Jump to content


Photo
* * * * * 1 votes

ลองมาตีความ Vote No


  • Please log in to reply
19 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 คนกรุงธน

คนกรุงธน

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 6,129 posts

ตอบ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 22:53

...ยกมาเฉพาะสาระสำคัญ...

 

มาตรา ๘๘ ในเขตเลือกตั้งใด ถ้าในวันเลือกตั้งมีผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้งเท่ากับหรือน้อยกว่า

จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะพึงมีในเขตเลือกตั้งนั้น ผู้สมัครจะได้รับเลือกตั้งต่อเมื่อ

ได้รับคะแนนเลือกตั้งไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น

และมากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้ง (Vote No)

 

มาตรา ๘๙ ภายใต้บังคับมาตรา ๘๘ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้ผู้สมัครซึ่งได้คะแนนเลือกตั้งมากที่สุดเป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง

แต่ในเขตเลือกตั้งที่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งได้มากกว่าหนึ่งคน ให้ผู้สมัครซึ่งได้คะแนนเลือกตั้งมากที่สุดเรียงตามลำดับลงมาในเขตเลือกตั้งนั้นเป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง

 

มีข้อถกเถียงกันว่า ในมาตรา 89 บอกว่าคนได้คะแนนมากสุดได้รับเลือกตั้ง

...แต่ถ้าคะแนนโหวตโนสูงกว่า ก็ต้องถือว่า มีคนไม่เอาสส.สูงกว่า เพราะฉะนั้นคะแนนโหวตโนต้องชนะ...

 

กกต.น่าจะฟันธงไว้ก่อนการเลือกตั้งจะเกิดขึ้น เพื่อความกระจ่างของทุกๆฝ่าย

ไม่ต้องมาเถียงกันหลังจากเลือกตั้งแล้ว


"น้อมส่งเสด็จสู่พระนิพพาน"


#2 คนกรุงธน

คนกรุงธน

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 6,129 posts

ตอบ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 23:04

ผมจะยกตัวอย่างเขตบ้านผม บางกอกน้อย คุณองอาจ คร้ามไพบูลย์ กินขาดมาตลอด

แม้ไปเป็นสส.บัญชีรายชื่อ ปชป.ส่งคนอื่นลงก็ได้รับเลือกตั้งตลอด

 

ทีนี้พอเลือกตั้ง 2 กพ.57 คะแนนโหวตโนต้องสูงกว่าพรรคอื่นๆแน่นอน

แล้วจะเอาคะแนนโหวตโนของปชช.ไปทิ้งโดยเปล่าประโยชน์ได้ไง

เพราะเราแสดงให้เห็นว่าเราไม่ต้องการสส.ที่ลงเลือกตั้ง แต่ได้คะแนนน้อยกว่าโหวตโน


"น้อมส่งเสด็จสู่พระนิพพาน"


#3 choidgirl

choidgirl

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 61 posts

ตอบ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 23:12

ผมว่าอย่างน้อยๆคะแนนเสียงเพื่อไทยน่าจะลดลง ประมาณ 1 ล้านเสียง อย่างน้อยนะครับ   ผมหวังแค่ว่าคะแนนจากทำนํ้าท่วมจ่ายเงินช้า  

สัญญาประชาคมเป็นแค่เทคนิคหาเสียง  ของแพง  ล่าสุดจำนำข้าวไม่มีเงินจ่ายชาวบ้านเสื้อแดงบ้านผมก็บ่นออกปากแล้วว่า ขายประกันดีกว่าได้เงินน้อยแต่เาเงินไปหหมุน ขายจำนำไม่มีเงินหมุน  อย่างน้อยคะแนนเสียงลดลง แน่ๆ 1 ล้านเสียง   ปชป ไม่น่าบอยคอตเลยเพราะชาวบ้านภาคอีสานกำลังมาสู่จุดหักเหจากเรื่องเพื่อไทย  เพราะชาวบ้านเวลาตัดสินใจเขายังไม่รู้จักโหวตโนเท่าไหร่ มันต้องเลือกข้าง  เมื่อเขากำลังไม่ไว้ใจเพื่อไทยถ้า ปชป เข้าไปดามแผลนี้ผมว่าอย่างน้อยๆ เพื่อไทยสะเทือนแน่   ปชป อาจไม่ชนะเลยก็จริง แต่เพื่อไทยกับพรรคอื่นก็จะไม่สามารถจัดตั้งรัณบาลได้อีก   ประเทศเราก็จะเข้าสู่สภาวะแช่แข็ง  แต่ว่า กปปส ท่าดีกว่าพอเริ่มออกจากการแช่แข็งที่นี้หล่ะ

 

     อย่าไปคิดว่าอำนาเงินจะสำคัญเสมอไปนะครับคนอีสานไว้ใจทักสินมากเพราะพูดเพราะกับเขา แต่ก็หักหลังเขาตลอด เขาเรามันก็มีขีดจำกัดอยู่นะครับ   แค่ ปชป ได้ สส เพิ่มไม่น้อยกว่า30+ คน แค่นี้เพื่อไทยก็สะเทือนแล้วนะครับ อย่างน้อยพวกผีบ้ามันก็ะได้หุบปากเสียที



#4 Solid Snake

Solid Snake

    แดงกำมะลอ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,892 posts

ตอบ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 23:12

ลองดูการใช้เรื่อง ภายใต้บังคับมาตรา ในกฎหมายอภัยโทษได้ครับ

 

มาตรา ๑๑ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๒ นักโทษเด็ดขาดชั้นเยี่ยมซึ่งถูกศาลพิพากษาให้เพิ่มโทษฐานกระทำความผิดอีกตามมาตรา ๙๒ หรือมาตรา ๙๓ แห่งประมวลกฎหมายอาญาหรือกฎหมายอื่นให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษลดโทษจากกำหนดโทษลง ๑ ใน ๖
มาตรา ๑๒ นักโทษเด็ดขาดดังต่อไปนี้ไม่อยู่ในข่ายได้รับพระราชทานอภัยโทษตามพระราชกฤษฎีกานี้

 

หมายความว่าให้ใช้มาตรา 12 ก่อน ถ้าไม่อยู่ในข่ายมาตรา 12 ถึงค่อยใช้มาตรา 11

 

 

พอมาดูกฎหมายเลือกตั้งให้ใช้มาตรา 88 ก่อน ถ้าไม่อยู่ในข่ายถึงจะใช้มาตรา 89

เงื่อนไขมาตรา 88 คือ มีผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้งเท่ากับหรือน้อยกว่า จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะพึงมีในเขตเลือกตั้งนั้น

ถ้ามีมากกว่าก็ใช้มาตรา 89 ครับ

 

ถ้าเขตนั้นมี สส ได้ 1 คน และมีผู้สมัครคนเดียว ผู้สมัครคนนั้นต้องได้คะแนนเกิน 20% และมากกว่าโหวตโนตามมาตรา 88 แต่ถ้ามีผู้สมัคร 2 คน ก็จะใช้มาตรา 89 ผู้ที่ได้คะแนนมากสุดเป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง

ถ้าเขตนั้นมี สส ได้ 2 คน และมีผู้สมัคร 2 คน ผู้สมัครต้องได้คะแนนเกิน 20% และมากกว่าโหวตโนถึงจะได้เป็นผู้รับเลือกตั้งแม้จะมีคะแนนมากกว่าอีกคนก็ตาม เพราะต้องใช้มาตรา 88 ก่อน 89


Edited by Solid Snake, 30 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 06:33.


#5 อู๋ ฮานามิ

อู๋ ฮานามิ

    สมาชิกหน้าเก่า

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,018 posts

ตอบ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 23:26

โหวตโนก็ยังดีกว่าทำบัตรเสียหรือเปล่า?

เห็นบรรยากาศการเลือกตั้งครั้งอัปยศเมื่อ 7 ปีที่แล้วอยู่รำไร ตอนนั้นโหวตโนกันเยอะมาก

ถึงผมจะเป็นคนหัวขบถ แต่ไม่คิดทรยศบุญคุณแผ่นดินเกิด

 

เสียงส่วนใหญ่ของประชาชน ไม่ใช่ใบอนุญาตทำร้ายประเทศชาติ


#6 Solid Snake

Solid Snake

    แดงกำมะลอ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,892 posts

ตอบ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 23:28

โหวตโนก็ยังดีกว่าทำบัตรเสียหรือเปล่า?

เห็นบรรยากาศการเลือกตั้งครั้งอัปยศเมื่อ 7 ปีที่แล้วอยู่รำไร ตอนนั้นโหวตโนกันเยอะมาก

ดีกว่าเมื่อมีผู้สมัครคนเดียวในเขตนั้น แต่ถ้ามากกว่าจะโหวตโนหรือบัตรเสียมันก็มีค่าเท่ากัน



#7 temp

temp

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,682 posts

ตอบ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 23:46

สงสัยครับ

เมื่อดูมาตรา88 วรรค2,3,4,5 ผมแปลความว่าผลของvotenoมีได้เป็นกรณีๆดังนี้

 

1. ผู้สมัครคนเดียว >ใช้กฎ20%&voteno

   1.1 ผ่าน >ชนะ =จบ

   1.2 ไม่ผ่าน >เลือกตั้งซ้ำ1(วรรคสอง)

         1.2.1 ผ่าน >ชนะ =จบ

         1.2.2 ไม่ผ่าน >เลือกตั้งซ้ำ2(วรรคสาม) >ไม่ใช้กฎ20%&votenoแล้ว(วรรคสี่) >ชนะ=จบ(มีเงื่อนเวลา)

วรรคห้า คือ กรณีไม่มีใครสมัครกันซะยังงั้น ก็ให้จัดเลือกตั้งจัดรับสมัครกันไปเรื่อยๆ ซึ่งคงไม่มีโอกาสได้ใช้มั๊งครับ

ถ้ายังงี้ votenoมีผลได้แค่ถ่วงเวลาจบ เหรอครับ???

 

 

2. กรณีผู้สมัครเกินนั้น(เป็นเรื่องปกติ) >ไปเข้ามาตรา89ได้เลย >คนชนะ=จบเลย

voteno=ไร้ค่า



รึเปล่าครับ?


Edited by temp, 29 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 23:53.

ควายตัวนี้สีขาว


#8 Solid Snake

Solid Snake

    แดงกำมะลอ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,892 posts

ตอบ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 23:57

สงสัยครับ

เมื่อดูมาตรา88 วรรค2,3,4,5 ผมแปลความว่าผลของvotenoมีได้เป็นกรณีๆดังนี้

 

1. ผู้สมัครคนเดียว >ใช้กฎ20%&voteno

   1.1 ผ่าน >ชนะ =จบ

   1.2 ไม่ผ่าน >เลือกตั้งซ้ำ1(วรรคสอง)

         1.2.1 ผ่าน >ชนะ =จบ

         1.2.2 ไม่ผ่าน >เลือกตั้งซ้ำ2(วรรคสาม) >ไม่ใช้กฎ20%&votenoแล้ว(วรรคสี่) >ชนะ=จบ(มีเงื่อนเวลา)

วรรคห้า คือ กรณีไม่มีใครสมัครกันซะยังงั้น ก็ให้จัดเลือกตั้งจัดรับสมัครกันไปเรื่อยๆ ซึ่งคงไม่มีโอกาสได้ใช้มั๊งครับ

ถ้ายังงี้ votenoมีผลได้แค่ถ่วงเวลาจบ เหรอครับ???

 

 

2. กรณีผู้สมัครเกินนั้น(เป็นเรื่องปกติ) >ไปเข้ามาตรา89ได้เลย >คนชนะ=จบเลย

voteno=ไร้ค่า



รึเปล่าครับ?

ใช่ โหวตโนก็แค่ถ่วงเวลากรณีมีผู้สมัครคนเดียว



#9 dragon baby

dragon baby

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 444 posts

ตอบ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 00:01

ผลทางนิตินัยของบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนน (VOTE NO)

 

 

 

เลขานุการศาลฎีกานักการเมือง ชี้ ส.ส.เขต ไม่เพียงได้คะแนนมากสุด ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ20 ของผู้มีสิทธิในเขต และยังต้องมากกว่าบัตรโหวตโน ด้วย

 

ผู้คนในสังคมโดยทั่วไปส่วนใหญ่ยังเข้าใจว่า การเลือกตั้ง ส.ส.ที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องได้รับคะแนนเลือกตั้งไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น จะเกิดขึ้นได้เฉพาะในกรณีที่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งเพียงคนเดียวในเขตเลือกตั้งนั้นเท่านั้น มิฉะนั้น กกต.จะต้องจัดให้มีการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นใหม่ โดยสังคมไทยมีประสบการณ์จากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2เมษายน 2549 ซึ่งหลายเขตเลือกตั้งมีผู้สมัครของพรรคไทยรักไทยเพียงพรรคเดียว เพราะพรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย และพรรคมหาชนได้บอยคอตการเลือกตั้ง (Election boycott) จนนำไปสู่ปรากฏการณ์พรรคใหญ่จ้างพรรคเล็ก และถูกคณะตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรคไทยรักไทย เพราะถือว่าเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2540 มาตรา 66 (1) และเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ หรือขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตามมาตรา 66 (3) (คำวินิจฉัยคณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่ 3-5/2550)       
       แท้จริงแล้ว แม้ในเขตเลือกตั้งใดมีผู้สมัครมากกว่าหนึ่งคน ผู้สมัครที่จะเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น ไม่เพียงแต่จะต้องเป็นผู้ได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุดแล้ว ยังจะต้องได้รับคะแนนเลือกตั้งไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น และมากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้งอีกด้วย ทั้งนี้ เป็นไปตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่ง ส.ว. พ.ศ. 2550 มาตรา 89 ประกอบมาตรา 88 ซึ่งบัญญัติไว้ ดังนี้ มาตรา 89 ภายใต้บังคับมาตรา 88 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ให้ผู้สมัครซึ่งได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุดในเขตเลือกตั้งนั้นเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้ง ในกรณีที่มีผู้ได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุดเท่ากันหลายคน ให้ใช้วิธีการจับสลากซึ่งต้องกระทำต่อหน้าคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งตามวิธีการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
       
       มาตรา 88 ในเขตเลือกตั้งใด ถ้าในวันเลือกตั้งมีผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้งคนเดียว ผู้สมัครจะได้รับเลือกตั้งต่อเมื่อได้รับคะแนนเลือกตั้งไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น และมากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้ง
       
       ในกรณีที่ผู้สมัครได้รับคะแนนเลือกตั้งน้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น หรือไม่มากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนน ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ในเขตเลือกตั้งนั้น โดยให้รับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ และให้นำความในมาตรา 9 มาใช้บังคับ
       
       ในการเลือกตั้งใหม่ตามวรรคสอง ถ้ามีผู้สมัครคนเดียว ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม และถ้าผู้สมัครได้คะแนนเลือกตั้งน้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นอีก หรือได้ไม่มากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้ง ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยให้ดำเนินการตามวรรคสองอีกครั้งหนึ่ง
       
       ในการเลือกตั้งใหม่ตามวรรคสาม ถ้ามีผู้สมัครคนเดียว ให้ผู้สมัครซึ่งได้คะแนนเลือกตั้งเป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง โดยให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศผลการเลือกตั้งให้ผู้ได้รับเลือกตั้งภายในระยะเวลาตามมาตรา 8
       
       ในกรณีที่มีการจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ตามวรรคสาม หากปรากฏว่าไม่มีผู้สมัครให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพิ่มเติม เพื่อให้ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และให้นำความในวรรคสอง และวรรคสาม และความในส่วนที่ 5 ผู้สมัครและการสมัครรับเลือกตั้ง 2.การสมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
       
       จากบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวจะเห็นได้ว่า มาตรา 89 บัญญัติให้อยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 88 ซึ่งเป็นเทคนิคการร่างกฎหมายที่ต้องการให้มาตรา 89 นำหลักการตามมาตรา 88มาใช้บังคับด้วยโดยไม่ระบุซ้ำลงไปในมาตรา 89 อีก จึงหมายความว่า ในเขตเลือกตั้งที่มีผู้สมัครหลายคน ผู้สมัครที่จะถือว่าเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้ง จะต้องผ่านองค์ประกอบของกฎหมายทั้งมาตรามาตรา 88 และมาตรา 89 กล่าวคือ
       
       1.ได้รับคะแนนเลือกตั้งไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น       
       2.ได้รับคะแนนเลือกตั้งมากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้ง และ       
       3.ได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุดในเขตเลือกตั้งนั้น
       
       ทั้งนี้ เนื่องจากหลักการพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย คือ การถือเสียงข้างมากของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และเกณฑ์มาตรฐานเสียงข้างมากขั้นต่ำตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว. พ.ศ. 2550 ก็คือไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น และมากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้ง
       
       
ดังนั้น จำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้ง (VOTE NO) จึงมีผลทางนิตินัยตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว และหากในเขตเลือกตั้งใดมีจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้งมากกว่าคะแนนเลือกตั้งของผู้สมัครซึ่งได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุดในเขตเลือกตั้งนั้น ผู้สมัครผู้นั้นก็ไม่ถือว่าเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้ง ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ในเขตเลือกตั้งนั้น โดยให้รับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ ตามมาตรา 88 วรรคสองถึงวรรคห้า
       
       
การที่มาตรา 61 ของกฎหมายเลือกตั้งดังกล่าวบัญญัติไว้ให้บัตรเลือกตั้งมีช่องทำเครื่องหมายว่าไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้งด้วยนั้น ก็เพื่อเป็นหลักประกันแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่จะสงวนสิทธิ์ไม่เลือกผู้ใด ในกรณีที่เห็นว่าไม่มีพรรคการเมืองหรือผู้สมัครรับเลือกตั้งรายใดมีคุณสมบัติดีเพียงพอที่จะได้รับเลือกให้เป็น ส.ส. ยิ่งถ้าบรรดาพรรคการเมืองและนักการเมืองที่มีอยู่และลงสมัครรับเลือกตั้งในปัจจุบันได้พยายามสื่อสารกับสังคมว่าขอให้เลือกพรรคหรือผู้สมัครที่เลวน้อยที่สุด กรณีการที่มีการรณรงค์ให้ประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้งโดยกาบัตรเลือกตั้งในช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนน (VOTE NO) ด้วยเหตุผลว่าระบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันไม่สามารถสร้างพรรคการเมืองและนักการเมืองที่ดีได้ ด้วยวาทะที่ว่า “อย่าปล่อยสัตว์เข้าสภา” และข้อกล่าวหาว่า “มีแต่พรรคการเมืองเผาบ้านเผาเมืองจาบจ้วง ล้มเจ้า พรรคการเมืองปล่อยคนเผาบ้านเผาเมืองขายชาติหลอกเจ้า และพรรคการเมืองโกงชาติกินเมืองโหนเจ้า” จึงสามารถกระทำได้โดยชอบ และมีผลต่อการเลือกตั้งตามกฎหมายดังกล่าว
       
       หากมีจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้ง (VOTE NO) มากกว่าคะแนนของผู้สมัครซึ่งได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุดจำนวนมากๆ หรือแม้แต่คะแนนของจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้ง (VOTE NO) รวมกับคะแนนของผู้สมัครซึ่งได้รับคะแนนในลำดับรองๆ ลงไป มากกว่าคะแนนของผู้สมัครซึ่งได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุด ก็อาจทำให้การเลือกตั้งครั้งนั้นเป็นโมฆะได้ เพราะผู้สมัครซึ่งได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุดย่อมไม่ใช่ตัวแทนของประชาชนเสียงข้างมากไปในตัว และน่าจะต้องถือว่าขัดต่อหลักการพื้นฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ต้องยอมรับเสียข้างมาก แต่มีหลักประกันสำหรับเสียงข้างน้อย เมื่อเทียบกับการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 ที่ กกต.เพียงแต่จัดการเลือกตั้งโดยหันคูหากลับด้านทำให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การเลือกตั้งที่จัดคูหาให้ผู้เลือกตั้งหันหน้าเข้าคูหาและหันหลังให้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งและประชาชน ไม่เป็นการลงคะแนนโดยลับ (รัฐธรรมนูญฯ มาตรา 93 วรรคสอง) เป็นเหตุให้การเลือกตั้งครั้งนั้นเป็นโมฆะ
       
       (คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 9/2549) แล้ว การเลือกตั้งกรณีนี้อาจจะต้องถือว่านั้นเป็นโมฆะยิ่งกว่าบรรทัดฐานที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิฉัยไว้ดังกล่าวเสียอีก ทั้งหากพรรคการเมืองใดยังฝืนส่งคนไม่ดีที่ประชาชนปฏิเสธลงสมัครรับเลือกตั้งอีก อาจถึงขั้นถือได้ว่า เป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ จนนำไปสู่การถูกยุบพรรคการเมืองนั้นก็เป็นได้ (รัฐธรรมนูญฯ มาตรา 68)
       
       ท้ายที่สุดนี้ ขอยืนยันอีกครั้งหนึ่งว่า บัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้ง (VOTE NO) มีผลทางนิตินัยตามกฎหมายดังที่ได้อธิบายไว้ข้างต้นอย่างแน่นอน
       
                                      อนุรักษ์ สง่าอารีย์กูล
       เลขานุการแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา

 

 

 

http://www.oknation....t.php?id=723014


Edited by dragon baby, 30 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 00:02.


#10 temp

temp

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,682 posts

ตอบ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 00:05

ผมจะยกตัวอย่างเขตบ้านผม บางกอกน้อย คุณองอาจ คร้ามไพบูลย์ กินขาดมาตลอด

แม้ไปเป็นสส.บัญชีรายชื่อ ปชป.ส่งคนอื่นลงก็ได้รับเลือกตั้งตลอด

 

ทีนี้พอเลือกตั้ง 2 กพ.57 คะแนนโหวตโนต้องสูงกว่าพรรคอื่นๆแน่นอน

แล้วจะเอาคะแนนโหวตโนของปชช.ไปทิ้งโดยเปล่าประโยชน์ได้ไง

เพราะเราแสดงให้เห็นว่าเราไม่ต้องการสส.ที่ลงเลือกตั้ง แต่ได้คะแนนน้อยกว่าโหวตโน

 

 

 

รึเปล่าครับ?

ใช่ โหวตโนก็แค่ถ่วงเวลากรณีมีผู้สมัครคนเดียว

 

 

 

งั้นก็แย่ซิครับ

 

จะตีความ"ภายใต้บังคับมาตรา..." ให้แปลว่าม.88 มันintersectกับ ม.89 ก็ไม่ได้ (ดูจากเนื้อหา ผมเข้าใจว่าเป็นแบบ if.....then.....)

 

แล้วไอ้เจ้า89โดดๆเนี่ย ถึงยอดvotenoมาวิน ก็ไม่ใช่บุคคลผู้สมัคร


ควายตัวนี้สีขาว


#11 คนกรุงธน

คนกรุงธน

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 6,129 posts

ตอบ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 00:07

นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ว่าไว้อย่างนี้ครับ...

 

http://manager.co.th...074785

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 3 บัญญัติว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นผ่านทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
       
       นั้นหมายความว่า เมื่อปวงชนชาวไทยเลือกผู้ใดเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดจะเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้ง
       
       พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 มาตรา 82 บัญญัติว่า ให้มีการนับจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทำเครื่องหมายไม่ ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้ง และให้ประกาศจำนวนบัตรดังกล่าวด้วย
       
       นั้นหมายความว่า ในป้ายประกาศรวมคะแนนทุกป้ายจะต้องมีการประกาศจำนวนคะแนนของผู้ที่ไม่ ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้ง คือ โหวตโนไว้ในป้ายนั้นร่วมกับผู้ได้รับคะแนนสูงสุดถึงต่ำสุดไว้ด้วย
       
       และ มาตรา 89 บัญญัติว่า ภายใต้บังคับมาตรา 88 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ให้ผู้ได้คะแนนเลือกตั้งมากที่สุดเป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง...
       
       จะเห็นได้ว่าคะแนนโหวตโน ถือเป็นคะแนนที่มีการนับไว้และหากการเลือกตั้งในเขตใดมีคะแนนโหวตโนสูงกว่า ผู้ได้รับคะแนนเลือกตั้งสูงสุดต้องถือว่าประชาชนใช้อำนาจอธิปไตยโดยการโหวต โน คือ ไม่เอานักการเมืองผู้ใดเลยเป็นคะแนนสูงสุด ต้องด้วยมาตรา 3 ของรัฐธรรมนูญจึงต้องถือว่าในเขตนั้นไม่มีผู้ใดได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร
       
       เรื่องคะแนนโหวตโนนี้ มิได้มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายเลือกตั้งว่า หากมีคะแนนโหวตโนสูงกว่าผู้มีสิทธิได้รับการเลือกตั้งจะต้องทำอย่างไรต่อ จะเลือกตั้งใหม่หรือหากมีการเลือกตั้งใหม่แล้วคะแนนโหวตโนยังสูงกว่าผู้ที่ ได้รับการเลือกตั้ง และหากคะแนนโหวตโนทั้งประเทศสูงกว่าคะแนนของ ส.ส.ประเภทบัญชีรายชื่อ (ปาร์ตี้ลิสต์) รายชื่อปาร์ตี้ลิสต์ของแต่ละพรรคการเมืองซึ่งมีต่ำกว่าโหวตโนนี้ย่อมไม่ใช่ ผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นคะแนนสูงสุด ตามนัยของมาตรา 89 ดังกล่าวข้างต้น


"น้อมส่งเสด็จสู่พระนิพพาน"


#12 temp

temp

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,682 posts

ตอบ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 00:39

ขอบคุณที่ให้ความรู้ครับ

 

ยังงี้อีกหน่อยนักกฎหมายแต่ละฝ่ายก็คงมีปัญหากันเรื่องเนี้ย ถ้าว่ากันตามเจตนารมณ์ว่าคะแนนเสียงถือเป็นตัวแทนของฉันทามติก็น่าจะตีความได้แฮะ  :)  ส่วนอีกค่ายก็จะมองตัวอักษรว่างั้นทำไมไม่เขียนไว้ซะล่ะ :angry:

 

คหสต.ผม ถ้าจะหาเหตุมาค้านฝ่ายเจตนารมณ์อีกซักข้อ ก็คงต้องมองว่าม.89เป็นเกณฑ์ปกติ ม.88เป็นส่วนเสริมเพื่อจัดให้มีคู่แข่ง(สำรอง/เฉพาะกิจ)มาสู้กับผู้สมัครในกรณีที่ตัวแข่งมีน้อยไปหน่อย เพราะถ้ามีผู้เข้าแข่งเยอะเสียงก็แตกกระจายตัวกว่าผู้เข้าแข่งน้อยอยุ่แล้ว ยิ่งคนสมัครเยอะๆๆๆๆก็คงไม่มีใครได้ถึง20% ดังนั้นถ้าให้กฎ20%มาใช้ในม.89ด้วยก็จะทำให้ปฏิบัติจริงได้ยากหรือยื้อเกินไปหน่อย  :mellow:

 

แต่สำหรับvoteno ถ้ามันเข้าวิน แล้วยังคิดจะเชียร์ฝ่ายตัวอักษรว่าต้องเอาผู้สมัครคนสูงสุดซิ ผมว่าออกจะหลับหูหลับตากันเกินไป ก็เขาไม่ได้ชนะจริงนี่หว่า  <_<

 

ปล.ลองไปหาอ่านที่เวบอ.มีชัย เจอด้วยแฮะ
http://www.meechaith...iew&id=045832#q
http://www.meechaith...iew&id=045168#q
จับความได้ว่า "ก็ว่ากันไป :P "


ควายตัวนี้สีขาว


#13 tonythebest

tonythebest

    สมาชิกขั้นสูง 178 เซนติเมตร

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 13,595 posts

ตอบ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 01:31

ขอบคุณสำหรับกระทู้นี้ครับ

ตรงนี้ อยากให้หาข้อสรุปให้ได้ชัดเจนกันเสียทีเรื่องโหวตโน

จะได้รับรองการปฏิบัติต่อไป

 

ผมลองสรุปส่วนนึงดูนะครับ

 

ในหลายเขต เช่น ทางภาคใต้

หากจะรณรงค์ให้โนโหวต (โนโหวตนะครับ ไม่ใช่โหวตโน)

ต้องรณรงค์ให้โนโหวตกันเกิน 80% ของจำนวนทั้งหมดของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทุกคน

เช่น สมมุติว่า มีผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในเขต 10000 คน ต้องโนโหวต 8001 คน

การโนโหวตถึงจะสัมฤทธิ์ผล ถูกมั๊ยครับ

(แท้จริงแล้ว แม้ในเขตเลือกตั้งใดมีผู้สมัครมากกว่าหนึ่งคน

ผู้สมัครที่จะเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น

ไม่เพียงแต่จะต้องเป็นผู้ได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุดแล้ว

ยังจะต้องได้รับคะแนนเลือกตั้งไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบ

ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น)

 

แต่ถ้าเป็นการโหวตโน

สมมุติว่า มีผู้มาลงคะแนน 2001 คนและลงคะแนนให้กับ ผู้สมัคร สส คนเดียว ก็ผ่านเกณฑ์แล้ว

เว้นแต่จะมีการโหวตโน 2002 คนขึ้นไป เพื่อให้คะแนนสูงมากกว่าผู้สมัคร ใช่มั๊ยครับ

 (มาตรา 88 ในเขตเลือกตั้งใด ถ้าในวันเลือกตั้ง

มีผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้งคนเดียว ผู้สมัครจะได้รับ

เลือกตั้งต่อเมื่อได้รับคะแนนเลือกตั้งไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบ

ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น

และมากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้ง)

 

หรือในความคิดเห็นของคุณ dragon baby

สมมุติว่า ผู้สมัคร A ได้คะแนน 2001 คะแนน ผู้สมัคร B ได้ 2002 คะแนน

แต่โหวตโน ได้ 2003 คะแนน ก็หมายความว่า ผู้สมัครทั้ง 2 ยังแพ้โหวตโน

ใช่มั๊ยครับ

(1.ได้รับคะแนนเลือกตั้งไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น)       

(2.ได้รับคะแนนเลือกตั้งมากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้ง และ)   
(3.
ได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุดในเขตเลือกตั้งนั้น)

 

หรือ ผู้สมัคร A ได้ 1998 คะแนน ผู้สมัคร B ได้ 1999 คะแนน

แม้คะแนนรวมของ 2 ผู้สมัครจะเกิน 20% ไป (1998 + 1999)

แต่เค้าไม่นับรวม แต่นับคะแนนของผู้ชนะ ว่าไม่ถึง 20% ทั้งคู่ก็ไม่ได้ใช่มั๊ยครับ

(แท้จริงแล้ว แม้ในเขตเลือกตั้งใดมีผู้สมัครมากกว่าหนึ่งคน 

ผู้สมัครที่จะเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น 

ไม่เพียงแต่จะต้องเป็นผู้ได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุดแล้ว 

ยังจะต้องได้รับคะแนนเลือกตั้งไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบ

ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น)

 

ถ้าเป็นอย่างผมสมมุติทั้งหมด แสดงว่า แค่โหวตโนให้ได้เกินคะแนนของผู้สมัครคนที่ได้คะแนนสูงสุด

โหวตโนก็เป็นผลในชั้นแรกแล้ว ใช่มั๊ยครับ

(มาตรา 88 ในเขตเลือกตั้งใด ถ้าในวันเลือกตั้งมีผู้สมัครแบบแบ่งเขต

เลือกตั้งคนเดียว ผู้สมัครจะได้รับเลือกตั้งต่อเมื่อได้รับคะแนนเลือกตั้ง

ไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น

และมากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้ง)

 

ทีนี้ ถ้าเป็นอย่างผมพูด กกต ก็จำเป็นจะต้องรับสมัครเลือกตั้งขึ้นมาอีกครั้ง

ทีนี้ ก็จะไม่นับเปอร์เซ็นต์อะไรกันแล้ว เอาแค่ผู้มีคะแนนสูงสุดที่สมัคร

เช่น ผู้สมัคร A ได้ 1 คะแนน ผู้สมัคร B ได้ 2 คะแนน

โหวตโน ได้ 5000 คะแนน

ผู้สมัคร B ก็ยังจะได้รับเลือกเป็น สส อยู่ดี ใช่มั๊ยครับ

(ในการเลือกตั้งใหม่ตามวรรคสาม ถ้ามีผู้สมัครคนเดียว ให้ผู้สมัคร

ซึ่งได้คะแนนเลือกตั้งเป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง โดยให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง

ประกาศผลการเลือกตั้งให้ผู้ได้รับเลือกตั้งภายในระยะเวลาตามมาตรา 8)

 

มีตรงไหนในข้อสมมุติของผมผิดไปจากความจริงบ้างครับ

ช่วยแนะนำด้วย


ข อ ใ ห้ โ ช ค ดี ต่ อ ค ว า ม เ ชื่ อ ค รั บ

 

 

 

เราอยู่ด้วยกัน ยืนข้างกัน เดินไปด้วยกัน ด้วยเพราะเรามีมุมมองและเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน

จนกว่าจะถึงวันที่เราพบว่า เรามีจุดหมายปลายทางคนละตำแหน่งกัน


#14 น้องจุบุจุบุ

น้องจุบุจุบุ

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,006 posts

ตอบ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 01:51

ถ้าผู้สมัครมี 1 คะแนนต้องเกิน 20% และโหวตโนต้องน้อยกว่าคะแนนที่ได้ ถ้ามากกว่าคะแนนที่ได้ก็ต้องเลือกใหม่

ถ้าผู้สมัครมี 2 คน ไม่สนโหวตโน คะแนนให้เยอะกว่าชนะไป 

 

จึงเลยเกิดมหากาพย์ความชั่วระดับประเทศขึ้นเพื่อหนีคะแนน 20% 

http://th.wikipedia....เมือง_พ.ศ._2549

 

ปีนี้จะย้อนกลับมาหรือไม่ ??

 

http://www.posttoday...งสมัครเลือกตั้ง

 

เราจะได้เห็นหรือไม่ ??

 

http://th.wikipedia....i/พรรคเพื่อธรรม

 

ก็ตามกันดูต่อไป



#15 Solid Snake

Solid Snake

    แดงกำมะลอ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,892 posts

ตอบ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 06:54

ขอบคุณสำหรับกระทู้นี้ครับ

ตรงนี้ อยากให้หาข้อสรุปให้ได้ชัดเจนกันเสียทีเรื่องโหวตโน

จะได้รับรองการปฏิบัติต่อไป

 

ผมลองสรุปส่วนนึงดูนะครับ

 

ในหลายเขต เช่น ทางภาคใต้

หากจะรณรงค์ให้โนโหวต (โนโหวตนะครับ ไม่ใช่โหวตโน)

ต้องรณรงค์ให้โนโหวตกันเกิน 80% ของจำนวนทั้งหมดของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทุกคน

เช่น สมมุติว่า มีผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในเขต 10000 คน ต้องโนโหวต 8001 คน

การโนโหวตถึงจะสัมฤทธิ์ผล ถูกมั๊ยครับ

(แท้จริงแล้ว แม้ในเขตเลือกตั้งใดมีผู้สมัครมากกว่าหนึ่งคน

ผู้สมัครที่จะเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น

ไม่เพียงแต่จะต้องเป็นผู้ได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุดแล้ว

ยังจะต้องได้รับคะแนนเลือกตั้งไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบ

ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น)

 

แต่ถ้าเป็นการโหวตโน

สมมุติว่า มีผู้มาลงคะแนน 2001 คนและลงคะแนนให้กับ ผู้สมัคร สส คนเดียว ก็ผ่านเกณฑ์แล้ว

เว้นแต่จะมีการโหวตโน 2002 คนขึ้นไป เพื่อให้คะแนนสูงมากกว่าผู้สมัคร ใช่มั๊ยครับ

 (มาตรา 88 ในเขตเลือกตั้งใด ถ้าในวันเลือกตั้ง

มีผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้งคนเดียว ผู้สมัครจะได้รับ

เลือกตั้งต่อเมื่อได้รับคะแนนเลือกตั้งไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบ

ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น

และมากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้ง)

 

หรือในความคิดเห็นของคุณ dragon baby

สมมุติว่า ผู้สมัคร A ได้คะแนน 2001 คะแนน ผู้สมัคร B ได้ 2002 คะแนน

แต่โหวตโน ได้ 2003 คะแนน ก็หมายความว่า ผู้สมัครทั้ง 2 ยังแพ้โหวตโน

ใช่มั๊ยครับ

(1.ได้รับคะแนนเลือกตั้งไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น)       

(2.ได้รับคะแนนเลือกตั้งมากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้ง และ)   
(3.
ได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุดในเขตเลือกตั้งนั้น)

 

หรือ ผู้สมัคร A ได้ 1998 คะแนน ผู้สมัคร B ได้ 1999 คะแนน

แม้คะแนนรวมของ 2 ผู้สมัครจะเกิน 20% ไป (1998 + 1999)

แต่เค้าไม่นับรวม แต่นับคะแนนของผู้ชนะ ว่าไม่ถึง 20% ทั้งคู่ก็ไม่ได้ใช่มั๊ยครับ

(แท้จริงแล้ว แม้ในเขตเลือกตั้งใดมีผู้สมัครมากกว่าหนึ่งคน 

ผู้สมัครที่จะเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น 

ไม่เพียงแต่จะต้องเป็นผู้ได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุดแล้ว 

ยังจะต้องได้รับคะแนนเลือกตั้งไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบ

ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น)

 

ถ้าเป็นอย่างผมสมมุติทั้งหมด แสดงว่า แค่โหวตโนให้ได้เกินคะแนนของผู้สมัครคนที่ได้คะแนนสูงสุด

โหวตโนก็เป็นผลในชั้นแรกแล้ว ใช่มั๊ยครับ

(มาตรา 88 ในเขตเลือกตั้งใด ถ้าในวันเลือกตั้งมีผู้สมัครแบบแบ่งเขต

เลือกตั้งคนเดียว ผู้สมัครจะได้รับเลือกตั้งต่อเมื่อได้รับคะแนนเลือกตั้ง

ไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น

และมากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้ง)

 

ทีนี้ ถ้าเป็นอย่างผมพูด กกต ก็จำเป็นจะต้องรับสมัครเลือกตั้งขึ้นมาอีกครั้ง

ทีนี้ ก็จะไม่นับเปอร์เซ็นต์อะไรกันแล้ว เอาแค่ผู้มีคะแนนสูงสุดที่สมัคร

เช่น ผู้สมัคร A ได้ 1 คะแนน ผู้สมัคร B ได้ 2 คะแนน

โหวตโน ได้ 5000 คะแนน

ผู้สมัคร B ก็ยังจะได้รับเลือกเป็น สส อยู่ดี ใช่มั๊ยครับ

(ในการเลือกตั้งใหม่ตามวรรคสาม ถ้ามีผู้สมัครคนเดียว ให้ผู้สมัคร

ซึ่งได้คะแนนเลือกตั้งเป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง โดยให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง

ประกาศผลการเลือกตั้งให้ผู้ได้รับเลือกตั้งภายในระยะเวลาตามมาตรา 8)

 

มีตรงไหนในข้อสมมุติของผมผิดไปจากความจริงบ้างครับ

ช่วยแนะนำด้วย

เดิมเขตเลือกตั้งหนึ่งมี สส ได้ถึง 3 คน ต่อมาแก้ให้ 1 เขต 1 คน ถ้ามีผู้สมัคร A กับ B ก็จบไม่ต้องคิดโหวตโนแล้วครับ เพราะมาตรา 88 ใช้กับกรณีมีผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้งคนเดียว (ถึงได้เน้นเรื่องคนเดียวหลายวรรค) ที่มาตรา 89 ที่ต้องระบุภายใต้บังคับมาตรา 88 เพื่อป้องกันการตีกันของกฎหมาย ไม่งั้นคนสามารถอ้างมาตรา 89 ก่อนได้เลยครับ

 

บางคนบอกว่าถ้ามีผู้สมัคร 2 คนก็ต้องใช้เงื่อนไข 20% >โหวตโนด้วย งั้นคงต้องถามว่าจะแยกมาตราเป็น 88 89 ทำไม จะระบุกรณีมีผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้งคนเดียวทำไม ทำไมไม่เขียนไปเลยว่า

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งให้ผู้สมัครซึ่งได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุด ได้รับคะแนนเลือกตั้งไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น และมากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้ง ในกรณีที่มีผู้ได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุดเท่ากันหลายคน ให้ใช้วิธีการจับสลากซึ่งต้องกระทำต่อหน้าคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งตามวิธีการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด



#16 Solid Snake

Solid Snake

    แดงกำมะลอ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,892 posts

ตอบ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 07:03

 

ผมจะยกตัวอย่างเขตบ้านผม บางกอกน้อย คุณองอาจ คร้ามไพบูลย์ กินขาดมาตลอด

แม้ไปเป็นสส.บัญชีรายชื่อ ปชป.ส่งคนอื่นลงก็ได้รับเลือกตั้งตลอด

 

ทีนี้พอเลือกตั้ง 2 กพ.57 คะแนนโหวตโนต้องสูงกว่าพรรคอื่นๆแน่นอน

แล้วจะเอาคะแนนโหวตโนของปชช.ไปทิ้งโดยเปล่าประโยชน์ได้ไง

เพราะเราแสดงให้เห็นว่าเราไม่ต้องการสส.ที่ลงเลือกตั้ง แต่ได้คะแนนน้อยกว่าโหวตโน

 

 

 

รึเปล่าครับ?

ใช่ โหวตโนก็แค่ถ่วงเวลากรณีมีผู้สมัครคนเดียว

 

 

 

งั้นก็แย่ซิครับ

 

จะตีความ"ภายใต้บังคับมาตรา..." ให้แปลว่าม.88 มันintersectกับ ม.89 ก็ไม่ได้ (ดูจากเนื้อหา ผมเข้าใจว่าเป็นแบบ if.....then.....)

 

แล้วไอ้เจ้า89โดดๆเนี่ย ถึงยอดvotenoมาวิน ก็ไม่ใช่บุคคลผู้สมัคร

 

ถ้าไม่มีภายใต้บังคับมาตรามันก็เกิดการเลือกที่จะใช้มาตราไหนก็ได้สิ ถ้ามีผู้สมัครคนเดียวก็ขอใช้มาตรา 89 ก่อนก็ได้ ยังไงก็ถือว่าเป็นผู้ได้คะแนนมากสุด มาตรา 88 ก็ไร้ความหมาย จึงต้องระบุจะใช้มาตรา 89 ได้ก็ต้องบังคับใช้มาตรา 88 ก่อน



#17 Fructose

Fructose

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 65 posts

ตอบ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 08:03

ก่อนจะตีความอะไรกันใหม่ ผมว่าลองไปหาข้อมูลในบอร์ดเก่าดูดีกว่าครับ ตอนนั้นได้ข้อสรุปกันพอสมควรแล้ว

 



#18 Bayonet

Bayonet

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,235 posts

ตอบ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 10:16

ที่จริงไอ้เรื่อง โหวต No  เนี่ย  ทั้งอาจาร์ย์มีชัย ฤชุพันธ์  ทั้งอดีต สสร. ที่เป็นผู้ยกร่าง รธน.  และปรมาจารย์นักกฏหมายมหาชน หลายต่อหลายท่านได้ให้ความเห็นชัดเจนไปแล้วเรื่อง มาตรา 88 และ 89

 

ซึ่งก็เป็นไปตามความเข้าใจที่คุณ Solid Snake และ คุณ temp โพสไว้แล้ว   ไม่ต้องมานั่งตีความกันอีก

 

 

ใครที่ยังวนเวียนหลงน้ำลายลิ้มเรื่องโหวตโน ควรจะอัพเดตความรู้+ความคิดได้แล้วนะ   เพราะผ่านมาหลายปี อีกทั้งมีเซียนกฏหมายหลายต่อหลายคนอธิบายเรื่องนี้ไปแล้ว 

 

ไม่เข้าใจเดี๋ยวนี้คนไทยบางส่วนสมองเป็นอะไรไม่ทราบ  เรื่องที่คุยแล้ว ถกแล้ว กระจ่างแล้ว  ก็ยังวนเวียนคำถาม+ข้อสงสัยเก่า มาถามซ้ำซากกันอยู่นั่นแหละ



#19 temp

temp

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,682 posts

ตอบ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 10:27

 

 

ผมจะยกตัวอย่างเขตบ้านผม บางกอกน้อย คุณองอาจ คร้ามไพบูลย์ กินขาดมาตลอด

แม้ไปเป็นสส.บัญชีรายชื่อ ปชป.ส่งคนอื่นลงก็ได้รับเลือกตั้งตลอด

 

ทีนี้พอเลือกตั้ง 2 กพ.57 คะแนนโหวตโนต้องสูงกว่าพรรคอื่นๆแน่นอน

แล้วจะเอาคะแนนโหวตโนของปชช.ไปทิ้งโดยเปล่าประโยชน์ได้ไง

เพราะเราแสดงให้เห็นว่าเราไม่ต้องการสส.ที่ลงเลือกตั้ง แต่ได้คะแนนน้อยกว่าโหวตโน

 

 

 

รึเปล่าครับ?

ใช่ โหวตโนก็แค่ถ่วงเวลากรณีมีผู้สมัครคนเดียว

 

 

 

งั้นก็แย่ซิครับ

 

จะตีความ"ภายใต้บังคับมาตรา..." ให้แปลว่าม.88 มันintersectกับ ม.89 ก็ไม่ได้ (ดูจากเนื้อหา ผมเข้าใจว่าเป็นแบบ if.....then.....)

 

แล้วไอ้เจ้า89โดดๆเนี่ย ถึงยอดvotenoมาวิน ก็ไม่ใช่บุคคลผู้สมัคร

 

ถ้าไม่มีภายใต้บังคับมาตรามันก็เกิดการเลือกที่จะใช้มาตราไหนก็ได้สิ ถ้ามีผู้สมัครคนเดียวก็ขอใช้มาตรา 89 ก่อนก็ได้ ยังไงก็ถือว่าเป็นผู้ได้คะแนนมากสุด มาตรา 88 ก็ไร้ความหมาย จึงต้องระบุจะใช้มาตรา 89 ได้ก็ต้องบังคับใช้มาตรา 88 ก่อน

 

 

เรื่องการตีความ2มาตรานี้และคำว่าภายใต้บังคับ เข้าใจได้ตามนั้นครับ

คำว่าแย่ ที่ผมหมายถึง คือ ในทางยุทธวิธีน่ะครับ ว่าทำยังไงปชช.(อาจจะส่วนน้อย หรือ ส่วนเกือบๆชนะที่แพ้แค่ปลายจมูก)จึงจะป้องกันยับยั้งอำนาจฟอกตัวผ่านการเลือดเลือกตั้งหรือเงินลากตั้ง นอกเหนือจากวิธีvoteno/novoteที่ได้ผลแค่ยื้อเวลาชั่วคราว


Edited by temp, 30 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 10:31.

ควายตัวนี้สีขาว


#20 tonythebest

tonythebest

    สมาชิกขั้นสูง 178 เซนติเมตร

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 13,595 posts

ตอบ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 11:13

อย่าพึ่งโยงไปถึงกรณีโหวตโนคราวก่อนของเจ้กลิ้มเลยครับ
ที่ผมตั้งคำถามก็เพื่อหาความกระจ่างของกรณี
เพื่อหาข้อสรุปให้ได้ชัดเจน ว่าควรเลือกวิธีไหนสำรองไว้
เพราะกรณีโหวตโน ยังเป็นเรื่องที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ชัด
ผมจึงต้องถามหาความเข้าใจ เพื่อให้เข้าใจตรงกันก่อน
แล้วค่อยเลือกกัน ว่าจะเอาแบบไหน

คน 1 ล้านคน สนับสนุนเรื่องเดียวกัน ก็ได้เสียง 1 ล้านเสียง
ถ้าคิดแตกเป็น 2 เรื่อง ก็กลายเป็นแค่ 5 แสนเสียง

ขออภัยที่ยังโง่ และต้องวนเวียนถามซ้ำซากครับ

ข อ ใ ห้ โ ช ค ดี ต่ อ ค ว า ม เ ชื่ อ ค รั บ

 

 

 

เราอยู่ด้วยกัน ยืนข้างกัน เดินไปด้วยกัน ด้วยเพราะเรามีมุมมองและเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน

จนกว่าจะถึงวันที่เราพบว่า เรามีจุดหมายปลายทางคนละตำแหน่งกัน





ผู้ใช้ 2 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 2 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน