ถ้าเรามีการเลือกตั้งนายก เหมือนเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ คือให้มีการลงคะแนนทั่วประเทศ แต่ผู้สมัครต้องไม่สังกัดพรรคการเมืองใด หลังจากเลือกตั้งได้ตัวนายกแล้ว ก็ให้เลือกรัฐมนตรีจากคนนอกที่มีประสบการณ์จริง ส.ส.ผมว่าควรให้ขึ้นตรงกับจังหวัด ต่อไปจะได้ข่มผู้ว่าไม่ได้ และจะได้พัฒนาจังหวัดอย่างจริงจัง ส่วนเรื่องการที่จะเกิดเสียงข้างมากขึ้น ผมขอเสนอให้แต่ละพรรค ส่งผู้สมัครเป็นตัวแทนได้ไม่เกินกึ่งหนึ่งของจำนวน ส.ส. ทั้งหมด เพื่ออย่างน้อยจะได้มี ส.ส.ที่มีคะแนนเท่ากัน 2พรรค ใครมีข้อติว่ายังไง เพิ่มเติมได้ครับ ความคิดเห็นนี้แค่คร่าวๆเท่านั้น
วิธีนี้เป็นไงครับ
#1
ตอบ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 21:20
#2
ตอบ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 21:22
แบบนี้ผมเลือกไอ้โอ้ก ได้ไหม
#3
ตอบ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 21:23
ก็สิทธิ์ของคุณครับ เพราะผมก็จะไม่เลือกมัน
#4
ตอบ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 21:26
อีกอย่างน่าจะให้ผูสมัครส.ส. ทำแบบทดสอบไอคิว อีคิว และข้อสอบวัดความรู้ เพราะถ้าผู้ทดสอบสอบไม่ผ่าน ก็หมายความว่า คุณสมบัติไม่พอครับ
- เช never die likes this
#5
ตอบ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 21:30
ผมสนับสนุนแนวคิดเลือกนายกโดยตรง เพราะนี่คือประชาธิปไตยทางตรง ถ้ามันจะมีปัญหาเรื่องเสียงในสภา ไหนๆ ก็อยากได้กติกากันใหม่แล้วลองปรับเอาข้อดีของระบบ ปธน. มาใช้ได้ไหม และผมก็สนับสนุนแนวคิดสอบคัดเลือกเบื้องต้น อย่างน้องก็น่าจะตัดคนบ้าๆ บอๆ อย่างไอ่จ่าประสาทไปได้คนหนึ่ง
เวทีเสนอความคิดการปฏิรูปการเมืองก็เริ่มแล้วหลายเวทีตามที่ดูข่าว ทำไม สรท.เราไม่ส่งตัวแทนไป คุยกันแต่ในนี้ใครจะได้ยิน
- เช never die likes this
#6
ตอบ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 21:35
ผมก็ว่ามันจะน่าจะดูดีขึ้นครับ ถ้าคัดสรรผู้สมัครโดยการสอบก่อน คนก่อนไปสมัครงานยังมีการทดสอบ นี่ส.ส.เงินเดือนเยอะแยะ ต้องทดสอบกันหน่อย แล้วอีกอย่างผมอยากให้ตัดเงินเดือน ส.ส.หน่อย รู้สึกว่าจะเยอะเกินจริงด้วย
#7
ตอบ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 21:55
มันขัดกับหลักการประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขครับผม
เพราะในรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่า พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ผ่านรัฐสภา
ถ้าประชาชนเลือกเองแบบนี้ ก็เท่ากับนายกรัฐมนตรีก็จะไม่ได้แต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์
นี่ว่ากันตามทฤษฎีนะครับ โอเคล่ะว่าเอาเข้าจริงในทางปฏิบัติ ก็ประชาชนนั่นแหละเลือกนายกเข้ามา แต่ทางอ้อม โดยผ่านสภาผู้แทน และสภาผู้แทนเลือกนายกฯต่ออีกทีนึง
เขาถึงได้ไม่จัดให้มีการเลือกนายกฯจากประชาชนโดยตรงมาแต่ไหนแต่ไรแล้วไงครับ เพราะประธานาธิบดีนั้น เป็นประมุขของประเทศ แต่นายกรัฐมนตรี เป็นประมุขของฝ่ายบริหารเท่านั้น
