#51
ตอบ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 10:36
เมื่อมีบางพวกบางหมู่อาศัยช่องว่างของกฏแล้ว ย่อมจะมีอีกพวกเสมอเข้าแก้ไขกฏให้ดำรงค์ความถูกต้องของมันไว้
เสมือนเป็นการเยียวยาในสังคมของมัน เป็นไปตามธรรมชาติของระบอบประชาธิปไตย
กฏมันมีไว้เพื่อควบคุมคนในหมู่มาก ไม่แข็งเกินไปและต้องไม่อ่อนจนเกินไป
มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา สอดคล้องกับคนในสังคมนั้นๆ
เสียงทุกเสียงมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันในสังคมประชาธิปไตย
แต่ประชาธิปไตยจะแบ่งบานเมื่อประชาชนในสังคมนั้นๆมีความรู้ความเข้าใจอย่างเสมอภาคกัน
เราไปเข้าใจอำนาจหน้าที่ของผู้แทนที่เราเลือกเข้าไปอย่างผิดๆไปรึปล่าว
การที่ผู้แทนเราเข้าไปทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง มันไม่ใช่ว่าทำเพราะเสียงส่วนมากซะที่ไหน
มันแค่คนที่เราเลือกไปส่วนมากไปร่วมกันทำโดยที่เราแค่เลือกไว้ใจให้ทำ เมื่อสิ่งที่ทำมันไม่ใช่สิ่งที่ต้องการ
เราย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องสิทธิของเราคืนเป็นเรื่องธรรมดา แต่การอ้างเสียงส่วนใหญ่ของผู้แทนที่เราเลือกไปมากกว่าคือความไม่ถูกต้อง
(ต้องขอโทษด้วย พิมพ์ไปเริ่มไม่เข้าใจเอง ถามไรยากๆ งง )
- อู๋ ฮานามิ, Sailom and อิสระเสรีชน like this
#52
ตอบ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 10:46
สมาชิกทุกคนในบอร์ดนี้(ไม่นับพวกเกรียนป่วนบอร์ด)ไม่มีผู้ใดเข้าข้างมึงเลยแม้แต่คนเดียว
จงกลับไปยังที่ๆควรอยู่ซะ ซึ่งไม่ใช่ที่นี่แน่ๆ
#53
ตอบ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 10:49
ข้อนี้ ผมไม่ทราบ (แทนพรรคเพื่อไทย) เหมือนกันครับ. ถ้าจะให้ผมตอบแทน ณ ตอนนี้ ...
ไม่ว่า นักการเมืองฝ่ายใด พรรคใด ก็ออกมาอ้างความถูกต้องในรูปแบบที่ตัวเองได้ผลประโยชน์ทั้งสิ้น
(ฝ่ายหนึ่ง อ้างหลัก นิติรัฐ ฝ่ายหนึ่งอ้างหลัก รัฐศาสตร์. แต่ไม่มีฝ่ายใด ที่ย้อนกลับไปถามที่ต้นตอของอำนาจ ของระบอบประชาธิปไตยเลย นั่นคือ เสียงของประชาชน ในการทำ ประชามติ)
อันนี้เห็นด้วยอยู่แล้วครับ
ถ้าอ่านดูดีๆ กระทู้นี้ ผมพยายามเสนอความเห็นว่า "อะไรที่เป็นปฏิปักษ์ และถูกบิดเบือน (โดยใช้ความ ถูกต้อง ของ เรา) ไปบ้างใน ระบอบประชาธิปไตย"
อย่างที่ผมเชื่อว่า ด้วย แก่นแท้ ของ ระบอบประชาธิปไตย จริงๆ แล้วมันคือ "เสียงส่วนใหญ่" จริงๆ ครับ
การที่เราจะเอาความคิด และทัศนคิ ไปตัดสินแทนคนอื่น "นั่นเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง" (ในความเชื่อของผม)
ท้ายที่สุด ถ้าเรามีประเด็น หรือความขัดแย้งใดๆ ที่ถกเถียงกันไม่จบอย่างเป็นวงกว้างในสังคมอยู่ทุกวันนี้ ผมว่า มันจะจบได้ถ้าเราทุกคนยึดมั่นในหลักการประชาธิปไตย แล้วกลับไปเรียกร้องให้ ประชาชนที่เป็นเจ้าของอำนาจที่แท้จริงในการตัดสิน จะด้วยการ เลือกตั้ง หรือด้วยประชามติ ก็ตาม
ผมมองว่าเราต้องยึดมั่นในประชาธิปไตย และ กฏหมาย ครับ
(ข้อความต่อไปนี้ อาจจะมีการเหมารวมอยู่บ้างนะครับ)
แต่ทุกวันนี้เราไปประท้วง เราไปเดินขบวนกัน เราเคยคิดและเข้าใจแก่นแท้ของ ประชาธิปไตย กันจริงๆ แล้วหรือยัง?
สำหรับผม ผมยอมรับไม่ได้ (ด้วยความเชื่อของผมเอง) จากประโยคที่ว่า
ผมมองว่าถ้าประชาชนไม่พอใจก็มีสิทธิ์ประท้วงครับ ทุกประเทศก็มีทั้งนั้น
เขามีสิทธิ์บอกว่าเขาไม่พอใจรัฐบาลเรื่องอะไร ผมมองว่าม็อบก่อนหน้านี้อย่างม็อบก่อนๆก็พยายามเตือนแล้ว
แต่เมื่อรัฐบาลไม่ฟัง แถมยังดัน นิรโทษขึ้นมาอีก ก็ต้องออกครับ
"เลือกตั้งทำไม เลือกตั้งไปก็แพ้มันอยู่ดี? มันเป็นระบอบทุนสามานย์ ที่ใช้อำนาจเงินซื้อเสียง ใช้อำนาจประชานิยมมาหลอกเสียงคน ตจว."
ผมเห็นว่าการเลือกตั้งถูกต้องแล้วครับ แต่เมื่อคุณต้องถูกออกด้วยกฏหมายก็ต้องยอมครับ
ไม่งั้นจะมีวาทกรรมโง่แบบ "หลุดนายกเพราะทำกับข้าวออกทีวี" มาอีก
ปล.ขออภัยที่ตอบช้านะครับ
ปล2. ขออนุญาตตัดออกบางโควทไม่งั้นจะยาวไป
Edited by DoctorK, 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 10:50.
รักที่สุดคือพ่อหลวง ห่วงที่สุดคือคนที่รักประชาธิปไตยจนเสียสติ
หากโพสไหนไม่เหมาะสม MODลบได้เลยนะครับ
#54
ตอบ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 11:10
" สำหรับผม สาระสำคัญของ ระบอบประชาธิปไตย อยู่ที่ เสียงข้างมาก จริงๆ นั่นแหล่ะครับ (เฉพาะแก่นแท้ของมัน) "
ถ้าทุกคนเข้าใจว่า เสียงข้างมากสำคัญสุด ในคำาว่า ประชาธิปไตย ก็จะเจอเหมือนทุกวันนี้ คือ ประชาธิปไตยกินได้
และมีคนไม่หวังดี อ้างประชาธิปไตย จน เละเทะ. ได้เป็นอมาตย์กัน จริงๆ
ประชาธิปไตย ที่สมบูรณ์ ต้องตามมาด้วย 3 เรื่องเรียงความสำคัญ คือ. คุณธรรม นั่นคือ หลักนิติธรรม , ความรู้ในเรื่องที่ถกเถียง , ความเป็นอิสระในการตัดสินใจ. ไม่มีคำว่า เสียงส่วนมากในหลักใหญ่ เลย. เสียงส่วนมากคือผลของประชาธิปไตย ไม่ใช่หลักการประชาธิปไตย
ถ้าโต็ะกลม ๑โต๊ะ มี 10 คน 3 คน มีความรู้ มีอิสระในการตัดสินใจ. อีก 3 คนมีความรู้ แต่ไม่มีอิสระในการตัดสินใจ นายใหญ่ให้ยกมืออย่างเดียว อีก 4 คนไม่รู้เขาเถียงอะไรกัน แต่ให้เข้ามานั่งแล้ว ประธานบอกว่าขอมติ ยกอย่างเดียว ไม่ต้องถามว่าอะไร
ก็เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง???
