ผมเก็บข้อมูลการวิจัยเมื่อปี 2553-2554 จนถึงหลังการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว ผมมีโอกาสได้สัมภาษณ์นักการเมืองท้องถิ่นคนหนึ่ง เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง สส. เขตของพรรคหนึ่ง ไม่ใช่เพื่อไทย ไม่ใช่ประชาธิปัตย์ ในจังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน ไม่ใช่จังหวัดเสื้อแดงแจ๋อย่างอุดรธานีหรือขอนแก่น เขตเลือกตั้งนี้เป็นเขตเลือกตั้งในชนบท เป็นพื้นที่ซึ่งพรรคเพื่อไทยมีฐานเสียงอยู่พอสมควร แต่ไม่เด็ดขาด ด้วยความไว้เนื้อเชื่อใจอันเนื่องมาจากโยงใยที่ใกล้ชิดกับผู้ที่แนะนำให้ผมติดต่อไปสัมภาษณ์ ผู้สมัคร สส. คนนี้เล่าวิธีการซื้อเสียงของเขาให้ผมฟังโดยละเอียด
ขอเล่าต่อโดยย่อก็คือ เขาแบ่งพื้นที่ในเขตเลือกตั้งออกเป็น 3 โซน โซนหนึ่งเป็นพื้นที่ที่เขาคิดว่าจะได้รับเลือกตั้งแน่ๆ เขาจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่ง ไม่มาก ไม่น้อยนัก โซนที่สอง เขาคิดว่าจะต้องแข่งกับผู้สมัครคนอื่น เขาจะจ่ายมากกว่าโซนแรก อีกโซนหนึ่งที่เขาคิดว่าจะไม่ได้รับเลือกแน่ๆ เขาจะไม่จ่ายเลย ผลการเลือกตั้งออกมาปรากฏว่า เขาไม่ได้รับเลือกตั้ง เขาแพ้ ผมขอให้เขาวิเคราะห์ความพ่ายแพ้ของเขา เขาประมวลออกมาโดยไม่ได้กล่าวถึงจำนวนเงินและพื้นที่ที่เขาพยายามซื้อเสียงเลย เขาบอกว่า
หนึ่ง เขาแพ้กระแสพรรค เขาว่าเขาประเมินแล้วทีแรกว่าน่าจะได้ เพราะชาวบ้านรู้จักเขา นิยมชมชอบเขามากกว่าผู้สมัครคู่แข่งคือพรรคเพื่อไทย ซึ่งผมตรวจสอบดูจากชาวบ้านในพื้นที่นั้นแล้วก็พบว่าเป็นจริงตามนั้น คือในแง่ตัวบุคคลแล้ว ผู้สมัครคนนี้เป็นที่นิยมมากกว่าอีกคนหนึ่ง มีความสัมพันธ์กับชาวบ้านดีกว่า ไปมาหาสู่ ช่วยเหลือ และ "ติดดิน" กว่าอีกคนหนึ่ง ชาวบ้านบางคนยังพูดถึงขนาดว่า "นายคนนี้อยู่ผิดพรรค ถ้าอยู่เพื่อไทยก็ชนะไปแล้ว”
สอง เขาคิดว่าที่แพ้เพราะความนิยมในตัวยิ่งลักษณ์มีสูงมาก เหมือนกับว่าชาวบ้านเลือกเพราะอยากได้ยิ่งลักษณ์เป็นนายกรัฐมนตรี ยิ่งเมื่อคราวที่ยิ่งลักษณ์ไปปราศรัยในอำเภอใกล้ๆ เขตเลือกตั้ง ชาวบ้านไปฟังแล้วชอบใจ ก็ทำให้คะแนนเสียงเทไปทางนั้นมากขึ้นไปอีก ข้อนี้ก็สอดคล้องกับที่ชาวบ้านในเขตเลือกตั้งนั้นเองบอกว่า "เขาเลือกเพื่อไทยแม้ไม่ชอบผู้สมัครเพราะอยากให้ยิ่งลักษณ์เป็นนายกฯ”
สาม ผมวิเคราะห์เพิ่มว่า การที่ชาวบ้านเลือกพรรคและผู้นำพรรค ไม่ได้เลือกที่ตัวบุคคลผู้สมัครในเขต เพราะเขาคิดถึงนโยบายในระดับกว้าง มากกว่าเพราะเพียง "ความนิยม" หรือ "กระแสพรรค" ที่เป็นเช่นนั้นเพราะ ชาวบ้านมีความคาดหวังต่อนักการเมืองระดับชาติแตกต่างไปจากความคาดหวังจากนักการเมืองท้องถิ่น
ในท้องถิ่น ชาวบ้านเลือกคนที่ช่วยเหลือเขาได้ทันทีทันใด รู้จักปัญหาเฉพาะของท้องถิ่นดี สำหรับพวกเขา สมาชิก อบต. และสมาชิก อบจ. และผู้ใหญ่บ้าน กำนัน จะตอบโจทย์ท้องถิ่นได้ดีกว่า เรื่องถนนชำรุด ท่อประปาแตก อะไรเหล่านี้ ไม่ต้องถึงมือ สส. หรอก มากกว่านั้น สมาชิก อบต. ในบางหมู่บ้านยังช่วยทำงานกับผู้ใหญ่บ้าน มีบทบาทในการพัฒนาหมู่บ้าน เรื่องนี้ก็มาจากงานวิจัยที่ผมทำเช่นกัน ไม่ใช่พูดขึ้นมาลอยๆ
ส่วน สส. พวกเขาจะพึ่งในประเด็นที่ใหญ่ขึ้น เช่น การร้องเรียนเรื่องเดือดร้อนจากกฎหมายที่ดิน ผมเคยขับรถตาม สส. ไปดูการ "ลงท้องที่" อยากรู้ว่าเขาทำอะไร ไปไหน ผมขับตามไปสัก 30 กิโลเมตรได้ ขบวนรถมีสองคัน วิ่งเข้าไปในพื้นที่ซึ่งชาวบ้านถูกเจ้าหน้าที่รัฐประกาศว่าที่ทำกินของพวกเขาอยู่ในเขตพื้นที่สาธารณะบ้าง เป็นป่าสงวนบ้าง ชาวบ้านร่วม 200 คนมารอพบ สส. พวกเขาเดือดร้อนมาก ขอให้ สส. ช่วย
กลไลของการเมืองท้องถิ่นเป็นอย่างไร ยากที่คนในกรุงเทพฯ จะเข้าใจ เพราะการเลือกตั้งผู้ว่าและสมาชิกสภาเขตสำหรับคนกรุงเทพฯ เป็นเหมือนพิธีกรรมไร้สาระจริงๆ ถามหน่อยว่าเราแคร์แค่ไหนว่าใครจะมาเป็นู้ว่า กทม. เราแคร์หรือว่าผู้ว่ากทม. จะมาช่วยอะไรเรา หรือเราเลือกกันเพราะอารมณ์จริงๆ ว่าเราชอบใคร นิยมใคร แต่สำหรับชาวบ้านในชนบท นักการเมืองท้องถิ่นมีส่วนกับชีวิตความเป็นอยู่ของเขามากกว่าในกทม.
แล้วเราคนกรุงเทพฯ แคร์แค่ไหนว่าใครจะมาเป็น สส. เพราะไม่ว่าจะอย่างไร รัฐบาลไหนต่อรัฐบาลไหน แม้เข้ามาไม่ทำอะไรเลย ก็จะต้องดำเนินนโยบายต่างๆ ที่มีอยู่แล้ว ซึ่งก็เอื้อให้กับการพัฒนากรุงเทพฯ แทบทั้งสิ้น ที่ผ่ามา แทบจะไม่มีรัฐบาลที่ตั้งใจพัฒนาต่างจังหวัดหรือทำเพื่อคนต่างจังหวัด ไม่อย่างนั้นพ่อแม่ปู่ย่าตายายของพวกคุณส่วนใหญ่ที่มาอาศัยกรุงเทพฯ อยู่ขณะนี้ จะขวนขวายทิ้งถิ่นฐานเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ หรอกหรือ
หากคุณยังไม่ลืมกำพืดคุณเองว่าโคตรตระกูลคุณก็มาจากต่างจังหวัดล่ะก็ หยุดเผลอไผลดูถูกคนต่างจังหวัดได้แล้ว อย่าปล่อยให้ไฮโซปลายแถวชาวกรุงเพียงไม่กี่คนที่ดูถูกโคตรตระกูลคุณ ชักนำคุณไปสร้างฐานอำนาจของพวกเขาต่อไปเลย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย
#1
ตอบ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 11:23
#3
ตอบ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 11:35
เฮ้อ....................... ก็บอกไปไม่รู้ตั้งกี่ร้อยครั้งแล้ว จะเลือกใครมันก็สิทธิของคนเลือกสิครับ แต่ไม่ใช่ว่าเลือกแล้วจะมาทำ Here ๆ อะไรก็ได้
คือเข้าใจจานกลุ่มนี้อ่ะนะ ว่าโดนกระแสการเมืองแบบมั่ว ๆ ของรัฐบาลกับผู้ชุมนุมจูงไปแบบออกทะเลไปโน่นไปนี่ กลายเป็นจะเอาการเลือกตั้งสร้างความชอบธรรมในการทำ here ๆ ไปซะงั้น
ผมว่านะครับลองย้อนกลับไปหาจุดเริ่มของม๊อบก่อนค่อยมาวิเคราะห์การเมืองดีกว่านะครับ ไม่งั้นนอกจากจะไม่ได้ทำให้ตัวเองมีความชอบธรรมแล้ว ยังจะเร่งปฏกิริยาให้มันเดือดมากขึ้นไปอีก
#4
ตอบ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 11:55
ผมเก็บข้อมูลการวิจัยเมื่อปี 2553-2554 จนถึงหลังการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว ผมมีโอกาสได้สัมภาษณ์นักการเมืองท้องถิ่นคนหนึ่ง เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง สส. เขตของพรรคหนึ่ง ไม่ใช่เพื่อไทย ไม่ใช่ประชาธิปัตย์ ในจังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน ไม่ใช่จังหวัดเสื้อแดงแจ๋อย่างอุดรธานีหรือขอนแก่น เขตเลือกตั้งนี้เป็นเขตเลือกตั้งในชนบท เป็นพื้นที่ซึ่งพรรคเพื่อไทยมีฐานเสียงอยู่พอสมควร แต่ไม่เด็ดขาด ด้วยความไว้เนื้อเชื่อใจอันเนื่องมาจากโยงใยที่ใกล้ชิดกับผู้ที่แนะนำให้ผมติดต่อไปสัมภาษณ์ ผู้สมัคร สส. คนนี้เล่าวิธีการซื้อเสียงของเขาให้ผมฟังโดยละเอียด
ขอเล่าต่อโดยย่อก็คือ เขาแบ่งพื้นที่ในเขตเลือกตั้งออกเป็น 3 โซน โซนหนึ่งเป็นพื้นที่ที่เขาคิดว่าจะได้รับเลือกตั้งแน่ๆ เขาจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่ง ไม่มาก ไม่น้อยนัก โซนที่สอง เขาคิดว่าจะต้องแข่งกับผู้สมัครคนอื่น เขาจะจ่ายมากกว่าโซนแรก อีกโซนหนึ่งที่เขาคิดว่าจะไม่ได้รับเลือกแน่ๆ เขาจะไม่จ่ายเลย ผลการเลือกตั้งออกมาปรากฏว่า เขาไม่ได้รับเลือกตั้ง เขาแพ้ ผมขอให้เขาวิเคราะห์ความพ่ายแพ้ของเขา เขาประมวลออกมาโดยไม่ได้กล่าวถึงจำนวนเงินและพื้นที่ที่เขาพยายามซื้อเสียงเลย เขาบอกว่า
หนึ่ง เขาแพ้กระแสพรรค เขาว่าเขาประเมินแล้วทีแรกว่าน่าจะได้ เพราะชาวบ้านรู้จักเขา นิยมชมชอบเขามากกว่าผู้สมัครคู่แข่งคือพรรคเพื่อไทย ซึ่งผมตรวจสอบดูจากชาวบ้านในพื้นที่นั้นแล้วก็พบว่าเป็นจริงตามนั้น คือในแง่ตัวบุคคลแล้ว ผู้สมัครคนนี้เป็นที่นิยมมากกว่าอีกคนหนึ่ง มีความสัมพันธ์กับชาวบ้านดีกว่า ไปมาหาสู่ ช่วยเหลือ และ "ติดดิน" กว่าอีกคนหนึ่ง ชาวบ้านบางคนยังพูดถึงขนาดว่า "นายคนนี้อยู่ผิดพรรค ถ้าอยู่เพื่อไทยก็ชนะไปแล้ว”
สอง เขาคิดว่าที่แพ้เพราะความนิยมในตัวยิ่งลักษณ์มีสูงมาก เหมือนกับว่าชาวบ้านเลือกเพราะอยากได้ยิ่งลักษณ์เป็นนายกรัฐมนตรี ยิ่งเมื่อคราวที่ยิ่งลักษณ์ไปปราศรัยในอำเภอใกล้ๆ เขตเลือกตั้ง ชาวบ้านไปฟังแล้วชอบใจ ก็ทำให้คะแนนเสียงเทไปทางนั้นมากขึ้นไปอีก ข้อนี้ก็สอดคล้องกับที่ชาวบ้านในเขตเลือกตั้งนั้นเองบอกว่า "เขาเลือกเพื่อไทยแม้ไม่ชอบผู้สมัครเพราะอยากให้ยิ่งลักษณ์เป็นนายกฯ”
สาม ผมวิเคราะห์เพิ่มว่า การที่ชาวบ้านเลือกพรรคและผู้นำพรรค ไม่ได้เลือกที่ตัวบุคคลผู้สมัครในเขต เพราะเขาคิดถึงนโยบายในระดับกว้าง มากกว่าเพราะเพียง "ความนิยม" หรือ "กระแสพรรค" ที่เป็นเช่นนั้นเพราะ ชาวบ้านมีความคาดหวังต่อนักการเมืองระดับชาติแตกต่างไปจากความคาดหวังจากนักการเมืองท้องถิ่น