ถ้าใช้วิธีการเดียวกัน มันจะเป็นการแทรกแซงพระราชอำนาจไปหรือเปล่า
ต้องระวังกันทีเดียวครับ มันละเอียดอ่อนมากเรื่องแบบนี้
- 134340, Sazabi Neozeon and ไทยไม่ทน like this
#8
ตอบ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 22:01
ตรงนี้ผมก็ไม่มีความรู้มากครับ แต่ผมคิดว่าคงไม่น่าขัด เพราะพระมหากษัตริย์ก็อยากให้อำนาจแก่ประชาชน ดีกว่าให้ไปอยู่กับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งอยู่แล้ว
#9
ตอบ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 22:16
เมื่อประชาชนเลือกนายกฯ แล้ว ก็ให้สภานำขึ้นทูลเกล้าให้พระมหากษัตริย์ก็ทรงแต่งตั้งไม่ได้เหรอครับ
อีกอย่าง คนที่เสนอตัวเป็นนายกฯ น่าจะเปิดตัว รมต.ของตนเองด้วยนะครับ จะได้เห็นทีมงานที่จะบริหารประเทศไปด้วย
- oneclick999 likes this
#10
ตอบ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 22:21
เมื่อประชาชนเลือกนายกฯ แล้ว ก็ให้สภานำขึ้นทูลเกล้าให้พระมหากษัตริย์ก็ทรงแต่งตั้งไม่ได้เหรอครับ
อีกอย่าง คนที่เสนอตัวเป็นนายกฯ น่าจะเปิดตัว รมต.ของตนเองด้วยนะครับ จะได้เห็นทีมงานที่จะบริหารประเทศไปด้วย
ผมเห็นด้วย อยากให้พระมหากษัตริย์แต่งตั้งก็บัญญัติไปสิครับ
พิธีการ ประชาชนก็เลือกไป
พิธีกรรม ก็ให้พระองค์ทรงแต่งตั้งจะเป็นไรไป มีเกียรติเช่นกัน
เรื่องตัวบทกฏหมายมันน่าจะอยู่ที่หัวคนว่าจะประดิษฐ์ประดอยถ้อยคำมาบัญญัติยังไงมากกว่า
#11
ตอบ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 22:28
ผมยังมีอีกแนวคิดนึง คือ เพื่อกันไม่ให้ได้นายกที่ไม่ดีมา แทนที่จะเลือกตั้งนายกทั่วประเทศ แต่เราเปลี่ยนเป็นเลือกตั้งรัฐมนตรีทั่วประเทศแทน ใช้วิธีแบบเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐเช่นกัน ผู้สมัครไม่สังกัดพรรคใดๆ แต่ต้องระบุเลย ว่าจะสมัครรัฐมนตรีกระทรวงใด ดังนั้น วันที่เราเลือกตั้ง เราต้องเลือกเองทั้งหมด ว่ารัฐมนตรีแต่ละกระทรวงเราจะเลือกใคร จากนั้นเมื่อได้รัฐมนตรีแต่ละกระทรวงแล้ว ก็ให้รัฐมนตรีแต่ละกระทรวงคัดสรรหานายกอีกที แต่วิธีนี้อาจจะเสียเวลาตอนเลือกรัฐมนตรีนี่แหละครับ
#12
ตอบ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 22:35
การเลือก ส.ส. ผมยังคิดอีกวิธีนึงคือ ยกเลิกพรรคการเมืองทุกพรรคไปซะ แล้ว ส.ส.แต่ละคน ให้แต่ละหมู่บ้านเสนอชื่อมา เพื่อเลือกตัวแทนของตำบล แล้วแต่ละตำบลก็เสนอชื่อมาเพื่อเลือกเป็นตัวแทนอำเภอ แล้วแต่ละอำเภอก็เลือกตัวแทนในแต่ละเขตของจังหวัด โดยมีการบันทึกภาพขั้นตอนการคัดสรร และเปิดโอกาสให้ประชนมีส่วนร่วมเข้าชมการคัดเลือก ส่วนการคัดเลือก จะดูผลคะแนนที่สอบได้ โดยในทุกขั้นตอนต้องมีการทดสอบไอคิว อีคิว และความรู้ เพราะพูดหาเสียงเก่งมันไม่ได้ช่วยอะไรเลย
#13
ตอบ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 22:53
คิดดีครับ
แต่น่าจะทำลำบากมากกกกกกกก
ยืนยันว่าคิดดีครับ
#14
ตอบ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 22:58
ถ้าจะปรับเรื่องใหญ่ๆ รบกวน จขกท.ศึกษาด้านกฎหมายบางส่วนด้วยนะครับ