เมื่อ อาทิตย์ก่อน มีท่านอมาตย์ ออก ทีวี พูดเสียงข้างมาก ขนาดผมฟังจนหลงไหล ว่ามันน่าจริง แล้วชาวบ้านทั่วไป แม้มีคผุณวุฒิ แต่ไม่ชำนาญหลักรัฐศาสตร์ กฎหมายรัฐธรรมนูญ จะไม่เขว หรือ
ผมขอเอาบทความที่เคยเขียนมาให้อ่านเล่นๆ
____________
hatori, on 07 Dec 2013 - 14:04, said:
กล้าแน่นอนครับ เพราะผมไม่ใช่ผู้สนับสนุนรัฐบาล
อะไรถูกก็ว่าไปตามถูก อะไรผิดว่าไปตามผิด
ผมก็ต่อต้านกฎหมายนิรโทษกรรม
การกดบัตรแทนกันก็ไม่เห็นด้วย
ส่วนเรื่องศาลเห็นได้ชัดว่าศาลรัฐธรรมนูญตัดสินผิดอีกทั้งมีที่มาไม่ชอบธรรมมาจากการรัฐประหาร(คณะตุลาการเหล่านี้มาจากใหน)
การแก้รัฐธรรมนูญย่อมขัดกับข้อในรัฐธรรมนูญ ในเรื่องสวนั้นเห็นด้วยว่าผิดในกระบวนการแต่โดยหลักการให้สวมาจากการเลือกตั้งจึงถูกต้องตามหลักอำนาจอธิปไตยมาจากปวงชนให้สวแต่งตั้งนั้นมาหลังการรัฐประหาร
แต่ที่เน้นอยู่ตอนนี้คือผู้ชุมนุมมิได้ต่อต้านรัฐบาลด้วยวิธีการที่อยู่ในกติกา(ไม่ได้บอกไม่ให้ต่อต้าน)
ข้อเรียกร้องของแกนนำคุณสุเทพเรื่องสภาประชาชน นายก ม7 ไม่เป็นประชาธิปไตย(ทำให้การชุมนุมนี้ไม่ๆด้สนับสนุนประชาธิปไตย)
การชุมนุมยึดสถานที่ไม่ใช่สันติอหิงสา
มีผู้เสียชีวิตทั้งสองฝ่าย(ไม่เห็นด้วยกับความรุนแรงทำให้มีผู้เสียชีวิตทั้งสองฝ่าย)
ถ้าคุณไม่ใช่เสื้อแดง ก็น่าเสวนาด้วยครับ เพราะแสดงว่ายังมีใจเปิดรับความคิดเห็น
ที่เถียงกันอย่างเมามัน เพราะยังไม่เห็นหลักที่แท้จริง
การปกครองหลักประชาธิปไตย. สูงสุดไม่ใช่พูดเรื่องปวงชน หรือหลัก 1 สิทธิ 1 เสียง เป็นเรื่องสำคัญที่สุด หรือเสรีภาพสำคัญสุด หรือการได้มาของอำนาจสำคัญที่สุด
ถ้าศึกษามามากระดับหนึ่ง จะรู้ว่า หลัก ประชาธิปไตย คือ หลักวิธีการปกครองหมู่มาก ทุกประเทศที่มีปัญหาทั้งหมดไม่ว่า อิตาลี อียิปต์ ฟิลิปปินส์
ผู้มีอำนาจใช้หลัก rule of majority ( เสียงข้างมาก) มาก่อน จึงเกิดปัญหามาตลอด
หลักสูงสุด คือ นิติธรรม ( rule of Law)
ถ้า เมื่อไร rule of majority มาก่อน rule of Law จะลุกเป็นไฟ เหมือนที่เป็นอยู่
ฮิตเลอร์ก็ได้เสียงข้างมากจากการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น แต่พาเยอรมัน สู่ภัยพิบัติ ( ตัวอย่างการได้มาของอำนาจ ไม่สำคัญเท่า นิติธรรม)
ส่วนจีน. ไม่ใช่ประชาธิปไตย. แต่ตอนนี้ เจริญ กว่าเรา
อาร์เจนตินา ล้มละลายขนาด หมอ ต้องมานั่งตลาดสด คิดค่าวัดความดันถูกๆ ( ตัวอย่างการที่รัฐคุมสื่อจดหมด ไม่บอกความจริง และโฆษณา
ชวนเชื่อว่า ต่างชาติจะมาซื้อกิจการรัฐวิสาหกิจ ประเทศจะมีเงิน เพราะขาดหลักนิติธรรม)
ในไทย เงินกู้ 2 ล้านๆ ต่อให้กู้ 10 ล้านๆ ถ้าอยู่ในหลักที่ถูกต้อง ก็กู้ไปได้
แต่การกู้ครั้งนี้ มีหลักขัดนิติธรรมชัดเจน ว่า. จ่ายเงินได้ไม่ต้องเขียนโครงการใช้เงิน
กู้เงินมา ไม่เข้ากระทรวงการคลัง แปลว่า ไม่ต้องใช้ระเบียบกระทรวงการคลัง
กู้มา โดยออก พรบ ว่า ไม่ใช่เงินงบประมาณ ไม่ใช่เงินหลวง แต่จ่ายเงินกู้คืน ใช้เงินภาษีคือเงินหลวง
แล้วยังเสียบบัตรแทนกัน
นี่ถ้าไม่เกิดเรื่อง มี มาตรา 68 จ่อแก้ไขคือ ไม่ให ปชช ยื่นฟ้องโดยตรงต่อ ศาล รธน. ทั้งที่ ม 68 อยู่ในหมวด 12 ว่าด้วย สิทธิของปชช โดยตรง ในการ
พิทักษ์ รธน
เมื่อผู้ครองอำนาจมองว่า หลัก rule of majority เหนือกว่า หลัก
rule of law แล้ว เวลาทำอะไร ก็สามารถอ้างว่า ทำถูกต้องเสมอ เพราะมาจากเสียงข้างมาก จึงอ้าง rule of majority มาก่อน rule of law
อย่างตัวอย่างสุดท้ายคือ
ตำรวจ นำหมายจับสุเทพ มา zerox แล้วโปรยลงจาก ฮาริคอปเตอร์ โดนศาลเตือนห้าม แต่ไม่บอกเหตุผล
แต่หลักก็คือ rule of law.
คือ หลักที่ว่า คุณสุเทพยังเป็นเพียงผู้ถูกกล่าวหา ไม่ใช่ไป ลดความน่าเชื่อถือโดยวิธีการไม่ถูกต้อง
ท้ายสุด เมื่อผู้มีอำนาจไม่มีหลัก rule of law แล้ว. จะเป็นรัฐบาลที่เป็นนิติรัฐ ยากเต็มที
ก็จะเกิดความแตกแยก แตกสลายในที่สุด ไม่วันใดก็วันหนึ่ง
- Abraxas, อู๋ ฮานามิ, nhum and 3 others like this
#55
ตอบ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 11:36
ยอมรับแต่กติกาที่เป็นประโยชน์กับตนเอง เช่น การเลือกตั้ง
แต่ไม่ยอมรับกติกาอื่นๆที่ตัดสินโดยศาล ทั้งๆที่ถูกผิดศาลท่านก็ว่าไปตามกฎหมายแท้ๆ
แล้วก็พาลด่าศาล ประกาศไม่ยอมรับอำนาจศาล
ประชาธิปไตยของ จขกท เป็นแบบนี้หรือครับ
สำหรับผม ต่อให้มันถูกเลือกมาจากคน 60 ล้าน ผมก็จะไล่มัน
ผมไม่แน่ใจว่า คห. นี้ คำว่า "ไม่ยอมรับ อำนาจ ศาล" หมายถึง กรณีใด นะครับ?
1) ถ้าหมายถึง กรณี ที่คุณทักษิณ ถูกตัดสินมูลความผิด เรื่องกรณีทุจริต คอรัปชั่น แล้วต้องหนีไปต่างประเทศ
- ข้อนี้ไม่ใช่ ประเด็น ที่ผมกำลังจะสื่อ นะครับ
แล้วความเห็นคุณต่อทักษิณกรณีนี้เป็นยังไงครับ
2) ถ้าหมายถึง กรณี ที่พรรคเพื่อไทย ไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ กรณีขอแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 50
- อันนี้ ผมขอ ออก ความเห็นไว้ดังนี้
2.1) อำนาจบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ เป็น 3 อำนาจที่ถ่วงดุลกันในระบอบประชาธิปไตยของบ้านเรา โดย มีประชาชน ผู้เป็น เจ้าของอำนาจอธิปไตย ที่แท้จริง
ถูกครับ
2.2) อำนาจนิติบัญญัติ มาจาก สส. และ สว. ถ้าถามว่ากรณีนี้ สส. และ สว. ได้ใช้ลงมติเห็นชอบให้แก้ร่างรัฐธรรมนูญนี้แล้ว แต่ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า เป็นการแก้ไขเพื่ออำนวยในการสร้างฐานอำนาจให้กับกลุ่มทุน (เช่น แก้ไขข้อจำกัดที่มาของ สว. ฯลฯ) แปลว่า ศาล ได้ใช้อำนาจของเขาในการ ถ่วงดุล แล้ว
คุณเข้าใจผิด ศาลตัดสินให้คุณผิดเพราะกระบวนการของคุณไม่ชอบด้วยกฏหมายครับ
2.3) การที่ พรรคเพื่อไทย ออกมาปฏิเสธ อำนาจศาล ผมเห็นว่า ก็ไม่ได้ผิด 100% นะครับ. ด้วยเหตุผลที่ว่า 3 สถาบันหลักนี้ ย่อมไม่มีใครใหญ่ไปกว่าใคร.
พท นี่เป็น3สถาบันหลักหรือครับ คุณกำลังไปผิดทางเลยนะครับ
2.4) แต่ทางออกที่แท้จริง ของปัญหานี้ (ซึ่งผมเห็นว่า ควรจะต้องบัญญัติไว้ในรัธรรมนูญ เลยด้วยซ้ำ) ว่า ...
"ถ้าเกิดกรณีสถาบันหลัก ผู้ที่เป็นตัวแทนในการใช้อำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย มีข้อขัดแย้งกันขึ้น ทางออกเดียวคือ จะต้องใช้ประชาธิปไตยทางตรง นั่นคือ ประชามติ ครับ"
แล้วทำไม พท ไม่กล้าทำล่ะครับ ง่ายดี
เท่าที่ผมดูนะ ณ ตอนนี้ ฝ่ายหนึ่งก็อ้างอำนาจนิติรัฐ นิติธรรม อ้างว่าอำนาจศาลผูกพันทุกองค์กร. ฝ่ายหนึ่งก็อ้างอำนาจนิติบัญญัติจากการเป็นผู้แทนของราษฎร.
ถ้าเรา (ประชาชน) รักความถูกต้อง ในระบอบครรลองประชาธิปไตยจริง ผมมองว่า ...
เราควรจะออกมาเรียกร้องให้มีการทำ ประชามติ กับกรณีดังกล่าว มากกว่าเถียงกันไปเถียงกันมา ว่าใครมีอำนาจมากกว่าใครนะครับ
ผมขอถามอีกครั้งครับ แล้วทำไม พท. ไม่ทำประชามติ
หรือเพราะเมื่อไม่มีนโยบายประชานิยมมาเกี่ยวคนจะไม่เลือกงั้นเหรอครับ
ขอตอบประเด็นเรื่อง
คุณเข้าใจผิด ศาลตัดสินให้คุณผิดเพราะกระบวนการของคุณไม่ชอบด้วยกฏหมายครับ
ผมตัดมาบางส่วนจาก http://www.manager.c...D=9560000144300
นอกจากนี้ การแก้ไขที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ได้มาจากการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว อันมีที่มาเหมือนกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จึงย่อมเป็นเสมือนสภาฯ เดียวกัน ไม่เกิดเป็นความแตกต่าง และเป็นอิสระซึ่งกันและกันของทั้ง 2 สภาฯ เป็นการทำลายลักษณะ และสาระสำคัญของระบบ 2 สภาฯ สูญสิ้นไป การแก้ไขที่มา และคุณสมบัติของสมาชิกวุฒิสภามีความเกี่ยวข้องกับฝ่ายการเมือง หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ ย่อมทำให้หลักการตรวจสอบ และถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกันของระบบ 2 สภาฯ ต้องสูญเสียไปอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้ฝ่ายการเมืองสามารถควบคุมอำนาจเหนือรัฐสภาได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ปราศจากการตรวจสอบและถ่วงดุลซึ่งกันและกัน อันเป็นการกระทบต่อการปกครองประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเปิดทางให้ผู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินการครั้งนี้ ได้อำนาจในการตอบแทนต่อประเทศด้วยวิธีการที่ไม่เป็นไปตามวิธีที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้
นอกจากนี้ เนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 11 และมาตรา 11 /1 ยังขัดต่อรัฐธรรมนูญ ในเรื่องกระบวนการตรากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภาที่จะบัญญัติขึ้นใหม่ โดบรวบรัดให้มีการประกาศใช้กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าว โดยไม่ต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 141 ที่จะต้องส่งร่างกฎหมายดังกล่าว ให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาตรวจสอบความชอบของรัฐธรรมนูญเสียก่อน ซึ่งขัดกับการถ่วงดุลและคานอำนาจ อันเป็นหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ทำให้ฝ่ายการเมืองสามารถออกกฎหมายได้ตามอำเภอใจ โดยอาศัยเสียงข้างมากจากการตรวจสอบ
อาศัยเหตุดังที่ได้วินิจฉัยมาแล้วข้างต้น จึงวินิจฉัยโดยมติเสียงข้างมาก 6 ต่อ 3 ว่า การดำเนินการพิจารณาและล้มมติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของผู้ถูกร้องทั้งหมดในคดีนี้ เป็นการกระทำที่ไม่ชอบโดยกฎหมายรัฐธธรมนูญ โดยกฎหมายมาตรา 122 มาตรา 125 วรรค 1 และ วรรค 2 มาตรา 126 วรรค 3 มาตรา 291 และมาตรา 3 วรรค 2 และวินิจฉัยโดยมติเสียงข้างมาก 5 ต่อ 4 ว่ามีเนื้อความเป็นสาระสำคัญขัดแย้งต่อหลักการพื้นฐานและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 อันเป็นการทำให้ผู้ที่ถูกร้องได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศด้วยวิธีการซึ่งไม่ได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ฝ่าฝืนรัฐธธรมนูญมาตรา 68 วรรค 1
Edited by tee4cute, 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 11:38.
#56
ตอบ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 11:47
นายสุพจน์กล่าวต่อว่า ประเด็นแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ร่างแก้ไขมิใช่ร่างเดิมที่นายอุดมเดช รัตนเสถียร ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย และคณะ ยื่น แต่เป็นร่างที่จัดพิมพ์ขึ้นใหม่ และมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาที่เป็นหลักการสำคัญในมาตรา 116 (2) ที่ให้ ส.ว.ซึ่งสิ้นสุดวาระ สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้ทันที การกระทำตังกล่าวถือว่ามีเจตนาที่จะปกปิดข้อเท็จจริง ซึ่งเมื่อได้ข้อยุติว่าร่างที่ที่ประชุมร่วมรัฐสภา ไม่ใช่ร่างเดิมที่นายอุดมเดชเสนอ จึงเท่ากับว่าการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยขัดบทบัญญัติมาตรา 291 (1) นอกจากนี้ การตัดสิทธิการอภิปรายของผู้ที่ยื่นสงวนคำแปรญัตติถึง 51 คนทั้งที่ยังไม่มีการฟังการอภิปรายเลย แม้ประธานรัฐสภาจะมีอำนาจในการสั่งให้ปิดการอภิปราย แต่ถือเป็นการใช้อำนาจไม่ชอบ และเอื้อประโยชน์ฝ่ายเสียงข้างมากอย่างไม่เป็นธรรม ขณะที่การนับวันแปรญัตติที่มีการสรุปให้ย้อนหลังไปถึงวันที่ 4 เม.ย. ส่งผลให้วันแปรญัตติตามข้อบังคับการประชุมที่กำหนดไว้ 15-20 วันนับแต่วันที่รับหลักการวาระที่ 1 เหลือเพียง 1 วัน ส่งผลให้ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 125 และขัดต่อหลักนิติธรรม ที่ขัดบทบัญญัติรัฐธรรมนูญมาตรา 3
ขออภัยที่คงตอบยาวๆไม่ได้แล้วครับ เพราะยุ่งอยู่
ก็ตามข้างบนนี่แหละครับ
รักที่สุดคือพ่อหลวง ห่วงที่สุดคือคนที่รักประชาธิปไตยจนเสียสติ
หากโพสไหนไม่เหมาะสม MODลบได้เลยนะครับ
#58
ตอบ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 11:56
ทัศนคติของเจ้าของกระทู้ ก็ไม่ได้ผิดอะไรหรอก? แต่มันทำยาก
ถามว่า ประชาธิปไตยไทยมันถูกบิดเบือนหรือไม่ คำตอบคือใช่ และมันก็คือสาเหตุที่ทำให้ผมไม่ยอมรับประชาธิปไตยเสื้อแดง อยู่จนทุกวันนี้ไง
แล้วที่คุณสุเทพฯ อ้างความถูกต้อง และกระทำการอยู่ทุกวันนี้ มันเป็นความถูกต้องที่บิดเบือนหรือไม่ ก็ใช่อีก และมันก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ผมไม่ค่อยเห็นด้วยกับม๊อบนกหวีดซักเท่าไหร่ (แต่จนแล้วจนรอดก็ออกไปเดินกับเขาในวันที่ 9 ธ.ค. อยู่ ดีนั่นหละ)
เปรียบง่ายๆ ก็เหมือนคนเป็นพ่อเป็นแม่ ไม่อยากให้ลูกเป็นสก็อยแล้วคบกับจิ๊กโก๋ ปากซอย นั่นล่ะ หากแน่ใจแล้วว่าลูกคงหลงผิดเสียอนาคตแน่ๆแล้ว คนเป็นพ่อเป็นแม่ย่อมต้องทำทุกวิถีทางเพื่อเอาลูกกลับมา ไม่ว่าจะต้องใช้วิธีใด ถูกต้องเหมาะสมหรือไม่? เขาก็ไม่สน เอามันทุกทางนั่นล่ะ แม้ว่าทางที่ดีที่สุดคือ ปล่อยลูกไปผจญชะตากรรม ให้เรียนรู้ข้อผิดพลาดด้วยตัวเองก็เถอะ แต่เชื่อเหอะร้อยทั้งร้อย พ่อแม่ย่อมทนไม่ได้ที่จะเห็นลูกเป็นแบบนั้น และคงไม่เลือกเส้นทางแบบนั้น เขาจะเลือกทางอื่น แต่มันก็ขึ้นอยู่กับว่าทางที่เขาเลือกใช้ จะทำให้ปัญหามันดีขึ้นหรือแย่ลงเท่านั้น
ก็คล้ายกับการเมือง เมื่อเค้าเห็นชัดๆแล้วว่า รัฐบาลมันเลว และกำลังสร้างหายนะให้ประเทศแน่ๆแล้ว จะกอดความถูกต้องไว้แล้วปล่อยให้ประเทศพังพินาทไปต่อหน้า ..... คุณเจ้าของกระทู้ อาจทนได้(หรือผมเองก็ทนได้) แต่คนอีกนับล้านคน ทนไม่ได้ และไม่เลือกเช่นนั้น แต่กระนั้น ผมก็ไม่ทราบหรอกว่า ทางที่เค้าเลือก จะก่อให้เกิดผลแบบใด ดีขึ้นหรือแย่ลง? แต่ผมก็ขอเอาใจช่วยจนถึงที่สุดแล้วกัน
Edited by annykun, 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 11:58.
คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของผู้ชนะสงคราม คือ ความแข็งแกร่ง และ อุดมการณ์ที่สอดคล้องกับความเป็นจริง
คุณธรรมที่พร้ำสอน ล้วนเป็นสิ่งที่จำเป็นรองลงมา ส่วน ประชาธิปไตยน่ะรึ เอาเข้าจริงๆ สำคัญอันใด??
#59
ตอบ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 12:01
#60
ตอบ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 12:26
ผมชอบศิลปะ(art)แต่ผมเกลียดโฆษณา(advertising)เพราะโฆษณาเอาศิลปะไปรับใช้นายทุน
จริงๆแล้วสินค้านั้นอาจไม่มีประโยชน์หรือมีน้อยนิดแต่ประสบการณ์ทำให้รู้ว่าต้องใช้การหลอกล่อ กลยุทธ กลวิธีสารพัดเพื่อการขาย
เป้าของโฆษณาคือยอดขาย=ผลประโยชน์ของบริษัท
ผมชอบประชาธิปไตยแต่ผมเกลียดนักการเมืองไทยเพราะเอาประชาธิปไตยบังหน้าเพื่อหาประโยชน์ส่วนตัว
หลักการประชาธิปไตยที่คุณยกมาเป็นของดีควรเผยแพร่ให้คนไทยทุกคนเข้าใจ
ถ้าทุกคนเข้าใจเราก็จะเลือกคนดีๆเข้ามาทำงานแล้วก็ไม่ต้องมาเถียงกันว่าเสียงส่วนใหญ่ถูกหรือผิด
คุณว่านักการเมืองไทยเป็นนักประชาธิปไตยมั๊ย?
เคล็ดลับการชนะเลือกตั้งของทักษิณมาจากไหน?
มาจากชวลิตในฐานะผบ.ทบ.ผู้รับผิดชอบโครงการอีสานเขียว
เชาวลิตที่ตอนนั้นคนเรียกว่าขงเบ้งเ็ห็นอีสานทะลุเลย
ยอดส.ส.อีสานมากพอตั้งรัฐบาลได้ถ้ายึดอีสานได้ก็นายกฯเห็นๆ
แกล้งเป็นลูกอีสานทำดีนิดๆหน่อยๆโกหกคำโตๆสัญญาอย่างโน้นอย่างนี้คนอีสานก็เทคะแนนให้ทันที
ความหวังใหม่ชนะเลือกตั้งเชาวลิตเป็นนายกฯ นี่ไงประชาธิปไตย
เมื่อบริหารประเทศจนเจ๊งเค้าขายความคิดชั่วร้ายนี้ให้คนที่มีศักยภาพแต่ต้องชั่วพอกัน
ทักษิณ ชินวัตร
แม้วดูดส.ส.อีสานไม่พอดูดทุกคนที่ยอมขาย
นี่ไงนายกฯตลอดกาลเลือกตั้งกี่ครั้งก็ชนะ
นีใช่ประชาธิปไตยแบบที่คุณกำลังบอกรึเปล่า
*การบริหารประเทศไม่ใช่การักษาฐานเสียงเพื่อชนะเลือกตั้งครั้งต่อไปแต่ต้องดูแลคนทั้งประเทศ
และนำพาประเทศสู่ความเจริญก้าวหน้า
Edited by 10APR10, 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 12:44.
#61
ตอบ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 13:09
ขอเห็นแย้ง เจ้ากระทู้นิดนึงแล้วกัน
- ระบอบประชาธิปไตย อยู่ที่ เสียงข้างมาก จริงๆ นั่นแหล่ะครับ (เฉพาะแก่นแท้ของมัน)
โดยส่วนตัว ผมไม่คิดว่า เสียงข้างมาก อย่างเดียว จะเป็นคำตอบทุกอย่าง สำหรับประชาธิปไตยนะครับ ผมคิดว่าประชาธิปไตยคือ ระบอบ ที่ทำให้สังคมอยู่ร่วมกันได้โดยสงบสุข โดยใช้เสียงข้างมากเป็นเครื่องมือต่างหาก ทำไม คนคิดค้นประชาธิปไตย จึงมักออกแบบให้หลักการประชาธิปไตยให้เข้ากันได้ และมีความเกี่ยวพัน ถึงระบบการปกครองบ้านเืมืองของประเทศต่างๆ ที่นำเอาหลักการประชาธิปไตยไปใช้อย่างลึกซึ้งล่ะ? เพราะเจตนารมต์ของประชาธิปไตย มักมุ่งเน้นไปที่ความผาสุขของปวงชนทั้งหมด มากกว่าเน้นแค่ความต้องการของมวลชนส่วนใหญ่ อย่างเดียวไง หากระบอบประชาธิปไตยถูกบิดเบือนไป เป็นแค่ "ต้องทำตามเสียงส่วนใหญ่อย่างเดียวเท่านั้น" ไม่ว่าประเทศไหนก็จะเจอเหตุการณ์ แบบเดียวประเทศไทยทั้งนั้นนั่นล่ะ
เคยมีฝรั่ง วิจารณ์ว่าจุดอ่อนของประชาธิปไตย ก็คือ ชนกลุ่มน้อยนี่ล่ะ เพราะระบบที่อิงเสียงส่วนใหญ่มากๆ พรรครัฐบาลมักเอื้อประโยชน์ให้ฐานเสียงที่เป็นคนกลุ่มใหญ่มากกว่า และมีแนวโน้มที่จะละเลย ไม่ให้ความสำคัญ จนอาจเลยเถิดไปจนถึงเอารัดเอาเปรียบ หรือแม้แต่กดขี่ ชนกลุ่มน้อย และเมื่อใดที่ชนกลุ่มน้อยเริ่มเสื่อมศรัทธาในประชาธิปไตย พวกเขาจะเริ่มก่อความวุ่นวาย และประเทศนั้นก็จะไม่มีความสงบ และเพื่อ ป้องกันจุดอ่อนตรงนี้ ระบบเสียงข้่างมากในสภาจึงถูกคิดค้นมา เพื่อ ไม่ให้อำนาจถูกผูกขาดอยู่กับกลุ่มใดกลุ่มนึงมากเกินไป เน้นให้ทุกกลุ่มมีโอกาสผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันครองอำนาจ เพื่อลดความกดดันของเสียงส่วนน้อย ระบบตุลาการ องค์กรณ์อิสระต่างๆ ก็มีเพื่อให้รัฐบาลจากเสียงส่วนใหญ่ ทำหน้าที่ของตัวเองให้ดี ไม่คดโกง รวมถึงไม่ทำอะไรที่เป็นการ เอารัดเอาเปรียบเสียงส่วนน้อย จนเกิดปัญหาตามมา
น่าเสียดาย ที่ในสมัยทักษิณ เขาทำให้ระบบต่างๆ เหล่านี้พิกลพิการไปหมด อ้างเสียงข้างมากพรำ่พรื่อเพื่อทำเรื่องเลวๆ กีดกันพรรคคุ่แข่งทางการเมืองมากเกินไปจนผูกขาดอำนาจโดยสมบูรณ์ จนถึงนโยบายที่เอื้อคนส่วนใหญ่แต่ไม่ค่อยยุติธรรมนักกับคนส่วนน้อย และตัวเขาเองยังคดโกงไว้ใจไม่ได้อีก ลองพิจารณาดูสิ เจ้าของกระทู้ "จุดอ่อนทางประชาธิปไตย" โพล่เพียบ ไม่ต้องสงสัยหรอกว่าทำไม คนส่วนน้อยบางส่วนถึงดูเหมือนจะเสื่อมศรัทธากับระบอบประชาธิปไตย หากยังกอดประชาธิปไตยที่บิดเบือนและไม่สมบูรณ์ ไว้แบบนี้เรื่อยๆโดยไม่มีการปฎิรูป ก็จะมีปัญหาแบบนี้เรื่อยๆไป
สุดท้ายนะครับเจ้าของกระทู้ ประชาธิปไตยแบบเสื้อแดง ผมเชื่อว่า ไม่ว่าอยู่ประเทศไหน ก็จะเจอปัญหาแบ่งแยกดินแดนและปัญหาก่อความไม่สงบอยู่ร่ำไปแน่นอน
Edited by annykun, 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 13:12.
- อู๋ ฮานามิ, nhum, ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่ and 1 other like this
คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของผู้ชนะสงคราม คือ ความแข็งแกร่ง และ อุดมการณ์ที่สอดคล้องกับความเป็นจริง
คุณธรรมที่พร้ำสอน ล้วนเป็นสิ่งที่จำเป็นรองลงมา ส่วน ประชาธิปไตยน่ะรึ เอาเข้าจริงๆ สำคัญอันใด??
#62
ตอบ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 13:20
2.3) การที่ พรรคเพื่อไทย ออกมาปฏิเสธ อำนาจศาล ผมเห็นว่า ก็ไม่ได้ผิด 100% นะครับ. ด้วยเหตุผลที่ว่า 3 สถาบันหลักนี้ ย่อมไม่มีใครใหญ่ไปกว่าใคร.
ผมว่าข้อนี้คุณต้องไปอธิบายคำว่า การถ่วงดุลอำนาจของทั้ง 3 สถาบันหลักให้ได้ก่อน แม้ว่าทั้ง 3 สถาบันไม่ได้เกี่ยวพันกันแบบแนวดิ่ง แต่รัฐธรรมนูญก็ได้ให้อำนาจในการตรวจสอบกันและกันแก่ทั้ง 3 สถาบัน
การไม่ยอมรับอำนาจตุลาการ ย่อมหมายถึงการปฏิเสธรัฐธรรมนูญมิใช่หรือ
ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นองค์กรอิสระที่จัดตั้งขึ้นครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 แทนคณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่ยุบเลิกไป และมีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ แต่ไม่มีอำนาจหน้าที่พิจารณาอรรถคดีทั่วไป
อำนาจหน้าที่ที่สำคัญของศาลรัฐธรรมนูญ คือ การพิจารณาวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างข้อบังคับการประชุมของสภาผู้แทนราษฎร ของวุฒิสภา หรือของรัฐสภา ที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือรัฐสภา แล้วแต่กรณี ให้ความเห็นชอบแล้ว แต่ยังมิได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่ หรือพิจารณาวินิจฉัยว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญโดยที่ศาลเห็นเอง หรือคู่ความโต้แย้ง และยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น ตลอดจนพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญถือเป็นเด็ดขาดและมีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ
การพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญเป็นระบบไต่สวน ศาลมีอำนาจไต่สวนหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้ ซึ่งแตกต่างจากวิธีพิจารณาที่ใช้ในคดีทั่วไปของศาลยุติธรรม
http://th.wikipedia....นูญ_(ประเทศไทย)
- Sailom and ธีรเดชน้อย like this
สนับสนุน กปปส.
#63
ตอบ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 13:35
เจ้าของกระทู้ เป็นคนมีความรู้ และเหตุผล ดีทีเดียว
แม้ผมไม่ได้อ่านให้ละเอียด
ก็ยอมรับว่า เขามองได้หลากหลาย
บอกตรง ๆ ว่า ถ้า ชาวบ้าน คนไทย ส่วนใหญ่
มองได้ แบบนี้ ผมว่า ทักษิณ ไม่ได้เกิด
คนเรา ต้องมอง หลากหลาย
เพื่อน ๆ ต้องปล่อยใจ ให้กว้าง ดั่งแม่น้ำ
เพื่อเอาความคิด คนมารวมกัน
แต่ก่อน ผมมองความคิด ตัวเอง เป็นหลัก
ผมจึงมอง ประโยชน์ ตัวเองก่อน
นั่นจึงทำให้ ผมเสียท่า ทักษิณ
เพราะทักษิณ เป็นคนมี แบ็คดี
จิตวิทยา ดีเยี่ยม เป็นไปไม่ได้เลย
ที่คนที่มองแต่ ตัวเอง จะไม่ชอบทักษิณ
เพราะเขา " เอาประโยชน์ มาล่อ "
แต่ตอนนี้ ผมบอกได้แค่ว่า ถ้ายัง
ยึดตัวเอง อยู่ ชาติ ไม่รอด แน่นอน
เพราะงบประมาณ ชาติที่จำกัด
จะมาใช้เพื่อประโยชน์ เฉพาะกลุ่มไม่ได้
นโยบาย ของทักษิณ เห็นได้ชัด
ว่าตั้งใจเอาประโยชน์ เฉพาะกลุ่มมาล่อ
อย่าง 300 บาท ถ้าคิดถึงภาพรวม ไม่ได้
คิดถึงตัวเอง เกินไป ต้องรู้ว่า ส่งผลกระทบ
หลายอย่าง ทั้ง ค่าครองชีพ อัตราต้นทุน การแข่งขัน
ทำให้ sme อยู่ยาก เพราะ sme จะพึ่งการ จำกัดต้นทุน
เป็นสำคัญ ไม่เช่นนั้น แข่งขันลำบาก
ทักษิณ คิดแต่ คะแนนเสียง ไม่ดู
ภาพรวม จำนำข้าว ก็เช่นกัน
นี่เป็นสิ่งที่ชัดที่สุด ถ้าคนเรา เอาแต่ตัวเอง
ประเทศชาติ จะพังเพราะ มือเรา
ดังนั้น ต้องคิดให้มาก และคิดเพื่อส่วนรวม
ให้ได้ แม้ว่าเรา อาจยังลำบาก แต่ถ้า
ภาพรวมชาติไปได้ วันหนึ่งเมื่อเรา
ปรับปรุงตัวให้ดีขึ้น (ทัศนคติ และความขยัน
ใฝ่หาความรู้)
ความสำเร็จ และ ความสุข ก็จะมาหาเรา
และยั่งยืนด้วย เพราะชาติ ยังไงก็สำคัญกว่า
สิ่งอื่น
ขอให้พวกเรา ชาวหลากสี และพันธมิตร จงมีชีวิตรอด จากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ฝีมือปูนา ไปตลอดรอดฝั่งด้วยครับ
PEMDAS ย่อมาจาก ลำดับการคำนวณ Parentheses , Exponentials , Multiply , Divide , Add , Subtract
FWGHSO ย่อมาจาก ลำดับการประเมินผลของ query FROM, WHERE, GROUP BY, HAVING, SELECT, ORDER BY
#64
ตอบ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 13:39
Edited by annykun, 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 13:45.
- Sailom and ธีรเดชน้อย like this
คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของผู้ชนะสงคราม คือ ความแข็งแกร่ง และ อุดมการณ์ที่สอดคล้องกับความเป็นจริง
คุณธรรมที่พร้ำสอน ล้วนเป็นสิ่งที่จำเป็นรองลงมา ส่วน ประชาธิปไตยน่ะรึ เอาเข้าจริงๆ สำคัญอันใด??
#65
ตอบ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 13:46
ความถูกต้องอยู่เหนือเสียงส่วนใหญ่ เพราะคะแนนเสียงเปลี่ยนใจได้จากเหตุผลอันถูกต้องชอบธรรม
ถ้าเน้นแต่เสียงส่วนใหญ่เพื่อกดหัวคนที่เห็นถูกต้องชอบธรรม สิ่งที่รออยู่คือ"รัฐที่ล้มเหลว"
- Sailom and ธีรเดชน้อย like this
พ.ต.ท.ทักษิณ ยังได้พูดตัดพ้อกับคนที่เดินทางไปพบว่า “พรรคเพื่อไทยมีคนเก่งๆ เยอะ ทั้งนักวิชาการ ด็อกเตอร์ ทูต แต่ไม่กล้าออกมาสู้ คนหน้าตาดีไม่ออกมา พวกที่ออกมาหน้าตาไม่ค่อยดี ไม่เหมือนกับพรรคประชาธิปัตย์ ฝ่ายตรงข้าม คนมีความรู้ นักวิชาการออกมาเยอะแยะเลย คนจริงใจกับผมมันน้อย วางยาผม เพราะตัวเองอยากอยู่นานๆ เห็นว่านายกฯ ไม่แข็ง แต่ท่านนายกฯ ก็ดี แต่คนรอบข้างไม่เป็นการเมือง ผมส่งคนเป็นการเมืองไปนายกฯ ก็ไม่เอา ผมก็สงสารนายกฯ จึงไม่อยากจู้จี้ แต่คนที่เมืองไทยมันไม่ได้ดั่งใจ”
แปลสั้นๆ เขาด่าไอ้เสร่อแกนนำแดงว่า"โง่แต่ขยัน"
#66
ตอบ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 13:47
คนในรูปก็ต่อสู้เพื่อเปลี่ยนใจเสียงส่วนใหญ่ให้ยอมรับความถูกต้องชอบธรรม
- RiDKuN_user and Sailom like this
พ.ต.ท.ทักษิณ ยังได้พูดตัดพ้อกับคนที่เดินทางไปพบว่า “พรรคเพื่อไทยมีคนเก่งๆ เยอะ ทั้งนักวิชาการ ด็อกเตอร์ ทูต แต่ไม่กล้าออกมาสู้ คนหน้าตาดีไม่ออกมา พวกที่ออกมาหน้าตาไม่ค่อยดี ไม่เหมือนกับพรรคประชาธิปัตย์ ฝ่ายตรงข้าม คนมีความรู้ นักวิชาการออกมาเยอะแยะเลย คนจริงใจกับผมมันน้อย วางยาผม เพราะตัวเองอยากอยู่นานๆ เห็นว่านายกฯ ไม่แข็ง แต่ท่านนายกฯ ก็ดี แต่คนรอบข้างไม่เป็นการเมือง ผมส่งคนเป็นการเมืองไปนายกฯ ก็ไม่เอา ผมก็สงสารนายกฯ จึงไม่อยากจู้จี้ แต่คนที่เมืองไทยมันไม่ได้ดั่งใจ”
แปลสั้นๆ เขาด่าไอ้เสร่อแกนนำแดงว่า"โง่แต่ขยัน"
#67
ตอบ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 13:53
สรุปสั้นๆคือ เจ้าของกระทู้เข้าใจผิดว่าเสียงส่วนใหญ่กับความถูกต้องเป็นสิ่งเดียวกัน
โสเภนีอาจเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมายในบางประเทศ แต่ไม่มีวันเป็นสิ่งถูกต้องสำหรับโลกใบนี้
- Sailom likes this
พ.ต.ท.ทักษิณ ยังได้พูดตัดพ้อกับคนที่เดินทางไปพบว่า “พรรคเพื่อไทยมีคนเก่งๆ เยอะ ทั้งนักวิชาการ ด็อกเตอร์ ทูต แต่ไม่กล้าออกมาสู้ คนหน้าตาดีไม่ออกมา พวกที่ออกมาหน้าตาไม่ค่อยดี ไม่เหมือนกับพรรคประชาธิปัตย์ ฝ่ายตรงข้าม คนมีความรู้ นักวิชาการออกมาเยอะแยะเลย คนจริงใจกับผมมันน้อย วางยาผม เพราะตัวเองอยากอยู่นานๆ เห็นว่านายกฯ ไม่แข็ง แต่ท่านนายกฯ ก็ดี แต่คนรอบข้างไม่เป็นการเมือง ผมส่งคนเป็นการเมืองไปนายกฯ ก็ไม่เอา ผมก็สงสารนายกฯ จึงไม่อยากจู้จี้ แต่คนที่เมืองไทยมันไม่ได้ดั่งใจ”
แปลสั้นๆ เขาด่าไอ้เสร่อแกนนำแดงว่า"โง่แต่ขยัน"
#68
ตอบ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 14:08
เหอะ เหอะ จขกท ต้องไปทำความเข้าใจกับคำว่า ประชาธิปไตย ให้ดี เพราะดูเหมือน
จะยึดกับคำว่า เสียงข้างมาก หรือ เสียงส่วนใหญ่ คือ ประชาธิปไตย มันใช่หรือเปล่า
เสียงข้างมาก หรือ เสียงส่วนใหญ่ มันเป็นแค่วิธีการตัดสินใจในเรื่องใด เรื่องหนึ่ง ที่ถูกนำมาใช้
ด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป บางทีใช้เสียงข้างมากตัดสินใจ เพราะมันเถียงกันเยอะ เลย
สรุปเอาว่า ใครเห็นว่าควรทำอย่างไรมาออกเสียงกันดีกว่า ใครเห็นด้วยมากก็เอาตามนั้น หรือ
บางที ตัดสินใจคนเดียวได้ (อย่างระบอบบเผด็จการ) แต่ก็อาศัยการออกเสียงโดยใช้เสียงข้างมาก
ตัดสิน เพราะไม่ต้องการรับผิดชอบในการตัดสินใจ จึงโยนไปให้เสียงสนับสนุนส่วนใหญ่รับผิดชอบ
ตัดสินใจก็มี เพราะฉะนั้น เสียงข้างมาก หรือเสียงส่วนใหญ่ มันมีได้ในทุกระบอบการปกครองนั่นแหละ
ประชาธิปไตย มันหมายถึงความมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกันของมนุษย์ครับ แต่เมื่อเราอยู่รวมกันเป็น
ประเทศ มันย่อมต้องมีกฎระเบียบขึ้นมาควบคุมสิทธิเสรีภาพของคนในประเทศ ไม่ให้มันเลยเถิดชนิด
ใครจะทำอะไรก็ได้ เพราะถ้าไม่มีกฎระเบียบอะไรมาควบคุมสิทธิเสรีภาพไว้บ้าง สังคมมันก็จะปั่นป่วน
เละเทะใครทำอะไรได้ตามใจชอบ ย้อนยุคไปเหมือนเป็นบ้านป่าเมืองเถื่อน นั่นแหละ
กฎระเบียบที่เขากำหนดขึ้นมามันก็แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ เพราะมันขึ้นอยู่กับขนบธรรมเนียม
ประเพณี วัฒนธรรม และสังคม ของประเทศ นั้น ๆ ด้วย เหมือนอย่างที่ จขกท ยกตัวอย่างเรื่อง ซ่อง
ในญี่ปุ่น นั่นแหละ
ประเทศไทยก็มีกฎระเบียบครับ คือกฎหมายนั่นแหละ และที่ถือเป็นกฎหมายสูงสุดก็คือ รัฐธรรมนูญ ที่
คนไทยทุกคนต้องยึดถือและปฏิบัติตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ เพราะฉะนั้นจะเป็นเสียงส่วนใหญ่ หรือ
เสียงส่วนน้อย ก็ไม่สามารถที่จะละเมิดข้อกำหนดในรัฐธรรมนูญได้ครับ ถ้าละเมิดข้อกำหนดในรัฐธรรมนูญ
ก็ถือว่าทำผิดรัฐธรรมนูญ ยิ่งถ้าเกิดข้อโต้แย้งว่า ทำผิด หรือ ไม่ผิด ไปถึงศาลรัฐธรรมนูญ จนศาลวินิจฉัย
ออกมาแล้วว่า ผิดรัฐธรรมนูญ ยังออกมาประกาศว่าไม่ยอมรับอำนาจศาล แบบนี้มันแสดงให้เห็นถึงว่า
เป็นบ้านป่าเมืองเถื่อนแล้วครับ ไม่ใช่หลักประชาธิปไตย อะไร ไปหาที่ประเทศไหนในโลกนี้ ก็ไม่มีครับ
เพราะฉะนั้น เสียงส่วนใหญ่ มันเป็นแค่เสียงที่ตัดสินความต้องการเท่านั้น แต่ความต้องการนั้นจะเป็นความ
ต้องการที่ขัดระเบียบ กฎหมาย หรือศีลธรรมอันดี ไม่ได้ครับ ไม่งั้นประเทศชาติอยู่ไม่ได้หรอกครับ
- Lucy Van Pelt, Sailom and ธีรเดชน้อย like this
#69
ตอบ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 14:54
การปกครองระบอบประชาธิปไตย หมายถึง การปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน
นักการเมืองจากการปกครองระบอบนี้ เข้ามาบริหารบ้านเมืองโดยผ่านกระบวนการเลือกตั้งจากประชาชน
นักการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งจากเสียงข้างมาก มีสิทธิอันชอบธรรมในการบริหารบ้านเมือง แต่ไม่มีสิทธิ์ทุจริต คอร์รัปชั่น
ถ้าทำผิดเจตนารมย์ ก็ถือว่าเป็นการทรยศ หักหลังปชช.
หัวใจหลักของคำว่า ประชาธิปไตย คือเรื่องการใช้สิทธิ เสรีภาพของมนุษย์ที่มีขอบเขต
ถ้านักการเมืองทำเกินขอบเขต(คอร์รัปชั่น) หรือการมีส่วนร่วมสนับสนุนนักการเมืองที่ทำเกินขอบเขต
ไม่ถือว่าเป็นประัชาธิปไตย
การเลือกตั้งจึงไม่ใช่บทสรุปของคำว่าประชาธิปไตย
เสียงข้างมากจึงไม่ใช่บทสรุปของคำว่าประชาธิปไตย
สรุปตรงๆก็คือ ตรงไหนที่เกินขอบเขตของการใช้สิทธิ หรือการทำให้คนอื่นเดือดร้อน
ไม่ใช่ประชาธิปไตย
...ประชาธิปไตยที่แท้จริง มีมากว่า 2500 ปีแล้ว อยู่ในศีล 5 ของศาสนาพุทธ
แค่คุณถือศีล 5 คุณก็คือสุดยอดนักประชาธิปไตยแล้ว
- กีรเต้, แม้ว ม.7, อิสระเสรีชน and 1 other like this
#70
ตอบ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 04:30
^
^
ขอแย้งเน้อ
ศีล 5 ไม่ได้เกี่ยวกับหลักประชาธิปไตยเลยเน้อ คนละเรื่อง
ศีล 5 เป็นหลักในการประพฤติตนส่วนตัวเพื่อไม่เบียดเบียนส่วนรวม
หลักประชาธิปไตยในศาสนาพุทธมีอยู่แล้ว ชื่อ หลัก เยภุยยสิกา ระงับด้วยเสียงข้างมากลงมติ
http://www.bloggang....group=1&gblog=7
ประชาธิปไตยของพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้า ทรงบัญญัติไว้ว่าหมู่ภิกษุ เมื่อเกิดข้อถกเถียงหรือข้อขัดแย้งใดเกี่ยวกับพระธรรมคำสอน ขัดแย้งกันว่าใครถูกใครผิด ใครเข้าใจถูกใครเข้าใจผิด หรือใครตีความพระธรรมได้ถูกหรือผิด.
ทรงบัญญัติให้เรียกประชุมหมู่สงฆ์ แล้วทุกองค์พูดออกมาว่าในเรื่องที่ขัดแย้งอยู่นั้นพระสงฆ์แต่ละองค์เคยได้ยินมาว่าอย่างไร เมื่อแต่ละองค์พูดออกมาหมดแล้ว ให้หมู่พระสงฆ์นั้นถือเอาตามการได้ยินได้ฟังมาของพระสงฆ์หมู่ใหญ่เป็นข้อสรุปให้ถือว่าพระธรรมที่ทรงตรัสสอนเป็นตามที่พระสงฆ์หมู่มากได้ยินมา.
ให้พระสงฆ์หมู่น้อย หรือ เสียงข้างน้อยนับถือตามที่เสียงส่วนใหญ่ยืนยัน. ให้ถือว่าเสียงส่วนน้อยนั้นจำมาผิด หรือได้ยินได้ฟังมาผิด หรือเข้าใจความหมายผิด. ให้ยุติความขัดแย้งโดยให้ถือตามเสียงส่วนใหญ่นั้น.
หลักพระธรรมข้อนี้คล้ายคลึงมากๆกับระบอบประชาธิปไตย คือเคารพในเสียงส่วนใหญ่.
หลักประชาธิปไตยทั่วไปในพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประชาธิปไตยมาตั้งแต่เริ่มแรก ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะทรงมอบให้พระสงฆ์เป็นใหญ่ในกิจการทั้งปวงเสียอีกลักษณะที่เป็นประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนามีตัวอย่างดังต่อไปนี้
1. พระพุทธศาสนามีพระธรรมวินัยเป็นธรรมนูญหรือกฎหมายสูงสุด พระธรรม
คือ คำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง พระวินัยคือ คำสั่งอันเป็นข้อปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติขึ้นเมื่อรวมกัน เรียกว่า พระธรรมวินัย ซึ่งมีความสำคัญขนาดที่พระพุทธเจ้าทรงมอบให้เป็นพระศาสดาแทนพระองค์ ก่อนที่พระองค์จะปรินิพพานเพียงเล็กน้อย
2. มีการกำหนดลักษณะของศาสนาไว้เรียบร้อย ไม่ปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม
ลักษณะของพระพุทธศาสนาคือสายกลาง ไม่ซ้ายสุด ไม่ขวาสุด ทางสายกลางนี้เป็นครรลอง อาจปฏิบัติค่อนข้างเคร่งครัดก็ได้ โดยใช้สิทธิในการแสวงหาอดิเรกลาภตามที่ทรงอนุญาตไว้ ในสมัยต่อมา เรียกแนวกลางๆ ของพระพุทธศาสนาว่า วิภัชชวาที คือศาสนาที่กล่าวจำแนกแจกแจง ตามความเป็นจริงบางอย่างกล่าวยืนยันโดยส่วนเดียวได้ บางอย่างกล่าวจำแนกแจกแจงเป็นกรณี ๆ ไป
3. พระพุทธศาสนา มีความเสมอภาคภายใต้พระธรรมวินัย
บุคคลที่เป็นวรรณะกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทรมาแต่เดิม รวมทั้งคนวรรณะต่ำกว่านั้น เช่นพวกจัณฑาล พวกปุกกุสะคนเก็บขยะ และพวกทาส เมื่อเข้ามาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้องแล้ว มีความเท่าเทียมกัน คือปฏิบัติตามสิกขาบทเท่ากัน และเคารพกันตามลำดับอาวุโส คือผู้อุปสมบทภายหลังเคารพผู้อุปสมบทก่อน
4. พระภิกษุในพระพุทธศาสนา มีสิทธิ เสรีภาพภายใต้พระธรรมวินัย
เช่นในฐานะภิกษุเจ้าถิ่น จะมีสิทธิได้รับของแจกก่อนภิกษุอาคันตุกะ ภิกษุที่จำพรรษาอยู่ด้วยกันมีสิทธิได้รับของแจกตามลำดับพรรษา มีสิทธิรับกฐิน และได้รับอานิสงส์กฐินในการแสวงหาจีวรตลอด 4 เดือนฤดูหนาวเท่าเทียมกัน นอกจากนั้นยังมีเสรีภาพที่จะเดินทางไปไหนมาไหนได้ จะอยู่จำพรรษาวัดใดก็ได้เลือกปฏิบัติกรรมฐานข้อใด ถือธุดงควัตรข้อใดก็ได้ทั้งสิ้นฃ
5. มีการแบ่งอำนาจ
พระเถระผู้ใหญ่ทำหน้าที่บริหารปกครองหมู่คณะ การบัญญัติพระวินัย พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติเอง เช่นมีภิกษุผู้ทำผิดมาสอบสวนแล้วจึงทรงบัญญัติพระวินัย ส่วนการตัดสินคดีตามพระวินัยทรงบัญญัติแล้วเป็นหน้าที่ของพระวินัยธรรมซึ่งเท่ากับศาล
6. พระพุทธศาสนามีหลักเสียงข้างมาก คือ ใช้เสียงข้างมาก เป็นเกณฑ์ตัดสิน เรียกว่า วิธีเยภุยยสิกา การตัดสินโดยใช้เสียงข้างมาก
ฝ่ายใดได้รับเสียงข้างมากสนับสนุน ฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายชนะคดี
แต่กระนั้น ในการใช้อธิปไตย พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ยึดหลักเสียงส่วนใหญ่เพียวๆ แบบไม่มีระบบถ่วงดุลครับ
http://www.mcu.ac.th...Critical/03.htm
หลักการใช้อธิปไตย พระพุทธเจ้าทรงนิยม ธรรมาธิปไตย คือ เอาหลักการเป็นใหญ่ มิใช่ อัตตาธิปไตย เอาตนเป็นใหญ่ หรือ โลกาธิปไตย เอาโลกหรือพวกพ้องเป็นใหญ่ ดังพระองค์แสดงไว้อย่างชัดเจน
"ที่ใดไม่มีสัตบุรุษ ที่นั้นมิใช่สภา"
Edited by ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่, 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 04:31.
- Octavarium, กีรเต้, Sailom and 3 others like this
#71
ตอบ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 05:51
แล้วการกระทำของผู้แทนส่วนใหญ่ ก็ไม่ได้หมายถึงความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ซะทีเดียว ถ้าไม่ใช่ประชามติที่มาจากประชาชน
#72
ตอบ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 07:17
#73
ตอบ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 08:25
^
^
ขอแย้งเน้อ
ศีล 5 ไม่ได้เกี่ยวกับหลักประชาธิปไตยเลยเน้อ คนละเรื่อง
ศีล 5 เป็นหลักในการประพฤติตนส่วนตัวเพื่อไม่เบียดเบียนส่วนรวม
หลักประชาธิปไตยในศาสนาพุทธมีอยู่แล้ว ชื่อ หลัก เยภุยยสิกา ระงับด้วยเสียงข้างมากลงมติ
หัวใจหลักของประชาธิปไตย คือเรื่องของการใช้สิทธิเสรีภาพที่มีขอบเขต
ศีล 5 คือ ข้อห้ามการใช้สิทธิเสรีภาพที่เกินขอบเขต เกี่ยวกับประชาธิปไตยเต็มๆครับ ไม่ใช่ไม่เกี่ยว
หลัก เยภุยยสิกา ที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ ก็เป็นประชาธิปไตย แต่เป็นเรื่องของการแก้ปัญหาองกรณ์สงฆ์
แต่ศีล 5 นี่หลักประชาธิปไตยของมวลมนุษยชาติเลยครับ
*** กฎหมายเกี่ยวกับความสงบสุขเรียบร้อยของสังคมของประเทศไทย ที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยฯ ก็ยึดถือมาจากศีล5 ของศาสนาพุทธ
ทั้งห้ามฆ่าคน ห้ามขโมย ห้ามข่มขืน ห้ามโกหกหลอกลวง ต้มตุ๋น เมาไม่ขับ
Edited by กรกช, 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 08:43.
#74
ตอบ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 10:54
Edited by กระต่ายหมายจันทร์, 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 10:59.
อย่าให้ความชั่วร้ายครอบงำเรา จนไม่รู้จักผิดชอบดีชั่ว
#75
ตอบ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 11:12
ผมขอเสริมคุณผึ้งน้อย ในเรื่องการปกครองระบอบประชาธิไตย ว่าหลักพุทธศาสนาที่สามารถนำมาใช้ได้อีกอย่างคือ อปริหานิยธรรม ๗
อปริหานิยธรรม ๗ หมายถึง ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความไม่เสื่อม ๗ ประการ ผู้ปฏิบัติธรรมนี้จะเป็นไปเพื่อความเจริญทั้งฝ่ายบ้านเมืองและฝ่ายสงฆ์คือ
ฝ่ายบ้านเมือง
๑. หมั่นประชุมกันเนืองนิจ การอยู่ร่วมกัน การทำงานร่วมกันของคนในสังคมจะต้องมีการ พบปะ ประชุมปรึกษาหารือกันสม่ำเสมอ เพื่อแก้ไขปัญหาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ยอมรับในเหตุผลที่ถูกต้องที่เป็นประโยชน์ เพื่อความเข้าใจที่ดีต่อกันของทุกคนในสังคมซึ่งความเจริญ ไม่เกิดความเสื่อมในทุกกรณี เช่น ในครอบครัว พ่อ แม่ ลูก มีอะไรพูดกันปรึกษากัน ลูกก็จะอบอุ่น ปัญหาลูกไปติดยาเสพย์ติด ก็จะไม่เกิดขึ้น ในสถานที่ทำงาน หัวหน้ามีการประชุมปรึกษากับผู้ร่วมงานทุกครั้ง งานก็จะราบรื่น หากมีข้อผิดพลาด ทุกคนก็จะยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้น
๒. พร้อมเพรียงกันประชุม เลิกประชุมและกระทำกิจที่ควรทำ เพื่อให้เกิดความยุติธรรมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของหมู่คนที่อยู่รวมกัน ไม่กินแหนงแคลงใจกัน จะทำงานอะไรก็สำเร็จได้ เช่นในครอบครัวมีอะไรปรึกษาหารือกันก็ต้องอยู่พร้อม ๆ กัน เพื่อทุกคนจะได้ยอมรับในสิ่งที่จะทำลงไปด้วยความเต็มใจ
๓. ไม่บัญญัติสิ่งที่ยังไม่ได้บัญญัติและไม่เลิกล้มสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว เช่น บ้านเมืองจะสงบสุขได้ ทุกคนจะต้องบัญญัติและไม่ล้มเลิก ระเบียบกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของคณะและสังคมตามความพอใจของตนหรือของกลุ่มโดยไม่คำนึงถึงความถูกต้อง ตัวอย่าง เช่น นักเรียนจะต้องแต่งเครื่องแบบของโรงเรียนเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย จะแต่งกายตามใจตนเองไม่ได้
๔. เคารพนับถือผู้ใหญ่การเคารพและรับฟังคำสั่งสอนของผู้ใหญ่ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี เพราะผู้ใหญ่เกิดก่อน ผ่านประสบการณ์มามากกว่า ประกอบกับการอยู่ร่วมกันในสังคมต้องมีผู้นำ ถ้าเราให้การเคารพและเชื่อฟังผู้นำ สังคมก็จะไม่วุ่นวาย เช่น ถ้าลูกเชื่อฟัง พ่อ แม่ ก็จะเป็นคนดีได้เพราะไม่มีพ่อแม่คนไหน อยากลูกตนเองให้ชั่ว
๕. ไม่ข่มเหงล่วงเกินสตรี สตรีถือว่าเป็นเพศแม่ เป็นเพศที่อ่อนแอ บุรุษควรให้เกียรติให้ การยกย่อง ปกป้องไม่ให้ใครละเมิดสิทธิหรือข่มเหงรังแก ถ้าสังคมใด ๆ ผู้หญิงถูกฉุดคร่าข่มขืน มาก ๆ ความเสื่อมก็จะเกิดกับสังคมนั้น
๖. สักการะเคารพเจดีย์ หมายถึงการให้ความเคารพและปกป้องรักษาปูชนียสถานที่สำคัญในศาสนา เพื่อจะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของกลุ่มคนในหมู่คณะที่อยู่ร่วมกันและระลึกถึงกัน เช่น การเคารพพระปฐมเจดีย์
๗. ให้การอารักขา คุ้มครอง อันชอบธรรมแก่พระอรหันต์ คือการคุ้มครองบรรพชิต ซึ่งเป็นผู้สืบทอดพระพุทธศาสนาให้คงอยู่ตลอดไป เช่น การทำบุญด้วยปัจจัย ๔ เป็นต้น
อย่าให้ความชั่วร้ายครอบงำเรา จนไม่รู้จักผิดชอบดีชั่ว
#76
ตอบ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 12:54
ผมขอสั้นอย่างนี้ดีกว่า ครับท่าน จขกท
จุดแข็งที่สุดของประชาธิปไตยคือ เสียงส่วนใหญ่
ในขณะเดียวกัน กลับกลายเป็นจุดที่อ่อนที่สุดด้วย
-เห็นด้วยหรือไม่ ครับ????
เอาสองบรรทัดนี้ให้ตกผลึกก่อน แล้วค่อยเดินต่อ จะดีกว่าไหม
ความวุ่นวาย สับสน ความเลวทรามต่ำช้าทั้งหมด ไม่ได้อยู่ที่ ระบอบหรือเพราะคนใดคนหนึ่งเท่านั้น
แต่เกิดจากความโลภและหลงมัวเมาในอำนาจและเงิน เพราะฉะนั้นจะแก้ปัญหาได้ต้องเอาคุณธรรม
และจริยธรรมมาแก้ปัญหา ถ้าคุณรักชาติจริง ก็ต้องเริ่มด้วยการเป็นคนดี ก่อน เรื่องอื่นเป็นเรื่อง รองทั้งหมด
-เห็นด้วยหรือไม่(อีกครั้ง) ครับ????
Everyone thinks of changing the world, but no one thinks of changing himself. Leo Tolstoy
ผู้ใช้ 3 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้
สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 3 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน