ตัวแบบการปกครองของไทยในอนาคตโดยศรีมหาโพธิ์
สิ่งที่จะนำมาเล่าต่อไปนี้ เป็นผลมาจาก ญาณ ของผู้เขียน ผู้เขียนเป็นใคร? ผู้เขียนเป็นผู้มี ญาณ รู้จากธรรมชาติมาเป็นเวลานานพอสมควร และทำการทดสอบตรวจสอบความถูกต้อง มาเป็นระยะเวลาหนึ่งที่พอจะน่าเชื่อได้ ครั้งนี้จึงมีความประสงค์ นำความรู้(ญาณ) ที่ได้จากธรรมชาติ มาขยายให้ทุกท่าน ได้รับรู้ เรื่องเกี่ยวกับ แนวทางหรือต้นแบบของ ระบบการปกครองของไทยในอนาคต ให้รับรู้และพิจารณากันว่าเหมาะสมเพียงใด ขออนุญาตเน้นว่า ตัวแบบการปกครองฯ เป็นเรื่องเล่าที่ได้มาจาก ญาณ เท่านั้น ไม่ได้มีการปั้นแต่งอะไร จากความคิดของผู้เขียน เพราะทุกครั้งที่ จดบันทึกเนื้อหา จะทำการตรวจสอบเนื้อหากลับให้ตรงกับแหล่งธรรมชาติ เมื่อตรงกัน จึงได้บันทึกนำมาเล่าต่อ และคาดว่า น่าจะมีความสอดคล้อง กับ ความรู้ที่ได้ ประมาณ 85 เปอร์เซ็นต์ ของความรู้ (หมายถึงว่า อาจมีอีก 15 เปอร์เซ็นต์ ที่ไม่มีความชัดเจน อาจคลาดเคลื่อนจากความจริงได้อีก)
ตัวแบบการปกครอง(แนวใหม่) อนาคตของประเทศไทย ตัวแบบการปกครองในอนาคต จะไม่มีพรรคการเมือง แต่ยังคงสภาพการปกครองแบบมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศ เหมือนเดิมโดยมีหลักการดังนี้
1. นโนบายถูกกำหนดมาจากตัวแทนของประชาชนที่ได้รับการคัดเลือกมา ไม่ใช่กำหนดโดยองค์การทางการเมือง(พรรคการเมือง) ตามแบบประชาธิปไตย(เดิม)
การกำหนดหรือเสนอ นโยบาย จะต้องกำหนดตามความต้องการของประชาชน ด้วยมูลฐานที่ถูกต้องอย่างสมดุล ( ต้องไปดูในรายละเอียดในลำดับต่อไป เพราะ ผู้มากำหนดนโยบายมาจากหลากหลาย บุคคล) ทำหน้าที่ ออกแบบหรือเสนอ นโยบาย สำคัญให้ผู้นำประเทศและคณะมนตรี นำไปบริหารประเทศ
2. กำหนดให้มีผู้นำการบริหารประเทศ พร้อมคณะมนตรี การบริหาร
รวมทั้งหมด จำนวน 28 ท่าน (รวมผู้นำการบริหารประเทศ) คำถามที่ยังไม่ได้ถามคือ จะมีกระทรวงจำเป็นสำหรับการบริหารมีทั้งหมด 27 กระทรวง หรือไม่ ....ในส่วนของการบริหารประเทศ มีหน้าที่ผลักดัน ให้ นโยบายที่รับมา ไปปฏิบัติ จนสำเร็จเป็นรูปธรรม
3. มีหน่วยงานทบทวนกระบวนการ ติดตามตรวจสอบผลกระทบที่เกิดขึ้น
จากการนำนโยบายไปปฎิบัติ ผลปรากฏสอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงของประชาชนหรือไม่ พร้อมทั้งเสนอแนวทางแก้ไขปรับปรุง นโยบาย และแนวทางไปสู่ความสำเร็จเชิงปฏิบัติ ตลอดทั้งการออกกฎหมายต่างๆ เป็นต้น
สรุป คือ
มีทั้งหมด 3 ส่วนของการปกครองบริหารประเทศ คือ คณะบริหารประเทศพร้อมผู้นำประเทศ คณะหรือสภาต้น (ปฐมสภา) และ คณะหรือสภาสูง (ทุติยสภา) สภาต้น ทำหน้าที่ ออกแบบ เสนอนโยบาย ที่สอดคล้องความต้องการที่แท้จริง อย่างสมดุล สภาสูง ทำหน้าที่ ติดตามและทบทวน นโยบายที่ได้รับฉันทานุมัติและการนำนโยบายไปสู่ปฏิบัติ สามารถตอบสนองความต้องการที่แท้จริง ของประชาชน หรือไม่ ฯลฯ ผู้นำการบริหารประเทศและคณะมนตรี ทำหน้าที่ นำนโยบายไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผล ลำดับต่อไปนี้ จะกล่าวถึง ที่มาของ ผู้นำต่างๆ ก่อนได้รับคัดเลือกมาเป็นผู้นำประชาชน
การคัดสรรค์ ผู้นำประชาชน
จะมีแหล่งที่มา 3 ส่วนด้วยกันคือ
1 จากภาคประชาชน
2 จากภาคสมาคมที่มีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจ หรืออื่นๆ ที่มีประโยชน์ต่อสังคมทั่วไป (แล้วแต่จะกำหนดกรอบ มีองค์การใดบ้าง)
3 จากภาคราชการ (แล้วแต่จะกำหนดกรอบ มีหน่วยงานใดบ้าง เช่นรวมถึงทบวงมหาวิทยาลัย)
1.การคัดสรรค์ผู้นำประชาชน จากภาคประชาชน
1.1 ให้ประชาชนในเขตที่เลือก นำเสนอชื่อบุคคล(นึกรู้ อย่างอิสระ)เพื่อเป็นตัวเลือกว่าที่ผู้นำประชาชนภาคประชาชน โดยอิสระ ไม่มีการชี้นำจากหน่วยงานใดๆ สามารถนำเสนอชื่อของ พระ ได้ ( พระยังสามารถ ทำงานด้าน การกำหนดหรือนำเสนอนโยบาย เพราะยังไม่ผิดขอห้ามของ การเป็นพระ ประโยชน์ของ พระ มีมากเนื่องจากอยู่ใกล้ชิดประชาชน และเป็นที่ระบายทุกข์ของชุมชนตลอดมา ดังนั้นจึงมีข้อมูลปัญหาของคนทั่วไป)
1.2 ชื่อที่ถูกนำเสนอ จะถูกนำไปประกาศโดย คณะกรรมการเลือกตั้ง ว่ามีผู้ใดเป็นผู้ที่สมควร เป็นผู้ที่ได้รับ เสนอชื่อเพื่อประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการการเลือกตั้ง เป็นสื่อนำเสนออย่างยุติธรรมให้ประชาชนทั่วไปในเขตได้รู้จัก อย่างทั่วถึง รวมทั้งจัดระบบแสดงวิสัยทัศน์ ในรายชื่อผู้ที่ถูกเสนอ (จะครบจำนวนหรือไม่ครบจำนวน ไม่ได้สอบถาม ในรายละเอียด)
1.3 กำหนดให้มีการคัดเลือก ว่าที่ผู้นำประชาชนภาคประชาชน จากชื่อที่ได้รับการคัดสรรค์แล้ว เป็นจำนวน 3 คน โดยมีเพียง 1 ท่าน หรือผู้ที่ได้รับเลือกอันดับแรก เป็นผู้นำประชาชนภาคประชาชน (เขต) ไปทำงานระดับประเทศ ส่วนที่เหลืออีก 2 ท่านทำงานประสานในระดับท้องถิ่น (คำถามที่ไม่ได้ถาม คือ เพื่อเป็นตัวสำรองผู้นำ หรือไม่ กรณีที่ผู้นำระดับหนึ่งไม่สามารถทำงานได้หรือกรณีลาออก)
2. การคัดสรรค์ผู้นำประชาชน จากภาคสมาคม
2.1 ให้สมาคมต่างๆที่ได้ลงทะเบียน หรือที่อยู่ในเกณฑ์ที่ได้ตกลงกัน ได้มีนำเสนอผู้นำของแต่ละสมาคม เพื่อการคัดเลือกในระดับต้นของภาคสมาคมกันก่อน กล่าวคือ ในภาคสมาคมจะต้องมีการคัดเลือกกันภายในภาคสมาคม(สมาคมทั้งหมดที่รวมกลุ่มและลงทะเบียน)กันก่อน และนำส่งรายชื่อ ผู้ที่สมควรนำเสนอ เป็นว่าที่ผู้นำประชาชน จากภาคประชาชน เป็นจำนวน 5 ท่าน เพื่อเป็นให้ประชาชนในเขตคัดเลือก เป็นระดับต่อไป
2.2 ภาคสมาคมทั้งหมดจะต้องส่งรายชื่อ ว่าที่ผู้นำประชาชนภาคสมาคม จำนวน 5 ท่าน สมัครไปทาง กลต โดยทาง กลต จะต้องจัดเวทีแสดงวิสัยทัศน์ ให้ประชาชนในเขตได้รับรู้ ตลอดจนประชาสัมพันธ์ รายชื่อและคุณสมบัติให้ทั่วถึงภายในเขต
2.3 กำหนดให้ประชาชนในแต่ละเขตไปคัดเลือก ผู้นำประชาชนภาคสมาคม โดยให้แต่ละเขตคัดเลือก ผู้นำฯ เพียง 1 ท่านจากจำนวนเลือก 5 ท่านที่นำเสนอจาก ภาคสมาคมโดย กลต
3. การคัดสรรค์ผู้นำประชาชน จากภาคราชการ
ลำดับการคัดสรรค์ ผู้นำประชาชน จากภาคราชการ จะมีลำดับขั้นตอนหลักๆ คล้ายกับ การคัดสรรค์ผู้นำประชาชน ภาคสมาคม แต่จะมีความสลับซับซ้อนมากกว่า เพราะมีหน่วยงานมากมายหลากหลายสาขา ผลดีของการกำหนดให้มีผู้นำประชาชน จากภาคราชการคือ ผู้บริหารทั้งระดับต้น กลาง และสูง จักต้องเป็นคนดี ฉลาด และเป็นที่รักใคร่ของ ข้าราชการระดับล่างเท่านั้น จึงจะได้รับเสียงสนับสนุนเบื้องต้น ให้นำเสนอรายชื่อเป็นตัวเลือกแทนหน่วยงาน เป็น ผู้แข่งขัน ว่าที่ผู้นำประชาชน ภาคราชการ โดยมีหลักเกณฑ์ คร่าวๆ ดังนี้
3.1 ผู้มีสิทธิ์ได้รับการเสนอชื่อต้องเป็นบุคคลที่มีอายุราชการไม่ต่ำกว่า 15 ปีอย่างน้อย (แล้วแต่จะกำหนด)
3.2 ขณะที่ได้รับการเสนอชื่อเป็น ผู้แข่งขันคัดเลือก ไม่จำเป็นต้องลาออก แต่เพียงแค่พักราชการชั่วคราว จนกว่าจะสิ้นสุดวาระการแข่งขัน จึงจะได้รับกลับเข้าราชการต่อ (แล้วแต่จะกำหนด)
3.3 เมื่อถูกคัดเลือกเป็น ผู้นำประชาชน ภาคราชการแล้วจึงควรลาออกจากราชการ (แล้วแต่จะกำหนด) การคัดสรรค์ ผู้นำประชาชน ภาคราชการประจำเขต กำหนดให้เลือกโดยประชาชน มาเพียง เขตละ 1 ท่านเท่านั้น จากตัวเลือกที่ผ่านการคัดเลือกระดับต้น จำนวน 5 ท่าน (ที่ให้ประชาชนมีสิทธิ์ได้เลือกจากภาคราชการ)
สรุป ผู้นำประชาชน
จะได้รับเลือกในแต่ละเขต จะมีทั้งหมด 3 เท่านั้น โดยผ่านการคัดเลือกจากประชาชน(ในแต่ละเขต) คือ มาจากภาคประชาชน 1 ท่าน จากภาคสมาคม 1 ท่าน จากภาคราชการ 1 ท่าน เพื่อให้ทุกท่านที่ผ่านการคัดเลือกเป็นตัวแทนของ ประชาชนทั้งหมด มาบริหารประเทศ กำหนดนโยบาย และติดตามการตอบสนองความต้องการของประชาชนโดยรวม
หมายเหตุ หากมีการเสนอชื่อซ้ำซ้อน ในบุคคลเดียวแต่มากกว่าหนึ่งภาคส่วน กำหนดให้ยกเลิกหรือสละสิทธิ์ การแข่งขันให้เหลือเพียงหนึ่งช่องทางเท่านั้น อาทิ เป็นบุคคลที่ทำงานราชการระดับสูง ได้รับการเสนอชื่อจาก ภาคประชาชน และได้รับการคัดเลือกเป็นผู้แข่งขัน คัดเลือกผู้นำประชาชน ภาคประชาชนแล้ว จะไม่มีสิทธิ์ การเสนอชื่อลงทะเบียนเป็นผู้แข่งขันได้อีก ในส่วนของภาคราชการ
คำถามของผู้สื่อ จากญาณ ถามว่า เลือกโดยประชาชน ทำงานเพื่อประชาชน ยังคงเป็นความหมายของประชาธิปไตยหรือเปล่า …. ตัวแบบที่นำเสนอข้างต้นนี้พอจะเรียกว่า ประชาธิปไตย(แนวใหม่) จะได้หรือไม่ นิยามจริงแท้คำว่า ประชาธิปไตยคือ อะไร? ….. โดยความหมายเก่าประชาธิปไตยคือ ต้องอิงกับ พรรคการเมืองถูกต้อง ใช่หรือไม่ …. ทำไม จึงปฏิเสธการสร้าง Paradigm ใหม่ จำเป็นด้วยหรือ? ต้องมีพรรคการเมือง ทางออกของการเลือกผู้นำ ผู้บริหารประเทศ ในรูปแบบประชาธิปไตย ต้องมีเส้นทางเดียวเท่านี้หรือ…
โดยทีมศรีมหาโพธิ์
16/12/2556