Jump to content


Photo
- - - - -

อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกาและกรรมการ ป.ป.ช. ไม่เห็นด้วยกับ การวินิจฉัย ของศาลรธน เรื่องที่มา สว.


  • Please log in to reply
20 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 RakBanHao

RakBanHao

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 124 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 19:27

โดย สมลักษณ์ จัดกระบวนพล อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกาและกรรมการ ป.ป.ช.
อาจารย์พิเศษผู้บรรยายวิชาระบบศาล และการพิจารณาคดี (พระธรรมนูญศาลยุติธรรม) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
 (อ่านฉบับเต็ม >> http://www.matichon....2&subcatid=0207
 
มีผู้แนะนำให้นายกรัฐมนตรีขอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญคืนมาก่อน แต่ผู้เขียนเห็นว่าจะให้นายกรัฐมนตรีขอคืนกลับมาด้วยเหตุผลใด เพราะศาลรัฐธรรมนูญก็มิได้มีคำวินิจฉัยให้เลิกการกระทำ เพราะสั่งไม่ได้เนื่องจากเกินเวลาแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญยังไม่อาจสั่งการ แล้วจะให้นายกรัฐมนตรีบังอาจขอร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวคืนมาทั้งๆ ที่ไม่มีบทบัญญัติให้นายกรัฐมนตรีทำเช่นนั้นได้หรือ
 
ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยโดยใช้มาตรา 68 ได้หรือไม่
 
1.ศาลรัฐธรรมนูญไม่อาจนำรัฐธรรมนูญมาตรา 68 มาใช้กับบุคคลหรือพรรคการเมืองในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นการกระทำในรัฐสภา ตามมาตรา 291 ซึ่งอยู่ในหมวด 15 ส่วนมาตรา 68 อยู่ในหมวดที่ 3 ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย ซึ่งไม่เกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยรัฐสภา
 
2.กระบวนการยื่นคำร้องไม่ชอบ เพราะการยื่นคำร้องในกรณีนี้ต้องเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและเป็นผู้ยื่นคำร้อง (ดูบทความของผู้เขียนเรื่อง ศาลรัฐธรรมนูญกับรัฐธรรมนูญมาตรา 68 จะเข้าใจแจ่มแจ้ง)
 
3.คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญน่าจะผิดหลักการเขียนคำพิพากษา เพราะศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการกระทำของผู้ถูกร้องผิดตามมาตรา 68 วรรค 1 ซึ่งต้องมีคำสั่งให้เลิกการกระทำดังกล่าว ที่ไม่สั่งหรือไม่สามารถสั่ง น่าจะเป็นเพราะรัฐสภาได้พิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระที่ 3 และลงมติไปเรียบร้อย จนกระทั่งนายกรัฐมนตรีได้นำร่างดังกล่าวทูลเกล้าทูลกระหม่อมเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว
 
4.เมื่อศาลรัฐธรรมนูญไม่สามารถสั่งให้เลิกการกระทำ จึงไม่อาจสั่งให้ยุบพรรคการเมืองและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งหัวหน้าพรรคและกรรมการของพรรคการเมืองนั้นได้ ที่ว่าคำวินิจฉัยผิดหลักการเรื่องเขียนคำพิพากษาก็เพราะคำพิพากษาที่วินิจฉัยว่า อาศัยเหตุดังที่ได้วินิจฉัยมาแล้วข้างต้น จึงวินิจฉัยโดยมติเสียงข้างมาก 6 ต่อ 3 ว่า การดำเนินการพิจารณาและลงมติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของผู้ถูกร้องทั้งหมดในคดีนี้ เป็นการกระทำที่ไม่ชอบโดยกฎหมายรัฐธธรมนูญ... อันเป็นการทำให้ผู้ที่ถูกร้องได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศด้วยวิธีการซึ่งไม่ได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรค 1
 
หมายความว่าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยโดยมีมติเสียงข้างมาก 6 ต่อ 3 ว่าผู้ถูกร้องกระทำความผิดตามมาตรา 68 วรรค 1 ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญจะต้องให้ผู้ถูกร้องเลิกการกระทำดังกล่าว แต่กลับไม่สั่งโดยไม่ให้เหตุผลว่าเมื่อวินิจฉัยว่าเมื่อผู้ถูกร้องกระทำผิด แล้วเหตุใดจึงไม่สั่งให้เลิกการกระทำนั้น แต่กลับไปวินิจฉัยว่า ส่วนที่ผู้ร้องขอยุบพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้อง และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารของพรรคการเมืองเหล่านั้น เห็นว่ายังไม่เข้าเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 68 วรรค 3 และวรรค 4 จึงยกคำร้องในส่วนนี้ อ่านแล้วคลุมเครือจนผู้ถูกร้องก็ไม่ทราบว่าจะปฏิบัติอย่างไร เพราะถ้าพิจารณามาตรา 68 แล้วเงื่อนไขยุบพรรคหรือไม่ ตามวรรค 3 และจะเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งตามวรรค 4 หรือไม่ มิใช่ตามเงื่อนไขในวรรค 3 และวรรค 4 แต่หากเป็นเงื่อนไขตามวรรค 2 คือศาลต้องสั่งให้เลิกการกระทำดังกล่าว เพราะผู้ถูกร้องผิดตามมาตรา 68 วรรค 1 เสียก่อน จึงจะสั่งตามมาตรา 68 วรรค 3 และวรรค 4 ซึ่งศาลจะสั่งหรือไม่ก็ได้ แต่ถ้าวินิจฉัยว่าผู้ถูกร้องผิดตามวรรค 1 ศาลต้องสั่งให้เลิกการกระทำตามวรรค 1 จะไม่สั่งไม่ได้ เพราะวรรค 2 บัญญัติว่า ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าว
 
ถ้าจะถามว่าถ้า ส.ส. หรือ ส.ว. กระทำความผิดตามมาตรา 68 วรรค 1 ไม่อยู่ในอำนาจศาลรัฐธรรมนูญแล้ว จะให้องค์กรใดมีอำนาจดำเนินการ ก็จะตอบได้ว่า ถ้านักการเมืองเหล่านั้นมิได้กระทำการตามมาตรา 68 วรรค 1 ในสภา แต่ไปประชุมกันลับๆ หรือมี ส.ส. ส.ว. เสนอความเห็นให้มีการกระทำในวรรค 1 จึงอยู่ในอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 68 แต่ถ้ามีการทำในสภาก็มีความผิดตามรัฐธรรมนูญมาตรา 270 คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีอำนาจไต่สวนตามมาตรา 272 ไต่สวนแล้วก็ส่งให้วุฒิสภามีมติถอดถอน ส่วนความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา คณะกรรมการ ป.ป.ช.ดำเนินการไต่สวนแล้วถ้ามีมติว่ามีมูลความผิดจะส่งไปที่อัยการสูงสุดเพื่อดำเนินการฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิจารณาพิพากษา ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต มาตรา 19 (2)
 
ส่วนที่มีการกล่าวอ้างว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 216 (5) นั้น คำวินิจฉัยนั้นจะต้องเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้น เพราะการจะพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นอำนาจของศาลก็จริงอยู่ แต่ศาลก็ต้องดำเนินการไปโดยยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมาย และในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ตามมาตรา 197 วรรคหนึ่ง และในวรรคสอง บัญญัติว่า ผู้พิพากษาและตุลาการมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้เป็นไปโดยถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย 
 
ด้วยความเคารพต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ผู้เขียนได้พิจารณาบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ประกอบเจตนารมณ์ของ ส.ส.ร. ผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้แล้ว มีความเห็นโดยสุจริตใจว่า
 
1.ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจวินิจฉัยร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องแก้ไขที่มาของสมาชิกวุฒิสภา
 
2.กระบวนการที่ยื่นตามมาตรา 68 ไม่ถูกต้องเพราะไม่ผ่านการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยอัยการสูงสุดก่อนตามมาตรา 68 วรรค 2
 
3.เกินกำหนดเวลาที่ศาลจะวินิจฉัย เพราะนายกรัฐมนตรีได้นำร่างดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว
 
4.เป็นคำวินิจฉัยที่คลุมเครือ คือวินิจฉัยว่าผู้ร้องกระทำผิดตามมาตรา 68 วรรค 1 แต่ไม่สั่งให้ผู้เกี่ยวข้องกับการแก้ไขเพิ่มเติมกระทำการแก้ไขอย่างไร เป็นเหตุให้สถาบันดังกล่าว เช่น รัฐสภา, นายกรัฐมนตรี ก็ไม่ทราบจะปฏิบัติต่อไปอย่างไร
 
5.ไม่มีผลบังคับตามมาตรา 216 วรรค 5
 
6.มีผลกระทบต่อสังคมอย่างกว้างขวาง เช่น มีผู้นำคำวินิจฉัยนี้ใช้อ้างเพื่อปลุกเร้าอารมณ์ของมวลชนว่ารัฐบาลหมดความชอบธรรมเพราะไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญฉบับนี้
 
7.จากผลของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ จะทำให้อำนาจตุลาการเข้าไปก้าวล่วงอำนาจนิติบัญญัติ เพราะถ้าศาลมีอำนาจเข้าไปวินิจฉัยเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ทั้งๆ ที่ผ่านวาระ 3 ไปแล้ว บุคคลที่ไม่ต้องการให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ว่าฉบับใดๆ ก็จะยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบทุกระยะไป ไม่ว่าในวาระ 1 วาระ 2 วาระ 3 ผลแห่งการนี้จึงดูเสมือนว่าศาลรัฐธรรมนูญคุมอำนาจในการร่างหรือการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นอำนาจของรัฐสภาไว้อย่างเบ็ดเสร็จ"
 
คุณสมลักษณ์ จัดกระบวนพล เป็นอดีตกรรมการ ป.ป.ช.ชุดที่รัฐประหารตั้งนี่ละครับ ไม่ใช่ "แดง" ที่ไหน หลายเรื่องแกก็มีความเห็นแบบอำมาตย์ (เช่นเรื่องคดีทักษิณ แกยืนยันว่าถึงไม่ทุจริตก็ต้องติดคุก) แต่บางเรื่องแกก็มีหลัก เช่นเรื่อง ม.68 แกเขียนอย่างนี้มาตั้งแต่ปีที่แล้ว
 
 
 
ก่อนหน้านี้ แกก็เคยสวนหมัดศาลปกครองมาแล้ว โดยชี้ว่า ปปช.ต้องมีอำนาจชี้มูลความผิด อักขราทร จุฬารัตน อดีตประธานศาลปกครองสูงสุด ที่ถูกร้องว่าปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ใช้อำนาจสั่งเปลี่ยนองค์คณะตุลาการ คดีคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวแถลงการณ์ร่วมปราสาทพระวิหาร
 
ครั้งนั้นศาลปกครองไม่ยอมให้ความร่วมมือ อ้างว่าศาลมีอิสระ คนระดับประธานศาลเป็นไปไม่ได้ที่จะทำผิดกฎหมาย 
matichon.co.th
 

Edited by RakBanHao, 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 20:06.


#2 อาวุโสโอเค

อาวุโสโอเค

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,790 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 19:31

ก็แค่ตีความกฏหมายตามตัวอักษรแล้วจินเอาเอง  -_-


การเมืองไม่ใช่เพื่อกลุ่มใด แต่เพื่อทุกคนในประเทศ

#3 ben10

ben10

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 401 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 19:33

ไม่เห็นด้วยก็ไม่ได้ว่าอะไรครับ เพราะ ตุลาการเสียงข้างน้อยก็ไม่ได้เห็นด้วย 

แต่ถ้าไม่ได้โง่จนเกินไปนัก ผมว่า การแก้ไขที่มา สว.นี่ขัดมาตรา 68 ชัดเจนครับ การอ้างว่าใช้เสียงสภาแล้วถือว่าถูกต้องนั้นคงไม่ใช่ครับ เพราะ เห็นได้ชัดว่า การแก้ไขที่มา สว. นั้น ทักษิณ และพลพรรคเพื่อไทยได้กล่าวไว้ในหลายๆที่คือ เอามาจัดการองค์กรณ์อิสระ ดังนั้นผมว่าเข้าข่ายชัดเจนเพียงแต่ว่า หลักฐานเรื่องนั้นมันไม่ชัดเจน แต่ผู้มีปัญญาและไม่ได้แกล้งโง่ จะรู้ว่า พรรเพื่อไทยกำลังจะทำอะไรครับ



#4 Solid Snake

Solid Snake

    แดงกำมะลอ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,892 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 19:35

ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องแก้ไขที่มาของสมาชิกวุฒิสภาใครเป็นคนยื่นเข้าสภาครับ ตอบได้ไหม



#5 RakBanHao

RakBanHao

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 124 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 19:36

คำพิพากษาศาลรธน มีผลผูกพันธ์ ทุกองค์กร จริงๆ หรือ !!?
 
เลขานุการศาลอาญา" แจงกรณียกคำร้องเพิกถอนหมายจับ "สุเทพ" ชี้ คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่ตรงกับข้อเท็จจริงในคดี การอ้างเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ แต่ฝ่าฝืนกฎหมายอาญาไม่ได้...
 
วันที่ 19 ธ.ค. 56 นางสาวรุ่งระวี โสขุมา เลขานุการศาลอาญา ออกหนังสือชี้แจงกรณียกคำร้องเพิกถอนหมายจับ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำกลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ในข้อหาก่อกบฏ ลงวันที่ 16 ธ.ค.ที่ผ่านมา ว่า คำร้องของผู้ต้องหาที่ได้เพิกถอนหมายจับ ได้อ้างว่าเป็นการชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธ ตามสิทธิในรัฐธรรมนูญ จึงไม่เป็นการฝ่าฟืนรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 วรรค 1 ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
 
ขณะเดียวกัน บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 216 วรรค 5 ได้บัญญัติไว้ว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรเอกชนอื่นของรัฐ ก็ตาม แต่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ จะต้องเป็นข้อเท็จจริงเช่นเดียวกัน
 
ทั้งนี้ ข้อเท็จจริงตามที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ฉบับที่ 56/2556 ว่าการชุมนุมไม่ได้เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ประกอบกับคำวินิจฉัย 66/2556 ระบุว่าการบุกรุกยึดสถานที่ราชการไม่เกิดขึ้นแล้ว และสถานการณ์ได้พัฒนาไปสู่การยุบสภาผู้แทนราษฎรและเข้าสู่การเลือกตั้ง จึงไม่มีมูลเป็นการฝ่าฝืน มาตรา 68 วรรค 1 นั้น แตกต่างจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการไต่สวนของพนักงานสอบสวน เพราะนายสุเทพกับพวกได้ร่วมกันขู่เข็ญ ว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายให้ฝ่ายบริหารไม่อาจใช้อำนาจในการบริหารประเทศไทย บุกรุกเข้ายึดสถานที่ราชการ คือกระทรวงการคลังและศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ทั้งขู่เข็ญ ตัดน้ำ ตัดไฟฟ้า เป็นเหตุให้ข้าราชการไม่กล้าเข้าไปทำงาน หรือเข้าที่ทำงานไม่ได้ อันเป็นการยุยงให้ประชาชนละเมิดกฎหมาย เป็นการมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง
 
"ดังนั้น คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่ตรงกับข้อเท็จจริงในคดีนี้ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันศาลอาญา ให้ต้องฟังข้อเท็จจริงเช่นเดียวกับศาลรัฐธรรมนูญ"
 
ส่วนการที่ผู้ต้องหาอ้างเป็นการชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ และเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 63 ศาลอาญาเห็นว่า แม้รัฐธรรมนูญบัญญัติ แต่ไม่ได้หมายความว่า ประชาชนจะสามารถใช้เสรีภาพจนปราศจากขอบเขต หรือไปละเมิดสิทธิของประชาชนผู้อื่นด้วย โดยเฉพาะต้องไม่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายบ้านเมือง เพราะเป็นกฎหมายที่ตราออกมาบังคับประชาชนทุกคน
 
"การอ้างเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ แต่มีการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย โดยเฉพาะประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่มีอัตราโทษสูง จึงไม่อาจถือได้ว่าการกระทำดังกล่าวของผู้ต้องหา เป็นการชุมนุมที่สงบตามที่กล่าวอ้าง" เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4946/2555
 
ขณะที่คำกล่าวอ้าง เกี่ยวกับพนักงานสอบสวนขอหมายจับมิชอบ โดยไม่มีการรับฟังพยาน ผู้ต้องหา และออกหมายเรียก ศาลเห็นว่าการออกหมายจับ เป็นอำนาจศาลโดยตรง เมื่อศาลเห็นว่ามีพยานหลักฐานตามสมควร ว่าผู้ต้องหาน่าจะทำผิดกฎหมายอาญา ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกสูงเกิน 3 ปี ศาลย่อมใช้ดุลพินิจออกหมายจับได้ทันที ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 66 (1) ไม่จำเป็นต้องออกหมายเรียกก่อน เพราะการออกหมายจับเป็นเพียงขั้นตอน เพื่อให้ผู้ต้องหาเข้าสู่กระบวนการ ยุติธรรม ดังนั้น การออกหมายจับผู้ต้องหา จึงเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีเหตุต้องเพิกถอนหมายจับ.
 
ไทยรัฐออนไลน์
โดย ไทยรัฐออนไลน์ 
19 ธันวาคม 2556, 17:30 น. 

Edited by RakBanHao, 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 19:36.


#6 ซุ่มเงียบ

ซุ่มเงียบ

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 798 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 19:36

ไม่เห็นด้วยแต่ก็ต้องเคารพคำวินิจฉัยครับ



#7 55555

55555

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 13,795 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 19:38

ตลกดี...

 

ข้อ 5 บอกไม่่มีข้อห้ามตามมาตรา 216

 

พอข้อ 3.  ไม่มีข้อห้าม ดันบอกเกินเวลา

 

แบบนี้นายกก็ทำผิดกฏหมายรัฐธรรมนูญอะดิ ที่ไปขอพระราชทานคืน

 

:lol: 


Edited by 55555, 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 19:51.


#8 แตงดุ๊ด

แตงดุ๊ด

    แsดอย่างสงบตบเมื่อจำเป็นสะตออย่างเยือกเย็นเพราะน้องเป็นไฮโซ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,649 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 19:45

พวกเราไม่เอาระเบิดไปปาใส่บ้านอดีตผู้พิพากษาแบบเสื้อแดงผู้รักประชาธิปไตยแน่นอนค่ะ

ต่อต้านนังเพศแม่เสื้อแดงมือเปื้อนเลือดแถมเปื้อนน้ำกาม


#9 อาวุโสโอเค

อาวุโสโอเค

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,790 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 19:55

ไปอ่านคำพิพากษาซะใหม่ก่อนเหอะ อย่าตีความประเภทเขาเล่ามาให้มากเลย

 

http://www.manager.c...D=9560000144300

 

เดี๋ยวจะไปกันใหญ่ 


การเมืองไม่ใช่เพื่อกลุ่มใด แต่เพื่อทุกคนในประเทศ

#10 ธีรเดชน้อย

ธีรเดชน้อย

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,659 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 20:00

ประเด็นเรื่อง อดีตผู้พิพากษาไม่เห็นด้วย ก็เป็นเรื่องมุมมอง ความคิดเห็นที่แตกต่างครับ

 

เรื่องศาลอาญา ก็เป็นเรื่องของแต่ละศาล ก็สู้คดีความกันต่อไป  :)


" จุดเริ่มของการรัฐประหาร 22 พ.ค. 2557 หลังจากรัฐบาลเพื่อไทยได้บริหารประเทศล้มเหลวมาตลอด 2 ปีเศษ มีการทุจริตคอรัปชั่นมากมาย มีการนำพรบ.นิรโทษกรรมมาอนุมัติผ่านสภาฯเพื่อช่วยเหลือ น.ช. ทักษิณ ทำให้มวลมหาประชาชนลุกขึ้นประท้วงต่อต้าน แม้จนกระทั่ง ศาลรัฐธรรมนูญและปปช. ได้ตัดสินและชี้มูลความผิดจนต้องพ้นออกจากตำแหน่งแล้วก็ตาม ทำให้ประเทศชาติต้องหยุดนิ่ง สุดท้ายเมื่อ พลเอก ประยุทธ ผบ.ทบ.ได้เรียกทุกฝ่ายเข้ามาคุยเพื่อหาทางออกแล้ว โดยขอให้ ครม.ที่ยังคงเหลือลาออกเพื่อตั้งนายกฯเพื่อการปฎิรูปประเทศ แต่ไร้ซึ่งการตอบสนองและการเสียสละ ทำให้พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา จำเป็นต้องประกาศยึดอำนาจ   "

 

 


#11 JSN

JSN

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,004 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 20:16

เอาใครมาไม่เอา

#12 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 20:24

 

โดย สมลักษณ์ จัดกระบวนพล อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกาและกรรมการ ป.ป.ช.
อาจารย์พิเศษผู้บรรยายวิชาระบบศาล และการพิจารณาคดี (พระธรรมนูญศาลยุติธรรม) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
 
 
 (อ่านฉบับเต็ม >> http://www.matichon....2&subcatid=0207
 
1.ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจวินิจฉัยร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องแก้ไขที่มาของสมาชิกวุฒิสภา <--- การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างที่มาของสว.ทำให้สมดุลย์เปลี่ยนไป จากองค์กรอิสระ เป็น ฝ่ายนิติบัญญัติ ย่อมทำให้เจตจำนงของรัฐธรรมนูญเปลี่ยนไป (ดูรัฐธรรมนูญหน้า 1 - 3) เมื่อมีผู้พิทักษ์ฟ้องร้อง ศาลรัฐธรรมนูญจึงต้องวินิจฉัย
 
2.กระบวนการที่ยื่นตามมาตรา 68 ไม่ถูกต้องเพราะไม่ผ่านการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยอัยการสูงสุดก่อนตามมาตรา 68 วรรค 2 <--- ได้เคยวินิจฉัยไปแล้วเมื่อคราวแก้ไขรัฐธรรมนูญ
 
3.เกินกำหนดเวลาที่ศาลจะวินิจฉัย เพราะนายกรัฐมนตรีได้นำร่างดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว <---  แล้วไปขอคืนกลับมาทำไม
 
4.เป็นคำวินิจฉัยที่คลุมเครือ คือวินิจฉัยว่าผู้ร้องกระทำผิดตามมาตรา 68 วรรค 1 แต่ไม่สั่งให้ผู้เกี่ยวข้องกับการแก้ไขเพิ่มเติมกระทำการแก้ไขอย่างไร เป็นเหตุให้สถาบันดังกล่าว เช่น รัฐสภา, นายกรัฐมนตรี ก็ไม่ทราบจะปฏิบัติต่อไปอย่างไร <--- ต้องไปฟ้องศาลอื่นต่อเอง เนื่องจากไม่ไป ปปช. กกต. โดยตรง เหมือนคดียุบพรรค
 
5.ไม่มีผลบังคับตามมาตรา 216 วรรค 5 <--- นายกฯและพวกถึงต้องโดนคดีกบฎไง เอาผลนี้ไปฟ้องศาลอาญาดูแล้วกัน ว่าศาลท่านจะตัดสินว่าอย่างไร
 
6.มีผลกระทบต่อสังคมอย่างกว้างขวาง เช่น มีผู้นำคำวินิจฉัยนี้ใช้อ้างเพื่อปลุกเร้าอารมณ์ของมวลชนว่ารัฐบาลหมดความชอบธรรมเพราะไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญฉบับนี้ <--- กระทบกับระบอบทักษิณโดยตรง
 
7.จากผลของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ จะทำให้อำนาจตุลาการเข้าไปก้าวล่วงอำนาจนิติบัญญัติ เพราะถ้าศาลมีอำนาจเข้าไปวินิจฉัยเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ทั้งๆ ที่ผ่านวาระ 3 ไปแล้ว บุคคลที่ไม่ต้องการให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ว่าฉบับใดๆ ก็จะยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบทุกระยะไป ไม่ว่าในวาระ 1 วาระ 2 วาระ 3 ผลแห่งการนี้จึงดูเสมือนว่าศาลรัฐธรรมนูญคุมอำนาจในการร่างหรือการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นอำนาจของรัฐสภาไว้อย่างเบ็ดเสร็จ" <--- ศาลท่านได้ทำหน้าที่ของท่านแล้ว ตามที่มีผู้ขอ
 
คุณสมลักษณ์ จัดกระบวนพล เป็นอดีตกรรมการ ป.ป.ช.ชุดที่รัฐประหารตั้งนี่ละครับ ไม่ใช่ "แดง" ที่ไหน หลายเรื่องแกก็มีความเห็นแบบอำมาตย์ (เช่นเรื่องคดีทักษิณ แกยืนยันว่าถึงไม่ทุจริตก็ต้องติดคุก) แต่บางเรื่องแกก็มีหลัก เช่นเรื่อง ม.68 แกเขียนอย่างนี้มาตั้งแต่ปีที่แล้ว <--- คนที่ทำรัฐประหารก็ไม่ใช่เสื้อแดง
 
ก่อนหน้านี้ แกก็เคยสวนหมัดศาลปกครองมาแล้ว โดยชี้ว่า ปปช.ต้องมีอำนาจชี้มูลความผิด อักขราทร จุฬารัตน อดีตประธานศาลปกครองสูงสุด ที่ถูกร้องว่าปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ใช้อำนาจสั่งเปลี่ยนองค์คณะตุลาการ คดีคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวแถลงการณ์ร่วมปราสาทพระวิหาร
 
ครั้งนั้นศาลปกครองไม่ยอมให้ความร่วมมือ อ้างว่าศาลมีอิสระ คนระดับประธานศาลเป็นไปไม่ได้ที่จะทำผิดกฎหมาย 
matichon.co.th
 

 

 

ไม่มีคำวินิจฉัยของตุลาการ แต่ละท่านมาให้ดูบ้างหรือ


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#13 kokkai

kokkai

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 7,237 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 20:35

จขกท.ช่วยพาอาจมไปแนะนำรัฐบาลหน่อยซิ

 

ให้ยื่นเรื่องกลับไปไหม่ และดาหน้ากันออกมาทั้งฝูงไหม่ ว่าไม่ยอมรับคำตัดสินของศาลรธน.

 

จขกท.อย่าลืมพาอาจมคนนี้ ไปยืนข้างๆด้วย เผื่อนักข่าวถาม

 

จะได้อ้างความเห็นของอาจมเป็นหลักฐานว่าทำได้

 

ผมเชียร์จขกท.เต็มที่เลยครับ

 

รัฐบาลนี้ก็โง่จริง ทำไมไม่กล้าทำให้สุดซอยไปเลยนะ ....ป๊อดนี่หว่า



#14 gaiser

gaiser

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 837 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 20:39

ตั้งกระทู้มาแหกหน้าตัวเองอีกแล้ว



#15 Bourne

Bourne

    สายลับ ๆ ล่อ ๆ หัดเกรียน

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,471 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 20:48

ยาว เลอะเทอะ

เอาแค่ เสียบบัตรแทนกัน กับ สอดไส้กฎหมายปลอม

ข้ออื่น ก็ไม่ต้องไปดูแล้ว


ภาระกิจหลักของผมบนบอร์ดเสรีไทย คือ ด่าควายครับ เรื่องคิดต่างผมรับได้ แต่เรื่องคิดชั่วผมรับไม่ไหวครัช

#16 Novice

Novice

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,353 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 20:49

ไม่เห็นด้วย แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่รับอำนาจนี่ครับ ไม่เห็นด้วยใครมันก็ไม่เห็นด้วยได้ แต่ไม่รับอำนาจนี่มีแค่ตัว Here 312 ตัว แค่นั้นเอง



#17 Gohell

Gohell

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,027 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 20:52

ไม่แปลก... เพราะเสียงข้องน้อยของศาล รธน ก็ไม่เห็นด้วย



#18 Novice

Novice

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,353 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 20:59

ถ้ามีนักโทษประหารชีวิต มันบอกว่าเห็นด้วยกับที่ศาลสั่งให้ประหารชีวิตมัน ผมว่าโลกนี้มันคงไม่มีความขัดแย้งแน่นอนล่ะครับ  :)



#19 butadad

butadad

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,119 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 21:16

ยาว เลอะเทอะ
เอาแค่ เสียบบัตรแทนกัน กับ สอดไส้กฎหมายปลอม
ข้ออื่น ก็ไม่ต้องไปดูแล้ว

ดูหน่อยน่า สงสารเหอะไม่รู้จะถอยไงแล้วนะค่ะ

#20 Sand

Sand

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 447 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 21:36

แปลกดี. ความคิดเห็นและข้อโต้แย้งของสมลักษณ์แทบไม่แตกต่างกับข้ออ้างในการปฏิเสธคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญของกลุ่ม สส. สว. และยิ่งเหมือนกับความเห็นของกลุ่มนักวิชาการสายแดงและแอ๊ปแดงชนิดแทบจะเป็นคีย์เวิร์ดเดียวกัน ชนิดไม่รู้ว่าใครลอกใครเลยทีเดียว
ถ้าหากศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจวินิจฉัยร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือร่างกฎหมายใดๆว่าขัดเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญ หรือไม่แล้วใครมีสิทธิ์ ช่วยตอบหน่อย หรือกรณีอย่างนี้ต้องไปถามเอาจากอดีตผู้พิพากษาแล้วจะมีศาลรัฐธรมนูญไา้ทำ...

#21 THE THIRD WAY

THE THIRD WAY

    มาหาความจริง

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,417 posts

ตอบ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 21:47

เป็นอดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา อดีตกก.ปปช.

มิสิทธิ์วิพากษ์ได้ครับ

เพื่อความหลาหหลายทางความคิด

 

แต่ อย่าใส่ไข่


อยู่เฉยๆ แล้วบอกว่าเป็นกลางทีคนอื่นทำอีกอย่าง บอกว่าเอียง




ผู้ใช้ 0 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 0 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน