สวัสดีครับพี่ๆครับ
ประชาธิปไตยที่ผมเข้าใจ คือ "รัฐบาลของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน" (คำพูดของอับราฮัม) อีกท่านนึงที่เคยพูดไว้ (แต่ผมจำชื่อไม่ได้) "ประชาธิปไตยที่ไม่ฟังเสียงข้างน้อย มันคือกฎหมู่"
ผมข้องใจเรื่องที่ว่า
ถ้ารัฐบาลไหนจงใจจะทำอะไรที่ไม่เป็นประโยชน์กับประชาชนส่วนใหญ่ และไม่ฟังเสียงท้วงติงใดๆ มันคือการใช้กฎหมู่ โดยเอาประชาธิปไตยบังหน้า
เช่น พรบ.สุดซอย
- ตอนแรกออกมาเพื่อช่วยเหลือผู้ชุมนุม
- แล้วมายัดไส้ (ผมมองว่าใช้กฎหมู่แล้ว 1 รอบ)
- มีคนท้วงติงแล้ว แต่รัฐบาลไม่ฟัง จะเดินหน้า (ท่าทีของรัฐบาลคือจะดันอย่างเดียว ไม่สนใจเสียงอื่นๆ)
- ผ่านสภาของ สส. (ผมมองว่าใช้กฎหมู่แล้ว 2 รอบ)
- เริ่มประท้วงกันแล้ว แต่รัฐบาลไม่ฟัง จะเดินหน้า (ท่าทีของรัฐบาลคือจะดันอย่างเดียว ไม่สนใจเสียงอื่นๆ)
- สุดท้ายยอมถอย ไม่ใช่ถอยเพราะฟังความเห็นต่างนะครับ แต่มันดันไปไม่ได้แล้วจริงๆ
(ถ้าลำดับเหตุการณ์ผิด รบกวนแนะนำด้วยนะครับ)
อีกฝั่งบอกมาว่า ไม่ว่ากฏหมายอะไรที่ออกมาจากรัฐบาลก็ตาม ไม่ว่ามันจะแย่ขนาดไหน มันก็คือประชาธิปไตยทั้งหมด แต่ว่าถ้ามันไม่เหมาะไม่ควรจริงๆ เช่น พรบ.สุดซอย ก็มี สว. หรือศาลที่ตรวจสอบอีกที
ผมว่ามันไม่น่าจะถูกที่เราฝากความหวังไว้กับ สว. หรือ ศาลอย่างเดียว
เพราะถ้ารัฐบาลตั้งใจจะใช้อำนาจที่ได้มาจากประชาชน ในทางที่ดีจริงๆ เราแทบจะไม่ต้องให้ สว. หรือ ศาลท่านต้องลงมาตรวจสอบเลยไม่ใช่เหรอครับ
แต่ทีต้องมาตรวจสอบดูอีกครั้ง เพราะทุกวันนี้รัฐบาลไม่ใช้ประชาธิปไตยจริงๆ แต่กลับใช้กฎหมู่ เพื่อออก พรบ.สุดซอยให้พวกพ้องตัวเอง
ผมเข้าใจแบบนี้ถูกไหมครับ