ในท้องถิ่น ชาวบ้านเลือกคนที่ช่วยเหลือเขาได้ทันทีทันใด รู้จักปัญหาเฉพาะของท้องถิ่นดี สำหรับพวกเขา สมาชิก อบต. และสมาชิก อบจ. และผู้ใหญ่บ้าน กำนัน จะตอบโจทย์ท้องถิ่นได้ดีกว่า เรื่องถนนชำรุด ท่อประปาแตก อะไรเหล่านี้ ไม่ต้องถึงมือ สส. หรอก มากกว่านั้น สมาชิก อบต. ในบางหมู่บ้านยังช่วยทำงานกับผู้ใหญ่บ้าน มีบทบาทในการพัฒนาหมู่บ้าน เรื่องนี้ก็มาจากงานวิจัยที่ผมทำเช่นกัน ไม่ใช่พูดขึ้นมาลอยๆ
ส่วน สส. พวกเขาจะพึ่งในประเด็นที่ใหญ่ขึ้น เช่น การร้องเรียนเรื่องเดือดร้อนจากกฎหมายที่ดิน ผมเคยขับรถตาม สส. ไปดูการ "ลงท้องที่" อยากรู้ว่าเขาทำอะไร ไปไหน ผมขับตามไปสัก 30 กิโลเมตรได้ ขบวนรถมีสองคัน วิ่งเข้าไปในพื้นที่ซึ่งชาวบ้านถูกเจ้าหน้าที่รัฐประกาศว่าที่ทำกินของพวกเขาอยู่ในเขตพื้นที่สาธารณะบ้าง เป็นป่าสงวนบ้าง ชาวบ้านร่วม 200 คนมารอพบ สส. พวกเขาเดือดร้อนมาก ขอให้ สส. ช่วย
กลไลของการเมืองท้องถิ่นเป็นอย่างไร ยากที่คนในกรุงเทพฯ จะเข้าใจ เพราะการเลือกตั้งผู้ว่าและสมาชิกสภาเขตสำหรับคนกรุงเทพฯ เป็นเหมือนพิธีกรรมไร้สาระจริงๆ ถามหน่อยว่าเราแคร์แค่ไหนว่าใครจะมาเป็นู้ว่า กทม. เราแคร์หรือว่าผู้ว่ากทม. จะมาช่วยอะไรเรา หรือเราเลือกกันเพราะอารมณ์จริงๆ ว่าเราชอบใคร นิยมใคร แต่สำหรับชาวบ้านในชนบท นักการเมืองท้องถิ่นมีส่วนกับชีวิตความเป็นอยู่ของเขามากกว่าในกทม.
แล้วเราคนกรุงเทพฯ แคร์แค่ไหนว่าใครจะมาเป็น สส. เพราะไม่ว่าจะอย่างไร รัฐบาลไหนต่อรัฐบาลไหน แม้เข้ามาไม่ทำอะไรเลย ก็จะต้องดำเนินนโยบายต่างๆ ที่มีอยู่แล้ว ซึ่งก็เอื้อให้กับการพัฒนากรุงเทพฯ แทบทั้งสิ้น ที่ผ่ามา แทบจะไม่มีรัฐบาลที่ตั้งใจพัฒนาต่างจังหวัดหรือทำเพื่อคนต่างจังหวัด ไม่อย่างนั้นพ่อแม่ปู่ย่าตายายของพวกคุณส่วนใหญ่ที่มาอาศัยกรุงเทพฯ อยู่ขณะนี้ จะขวนขวายทิ้งถิ่นฐานเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ หรอกหรือ
หากคุณยังไม่ลืมกำพืดคุณเองว่าโคตรตระกูลคุณก็มาจากต่างจังหวัดล่ะก็ หยุดเผลอไผลดูถูกคนต่างจังหวัดได้แล้ว อย่าปล่อยให้ไฮโซปลายแถวชาวกรุงเพียงไม่กี่คนที่ดูถูกโคตรตระกูลคุณ ชักนำคุณไปสร้างฐานอำนาจของพวกเขาต่อไปเลย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย
ไอ้ฟังแล้วชาวบ้านชอบใจ เป็นเพราะขำที่แกพูดรึเปล่าหนอ แค่ฟังแกรู้เรื่องนี่ก็เมพแล้วนะ
- จันทรา อุษาคเนย์ likes this
#5
ตอบ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 11:56
ตามที่ได้เจอกับตัวเอง ก่อนเลือกตั้ง หัวคะแนนจะนำเงินมาแจก แล้วพอถึงวันเลือกตั้ง หัวคะแนนคนนั้นก็จะมาเฝ้าหน้าคูหาเช็คว่าใครมาลงคะแนนไครไม่มา(โดยหัวคะแนนจะมีบัญชีผู้มีสิทธิ์ถือไว้ 1 ชุด) ตาสียายมาบ้านนอกอะครับ รับเงินมาแว้ว ทำไงดี ดูตัวอย่างพ่อตาแม่ยายผมก็ได้ แกไม่ได้รู้เรื่องการเมืองหรอก ใครให้ตังค์แกก็รับ บางครั้งสองเบอร์สามเบอร์มาแจกแกก็รับหมดครับ แล้วแกก็เลือกคนให้ตังค์เยอะกว่า ข้ออ้างแกคือ
1. กลัวบาป รับเงินรับมาแล้วก็ต้องตอบแทน
2. ถ้าไม่ไปลงคะแนนกลัวถูกคิดบัญขีคืนพร้อมดอก
3. ถ้ากาให้เบอร์อิ่น กลัวเป็นพิรุจให้เขาจับได้
ดังนั้นไอ้ที่อ้างว่าเท่านั้นเท่านี้ล้านเสียงเลือกพวกมันมา ขี้จุ๊ ขี้ห๊อก ทั้งเพ
- อู๋ ฮานามิ, Ballbk, asawinee and 1 other like this
#6
ตอบ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 12:13
พิธีกรรมไร้สาระเลยเหรอ ฮ่าๆๆ ให้รัฐบาลตั้งเองเลยไหมครับ
- ซีมั่น โลช่า likes this
#8
ตอบ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 12:16
ผมถาม แค่ 1 คำถาม สั้น ๆ
ถ้าคิดว่า ซื้อเสียง ไม่มีผล กับ
การตัดสินใจ เลือกใคร
ถ้าอย่างนั้น จะ " ซื้อเสียงทำไม "
หรือที่บ้าน รวย จนไม่รู้ จะเอาเงิน
ไปไว้ที่ไหน
ขอให้พวกเรา ชาวหลากสี และพันธมิตร จงมีชีวิตรอด จากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ฝีมือปูนา ไปตลอดรอดฝั่งด้วยครับ
PEMDAS ย่อมาจาก ลำดับการคำนวณ Parentheses , Exponentials , Multiply , Divide , Add , Subtract
FWGHSO ย่อมาจาก ลำดับการประเมินผลของ query FROM, WHERE, GROUP BY, HAVING, SELECT, ORDER BY
#9
ตอบ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 12:31
คนซื้อมีทุกที่ เค้าไม่ขายมันบังคับซื้อ
แต่ คนขายมีที่เหนือ กับอีสาน
อย่าลืมกำพืด เข้าใจยัง
คนไทยประเภทไหนอะ เห็นแก่เงิน เคยเห็นกันมั่งป๊ะ
ขอเสื้อแดงทุกท่านจงเป็นเสื้อแดงตลอดชีวิต เกิดชาติหน้าชาติไหนๆจงเป็นเสื้อแดงทุกชาติๆไป
#10
ตอบ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 17:34
เหอะ เหอะ อ่านแล้วเหมือนอาจารย์คนนี้แกไปทำงานวิจัยในต่างจังหวัด เพื่อจะมาบอกให้
คนใน กทม เปลี่ยนวิธีคิดในการเลือก สส ยังงั้นแหละ
งานวิจัยในต่างจังหวัดของแก ผมยังไม่ค่อยเชื่อถือเท่าไรเลย เพราะผมก็เคยคลุกคลีอยู่ใน
ต่างจังหวัด มองเห็นแง่มุมของการซื้อเสียง จนกระทั่งมีคนมาซื้อเสียงกับตัวผมเองก็เคยมาแล้ว
การซื้อเสียงผมมองว่ามันมีอยู่สองประเภท คือประเภทที่เลือกอยู่แล้วแต่ต้องซื้อเพราะ เส รื อก
ไปสร้างความเคยตัวให้ชาวบ้านไว้ จนต้องซื้อกันเป็นประเพณีไปแล้ว จะจ่ายค่าหัวมากน้อยแค่ไหน
ขึ้นอยู่กับคู่แข่งครับ ถ้าคู่แข่งสู้ก็ต้องจ่ายมาก ถ้าคู่แข่งหวังเอาความดีสู้ ก็จ่ายค่าหัวน้อยเท่านั้นเอง
อีกประเภทหนึ่ง ต้องซื้อเพราะคะแนนของฐานเสียงสูสีครับ ตัดสินแพ้ชนะตรงคะแนนที่ซื้อนี่แหละ
ชาวบ้านที่นิยมชมชอบ ยิ่งลักษณ์ คงไม่ได้ชอบเพราะโครงการบ้าบออะไรหรอกครับ อย่าหลอกตัวเอง
แต่เขาชอบเพราะกระแสที่เข้าไปปั่นเขาให้ชอบมากกว่า ทั้งจากสื่อ ทั้งจากผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น
เงินซื้อเสียงเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งเท่านั้น แต่ที่เขาเลือกและนิยมชมชื่นเพราะมันมีการปั่นกระแสให้ชอบ
ด้วยครับ
สื่อ มีบทบาทในการสร้างภาพหลอกลวงประชาชน ให้เห็นว่า คนบางคนเป็นคนดีทั้ง ๆ ที่ชั่วหาตัวจับยาก
หรือสร้างภาพหลอกลวงประชาชนให้เห็นว่า คนบางคนเป็นคนเลว ทั้ง ๆ ที่เขาเป็นคนดี
สื่อทำให้คนเลวกลายเป็นคนดี ทำให้คนดีกลายเป็นคนเลว มาเยอะแล้วครับ ซึ่งหมายรวมถึงนักวิชาการเลว ๆ
ก็มีส่วนในการสร้างภาพเหล่านี้หลอกลวงประชาชนด้วย
อิทธิพลในท้องถิ่น ไม่ได้หมายถึงการไปบังคับข่มขู่ชาวบ้านให้ชอบใคร หรือเลือกใคร แต่มันเป็นการ
ใช้อิทธิพลช่วยเหลือชาวบ้านในทางผิด ๆ เช่น ช่วยเหลือชาวบ้านที่ถูกจับเรื่องขายยาเสพติด ขาย
หวยเถื่อน เล่นการพนัน ถูกจับเรื่องรถยนต์รถจักรยานยนตร์ ฝากลูกเข้าโรงเรียนเข้าทำงาน การนำ
งบประมาณไปทุ่มให้ชาวบ้านบางกลุ่มที่ถูกจัดตั้งโดยหัวคะแนนของตน
เรื่องเหล่านี้ต่างหากที่เป็นเรื่องที่ได้ใจชาวบ้าน จากกระแสสื่อ และอิทธิพล
ชาวบ้านถูกบิดเบือนความจริงว่าอะไรดีอะไรเลว จากสื่อที่ไร้สำนึกตลอดเวลา
ชาวบ้านถูกครอบงำโดยอิทธิพลชั่ว จนมองว่าอิทธิพลเหล่านี้คือสิ่งที่พึ่งพิงได้
เรื่องเหล่านี้ คนที่มีอำนาจรัฐเท่านั้นที่จะทำได้ คู่แข่งไม่มีทางไปทำได้หรอก การได้ใจแบบนี้มันทำได้ใน
ต่างจังหวัดเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะจังหวัดที่ประชาชนยังค่อนข้างมีรายได้น้อย และมีค่านิยมในทางพึ่งพิง
ภาครัฐสูง ซึ่งมันต่างกับคนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพเพราะคนในกรุงเทพจะพึ่งพิงภาครัฐน้อยมาก ส่วนใหญ่ต้อง
พึ่งตัวเองตัวใครตัวมัน ประกอบกับต้องการให้ภาครัฐทำอะไรของคนในกรุงเทพ มันเป็นอีกระดับหนึ่งที่ต่างจาก
คนต่างจังหวัด
เพราะฉะนั้นวิธีคิดในการเลือก สส ของเขามันย่อมแตกต่างไปจากคนต่างจังหวัด อยู่แล้ว คนที่พึ่งพิงภาครัฐน้อย
เขาก็มีวิธีคิดไปแบบหนึ่ง คนที่ต้องพึ่งพิงภาครัฐมากเขาก็มีวิธีคิดไปแบบหนึ่ง มันอยู่ทึ่ภาครัฐจะมีความจริงใจ
กับประชาชนแค่ไหน อยากเห็นประชาชนพัฒนาความรู้ความคิดแค่ไหน ถ้าภาครัฐคิดแต่จะมอมเมาประชาชนให้
หลงชอบตนเอง โดยความร่วมมือจากสื่อไร้สำนึกนักวิชาการไร้คุณธรรมข้าราชการฉ้อฉลแล้ว กรรมก็เป็นของ
ประเทศชาติและประชาชนนั่นแหละ
- Abraxas, คนทุกที่, TIK Tik tik and 6 others like this
#11
ตอบ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 17:59
1 ใน นักวิชาการนิติราษฎร์ผู้รณรงค์แก้ ม.112
ขอบคุณ 3 ครั้ง BG พี่ขนฟูครับ http://www.oknation....3/12/11/entry-1
" จุดเริ่มของการรัฐประหาร 22 พ.ค. 2557 หลังจากรัฐบาลเพื่อไทยได้บริหารประเทศล้มเหลวมาตลอด 2 ปีเศษ มีการทุจริตคอรัปชั่นมากมาย มีการนำพรบ.นิรโทษกรรมมาอนุมัติผ่านสภาฯเพื่อช่วยเหลือ น.ช. ทักษิณ ทำให้มวลมหาประชาชนลุกขึ้นประท้วงต่อต้าน แม้จนกระทั่ง ศาลรัฐธรรมนูญและปปช. ได้ตัดสินและชี้มูลความผิดจนต้องพ้นออกจากตำแหน่งแล้วก็ตาม ทำให้ประเทศชาติต้องหยุดนิ่ง สุดท้ายเมื่อ พลเอก ประยุทธ ผบ.ทบ.ได้เรียกทุกฝ่ายเข้ามาคุยเพื่อหาทางออกแล้ว โดยขอให้ ครม.ที่ยังคงเหลือลาออกเพื่อตั้งนายกฯเพื่อการปฎิรูปประเทศ แต่ไร้ซึ่งการตอบสนองและการเสียสละ ทำให้พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา จำเป็นต้องประกาศยึดอำนาจ "
#12
ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 08:14
ครับสำหรับ บทความอันนี้ ผมเห็นด้วย กล่าวได้ใกล้เคียงความจริงมากที่สุด ในต่างจังหวัด ส.ส. จะเน้นอิทธิพล และหัวคะแนนมาก แต่ถึงอย่างไร เราก็ไม่สมควร ไปกล่าวหาในทางทางที่ไม่เหมาะสม ส่วนใหญ่จะเป็นที่พวกข้าราชการประจำที่เป็นหัวคะแนน คอยชักจูง หรือบางจังหวัดบิดเบือน ข่มขู่ก็ยังมี แต่ชาวบ้านไม่กล้าที่จะมาบอกกล่าว หรือแจ้งความ เพราะต่างจังหวัดยังมีอิทธิพลเถื่อนครอบงำอยู่ พวกเราควรเห็นใจประชาชนต่างจัดหวัด และชนบทไกล ๆ ครับ บางพื้นที่ ตร.ก็พึ่งไม่ได้ หลายคดีเงียบหาย โดยเฉพาะคดีของคนยากจน ยิ่งถ้าผู้ก่อเหตุเป็นลูกหลานนักการเมืองด้วยแล้ว ตายก็ตายเปล่าวเลยครับ ขนาดนอนอยู่บ้านยังไม่เข้าไปจับเลย .............อนิจจาประเทศไทย.............../ทหารพระราชาเหอะ เหอะ อ่านแล้วเหมือนอาจารย์คนนี้แกไปทำงานวิจัยในต่างจังหวัด เพื่อจะมาบอกให้
คนใน กทม เปลี่ยนวิธีคิดในการเลือก สส ยังงั้นแหละ
งานวิจัยในต่างจังหวัดของแก ผมยังไม่ค่อยเชื่อถือเท่าไรเลย เพราะผมก็เคยคลุกคลีอยู่ใน
ต่างจังหวัด มองเห็นแง่มุมของการซื้อเสียง จนกระทั่งมีคนมาซื้อเสียงกับตัวผมเองก็เคยมาแล้ว
การซื้อเสียงผมมองว่ามันมีอยู่สองประเภท คือประเภทที่เลือกอยู่แล้วแต่ต้องซื้อเพราะ เส รื อก
ไปสร้างความเคยตัวให้ชาวบ้านไว้ จนต้องซื้อกันเป็นประเพณีไปแล้ว จะจ่ายค่าหัวมากน้อยแค่ไหน
ขึ้นอยู่กับคู่แข่งครับ ถ้าคู่แข่งสู้ก็ต้องจ่ายมาก ถ้าคู่แข่งหวังเอาความดีสู้ ก็จ่ายค่าหัวน้อยเท่านั้นเอง
อีกประเภทหนึ่ง ต้องซื้อเพราะคะแนนของฐานเสียงสูสีครับ ตัดสินแพ้ชนะตรงคะแนนที่ซื้อนี่แหละ
ชาวบ้านที่นิยมชมชอบ ยิ่งลักษณ์ คงไม่ได้ชอบเพราะโครงการบ้าบออะไรหรอกครับ อย่าหลอกตัวเอง
แต่เขาชอบเพราะกระแสที่เข้าไปปั่นเขาให้ชอบมากกว่า ทั้งจากสื่อ ทั้งจากผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น
เงินซื้อเสียงเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งเท่านั้น แต่ที่เขาเลือกและนิยมชมชื่นเพราะมันมีการปั่นกระแสให้ชอบ
ด้วยครับ
สื่อ มีบทบาทในการสร้างภาพหลอกลวงประชาชน ให้เห็นว่า คนบางคนเป็นคนดีทั้ง ๆ ที่ชั่วหาตัวจับยาก
หรือสร้างภาพหลอกลวงประชาชนให้เห็นว่า คนบางคนเป็นคนเลว ทั้ง ๆ ที่เขาเป็นคนดี
สื่อทำให้คนเลวกลายเป็นคนดี ทำให้คนดีกลายเป็นคนเลว มาเยอะแล้วครับ ซึ่งหมายรวมถึงนักวิชาการเลว ๆ
ก็มีส่วนในการสร้างภาพเหล่านี้หลอกลวงประชาชนด้วย
อิทธิพลในท้องถิ่น ไม่ได้หมายถึงการไปบังคับข่มขู่ชาวบ้านให้ชอบใคร หรือเลือกใคร แต่มันเป็นการ
ใช้อิทธิพลช่วยเหลือชาวบ้านในทางผิด ๆ เช่น ช่วยเหลือชาวบ้านที่ถูกจับเรื่องขายยาเสพติด ขาย
หวยเถื่อน เล่นการพนัน ถูกจับเรื่องรถยนต์รถจักรยานยนตร์ ฝากลูกเข้าโรงเรียนเข้าทำงาน การนำ
งบประมาณไปทุ่มให้ชาวบ้านบางกลุ่มที่ถูกจัดตั้งโดยหัวคะแนนของตน
เรื่องเหล่านี้ต่างหากที่เป็นเรื่องที่ได้ใจชาวบ้าน จากกระแสสื่อ และอิทธิพล
ชาวบ้านถูกบิดเบือนความจริงว่าอะไรดีอะไรเลว จากสื่อที่ไร้สำนึกตลอดเวลา
ชาวบ้านถูกครอบงำโดยอิทธิพลชั่ว จนมองว่าอิทธิพลเหล่านี้คือสิ่งที่พึ่งพิงได้
เรื่องเหล่านี้ คนที่มีอำนาจรัฐเท่านั้นที่จะทำได้ คู่แข่งไม่มีทางไปทำได้หรอก การได้ใจแบบนี้มันทำได้ใน
ต่างจังหวัดเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะจังหวัดที่ประชาชนยังค่อนข้างมีรายได้น้อย และมีค่านิยมในทางพึ่งพิง
ภาครัฐสูง ซึ่งมันต่างกับคนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพเพราะคนในกรุงเทพจะพึ่งพิงภาครัฐน้อยมาก ส่วนใหญ่ต้อง
พึ่งตัวเองตัวใครตัวมัน ประกอบกับต้องการให้ภาครัฐทำอะไรของคนในกรุงเทพ มันเป็นอีกระดับหนึ่งที่ต่างจาก
คนต่างจังหวัด
เพราะฉะนั้นวิธีคิดในการเลือก สส ของเขามันย่อมแตกต่างไปจากคนต่างจังหวัด อยู่แล้ว คนที่พึ่งพิงภาครัฐน้อย
เขาก็มีวิธีคิดไปแบบหนึ่ง คนที่ต้องพึ่งพิงภาครัฐมากเขาก็มีวิธีคิดไปแบบหนึ่ง มันอยู่ทึ่ภาครัฐจะมีความจริงใจ
กับประชาชนแค่ไหน อยากเห็นประชาชนพัฒนาความรู้ความคิดแค่ไหน ถ้าภาครัฐคิดแต่จะมอมเมาประชาชนให้
หลงชอบตนเอง โดยความร่วมมือจากสื่อไร้สำนึกนักวิชาการไร้คุณธรรมข้าราชการฉ้อฉลแล้ว กรรมก็เป็นของ
ประเทศชาติและประชาชนนั่นแหละ
- kokkai likes this
#13
ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 15:18
เหอะ เหอะ อ่านแล้วเหมือนอาจารย์คนนี้แกไปทำงานวิจัยในต่างจังหวัด เพื่อจะมาบอกให้
คนใน กทม เปลี่ยนวิธีคิดในการเลือก สส ยังงั้นแหละ
งานวิจัยในต่างจังหวัดของแก ผมยังไม่ค่อยเชื่อถือเท่าไรเลย เพราะผมก็เคยคลุกคลีอยู่ใน
ต่างจังหวัด มองเห็นแง่มุมของการซื้อเสียง จนกระทั่งมีคนมาซื้อเสียงกับตัวผมเองก็เคยมาแล้ว
การซื้อเสียงผมมองว่ามันมีอยู่สองประเภท คือประเภทที่เลือกอยู่แล้วแต่ต้องซื้อเพราะ เส รื อก
ไปสร้างความเคยตัวให้ชาวบ้านไว้ จนต้องซื้อกันเป็นประเพณีไปแล้ว จะจ่ายค่าหัวมากน้อยแค่ไหน
ขึ้นอยู่กับคู่แข่งครับ ถ้าคู่แข่งสู้ก็ต้องจ่ายมาก ถ้าคู่แข่งหวังเอาความดีสู้ ก็จ่ายค่าหัวน้อยเท่านั้นเอง
อีกประเภทหนึ่ง ต้องซื้อเพราะคะแนนของฐานเสียงสูสีครับ ตัดสินแพ้ชนะตรงคะแนนที่ซื้อนี่แหละ
ชาวบ้านที่นิยมชมชอบ ยิ่งลักษณ์ คงไม่ได้ชอบเพราะโครงการบ้าบออะไรหรอกครับ อย่าหลอกตัวเอง
แต่เขาชอบเพราะกระแสที่เข้าไปปั่นเขาให้ชอบมากกว่า ทั้งจากสื่อ ทั้งจากผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น
เงินซื้อเสียงเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งเท่านั้น แต่ที่เขาเลือกและนิยมชมชื่นเพราะมันมีการปั่นกระแสให้ชอบ
ด้วยครับ
สื่อ มีบทบาทในการสร้างภาพหลอกลวงประชาชน ให้เห็นว่า คนบางคนเป็นคนดีทั้ง ๆ ที่ชั่วหาตัวจับยาก
หรือสร้างภาพหลอกลวงประชาชนให้เห็นว่า คนบางคนเป็นคนเลว ทั้ง ๆ ที่เขาเป็นคนดี
สื่อทำให้คนเลวกลายเป็นคนดี ทำให้คนดีกลายเป็นคนเลว มาเยอะแล้วครับ ซึ่งหมายรวมถึงนักวิชาการเลว ๆ
ก็มีส่วนในการสร้างภาพเหล่านี้หลอกลวงประชาชนด้วย
อิทธิพลในท้องถิ่น ไม่ได้หมายถึงการไปบังคับข่มขู่ชาวบ้านให้ชอบใคร หรือเลือกใคร แต่มันเป็นการ
ใช้อิทธิพลช่วยเหลือชาวบ้านในทางผิด ๆ เช่น ช่วยเหลือชาวบ้านที่ถูกจับเรื่องขายยาเสพติด ขาย
หวยเถื่อน เล่นการพนัน ถูกจับเรื่องรถยนต์รถจักรยานยนตร์ ฝากลูกเข้าโรงเรียนเข้าทำงาน การนำ
งบประมาณไปทุ่มให้ชาวบ้านบางกลุ่มที่ถูกจัดตั้งโดยหัวคะแนนของตน
เรื่องเหล่านี้ต่างหากที่เป็นเรื่องที่ได้ใจชาวบ้าน จากกระแสสื่อ และอิทธิพล
ชาวบ้านถูกบิดเบือนความจริงว่าอะไรดีอะไรเลว จากสื่อที่ไร้สำนึกตลอดเวลา
ชาวบ้านถูกครอบงำโดยอิทธิพลชั่ว จนมองว่าอิทธิพลเหล่านี้คือสิ่งที่พึ่งพิงได้
เรื่องเหล่านี้ คนที่มีอำนาจรัฐเท่านั้นที่จะทำได้ คู่แข่งไม่มีทางไปทำได้หรอก การได้ใจแบบนี้มันทำได้ใน
ต่างจังหวัดเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะจังหวัดที่ประชาชนยังค่อนข้างมีรายได้น้อย และมีค่านิยมในทางพึ่งพิง
ภาครัฐสูง ซึ่งมันต่างกับคนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพเพราะคนในกรุงเทพจะพึ่งพิงภาครัฐน้อยมาก ส่วนใหญ่ต้อง
พึ่งตัวเองตัวใครตัวมัน ประกอบกับต้องการให้ภาครัฐทำอะไรของคนในกรุงเทพ มันเป็นอีกระดับหนึ่งที่ต่างจาก
คนต่างจังหวัด
เพราะฉะนั้นวิธีคิดในการเลือก สส ของเขามันย่อมแตกต่างไปจากคนต่างจังหวัด อยู่แล้ว คนที่พึ่งพิงภาครัฐน้อย
เขาก็มีวิธีคิดไปแบบหนึ่ง คนที่ต้องพึ่งพิงภาครัฐมากเขาก็มีวิธีคิดไปแบบหนึ่ง มันอยู่ทึ่ภาครัฐจะมีความจริงใจ
กับประชาชนแค่ไหน อยากเห็นประชาชนพัฒนาความรู้ความคิดแค่ไหน ถ้าภาครัฐคิดแต่จะมอมเมาประชาชนให้
หลงชอบตนเอง โดยความร่วมมือจากสื่อไร้สำนึกนักวิชาการไร้คุณธรรมข้าราชการฉ้อฉลแล้ว กรรมก็เป็นของ
ประเทศชาติและประชาชนนั่นแหละ
อีกร้อยปี ก็ยังด้อยพัฒนาเหมือนเดิม
ถ้าเมืองไทย ยังมีนักการเมืองแบบยุคปัจจุบัน
#14
ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 15:35
ขำจริงๆ เลือกอีปู เพราะชอบอีปู แม้ไม่ชอบเผาไทย อย่าเลียมากนัก ไอ้คนไร้ศาสนา
#15
ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 15:40
แล้วจะวิจัยให้เปลืองเงินทำไมวะ ในเมื่ออธิบายปรากฏการณ์นกหวีดเป่าไล่อีปรูที่สุรินทร์ไม่ได้
#16
ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 15:50
มันต้องซื้อ คนเด่นคนดังที่ชาวบ้านชื่นชอบ มาเป็น ส.ส. สิ ระดับแม้วไม่ทำไรขาดทุนอย่างซื้อเสียงชาวบ้านหรอก
ส่วนใครไม่ได้เป็นที่ชื่นชอบ ก็ควักเองจ่ายเอง
อย่างบ้านผม คนที่ช่วยเหลือหมู่บ้านมาตลอด เป็นที่ชื่นชอบคนในหมู่บ้าน ก็อยู๋เพื่อไทย
ปชป. เอาใครมาแข่ง ก็ไม่รู้จัก
แมงสาป สลิ่ม เหลืองโกเต็ก มองตื้นๆ ไม่มีวันชนะหรอก 555
ปล.แซวขำๆนะครับ
#17
ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 16:01
บทความอ่านมาก็ดูดี แต่ดันมาตกม้าตายตรงใส่อคติลงไปในวรรคสุดท้าย
ใครดูถูกคนต่างจังหวัด ขอดูหลักฐานหน่อย ว่าใครพูด เวลาเท่าไร มีปากสักแต่อ้างไป
#18
ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 16:09
สส แค่หนึ่งตัวอย่าง เป็นคำตอบของ ทั้งประเทศไทยเลยหรือ ? มักง่ายพอๆกะลูกสาวผมที่อยู่ อนุบาล 3 เลย
"Power tends to corrupt, and absolute power corrupts absolutely."
#19
ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 17:25
เพื่อไทยไม่ได้ชนะที่ สส . หรือ กระแสพรรค หรือ ปู
ชนะที่นโยบายต่างหาก แน่ใจว่าลงพื้นที่ทำงานวิจัยจริงๆ
ลองไปถามต่างจังหวัดดิครับ บางพื้นที่คนยังไม่รู้เลยว่า สส. หรือ อบต ในเขตเขาอะคือใคร
ส่วนมากเขาจะรู้จัก ผู้ใหญ่ หรือ กำนันมากกว่าอีก นี่ละคือปัญหา..
ผมอยู่ห้วยเกิ้ง อุดร ตั้งแต่ 53 54 55 ไปเรียนรู้การทำนาจากยายเพื่อแลกมรดก
คนในสหกรณ์ในหมู่บ้านหรือพอตอนที่ต้องไปประชุมผู้นำชุมชนที่อำเภอ
มีแต่บอกว่าจะเลือกเพื่อไทยเพราะจะได้เขาข้าวไปจำนำหมื่นห้า
ไม่อยากได้ประกันเพราะได้น้อยกว่า มีแค่นั้นจริงๆ
ที่อื่นไม่รู้เป็นเหมือนนี้ใหมนะแต่ที่ประชุมอะมีแบบนี้เยอะ
และอีกอย่างคือชาวบ้านโกรธและเกลียดมาคสลายการชุมนุมเพราะภาพที่
ชาวบ้านดูคือ เอเซียอัพเดท มันบอกข้างเดียวไม่ได้บอกหลายทาง
เอาตอนพาคนเจ็บออกบ้าง เอาใครไม่รู้มานั้งด่าบ้าง เขาไม่ค่อยดูหรอก
เน็ต facebook อะไรพวกนี้หายาก พวกที่จะใช้พวกนี้ก็จะอยู่แค่ในตัวเมือง
คนต่างจังหวัดจริงๆ 1 ทุ่มก็นอกแล้ว จะเหลือแต่ไม่กี่พวกที่นั้งดูละคร
สรุป
จำนำข้าว 15000+ค่าแรง 300+ปริญญา 15000+ ความเกลียดมาค+เทือก = คะแนนเพื่อไทย
ไอเรื่องซื้อเสียงผมไม่รู้หรอกว่าแบ่งโซนยังไง
แต่การซื้อเสียงพวกคนลงสมัครมันจะส่งเงินมาให้พวกกำนันผู้ใหญ่บ้านหรือคนมีหน้ามีตาในเขต
แล้วก็จะให้คนพวกนี้ละเอาเงินไปให้ชาวบ้านแล้วชักจูงว่าช่วยเลือกหน่อยนะ
คนนั้นดีคนนี้ดี ชาวบ้านแถวอีสานหนะเขาก็ค่อนข้างจะรับเงินแล้วก็จะเลือก
เพราะเกรงกลัวต่อบาปและกลัวคนที่เอามาให้อะมีปัญหาเพราะคนที่ให้ส่วนมากก็คือพวกของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
ที่คนรับเขารู้จักกันอยู่แล้วนั้นละ เขาถึงต้องกาให้
เพราะบางเขตถ้าซื้อเสียงแล้วไม่ได้คะแนนตามเป้าหรือน้อยเยอะ
บางทีก็ถึงกับยิงกันตายเลยด้วยซ้ำ ส่วนไอคนที่รับมาแต่ไม่เลือก
ก็มีหลักฐานแต่ไม่อยากฟ้อง กกต.เพราะไม่อยากสร้างศัตรูเลยปล่อยตามเลย
ปัญหานี้ถ้าแก้ตรงตัว ชาวบ้านอะ ชาติหน้าก็แก้ไม่ได้
เพราะความเชื่อและสิ่งแวดล้อมมันต่างกัน
ต้องแก้ที่กฏเท่านั้น แล้วจะบอกว่าคนกรุงคนต่างจังหวัดแบ่งแบบนี้ได้ไง
คนในกรุงมีคนต่างจังหวัดเยอะจะตายเพ้อเจ้ออะ
แต่จริงๆปัญหาประเทศไทยมีอย่างเดียวคือ คนย้ายไปที่อื่นไม่อยู่บ้านเกิด เพราะ ไม่มีอาชีพและมีรายได้ที่แน่นอน
ไปนั้งกินเงินหลักร้อยที่อื่น เช่าบ้านหลักพันอยู่ ความเจริญมันเลยไปกระจุกที่เมืองใหญ่ๆเท่านั้น
ข่าวสารเลยไม่ทั่วถึงสักเท่าไรเลยมีปัญหาแบบตอนนี้ ถ้าผมเป็นนักวิชาการหรือผู้มีอำนาจนะ
ผมจะต้องทำให้คนอยู่ในบ้านเกิดให้ได้นั้นละคือการแก้ปัญหาการยากจนของคนไทยของจริง
อย่าไปมองข้ามถึงขนาดแก้ความเลื่อมล้ำอะไรเลย
Edited by น้องจุบุจุบุ, 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 17:27.
#20
ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 17:33
ไม่ต้องเป็นงานวิจัยหรอก คำพูดลอยๆขอแค่เข้าข้างตัวเองได้
ก็ยึดไว้เป็นคัมภีร์นำทางชีวิตแล้วล่ะครับ
llllllllllllllllllllllllllllll
llllllllllllllllllllllllllllll
llllllllllllllllllllllllllllll
#21
ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 18:24
เมื่อราวสิ้นเดือน ตค ที่ผ่านมา ไปอบรม กทม
ขากลับนั่งแท๊กซี่คนขับเป็นคนอีสาน ชื่ออำเภอจำไม่ได้แล้ว เป็นของทางอุบล
เค้าพูดอีสานกับน้องอีกสองคนทีกลับด้วยกัน (ไปแยกกันขึ้นรถที่หมอชิตกับเรา) ชื่ออำเภอเพราะดี
บอกว่าเพิงกลับจากเลือกตั้ง ที่บ้านมีอยู่ 4 หรือ 5 คนต่อครอบครัวนี่แหละ ได้เงินค่าเลือกตั้งมาราวๆ หมื่นกว่าบาท จากจำนวนเสียงทั้งหมด
เล่าด้วยความภาคภูมิใจในการขายสิทธิ์ขายเสียงของตัวเอง โดยไม่สำนึกว่ามันจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อสังคมและส่วนรวมแค่ไหน
เล่าว่าเมียเขาบอกว่าอย่าเพิ่งไปเลือกตั้งตอนกลางวัน ให้ไปใกล้ๆ ปิดหีบ ราคาเสียงจะยิ่งเพิ่มขึ้นอีก เราก็โอ้โห้ แม่ม ไอ้***
เพราะมีคนอย่างพวกเมริงไง ประเทศชาติถึงได้วิบัติอยู่ขณะนี้
ไม่พอยังบอกว่าได้เงินไปเที่ยวทำบุญที่พระธาตุพนมอีก เงินบาปเอาไปทำบุญ ทุเรศจริงๆ
ฟังแล้วสะท้อนใจ ถ้ายังมีคนแบบนี้อยู่อีก ประชาติ๊บไตยที่แท้จริงที่เพรียกหาก็ไม่เกิดหรอก
- ทรงธรรม, blackdragon and กีรเต้ like this
#22
ตอบ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 04:55
บางหมู่ บางเขคเลือกตั้ง คนมีฐานะดี แต่ญาติพี่น้องตัวเองเป็นหัวคะแนน
ยังไงก็ต้องเลือก เงินไปแต่คะแนนไม่เข้าเป้า..โอกาสรอด หรือปางตายมีสูง
ราชบุรีสนุกสนานสุด ปกติเค้าจะเลือกซื้อเฉพาะบางเขตที่คาบลูกคาบดอก
การันตีว่าจะได้แน่ แต่ราชบุรีคนแถวดำเนินเล่าให้ฟัง บางหมู่แจกกันเกือบทุกเบอร์
เรียกว่าใครเกทับให้มาก หัวคะแนนกินน้อย ก็ได้ไป
Edited by nf9, 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 05:09.
#23
ตอบ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 08:14
ความเป็นจริงแล้วตามชนบท ส่วนมากเขาจะเทไปตามผู้นำครับ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นายกฯ สนับสนุนฝ่ายใหน ก็จะเลือกฝ่ายนั้น ส่วนเงินที่เขาเอามาแจก มันเป็นผลพลอยได้ที่เขาต้องได้ (จะต้องได้ ไม่ได้ผู้นำเสียหมาเลยครับ)
ดังนั้น พวกนักการเมืองมันแค่หาผู้นำมาเป็นพวกให้มาก ก็มีสิทธิ์ที่จะได้รับชัยชนะแล้วครับ
เป็นดินรองพระบาท ยังดีกว่าเป็น ขี้เปียกข้างไข่ไอ้เหลี่ยม
++++++++++..........++++++++++..........++++++++++
ไม่มีคนดีคนใดยืนอยู่ข้างไอ้เหลี่ยมและพวกควายแดง
#24
ตอบ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 08:32
ทั้งหมดทั้งมวลนี้มันขึ้นอยู่ที่ผู้ดูแลกฎหมายจะเอาจริงหรือเปล่า ถ้ามีกฎหมายที่เข้มแข็งและปฎิบัติได้รวดเร็วไม่มีใครกล้าทำหรอก จะต้องปฏิรูปกฏหมายให้ชัดเจน รวดเร็ว และที่สำค้ญคือเด็ดขาดไม่ต้องให้ตีความเป็นอย่างอื่นได้ผิดก็คือผิด ผมว่าประเทศไทยก็จะเป็นไทย
#25
ตอบ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 09:05
แดงควายขนาดมาชุมนุม มันยังแจกตังค์ เรื่องซื้อเสียง มันมีหรือจะไม่เอา ใครบอกว่า ไม่มีแจกตังค์ตอนเลือกตั้ง ต้องให้มันมาอยู่กับพวกรากหญ้า แล้วจะรู้ว่า มันขายเสียงหรือไม่ อย่ามานั่งบนหอคอย แล้วจินตนาการว่าตัวเองไม่เคยไ้ด้ ก็บอกว่าไม่มี ทีทำงานคนงานระดับรากหญ้า เลือก อบต สส เมื่อไหร่ ลากลับบ้านทันที มีค่ารถให้ เงินต่างหาก
#26
ตอบ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 09:13
ถามขิงนี่ที่บ้านอยู่้ในวงการเลยรู้ครบถ้วนตั้งแต่วิธีการซื้อเสียงจนถึงวิธีส่ง % กลับไแให้เจ๊ ด. ไม่ต้องไปเพ้อเจ้อกับนักวิชาการหมดอายุที่เป็นขี้ข้านักการเมืองหรอก เชื่อประชาชนด้วยกันดีกว่า เขาไม่หลอกคุณ
Edited by เพื่อไทยทำได้ทุกอย่าง, 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 09:13.
ผู้ใช้ 1 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้
สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 1 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน