โครงการถนนวงแหวน ตะวันตก-ตะวันออก
กรุงเทพฯ เป็นเมืองใหญ่ ทีมีปัญหาการจราจรมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก คนเดินทางด้วยทางรถยนต์จากภาคเหนือภาคอีสานจะไปภาคใต้ ต้องผ่านตัวเมืองกรุงเทพฯ ซึ่งจราจรแออัด ลำบาก ไม่สะดวกและเสียเวลานานมาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงดำริถนนวงแหวนชั้นในไว้ ( แนวรัชดาฯ - แนวถนนจรัลสนิทวงศ์ ) การจราจรก็แน่นขนัดจนถนนรับไม่ไหวแล้ว ฉะนั้นกรุงเทพมหานครจำเป็นต้องมีถนนวงแหวนที่ 2 ที่ 3 และวงอื่นไปเรื่อย ๆ
สำหรับ ถนนวงแหวนวงที่ 2 ทางซีกตะวันตก เริ่มจากบางบัวทอง - ถึงทางแยกต่างระดับบางปะอิน ทางซีกตะวันออกเริ่มจากทางแยกต่างระดับบางปะอินถึงบางนา และไปพระประแดง ( บางคนเรียกช่วงบางนา - พระประแดงว่าเป็นวงแหวนรอบ 2 ตอนใต้ )
ถนน วงแหวนรอบนอก ( รอบที่ 2) ทางซีกตะวันตก เริ่มสร้างมาตั้งแต่รัฐบาลอานันท์ สมัยท่านนุกูล ประจวบเหมาะ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เมื่อผมมารับตำแหน่งและงานกระทรวงคมนาคมต่อจากท่านนุกูล ผมก็มาสานต่อถนนวงแหวนตะวันตกต่อจากท่านและทำถนนวงแหวนตะวันตกจนถึงทางแยก ต่างระดับบางปะอิน
ทาง แยกต่างระดับที่บางปะอินก็สร้างในสมัยผมเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งถือว่าเป็นทางต่างระดับที่ใหญ่โตที่สุด สร้างด้วยงบประมาณ 1,600 ล้านบาท สะพานต่างระดับอย่างนี้พี่จำลอง ศรีเมืองและผมเคยสร้างสมัยเป็นผู้บริหารกทม . สร้างตรงต้นถนนรัชดาฯ แต่ตอนนั้นพี่จำลองพาเรียกว่าสะพานเส้นก๋วยเตี๋ยว เพราะมันยั้วเยี้ยพาดกันไปพาดกันมา ตอนนั้นก็เรียกว่าสะพานเส้นก๋วยเตี๋ยวรัชดาฯ ซึ่งเคยเป็นสะพานต่างระดับที่ใหญ่ที่สุดสร้างด้วยงบประมาณ 6-7 ร้อยล้านบาท แต่เมื่อผมมาอยู่กระทรวงคมนาคม สะพานเส้นก๋วยเตี๋ยว ( สะพานต่างระดับ ) บางปะอินตัวใหญ่กว่า ใช้งบประมาณถึง 1,600 ล้านบาท
ถนนวงแหวนตะวันออกช่วงสะพานต่างระดับ ประตูน้ำบางปะอินถึงบางนา สร้างสมัยผมเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
รูปที่ 12 วงแหวนตะวันตก – ตะวันออก
ความ ลำบากของการ ก่อสร้าง ไม่ว่าถนน สะพานของกรมทางหลวงนั้น ไม่ได้อยู่ที่การออกแบบทางช่าง แต่อยู่ที่ค่าเวนคืนที่ดินเพื่อการก่อสร้าง
เมื่อ ผมเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมใหม่ๆ ผมได้กราบเรียนท่านนายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัยว่า “ ท่านครับ การออกแบบทางช่าง ทางสถาปนิก ทางวิศวกรรม ไม่ว่าจะเป็นถนน สะพาน หรืออะไรก็แล้วแต่เป็นเรื่องเล็ก แต่เรื่องใหญ่อันเป็นความสำเร็จของงานก่อสร้างของกระทรวงคมนาคมโดยเฉพาะกรม ทางหลวงจะอยู่ที่ค่าเวนคืนเป็นหัวใจ ผมอยากให้งานสำเร็จ ผมขอความกรุณาท่านช่วยอนุมัติค่าเวนคืนที่ดินให้ผม ให้มากที่สุดด้วย เพื่อให้งานเดินได้ ”
ท่านนายก ชวน ท่านมองปัญหาขาด ท่านรู้ว่ากดปุ่มตรงไหนงานจึงจะสำเร็จ
ฉะนั้น ในสมัยรัฐบาลชวน 1 ได้อนุมัติงบประมาณค่าเวนคืนปีละเกือบหมื่นล้านบาท หรือเฉียดหมื่นล้านบาททุกปี ซึ่งทำให้การก่อสร้างถนนและสะพานดำเนินไปได้ด้วยความรวดเร็ว
การ ก่อสร้างถนนวงแหวนตะวันออก ( สะพานต่างระดับบางปะอินถึงบางนา ) เป็นการก่อสร้างที่เชื่อมโยงกับทางหลวงพิเศษมอเตอร์เวย์กรุงเทพฯ - ชลบุรี ความยากลำบากที่ติดอยู่ในความทรงจำของผมประการหนึ่งคือ การดำเนินการเวนคืนที่ดิน เพราะโครงการทั้งสองนี้ผ่านเขตเมือง ผ่านเขตเกษตรกรรมซึ่งสมัยนั้นสวนส้มเขียวหวานแถวๆ คลอง 4 คลอง 5 แถวๆ หนองเสือกำลังเฟื่องฟู มิหนำซ้ำบางช่วงของการเวนคืนที่ดินเฉียดหรือผ่านสุสาน มัสยิด
ผม รู้สึกขอบคุณ คุณ ทรงศักดิ์ แพเจริญ ที่ท่านอดทนใช้ความนุ่มนวลของท่านเวนคืนที่ดิน ทำถนนวงแหวนทิศตะวันออกรอบนอก และถนนทางหลวงพิเศษมอเตอร์เวย์กรุงเทพฯ - ชลบุรีจนเป็นผลสำเร็จ ในสมัยนั้น ( ปี พ . ศ .2535-2537) คุณ ทรงศักดิ์ แพเจริญ เป็นนายช่างเขตกรุงเทพฯ ( สำนักการทางกรุงเทพมหานคร ) ปัจจุบัน ( ปี พ . ศ .2550) ท่านเป็นอธิบดีกรมทางหลวง
หัวใจ อันสำคัญประการหนึ่งในการสร้างถนนสี่เลน สะพาน ถนนวงแหวน มอเตอร์เวย์ และอื่น ๆ ของกรมทางหลวงในสมัยรัฐบาลชวน 1 ประสบความสำเร็จ ก็เพราะท่านนายกชวน อนุมัติงบประมาณเวนคืนที่ดินให้กรมทางหลวงจำนวนมหาศาล ซึ่งเป็นสิบ ๆ เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับรัฐบาลชุดอื่นๆ ผมจึงอยากจะย้ำการอ่านปัญหาได้ขาดของท่านเอาไว้เป็นสำคัญ
ส่วน วงแหวนรอบนอกตอนใต้ช่วงบางนาถึงพระประแดง ยังไม่ได้ดำเนินการในสมัยผมเป็นรัฐมนตรี ผมได้ให้แนวทางกับกรมทางหลวงไว้ว่า ขอให้กรมทางหลวงพิจารณาทำอุโมงค์ลอดแม่น้ำเจ้าพระยาไปโผล่ที่พระประแดงเพื่อ หลีกเลี่ยงการเวนคืนผ่านชุมชน และกรมทางหลวงต้องเตรียม Go underground จึงต้องสั่งสมประสบการณ์เสียตั้งแต่บัดนี้ ในวันหน้าโครงการใต้ดิน ทั้งถนนหลวง รถไฟ จะได้รับความนิยมและจำเป็นมากขึ้น จึงอยากให้กรมทางหลวงเตรียมวิศวกร สถาปนิกให้พร้อมเพื่ออนาคต ซึ่งต่อ ๆ มาช่วงปี 2545-2550 ก็เป็นอย่างนั้นจริง ๆ
การ ก่อสร้างถนนวงแหวนตะวันตกและตะวันออกไปถึงบางนา ผมจำงบประมาณไม่ได้ เพราะก่อสร้างเป็นตอน ๆ หลายช่วง ผมลืมงบประมาณรวมเท่าใด จำได้แต่สะพานเส้นก๋วยเตี๋ยวบางปะอินราคาประมาณ 1,600 ล้านบาท