เห็นช่วงนี้ออกมาบอกกันเยอะว่าจะให้ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง แล้วอยากให้ปฏิรูปอะไรกันมั่ง
เคยคุยกันในอีกกระทู้แต่ก็ไม่เห็นมีใครออกมาบอก
อย่าออกมาพูดแต่ว่าให้ปฏิรูปแต่จะให้ทำยังไงบ้างไม่เห็นจะออกมาบอกกัน เลยอยากดูความเห็นของคนอื่น ๆ บ้าง จะได้รู้แนวทางของคนส่วนใหญ่
*** ออกตัวก่อนนะครับ เป็นแค่ความเห็น ไม่อยากให้มาทะเลาะกัน ใครเห็นต่างก็ แสดงของตัวเองออกมาให้หลากหลาย ***
ยาวหน่อยนะครับ ทน ๆ อ่านหน่อย.....
ความหวัง_1
เรายอมรับกันไม๊ว่ารัฐบาล(ผู้แทนที่เราเลือกเข้าไป)เป็นผู้บริหารเงินงบประมาณ(ภาษี)ของเราดังนั้นคนที่
มีสิทธิ์เลือกตั้งก็ควรเป็นคนที่จ่ายเงิน(ภาษี) หรือคนที่รัฐจ้าง(จากภาษี)ให้มาทำงาน
ดู ๆ แล้วน่าจะมีสามกลุ่มหลัก ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1 ผู้เสียภาษีเงินได้
2 พนักงานของรัฐ – รัฐจ้างให้ทำงาน
3 นักเรียนนักศึกษา อายุ18/20 ปีขึ้นไป(บรรลุนิติฯ)
* อาจมีกลุ่มอื่น ๆ ตกหล่นไปใครคิดได้ก็ช่วยเสริมมา แต่จะมองสามกลุ่มนี้เป็นหลัก *
ทำไมถึงมองแบบนี้ นึกง่าย ๆ ในห้องเรียนมีนักเรียน 50 คน จะทำอาหารมาเลี้ยงกันในห้อง มีคนออกเงินอยู่ 30 คน แล้วคนที่ช่วยทำอาหารอยู่ 5 คน แล้วที่ไม่ทำอะไรเลยคอยแต่จะกินอย่างเดียว 15 คน เหมาะสมไม๊ที่ 15 คนนี้โวยวายว่าจะกินเมนูโน้นเมนูนี้ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ช่วยอะไรเลย
คราวนี้มาดูทีละกลุ่ม
*** ผู้เสียภาษีเงินได้ ***
- แน่นอนก็พวกพนักงานออฟฟิศทั้งหลาย
- แรงงานตามโรงงาน คนงานตามร้านค้า หรือคนใช้ในบ้านทั้งหลาย เลิกซะเถอะไอ้ที่บอกว่ารายได้ต่ำไม่ต้องเสียควรให้ทุกคนยื่นให้หมด เสียภาษีปีละ 50 บาท ร้อยสองร้อยก็ว่ากันไปเอาเข้ามาอยู่ในระบบภาษีให้หมด
- ชาวนา เกษตรกร ทั้งหลายที่ขายผลผลิตได้ ก็ควรต้องเสียภาษี เอาเข้ามาอยู่ในระบบภาษีให้หมด อัตรามากน้อยก็ว่ากันไป แล้วค่อยเอาภาษีที่จ่ายมานี่แหละ เป็นตัวชี้วัดภายหลังว่า ควรจะช่วยเหลืออุดหนุนกลับไปอย่างไรภายหลัง ไม่ใช่เหมือนในปัจจุบัน เอะอะอะไรก็โยนเงินเข้าไปช่วยหมดไม่รู้ใครเป็นใคร หรือใครขายผลิตผลแล้วจ่ายภาษีทุกปี พอมีปีไหนผลผลิตเสียหาย ก็จะได้ตามดูประวัติย้อนหลังช่วยเหลือได้ถูกต้องกว่าตามสภาพจริง
- ผู้สูงอายุที่จ่ายภาษีเงินได้มาโดยตลอด เมื่อปลดเกษียณแล้วกี่ปีก็ว่ากันไปก็ควรมีสิทธิ์ในการเลือกตั้งต่อไปจนตาย
- กลุ่มอาชีพอื่น ๆ อีกพวกพ่อค้าแม่ขายหาบเร่แผงลอยทุกสาขาอาชีพที่มีเงินได้ เป็นนายหน้า MLM สรุปก็คือคนที่มีเงินได้ไม่ว่าด้วยวิธีใดก็ตาม ควรต้องจ่ายภาษีหมด น้อยบ้างมากบ้างตามกำลังจะได้ปลูกจิตสำนึกมีส่วนร่วมในชาติบ้าง
- กลุ่มแม่บ้านที่อยู่บ้านเลี้ยงลูก ทำงานบ้านเป็นแม่บ้าน หรือบางคนมีพ่อแม่คนเฒ่าคนแก่ให้อยู่บ้านดูแลบ้านไม่มีงานหรือรายได้ กลุ่มนี้ถ้าดูดี ๆ ไม่ค่อยให้ประโยชน์กลับคืนสังคมส่วนรวมเท่าไหร่ แต่ให้ประโยชน์แก่คนภายในบ้านซะส่วนใหญ่ ดังนั้นผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครัวควรรับผิดชอบจ่ายภาษีพิเศษให้กลุ่มบุคคลเหล่านี้ด้วยอาจตั้งใหม่เรียกเป็นภาษีอุปถัมภ์ หรืออะไรก็ว่าไป อัตราเท่าไหร่ก็ให้นักวิชาการไปคิดคำนวนกัน เพราะคนกลุ่มนี้จะไม่ได้จ่ายภาษีคืนสู่สังคมเท่าไหร่(จะคืนในรูปแบบภาษี vat ที่รวมอยู่ในราคาสินค้าที่ซื้อไปใช้) แต่ก็ใช้สาธารณูปโภคต่าง ๆ ไม่ต่างจากคนเสียภาษีเลย ซึ่งสาธารณูปโภคต่าง ๆ นั้นก็ได้มาจากภาษีของเรา ๆ ทั้งนั้น แต่ถ้าคนกลุ่มนี้ไม่ต้องการใช้สิทธิ์ใช้เสียงอะไรก็ไม่ต้องจ่ายภาษีในส่วนนี้ก็ได้
*** พนักงานของรัฐ ***
- แน่นอนก็พวกข้าราชการ ทหาร ตำรวจ รัฐวิสาหกิจทั้งหลาย
- ข้าราชการบำเน็จ บำนาญ เป็นกรณีมองอีกมุมว่ารับบำนาญเหมือนเป็นค่าจ้างให้อยู่เป็นแบบอย่างในสังคม
*** นักเรียนนักศึกษา ***
-กลุ่มนี้มองไปอีกแง่นึงก็จะคล้าย ๆ กับพนักงานของรัฐนั่นแหละ เพราะรัฐต้องให้เงินอุดหนุนทางด้านการศึกษาเยอะมากในแต่ละคน พูดง่าย ๆ ก็คือ รัฐจ่ายเงินจ้างให้มาเรียนนั่นแหละ เราไม่มองถึงค่าเทอมที่ต้องจ่ายนะเพราะนั่นเป็นแค่ค่าในการดำเนินงานของสถานศึกษา
……………………………………………………………………………………………….
ความหวัง_2
จากที่พูดใน ความหวัง_1 จะเห็นได้ว่าจะมีกลุ่มคนที่ไม่มีสิทธิ์ออกเสียงสามกลุ่มใหญ่ ๆ คือ
- กลุ่มเด็ก
- กลุ่มตกงานว่างงานระยะยาว (แต่ตกงานไม่เกิน6เดือน ก็ยังอยู่ในกลุ่มคนจ่ายภาษีเงินได้อยู่) ไม่ยอมทำงาน
- คนพิการมาก ๆ หรือ ป่วยเรื้อยังจนทำงานไม่ได้
ตอนนี้บัตรประชาชนก็เป็นสมาร์ทการ์ดเกือบหมดแล้วข้อมูลส่วนบุคคลต่าง ๆ ก็เก็บเข้าระบบคอมพิวเตอร์แล้วก็ควรจะนำข้อมูลเหล่านี้ได้แล้ว ในการเข้ามาติดต่อกับหน่วยงานรัฐ หรือเข้ารับบริการ หรือรับการส่งเสริม อุดหนุนจากหน่วยงานรัฐก็ควรจะมีลำดับความสำคัญ น่าจะจัดลำดับตามนี้
กลุ่มคนพิการ/ป่วยเรื้อรัง – กลุ่มเด็ก – กลุ่มคนที่ออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง – กลุ่มคนที่มีสิทธิ์แต่ไม่ยอมไปใช้สิทธิ์ – กลุ่มคนว่างงาน
ยกตัวอย่างการไปเข้าคิวบริการของโรงพยาบาล การจัดคิวบริการ ก็เรียงตามความสำคัญด้านบนนี้เลย จะได้กระตุ้นให้พวกคนนอนหลับทับสิทธิ์จะได้ออกไปใช้สิทธิ์กันเยอะ ๆ หน่อย
……………………………………………………………………………………………….
ความหวัง_3
คราวนี้มาดูเงินได้อีกส่วนหนึ่ง นั่นก็คือทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่ในแต่ละพื้นที่
ทรัพยากรอยู่ในจังหวัดไหน ก็ควรให้จังหวัดนั้นเป็นผู้ดูแล ไม่ใช่รัฐบาลเที่ยวเอาไปเร่ขายสัมปทานถูก ๆ แล้วกินใต้โต๊ะกันบานตะไท การจะให้สัมปทานก็ควรทำประชาพิจารณ์ประชามติโดยในกรณีนี้ทุกคนที่มีบัตรประจำตัวประชาชนที่อยู่ในพื่นที่ควรมีสิทธิ์ในการออกเสียงเพราะเป็นผลได้ผลเสียของคนในพื้นที่โดยตรง และรายได้จากการให้สัญญาสัมปทาน และรายได้ที่ได้จากทรัพยากรเหล่านั้นในภายหลัง ก็ควรจัดสรรให้เหมาะสมไม่ใช่ ได้สัมปทานไปแล้ว จะขุดจะทำอะไรก็ได้ อย่างเช่นมีรายได้จากทรัพยากรเหล่านั้น 100% ก็แบ่งให้ท้องถิ่น 30% ส่วนกลาง 20% ผู้รับสัมปทาน 50% อะไรประมาณนี้ และในกรณีผู้รับสัมปทานทำให้เกิดปัญหาอย่างพวกสภาพแวดล้อม มลพิษถ้าไม่แก้ไข คนในท้องที่ก็ควรจะยืดกลับมาได้
อีกส่วนนึงก็คือทรัพยากรในส่วนรวมที่อยู่ในอ่าวไทยและทะเลอันดามันที่อยู่นอกเหนือจากเขตจังหวัดก็ให้เป็นของส่วนกลางการจะให้สัมปทานก็ต้องมีการทำประชามติของคนในชาติซะก่อน หรือตั้งกฎเกณฑ์มาตราฐานขึ้นมาควบคุมโดยตรง
……………………………………………………………………………………………….
ความหวัง_4
ทีนี้มาถึงการจัดสรรงบประมาณที่ลงในแต่ละจังหวัด น่าจะอิงกับอัตตราการเก็บภาษีของจังหวัดนั้น ๆ ประมาณว่าปีนึงจังหวัดเก็บภาษีได้ 100% ก็เก็บเอาไว้ใช้ในตัวจังหวัด 60% ส่งกลับให้รัฐบาลในส่วนกลาง 40% ดูแล้วจะมีความเป็นธรรมกับทุกจังหวัด แล้วในการบริหารการใช้งบประมาณ ก็ทำเป็นคณะของ สส.-ผู้ว่า-นายอำเภอ-หอการค้า ของแต่ละจังหวัด ถ้าบริหารไม่ดีคนในจังหวัด นั้น ๆ ก็จะจัดการกับ สส. มันเอง โดยงบดุลต่าง ๆ ภายในจังหวัดต้องประกาศและให้คนในจังหวัดตรวจสอบได้ตลอด ถ้าเงินเหลือก็จะเก็บสะสมเป็นเงินสำรองของจังหวัดต่อไป ซึ่งรูปแบบของงบในปัจจุบันเห็นแล้วเหนื่อยแทน ขอมาเท่าไหร่ก็ต้องใช้ให้หมด ไม่รู้มันคิดกันได้ยังไง
……………………………………………………………………………………………….
ความหวัง_5
จะมีงบประมาณบางส่วนที่จะต้องจัดการดูแลโดยรัฐบาลกลาง อย่างพวกงบป้องกันประเทศ งบการทำสนามบินนานาชาติ หรือ โครงการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือบริการกับคนส่วนรวมทั้งประเทศ
……………………………………………………………………………………………….
ความหวัง_6
ที่พูดมาตั้งแต่ ความหวัง_1 ถึง ความหวัง_4 จะเห็นได้ว่าจะเป็นการกระจายอำนาจและการจัดการออกไปให้แก่ท้องถิ่นจริง ๆ และจะทำให้แต่ละจังหวัดจะมีศักยภาพในการแข่งขันกันตามความเป็นจริง จังหวัดไหนมีศักยภาพมากก็จะเติบโตตามที่มันควรจะเป็น ประชากรก็จะอพยพไปอยู่ตามจังหวัดที่ตนคิดว่าจะสามารถเข้าไปประกอบอาชีพและเติบโตได้อย่างแท้จริง แต่ละจังหวัดก็ต้องหาจุดเด่นของจังหวัดตัวเองเอามาเป็นจุดขาย เพื่อให้เกิดรายได้เข้าสู่จังหวัด สส. ก็จะทำหน้าที่ในส่วนของนิติบัญญัติเป็นหลัก แล้วก็กลับมาช่วยบริหารงานกับคณะทำงานในจังหวัดตัวเอง อีกส่วนหนึ่ง ไม่ใช่เลือกตั้งเสร็จก็รอให้มติพรรคจูงจมูกไปตลอดชาติ
……………………………………………………………………………………………….
ความหวัง_7
คราวนี้มาดูที่ สส. ที่เราเลือกเข้าไป สส.1คนต่อประชากร 170,000 คน ดังนั้นถ้า สส. ทำอะไรผิดที่เกี่ยวของกับการเป็นตัวแทนของประชาชน อย่างเช่นโกงกิน เสียบบัตรแทนกัน หนีประชุม ก็ควรจะได้รับโทษ เท่ากับ โทษปกติ x 170,000 ด้วยเช่นกัน แต่ในความเป็นจริงขอแค่ 5 เท่าของโทษปกติก็พอ
……………………………………………………………………………………………….
ความหวัง_8
ทีนี้มาดูระบบตำรวจบ้านเรา
ตำรวจบ้านเราตอนนี้มีอำนาจคับฟ้า แถมไม่ค่อยทำงาน ใคร ๆ ก็รู้ ทั้ง ๆ ที่ตำรวจดี ๆ ก็มีเยอะ แต่ถูกระบบสีเทาแย่ ๆ ครอบงำเอาไว้ทำให้ตำรวจดี ๆ ขยับตัวลำบาก
งานที่ตำรวจทำได้โดยตรง ก็พวกการทำผิดทั่ว ๆ ไป ลักเล็กขโมยน้อย การตรวจตราความเรียบร้อยในสังคม งานจราจร แต่เมื่อใดที่มีความผิดเกี่ยวข้องกับ ชีวิต การคอรัปชั่น หรือพวกความผิดร้ายแรงต่าง (ก็ค่อยกำหนดกันไปว่ามีประเภทไหนมั่ง) ควรเป็นการทำงานเป็นคณะกรรมการ ของแต่ละพื้นที่ อย่างในอำเภอ ก็อาจประกอบด้วย ตร.-อัยการ-นายอำเภอ-นายกเทศมนตรี-ผู้นำชุมชน เป็นคณะกรรมการว่าควรสั่งฟ้องหรือไม่ถ้าตกลงกันไม่ได้ก็ส่งเข้ามาในระดังจังหวัดดู ก็จะมี ตร.-อัยการ-นายอำเภอ-ปลัด-ผู้ว่า-สส. เป็นกรรมการ คือเป็นการพิจารณาที่มีทั้งฝ่ายรัฐและเอกชนร่วมกันพิจารณาป้องกัน พวก ตร.เฉย ไม่ยอมรับฟ้องหรือรับแล้วไม่ยอมทำงานต่อ แล้วก็ขอทีเหอะ พวก นายอำเภอ-ผู้ว่า ที่เที่ยวไปงานพิธีเปิดงานโน่นนี่ เป็นประธานงานที่ไม่จำเป็นทั้งหลายเสียเวลาเปล่า ๆ เป็นงานที่เสียเวลาคอยแต่จะเอาหน้าเอาตากัน ทั้ง ๆ ที่มีงานต้องดูแลทุกข์สุข ความเรียบร้อยของบ้านเมืองอีกเยอะแยะไม่ค่อยยอมไปทำกัน
……………………………………………………………………………………………….
ความหวัง_9
ในกรณีที่ สส. ทำผิดทั้งหลาย ก็เลิกเหอะที่จะใช้ อภิสิทธิ์คุ้มครอง ถ้ามีมูลความผิดก็ให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ได้เลย แล้วให้คนที่มีคะแนนเสียงรองลงไปขึ้นมาทำงานแทนได้เลยระหว่างนั้น ถ้าตัดสินแล้วไม่ผิดก็ค่อยกลับมาเป็นใหม่ แต่ถ้าผิดก็ว่ากันตามความผิดแล้วให้คนที่คะแนนรองถัดไปทำงานแทนเลย ในกรณีที่ทำผิดการเลือกตั้งก็ไม่ต้องแจกหรอกใบเขียวใบแดง ให้ตัดสิทธิ์ 10 ปีไปเลย แล้วให้คนที่มีคะแนนรองถัดไปได้รับการเลือกตั้งเลย ไม่ต้องเสียงบประมาณในการเลือกตั้งใหม่ หรือเลือกใหม่ก็คงให้ตัวแทนนอมินีมาลงแทนอีกนั่นแหละ
……………………………………………………………………………………………….
ความหวัง_10
ทีนี้ก็มาถึง เมกะโปรเจ็ค กันมั่ง
สมมุติอยากสร้างรถไฟความเร็วสูงจาก เชียงใหม่-นครสวรรค์ โดยวิ่งจาก เชียงใหม่-ลำพูน-ลำปาง-สุโขทัย-กำแพงเพชร-นครสวรรค์ โดยรัฐบาบอาจเป็นโต้โผใหญ่ขึ้นโปรเจ็คแล้วไปคุย กับ ทั้ง 6 จังหวัดที่เป็นทางผ่าน หรือจังหวัดต่าง ๆ รวมตัวกันคิดโปรเจ็คแล้วเข้ามาเสนอรัฐบาล โดยการลงทุนอยู่ในลักษณะการร่วมทุน ระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มจังหวัดที่ทางรถไฟผ่าน สมมุติลงทุนทั้งหมด 100% รัฐบาล ลง 50% อีก 50% ก็เป็นเงินลงทุนของทั้ง 6 จังหวัด มากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่ว่า วิ่งผ่านจังหวัดไหนเท่าไหร่ ซึ่งเงินลงทุนของแต่ละจังหวัดก็ได้มาจากที่เคยบอกไว้ใน ความหวัง_4 ไง และหลังจากสร้างเสร็จแล้วมีรายได้จากโปรเจ็คที่สร้าง ก็จัดสรรแบ่งปันคืนตามอัตราที่รัฐบาลและแต่ละจังหวัดลงทุนไปนั่นแหละ อันนี้จะเป็นการป้องกันไม่ให้ สส. หรือรัฐบาล ทุ่มเอาโปรเจ็คไปลงแต่พื้นที่ฐานเสียงของตัวเอง ทั้ง ๆ ที่ภาษีมันเป็นของส่วนรวม อย่างการสร้างรถไฟความเร็วสูงจากเชียงใหม่มากรุงเทพ คนที่อยู่สงขลาก็จะบอกว่าแล้วคนสงขลาจะได้อะไรคุ้มไหม กับรถไฟความเร็วสูงนี้