เรื่องนี้เกี่ยวกับ เศรษฐกิจไทย เเน่นอน จากที่เอาให้ดู ม็อบไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจไทยเสียหาย 5วันก่อนเงินบาทยังเเข็งค่าขึ้นอยู่เลย จากนี้จะเป็นอย่างไรรอดูวันจัน
ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 13 มกราคม 2557 17:34:20 น.
นักบริหารเงิน เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ที่ระดับ 32.96/97บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจากช่วงเช้าที่ระดับ 33.07/08 บาท/ดอลลาร์ หลังปฏิบัติการปิดกรุงเทพฯ ของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข(กปปส.) สงบเรียบร้อย ไม่เกิดเหตุรุนแรง ประกอบกับการปรับตัวขึ้นของดัชนีตลาดหุ้น
http://www.ryt9.com/s/iq03/1814686
เพชร โอสถานุเคราะห์...
"......มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประเมินการชุมนุมปิดกรุงเทพฯ ทำให้สูญเสียทางเศรษฐกิจวันละ 700-1,000 ล้านบาท
“ผมก็เลยลองประเมินความเสียหายจากรัฐบาลนี้”
ความเสียหายจากจำนำข้าว 425,000 ล้าน หมายความว่าต้องชุมนุม 400 วันถึงจะเท่ากับความเสียหายจากการทุจริตจำนำข้าว นี้ยังไม่รวม ทุจริตโครงการอื่น หรือถ้ารวมความเสียหายทั้งหมดที่ผ่านมาจาก ระบอบทักษิณ ที่เราต่างรู้กันๆ คงต้องชุมนุมปิดกรุงเทพฯ กันยาวเท่าไหร่ ถึงจะเท่ากับความเสียหายที่ ระบอบทักษิณ ทำไว้
1 ปี มี 365 วัน คงต้องชุมนุมกันเป็น 10 ปี ไม่แน่ใจว่าถึง 100 ปีป่าว... แต่ถ้าไม่ออกมาหยุด 2 ล้านล้าน คงออกมาชุมนุมแล้ว ไปเกิดใหม่ มาชุมนุมอีก ประเทศยังเสียหายไม่เท่า รัฐบาลนี้ทำเลย...."
.
17 ม.ค.57 ชายชุดดำลอบสังหารสุเทพทำงานพลาด ทิ้งหลักฐานอื้อ ตายน้ำตื้น
หลังรัฐแดงสั่งชายชุดดำลอบสังหารสุเทพแล้วแผนพลาด ชายชุดเขียวได้เข้าตรวจสอบบริเวณตึกร้าง ริมถนนบรรทัดทอง กทม. บริเวณด้านหน้าตึกเขียนว่าศูนย์ประสานงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฎิบัติการ หจก.ยอดเทพประธาน ด้านในชั้นล่างเป็นลักษณะของห้องครัวพบอาวุธปืน M16 ถอดประกอบจำนวน 1 กระบอก, วิทยุสื่อสาร 4 เครื่อง, มีดสปาต้า 1 ด้าม, ป้ายคำว่า “ Police “ แปรงและยาสีฟัน , อาหารกล่อง , กางเกง, หมวกสีแดงป้ายคำว่า “ หน่วยปฏิบัติการจู่โจม” ที่เช็คแล้วหน่วยงานที่เคยแจกหมวกนี้ คือชายชุดดำในจังหวัดนราธิวาส ในหลักสูตรการฝึกอบรมปฏิบัติการพิเศษจู่โจมฯ
ด้านหน้าอาคารร้างตึกที่เกิดเหตุ พบรถตู้ชายชุดดำที่มาจอดปฏิบัติการ ทะเบียนตราโล่ห์ 19086 สีบรอนเทา ชาวบ้านแถวนั้นบอกจอดทิ้งไว้นานแล้ว มีฝุ่นจับ บริเวณหน้ากระจกมีตัวหนังสือเขียนติดกระดาษไว้ว่า ติดต่อเจ้าของรถ ร.ต.ท.เอกพล ผุดผอม รอง สว.กลุ่มงานวิจัยและประเมินผล 3 กองวิจัย สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เบอร์โทรศัพท์ 02-205-3285 /094-496-7179
สลักระเบิดที่ลอบสังหารพบชิ้นส่วนเป็นสลักระเบิดเป็นชนิด M48 มีใช้ในราชการเท่านั้น เป็นระเบิดขนาดเล็กพกสะดวก แต่อนุภาพเท่า M26 มุ่งสังหาร 5-8 คน จากรูปแบบการโจมตีของชายชุดดำที่รัฐแดงสั่งมานี้ พอจะวิเคราะห์ดังนี้
1. ระเบิดที่ขว้าง 2 ลอบสังหารสุเทพ 2 ลูกไม่ใช่เป้าหมายหลักที่แท้จริง
2. จากหลักฐานกล่องอาหารที่เขียนชื่อเล่นที่หน้ากล่อง ต้องมีชายชุดดำอีกชุดอยู่อีกตึกหนึ่งที่ไม่ใช่ตึกนี้
3. การลอบสังหารครั้งนี้ ชายชุดดำทำงานพลาด เพราะหลังจากขว้างระเบิดเพื่อให้คนล้อมตัวสุเทพแตกฮือแล้ว ไนท์เปอร์ชายชุดดำที่อยู่อีกตึกหนึ่งหาจังหวะยิงสุเทพไม่ได้ถนัด เพราะการ์ดชายชุดเขียว ชุดขาว และการ์ดอาสาของสุเทพมีถึง 40 คนที่ถูกฝึกมาอย่างดี รีบกดหัวสุเทพมอบลงทันที่และโอบล้อมตัวพาสุเทพออกไป ถือเป็นรูปแบบมืออาชีพในการรักษาความปลอดภัยมาตรฐานบุคคลสำคัญระดับชาติ
สรุป...งานนี้ชายชุดดำทำงานพลาดแถมทิ้งหลักฐานลอบสังหารสุเทพอื้อให้ตามตัวเชื่อมถึงหัวหน้าชายชุดดำและรัฐแดงได้อีก ตายน้ำตื้น
@ เสธ น้ำเงิน
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
@เรื่องขาดทุนจากนโยบายจำนำข้าว รำพึงเล็กๆ เป็นความสงสัยก่อน
ราคาน้ำมัน ขึ้นได้ ก็ลงได้. ราคาดีมันก็ผลิตมาเยอะ ซักพักก็ราคาตก
แต่ข้าวที่อยู่ในยุ้งที่จำนำมาราคาแพงๆ ขายไม่ออก ไม่ใช่ว่าอีกซักพักไม่มีกินก็มาขอซื้อ เพราะอีกไม่นานข้าวนาใหม่ก็จะออกมา แล้วทีนี้ก็รับจำนำแพงๆอีกเรื่อย เรื่อย เรื่อย
จะรับรู้ขาดทุนกันแบบไหนนะ รัฐบาลไทย
@ เขียน Note แจงข้อเสียจำนำข้าว และข้อเสนอแนะควรแก้ไขอย่างไรก่อนเกิดปัญหา **
ขอเรื่อง ข้าว อีกครั้งนะครับ
มีเพื่อนถามว่า ทำไมข้าวไทยถึงส่งออกลดลง แน่นอนครับเหตุผลสำคัญคือ เรื่องราคา ครับ ทุกท่านทราบดีอยู่แล้วใช่มั้ยครับว่ารัฐไทยเลือกนโยบายอุดหนุนชาวนาและเกษตรกรด้วยการรับ จำนำ ข้าว เป็นการแทรกแซงกลไกราคา สร้าง Demand เทียมขึ้นมาเพื่อยกระดับราคาขึ้นโดยหวังว่า
1. ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับ 1 เราจะสามารถควบคุมราคาได้ เพราะมองว่าตลาดเป็นของผู้ขาย และคู่แข่งของเราเช่น เวียตินาม อินเดีย ปากี ฯลฯ ก็คงพอใจที่ราคาส่งออกได้เพิ่ม เหมือนที่เคยทำสำเร็จกับการฮั้วราคายาง
2. แต่ถ้าประเทศคู่แข้งไม่ขึ้นราคา ก็หวังว่าสุดท้ายเมื่อข้าวขาดก็ต้องหันมาซื้อข้าวจากไทย
แต่การณ์หาได้เป็นเช่นนั้นไม่
เพราะการที่เราประกาศราคาจำนำข้าวในโลกที่ข้อมูลข่าวสารทั่วถึงกันทำให้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายทราบต้นทุนของเรา และข้อเท็จจริงที่ตามมาคือ
1. คู่แข่งเพิ่มราคาส่งออกจริงแต่ยังถูกกว่าเรามาก ถูกกว่าตันละ 250 - 350 ดอลล่า ทั้งนี้เพราะเรากำหนดราคารับจำนำที่สูงเกินจริง โดยไม่ได้ดูที่สภาพความเป็นจริงของตลาด ว่าแต่ละประเทศผลิตข้าวได้เท่าไหร่ ต้นทุนต่อตันเท่าไหร่ (เกือบทุกประเทศมีผลผลิตต่อไร่มากกว่าเรา และไทยเป็นประเทศทีี่ใช้ปุ๋ย และสารเคมีมากที่สุดทำให้ต้นทุนต่อไร่เราสูงมาก)
2. ข้าวไม่เหมือนกับยาง ยางพารา เมืิ่อทราบจำนวนพื้นที่เพาะปลูกแล้วจะทราบถึงปริมาณน้ำยาง ซึ่งจะออกมาสม่ำเสมอ แม้จะมีฤดูกาลก็สามารถคาดเดาได้ ผิดกับข้าว ในปัจจุบันพื้นที่เพาะปลุกในเกือบทุกประเทศสามารถปลูกข้าวได้มากกว่า 2 ครั้งต่อปี ดังนั้นความหวังที่ว่าพอปริมาณข้าวของคู่แข่งหมดจะซื้อข้าวไทย ก็ไม่จริง เพราะคนซื้อรู้อยู่แล้วว่าต้นทุนข้าวในโกดังของไทยเท่าไหร่ และเมื่อเก็บไปนานๆ ประเทศไทยก็จะต้องขายขาดทุนออกมาไม่วันใดก็วันหนึ่ง จึงกลายเป็นเกมส์วัดใจ ที่ใครทนไม่ได้ก่อนกัน (ผลผลิตข้าวทั้งโลกอยู่ที่ 400 ล้านตัน ส่งออกกันจริงๆแค่ 30 ล้านตัน ดังนั้นเราไม่ควรคิดว่าเราจะสามารถควบคุมตลาดได้)
ความจริงในวันนี้ที่ไทยสูญเสียโอกาสในการส่งออกข้าวไปกว่า 4 ล้านตันเป็นเครื่องยืนยันว่าเรามา "ผิดทาง" เตือนแล้วก็ไม่เชื่อ เชื่อแต่ก็โลภมองหาช่องทางโกงกิน
ผลเสียของการจำนำข้าวในแง่อื่น
1. เราสูญเสียความได้เปรียบของพันธ์ข้าวคุณภาพ ราคาจำนำเป็นราคาแบบเหมา ใครมีข้าวก็จำนำได้ ดังนั้นชาวนาจะไม่คัดเลือกพันธ์ ซึ่งยุ่งยาก ต้นทุนเพิ่ม ในนา 1 ไร่อาจมีพันธ์ข้าวอื่นปนมาซึ่งในความเป็นจริงทำให้เสียราคา และสุดท้ายทำให้ความได้เปรียบในเรื่องคุณภาพข้าวที่ส่งออกหายไป
2. การจำนำราคาข้างไม่ได้ช่วยชาวน่าที่ "จน" จริงๆ มีการคาดว่าคนที่ได้ผลประโยชน์คือชาวนาที่รวยอยู่แล้ว (ผลผลิตข้าว 50% ของประเทศมาจากชาวนาจำนวน 15% ของชาวนาทั้งหมด ซึ่งเหล่านี้คือชาวนารวย)
3. มีการเอื้อประโยชน์ให้กับการทุจริต ทั้งการรับจำนำข้าวของบริษัทจากตะวันออกกลางที่มาปลูกข้าวในไทย (ไม่ต้องบอกนะว่าใครพามา) และมีการสวมสิทธิจากประเทศเพื่อนบ้านที่ข้าวห่วย แต่เป็นช่องทางโกงกิน
4. ชาวนาจะได้ประโยชน์จากการจำนำข้าวก็ต่อเมื่อมีข้าวเท่านั้น ดังนั้นเมื่อนาล่ม รัฐก็ต้องมาชดเชยอีก เงินที่ชดเชยก็ไม่คุ้มกับการลงทุนที่ผ่านมา (ประกันดีกว่า เพรามองที่ต้นทุนการผลิตเลย ไม่ใช่งบบรรเทาสาธารณะภัย)
5. กลไกราคาเสียหาย
