศัยอยู่ เหล่านี้ถือว่าเป็นการกระทำอันเป็นการรบกวนการครอบครอง แต่ถ้าเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์แล้ว มิได้กระทำการใดอันเป็นการรบกวนการครอบครองก็ไม่ผิด การรบกวนการครอบครองอสังหาริม ทรัพย์ตามความผิดประการที่สองนี้ คือการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ที่มีผู้ครอบครองอยู่ กฎหมายมิได้บัญญัติว่า อสังหาริมทรัพย์นั้นจะต้องเป็นของผู้อื่นอย่าง ในความผิดประการแรก ฉะนั้น อสังหาริมทรัพย์ในความผิดประการที่สองนี้จะเป็นของใครก็ได้ แม้เป็นอสังหาริมทรัพย์ของตนเอง
ถ้าเข้าไปกระทำการรบกวนการครอบครองของผู้อื่น เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ก็มีความผิดบุกรุกได้
เจตนา ได้แก่ เจตนาตามมาตรา 59 วรรค 2 ความผิดเกี่ยวกับการรบกวนการครอบครองนี้ ผู้กระทำไม่ต้องมีเจตนาพิเศษแต่อย่างใด หากกระทำไปโดยประสงค์จะรบกวนการ ครอบครองอสังหาริมทรัพย์แล้ว ก็เป็นความผิดฐานบุกรุกได้ แต่ถ้าผู้กระทำไม่มีเจตนาเช่นนั้น ก็ไม่เป็นความผิดมาตรานี้
ความผิดตาม มาตรานี้เป็นความผิดอันยอมความได้ โจทย์มิได้ร้องทุกข์และได้ฟ้องคดีเอง เมื่อพ้นกำหนดสามเดือนนับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดคดีโจทย์ขาดอายุความ
Edited by คนกรุงธน, 25 November 2013 - 20:19.