Jump to content


Photo
- - - - -

งามใส้..อองซานซูจี ประกาศจะบอยคอตการเลือกตั้ง ต้องแก้รัฐธรรมนูญก่อน

อองซาน กลัวการเลือกตั้ง

  • Please log in to reply
44 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 t045

t045

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 330 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 10:17

*
POPULAR

อองซานกลัวการเลือกตั้ง เป็นศัตรูกับประชาธิปไตย

 

 

MYANMAR opposition leader Aung San Suu Kyi has suggested for the first time that a boycott of the 2015 election may be on the cards unless her demands to amend an "undemocratic" Constitution are heeded.

The 2008 Constitution, which had been drafted by the military regime in power then, essentially bars her from running for president because she married a foreigner. As 25 per cent of the seats in Parliament are reserved for the military, its support is needed for any constitutional changes.

"One should not take part in a competition which was arranged to give one side an advantage," Ms Suu Kyi told a crowd of about 30,000 near Yangon on Sunday.

"There will be no fair elections with the current Constitution... If we join, we will have no dignity in the people's eyes," she added.

 

http://www.stasiarep...lection-2013121

 

 

"อองซาน ซูจี" ส่งสัญญาณบอยคอตเลือกตั้งพม่าปี 2558 หากไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับทหารที่ห้ามนางเป็นประธานาธิบดีเหตุเพราะมีสามี-ลูกเป็นคนต่างชาติ ระบุใครก็ไม่ควรลงชิงชัยในการเลือกตั้งที่ฝ่ายหนึ่งได้เปรียบอย่างไม่ยุติธรรม
    นางซูจีประกาศท่าทีดังกล่าวระหว่างการเดินสายรณรงค์เรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เขตพะโคเมื่อวันอาทิตย์ โดยถ้อยแถลงของนางที่กล่าวต่อหน้าผู้สนับสนุนหลายพันคน ณ ที่ทำการพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) ในเมืองทารยารวดี เมื่อวันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคมที่ผ่านมา ถูกตีพิมพ์เผยแพร่ในสื่อท้องถิ่นของพม่าและทางเฟซบุ๊กของพรรค ซึ่งสื่อต่างประเทศหลายสำนักรวมถึงวอลสตรีทเจอร์นัลนำมารายงานเมื่อวันพุธที่ 18 ธันวาคม
    "ใครก็ไม่ควรเข้าร่วมในการแข่งขันที่จัดขึ้นโดยให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้เปรียบอย่างไม่ยุติธรรม" คำกล่าวของผู้ชนะรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพจากการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยจนถูกรัฐบาลทหารกักขังนานรวม 15 ปี จากช่วง 21 ปีก่อนที่นางจะได้รับอิสรภาพในปี 2553 นางซูจีระบุด้วยว่า นักการเมือง "ที่มีเกียรติทางศีลธรรม" ก็ไม่ควรมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งหน้าที่จะมีขึ้นในปี 2558
 

อ่านต่อ ... http://www.thaipost....ws/191213/83604

 

 



#2 dragon baby

dragon baby

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 444 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 10:21

THANK YOU 3 TIMES

Attached Images

  • 630.jpg


#3 JSN

JSN

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,004 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 10:22

ไทย พม่า เขมร เริ่มวุ่นแล้ว มาเลเซียจะยอมให้เขาโกงหน้าด้านอีกหรือเปล่า

#4 butadad

butadad

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,119 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 10:23

จะดูดิว่า ไอ้กัน จะมาว่า ซูจีมั่งป่ะ  ขัดขวางประชาธิปไตยไง ไอ้กันชอบว่าแบบนี้นี่นา



#5 พอล คุง

พอล คุง

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 11,014 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 10:24

เด๋วจะมี ไอ้คนพม่า (กากลี)ในบอร์ด คนหนึ่ง มาเถียงแทน ไหมหว่า

 

ห้าาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาา


ถึงตรูจะเลวยังไง ตรูก้อไม่ได้ขายชาติ เหมือนเสื้อแดงว่ะ เข้าใจนะ

 


#6 Manners

Manners

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 623 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 10:28

ไหนไอ้ปึ้งบอกว่าพม่าสนับสนุนการเลือกตั้งวันที่2 สรุปตอนนี้กลายเป็น"กำนันสุเทพโมเดล"ไปถึงพม่าแล้ว เขมรน่าจะตามมาอีกราย 



#7 Suraphan07

Suraphan07

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,016 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 10:29

เธอทั้งคู่ แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง?...

 

ความแตกต่าง 2 ผู้นำหญิง.jpg



#8 CrazyDaimon

CrazyDaimon

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 879 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 10:35

คุณว่า เหตุการณ์ ทั้งในพม่า และ เขมร

 

กปปส. มีส่วนทำให้เกิดหรือไม่?

 

ผมว่า น่าจะมีส่วนนะ



#9 กระต่ายหมายจันทร์

กระต่ายหมายจันทร์

    รู้ดินรู้ฟ้า หรือจะสู้รู้คน

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,394 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 10:40

*
POPULAR

ใครที่เป็นสาวกอองซาน กรุณาฟัง

ผมไม่เถียงที่อองซานเป็นคนดีคนหนึ่ง

ผมไม่เถียงที่อองซานเป็นนักต่อสู้ที่ดี

แต่การเป็นนักการเมืองของอองซาน

หากไม่มีชาติตะวันตกหนุนหลังก็ยาก

ที่จะสู้สล็อกได้  สังเกตุให้ดีอเมริกา

สนับสนุนทุกทางผ่านสื่อ CNN ผ่าน

รางวัลโนเบล คำถามก็คือเมื่ออองซาน

ได้อำนาจไปแล้ว อองซานคิดยังไง

กับชนเผ่าอื่นที่เรียกร้องการแยกตัวเป็น

อิสระจากพม่าอย่างไทใหญ่ กะเหรี่ยง

มอญฯลฯ คำตอบของอองซานก็คือ...

ยังไงก็ไม่ปล่อยให้เป็นรัฐอิสระแน่นอน

คงจำกันได้สนธิสัญญาปางโหลงที่อังกฤษ

เจ้าอาณานิคมทำสัญญากับชนเผ่าต่างๆ

ในพม่าว่าจะให้เอกราช แต่เมื่อได้เอกราช

อองซานผู้พ่อกันอูนุเล่นไม่ซื่อกับชนเผ่าอื่น

ไม่ยอมให้เอกราชจนเกิดความวุ่นวาย ทำให้

ทหารยึดอำนาจมาจนถึงปัจจุบัน ผมมีความ

เชื่อว่า อองซานเป็นแค่เพียงนักการเมืองที่

แสวงหาอำนาจให้ตนและพวกพ้องมากกว่า

ที่จะสร้างความสงบและสันติสุขในพม่า คนที่

พวกเราควรค่าแก่การยกย่องจริงๆก็คือ.....

พลโทเจ้ายอดศึก ผู้นำกองกำลังไทใหญ่กู้ชาติ

ที่เคารพและรักในหลวงของเราอย่างสูงสุด


อย่าให้ความชั่วร้ายครอบงำเรา  จนไม่รู้จักผิดชอบดีชั่ว


#10 พ่อไอ้ร้อยล็อคอิน

พ่อไอ้ร้อยล็อคอิน

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 6,450 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 11:28

การเมือง เรื่องผลประโยชน์

 

บางทีการสร้างผลประโยชน์ให้กับชาติของตัวเอง อาจต้องแลกมากับการโดนชาติอื่นๆใส่ไฟ  -_-


อยากรู้ว่าประชาธิปไตยไทยเป็นแบบไหน ให้ดูการใช้รถใช้ถนนรู้จักกันแต่สิทธิ แต่ไม่เคยรู้จักหน้าที่ ในการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่วางไว้

#11 annykun

annykun

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,567 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 11:31

โลกนี้ช่างหลอกลวง  ประชาธิไตยแท้จริง  ในโลกนี้มีแค่ท่านทักกี้  เท่านั้นสินะ  กระซิกๆ TT


คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของผู้ชนะสงคราม  คือ   ความแข็งแกร่ง และ อุดมการณ์ที่สอดคล้องกับความเป็นจริง

คุณธรรมที่พร้ำสอน  ล้วนเป็นสิ่งที่จำเป็นรองลงมา   ส่วน  ประชาธิปไตยน่ะรึ  เอาเข้าจริงๆ  สำคัญอันใด?? 

 


#12 ชายน้ำ

ชายน้ำ

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,256 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 11:39

ประชาธิปไตยไทยใจกว้างกว่าเยอะ

 

แต่งงานมีลูกแล้ว จะมีคู่นอนอีกกี่คน กี่สัญชาติ ยังเป็นนายกฯได้เลย



#13 เพื่อนร่วมชาติ

เพื่อนร่วมชาติ

    พรานล่าปูไปรยา

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 7,788 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 11:41

เธอทั้งคู่ แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง?...

 

attachicon.gifความแตกต่าง 2 ผู้นำหญิง.jpg

 

กะเปิ๊บกะป๊าบ น่าขายหน้าจริง ๆ


ประชาธิปไตยก็เหมือนส้วมสาธารณะแบบนั่งเต็มตูด ควายนับถือศาสนาชินวัตรใช้แล้วสกปรกชิบเป๋ง


#14 กีรเต้

กีรเต้

    เราเป็นอย่างไร เรารู้ตัวเอง

  • Validating
  • PipPipPipPipPip
  • 6,208 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 11:45

ใครที่เป็นสาวกอองซาน กรุณาฟัง

ผมไม่เถียงที่อองซานเป็นคนดีคนหนึ่ง

ผมไม่เถียงที่อองซานเป็นนักต่อสู้ที่ดี

แต่การเป็นนักการเมืองของอองซาน

หากไม่มีชาติตะวันตกหนุนหลังก็ยาก

ที่จะสู้สล็อกได้  สังเกตุให้ดีอเมริกา

สนับสนุนทุกทางผ่านสื่อ CNN ผ่าน

รางวัลโนเบล คำถามก็คือเมื่ออองซาน

ได้อำนาจไปแล้ว อองซานคิดยังไง

กับชนเผ่าอื่นที่เรียกร้องการแยกตัวเป็น

อิสระจากพม่าอย่างไทใหญ่ กะเหรี่ยง

มอญฯลฯ คำตอบของอองซานก็คือ...

ยังไงก็ไม่ปล่อยให้เป็นรัฐอิสระแน่นอน

คงจำกันได้สนธิสัญญาปางโหลงที่อังกฤษ

เจ้าอาณานิคมทำสัญญากับชนเผ่าต่างๆ

ในพม่าว่าจะให้เอกราช แต่เมื่อได้เอกราช

อองซานผู้พ่อกันอูนุเล่นไม่ซื่อกับชนเผ่าอื่น

ไม่ยอมให้เอกราชจนเกิดความวุ่นวาย ทำให้

ทหารยึดอำนาจมาจนถึงปัจจุบัน ผมมีความ

เชื่อว่า อองซานเป็นแค่เพียงนักการเมืองที่

แสวงหาอำนาจให้ตนและพวกพ้องมากกว่า

ที่จะสร้างความสงบและสันติสุขในพม่า คนที่

พวกเราควรค่าแก่การยกย่องจริงๆก็คือ.....

พลโทเจ้ายอดศึก ผู้นำกองกำลังไทใหญ่กู้ชาติ

ที่เคารพและรักในหลวงของเราอย่างสูงสุด

http://www.khonkhurt...neral&Itemid=46


ถึงสูงศักดิ์อัครฐานสักปานไหน.ถึงวิไลเลิศฟ้าสง่าศรี..ถึงเก่งกาจฉลาดกล้าปัญญาดี..ถ้าไม่มี "คุณธรรม" ก็ต่ำคน.... พระราชนิพนธ์ในล้นเกล้า รัชกาลที่ ๕ "   https://www.facebook...akwarakfromyala   https://www.facebook.com/NARAPEACE

 

 


#15 กีรเต้

กีรเต้

    เราเป็นอย่างไร เรารู้ตัวเอง

  • Validating
  • PipPipPipPipPip
  • 6,208 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 12:10

http://www.khonkhurt...neral&Itemid=46

สนธิสัญญาปางหลวง (Panglong Agreement)
12 กุมภาพันธ์ 1947

ในการประชุมซึ่งจัดขึ้นที่ ปางหลวงนี้ มีสมาชิกจากคณะกรรมการบริหาร (Executive Council)  ของรัฐบาลพม่า บรรดาเจ้าฟ้าและผู้แทนรัฐฉาน ชนชาวเขาคะฉิ่นและฉิ่น เข้าร่วม
    
ผู้ ร่วมประชุมเชื่อว่าเสรีภาพจะบรรลุถึงได้ในเร็ววันโดยการร่วมมือระหว่างชาว ฉาน ชาวคะฉิ่น  ชาวฉิ่น  และรัฐบาลชั่วคราวของพม่า ผู้ร่วมการประชุมเห็นพ้องกันโดยปราศจากข้อขัดแย้งในมติดังต่อไปนี้ :
1)    ตัวแทนของชนชาวเขาที่ได้รับเลือกจากข้าหลวง (อังกฤษ) โดยการเสนอแนะของคณะผู้แทนในสภาบริหารสูงสุดของชนชาวเขา (SCUHP) จะได้รับการแต่งตั้งให้เห็นที่ปรึกษาข้าหลวงในกิจการที่เกี่ยวกับพื้นที่ของ รัฐชายแดน

2)    สมาชิกสภาบริหารสูงสุดของชนชาวเขาซึ่งมิได้มีหน้าที่บริหารพื้นที่ชายแดน จะต้องไปปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับคณะกรรมการบริหาร (Executive Council) ตามบทบัญญัติของกฎหมายรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้เฉพาะด้านที่เกี่ยวกับการป้องกันประเทศและกิจการต่างประเทศ ส่วนที่ปรึกษาข้าหลาวของรัฐในพื้นที่ชายแดนจะได้มาซึ่งอำนาจบริหารโดยวิธี เดียวกัน

3)    ที่ปรึกษาข้าหลวงจะมีผู้ร่วมงานซึ่งเป็นผู้ช่วยที่ปรึกษาอีก 2 คนมาจากตัวแทนของชนชาวเขาเผ่าที่เหลือ โดยคนทั้งสองจะต้องไม่เป็นสมาชิกในสภาบริหารสูงสุด ผู้ช่วยที่ปรึกษามีหน้าที่รับผิดชอบกิจการที่เกี่ยวกับดินแดนของตน ขณะที่ที่ปรึกษารับผิดชอบพื้นที่ชายแดนส่วนที่เหลือและพวกเขาควรปฏิบัติ หน้าที่ตามหลักแห่งความรับผิดชอบร่วมกันตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ

4)    ที่ปรึกษาจะเป็นสมาชิกและเป็นตัวแทนเพียงผู้เดียวของรัฐพื้นที่ชายแดนในคณะกรรมการบริหาร

5)    แม้ว่าคณะกรรมการบริหารแห่งข้าหลวงอังกฤษจะมีสมาชิกเพิ่มเข้ามาดังกล่าว แล้ว แต่จะไม่มีหน้าที่บริหารรัฐพื้นที่ชายแดน เพราะอาจไปขัดขวางสิทธิการบริหารกิจการภายในของรัฐดังกล่าว สิทธิในการบริหารกิจการภายในของรัฐพื้นที่ชายแดนได้รับการยอมในหลักการ

6)    แม้ยังมีปัญหาเกี่ยวกับเขตแดนและการสถาปนารัฐคะฉิ่นขึ้นในประเทศพม่า ปัญหานี้จะมอบหน้าที่การตัดสินใจให้กับรัฐสภา ที่ประชุมได้ตกลงกันว่าปรารถนาที่จะสถาปนารัฐนี้ขึ้น และเพื่อให้เป็นก้าวแรกที่จะนำไปสู่ข้อยุตินี้ ที่ปรึกษาของรัฐพื้นที่ชายแดนและผู้ช่วยที่ปรึกษาจะนำประเด็นนี้ไปหารือใน ฝ่ายบริหารของรัฐดังกล่าวที่มิตจีนาและบามอ ทั้งนี้ในฐานะเป็นดินแดนส่วนที่สองตามกฎหมายของรัฐบาลพม่าปี 1935

7)    ประชากรในพื้นที่รัฐชายแดนย่อมมีสิทธิและเอกสิทธิและเอกสิทธิ์พื้นฐาน เช่นเดียวกับประชากรในประเทศประชาธิปไตยอื่นๆ

8)    การดำเนินการใดๆ   ซึ่งเป็นที่ยอมรับตามสนธิสัญญานี้จะต้องไม่ละเมิดต่อสิทธิทางการคลังซึ่งมีอยู่แล้วในสหพันธรัฐฉาน

9)    การดำเนินการใดๆ ซึ่งเป็นที่ยอมรับตามสนธิสัญญานี้ จะต้องไม่ทำให้เสียไปซึ่งความช่วยเหลือทางด้านการคลังที่ชนชาวเขาฉิ่นและคะ ฉิ่นมีสิทธิจะได้รับจากงบประมาณของพม่า และคณะกรรมการบริหารร่วมกับที่ปรึกษาและผู้ช่วยที่ปรึกษาของรัฐพื้นที่ชาย แดนจะตรวจสอบถึงความเป็นไปได้ที่จะเข้ามาจัดระเบียบทางการคลังของรัฐชาวเขา คะฉิ่น  และฉิ่นให้เป็นไปในลักษณะเดียวกับที่ดำเนินการอยู่ระหว่างพม่าและสหพันธรัฐ ฉาน
    
เพื่อให้เป็นอนุสรณ์ของการบรรลุมติการประชุมปางหลวงในครั้ง นี้ให้ถือเอาวันที่ 12 กุมภาพันธ์ เป็นวันสหภาพ  (Union  Day)  และกำหนดให้เป็นวันหยุดแห่งชาติของพม่า
    
ในการประชุมครั้งนี้   ชนชาติกะเหรี่ยงได้ส่งตัวแทนมาร่วมในฐานะผู้สังเกตการณ์   แต่ไม่ได้เข้าร่วมลงมติ  เนื่องจากดินแดนของพวกเขาไม่รวมอยู่ในพื้นที่รัฐชายแดน
    
เพื่อให้ สอดคล้องกับมติการประชุมปางหลวง  เจ้าสามทุน  ผู้ปกครองเมืองปั๋นได้รับเลือกให้เป็นที่ปรึกษาพื้นที่ชายแดนประจำข้าหลวง อังกฤษ  ซามา  ฑุวา  นอว์  (Sama Duwa Sinwa  Naw)  แห่งคะฉิ่น  และอู  วาง  กุฮอ (U Vang Gu Hau)  แห่งฉิ่นได้รับเลือกให้เป็นผู้ช่วยที่ปรึกษา
    
ทั้ง หมดเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือระหว่างฉานและพม่าอย่างไรก็ตาม  ปัญหาสำคัญเดี่ยวกับรูปแบบของความสัมพันธ์ทางการปกครองระหว่างรัฐพื้นที่ชาย แดนกับพม่าที่ระบุไว้ในมติเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ยังถูกทิ้งค้างไว้ให้กับสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะมีการเลือกตั้งตัวแทนเข้าไปภายหลังในปีนั้น  ด้วยเหตุนี้สิทธิที่จะแยกตัวออกไปของรัฐฉานจึงยังมิได้ระบุไว้ในสนธิสัญญา ปางหลวง
    
ต่อมาเพื่อเป็นหลักประกันว่าจะปฎิบัติตามสัญญาอองซาน – แอ็ตลี คณะกรรมการ   เพื่อการสอบถามความเห็นของพื้นที่ชายแดน หรือ Fron – tier Areas Committee of Enquiry (FACE) นำโดยนายรีส วิลเลียมส์ (Rees Williams) ซึ่งเป็นสมาชิกพรรคแรงงานอังกฤษได้ถูกส่งตัวมาจากลอนดอนเพื่อดำเนินการ เรื่องนี้ บรรดาผู้นำของรัฐพื้นที่ชายแดนได้มาให้ความเห็นต่อคณะกรรมการสอบถามในทัศนะ เกี่ยวกับความร่วมมือกับพม่าในการก่อตั้งสหภาพ
    
หลังจากนั้นแม้ ว่าพม่าจะจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาแล้ว  ทว่ารัฐพื้นที่ชายแดนยังไม่ได้จัดตั้งกลไกดังกล่าวขึ้นมาด้วยเหตุนี้ผู้นำ ต่างๆ  จึงเห็นพ้องกันให้จัดตั้ง Shan State Council เพื่อส่งสมาชิกเข้าร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญในฐานะเป็นตัวแทนของประชาชนและ ผู้ปกครองรัฐฉาน
    
ทางด้านคณะกรรมการสอบถามความเห็นนั้น  พวกเขาได้เสนอรายงานที่เรียกว่า  “อนาคตของพื้นที่ชายแดน (future of the Frontier Areas)” โดยระบุถึงทัศนะของผู้ให้ปากคำในสหพันธรัฐฉานและผู้นำชนชาวเขาคะฉิ่น มีใจความสรุปว่า คนเหล่านั้นได้สนับสนุนอย่างเข้มแข็งต่อการสถาปนาสหพันธรัฐพม่า และสหพันธรัฐฉานควรมีรัฐหรือองค์กรปกครองของตัวเองเช่นเดียวกับคะฉิ่น ผู้นำเหล่านั้นยังปรารถนาสิทธิโดยสมบูรณ์ในการปกครองตัวเองในฐานะเป็นรัฐใน สหพันธ์ และมอบสิทธิการปกครองโดยรวมให้กับสหพันธรัฐพม่า
    
ในการ เข้าร่วมการประชุมในสภาร่างรัฐธรรมนูญซึ่งจัดขึ้นในย่างกุ้ง  เมื่อเดือนมิถุนายน  1947  คณะมนตรีแห่งรัฐฉานได้เลือกคณะผู้แทน  25 คน  ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนที่เป็นผู้ปกครองรัฐ  11 คน  คณะผู้แทนของประชาชน  11  คน  ร่วมกับผู้แทน  1  คนจากรัฐโกก้าง  และ  2  คนจากรัฐคะฉิ่น
    
อย่าง ไรก็ตาม  ในขณะนั้นยังมีผู้นำชาวฉากกลุ่มเล็กๆ  จำนวนหนึ่งออกมาคัดค้านอย่างเต็มที่ต่อการรวมตัวเข้าเป็นสหพันธ์กับพม่า  ทั้งเชื่อว่าเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด  แต่เนื่องจากเป็นเสียงส่วนน้อยจึงไม่อาจยับยั้งเสียงส่วนใหญ่ที่สนับสนุนข้อ เสนอของกลุ่มผู้นำสันนิบาตประชาชนรัฐฉาน (SSPFL)  ที่เชื่อว่าการรวมตัวเป็นสหพันธ์จะนำมาซึ่งเอกราชของชาติโดยเร็ว
    
ใน อีกด้านหนึ่ง  รัฐบาลพรรคแรงงานของอังกฤษไม่อยากให้ข้อเสนอเรื่องการรวมตัวเป็นสหพันธ์ผูก มัดถึงชนชาติกะเหรี่ยง, คะฉิ่น, ฉิ่น และกลุ่มอื่นๆ  ที่เคยรับใช้อย่างจงรักภักดีต่อรัฐบาลอังกฤษช่วงก่อนและระหว่างสงครามโลก ครั้งที่สอง  ขณะเดียวกันอังกฤษไม่สมัครใจที่จะยืนกรานรับรองกลุ่มชนชาติส่วนน้อยต่างๆ  ซึ่งอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อพม่า  ด้วยเหตุนี้  ในแง่หนึ่ง  ข้อตกลงอองซาน – แอ็ตลีได้ต้อนรัฐฉานและรัฐพื้นที่ชายแดนเข้าสู่มุมอับ และเปิดโอกาส            ให้อังกฤษได้วางมือจากประเด็นที่ซับซ้อนของชนชาวเขา
    
ด้วยวิธี เดียวกันนี้  รัฐคะเรนนีหรือคะยาซึ่งในอดีตพระเจ้ามินดง (Mindom)  กษัตริย์พม่าถูกอังกฤษบังคับให้มอบเอกราชให้กับรัฐนี้ไปแล้ว เมื่อปี 1845 ทว่าบัดนี้คะยากลับถูกกดดันให้มอบคืนเอกราชของตนด้วยการกลับมาเข้าร่วมกับ พม่า  
    
ส่วนชาวกะเหรี่ยง (Karen)  นั้น ชนกลุ่มนี้ได้ส่งผู้แทนไปยังลอนดอน เพื่อเรียกร้องสิทธิการปกครองตนเอง โดยเสนอตั้งรัฐอิสระที่อยู่ภายใต้เครือจักรภพอังกฤษ แต่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลพรรคแรงงาน ดังนั้นการตัดสินใจที่จะปกครองตัวเองของรัฐฉานและประชาชนในพื้นที่ชายแดนจึง เป็นเพียงช่องทางเดียวที่เปิดให้กับผู้คนในรัฐชายแดนทั้งหลายโดยไม่เหลือทาง เลือกอื่นไว้ให้
    
ในที่ประชุมเมืองปางหลวงยังมีมติอีกประการ หนึ่ง  ได้แก่  การจัดตั้งองค์กรทางการเมืองโดยรวบรวมกลุ่มการเมืองต่างๆ  เข้าไว้ด้วยกันเรียกว่า “ สมัชชาเสรีภาพแห่งรัฐฉาน (Shan States Freeeom Congress-SSFC)”  ก่อตั้งขึ้นเมื่อ  12  กุมภาพันธ์  1947  นำโดยสมาชิกจากกลุ่มต่างๆ  ซึ่งร่วมเป็นคณะกรรมการบริหารจำนวน  12  คน  ทั้งนี้โดยมี อู จ่า บู (U Kya Bu)  เป็นประธาน
    
ทว่าหลักการที่ จะสร้างเอกภาพให้กับองค์กรที่นิยมเรียกว่า The Congress นี้ ไม่ลึกซึ่งและมั่นคงเพียงพอที่จะป้องกันการแตกแยกและการแทรกซึมจากภายนอกได้ ด้วยเหตุนี้ภายในไม่กี่เดือนต่อมา สมาชิกส่วนใหญ่ได้ถอนตัวไปสร้างกลุ่มของตน   ทิ้งสมาชิกที่เหลืออยู่เพียงไม่กี่คนให้สลายตัวไปพร้อมกันองค์กร

สภาร่างรัฐธรรมนูญและสิทธิในการถอนตัว
        
สภา ร่างรัฐธรรมนูญได้เปิดการประชุมขึ้นในกรุงย่างกุ้งระหว่างวันที่  10  มิถุนายนถึง  24  กันยายน  1947  และในการร่างรัฐธรรมนูญของประเทศนั้น  บรรดาสมาชิกซึ่งเป็นตัวแทนของรัฐฉานและรัฐพื้นที่ชายแดนได้แสดงออกซึ่งความ ปรารถนาที่จะสร้างสหพันธรัฐที่แท้จริง ที่ยอมรับสถานะและสิทธิของรัฐต่างๆ  อย่างเท่าเทียมกัน
    
ก่อนการเปิดประชุมสภา  องค์กร AFPFL  ที่นำโดยออง  ซาน  ได้ร่างรัฐธรรมนูญขึ้นเป็นแนวทาง  ในนั้นบรรจุมาตราต่างๆ  ไว้  14  มาตราในมาตราที่  3  ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับรูปแบบกรจัดการปกครองรัฐต่างๆ  นั้นระบุว่า  แต่ละรัฐจะถูกจัดแบ่งตามลักษณะเฉพาะว่าควรจะจัดอยู่ในประเภทรัฐในสหภาพของ สหพันธ์ (Federated Union State)  หรือเป็นรัฐชองชนชาติส่วนน้อย (Ethnic Minority State)  ทั้งนี้โดยดูจาก :
1.    ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่มีเขตแดนแน่นอน
2.    ภาษาของเผ่าพันธุ์ที่แตกต่างจากภาษาพม่า
3.    วัฒนธรรมเฉพาะของรัฐนั้นๆ
4.    ประวัติศาสตร์
5.    เศรษฐกิจที่เลี้ยงตัวเองได้
6.    ประชากรที่เพียงพอ
7.    ความปรารถนาที่จะจัดตั้งรัฐขึ้นภายในสหพันธ์ตามรูปแบบที่เลือกไว้

ดังนั้นตามมาตรา 3 ที่ระบุไว้ในร่างของ AFPFL สถานภาพของรัฐฉานและพม่าจึงถูก
จัดประเภทไว้ในฐานะเป็นรัฐในสหภาพของสหพันธ์ (Federated Union State)    
    
นอก จากนี้  ออง  ซานยังนำข้อเสนออีก  7 ประการตามจุดยืนของ AFPFL เสนอให้สภาร่างรัฐธรรมนูญพิจารณาเพื่อเป็นแนวทางในการร่างรัฐธรรมนูญของ สหภาพ ข้อเสนอดังกล่าวได้แก่:

1.    กฎหมายรากฐานของชาติต้องวางอยู่บนหลักการกลาง กล่าวคือการสถาปนาสหภาพพม่าในฐานะ
เป็นรัฐเอกราช
2.    มลรัฐทั้งปวงในสหภาพต้องมีสิทธิอย่างเต็มที่ในการบริหารกิจกรรมภายในของตน
3.    อำนาจของสหภาพพม่าและมลรัฐได้มาจากปวงชน
4.    ประชากรของสหภาพควรมีสิทธิเท่าเทียมกันในสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง กฎหมายและความยุติธรรมจะต้องให้ความเสนอภาคต่อประชาชนทุกคน  ยกเว้นผู้ละเมิดกฎหมาย  สิทธิของปวงชนในการคิด, การแสดงออก, ความเชื่อ, การนับถือศาสนา  ในชีวิตและในการรวมตัวกันเป็นสมาคมจะต้องได้รับการรับรองและประกันไว้ในรัฐ ธรรมนูญ
5.    สิทธิของชนชาติส่วนน้อยจะต้องได้รับการพิทักษ์ไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ
6.    อธิปไตยของสหภาพเหนือดินแดน ทะเล และอากาศจะต้องได้รับการพิทักษ์ไว้ตามกฎหมายระหว่างประเทศ
7.    สหภาพพม่าจะต้องมุ่งมั่นให้เกิดสมรรถภาพในการดิ้นรนเพื่อพัฒนาการทางด้าน สังคม เศรษฐกิจ ความมั่นคงคงปลอดภัยของประชาชน และความร่วมมือกับชาติทั้งปวงด้วยความยุติธรรมเพื่อดำรงไว้ซึ่งสันติภาพของ โลก

ขณะสภากำลังร่างรัฐธรรมนูญอยู่นั้น  มือปืนคนหนึ่งได้บุกเข้าไปในที่ประชุมของสภา
บริหาร(Executive Council)  แห่งรัฐบาลชั่วคราวเมื่อวันที่  19  กรกฎาคม  1947  และยิงเข้าใส่ออง  ซานและที่ปรึกษาทางการบริหารอื่นๆ  อีก 6 คน  รวมทั้งเจ้าสามตุนแห่งเมืองปอนจนเสียชีวิต
    
หลังจากการเสียชีวิต ก่อนถึงเวลาอันควรของออง  ซาน  ฝักฝ่ายทางการเมืองต่างๆ  ในพม่าได้แตกแยกออกจากกัน  แต่ละกลุ่มล้วนมีแผนการที่จะเข้าสวมช่องว่างแห่งอำนาจด้วยกันทั้งสิ้น
    
ใน ช่วงเวลาแห่งความสับสนและบ้านเมืองไร้เสถียรภาพนั้น  ผู้นำของรัฐฉานได้รับการชักชวนอย่างลับๆ  จากเจ้าหน้าที่อังกฤษจำนวนหนึ่งให้เดินทางกลับสู่รัฐของตน  และสถาปนารัฐฉานเป็นรัฐปกครองตัวเองภายใต้เครือจักรภพอังกฤษ (Dominion State) ซึ่งจะได้รับความช่วยเหลือทางการทหาร เศรษฐกิจ และการบริหาร เมื่อช่วยตัวเองได้แล้วในภายหลังจึงค่อยจัดตั้งขึ้นเป็นประเทศเอกราช ทว่าในขณะนั้นผู้นำฉานยังคงเพิกเฉยเนื่องจากปักใจอยู่กับสภาร่างรัฐ ธรรมนูญ    จึงตัดสินใจที่จะรอดูต่อไปให้ตลอดกระบวนการ
    
เมื่อออ ง  ซานเสียชีวิตลง  ตะขิ่น  อูนุได้ก้าวขึ้นเป็นผู้นำ  AFPFL และประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ กระทั่งการร่างรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้นสภามีมติให้ก่อตั้งสหภาพพม่าในฐานะ เป็น         รัฐเอกราชนอกเครือจักรภพ ทว่ากฎหมายแม่บทซึ่งร่างขึ้นอย่างเร่งรีบนี้เต็มไปด้วยข้อบกพร่องมากมายการ รับรองให้ผ่านออกมาแน่นอนว่าจะต้องมีการแก้ไขในภายหลัง
    
คณะผู้ แทนของรัฐฉานที่อยู่ในสภาส่วนใหญ่ไม่มีประสบการณ์ทางการเมืองและ       ยังอ่อนหัดในงานด้านการร่างกฎหมาย  นอกจากนี้ความใฝ่ฝันและกระหายอยากได้เอกราชได้ลบภาพความรู้สึกเก่าๆ  จนเลือนหาย  กระทั่งมอบความไว้วางใจให้กับผู้นำพม่าซึ่งพวกเขาคิดว่าคงไม่ทรยศต่อสัญญา
    
ใน เดือนตุลาคม  ข้อตกลงมอบเอกราชระหว่างอูน – แอ็ตลีได้รับการลงนาม และสหภาพพม่าได้ปรากฏเป็นจริงขึ้นในวันที่ 4 มกราคม 1948 อูนุได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี สภาร่างรัฐธรรมนูญยังคงดำรงอยู่ในฐานะสภาชั่วคราวภายหลังเอกราช ทั้งนี้จนกว่าจะจัดการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นใหม่
    
ซาน  ตุน  ที่ปรึกษาสภาร่างรัฐธรรมนูญในขณะนั้น  ให้ความเห็นต่อรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นมาว่าทำให้สหภาพพม่าเป็นสหพันธรัฐในทาง ทฤษฎี  แต่เป็นรัฐเดี่ยวในทางปฏิบัติ  รัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังแสดงออกถึงการครอบงำของพม่าซึ่งสามารถสร้างสหภาพจอม ปลอมที่แสร้งให้สิทธิปกครองตังเองแก่รัฐบาลต่างๆ  เกินกว่าการยอมรับที่เป็นจริง  ประการเดียวที่เหลือชดเชยไว้อยู่บ้างคือ  สิทธิในการถอนตัว  (Right of Secession)
    
ตามมาตราต่างๆ  เกี่ยวกับการก่อตั้งมลรัฐและสิทธิในการถอนตัว (ภายใต้การปกป้องอย่างเคร่งครัด)  นั้น  บรรจุไว้เพียงเพื่อทำลายความกังขาของผู้นำรัฐชายแดนมากกว่าจะสนองความจำเป็น ทางการเมืองและการบริหารอย่างแท้จริง  หรือเป็นเพียงรูปแบบที่จะถ่ายถอนความไม่ไว้วางใจอันยาวนานต่อพม่าที่ชนชาว เขามิอาจลืมเลือน
    
เพื่อแสดงถึงสิทธิในการถอนตัว  รัฐธรรมนูญได้ระบุเงื่อนไขไว้  4 ประการ:

1.    หลังจากเวลาล่วงไปแล้ว  10 ปี   จึงจะดำเนินการตามสิทธินี้ได้
2.    จะต้องได้รับความเห็นชอบด้วยเสียง 2 ใน 3  ของสภาแห่งรัฐ (State Counil)
3.    ผู้นำของรัฐนั้นจะต้องแจ้งให้ผู้นำสูงสุดแห่งสหภาพรับทราบมติ และผู้นำสหภาพจะสังการให้
จัดการลงประชามติขึ้นในรัฐนั้น  ภายใต้การดำเนินการของคณะกรรมการที่ผู้นำสหภาพแต่งตั้งขึ้น  โดย
ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นตัวแทนจากสหภาพและตัวแทนของรัฐนั้นฝ่ายละครึ่ง
4.    รัฐที่มิได้ใช้สิทธิถอนตัวเท่านั้น  ที่ยังคงสามารถใช้สิทธิต่างๆ  (ตามทีกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ)
    
ใน ขณะนั้นมีเพียงรัฐฉาน  (ซึ่งเปลี่ยนชื่อจาก Shan States เป็น Shan State) และ         รัฐคะยาเท่านั้นที่อยู่ในเกณฑ์จะถอยตัวได้ สำหรับรัฐคะฉิ่นและรัฐกะเหรี่ยงได้ปฏิเสธอย่างชัดแจ้งที่จะใช้สิทธินี้ ขณะรัฐฉิ่นได้ถูกแปลงสภาพเป็น “เขตปกครองพิเศษ (Special Division)” จึงมิได้มีสภาพเป็นรัฐตามเกณฑ์ที่กำหนด อันที่จริง แต่เดิมรัฐชายแดนทั้งหมดมีสิทธิที่จะถอนตัวได้ดังที่ระบุไว้ในสัญญาปางหลวง ทว่าฝ่ายพม่ากลับยักย้ายเปลี่ยนแปลงเสียใหม่ในเวลาต่อมา
    
ระหว่าง การประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญในช่วงที่ผ่านมา  ออง  ซานได้ขอร้องไปยังรัฐฉานว่าอย่าเพิ่งถอนตัวออกไปในช่วง  10 ปีหลังจากการสถาปนาสหภาพพม่า เพื่อว่ารัฐบาลจะสามารถดำเนินการตามแผนพัฒนา 5 ปี แต่หลังจากนั้นรัฐฉานจะใช้สิทธินี้ก็ได้หากคิดว่าในช่วง  10 ปีนั้นดินแดนของตนไม่ได้รับการชดเชยทดแทนความสูญเสีย
    
ด้วยจิตใจ ที่เป็นธรรม  ผู้นำฉานยินยอมรับข้อเสนอของออง  ซานน่าเสียดายที่ผู้นำพม่าผู้นี้ไม่มีโอกาสได้อยู่เพื่อแสดงความจริงใจให้ ปรากฏ
    
ผลเสียเนื่องของข้อตกลงอองซาน – แอ็ตลี, สนธิสัญญาปางหลวง, การลอบสังหารอองซาน, และการเร่งรีบผ่านรัฐธรรมนูญของสหภาพพม่าทั้งหมดกลายเป็นอุปสรรคขัดขวางความ ปรารถนาของประชาชนชาวฉาน เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิในการตัดสินใจในฐานะรัฐเอกราชตามที่ผู้นำของโลกใน องค์กรการสหประชาชาติประกาศไว้ ยิ่งกว่านั้นยังนำพาพวกเขาไปสู่ช่วงเวลาแห่งความทุกข์ยากในประวัติศาสตร์อัน ยาวนานที่ดำเนินมาจนถึงปัจจุบัน

 

รวบรวมโดย "คนเครือไท www.khonkhurtai.org"
คนเครือไท เป็นศูนย์รวมข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับไทใหญ่ - รัฐฉาน ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์กรการเมืองและการทหารกลุ่มใด 

ถึงสูงศักดิ์อัครฐานสักปานไหน.ถึงวิไลเลิศฟ้าสง่าศรี..ถึงเก่งกาจฉลาดกล้าปัญญาดี..ถ้าไม่มี "คุณธรรม" ก็ต่ำคน.... พระราชนิพนธ์ในล้นเกล้า รัชกาลที่ ๕ "   https://www.facebook...akwarakfromyala   https://www.facebook.com/NARAPEACE

 

 


#16 Bot V Mask

Bot V Mask

    ตัว V อยู่กลางหน้าผาก

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,185 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 12:38

ถ้าอยู่เมืองไทย ซูจีคงโดนหาว่าไม่เป็นประชาธิปไตย  ไม่ยอมลงเลือกตั้ง :lol:



#17 ชายน้ำ

ชายน้ำ

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,256 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 13:01

ขอบพระคุณเพื่อนสมาชิกที่ให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์พม่า

 

อ่านแล้วรู้สึกรักและเทอดทูนบูชาบุรพกษัตริย์ของไทยอย่างสุดจิตสุดใจ

 

เรามีบุญแค่ไหนที่ไม่ต้องแทนชื่อรัฐชื่อแคว้นต่างๆที่เราอ่านประวัติศาสตร์พม่าด้วยชื่อภาคและชื่อจังหวัดของไทย

 

ผมเชื่อว่าแม้พวกไทยล้มเจ้าได้อ่านบทความที่กล่าวมาก็คงไม่รู้สึกซาบซึ้งใดๆต่อบุญคุณของเหล่าบุรพกษัตริย์ที่ให้ที่เกิดที่กินแก่คนเหล่านี้

 

คนพวกนี้ไม่เห็นค่าความเป็น"ไท" แต่คงอยากเป็นพลเมืองชั้นสองของฝรั่งตาน้ำข้าว จีน ญวน หรือเขมรมากกว่า

 

ก็ขอให้งมงายตามที่ได้ถูกชี้นำกันมา แต่ผมและคนไทยเกือบทั้งหมดจะเทอดทูนรักษาสถาบันกษัตริย์ยิ่งชีวิตต่อไป



#18 chackrapbong

chackrapbong

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,057 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 13:19

แก้รัฐธรรมนูญก่อนเลือกตั้ง :ซูจี

ปฎิรูปก่อนเลือกตั้ง :สุเทพ

ต่างกันตรงใหน ???????

 

บรรดา ผู้สื่อข่าวต่างป.ท. รวมทั้งชาติมหาอำนาจ ตะวันตก ที่ถือหางซูจี

จะมีท่าที อย่างไร ต่อไป เป็นเรื่องน่าติดตามว่า คนพวกนี้จะกล่าวหาว่า

ซูจี ทำลายระบอบประชาธิปไตยหรือไม่

 

และจะอธิบายเรื่องนี้ต่างกับเหตุการณ์ที่เป็นอยู่ในบ้านเราขณะนี้อย่างไร

 

หรือใครจะเป็นฝ่ายประชาธิปไตยต้องผ่านการรับรองของพวกกูก่อน


Everyone thinks of changing the world, but no one thinks of changing himself. Leo Tolstoy


#19 Shariff

Shariff

    สมาชิกหน้าตาดี

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,802 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 13:21

เด๋วจะมี ไอ้คนพม่า (กากลี)ในบอร์ด คนหนึ่ง มาเถียงแทน ไหมหว่า

 

ห้าาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาา

ไอ้นี่มันเป็นได้ทุกอย่างจริงๆ

 

ตอนเลือกตั้ง กทม.มันเป็นคน กทม.

 

พอต้านแม่วงก์ มันย้ายทะเบียนบ้านไปแม่วงก์เฉยเลย


"การปลดปล่อยตัวเองออกจากความเป็นทาสทางความคิดมิใช่ใครอื่น, มีแต่เราเท่านั้นที่จะต้องกระทำ "จากเพลง Redemption song.

#20 Novice

Novice

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,353 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 13:49

อองซานโม้มากเกินไปตอนหาเสียง ที่บอกว่าจะให้เอกราชกับชนเผ่าต่าง ๆ ในพม่า ถ้าชนะเลือกตั้งก็อาจโดนทวงสัญญาในเรื่องนี้

 

แต่ ดูจากกฏหมายของพม่า ที่ออกกฏห้ามไม่ให้คนที่แต่งงานกับคนต่างชาติเป้นประธานาธิบดี ก็เป็นสิ่งที่ทุเรศมาก ดังนั้นทางแก้เกมของรัฐบาลทหาร น่าจะยอมให้อองซานเป็นประธานาธิบดีได้ แล้วรอให้ชนเผ่าพวกนั้นบีบคนอองซานจนตายไปเอง

 

ความคิดผมเอง ไม่ได้เอามาจากไหน



#21 BatMan's Gurl

BatMan's Gurl

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 363 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 14:56

 

เด๋วจะมี ไอ้คนพม่า (กากลี)ในบอร์ด คนหนึ่ง มาเถียงแทน ไหมหว่า

 

ห้าาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาา

ไอ้นี่มันเป็นได้ทุกอย่างจริงๆ

 

ตอนเลือกตั้ง กทม.มันเป็นคน กทม.

 

พอต้านแม่วงก์ มันย้ายทะเบียนบ้านไปแม่วงก์เฉยเลย

 

เอาหน้ามันมาให้ดูหน่อยได้ไหมค่ะ 555 



#22 Bookmarks

Bookmarks

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 33,617 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 15:14

 

เด๋วจะมี ไอ้คนพม่า (กากลี)ในบอร์ด คนหนึ่ง มาเถียงแทน ไหมหว่า

 

ห้าาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาา

ไอ้นี่มันเป็นได้ทุกอย่างจริงๆ

 

ตอนเลือกตั้ง กทม.มันเป็นคน กทม.

 

พอต้านแม่วงก์ มันย้ายทะเบียนบ้านไปแม่วงก์เฉยเลย

 

ไอ้กากลีนี่ ไม่ใช่เลือกตั้ง กทม เป็นคน กทม หรือเป็นแม่วงก์ อย่างเดียว จำได้ว่ามีกระทู้ มนุษย์ไส้เดือน 2 เพศ ที่พูดครับ กับค่ะ ได้ในตัวเดียว ไอ้นี่ก็สามารถผสมพันธุ์ แบ่งเซลล์ได้ด้วยในตัวเองด้วยครับ  :D



#23 อาวุโสโอเค

อาวุโสโอเค

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,790 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 15:17

การประท้วงของลุงกำนันเป็นมากกว่าต่อสู้กับตระกูลชินซะแร้ว  :wub:


การเมืองไม่ใช่เพื่อกลุ่มใด แต่เพื่อทุกคนในประเทศ

#24 spartacus

spartacus

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 810 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 15:27

ประชาธิปไตยไทยใจกว้างกว่าเยอะ

 

แต่งงานมีลูกแล้ว จะมีคู่นอนอีกกี่คน กี่สัญชาติ ยังเป็นนายกฯได้เลย

อั่นแน่ แสดงว่า ท่าน  รู้อะไรดีๆ เหมือนผมแน่เลยครับ 

ผมเห็นด้วยกับท่านครับ B)



#25 อิสระเสรีชน

อิสระเสรีชน

    ทักษิณ เมื่อไหร่ตาย 5555

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,244 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 15:46

 
อ่านเอาเ้รื่อง 19 ธันวาคม 2556

'ซูจี' ก็ปฏิรูปก่อน

ยิ่งนานวันเสียงปฏิรูปประเทศ กำหนดกติกาการเลือกตั้งที่เป็นธรรมเพื่อให้ได้มาซึ่งนักการเมืองที่สุจริต ยิ่งดังขึ้นเรื่อยๆ ครับฟังเสียง "วิชัย อัศรัสกร" รองประธานกรรมการหอการค้าไทย หนึ่งใน ๗ องค์กรธุรกิจ แล้วชื่นใจครับ เพราะการต่อสู้ของประชา ชนไม่ถูกโดดเดี่ยว


"การเลือกตั้งประโยชน์ที่จะได้เกิดกับนักการเมืองและกลุ่มทุนมากกว่า แต่กระแสปฏิรูปถ้าเกิดได้จะเกิดกับประชาชนและประเทศชาติมากกว่า ผมไม่ได้ปฏิเสธการเลือกตั้ง แต่ต้องให้น้ำหนัก ถามผมก็คิดว่าให้ความสำคัญกับการเลือกตั้งมากเกินไป จึงขอจุดประเด็นในเรื่องการปฏิรูปมากกว่า"

หากนักการเมืองที่อ้างตัวเป็นฝ่ายประชาธิปไตย มาจากการเลือกตั้งของประชาชน คิดถึงผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเหมือนที่ "วิชัย อัศรัสกร" คิด วันนี้ความขัดแย้งคงจบไปแล้วอย่างสิ้นเชิง

ประเทศเดินหน้าเต็มสูบไปแล้วครับ!ไม่ใช่เฉพาะประเทศไทยที่คนในชาติมีความ รู้สึกว่าจะต้องปฏิรูปประเทศ กำหนดกติกาใหม่ที่เป็นธรรมกว่าเดิม ก่อนเดินไปสู่การเลือกตั้งที่สะท้อนถึงเสียงของประชาชนอย่างแท้จริง ไม่ใช่ของคนเพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

ในเมียนมาร์กำลังมีการพูดเรื่องนี้เช่นกัน "อองซาน ซูจี" ผู้นำฝ่ายค้านในเมียนมาร์ ปราศรัยกับประชาชนที่สนับสนุนเธอ ในช่วงเวลาที่สื่อมวลชนต่างประเทศทะลักเข้าไปทำข่าวแข่งกันกีฬาซีเกมส์ เอาไว้น่าสนใจทีเดียวครับ

เธอเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๑ ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญของเผด็จการทหาร ห้ามบุคคลที่มีคู่สมรส หรือบุตรเป็นชาวต่างชาติ ดำรงตำแหน่งผู้นำประเทศ

หากไม่แก้ไขเธอจะไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในปี ๒๕๕๘
"ไม่ว่าใครก็ไม่ควรลงเลือกตั้ง ภายใต้กฎเกณฑ์เอื้อต่อฝ่ายรัฐบาลฝ่ายเดียว"
แม้บริบทโดยรวมต่างกันเล็กน้อย แต่สาระสำคัญที่เหมือนกันระหว่างการเมืองไทยกับเมียนมาร์คือ มีรัฐบาลใช้อำนาจเผด็จ การ สร้างความฉ้อฉล

รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ของไทยเกิดขึ้นหลังการรัฐประหารก็จริง แต่ก็ยกร่างโดย ส.ส.ร.ที่มาจากการสรรหาของประชาชน และผ่านการลงประชามติ ไม่มีเนื้อหาเป็นเผด็จการ นอกเสียจากตรวจสอบการเข้าสู่อำนาจของนักการเมืองเข้มงวดกว่ารัฐธรรมนูญหลาย ฉบับที่ผ่านมา

รัฐธรรมนูญเผด็จการทหารเมียนมาร์จึงเปรียบได้กับระบอบทักษิณ และเป็นเหตุให้ต้องมีการปฏิรูป ก่อนก้าวไปสู่การเลือกตั้งเหมือนๆ กัน

ขณะที่ "อองซาน" พยายามพาประเทศให้หลุดพ้นจากระบอบ การปกครองที่กดขี่ แต่ "ยิ่งลักษณ์" เดินหน้าพาประเทศให้พี่ชายเธอขี่ต่อไป.
 

"ไม่มีพระราชาองค์ใด ยิ่งใหญ่เทียบเท่าเสมอเหมือน พระราชาของพวกเราปวงชนชาวไทย"

 

 Long Live My King

 

....................................................


#26 voodoo

voodoo

    ไม่เป็นกลาง

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,202 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 16:05

คุณว่า เหตุการณ์ ทั้งในพม่า และ เขมร

 

กปปส. มีส่วนทำให้เกิดหรือไม่?

 

ผมว่า น่าจะมีส่วนนะ

 มีส่วนทำให้เกิด ตั้งแต่อียิปต์ พม่า เขมร มาเลย์  :lol: 


" สลิ่มที่ไม่กล้่าเปิดตัวต่อสาธารณชนเท่าไรนัก เนื่องจากไม่ได้ทำประกันอัคคีภัย "

#27 ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

    หน้าตาดี มีอุดมการณ์

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 21,670 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 16:16

ใครที่เป็นสาวกอองซาน กรุณาฟัง

 

 

ขออนุญาตท่านกระต่ายนิดเดียวครับ  เผอิญเห็นทุกกระทู้ท่านจะตอบโดยใช้ฟอนท์ 48 ทุกโพสต์

 

ปกติคุณม็อดเคยขอร้องเราไว้ว่าอย่าใช้อักษรตัวใหญ่ตลอดเวลา (ผมเดาว่าเหตุผลคือมันปวดตา)

ซึ่งเว็บสากลทั่วโลกก็ใช้กฎนี้หมดครับ เหตุผลคือหน้าเพจมันจะลายตา อ่านยาก

และทำให้มีปัญหาเวลา quote เรพมาลง  มันจะติดฟอนท์เดิมมาด้วย ทำให้เสียพื้นที่หน้าของเพจครับ

ขนาดอักษร CAP เขายังห้ามใช้เลย  ...ดุโพด  

 

 

หากท่านกระต่ายอายุมากแล้ว อ่านอักษรไม่ค่อยเห็น เอาสักเท่าขนาดท่านปู่ฤาษีก็ได้ครับ

แต่ 48 มันทรมานลูกตาไป

 

 

ขอบพระคุณมากๆครับ


gladiator 1.jpg

 

 

 

 

 

 


#28 pinkpanda

pinkpanda

    คุ้กกี้เกลียดควายแดงค่ะ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,600 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 17:12

 

 

เด๋วจะมี ไอ้คนพม่า (กากลี)ในบอร์ด คนหนึ่ง มาเถียงแทน ไหมหว่า

 

ห้าาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาา

ไอ้นี่มันเป็นได้ทุกอย่างจริงๆ

 

ตอนเลือกตั้ง กทม.มันเป็นคน กทม.

 

พอต้านแม่วงก์ มันย้ายทะเบียนบ้านไปแม่วงก์เฉยเลย

 

เอาหน้ามันมาให้ดูหน่อยได้ไหมค่ะ 555 

 

 

 

 

เหมือนตัวที่ลากไก่ลงไปกินในน้ำ อ้อ...คงอุบาทว์กว่านั้นอีก ตามแต่จะจิ้นฮับ



#29 Et tu Brute?

Et tu Brute?

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,529 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 17:15

เอ้าพวกเรา นปช. ช่วยกันต่อต้าน ออง ซาน ปกป้อง ตาน ฉ่วย เร็วๆๆ เพื่อติ้ปไตยๆๆๆ


It's us against the world


#30 ช่อมัลลิกา

ช่อมัลลิกา

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,773 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 17:24

ระบุใครก็ไม่ควรลงชิงชัยในการเลือกตั้งที่ฝ่ายหนึ่งได้เปรียบอย่างไม่ยุติธรรม
 

ดิฉันชอบคำพูดของอองซานซูจี ประโยคนี้จังค่ะ

ใช่เลย มันกำลังจะเกิดขึ้นในบ้านเมืองเรา

ที่ รบ รักษาการณ์ชิงความได้เปรียบอย่างไม่ยุติธรรม พยายามดันให้มีการเลือกตั้งวันที่ 2 กพ ให้ได้

ซึ่งเราก็รู้ว่าความได้เปรียบที่ไม่ยุติธรรมคืออะไร  แล้วสัญญาลมๆแล้งว่าจะปฎิรูป ซึ่งดิฉันไม่เชื่อลมปากเลย



#31 สิงห์สนามซ้อม

สิงห์สนามซ้อม

    คนดีไม่กลัวการตรวจสอบ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,757 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 17:28

ผมขอประนามพม่านะครับ เนื่องจาก 2-3 วันนี้ยังมีชาวพม่า มาบอกสนับสนุนการเลือกตั้งในไทย อยู่เลย :lol:


" ประกาศบอยคอต ช่อง 3 ไม่ว่าจะข่าว ละคร หรือการ์ตูนลูก  กรูไม่ดู !!! "


#32 IFai

IFai

    รักในหลวง

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,782 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 19:49

เอ้าพวกเรา นปช. ช่วยกันต่อต้าน ออง ซาน ปกป้อง ตาน ฉ่วย เร็วๆๆ เพื่อติ้ปไตยๆๆๆ

     คิวยาวจัง

     ต้องไปช่วยพ่อฮุน ...ณ.แคมโปเดีย ก่อน

     เดี๋ยวไม่มีที่ซุกหัวนอน ลี้ภัย


Edited by IFai, 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 19:50.

ประโยชน์สูงสุดของประชาชน คือกฏหมายสูงสุดของประเทศ ...วิชา มหาคุณ


#33 shooting

shooting

    น้องใหม่

  • Members
  • Pip
  • 2 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 20:08

อองซานซูจี ต่อสู้กับรัฐบาลทหาร

 

สุเทพต่อสู้กับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง



#34 อิสระเสรีชน

อิสระเสรีชน

    ทักษิณ เมื่อไหร่ตาย 5555

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,244 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 20:12

อองซานซูจี ต่อสู้กับรัฐบาลทหาร

 

สุเทพต่อสู้กับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง

132249-51-2240.gif


"ไม่มีพระราชาองค์ใด ยิ่งใหญ่เทียบเท่าเสมอเหมือน พระราชาของพวกเราปวงชนชาวไทย"

 

 Long Live My King

 

....................................................


#35 RiDKuN_user

RiDKuN_user

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 13,167 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 20:40

อองซานซูจี ต่อสู้กับรัฐบาลทหาร

 

สุเทพต่อสู้กับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง

 

http://th.wikipedia....ศพม่า_พ.ศ._2553

อ่านประดับความรู้ครับ  -_-


" ชีวิตผมไม่เคยกลัวอะไรทั้งนั้น ผมกลัวอย่างเดียว...กลัวจะถูกมองว่า 'ขายชาติ' " - The Last Tycoon

~ ทักษิณตาย เสรีไทยไชโย ~

#36 HiddenMan

HiddenMan

    Long Live The King

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,023 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 20:46

 

อองซานซูจี ต่อสู้กับรัฐบาลทหาร

 

สุเทพต่อสู้กับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง

 

http://th.wikipedia....ศพม่า_พ.ศ._2553

อ่านประดับความรู้ครับ  -_-

 

 

-_- ขี้ข้าคงชอบชื่อพรรคนี้ "พรรคชินแห่งชาติ (CNP)"


“Live as if you were to die tomorrow. Learn as if you were to live forever.”  - Mahatma Gandhi

 

สนใจบ้านพักคนชราเสรีไทย (FB Secret Group) ติดต่อ (PM) เว็บบอร์ด

https://www.facebook...denman.serithai


#37 อู๋ ฮานามิ

อู๋ ฮานามิ

    สมาชิกหน้าเก่า

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,018 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 20:54

อองซานซูจี ต่อสู้กับรัฐบาลทหาร

 

สุเทพต่อสู้กับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง

 

ชนะเลือกตั้งก็เหมือนสอบใบขับขี่ได้

แต่ถ้าขับรถฝ่าไฟแดง คุณก็โดนจับนะครับ

 

 

จะเข้าใจมั้ยเนี่ย ?  ^_^

คิดว่าโพสต์ให้คนที่ไม่แดงอ่านละกัน 


Edited by อู๋ ฮานามิ, 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 20:55.

  • GBI likes this

ถึงผมจะเป็นคนหัวขบถ แต่ไม่คิดทรยศบุญคุณแผ่นดินเกิด

 

เสียงส่วนใหญ่ของประชาชน ไม่ใช่ใบอนุญาตทำร้ายประเทศชาติ


#38 aumddd

aumddd

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 736 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 21:00

 

อองซานซูจี ต่อสู้กับรัฐบาลทหาร

 

สุเทพต่อสู้กับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง

132249-51-2240.gif

 

ตอ อะไรหว่า


งด "โควเต้" พวกกระทู้รับจ้างโพส --> [สมาชิกช่วยๆ กันนะครับ]

#39 Et tu Brute?

Et tu Brute?

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,529 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 21:59

 

อองซานซูจี ต่อสู้กับรัฐบาลทหาร

 

สุเทพต่อสู้กับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง

 

http://th.wikipedia....ศพม่า_พ.ศ._2553

อ่านประดับความรู้ครับ  -_-

 

 

ใช่ครับ พรรคของท่านยิ่งลัก พรรคของท่านฮุนเซน และพรรคของท่านตาน ฉ่วย ต่างก็มาจากการเลือกตั้ง

 

เรา นปช. ต้องปกป้องติ้ปไตย จากพวกเผด็จการแช่แข็งประเทศ พวกกลัวการเลือกตั้งอย่างนางออง ซาน 


It's us against the world


#40 THE THIRD WAY

THE THIRD WAY

    มาหาความจริง

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,417 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 22:19

นางซูจี กับ กปปส.

ทำเหมือนกันอย่างหนึ่งคือ

 

บอกล่วงหน้าก่อน

ซูจีบอก ถ้าไม่แก้กม.สมัยหน้า ไม่ลงสมัครและต่อต้านด้วย

กปปส.บอก ต้องแก้กม.ก่อนเลือกตั้ง

 

คนชอบความเป็นธรรมและยุติธรรม

ย่อมคิดอะไรคล้ายๆกัน


อยู่เฉยๆ แล้วบอกว่าเป็นกลางทีคนอื่นทำอีกอย่าง บอกว่าเอียง

#41 JohnLocke

JohnLocke

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 103 posts

ตอบ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 00:44

มาเลคงปลุกยากครับ กฏหมายเขาคอนข้างโหด เจอยาบ้า50เม็ดประหาร 

แต่ยอมรับว่าที่มาเลมีความเหลื่อมลํำทางสิทธิ เชื้อชาติศาสนา

และหากระเบิดขึ้นมาจะรุนแรงกว่าไทยกลายเป็นสงครามชาติพันธ์เลยทีเดียว 


สัญญาประชาคม ผู้ปกครองควรตระหนักถึง สิทธิบางประการที่ผู้อยู่ใต้ปกครอง (ประชาคม) ได้ยอมสละไป

มิใช่นำอำนาจนั้นไปแสวงหาผลประโยชน์เพื่อตนเองและพรรคพวกของตน ละเมิดกฏระเบียบของสังคม


#42 พ่อไอ้ร้อยล็อคอิน

พ่อไอ้ร้อยล็อคอิน

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 6,450 posts

ตอบ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 10:09

 

อองซานซูจี ต่อสู้กับรัฐบาลทหาร

 

สุเทพต่อสู้กับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง

 

http://th.wikipedia....ศพม่า_พ.ศ._2553

อ่านประดับความรู้ครับ  -_-

 

 

เกิน 3 บรรทัดครับ  :wacko:


อยากรู้ว่าประชาธิปไตยไทยเป็นแบบไหน ให้ดูการใช้รถใช้ถนนรู้จักกันแต่สิทธิ แต่ไม่เคยรู้จักหน้าที่ ในการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่วางไว้

#43 Lincoln16

Lincoln16

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 428 posts

ตอบ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 13:24

 

ใครที่เป็นสาวกอองซาน กรุณาฟัง

 

 

ขออนุญาตท่านกระต่ายนิดเดียวครับ  เผอิญเห็นทุกกระทู้ท่านจะตอบโดยใช้ฟอนท์ 48 ทุกโพสต์

 

ปกติคุณม็อดเคยขอร้องเราไว้ว่าอย่าใช้อักษรตัวใหญ่ตลอดเวลา (ผมเดาว่าเหตุผลคือมันปวดตา)

ซึ่งเว็บสากลทั่วโลกก็ใช้กฎนี้หมดครับ เหตุผลคือหน้าเพจมันจะลายตา อ่านยาก

และทำให้มีปัญหาเวลา quote เรพมาลง  มันจะติดฟอนท์เดิมมาด้วย ทำให้เสียพื้นที่หน้าของเพจครับ

ขนาดอักษร CAP เขายังห้ามใช้เลย  ...ดุโพด  

 

 

หากท่านกระต่ายอายุมากแล้ว อ่านอักษรไม่ค่อยเห็น เอาสักเท่าขนาดท่านปู่ฤาษีก็ได้ครับ

แต่ 48 มันทรมานลูกตาไป

 

 

ขอบพระคุณมากๆครับ

 

 

อันนี้ขออนุญาตเห็นด้วยเช่นกัน ไม่ได้มีเจตนาอะไร เพียงแต่ อักษรที่ใหญ่มากเกินไปมันละลานตา อ่านยาก


People shouldn't be afraid of their government.

Governments should be afraid of their people

 


#44 แดงประจำเดือน

แดงประจำเดือน

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,021 posts

ตอบ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 13:38

 

อองซานกลัวการเลือกตั้ง เป็นศัตรูกับประชาธิปไตย

 

 

MYANMAR opposition leader Aung San Suu Kyi has suggested for the first time that a boycott of the 2015 election may be on the cards unless her demands to amend an "undemocratic" Constitution are heeded.

The 2008 Constitution, which had been drafted by the military regime in power then, essentially bars her from running for president because she married a foreigner. As 25 per cent of the seats in Parliament are reserved for the military, its support is needed for any constitutional changes.

"One should not take part in a competition which was arranged to give one side an advantage," Ms Suu Kyi told a crowd of about 30,000 near Yangon on Sunday.

"There will be no fair elections with the current Constitution... If we join, we will have no dignity in the people's eyes," she added.

 

http://www.stasiarep...lection-2013121

 

 

"อองซาน ซูจี" ส่งสัญญาณบอยคอตเลือกตั้งพม่าปี 2558 หากไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับทหารที่ห้ามนางเป็นประธานาธิบดีเหตุเพราะมีสามี-ลูกเป็นคนต่างชาติ ระบุใครก็ไม่ควรลงชิงชัยในการเลือกตั้งที่ฝ่ายหนึ่งได้เปรียบอย่างไม่ยุติธรรม
    นางซูจีประกาศท่าทีดังกล่าวระหว่างการเดินสายรณรงค์เรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เขตพะโคเมื่อวันอาทิตย์ โดยถ้อยแถลงของนางที่กล่าวต่อหน้าผู้สนับสนุนหลายพันคน ณ ที่ทำการพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) ในเมืองทารยารวดี เมื่อวันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคมที่ผ่านมา ถูกตีพิมพ์เผยแพร่ในสื่อท้องถิ่นของพม่าและทางเฟซบุ๊กของพรรค ซึ่งสื่อต่างประเทศหลายสำนักรวมถึงวอลสตรีทเจอร์นัลนำมารายงานเมื่อวันพุธที่ 18 ธันวาคม
    "ใครก็ไม่ควรเข้าร่วมในการแข่งขันที่จัดขึ้นโดยให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้เปรียบอย่างไม่ยุติธรรม" คำกล่าวของผู้ชนะรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพจากการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยจนถูกรัฐบาลทหารกักขังนานรวม 15 ปี จากช่วง 21 ปีก่อนที่นางจะได้รับอิสรภาพในปี 2553 นางซูจีระบุด้วยว่า นักการเมือง "ที่มีเกียรติทางศีลธรรม" ก็ไม่ควรมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งหน้าที่จะมีขึ้นในปี 2558
 

อ่านต่อ ... http://www.thaipost....ws/191213/83604

 

 

 

ใครๆก็รู้ค่ะ ว่าพม่ามันเป็นศัตรูกับไทยมายาวนานใครๆก็รู้ อีกทั้งยังเป็นเผด็จการมายาวนานทำให้ความคิดอ่านของผู้นำฝ่ายค้านวิปริตไปพอๆกับของไทย ขเมร


Edited by แดงประจำเดือน, 23 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 13:41.


#45 แดงประจำเดือน

แดงประจำเดือน

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,021 posts

ตอบ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 13:41

นางซูจี กับ กปปส.

ทำเหมือนกันอย่างหนึ่งคือ

 

บอกล่วงหน้าก่อน

ซูจีบอก ถ้าไม่แก้กม.สมัยหน้า ไม่ลงสมัครและต่อต้านด้วย

กปปส.บอก ต้องแก้กม.ก่อนเลือกตั้ง

 

คนชอบความเป็นธรรมและยุติธรรม

ย่อมคิดอะไรคล้ายๆกัน

 

แบบนี้ไงคะ ประเทศชาติถึงไม่เจริญสักที






ผู้ใช้ 1 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 1 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน