วันนี้ขอเกาะกระแสการอภิปรายไม่ไว้วางใจหน่อยนะครับ วันนี้ผมจะลองสรุปประเด็นเรื่องโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านกันหน่อยดีกว่าครับ เอาเป็นภาพรวมนะครับ ไม่ลงไปที่โครงการย่อย
ก่อนอื่น ผมขออธิบายที่มาและภาพรวมของโครงการนี้ก่อน เอาคร่าวๆ เผื่อใครยังไม่เคยรู้เรื่องนี้เลยซักนิดนึงนะครับ..
- นับจากเหตุการณ์น้ำท่วมปี 54 รัฐบาลก็ได้ตั้งกรรมการมากมายหลายชุดมาทำเรื่องต่างๆ ในที่สุดก็ได้จัดทำข้อเสนอแนะขึ้นมาอย่างเร่งด่วน ชื่อว่า “งานหลัก (Back Bone) และโครงการที่จะต้องจัดทำตามยุทธศาสตร์การบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาแบบบูรณาการและยั่งยืน (ก.พ. 2555)” ครับ โดยในเอกสารฉบับนี้ก็ได้มีการบอกไว้ว่าจะต้องมีการลงทุนประมาณ 3.5 แสนล้านบาทในโครงการต่างๆ ในเล่มนี้ ซึ่งได้ระบุชื่อโครงการไว้คร่าวๆ ครับ เช่น อ่างเก็บน้ำแม่แจ่ม อ่างเก็บน้ำแก่งเสือเต้น อ่างเก็บน้ำแม่วงก์ จัดทำพื้นที่ปิดล้อม จัดทำทางน้ำหลาก โดยแต่ละโครงการก็มีแนวทางกว้างๆ มากๆ แค่นั้นครับ (ปัญหาโครงการต่างๆ ที่ประท้วงกันทั้งหมด อยู่ในนี้แหละครับ ใครสนใจก็หาโหลดใน google ได้เลยนะครับ)
- หลังจากนั้น รัฐบาลก็ขอผ่าน พรก.เงินกู้ 3.5 แสนล้านบาท เพื่อเอาเงินมาใช้ในโครงการ โดยไม่ผ่านเป็น พรบ.เพราะบอกว่าเป็นโครงการเร่งด่วน ต้องรีบใช้เงิน ออกเป็น พรบ.ปกติไม่ทัน
- จากนั้นก็ออกระเบียบสำนักนายกฯ เพื่อกำหนดกฎเกณฑ์มาสำหรับการใช้เงินก้อนนี้เป็นพิเศษ โดยที่ให้ไม่ต้องไปผ่าน ระเบียบการคลังและพัสดุแบบปกติ (พูดง่ายๆ ก็คือ ไม่ต้องผ่านระเบียบการใช้เงินแผ่นดินแบบปกติที่ราชการใช้กันเป็นปกติ)
- แล้วก็ทำ TOR เพื่อให้องค์กรต่างๆ เข้ามาประมูลงาน โดยเป็นการประมูลงานแบบให้ทั้งออกแบบและดำเนินการ (เค้าเรียกว่า Design and build) พูดง่ายๆ ก็คือ ให้ผู้มาประมูล ออกแบบว่าจะทำอะไร เวนคืนที่ดิน ทำEIA ทำความเข้าใจกับชาวบ้าน และสร้างให้เรียบร้อย โดยรัฐบอกราคาเพดานที่รัฐจะจ่ายได้ (ก็คือวงเงิน 3.5 แสนล้านนั่นแหละครับ)
- หลังจากนั้นก็ประมูลกันได้ไปเรียบร้อย
- แต่ศาลก็ได้วินิจฉัยว่า ให้ไปทำประชาพิจารณ์ก่อนทำโครงการ ซึ่งก็เป็นที่มาของการทำเวทีรับฟังความเห็นทั่วประเทศกันอยู่ในตอนนี้และครับ
เอาละครับ ทีนี้ หลังจากพอเห็นภาพรวมโครงการนี้แล้ว ผมจะสรุปปัญหาต่างๆ ในมุมมองผมให้ฟังนะครับ (ทั้งคิดเองและสรุปๆจากความเห็นคนอื่นที่ได้เคยฟังมาด้วย)
1. มุมมองทางวิชาการ ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของเรื่องนี้คือ ทำไมเราไม่ศึกษาให้ชัดเจนก่อนว่าปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นเป็นเพราะอะไร แล้วจะต้องแก้อย่างไร.. ปัญหาที่เกิดขึ้นมีทั้งเกิดจากธรรมชาติ (ผมคิดว่าซัก 30%) และจากการจัดการที่ผิดพลาด (ซัก 70% อันนี้ประเมินเองนะครับ).. การที่มีแผน Back Bone ออกมาในเดือน กพ. 2555 นี่มันเป็นไปไม่ได้เลยที่จะเป็นการศึกษาที่รอบด้าน (ถ้าจำไม่ผิดตอนนั้นน้ำยังท่วมอยู่ในหลายพื้นที่เลยมั้งครับ) ในแผน Back Bone จึงมีแต่โครงการเก่าๆ ของกรมชลประทานยัดกันเข้ามา โครงการที่เคยจะทำแต่ไม่ผ่าน โครงการที่กำลังอยากจะทำ โครงการอะไรๆ ที่มีคำว่า “น้ำ” ก็เลยถูกยัดเข้ามาแบบ “เหมาเข่ง” มันอดคิดไม่ได้ว่าโครงการต่างๆถูกยัดเข้ามาเพื่อให้งบประมาณมันสูงๆ เข้าไว้แค่นั้น
ผมคิดว่าการเกิดน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 เนี่ย เราควรใช้วิกฤตินี้ให้เป็นโอกาสในการศึกษาจุดอ่อนของประเทศในการบริหารจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะภัยพิบัติธรรมชาติอย่างจริงจัง จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เราเห็นได้ชัดว่า ระบบการตัดสินใจของหน่วยงานต่างๆ ไม่มีความเป็นระบบเลย (ผมเคยไปคุยกับคนที่ดูและการระบายน้ำอ่างเก็บน้ำมา คือระบบปัจจุบันนี่อาศัยประสบการณ์และการคาดเดามากเลย) ควรจะต้องมีการปรับปรุงระบบการตัดสินใจโดยให้คิดถึงความเสี่ยงต่างๆ มากขึ้น มีการจัดโครงสร้างการตัดสินใจและระบบข้อมูลใหม่ เป็นต้น ซึ่งเรื่องการบริหารจัดการเนี่ย ไม่ได้ถูกกล่าวถึงใน Back Bone เลยนะครับ (อ่านเรื่องการวิเคราะห์น้ำท่วมได้จากหลายๆที่เลยนะครับ เช่น รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม 2555)
2. ในมุมมองการเมือง/กฎหมาย ในมุมมองทางการเมืองและกฎหมาย มีหลายประเด็นเลยครับ
- เช่น ทำไมรัฐต้องเลือกออก พรก. แทน พรบ. เราก็ต้องมาดูว่าการออก พรก. ต่างกับ พรบ. อย่างไรครับ.. พรก.เป็นการออกกฎหมายในกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ โดยประเด็นสำคัญคือ ให้คณะรัฐมนตรีส่งให้นายกฯ และขึ้นทูลเกล้าได้เลย โดยไม่ต้องพิจารณาในสภาก่อน ทีนี้ประเด็นก็คงอยู่ที่ว่า เรื่องการลงทุน 3.5 แสนล้านนี้เป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนฉุกเฉินหรือไม่ ซึ่งก็ต่างคนต่างคิดครับ
- ทำไมถึงต้องออกระเบียบสำนักนายกเป็นพิเศษเพื่อใช้เงินนี้ โดยไม่ผ่านระเบียบการคลังและพัสดุแบบปกติ ขั้นตอนนี้จะทำให้มีการทุจริตง่ายขึ้นและขาดการตรวจสอบหรือไม่ เรื่องนี้ผมไม่ค่อยถนัดนะครับ เป็นเรื่องการอ่านตัวกฎหมาย แต่ว่า ป.ป.ช. ได้มีหนังสืออย่างเป็นทางการให้คณะรัฐมนตรี ห่วงใยถึงการใช้ระเบียบดังกล่าวแทนระเบียบพัสดุเดิมโดยเฉพาะ 5 ประเด็นหลัก คือ (1) การคัดเลือกผู้รับจ้าง (2) การจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จในรูปแบบ Design and Build (3) การประกันราคาไม่เกินวงเงินสูงสุด (4) การจ้างเหมาช่วง (5) หลักความรับผิดชอบของเจ้าของโครงการ และ (6) การขัดกับมาตรการป้องกันการทุจริตตามที่กฎหมายกำหนด โดยรวมก็คือ มีข้อห่วงใยมากมายกับระเบียบและขั้นตอนใหม่ ที่น่าจะมีปัญหาตั้งแต่ขั้นตอนการคัดเลือก การเลือก การตรวจสอบ และความรับผิดชอบ เลยครับ แต่รัฐก็ยังคงยืนยันว่าจะไม่ใช้ระเบียบปกติในการดำเนินการต่อไป (รายละเอียดเพิ่มเติม http://thaipublica.o...nt-project-tor/)
- ต่อเนื่องจากข้อก่อน เมื่อไม่ต้องมีการกำหนดราคากลาง แต่รัฐได้กำหนดวงเงินสูงสุด ก็ทำให้เกิดการยื่นราคาประมูลที่ใกล้เคียงกับราคาสูงสุดมาก เช่น วงเงิน 50,000 ล้านบาท บริษัทก็ยื่น 49,999.99 ล้านบาท (ตามหลักเศรษฐศาสตร์ก็คือการบอกเค้าว่า maximum willingness to pay คือเท่าไหร่ คนขายก็คงจะอยากขายของตามราคาสูงสุดนั่นแหละครับ)
- แถมเรื่องการกำหนดความรับผิดชอบก็ไม่ชัดเจน เช่น หากชาวบ้านไม่ยอมหรือไม่เห็นด้วยกับโครงการ โครงการดำเนินไปไม่ได้ ใครจะเป็นคนรับผิดชอบ เพราะในปัจจุบัน โครงการทั้งหมดที่ได้ประมูลออกไป ยังไม่มีการศึกษาและการผ่านความเห็นของประชาชนใดๆทั้งสิ้น (ผมกังวลลึกๆ ว่า ถ้ามีปัญหาดำเนินการไม่ได้ ผู้ประมูลจะมาฟ้องรัฐอีก เสีย 2 เด้งเลยทีเดียว อันนี้ผมเดานะครับ ไม่ทราบจริงๆ)
- มีการกู้เงินหลังกำหนด พรก. (อันนี้ข้อมูลจากการอภิปรายนะครับ ผมไม่ถนัด แต่จะพยายามสรุปให้) คือเนื่องจาก พรก. นั้นสำหรับใช้ในกรณีเร่งด่วนเท่านั้น ในพรก.จึงมีกำหนดขอบเขตการกู้เงินไว้อย่างชัดเจน (ไม่งั้นถ้าไม่รีบก็ให้ไปออกพรบ.แทน) ซึ่ง พรก.3.5แสนล้านนี้ กำหนดไว้ให้กู้เงินภายในวันที่ 30 มิ.ย. 2556 เท่านั้น แต่ว่ารัฐบาลได้ไปกู้เงินจากธ.ออมสินหลังจากวันที่ 30 มิ.ย. (แบงค์อื่นไม่ให้กู้เพราะตีความว่าเลยกำหนดพรก.ไปแล้ว) ส่วนรัฐบาลก็พยายามบอกว่าได้ทำหนังสือวงเงินกู้ไว้ก่อนวันที่ 30 แล้ว แต่กู้จริงหลังจากนั้นไม่เป็นไร ก็ต้องเถียงกันว่าการทำหนังสือเหมือนกับขอวงเงินเนี่ย นับเป็นการกู้หรือยัง หรือนับการกู้จริงจากวันที่ขอกู้และได้เงินจริง (งงป่าวครับ 5555) ก็เป็นประเด็นที่ต้องดูกันไปครับ
ประเด็นทางกฎหมายทั้งหมดนี้อยู่ในขั้นตอนการสอบสวนของ ป.ป.ช. ครับ ต้องรอดูกันไปว่าจะตัดสินออกมาอย่างไร อาจจะเป็นความหวังสุดท้ายของเราก็ได้ครับ
3. ในฐานะนักศศ.ที่รักสิ่งแวดล้อม ผมว่าปัญหาที่น่าเกลียดที่สุดคือ ขั้นตอนการทำโครงการครับ ในความเป็นจริง รัฐควรจะ ศึกษาโครงการ (ทางเลือกต่างๆ + การยอมรับของประชาชน + ความคุ้มค่า) – ออกแบบ (กำหนด TOR การทำโครงการ) – ก่อสร้าง (เลือกผู้รับเหมา + ตรวจสอบ) โดยอาจจะแยกจ้างศึกษาโครงการก่อน เพื่อให้รู้ว่าเราควรจะทำอะไร นี่เป็นขั้นตอนปกติของการทำการลงทุนครับ แต่รัฐบาลกลับเลือกทำทางที่ขัดกันคือ คัดเลือกผู้รับเหมาและออกแบบ แล้วจึงให้ไปก่อสร้าง โดยให้ศึกษาและทำความเข้าใจกับประชาชนไประหว่างที่มีการก่อสร้างแทน ผมคิดว่าประเด็นนี้ ตรรกะมันเพี้ยนหมดครับ มันสื่อให้เห็นถึงความต้องการแค่จะเอาเงินโดยที่ไม่สนใจว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับประเทศไทยเลย ไม่สนใจว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโครงการต่างๆจะเป็นอย่างไร แล้วถ้ามีปัญหาและแก้ไขไม่ได้จะทำอย่างไร ผมไม่อยากจะเชื่อจริงๆว่าเหตุการณ์หรือตรรกะแนวคิดแบบนี้จะยังเกิดขึ้นอีกในสมัยนี้ (และประชาชนหลายคนยังยอมรับมันได้)
- ตัวอย่างง่ายๆ แค่การทำ EIA เนี่ย ตามหลักการแล้วในการทำโครงการขนาดใหญ่ที่น่าจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องมีการทำการศึกษาผลกระทบ (EIA) ก่อน (ย้ำว่าก่อนนะครับ) เพื่อประเมินว่าโครงการนี้ทำได้หรือไม่ หรือจะต้องมีการป้องกันดูแลอย่างไร แต่ตามแผนงานของโครงการน้ำนี่ ประมูลงานกันออกไปแล้วนะครับ แล้วให้แต่ละบริษัทที่ได้รับประมูลไปทำ EIA กันทีหลัง สร้างไป-ทำEIAไป สร้างไป-คุยกับประชาชนไป แล้วยังไงดีครับ ถ้าเกิดทำแล้วบอกว่ามันไม่คุ้ม ผลกระทบเยอะ ไม่ควรทำ ก็ให้บริษัทเค้าหาที่ทำใหม่เหรอครับ หรือจะให้เค้าคืนเงินดี แค่เรื่องนี้เรื่องเดียวก็มึนแล้วครับ นี่ยังไม่นับประเด็นที่ไปปลดผู้พิจารณา EIA ที่ไม่เห็นด้วยออกจากคณะกรรมการและตั้งเฉพาะคนที่เห็นด้วยเข้ามาเพื่อพยายามผ่าน EIA ทั้งหลายที่ไม่เคยผ่านได้ด้วยนะครับ (ประเด็นนี้เห็นชัดเจนเรื่องเขื่อนแม่วงก์ครับ)
- ล่าสุดนี้ หลังจากศาลออกมาสั่งให้ต้องรับฟังความเห็นของประชาชน รัฐก็จัดเวทีรับฟังความเห็นทั่วประเทศครับ โดยใช้งบประมาณ 184 ล้านบาทใน 36 จังหวัดครับ ขั้นตอนนี้ก็ปัญหาเพียบครับ เช่น รัฐยังไม่รู้เลยว่าโครงการต่างๆจะทำอะไรบ้าง แล้วจะเอาอะไรไปคุยกับประชาชนครับ ให้เวลาคนแสดงความเห็นคนละ 5 นาที (จัดที่ละ 1 วัน) แถมยังมีการกีดกันไม่ให้คนที่ไม่เห็นด้วยเข้าร่วมประชุมอีกต่างหาก (http://thaipublica.org/2013/09/water-projects-public-hearing/) ไอ้การที่จะไปรับฟังความเห็นกับประชาชน เลยกลายเป็นการไปปะทะ-ทะเลาะกับประชาชน และก็ดื้อดึงว่าได้ทำการรับฟังครบถ้วนหมดแล้ว และจำเดินหน้าทำโครงการต่อไป
สรุปนะครับ ผมคิดว่าการทำโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านโดยใช้ระบบนี้ น่ากลัวมากกับการที่เราจะต้องสูญเสียเงินไปโดยที่ยังไม่รู้ว่าจะได้อะไรกลับมาและจะมีประโยชน์จริงหรือเปล่า แต่ที่น่ากลัวกว่าเรื่องการเสียเงินคือ สภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยจะต้องเปลี่ยนแปลงไป โดยเป็นเพียงเครื่องมือของคนบางคนในการตั้งงบประมาณขึ้นมาผลาญ เอาปัญหาน้ำท่วมมาเป็นข้ออ้าง สิ่งแวดล้อมที่เสียไปมันประเมินมูลค่าไม่ได้นะครับ เพราะว่าหลายสิ่งมันสร้างกลับมาใหม่ไม่ได้ มันเป็นสิ่งที่เสียแล้วเสียเลยครับ ถ้าโครงการนี้ผ่านแบบนี้จริงๆ อนาคตประเทศไทยก็ตัวใครตัวมันแล้วครับ
สวัสดีประเทศไทย
ใครอยากอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ไปที่
http://thaipublica.o...t-transparency/
http://thaipublica.o...transparency-2/
http://thaipublica.o...ement-projects/
.............................................................................
ท้าวความที่มาโครงการน้ำ https://www.facebook...151733827667791
เดี๋ยวจะเอาภาพเหตการณ์มาลงต่อครับ