6. สำคัญที่สุดคือการนำเงินงบประมาณไปประกันราคาโดยไม่ตัดเป็นค่าใช้จ่าย ทำเป็นเงินยืม โดยหวังว่าจะสามารถขายข้าวเอาเงินมาคืนคลังได้ แต่ในความเป็นจริง รัฐอาจขาดทุนปีละประมาณ 100,000 ล้านบาท ซึ่งเมื่อรับรู้ขาดทุนแล้วเราก็จะขาดดุลเงินสด ต้องกู้มาชดเชย เกิดภาระดอกเบี้ย และจำนวนหนี้สาธารณะสูงโดยที่พยายามหลับตาไม่รับรู้มาแต่ต้น ไม่เหมือนประกันที่จัดงบประมาณเพื่อการประกันไว้เป็นรายจ่ายอยู่แล้ว
แล้วควรจำนำแบบไหน
1. อย่ามองว่าเป็นนโยบายประชานิยม หรือแจกเงินชาวนา แต่ให้มองว่าเป็นกลไกทางเศรษฐศาสตร์ ที่รัฐเข้าแทรกแซงราคา คือแทนที่จะรับจำนำทั้งหมด ให้เลือกรับจำนำบางช่วงราคา และรับจำนำปริมาณจำกัด
2. รับประกันแบบจำกัดปริมาณต่อราย เพื่อมุ่งช่วยชาวนารายย่อยมากกว่ารายใหญ่ ชาวนารายใหญ่มาทีเดียวโควตาโรงสีบางโรงเต็มทันที
3. จัดทำฐานข้อมูลการเพาะปลูกให้เรียบร้อยตั้งแต่เริ่มฤดูการผลิต เพื่อให้ทราบถึงจำนวนข้าวที่จะออกมาและป้องกันการสวมสิทธิจากข้าวต่างชาติ
4. ผลักดันให้ผู้ส่งออกใช้กลไกตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า และให้ชาวนาเกิดการรวมกลุ่ม เข้าไปขายในตลาดซื้อขายล่วงหน้า ไม่ืควรให้เกิดการเก็งกำไรในตลาดอย่างเดียว ควรส่งเสริมให้มีการซื้อขายล่วงหน้าจริงด้วย
สำหรับผมสิ่งที่ดีกว่าจำนำคือรับประกัน แต่เพราะมันเป็นโยบายของคนหนีทหาร สารเลวชาติชั่ว ฆาตกรฆ่้าคนในประเทศ ดีแต่พูดดังนั้นก็ไม่ควรเอามาใช้ ดังัน้นผมจึงเสนอการรับจำนำที่ควรปรับเปลี่ยนเพื่อประโยชน์ของประเทศ ไม่ได้มุ่งด่าอย่างเดียว โปรดทราบ
@@@ ข้อมูลตัวเลขของ ค่าใช้จ่ายของการรับจำนำข้าว ต้นทุนสี ต้นทุนเก็บรักษา และโครงสร้างเงินกู้ ธกส.ที่นำมารับจำนำ*
จำนำข้าว (อีกครั้ง)
อยู่ๆ มีข้อถกเถียงเรื่อง การรับจำนำข้าว ว่า คุ้ม หรือ ไม่คุ้ม ผมเลยขอเอาข้อมูล โครงการนี้มานำเสนอ โดยขอให้ทุกท่านเป็นผู้พิจารณาเองว่า โครงการนี้เป็นอย่างไร
=== สรุปโครงการ ===
รับจำนำข้าว"เปลือก" นาปี 6.95 ล้านตัน จำนวนเงิน 118,562 ล้านบาท
รับจำนำข้าว"เปลือก" นาปรัง10.03 ล้านตัน จำนวนเงิน 148,629 ล้านบาท รวมรับจำนำข้าวเปลือก ถึงวันนี้ 16.98 ล้านตัน เป็นเงิน 267,191 ล้านบาท
ข้าวเปลือกที่รับจำนำมีการสีแปรสภาพเป็นข้าวสารแล้วทั้งสิ้น 10.68 ล้านตัน
(*** ตัวเลขข้าวสารที่สีได้ มีความผิดปรกติ เพราะสีเป็นข้าวสารได้ 62.8% ของข้าวเปลือกทั้งที่ได้ 50% ก็มากเกินปรกติแล้ว)
=== ต้นทุนอื่น และผลผลิต ===
** เงินที่ใช้ในการรับจำนำข้าว เป็น "เงินกู้จาก ธ.ก.ส. **
จ่ายให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เป็นค่าดอกเบี้ย ค่าใช้จ่าย บริหารสินเชื่อ ตันละ 595.30 บาท
จ่ายให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร เป็นค่าบริหารดำเนินการ, ค่าเช่าที่รับฝากข้าว, ค่าแปรสภาพข้าว, ค่ารักษาสภาพข้าวสาร ตันละ 398.33 บาท
ให้กรมการค้าภายใน เป็นค่าวางระบบติดตามรายงานผลการรับจำนำ
ตันละ 19.92 บาท
จ่ายให้กรมส่งเสริมการเกษตร เป็นค่าขึ้นทะเบียนใบรับรองเกษตรกรอีก
ตันละ 8.36 บาท
รวมต้นทุนอื่นๆ ตันละ 1022 บาท
** หมายเหตุ ต้นทุนนี้คิดถึงเดือนกันยายน 55 หากเก็บข้าวต่อต้นทุนดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะต้นทุนหลักคือค่าดอกเบี้ย **
ต้นทุนจากความชื้น ข้าวเปลือกที่รับจำนำจะมีมาตรฐานความชื้นที่ 15% แต่ถ้าความชื้นของข้าวมีมากกว่า 15% ปริมาณข้าวจะหายไป 15 กิโลกรัมต่อทุกความชื้นที่เพิ่มขึ้น 1 % จากความชื้น 15% (ความชื้น 20% ข้าวจะหายไป 15* (20-15) = 75 กิโลกรัม)
ผลผลิตที่ได้จากข้าวเปลือก 1 ตัน หรือ 1,000 กก. หรือ 100 ถัง สีเป็นข้าว 100% ชั้น 2 จะได้รายละเอียดดังนี้
1. ต้นข้าว 405 กก.
2. ปลายข้าว เอ.วันเลิศพิเศษ 20 กก.
3. ปลายข้าว เอ.วันเลิศ 160 กก.
4. ปลายข้าว ซี 90 กก.
5. รำละเอียด 81 กก.
6. รำหยาบ 30 กก.
7. แกลบ+ละออง 214 กก.
(ตัวเลขโดยประมาณของสมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ)
ราคาผลผลิตจากข้าว ประเภทต่างๆสามารถสืบค้นจากอินเตอร์เนตได้
*** ประเด็นพิจารณา ***
1. รับจำนำข้าวเปลือกขายเป็นข้าวสาร
2. ต้นทุนการรับจำนำข้าวมักจะพูด เฉพาะต้นทุนการซื้อข้า่วจากเกษตรกร แต่ไม่พูดต้นทุนการแปรสภาพ(การสี) การบริหารจัดการ และที่สำคัญลืมให้ข้อมูลต้นทุนผันแปรของการเก็บรักษา stock ข้าวอย่างดอกเบี้ย ค่าเช่าโกดัง ความชื้น ค่าอบแห้ง *** รับจำนำข้าว 10 ล้านตัน ค่าดอกเบี้ยถึงเดือน ก.ย. 55 เป็นเงิน 5,950 ล้านบาท หากรวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ จะเป็นเงิน 10,220 ล้านบาท
3. ฤดูการรับจำนำ 55/56 จะเริ่มเดือน ต.ค. นี้ ข้าวยังอยู่ในโกดังกว่า 10 ล้านตันจะทำอย่างไร ข้าวนาปี ต.ค. 55 ถึง ก.พ.56 จะออกมาอีก และมีเป้ารับจำนำในรอบหน้าถึง 22.8 ล้านตัน
4. เดือน ส.ค. ก.ย. คือเดือนที่ supply ข้าวต่ำสุดเพราะเป็นช่วงต้นฤดูปลูกข้าวนาปี และราคาจะสูงที่สุดในรอบปี หากรัฐขายข้าวในช่วงนี้ไม่ได้ ราคาก็จะเริ่มลดเพราะผลผลิตจะทยอยออกมาตั้งแต่ ต.ค. - ก.พ.
*** เอวัง
@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@
รวมงานเขียนเรื่องจำนำข้าว ของ อจ. Paul
https://www.facebook...152155257724153
Edited by PATTON, 23 January 2014 - 01:30.