"พิเชษฐ"ชี้ปชป.ชนกำแพงใหญ่
วันเดียวกัน นายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล อดีตส.ส.กระบี่ พรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ว่า ตนเพิ่งได้รับเอกสารให้ลาออก ถึงเซ็นไปก็ไม่มีประโยชน์ในเมื่อไม่มีสถานะส.ส.แล้ว และในวันที่พรรคมีมติให้ส.ส.ลาออกนั้นตนไม่ได้เข้าประชุมด้วยเพราะไม่ได้รับเชิญ จึงไม่รู้เรื่องนี้ แต่ทราบว่ามติวันนั้นไม่ใช่เสียงส่วนใหญ่ของส.ส.ที่ต้องการลาออก หรือจะพูดอีกอย่างคือ คนที่ไม่เห็นด้วยกับการลาออกเขาเดินออกจากห้องประชุม จึงเหลือเสียงที่เป็นมติอยากลาออก และถ้าตนอยู่ร่วมประชุมวันนั้นก็คงไม่คิดลาออก เพราะไม่เห็นด้วย เราเป็นส.ส.เขต มาจากการเลือกตั้งของประชาชน จะมาลาออกแบบนี้ได้ประโยชน์อะไร ซึ่งนายวิรัตน์ กัลยาศิริ อดีตส.ส.สงขลา ก็คิดเช่นเดียวกัน จะมาอ้างว่าไม่ลาออก ไม่เป็นเอก ลักษณ์เหมือนกัน มันไม่ใช่ ยอมรับว่าการเมืองทุกวันนี้ไม่เหมือนเก่า ตนไม่อยากเห็นคนตายอีก เพราะผ่านอะไรมาเยอะ ไม่อยากให้การเมืองใช้ประชาชนเป็นเครื่องมือเกิดขึ้นซ้ำอีก
เมื่อถามว่าพรรคประชาธิปัตย์กำลังเดินผิดทางหรือไม่ นายพิเชษฐกล่าวว่า ต้องบอกว่าเป็นแค่คนบางคนที่เดินผิดทาง ซึ่งเขาอาจพาพรรคดี หรือเสียทั้งพรรคก็ได้ ทางออกไม่ใช่การปฏิรูปพรรคแน่นอน เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากโครงสร้าง แต่ที่เป็นปัญหาคือ ตัวคน ตัวผู้เลือก และผู้สมัครมากกว่า แต่ทางที่พรรคเดินขณะนี้เปรียบเหมือนเราเจอกำแพงใหญ่ ถ้าจำเป็นต้องข้ามกำแพงก็มีอยู่ 3 วิธี 1.ปีน 2.ขุดลอก 3.ค่อยๆ เคาะกำแพง ไม่ใช่มีพฤติกรรมเป็นนักวิ่งชนกำแพงเหมือนคนในพรรคประชาธิปัตย์ เพราะถ้ายังนิยมเป็นนักชนก็ต้องแพ้ยับเยินตลอดเวลา ในที่สุดก็โกรธแค้น ประกาศลาออกจากส.ส. แล้วจะกลับเข้ามาอีก ทั้งที่บอกเองว่าไม่เอาการเลือกตั้ง
ไม่อยากยุ่งมาร์ค-ขอพักการเมือง
"ผมไม่อยากว่าอะไรคุณอภิสิทธิ์ ผมยังคิดเหมือนเดิมที่เคยต่อว่าเขาตรงๆ ผ่านเฟซบุ๊กผม ที่ต้องวิงวอนพระแม่ธรณีเมื่อ 1-2 เดือนก่อน ขณะที่พรรคจะเป็นอย่างไรจากนี้ผมเป็นผู้ใหญ่แล้ว ไม่อยากเอ่ยหรือยุ่งกับเขาอีก" นายพิเชษฐกล่าว
เมื่อถามว่าจะวางมือจากส.ส.พรรคเก่าแก่แล้วหรือไม่ นายพิเชษฐกล่าวว่า ล่าสุดตนได้พบกับนายพิชัย รัตตกุล ซึ่งร้องไห้และกอดตนพร้อมบอกว่าเหลือท่านที่เป็นผู้ใหญ่ของพรรคคนเดียว ซึ่งตนทบทวนพบว่าหลังพ้นยุค ครม.ชวน 2 แก่นแท้ของพรรคหายไปกันหมดแล้ว นับได้ 28 คน ขณะเดียวกันทุกคนมักคิดว่าตนสนิทกับนายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรค พอมีเรื่องดีหรือไม่ดีก็คิดว่าตนเป็นกระบอกเสียง จนตนเจอเรื่องแย่ๆ มาเยอะมาก ก็เหนื่อย ไม่ไหวแล้ว วันนี้ตนจึงอยากพักผ่อน ที่ผ่านมาตนทำหน้าที่ส.ส.ให้กับพรรคอย่างเต็มที่มาตลอด 18 ปี วันนี้ถึงคราวที่ตนอยากใช้เวลาที่เป็นประโยชน์ในสิ่งที่ตัวเองชอบจะดีกว่า
http://www.khaosod.c...PQ==§ionid=
ปชป.ทุบหม้อข้าวตีเมือง ปชป.แบะท่าลงเลือกตั้ง “กำนันเทือก” กลุ้มโว้ย....(คอมเม็นด่าปชปยับถ้าลงเลือกตั้ง)
โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 14 ธันวาคม 2556 06:32 น.
อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นไม่นานนัก ก็เกิดปัญหาชวนให้ต้องขบคิดและตีความให้ปวดหัว เมื่อทางพรรคประชาธิปัตย์ ยังแทงกั๊กเรื่องการส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนดวันเลือกตั้งที่ 2 ก.พ. 57 โดยจะมีการหารือกันอีกครั้งในการประชุมพรรควันที่ 16 - 17 ธ.ค. นี้เพื่อเลือกคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ ซึ่งจะเป็นผู้มาพิจารณาว่าบอยคอตการเลือกตั้งหรือจะร่วมสังฆกรรมหรือไม่
พอพรรคประชาธิปัตย์แสดงท่าทีเยี่ยงนี้ ก็กลายเป็นประเด็นขึ้นมาทันที เพราะว่าถ้าหากประชาธิปัตย์ ซึ่งอุตส่าห์ลาออกยกพรรคมาร่วมเคลื่อนไหวกับมวลมหาประชาชนแล้วกลับเข้าไปร่วมสังฆกรรมการเลือกตั้งที่ไม่ได้มีอะไรปฏิรูปเปลี่ยนแปลงเลย ก็เท่ากับว่าที่ทำๆ มานั้น เสียของเปล่าๆ ปลี้ๆ เพราะมวลชนจะถูกแบ่งแยกออกเป็นสองฝักสองฝ่าย ฟากหนึ่งเดินตามทางปฏิรูปโดยประชาชนที่มีนายสุเทพ เป็นแกนนำ กับอีกฝ่ายหนึ่งที่เลือกพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งยังไม่ชัดเจนว่าจะหาทางออกให้กับประเทศอย่างไรหากถึงที่สุดแล้ว พรรคประชาธิปัตย์ต้องเข้าร่วมสังฆกรรมกับพรรคการเมืองหน้าเดิมๆ ที่มีแต่สร้างปัญหาแทนที่จะปฏิรูปประเทศชาติ พัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้า
นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ อดีตโฆษกและแกนนำรุ่น 2 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย วิเคราะห์ว่า การที่ประชาธิปัตย์ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งจะเป็นอุปสรรคต่อการต่อสู้ของนายสุเทพอย่างแน่นอน ทั้งนี้ หากประชาธิปัตย์ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งจะแบ่งมวลชนเป็นสองฝั่ง คือ ฝั่งนายสุเทพที่สนับสนุนสภาประชาชน ส่วนหนึ่งก็จะสนับสนุนประชาธิปัตย์ในการเลือกตั้ง ขณะเดียวกัน เสียงประชาธิปัตย์ก็จะแตกด้วย เพราะจะมีส่วนหนึ่งมองว่าพรรคไม่เสียสละให้การชุมนุมของนายสุเทพ แล้วคะแนนเสียงที่เลือกพรรคอาจไม่มากอย่างที่คิด เพราะประชาชนต้องเลือกข้างใดข้างหนึ่ง หรือไม่เช่นนั้นประชาชนต้องกดดันฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งให้เป็นไปทางเดียวกัน
“อย่าพูดว่าเขาแบ่งบทกันเล่น นั่นเป็นการดูถูกประชาธิปัตย์และนายสุเทพด้วย เพราะเป็นการหลอกประชาชน เราคงต้องหาทางให้เป็นเอกภาพ โดยต้องตอบคำถามว่าการเลือกตั้งที่จะมาถึงนี้ การมีประชาธิปัตย์ลงเลือกตั้งหรือไม่มี อะไรเกิดประโยชน์มากกว่ากัน ถ้าประชาชนแยก 2 กลุ่ม ประชาชนอ่อนแรงลงทันที ถ้านายสุเทพเชื่อประชาธิปัตย์ยอมเสียมวลชน คนก็จะตั้งคำถามว่าที่พูดมาว่าไม่สู้เพื่อพรรค นายสุเทพก็จะเสียหายหนัก ส่วนประชาธิปัตย์ถ้าลง คะแนนเสียงอาจไม่มากไปกว่าเดิมมากนัก เพราะมวลชนแบ่งไปที่นายสุเทพด้วย เหมือนพันธมิตรฯตอนโหวตโน แต่อาจหนักกว่า เพราะกระแสของนายสุเทพสูงมาก ถ้าประชาธิปัตย์เดินเกมนี้ต่อไปอาจเสียเปรียบการเลือกตั้ง นายอภิสิทธิ์อาจไม่สนใจว่าจะแพ้หรือชนะเพราะเชื่อมั่นในระบบรัฐสภา แต่มันบั่นทอนการต่อสู้ของนายสุเทพไปทันที นอกจากนี้ยังเป็นการตอกย้ำความชอบธรรมให้ระบอบทักษิณให้สูงเด่นกว่าดิม ถ้ากลับมาจะยิ่งใหญ่กว่าเดิม อาจทำอะไรหนักกว่าเดิม”
http://www.manager.c...D=9560000153651
Edited by Exec, 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 18:17.