เช่น พื้นฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ประมวลกฎหมายรัฐธรรมนูญปัจจุบัน ความแตกต่างระหว่างระบอบประธานาธิบดี กับแบบของไทย
จะได้ไม่งงมากครับ และน่าจะมีข้อเสนอที่ได้ประโยชน์ทุกฝ่าย
ผมเข้าใจความรู้สึกนะครับ ว่าอยากช่วย
แต่การช่วย ที่ไม่มีหลักเลย จะไม่ได้ช่วยแถมเราจะขวางอีกครับ
กรณีที่ผมคิดไว้ จะเป็นเรื่องง่ายๆครับ พวกเปลี่ยนแปลงโทษปรับครับ ให้ไม่ยึดอิงกับจำนวนบาทตายตัว เช่นต่อยหน้าปรับ 500 นี่ เดี๋ยวนี้มันถูกมากกก
อาจต้องปรับ ค่าเงินโดยคิดตาม MLR หรือหลักอิงค่าเงินอื่น (ผู้เชี่ยวชาญทางการเงินน่าจะจัดการตรงนี้ได้ดีกว่าผม)
ลองดูนะครับ เพราะการปรับข้อกฎหมายหลัก บางทีมันขัดขวางการเปลี่ยนแปลงซะเอง
แต่การปรับเล็กน้อย อาจทำให้สมบูรณ์ ยอมรับร่วมกันได้ง่ายกว่า
ขอบคุณครับ
- Sazabi Neozeon likes this
#15
ตอบ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 23:12
คิดดีครับ
แต่น่าจะทำลำบากมากกกกกกกก
ยืนยันว่าคิดดีครับ
ใช่ครับ แบบหลังทั้ง2แบบในคอมเม้นท์ที่11และ 12ผมก็ว่าลำบากมาก เสียเวลา แต่ผมคิดว่า ที่ผมเสนอไปตอนแรกกับคอมเม้นท์ที่4 น่าจะทำปฏิบัติจริงได้ง่ายกว่าครับ
#16
ตอบ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 23:16
ให้มีสภาภูมิภาคไป อาจแบ่งตามภาคก็ได้
บริหารจัดการภาษี รายได้กันเอง โดยใช้งบประมาณของตนเอง
มีรัฐสภาใหญ่ ที่มีเพียงนายก และรัฐมนตรีบริหาร
ภาษีที่เก็บได้ หักเข้าสภากลางส่วนนึง
เพื่อนายกและรัฐมนตรีนำไปใช้บริหารบางส่วน
และเป็นกองทุนสำรอง หากสภาส่วนภูมิภาคต้องใช้
และเก็บภาษีรายได้ไม่เพียงพอ ในรูปแบบการกู้ยืมส่วนกลาง
สส ภูมิภาค อาจต้องเข้าร่วมประชุมสภากลาง เดือนละครั้ง
ทีนี้ รัฐบาลกลางจะไม่มีอำนาจเพียงพอที่จะหยิบจ่าย
งบประมาณก้อนโต เว้นแต่ทำแบบร่วมมือกันกับภูมิภาคนั้นๆ
สภาส่วนภูมิภาค มีสิทธิ์ที่จะคิดนโยบายต่างๆ ได้เต็มที่
หากเก็บภาษีได้เพียงพอ หากไม่พอ ต้องรับอนุมัติเงินกู้ยืมจากส่วนกลางเท่านั้น
ทำเพื่อบ้านตัวเอง ใครๆ ก็อยากทำครับ
อยากอุดหนุนจำนำข้าว ก็เอาภาษีของตนเองจ่าย
อยากทำรถไฟฟ้า ถ้าได้ภาษีเยอะพอก็เชิญ
นายกและรัฐมนตรี มีหน้าที่แค่เสนอนโยบาย
และควบคุมหลวมๆ อีกมี
ส่วนราชการ ตำรวจ. ก็เป็นภูมิภาคทั้งหมด
ค่าแรงหรือรายได้ขั้นต่ำ ก็แล้วแต่ภูมิภาคไป
การเลือกตั้ง ก็อาจแบ่งเป็นเขตละจังหวัด
คิดตามจำนวนประชากร ว่าจังหวัดนี้ได้กี่คน
ไม่ต้องแบ่งเขตย่อย ป้องกันการซื้อเสียง
- Shariff and ลาดพร้าว 101 like this
ข อ ใ ห้ โ ช ค ดี ต่ อ ค ว า ม เ ชื่ อ ค รั บ
เราอยู่ด้วยกัน ยืนข้างกัน เดินไปด้วยกัน ด้วยเพราะเรามีมุมมองและเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน
จนกว่าจะถึงวันที่เราพบว่า เรามีจุดหมายปลายทางคนละตำแหน่งกัน
#17
ตอบ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 08:33
ส่วนตัวผมเห็นด้วยกับเรื่องประชาชนเรื่องนายกรัฐมนตรีนะครับ แต่ผมแย้งมาในแง่ของกฎหมายเท่านั้น
มีอีกเรื่องนึงที่ติดขัด คือในหลักการนั้น นายกรัฐมนตรีเมื่อถูกเลือกจากสภา ดังนั้นนายกรัฐมนตรีจึงต้องรับผิดชอบต่อสภา สภาจึงมีสิทธิ์ในการอภิปรายและโหวตไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี
แต่ถ้าประชาชนเลือกนายกรัฐมนตรีโดยตรง ก็ถือว่านายกรัฐมนตรีไม่ผลผูกพันธ์กับรัฐสภา ดังนั้นสภาจึงไม่มีสิทธิ์ไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ถ้ามีอะไรก็ให้ประชาชนลงประชามติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีเอาเอง
มันเป็นหลักการน่ะนะครับ จริงๆก็อย่างที่หลายท่านบอก คือก็บัญญัติเอาไว้ในกฎหมายสิ
แต่ทั่วๆไปไมมีใครเขาทำกันน่ะครับ ลองสังเกตุดูว่าไม่มีนายกรัฐมนตรีประเทศไหนถูกเลือกโดยตรงจากประชาชนเลย
ไม่งั้นมันจะใหญ่มากเลยครับ ระบบตรวจสอบปกติมันจะทำงานได้ยากครับ
#18
ตอบ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 08:38
ผมเคยเสนอ การย่อยให้เป็นหน่วยภูมิภาค
ให้มีสภาภูมิภาคไป อาจแบ่งตามภาคก็ได้
บริหารจัดการภาษี รายได้กันเอง โดยใช้งบประมาณของตนเอง
มีรัฐสภาใหญ่ ที่มีเพียงนายก และรัฐมนตรีบริหาร
ภาษีที่เก็บได้ หักเข้าสภากลางส่วนนึง
เพื่อนายกและรัฐมนตรีนำไปใช้บริหารบางส่วน
และเป็นกองทุนสำรอง หากสภาส่วนภูมิภาคต้องใช้
และเก็บภาษีรายได้ไม่เพียงพอ ในรูปแบบการกู้ยืมส่วนกลาง
สส ภูมิภาค อาจต้องเข้าร่วมประชุมสภากลาง เดือนละครั้ง
ทีนี้ รัฐบาลกลางจะไม่มีอำนาจเพียงพอที่จะหยิบจ่าย
งบประมาณก้อนโต เว้นแต่ทำแบบร่วมมือกันกับภูมิภาคนั้นๆ
สภาส่วนภูมิภาค มีสิทธิ์ที่จะคิดนโยบายต่างๆ ได้เต็มที่
หากเก็บภาษีได้เพียงพอ หากไม่พอ ต้องรับอนุมัติเงินกู้ยืมจากส่วนกลางเท่านั้น
ทำเพื่อบ้านตัวเอง ใครๆ ก็อยากทำครับ
อยากอุดหนุนจำนำข้าว ก็เอาภาษีของตนเองจ่าย
อยากทำรถไฟฟ้า ถ้าได้ภาษีเยอะพอก็เชิญ
นายกและรัฐมนตรี มีหน้าที่แค่เสนอนโยบาย
และควบคุมหลวมๆ อีกมี
ส่วนราชการ ตำรวจ. ก็เป็นภูมิภาคทั้งหมด
ค่าแรงหรือรายได้ขั้นต่ำ ก็แล้วแต่ภูมิภาคไป
การเลือกตั้ง ก็อาจแบ่งเป็นเขตละจังหวัด
คิดตามจำนวนประชากร ว่าจังหวัดนี้ได้กี่คน
ไม่ต้องแบ่งเขตย่อย ป้องกันการซื้อเสียง
ถูกครับ ปัญหาที่เกิดตอนนี้ผมอยากจะเรียกมันว่า ภาคนิยม
ถ้าจะแก้ก็ต้องแก้ให้ตรงปัญหาตรงนี้
สนันสนุนแนวคิดครับ
#19
ตอบ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 09:49
มันก็ดีนะครับ แต่พื้นฐานทางสังคมมันต่างกันเกินไป ยังมีควายแดงอีกไม่รู้กี่ล้านตัวที่พร้อมขายวิญญาณและเป็นทาสกับเศษเงินอย่างไร้สำนึก บอกตรงๆว่าสังคมไทยยังไม่พร้อมกับมันเต็ม 100 ณ.ปัจจุบัน
ส่วนเรื่องขัดรัฐธรรมนูญก็ขอให้เพื่อนๆให้ความเห็นต่อละกัน
#20
ตอบ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 15:52
ลองช่วยกันเสนอแนะหน่อยครับ เผื่อจะมีวิธีที่มันสวยขึ้น
#21
ตอบ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 17:08
แนวให้อ่านภาษาไทย นางยก ก็สอบตกแล้ว ไม่เป็นประชาธิปไตยเลย
" ประกาศบอยคอต ช่อง 3 ไม่ว่าจะข่าว ละคร หรือการ์ตูนลูก กรูไม่ดู !!! "
ผู้ใช้ 0 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้
สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 0 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน