Jump to content


Photo
* * * * - 4 votes

เพื่อนๆสมาชิกเรามารวบรวมบทวิเคราะห์เศรษฐกิจ 2013-2014 ไทยเเละโลกกันเถอะอนาคตเศรษฐกิจไทยจะเป็นอย่างไร?


  • Please log in to reply
47 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 PATTON

PATTON

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 221 posts

ตอบ 2 มกราคม พ.ศ. 2557 - 13:39

ผมเลือกบทความนี้มาเป็นบทความเเรกเพราะเข้าใจง่าย  

 

 

เรื่องจำนำข้าว ทำเราเจ๊ง GDP ทรุด
รถคันแรก ทำธุรกิจรถพังในปีต่อไป
มีการทำกำไรจากนักลงทุน จากเรื่องค่าของเงิน และข่าว QE
หนี้ครัวเรือน มีปัญหา 
ทั้งหมด รัฐบาลยิ่งลัก มีอะไรได้รับการแก้ไข บ้างครับ 
สวัดดีปีใหม่ของการทำงานวันเเรกด้วยบทความคุณภาพ โดย อจ.PAUL 

ระบบเศรษฐกิจของโลก และประเทศไม่ได้หยุดนิ่งตามช่วงเวลา แต่การกำหนดช่วงเวลาทำไปเพื่อ ติดตามดูตัวแปรทางเศรษฐกิจทั้งหลาย ให้รู้แนวโน้ม และวัฏจักรของเศรษฐกิจ
ปีที่แล้วผ่านไป ปีใหม่เข้ามา แน่นอนผลของสิ่งต่างๆในปีที่แล้ว ย่อมกระทบปีต่อไปไม่ต้องสงสัย

เราผ่านอะไรมาบ้างในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา

เราผ่านวันที่ดัชนีหลักทรัพย์ (SET) ขึ้นไป "สูงสุดในรอบ 19 ปี" ที่ 1,643.43 จุด เมื่อ 21 พ.ค. 56
ก่อนที่จะปิดสิ้นปีนี้ที่ 1,298.71 จุด ลดลงจากจุดสูงสุด 344.72 จุด 
และลดลง 93 จุด เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2555 ที่ปิดที่ 1,391.93 จุด (ตลาดหุ้น 56 แย่กว่า 55ในที่สุด)

เราผ่านจุดต่ำสุดของ SET เมื่อวันที่ 28 ส.ค.56 ที่ 1,275.76 จุด 
และเรารู้ว่าต่างชาติ อำลาประเทศไทยด้วยการนำเงินออกจากตลาดหุ้น ตลอดทั้งปี 200,000 ล้านบาท

เราผ่านวันที่ค่าเงินบาทแข็งที่สุดในเอเชีย ที่ 28.56 ต่อดอลลาห์ เมื่อวันที่ 19 เม.ย. 56
ก่อนที่บาทจะอ่อนตัวเป็น อันดับ 2 ของเอเชียในเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา และล่าสุดอยู่ที่ 33.09 บาท ต่อดอลลาห์ 

เราผ่านการลดลงของการส่งออก 10 เดือนแรกของปีลดลง 0.02% แต่ก.พาณิชย์ยังออกข่าวว่าสิ้นปีเราอาจจะส่งออกเพิ่มขึ้น 1% 
แม้เราจะส่งออกรถยนต์ได้ตามเป้า แต่เม็ดเงินจากการส่งออกสินค้าเกษตรของไทยหายไป เราไม่สามารถส่งออกข้าวที่จะช่วยตัวเลขส่งออกได้เป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน

เราผ่านปีที่การผลิตรถยนต์ต่ำกว่าเป้าถึง 8% หรือประมาณ 200,000 คัน ทั้งนี้เพราะโครงการรถคันแรกที่ไม่ได้ผล ทำให้รถยนต์ค้างใน stock กว่า 130,000 คัน 

เราผ่านปีที่ทองคำกลายเป็นสินค้าที่ด้อยค่าลงเรื่อยๆ 

ปี 56 เป็นปีที่สภาพัฒน์ปรับลดเป้า GDP ลงอย่างต่อเนื่องถึง 3 ครั้ง จนคาดว่าปีนี้ GDP จะต่ำกว่า 3% ซึ่งก็ตรงกับที่หลายๆคนคาดไว้ตั้งแต่ต้นปี เพียงแต่คนในรัฐบาลไม่ยอมฟัง และยังคงให้ตัวเลขประมาณการที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง 

สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในปี 2556 คือหมุดทางสำหรับช่วงเวลาต่อไป 

2557 วิกฤติเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นหรือไม่ ???

กำลังการผลิตของประเทศ เป็น 60% ของกำลังการผลิตทั้งหมด หมายความว่า โรงงาน และธุรกิจไม่มีความจำเป็นต้องขยายตัว หรือลงทุนในเวลานี้ เพราะกำลังการผลิตที่ลงทุนไว้ยังเหลืออีกตั้ง 40% ==> การลงทุนภาคเอกชน ไม่มี

คนที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 ใช้เงินเกินกว่าครึ่ง เพื่อจ่ายหนี้ที่ได้ก่อไว้ รายได้ที่จะนำมาซื้อสินค้าใหม่ลดน้อยลง ==> การใช้จ่ายภาคครัวเรือนลดลง

โครงการของรัฐที่จะกู้มาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ยังไม่เกิด 
ภาระหนี้ ธกส.จากโครงการจำนำข้าว รัฐบาลจะจัดการเมื่อไหร่ 
ถ้ารับรู้ขาดทุนจากโครงการรัฐก็ต้องนำเงินส่วนหนึ่งวไปจ่ายหนี้ ธกส. ทำให้เสียโอกาสใช้จ่ายเงินกระตุ้น เศรษฐกิจ ==> การใช้จ่ายภาครัฐ เท่าเดิม ถึงลดลง

ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง ศก.โลกเริ่มกลับมาดีขึ้น ส่งออกน่าจะดีขึ้น 
นักท่องเที่ยวปี 56 เข้ามามากกว่าประมาณการ แต่ปี 57 หากการเมืองไม่ดีนักท่องเที่ยวอาจลดลง 
ในทางกลับกัน ค่าเงินอ่อนค่าประชาชนต้องใช้พลังงานที่นำเข้าในราคาสูงขึ้น รัฐมีปัญหาการหารายได้เข้ากองทุนพลังงาน ราคาน้ำมันดีเซลมีทีท่าว่าจะปรับขึ้น ==> ส่งออก มากกว่านำเข้า รอลุ้น ไม่เปลี่ยนแปลง ถึง ดีขึ้นจากเดิม 5% - 10%

เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ เชื่อว่ารัฐบาลคงพอใจให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวอยู่เช่นนี้ เพื่อการส่งออกที่เป็นความหวังเดียวของระบบเศรษฐกิจของประเทศ 

ในปี 57 ความเสี่ยงของระบบเศรษฐกิจยังมีอยูเต็มไปหมด GDP ปี 57 อาจจะดีกว่าปี 56 ที่เติบโตต่ำกว่า 3% แต่ไม่น่าจะทำให้เศรษฐกิจของประเทศกลับมาคึกคักได้

ความผันผวนของตลาดหุ้น และค่าเงินเกิดจากนโยบาย QE 
เราเตือนกันเรื่อง เสพติด QE ว่าถึงวันที่ QE ไม่มีเราจะอยู่อย่างไร 
ทั้งๆที่เป็นเรื่องที่ทุกคนรู้ แต่ไม่มีการออกมาเตือนหรือหามาตรการอะไรประคับประคอง 
เศรษฐกิจปี 57 น่าจะเริ่มมีการออกมาเตือนจากหลายๆฝ่าย ถ้าไม่มีการทำอะไรเพื่อป้องกันปัญหา เราอาจเหมือนปี 56 หรือ แย่กว่า และที่แย่ที่สุดคือเกิดปัญหาหนี้สูญจากภาคครัวเรือน 

Q1 ปี 2557 นักวิเคราะห์คาดว่า เศรษฐกิจของไทยมีปัญหา ตลาดหุ้นจะผันผวนในแดนลบ 
มีความเป็นไปได้ที่หุ้นจะหล่นไปต่ำกว่า 1,000 จุด หากวิกฤติการเมืองยังไม่มีทางออก 
ทั้งนี้ผลตอบแทนตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา ยังเติบโตสูงขึ้นเรื่อยๆจากจุดต่ำสุดที่ผ่านมา เงินที่ลงทุนในเอเชียเริ่มกลับไปอเมริกา 

ใครตามอ่านโพสต์ของผมมา ก็จะรู้ว่านี่เป็นเรื่องเบาๆ เพราะทุกคนคงคุ้นกับเรื่องที่ผมเขียนผมเตือนมาตลอดปีที่แล้ว และผลของมันก็อย่างที่เห็น ไม่มีอะไรต้องขู่ให้กลัวเกินไป

ปีนี้ได้แต่หวังว่าการเลือกตั้งจะนำไปสู่การแก้นโยบายจำนำข้าว และลดการสร้างหนี้เพื่อโครงการขนาดใหญ่ 

2557 การเมืองไม่จบ เศรษฐกิจ วูบยาว 

เอวัง และวังเวง แต่ต้นปีเลยมั้ยจ๊ะ พี่ น้องจ๋า อิ อิ อิ

Credit ขอบคุณคุณกิ๊ก คนเก่งจากเกียรตินาคิน ที่ให้ข้อมูลมากมาย ให้นำมาเขียน



#2 PATTON

PATTON

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 221 posts

ตอบ 2 มกราคม พ.ศ. 2557 - 13:44

ไทยกลายเป็นคนป่วยทางเศรษฐกิจไปตั้งแต่เมื่อไหร่ และเพราะอะไร เพราะรัฐบาลไม่เก่ง รัฐบาลไม่มีวินัยทางการเงิน
เเต่ถ้าเอาไปถามขี้ข้าสนับสนุนรัฐบาลก็จะได้คำตอบว่า "เเน่จริงก็เลือกตั้งให้ชนะ สิ " อิ อิ

>>>>ธนาคารทหารไทย รายงานว่าเกิดสิ่งที่เรียกว่า สภาวะเงินสดขาดมือ ในหมุ่ประชาน จนมีการนำบัตรเครดิตไปถอนเงินสดใช้เป็นจำนวนมาก

อ่านข่าวนี้แล้วคิดอะไรกันบ้างครับ.... 

บัตรเครดิต เป็นบัตรแทนเงินสด ให้เครดิตแก่ผู้ถือบัตรใช้ซื้อสินค้าต่างๆ

การที่ผู้ถือบัตรกดเงินสดจากบัญชีบัตรเครดิต จะต้องจ่ายดอกเบี้ยทันทีและเป็นอัตราที่สูงมาก 20%++ ต่อปี หรือประมาณ 1.5% - 2% ต่อเดือน เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง เพราะคำถามสำคัญเค้าเอาเงินสดไปทำอะไร ........

"ซื้อสินค้า".... เหรอ?? 
ก็ในเมื่อมีบัตรเครดิต ก็รูดซื้อของไปสิ อีก 30 วันค่อยจ่ายด้วย ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยอีกต่างหากถ้าจ่ายตรงเวลา 

ถ้าไม่ได้ซื้อของแล้วเอาไปทำอะไร ...... 

ความเป็นไปได้คือการนำเงินสดมาเป็นเงินหมุนเวียนในชีวิตประจำวัน ในที่นี้ไม่ใช่เพื่อการจับจ่ายใช้สอย แต่เป็นการนำเงินสดไป re finance หรือนำเงินสดจากบัตรเครดิตไปจ่ายหนี้ก้อนอื่น การเพิ่มหนี้เพื่อจ่ายหนี้คือวิธีการที่ผิด และเป็นการเพิ่มมูลค่าหนี้จากดอกเบี้ยอีกต่างหาก 

เมื่อหลายเดือนที่แล้วผมเตือนว่า ควรลดปริมาณหนี้ให้น้อยที่สุด ผมเองก็จำใจปลดหนี้บัตรเครดิตตัวเอง และงดการใช้บัตรเครดิต เพราะมักจะเผลอใจใช้เกินตัว 

วันนี้เศรษฐกิจประเทศ ไม่ดีอย่างยิ่ง GDP ประเทศ เติบโตต่ำกว่า 3% (ซึ่งผมคาดไว้ตั้งแต่กลางปี รัฐบาลกลับหมกเม็ดตัวเลขเพิ่งประกาศเมื่อไม่นานมานี้) เงินเฟ้อ 25 แก่ๆ เศรษฐกิจทั้งโลกโต 3.5% - 3.7% ประเทศไทยเติบโตต่ำกว่าโลกแล้ว ...

ไทยกลายเป็นคนป่วยทางเศรษฐกิจไปตั้งแต่เมื่อไหร่ และเพราะอะไร 

หากใครตอบว่าเพราะความขัดแย้งทางการเมือง เพราะม้อบ ผมจะตบปากให้เพราะปี 53 เรายังฟื้นจากวิกฤติการเงินอเมริกาเมื่อ52 ด้วย GDP ที่โตกว่า 11% ทั้งที่มีวิกฤติการเมืองตลอดปี 2553 

เราป่วยเพราะรัฐบาลไม่เก่ง รัฐบาลไม่มีวินัยทางการเงิน การคลัง และที่สุดรัฐบาลมีแนวโน้มทุจริต คอร์รัปชั่น 

เงินที่คิดว่ากระจายให้รากหญ้า เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ สุดท้ายกระจุกตัวอยู่ในผู้มีอำนาจไม่กี่คน เศรษฐกิจประเทศไม่หมุนเวียน หนี้ครัวเรือนสูงมากขึ้น 

ถ้าประชาชน เริ่มก่อหนี้ส่วนบุคคลมากขึ้นเรื่อยๆ สัดส่วนการใช้จ่ายของประชาชนก็จะเริ่มหมดไปกับการจ่ายดอกเบี้ย และจ่ายคืนเงินต้นจากการกูยืม แล้วจะเอาที่ไหนมาจับจ่ายใช้สอย จะเอาที่ไหนมากระตุ้นเศรษฐกิจ

หากใครยังมึนๆ งงๆ ถามว่าไหนหล่ะระบอบทักษิณ ผมก็จะชี้ให้ดูแล้วบอกว่านี่ไงระบอบทักษิณ กระตุ้นเศรษบกิจให้พองไว้ เพื่อให้สินค้าและธุรกิจตัวเองโต พอธุรกิจโตไม่ทันใจก็เริ่มหากินกับโครงการรัฐ โดยไม่สนใจว่าประชาชนจะอยู่รอดในระยะยาวหรือเปล่า

ใครกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการสร้างหนี้ภาคครัวเรือน ใครกระตุ้นการใช้จ่ายรากหญ้าให้เกินตัว ใครใช้แนวคิดรัฐสวัสดิการทั้งที่ระบบภาษีของประเทศยังไม่รัดกุมและรั่วใหล ใครได้ประโยชน์จากนโยบายพวกนี้ 

และ ใครกำลังจะแย่ด้วยนโยบายพวกนี้   

 

 

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ข้อมูลสถิติ) EC_EI_027 เครื่องชี้เศรษฐกิจมหภาคของไทย 1/

http://www2.bot.or.t...px?reportID=409

 

http://www.manager.c...D=9560000150145

 

 

ศก.ซบเซา ผู้บริโภคกระเป๋าแห้ง แห่กดเงินสดบัตรเครดิตใช้จ่าย ยอมแบกภาระดอกเบี้ยสูงลิ�

 

http://www.manager.c...D=9560000149869



#3 PATTON

PATTON

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 221 posts

ตอบ 2 มกราคม พ.ศ. 2557 - 13:46

ถ้าเอาไปอ่านให้พวกขี้ข้าสนับสนุนรัฐบาลฟังก็จะได้ยินเสียงตะโกน ดังๆ ตามนี้ ว่า "เเน่จริงก็เลือกตั้งให้ชนะ สิ " อิ อิ

 

สุดโหดร้าย ...... ครัวไทยสู่ครัวโลก นาโยะไทย นอกจากทำพังเละ แผนที่ความมั่นคงอาหาร ไทยยังติดอันดับ "ความหิวโหย" .... มูลนิธิชีววิถี จัดทำแผนที่ความเสี่ยงขึ้น พบข้อมูลที่น่าสนใจว่า ประเทศไทยนั้น ติดอันดับผู้ส่งออกอาหาร ในอันดับต้นๆ ของโลกโดยเฉพาะข้าว กุ้ง มันสำปะหลัง ไก่ ทูน่ากระป๋อง สับปะรดกระป๋องเป็นอันดับ 1 ของโลก
ส่งออกสินค้าประมง และข้าวโพดหวาน สูงเป็นอันดับ 3 ของโลก ส่วนยางพาราส่งออกเป็นอันดับ 1 ของโลก 

ขณะที่ยังพบว่าบริษัทซีพี กรุ๊ปของไทย ยังเป็นผู้ผลิตอาหารสัตว์รายใหญ่ ของโลก สูงถึง 23.2% ขณะที่บริษัทคาร์กิล ของสหรัฐอเมริกา เป็นอันดับ 2 คือ 15.9% และบริษัทนิวโฮป ของจีนครองส่วนแบ่งการตลาด 13%

ในทางกลับกัน ไทยยังติดอันดับความหิวโหย ของโลก โดยพบว่าในจำนวนประชากร 800 ล้านคน ที่ขาดแคลนอาหารนั้นมีคนไทยถึง 4.7 ล้านคน ที่ยังหิวโหย ตรงนี้สวนทางกับ การเป็นผู้ส่งออกอาหาร เนื่องจากอาหารที่ผลิตได้ ยังขาดการกระจาย และถูกครอบครอง โดยทุนรายใหญ่

ข้อมูลแผนที่สถานะ ความไม่มั่นคงทางอาหาร ของไทยระบุว่า มีคนไทย 60,000 คน เป็นมะเร็งตาย ในจำนวนนี้ 36% พบสารพิษในเลือด อีก 25% ภาวะบริโภคเกิน และ 7.3% ขาดแคลนอาหาร ขณะที่ 60% เกษตรกรที่มีอายุ 45-51 ยังต้องเช่าที่ดินทำกิน ส่วน 90% ของพันธุ์พืช พันธ์สัตว์อยู่ในมือ บริษัทรายใหญ่ 3-4 แห่งเท่านั้น ทำให้ 32% ของพืชผัก จึงยังมีสารเคมีตกค้าง เพราะมีเกษตรอินทรีย์ อยู่เพียงแค่ 1% และสุดท้าย 75% ของร้านค้าปลีก และคอนวิเนียนสโตร์ ก็คืออาหาร



#4 JUR1ST

JUR1ST

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,803 posts

ตอบ 2 มกราคม พ.ศ. 2557 - 13:47

โดยส่วนตัวแล้วคิดว่าจะไม่หาหนี้ใส่ตัวใ่นช่วงปี 57 - 58 ครับ เพราะว่าไม่แน่ใจในผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เป็นผลจากการบริหารงานของรัฐบาลที่ผ่านมา

#5 PATTON

PATTON

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 221 posts

ตอบ 2 มกราคม พ.ศ. 2557 - 13:49

ใครกันเเน่ กู้มาโกง ชาติ    

ถ้าเอาไปถามขี้ข้าสนับสนุนรัฐบาลก็จะได้คำตอบว่า "เเน่จริงก็เลือกตั้งให้ชนะ สิ " อิ อิ

 

เรามีหนี้สาธารณะของรัฐบาลแตะที่ 5 ล้านล้านบาท (5,011,939.840 ล้านบาท) เป็นครั้งแรกของประเทศครับ 
หนี้จำนวนนี้ คิดเป็น 44.89% ของ GDP ไทย

แม้จะไม่มากเมื่อเปรียบเทียบกับช่วง ก.ค.52 - พ.ย. 52 ที่หนี้สาธารณะของไทยไปแตะที่ระดับ 45%กว่าๆของ GDP (มูลค่าหนี้แตะ 4 ล้านล้านบาทครั้งแรก ส.ค. 52) และปริมาณหนี้ของไทยเพิ่มขึ้นจากการกู้เงินที่เรียกว่า "เงินกู้เพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ" หรือที่เรียกว่าเงินกู้ไทยเข้มแข็ง ที่เริ่มกู้ตั้งแต่ ก.ค 52 เป็นเงิน 50,000 ล้านบาท จนครบ 398,540 ล้านบาทเมื่อ ธ.ค. 53

แต่สิ่งที่ไม่เหมือนกันก็คืิอ แม้ประเทศจะมีภาระหนี้เพิ่มขึ้นถึงกว่า 400,000 ล้านบาท หรือมีหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น 7%ในช่วงเวลา ก.ค.52 - ธ.ค. 53 แต่ปริมาณหนี้สาธารณะต่อ GDP ของประเทศกลับมีสัดส่วนที่ลดลงกล่าวคือ %หนี้สาธารณะต่อ GDP เมื่อ ก.ค.52 อยู่ที่ 45.35% , ธ.ค.53 อยู่ที่ 42.43% และ ส.ค.54 อยู่ที่ 40.75% สาเหตุสำคัญที่ทำให้สัดส่วนหนี้ต่อ GDP ลดลง ทั้งที่มีมูลค่าหนี้เพิ่มก็คือ GDP ของไทยที่เติบโตขึ้น 10.52% ในปี 2553 หนี้เพิ่มขึ้น 7% แต่ทำให้ GDP โต 10.5 %

ถ้าเป็นการลงทุนก็ถือว่าคุ้มค่า

ผิดกับสมัยปัจจุบัน ปริมาณหนี้ของประเทศจากเตือน ต.ค.54 ที่ 4.336 ล้านล้านบาท กลายมาเป็น 5.011 ล้านล้านบาทในเดือน ส.ค. 55 หรือมีมูลค่าหนี้โตขึ้นถึง 16% แต่ GDP คาดการของปี 2555 จะเติบโตเพียง 4.5% 

เมื่อดูรายละเอียด ของหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้น 16% จะอยู่ที่การค้ำ้ประกันพันธบัตรธนาคารเพื่อการเกษตร(ธกส.) ที่รัฐบาลให้นำเงินไปใช้ในการจำนำราคาข้าว ที่เพิ่มขึ้นจาก 63,172 ล้านบาท เมื่อ ต.ค.54 เป็น 261,098 ล้านบาท ในเดือน ส.ค55 และเงินกูเพื่อชดเชยงบประมาณขาดดุลที่กู้มาเพิ่มอีก ประมาณ 400,000 ล้านบาท ทั้งนี้ยังไม่รวมการกู้เงินตามแผนแก้ปัญหาน้ำที่เริ่มมีการทะยอยกู้เงินล่วงหน้่าบ้างแล้ว และคาดว่าสิ้นปีงบประมาณ 2555-2556 จะกู้ครบจำนวน 350,000 ล้านบาท และคาดว่าต้องค้ำประกันเงินกู้ให้ ธกส.อีก 200,000 ล้านบาท จากโครงการรับจำนำข้าวของปี 2555/2556 ดังนั้นสิ้นปี 2556 จึงประเทศไทยน่าจะมีสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ทะลุ 50% อย่างแน่นอน

เมื่อเปรียบเทียบการกู้เงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในปี 2552 ที่ประเทศได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจของอเมริกา ทำให้ GDP ไทยติดลบ 0.5% จน GDP ไทยบวก 10.5% ในปี 2553 กับการกู้เงินใช้จ่ายอย่างไร้ทิศทางในปัจจุบัน จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไม อดีตนายกอภิสิทธิ์ และ รมว.คลัง กรณ์ จึงเป็นเป้าโจมตีอย่างมโหราฬ

คำพูดที่ว่าอภิสิทธิ์กู้มาโกง กับ ยิ่งลักษณ์กู้มากระตุ้นเศรษฐกิจ จึงน่าจะกลับกันอย่างไม่ต้องสงสัย

สุดท้ายประเทศที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจในปัจจุบันคือประเทศที่กู้เงินโดยไม่คำนึงภึง GDP หรือความสามารถในการจ่ายหนี้ได้ในอนาคตทั้งสิ้น ทั้งอเมริกา กรีซ อิตาลี ดปรตุเกส สเปน รวมถึงประเทศที่อาจจะมีปัญหาตามมาอย่างเกาหลีใต้ที่วันนี้ หนี้สาธารณะรวมรัฐและประชาชนมีสัดส่วนถึง 200% ต่อ GDP

ในอนาคตการที่เรารักนักการเมืองจนหลงลืมปกป้องเค้าอย่างเมามัว จึงไม่น่าจะใช่วิถีทางประชาธิปไตยที่ถูกต้อง การตักเตือนกันทำได้ ไม่มีใครอยากล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งพอๆกับไม่มีใครอยากให้ประเทศล้มจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งด้วยเช่นกัน



#6 PATTON

PATTON

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 221 posts

ตอบ 2 มกราคม พ.ศ. 2557 - 13:54

ส่วนเรื่องนี้ ก็ อตร.กับ เศรษฐกิจไทยเเละความมั่นคง  อย่างมาก  

 

 เราไม่ได้สู้กับทักษิณคนเดียว เราสู้กับเสือหิว อย่างมะกัน ที่ต้องการเข้ามาโกย ผลประโยชน์ในประเทศ โดย Kenneth Adelman ได้จัดตั้ง the “USA for Innovation” เมื่อปี 2550 เพื่อใส่ร้าย Thai establishment หรือกลุ่มคนไทยรักชาติ 

มาดูกันว่า USA for Innovation คืออะไร และเป็นภัยร้ายแรง ต่อประเทศมากแค่ไหน ปี 2549 นาย Adelman มีตำแหน่งเป็น Senior Counselor ของบริษัท ประชาสัมพันธ์ใหญ่ ของสหรัฐฯที่ชื่อ Edelman, Inc มีตำแหน่งเป็น Senior Counselor ทักษิณ ปรากฏชื่อโดดเด่นเป็น “Clients” หรือ “ลูกค้า” ที่มีอันดับ ของ นาย Adelman ยังมีบทบาทโดดเด่นใน องค์กร non-profit organization ที่เรียกตัวเองว่า USA for Innovation ที่ประกาศเป้าหมายว่า ต้องการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา และนวํตกรรมทั่วโลก ในตำแหน่ง Executive Director ของ USA for Innovation

USA for Innovation นี่แหละที่ลงทุน ซื้อเนื้อที่โฆษณาเต็มหน้า ในหนังสือพิมพ์ Wall Street Journal และ Roll Call ที่พาดหัวว่า “Slouching towards Burma” เพื่อโจมตีคว่าประเทศไทย กำลังจะโอนเอนไปเป็นอย่างพม่าแล้ว

เห็นหรือยังคะว่า โยงกับทักษิณ ทั้ง บริษัทประชาสัมพันธ์ Edelman และการรณรงค์ต่อต้านประเทศไทยอย่างไร เท่านั้นไม่จบ นาย Adelman คนนี้ยังเขียนบทความลงใน Washington Times ภายใต้หัวเรื่อง “Troubles from Thailand” ซึ่งกล่าวหาไทย ทั้งเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา สิทธิบัตรยาและเรื่อง “เผด็จการทหาร” ด้วย
เรียกว่า จงใจทุ่มเทเพื่อทำลายชื่อเสียง ของประเทศไทย อย่างออกหน้าออกตา ก็เห็นจะได้

คนข้างนอกเมืองไทยที่ได้อ่านบทความ คำแถลงการณ์ และคำให้สัมภาษณ์ของนาย Adelman คนนี้อาจจะเข้าใจว่า เรื่องละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา และสิทธิบัตรยานั้นเกิดขึ้น หลังจากทักษิณถูกโค่นไปเท่านั้น...เสมือนหนึ่งว่าก่อนหน้านี้ ไม่มีปัญหานี้ในเมืองไทยเลย และพอ US Trade Representative ที่ชื่อ Susan C. Schwab ประกาศเมื่อวันที่ 30 เมษายนว่าประเทศไทย ถูกเลื่อนระดับจาก Watch List ลงเป็น Priority Watch List แย่ลงกว่าเก่า นาย Adelman คนนี้ก็ออกแถลงการณ์ อ้างถึงจ ว่าสถานการณ์การละเมิด ทรัพย์สินทางปัญญาในไทย “ได้เสื่อมทรุดลงตั้งแต่รัฐบาลที่ได้รับการเลือกตั้ง มาถูกคณะทหารปฏิวัติ ไปเมื่อเดือนกันยายนที่แล้ว...”

นาย Adelman คนนี้มีอาชีพที่ “ทับซ้อนผลประโยชน์” อยู่หลายอย่าง เป็นทั้งคนเขียนคอลัมน์ ในหนังสือพิมพ์ และเป็นที่ปรึกษาบริษัทประชาสัมพันธ์ แล้วก็ยังเล่นบทเป็น NGO อีกด้วย คนในวงการนี้เรียก ว่าเป็นพวก “neo-con” หรืออนุรักษ์นิยมกลายพันธุ์



#7 BeastGuy

BeastGuy

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,364 posts

ตอบ 2 มกราคม พ.ศ. 2557 - 14:06

เสื้อแดงไม่เข้าใจเรื่องเศรษฐกิจ

รัฐบาลมีเงินให้ จบ!



#8 PATTON

PATTON

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 221 posts

ตอบ 2 มกราคม พ.ศ. 2557 - 15:11

ถ้าเรายังปล่อยให้พรรคการเมืองที่ไม่มีคุณธรรม ไร้ความสามารถบริหารประเทศ บริหารประเทศต่อไป เชื่อเถอะว่าเราได้เห็น ชาวนาไทยหมดไปจากเเผ่นดินไทยเเน่นอน ต่อไปก็จะเหลือเเต่ ลูกจ้างที่รับจ้างทำนาบนที่นาที่เคยเป็นของตัวเอง  

 

 

จากการที่ราคาข้าวไทยสูงกว่าประเทศคู่แข่งทำให้ปริมาณส่งออกข้าวลดลงต่อเนื่อง ในปี 2557   ข้าวขายไม่ออกเเต่คนไทยต้องทนกินข้าวเเพงเช่นเดิม

“FAO” เผย อัตราการผลิต    คาดว่าการผลิตข้าวสาลีจะเพิ่มขึ้นถึง 702 ล้านตัน ในปี 2013 และ 2014 ส่วนการผลิตข้าวนั้นถูกมองว่าจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นจนถึงระดับ 489.9 ล้านตัน   

 เอฟเอโอ (FAO) ซึ่งมีฐานอยู่ที่กรุงโรมของอิตาลี ได้คาดการณ์ไว้ว่าปริมาณผลิตผลของธัญพืชทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น 3% เป็น 2,402 ล้านตันในปี 2013 และ 2014 ทั้งนี้ผลผลิตส่วนมากที่เพิ่มขึ้นมานั้น จะมาจากความต้องการใช้ข้าวโพดเพื่อการเลี้ยงปศุสัตว์ที่เพิ่มขึ้น และจากความต้องการของภาคอุตสาหกรรมในสหรัฐฯ
       
       เอฟเอโอระบุว่า คลังสินค้าธัญพืชของโลกในช่วงท้ายปี 2014 ถูกคาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 11% เป็น 569 ล้านตัน ซึ่งสูงสุดในรอบ 12 ปี

นั้นอย่าคิดว่า ราคาอาหารสัตว์ในประเทศจะถูกลง เนื้อสัตว์ในประเทศจะถูกลง   ถ้าเรายังปล่อยให้พรรคการเมืองที่ไม่มีคุณธรรม ไร้ความสามารถบริหารประเทศ บริหารประเทศต่อไป เชื่อเถอะว่าเราจะได้เห็นราคาอาหารสัตว์ในตลาดโลกถูกลง เนื้อสัตว์ในตลาดโลกถูกลง เเต่  ราคาอาหารสัตว์ในประเทศเเพงขึ้น เนื้อสัตว์ในประเทศเเพงขึ้น

 

http://www.manager.c...D=9560000071435



#9 Novice

Novice

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,353 posts

ตอบ 2 มกราคม พ.ศ. 2557 - 15:13

เมษา - มิถุนา ปีนี้ อาจมีคนโดดตึกหลายคนครับ 



#10 kop16

kop16

    U will never walk alone.

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,507 posts

ตอบ 2 มกราคม พ.ศ. 2557 - 15:17

เกิน 3 บรรทัด :rolleyes:


If you try hard enough, you can be whatever you want to be.


#11 PATTON

PATTON

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 221 posts

ตอบ 2 มกราคม พ.ศ. 2557 - 15:20

ปีหน้าธุรกิจ โทรทัศน์ จะคึกคัก ???

อั๊ยย๊ะ น่าสนใจ ไหนเรามาลองดูกันครับ ว่าจะเป็นจริงตามมั้นหรือเปล่า

ความคึกคักเห็นที่น่าจะมาจากการประมูลโทรทัศน์ระบบดิจิตอล ที่ผ่านมา ซึ่งเทียบกับการประมูล 3G กายเป็นหนังคนละม้วน 

ประมูล 3G แบ่งเค้กกันง่ายๆ ราคาขยับแทบจะไม่ให้ กสทช.หน้าแตกที่เปลี่ยนเงื่อนไขกลายเป็นการแบ่งเค้กของผู้ประกอบการ ส่วนประมูลช่องโทรทัศน์ ฟันราคากันเลือดสาด ราคาขึ้นไป 5 -6 เท่าสำหรับช่องที่มีราคาเปิดต่ำๆ อย่างช่องข่าว และเพื่อสังคม 

ส่วนราคาช่อง HD ก็ทะยานไปเกิน 3,000 ล้าน จนมหาเศรษฐีอย่างเสี่ยตา เสี่ยจิกแห่ง Workpoint ถอยกรูดหลังจากเตรียมมาสู้แค่ 2,500 ล้านและอุตสาห์เคาะราคาสู้ไปถึง 3,000 ล้านบาท กับสัญญาจำนวน 15 ปี

แล้วเค้าจะคุ้มทุนมั้ย ?? นั่นคิดแทนเศรษฐีอีก 
โทรทัศน์ดิจิตอล ได้รายได้มาจากการขายโฆษณา โดยคาดว่าจะไปแบ่งเค้กมูลค่าโฆษณา 130,000 ล้านบาท ที่ผู้ผลิตสินค้าต่างๆ จ่ายให้กับสื่อในปัจจุบัน 

คำถามต่อมาคือ TV Digital ต้องแย่งเค้กมาให้ได้เท่าไหร่จึงคุ้มค่า 

มามะจะเล่าให้ฟัง ดูเรื่องแรกก่อน

"เงื่อนไขการชำระค่าสัณญาณที่ผู้ประกอบการต้องจ่ายให้ กสทช. " 

================================= 
กสทช.แยกวงเงินจ่าย เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ตามราคาเริ่มต้นประมูล กับส่วนที่ 2 ราคาส่วนต่างที่ประมูลได้ ราคาเคาะเพิ่ม และให้แยกจ่ายแต่ละปีดังนี้ 

การชำระส่วนที่ 1 แบ่งเป็น 4 งวด ภายใน 4 ปี โดยปีที่ 1 ชำระเงินงวดแรก 50% ปีที่ 2 ชำระเงิน 30% ปีที่ 3 ชำระเงิน 10% และปีที่ 4 ชำระเงิน 10%

ส่วนที่ 2 เป็นการชำระเงินส่วนที่เกินที่เพิ่มจากอนุญาตแข่งขันการประมูล (จากราคาที่เคาะเพิ่ม) แบ่งการชำระเป็น 6 งวด คือ ปีที่ 1-2 ชำระ 10% ปีที่ 3-6 ชำระ 20% 

โดย"ราคาเริ่มต้น" ช่องวาไรตี้ HDราคาเริ่มต้น 1,510 ล้านบาท ช่องวาไรตี้ SD ราคาเริ่มต้น 380 ล้านบาท ช่องข่าวสารสาระราคาเริ่มต้นประมูล 220 ล้านบาท และช่องเด็กและครอบครัวราคาเริ่มต้น 140 ล้านบาท

ส่วน"ราคาส่วนต่าง" ของผู้ประมูลได้ ช่วงราคาของ HD 7 ช่อง อยู่ที่ 3,530 - 3,320 ล้านบาท
SD 7 ช่อง อยู่ที่ 2,355 - 2,200 ล้านบาท , ช่องข่าว 7 ช่อง ราคาอยู่ที่ 1,338 - 1,298 ล้านบาท
และช่องเด็ก 3 ช่อง ราคาอยู่ที่ 666 - 648 ล้านบาท
----------------------------------------------------------------------

คราวนี้ ผมจะคำนวน คชจ. ของช่อง HD ให้ดูโดยละเอียด 
===============================

ปีที่ 1 จ่ายค่าสัญญา 755+342.5 *(ดูอ้างอิงด้านล่าง) 
ค่าเชื่อมโยงเครือข่าย และค่าเช่าดาวเทียมเดือนละ 7 ล้านบาทปีละ 84 ล้าน
ค่าบริหารจัดการ 1,000 ล้านบาท **(ดูอ้างอิงด้านล่าง)
ค่าธรรมเนียมส่วนแบ่งกำไร 4% อันนี้คาดว่าผู้ประกอบการทำงบ ขาดทุนหรือกำไร ปริ่มๆ ไม่นับ

"รวม 2,181.5 ล้านบาท" ไม่นับ Fix cost 
แปลว่าแต่ละปี ทั้ง 7 ช่องใหม่ต้องหาค่าโฆษณา เพื่อคุ้มค่าใช้จ่าย 15,270 ล้านบาทต่อปี

ส่วนช่อง SD ค่าใช้จ่ายต่อปีถูกกว่า อยู่ที่ 1,500 ล้าน 
ทั้ง 7 ช่องต้องหาโฆษณาให้ได้ 10,500 ล้านบาท

เฉพาะช่องวาไรตี้ เม็ดเงินค่าโฆษณา ที่จะแบ่งเค้กออกมาเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อความอยู่รอดของอุตสาหกรรมใหม่นี้ก็เป็น 25,770 ล้านบาท หรือ 20% ของงบโฆษณาเดิม 
ไม่นับช่องข่าว 7 ช่อง และช่องเด็ก 3 ช่องที่ต้องการเงินอุดหนุนอีกกว่า 10,000 ล้านบาท

และถ้ารวมความคุ้มทุนของ Fix cost ที่ลงไปบวกกำไรที่ต้องการ คาดว่า TV Digital ต้องการค่าโฆษณา อยู่ที่ 4 - 5.5 หมื่นล้านบาทต่อปี ต่อปีหรือประมาณ 30% - 45% ของงบโฆษณาที่มีอยู่
-----------------------------------------------------------------------

ในวันที่คนแบบผม (คนที่ไม่เสพสื่อโทรทัศน์ อีกแล้ว ) เพิ่มจำนวนมากขึ้น
TV Digital เพิ่มมาอีก 24 ช่อง กับความต้องการค่าโฆษณา มหาศาลเพื่อดำเนินธุรกิจให้อยู่รอด

ใครที่วิเคราะห์ว่าหุ้นของ บ.ที่ประมูลได้จะพุ่งขึ้นก็ดูยาวๆหน่อยนะครับ TV ปรกติ 6 ช่อง เรตติ้งก็ต่างกันฟ้ากับเหว ช่วงเวลาคนดู TV ในแต่ละวันมันจำกัด คู่แข่งของพวกคุณคือ Youtube นะครับ ดูที่ไหนเมื่อไหร่ก็ได้ 

แต่ก็นะ ธุรกิจบันเทิง ธุรกิจโฆษณาอยู่เก็บกินความหรูหราบนยอดสุดของธุรกิจมานาน เค้าคงมีวิธีคิดที่เราคิดไม่ถึงก็เป็นได้ ไม่งั้นเค้าไม่ขายน้ำดื่มขวดละ1 ในราคา 7 บาท ไม่ขายโลชั่นขวดละ 20 ในราคา100 กว่า ได้หรอกครับ 

ปล. ผมไม่เชื่อว่างบโฆษณาใน Free TV จะได้ผลในอนาคต 
ปล. 2 ผมเชื่อในเรื่อง Value creation และ Value Delivery มากกว่าการทำ Advertising อย่างเดียว โดยไม่สนใจปัญหาของลูกค้า 

* (ราคาที่ประมูลได้ ผมนำราคาสูงสุด + ราคาต่ำสุด แล้วหาร 2 มาเป็นราคาเพื่อการคำนวน)
** (ค่าใช้จ่าย บริหารสถานีโทรทัศน์ ผมนำตัวแบบ Thai PBS ที่ได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาล ปีละ 2,000 ล้านบาท มาคำนวน และลดเหลือ 50% 1,000 ล้านบาทในฐานะ บ.เอกชนที่มีประสิทธิภาพ) 

(มาจากงบ Thai PBS ปีละ 2,000 ล้านบาท แต่นี่เป็นของเอกชนถุกกว่าครึ่งนึง

 

>>>>กล้อง ระบบบันทึกภาพ ลงทุนใหม่หมดแน่นอนครับงานนี้ ผมว่า ไม่รับรู้กำไร ก่อน 10 ปีแน่นอน

6 ปีที่ต้องจ่ายค่าสัญญาเนี่ย ขาดทุนสะสม 

แล้วก็ค่อยๆ แก้ขาดทุนสะสม อีก 4 - 5ปี



#12 pinkpanda

pinkpanda

    คุ้กกี้เกลียดควายแดงค่ะ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,600 posts

ตอบ 2 มกราคม พ.ศ. 2557 - 15:25

จะเป็นลม เมื่อกี้เปิดเ้ข้าไปดูพอร์ต เลือดไหลไม่หยุด แงๆๆ



#13 Novice

Novice

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,353 posts

ตอบ 2 มกราคม พ.ศ. 2557 - 15:31

ปีหน้าธุรกิจ โทรทัศน์ จะคึกคัก ???

อั๊ยย๊ะ น่าสนใจ ไหนเรามาลองดูกันครับ ว่าจะเป็นจริงตามมั้นหรือเปล่า

ความคึกคักเห็นที่น่าจะมาจากการประมูลโทรทัศน์ระบบดิจิตอล ที่ผ่านมา ซึ่งเทียบกับการประมูล 3G กายเป็นหนังคนละม้วน 

ประมูล 3G แบ่งเค้กกันง่ายๆ ราคาขยับแทบจะไม่ให้ กสทช.หน้าแตกที่เปลี่ยนเงื่อนไขกลายเป็นการแบ่งเค้กของผู้ประกอบการ ส่วนประมูลช่องโทรทัศน์ ฟันราคากันเลือดสาด ราคาขึ้นไป 5 -6 เท่าสำหรับช่องที่มีราคาเปิดต่ำๆ อย่างช่องข่าว และเพื่อสังคม 

ส่วนราคาช่อง HD ก็ทะยานไปเกิน 3,000 ล้าน จนมหาเศรษฐีอย่างเสี่ยตา เสี่ยจิกแห่ง Workpoint ถอยกรูดหลังจากเตรียมมาสู้แค่ 2,500 ล้านและอุตสาห์เคาะราคาสู้ไปถึง 3,000 ล้านบาท กับสัญญาจำนวน 15 ปี

แล้วเค้าจะคุ้มทุนมั้ย ?? นั่นคิดแทนเศรษฐีอีก 
โทรทัศน์ดิจิตอล ได้รายได้มาจากการขายโฆษณา โดยคาดว่าจะไปแบ่งเค้กมูลค่าโฆษณา 130,000 ล้านบาท ที่ผู้ผลิตสินค้าต่างๆ จ่ายให้กับสื่อในปัจจุบัน 

คำถามต่อมาคือ TV Digital ต้องแย่งเค้กมาให้ได้เท่าไหร่จึงคุ้มค่า 

มามะจะเล่าให้ฟัง ดูเรื่องแรกก่อน

"เงื่อนไขการชำระค่าสัณญาณที่ผู้ประกอบการต้องจ่ายให้ กสทช. " 

================================= 
กสทช.แยกวงเงินจ่าย เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ตามราคาเริ่มต้นประมูล กับส่วนที่ 2 ราคาส่วนต่างที่ประมูลได้ ราคาเคาะเพิ่ม และให้แยกจ่ายแต่ละปีดังนี้ 

การชำระส่วนที่ 1 แบ่งเป็น 4 งวด ภายใน 4 ปี โดยปีที่ 1 ชำระเงินงวดแรก 50% ปีที่ 2 ชำระเงิน 30% ปีที่ 3 ชำระเงิน 10% และปีที่ 4 ชำระเงิน 10%

ส่วนที่ 2 เป็นการชำระเงินส่วนที่เกินที่เพิ่มจากอนุญาตแข่งขันการประมูล (จากราคาที่เคาะเพิ่ม) แบ่งการชำระเป็น 6 งวด คือ ปีที่ 1-2 ชำระ 10% ปีที่ 3-6 ชำระ 20% 

โดย"ราคาเริ่มต้น" ช่องวาไรตี้ HDราคาเริ่มต้น 1,510 ล้านบาท ช่องวาไรตี้ SD ราคาเริ่มต้น 380 ล้านบาท ช่องข่าวสารสาระราคาเริ่มต้นประมูล 220 ล้านบาท และช่องเด็กและครอบครัวราคาเริ่มต้น 140 ล้านบาท

ส่วน"ราคาส่วนต่าง" ของผู้ประมูลได้ ช่วงราคาของ HD 7 ช่อง อยู่ที่ 3,530 - 3,320 ล้านบาท
SD 7 ช่อง อยู่ที่ 2,355 - 2,200 ล้านบาท , ช่องข่าว 7 ช่อง ราคาอยู่ที่ 1,338 - 1,298 ล้านบาท
และช่องเด็ก 3 ช่อง ราคาอยู่ที่ 666 - 648 ล้านบาท
----------------------------------------------------------------------

คราวนี้ ผมจะคำนวน คชจ. ของช่อง HD ให้ดูโดยละเอียด 
===============================

ปีที่ 1 จ่ายค่าสัญญา 755+342.5 *(ดูอ้างอิงด้านล่าง) 
ค่าเชื่อมโยงเครือข่าย และค่าเช่าดาวเทียมเดือนละ 7 ล้านบาทปีละ 84 ล้าน
ค่าบริหารจัดการ 1,000 ล้านบาท **(ดูอ้างอิงด้านล่าง)
ค่าธรรมเนียมส่วนแบ่งกำไร 4% อันนี้คาดว่าผู้ประกอบการทำงบ ขาดทุนหรือกำไร ปริ่มๆ ไม่นับ

"รวม 2,181.5 ล้านบาท" ไม่นับ Fix cost 
แปลว่าแต่ละปี ทั้ง 7 ช่องใหม่ต้องหาค่าโฆษณา เพื่อคุ้มค่าใช้จ่าย 15,270 ล้านบาทต่อปี

ส่วนช่อง SD ค่าใช้จ่ายต่อปีถูกกว่า อยู่ที่ 1,500 ล้าน 
ทั้ง 7 ช่องต้องหาโฆษณาให้ได้ 10,500 ล้านบาท

เฉพาะช่องวาไรตี้ เม็ดเงินค่าโฆษณา ที่จะแบ่งเค้กออกมาเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อความอยู่รอดของอุตสาหกรรมใหม่นี้ก็เป็น 25,770 ล้านบาท หรือ 20% ของงบโฆษณาเดิม 
ไม่นับช่องข่าว 7 ช่อง และช่องเด็ก 3 ช่องที่ต้องการเงินอุดหนุนอีกกว่า 10,000 ล้านบาท

และถ้ารวมความคุ้มทุนของ Fix cost ที่ลงไปบวกกำไรที่ต้องการ คาดว่า TV Digital ต้องการค่าโฆษณา อยู่ที่ 4 - 5.5 หมื่นล้านบาทต่อปี ต่อปีหรือประมาณ 30% - 45% ของงบโฆษณาที่มีอยู่
-----------------------------------------------------------------------

ในวันที่คนแบบผม (คนที่ไม่เสพสื่อโทรทัศน์ อีกแล้ว ) เพิ่มจำนวนมากขึ้น
TV Digital เพิ่มมาอีก 24 ช่อง กับความต้องการค่าโฆษณา มหาศาลเพื่อดำเนินธุรกิจให้อยู่รอด

ใครที่วิเคราะห์ว่าหุ้นของ บ.ที่ประมูลได้จะพุ่งขึ้นก็ดูยาวๆหน่อยนะครับ TV ปรกติ 6 ช่อง เรตติ้งก็ต่างกันฟ้ากับเหว ช่วงเวลาคนดู TV ในแต่ละวันมันจำกัด คู่แข่งของพวกคุณคือ Youtube นะครับ ดูที่ไหนเมื่อไหร่ก็ได้ 

แต่ก็นะ ธุรกิจบันเทิง ธุรกิจโฆษณาอยู่เก็บกินความหรูหราบนยอดสุดของธุรกิจมานาน เค้าคงมีวิธีคิดที่เราคิดไม่ถึงก็เป็นได้ ไม่งั้นเค้าไม่ขายน้ำดื่มขวดละ1 ในราคา 7 บาท ไม่ขายโลชั่นขวดละ 20 ในราคา100 กว่า ได้หรอกครับ 

ปล. ผมไม่เชื่อว่างบโฆษณาใน Free TV จะได้ผลในอนาคต 
ปล. 2 ผมเชื่อในเรื่อง Value creation และ Value Delivery มากกว่าการทำ Advertising อย่างเดียว โดยไม่สนใจปัญหาของลูกค้า 

* (ราคาที่ประมูลได้ ผมนำราคาสูงสุด + ราคาต่ำสุด แล้วหาร 2 มาเป็นราคาเพื่อการคำนวน)
** (ค่าใช้จ่าย บริหารสถานีโทรทัศน์ ผมนำตัวแบบ Thai PBS ที่ได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาล ปีละ 2,000 ล้านบาท มาคำนวน และลดเหลือ 50% 1,000 ล้านบาทในฐานะ บ.เอกชนที่มีประสิทธิภาพ) 

(มาจากงบ Thai PBS ปีละ 2,000 ล้านบาท แต่นี่เป็นของเอกชนถุกกว่าครึ่งนึง

 

>>>>กล้อง ระบบบันทึกภาพ ลงทุนใหม่หมดแน่นอนครับงานนี้ ผมว่า ไม่รับรู้กำไร ก่อน 10 ปีแน่นอน

6 ปีที่ต้องจ่ายค่าสัญญาเนี่ย ขาดทุนสะสม 

แล้วก็ค่อยๆ แก้ขาดทุนสะสม อีก 4 - 5ปี

 

ที่แน่ ๆ คือ ช่องข่าวฟรีทีวีเจ๊งแน่นอนครับ 4 ช่องนั่นน่ะ รับรองได้ว่าขาดทุนต่อเนื่องชัวร์ ๆ ประวัติศาสตร์ชาติไทยมันฟ้อง



#14 PATTON

PATTON

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 221 posts

ตอบ 3 มกราคม พ.ศ. 2557 - 14:43

เศร้าครับ มีเเค่สองทางให้เลือก ไม่เเพ้ คนชาติไทยก็ต้องชนะกำจัดพวกขี้ข้าพรรคทักษิณ

ให้หมดไปจากสังคมไทยเท่านั้นถึงจะพอมีความหวังแก้ปัญหาเศรษฐกิจไทยได้อย่างเเท้จริง

ผมใช้เวลากว่า12ชม.ถาม อจ.ท่านต่างๆ ได้คำตอบมาเหมือนๆกันว่า

จะแก้ปัญหาเศรษฐกิจไทย อย่างยั่งยืน คนชาติไทยได้ประโยชน์สูงสุดต้องทำอย่างไร

 

ตอนนี้ บอกได้ว่า ต้องทำเรื่องการเมืองให้จบให้ได้ก่อน  

พรรคทักษิณหมดอำนาจ ได้ผู้บริหารที่เป็นคนดี มีทีมงานที่มีความสามารถ จริงใจ ประเทศไทยมีพร้อมทุกอย่าง

เเต่ขาดผู้มีอำนาจบริหารบ้านเมืองที่เป็นคนดีจริงใจกับประชาชน



#15 PATTON

PATTON

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 221 posts

ตอบ 4 มกราคม พ.ศ. 2557 - 13:41

TDRI บอกจำนำข้าว มีค่าเสื่อมไปแล้วหมื่นล้าน

นักวิชาการ สายสังคม สายมานุษยวิทยา ชอบด่า TDRI ว่าไปทำวิจัยอะไรมาก็ไม่รู้

ก็ไม่รู้สินะ ลองอ่านดูดิ ว่าวิจัยสายเศรษฐศาสตร์ เค้าศึกษาอะไร ทำไมสายสังคม กะ สายมานุษย์ฯ จึงกล้าวิจารณ์

 

 

>>>> “ทีดีอาร์ไอ” ประเมินค่าเสื่อมข้าวในสต๊อกรัฐบาล 2 ปีการผลิตกว่าหมื่นล้าน  ยังไม่นับรวมค่าเสื่อมจากโรงสีขี้ฉ้อบางรายที่นำข้าวใหม่ออกไปขาย เอาข้าวเก่ามาซุกแทน ด้านผู้ส่งออกลุ้นรัฐบาลใหม่กล้าเลิกจำนำข้าว หวังช่วยเพิ่มขีดแข่งขันทันที

601.jpg

ข้างนักวิชาการสั่งจับตาข้าวหอมมะลิไทยตกที่นั่งลำบาก ข้าวหอมเวียดนาม-เขมร ประกาศท้าชนเต็มสูบ โรงสีแฉแม้ยุบสภาแต่พาณิชย์ยังแอบระบายข้าวแบบลับๆ เร่งหาเงินจ่ายชาวนาโค้งสุดท้าย

ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” กรณีการประเมินค่าเสื่อมคุณภาพข้าวจากโครงการรับจำนำของรัฐบาลในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาที่มีปริมาณทั้งสิ้น 28.7 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 3.15 แสนล้านบาท หากเก็บไว้ในคลังกลางแบบปกติ คือไม่มีห้องเย็นรักษาอุณหภูมิหรือระบบ airtight จะทำให้ข้าวเหลืองและมีมอด เช่น ใน 3 เดือนแรก ดัชนีความขาวจะลดลงจาก 51.5% เหลือ 49.5% แมลงจะเพิ่มขึ้น 23.2 ตัวต่อกิโลกรัม  ถ้าเก็บไว้ 6 เดือน ความขาวจะลดลงเหลือ 49% และแมลงจะเพิ่มขึ้นเป็น 90 ตัวต่อกิโลกรัม  หากสมมติว่าปัญหาดังกล่าวทำให้มูลค่าข้าวลดลง 5% ต่อปี หากเก็บข้าวไว้เกิน 2 ปี และไม่เร่งระบายข้าวออกมาจะมีค่าเสื่อมไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาท  ทั้งนี้ยังไม่นับรวมถึงกรณีที่มีโรงสีบางรายนำข้าวใหม่คุณภาพดีออกไปขาย แล้วนำข้าวเก่ามาสวมแทนไว้ในโกดัง ค่าเสื่อมจะยิ่งมากกว่านี้

ดังนั้นสิ่งที่รัฐบาลใหม่ ที่จะเข้ามาหลังการเลือกตั้งที่ต้องเร่งดำเนินการคือการจัดการสต๊อกข้าว (คาดจะมีราว 17-18 ล้านตันข้าวสาร) โดยต้องมีการแต่งตั้งคณะกรรมการในรูปองค์กรอิสระขึ้นมาตรวจสอบโกดังข้าวเพื่อให้เกิดความโปร่งใส เนื่องจากที่ผ่านมารัฐบาลอ้างมาตลอดว่าเป็นความลับ และไม่สามารถอธิบายได้ว่าจริงๆ แล้วสต๊อกข้าวเหลือเท่าไร รวมถึงปริมาณข้าวที่หายไปจากการระบายข้าวถุง เพื่อช่วยบรรเทาค่าครองชีพผู้บริโภค อย่างไรก็ดีจากการประเมินเบื้องต้นรัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามา ไม่ว่าจะได้พรรคเดิม หรือได้อีกขั้วหนึ่งเป็นแกนนำ คาดว่าจะยังไม่รีบดำเนินการรับจำนำทันที  เพราะเห็นปัญหาอยู่แล้วว่าในเวลานี้โครงการขาดสภาพคล่องทางการคลังอย่างหนัก

ด้านนางสาวกอบสุข เอี่ยมสุรีย์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า หากรัฐบาลใหม่ที่เข้ามา แม้จะได้ขั้วเดิมหรือขั้วใหม่เป็นรัฐบาล หากมีการปรับเปลี่ยนวิธีการช่วยเหลือชาวนาด้วยวิธีอื่น โดยไม่รับจำนำข้าวใหม่เพิ่ม(ยกเลิกจำนำ)และปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด จะทำให้ผู้ส่งออกข้าวมีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น จากที่ขณะนี้ต้องรอลุ้นว่าหลังตรุษจีนว่าจะมีออร์เดอร์เข้ามาเพิ่มขึ้นหรือไม่ เพราะขณะนี้ราคาข้าวไทยในตลาดโลกมีความใกล้เคียงกับราคาข้าวเวียดนาม  บางช่วงราคาก็ต่ำกว่า อย่างไรก็ตามสต๊อกข้าวของรัฐบาลไทยที่ยังมีมากยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาข้าวในตลาดโลกยังทรงๆ และมีแนวโน้มลดต่ำลง

“ภาพรวมส่งออกข้าวปี 2556 ข้าวหอมมะลิ เป็นพระเอก ส่วนข้าวนึ่งมาดีในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน เนื่องจากรัฐบาลบังกลาเทศมีการลดภาษีนำเข้า จึงเป็นตัวผลักทำให้พ่อค้ามีการสั่งนำเข้าข้าวนึ่งไทยเพิ่มขึ้น ก็หวังว่ารัฐบาลบังกลาเทศจะขยายเวลาต่อไปอีกจะทำให้ปีหน้าโอกาสข้าวนึ่งจะกลับมาได้อีกครั้งหนึ่ง”

ขณะที่ รศ.สมพร อิศวิลานนท์ นักวิชาการอาวุโส สถาบันคลังสมองของชาติ  กล่าวว่า ปริมาณข้าวในสต๊อกของไทยขณะนี้มีอยู่ประมาณ 17-18 ล้านตันข้าวสารหรือ 17% ของสต๊อกข้าวโลก นับเป็นลำดับ 3 ของโลกรองจากจีนและอินเดีย ในแต่ละปีจะมีข้าวมาสมทบในสต๊อกเพิ่มขึ้นไปอีกเพราะรัฐระบายไม่ออก หากจะเคลียร์สต๊อกให้เหลือประมาณ 2 ล้านตันได้ต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 5-7 ปี และหากจะล้างสต๊อกให้ได้เร็วกว่านี้ข้าวส่งออกของไทยจะต้องมีราคาต่ำกว่าราคาข้าวของเวียดนามและอินเดีย อย่างไรก็ดีคุณภาพข้าวไทยในสต๊อกของรัฐกำลังเป็นที่กังขาของผู้บริโภคภายในและต่างประเทศเป็น เครื่องบ่งชี้ว่าค่าความจำเพาะด้านคุณภาพของข้าวไทยที่เคยมีเหนือกว่าเวียดนามกำลังหายไป

“ล่าสุดกัมพูชาชนะการประกวดข้าวหอมมะลิที่อร่อยที่สุดในโลก 2 ปีซ้อน เวียดนามเองก็ให้ความสนใจในการปรับปรุงคุณภาพ และขยายการผลิตข้าวหอมและรวมถึงข้าวหอมมะลิ105 ทั้งเพื่อตลาดส่งออกและตลาดภายในประเทศ ถือเป็นสัญญาณอันตรายต่อข้าวหอมมะลิไทย”

ตีพิมพ์ครั้งแรก: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ วันที่ 22-25 ธันวาคม 2556 ในชื่อ “จำนำข้าว 2 ปี ค่าเสื่อมหมื่นล้าน”

 

 

ที่มา

http://tdri.or.th/td...rice-programme/


Edited by PATTON, 4 มกราคม พ.ศ. 2557 - 13:42.


#16 SINANJU

SINANJU

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 683 posts

ตอบ 4 มกราคม พ.ศ. 2557 - 13:49

สั้นๆง่ายๆ กรอบงบประมาณจำนำข้าว ห้าแสนล้านที่จัดไว้เป็นทุนหมุนเวียนตอนนี้ไม่พอ ต้องไปกู้มาเพิ่มอีก หนึ่งแสนสามหมื่นล้าน สรุปง่ายๆกับโครงการนี้ถมไปแล้ว หกแสนสามหมื่นล้าน ผมจำได้งบประมาณขนาดนี้มากกว่า สมัย ปชป ที่เอามากระตุ้นเศรษฐกิจทั้งประเทศซะอีก



#17 SINANJU

SINANJU

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 683 posts

ตอบ 4 มกราคม พ.ศ. 2557 - 14:34

จะเป็นลม เมื่อกี้เปิดเ้ข้าไปดูพอร์ต เลือดไหลไม่หยุด แงๆๆ

ผมช้อนหักวันที่ ลดกว่าหกสิบจุด ต้องทำใจกับการเป็น vi



#18 กีรเต้

กีรเต้

    เราเป็นอย่างไร เรารู้ตัวเอง

  • Validating
  • PipPipPipPipPip
  • 6,208 posts

ตอบ 4 มกราคม พ.ศ. 2557 - 15:22

 

จะเป็นลม เมื่อกี้เปิดเ้ข้าไปดูพอร์ต เลือดไหลไม่หยุด แงๆๆ

ผมช้อนหักวันที่ ลดกว่าหกสิบจุด ต้องทำใจกับการเป็น vi

 

คุยไรกัน

:blink:


ถึงสูงศักดิ์อัครฐานสักปานไหน.ถึงวิไลเลิศฟ้าสง่าศรี..ถึงเก่งกาจฉลาดกล้าปัญญาดี..ถ้าไม่มี "คุณธรรม" ก็ต่ำคน.... พระราชนิพนธ์ในล้นเกล้า รัชกาลที่ ๕ "   https://www.facebook...akwarakfromyala   https://www.facebook.com/NARAPEACE

 

 


#19 PATTON

PATTON

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 221 posts

ตอบ 6 มกราคม พ.ศ. 2557 - 15:43

เพิ่มเติม >>>>> Expanding rights for active citizen
การขยายสิทธิสำหรับประชาชนผู้ตื่นตัว

วิวาทะที่เกิดขึ้นในปัจจุบันคือการถกเถียงเรื่องความเท่าเทียมกันของสิทธิประชาชนในสังคม สิทธิการออกเสียงเลือกตั้งนั้นไม่ต้องสงสัย ควรเท่าเทียมกัน หนึ่งคนหนึ่งสิทธิ แต่สิ่งหนึ่งที่ยังค้างคา คือสิทธิสำหรับคนที่ตื่นตัวทางการเมือง สิทธิคนที่รู้เท่าทันและทำหน้าที่เตือนสังคมก่อนเกิดปัญหา 

Active citizen หรือประชาชนผู้ตื่นตัว ที่ทำหน้าที่ติดตามปัญหา และตรวจสอบการทำงานของนักการเมือง คนเหล่านี้ควรมีสิทธิพิเศษอะไรหรือไม่ ????

ในรัฐธรรมนูญสมัยใหม่เราให้สิทธิประชาชนผู้ตื่นตัวทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการลงชื่อเพื่อเสนอกฏหมาย ถอดถอนนักการเมือง หรือการร้องเรียนไปยังองค์กรอิสระต่างๆ หรือไม่ใช่ที่ประชาชนเหล่านี้คือผู้มีคุณูปการต่อคนในสังคม 

แต่...... กฏหมายกี่ฉบับที่ประชาชนเสนอค้างอยู่ในสภา การลงชื่อถอดถอนนักการเมืองกี่ครั้งที่ไม่เคยนำไปสู่การพิจารณา กระบวนการรับฟังความเห็นประชาชนดูถูกประชาชนผู้ตื่นตัวมากแค่ไหน 

ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม เราต้องการประชาชนผู้ตื่นรู้ ผู้ทำหน้าที่เสนอแนะ ตรวจสอบ และติดตามการทำงานของรัฐบาล 

ผมพูดเสมอว่าการเลือกตั้งคือการนับหนึ่ง เป็นกระบวนการนำไปสู่เป้าหมายที่ผู้ลงคะแนนเสียงต้องการ 

ถ้าในระหว่างการทำงานของรัฐบาลที่ชนะการเลือกตั้ง มีการกระทำที่ขัดต่อเจตจำนงค์ของผู้ลงคะแนนเสียง เราจะทำอย่างไร ? 

ใครคือผู้ตรวจสอบ ใครคือผู้ส่งเสียงเตือนประชาชนด้วยกัน หากไม่ใช่ Active citizen

สิทธิการเลือกตั้งเป็นของทุกคน แต่การแสดงความละเลยต่อสังคมที่บอกว่า ก็ในเมื่อเสียงส่วนใหญ่เลือกมาก็ต้อง "ทน" จนกว่าจะเลือกตั้งใหม่ มันคือสิ่งที่ถูกหรือไม่ ?

วันนี้เราไม่ควรจำกัดสิทธิของผู้ตื่นตัวทางการเมือง ประชาชนที่ออกมาตักเตือนรัฐบาลเมื่อทำผิด ควรได้รับสิทธิพิเศษบางอย่างมากกว่าประชาชนผู้ใช้สิทธิแค่เลือกตั้ง อย่างน้อยประชาชนที่อดทนเพื่อใช้สิทธิเลือกตั้งอย่างเดียวก็ควรเปิดโอกาส และยอมรับการมีอยู่ของความตื่นตัวทางการเมือง คนที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ การกระเสือกกระสนทำหน้าที่แทนคนอื่นในสังคมควรเป็นที่ชื่นชม 

เราไม่ได้ทะเลาะกันเรื่องการจำกัดสิทธิการเลือกตั้ง ไม่มีการพูดเรื่องการศึกษากับการเลือกตั้ง ไม่แบ่งเขตเมืองเขตชนบท แต่เรากำลังถามหาสิทธิพิเศษสำหรับคนที่เสียสละติดตามการทำงานของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง 

เราทำได้แล้วนะครับ การออกมาของประชาชนแม้จะภายใต้การนำของพรรคฝ่ายค้าน แต่วันนี้สังคมไทยเปลี่ยนไปแล้ว ประชาชนเป็นที่น่าเกรงขามขึ้น คิดให้ดีเราจะปฏิรูปการเมืองด้วยการทำตัวให้เป็น active citizen หรือรอคนบางกลุ่ม บางคนที่มาทำหน้าที่แทนเรา สภาประชาชนที่มาจากการแต่งตั้งของใครบางคนสำคัญกว่ามวลมหาประชาชน เหรอ

การปฏิรูปคือการสร้างกลไกที่ประชาชนผู้ตื่นตัว มีเสียงดังกว่าที่เคยเป็น รัฐบาลต้องฟังคนกลุ่มนี้ มากกว่าคิดจะตามใจประชาชนผู้อดทนและคิดว่าสิทธิตนมีแค่ตอนเลือกตั้ง 

การที่คุณโดนจับผิดได้ คุณต้องยอมรับ อย่ามาแถว่าคุณมีเสียงจำนวนมากจากการเลือกตั้ง ช่วงเวลาเปลี่ยน วันที่คุณได้รับการเลือกตั้ง คุณไม่ได้ทำเลว แต่วันที่คุณโดนจับได้ คุณทำเลวไปแล้ว เอาการยอมรับในอดีตมารับประกันปัจจุบันไม่ได้

ผมท้าทายนักวิชาการทุกฝ่าย ว่าสิทธิของ active citizen ต้องมากกว่า ประชาชนผู้เฉยชา 
การเลือกตั้งเป็นแค่วันเริ่มต้นในการเฝ้าดูรัฐบาลที่เราเลือกมาทำงานตามเจตคจำนงค์ของเรา 

อย่ามาผิดทางทะเลาะกันเรื่องสิทธิเลือกตั้ง 
อย่ามาตั้งแง่เรื่องชนชั้น และความไม่เท่ากันของคนในสังคม 

แต่ต้องยอมรับคนที่เข้ามาทำหน้าที่บางอย่างแทนเรา ในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล 

ขยายสิทธิประชาชนผู้ตื่นตัวทางการเมือง สร้างประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ลดการอ้างสิทธิจากคะแนนเสียงเลือกตั้ง 

 

เข้าใจผมนะครับ
 
>>>> ................ไม่เกี่ยวกับ เศรษฐกิจ โดยตรงหร่อกครับ เเต่ เห็นพูดกันเยอะยังเลยอยากตะโกนดังๆที่ไหนสักที่ ว่า
"1 คน 1 เสียงเท่ากันไม่มีปัญหา
 
แต่ 1 เสียงที่ทุ่มเทเพื่อการตรวสอบ ต้องมีกลไกอะไรบางอย่างรองรับ 
 
Active citizen ต้องได้รับการขยายสิทธิ 
 
คุณเลือกตั้ง แล้วอายที่เลือกคนโกงกินมา 
คุณอายจนขีดเส้นขึ้นมาเส้นหนึ่ง ปกป้องคนที่คุณเลือก ไม่ให้ใครล้ำมา 
 
แล้วก็ด่าคนที่อยู่นอกเส้น ต่างๆนานา
ผมขอตรวจสอบคุณก็ด่า มันเป็นประชาธิปไตยตรงไหน
 
ประชาชนผู้ตรวจสอบต้องได้รับการยอมรับ
 
อย่าให้วาทกรรม ครอบงำนะครับ "
 
 
>>>>มีคนไม่เข้าใจอีกเยอะนึกว่า เวลานี้บ้านเมืองคนออกมาทะเลาะ กัน เเต่นั้นไม่ใช้เลย ไม่ตรงกับความเป็นจริงเลย เวลานี้ คือ >>>>"การต่อสู้ของประชาชนที่ตื่นรู้รักชาติกับระบบนายทุนนักการเมื่องที่ใช้ ปชต.เป็นเครื่องมือฉ้อฉล โกงกิน อย่างถูกกฏหมาย" ส.ศิวรักษ์ 
 
<<<< จะเเก้ปัญหาในระบบได้อย่างไร ในเมือผู้มีอำนาจใช้ระบบเพื่อหาประโยชน์ สวยงามครับ ประชาธิปไตย หลักการประชาธิปไตยคือคำตอบของทุกอย่าง ......... ??????

แต่ผมว่าคุณก็ตอบใครในสังคมไม่ได้เหมือนกันว่า เราจะแก้ไขความไม่ชอบธรรมในการบริหารประเทศ ที่ทำโดยอ้างความชอบธรรมจากกติกาประชาธิปไตยได้อย่างไร


Edited by PATTON, 8 มกราคม พ.ศ. 2557 - 11:13.


#20 TypeYourMind

TypeYourMind

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,162 posts

ตอบ 6 มกราคม พ.ศ. 2557 - 16:28

ผมไม่มีบทวิเคราะห์อะไร แต่ขอมาแชร์สิ่งที่ คนเมืองอย่างผมยังพบเจออยู่

 

คือ ผู้คนที่มีการศึกษา มีตำแหน่ง โตพอจะเรียกว่าผู้ใหญ่ทั้งที่บ้าน และที่ทำงาน

 

"บางคน" ยังมีความคิดมักง่าย "นายว่าขี้ข้าพลอย"

 

"บางคน" ณ เหตุการณ์ปัจจุบันใหญ่สุดบนโต๊ะอาหาร สำรากความคิดแบบเสื้อแดง เห็นดำเป็นขาว แกล้งมองขาวไม่เห็น

 

ย้ำนะครับว่า "บางคน"

 

ณ จุดที่ (ผมตั้งความหวัง) กำนัน คณะทำงาน และผู้ชุมนุม (รวมผมอีก 1) ปฏิบัติการขับไล่ความระยำของพวกขาย พวกทำลายชาติ สถาบัน

 

ผมหวังว่า "บางคน" เหล่านี้ จะเปลี่ยนความคิด และทัศนคติเสียที (ฝันสูงไปมั้ย 555)

 

หวังว่าจุดนี้แหละคือจุดเริ่มต้นของสิ่งดี ๆ ที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทย ^ ^


.. ถ้ากุลีมีสิทธิเท่าบัณฑิต .. บัณฑิตจะลงทุนเรียนกันไปทำไม??? .. ประชาธิปไตยมันว่าด้วยเรื่องเสียงข้างมาก .. ฉะนั้น ประเทศไหนที่เสียงข้างมากไม่มีการศึกษา ประเทศก็ล่ม .. เพราะกุ๊ยซื้อกุ๊ย และกุ๊ยเลือกกุ๊ยแน่นอนครับ

#21 PATTON

PATTON

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 221 posts

ตอบ 7 มกราคม พ.ศ. 2557 - 01:31

ไปเจอบทความนี้มาเก็บเอาไว้อ่านเล่นๆนะครับ

 

มีการถกเถียงเรื่อง ชนชั้นกลางเมืองชอบดูถูกคนบ้านนอกว่าไม่จ่ายภาษี โดยยกเรื่องภาษีทางตรง ภาษีทางอ้อมมาประกอบ ว่าคนจนก็จ่ายภาษีนะ 

ผมกลัวว่าจะไปกันใหญ่ เลยขอเล่าหลักการภาษีตามประสาคนได้ D วิชานี้ อะไรผิดพลาดก็หวังว่า เพื่อนๆ ที่ได้ A ได้เหรียญทอง เหรียญตราเกียรตินิยม จะเข้ามาเสริม 

//////////////////////////////////// 

เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา อ. ยุกติ มุกดาวิจิตร เท่มาก ฉีกกระดาษบนเวทีที่ มธ. บอกว่ามายาคติของคนกรุงที่มีต่อชาวบ้านเรืองนึงคือการดูถูกว่าไม่เสียภาษี แล้วก็ยกตัวเลขว่าภาษีทางอ้อม (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) สูงกว่าภาษีทางตรงมาก พูดเหมือนให้เข้าใจว่า ชาวบ้านต่างจังหวัดที่มีจำนวนมากกว่าคนในกรุง จ่ายภาษีมากกว่า ซึ่งผมไม่ถกเถียงเรื่องใครจ่ายมากกว่าใคร เพราะไม่อยากเป็นคนยั่วให้เกิดสังคมชนชั้น แบบ อ.เค้า

แต่ถ้าเราจะถกเถียงเรื่องภาษีทางตรง ภาษีทางอ้อม เพียงอย่างเดียว 
เราคงไม่ได้คำตอบที่ถูกต้องนัก

ภาษีที่เราจ่าย ไม่ได้ แบ่งเป็นทางตรง (จ่ายจากรายได้ของผู้เสียภาษี) , 
หรือ ทางอ้อม (จ่ายจากการซื้อสินค้ามาใช้) อย่างเดียว แต่หลักการภาษียังสามารถแบ่งเป็

หลัก use tax rule/Usage Rule กฏการจ่ายภาษีจากการใช้โดยตรง (บางประเทศเรียก sale tax ) กับหลัก Ability to pay จ่ายภาษีตามความสามารถในการจ่าย 

พอเราดูหลักคิดวิธีการเก็บภาษี เราจะเห็นความแตกต่างของภาษีทางตรง และทางอ้อม ทันที

ภาษีทางอ้อม เป็นหลักการเท่าเทียมกันของการจ่ายภาษี โดยดูจากการบริโภค อุปโภคจริง คุณซื้อสินค้ามากินมาใช้เท่าไหร่ก็จ่ายภาษีไปเท่านั้น 

ในเมืองไทยภาษีนี้เดิมเรียกภาษีการค้า พ่อค้าเป็นคนจ่ายจากกำไรของธุรกิจ แต่เกิดความซ้ำซ้อน หลบเลี่ยงภาษี จึงเปลี่ยนมาเป็น VAT เมื่อ 1 ม.ค. 35 (บางคนอาจเพิ่งเกิด แต่หลายคนจบ ปริญญาแล้ว อิ อิ)

การเก็บภาษีด้วยหลักการนี้ เป็นความเท่าเทียมกันของการจ่ายภาษีไม่ว่าคุณจะยากดีมีจนเพียงใด เมื่อคุณจับจ่ายคุณต้องเสียภาษีในอัตราเดียวกันหมด ของไทยคือ 10% แต่เราออกกฏหมายลดเหลือ 7% มานานแล้ว 

ส่วนหลัก Ability to pay เป็นหลักการเก็บภาษีแบบก้าวหน้า คนที่มีรายได้มาก ต้องจ่ายภาษีในอัตราที่มากกว่าคนอื่น ในฐานะมีความสามารถมาก

ผมถามคำถามแบบเห็นแก่ตัว แล้วเรื่องภาษีทำไมไม่ยึดหลักความเท่าเทียมกันหล่ะ ???

นาย XXX ประสบความสำเร็จในการเรียน จบออกมาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ คะแนนดีเยี่ยม ได้เงินเดือนเริ่มต้น 50,000 บาท นาย xxx จ่ายภาษีแล้วทันที

นาย YYY ไม่ชอบเรียน เลือกเรียนจากมหาวิทยาลัยที่จบง่าย คณะที่ไม่ยาก จบมาทำงานในวุฒิที่ต่ำกว่าที่ตนเองจบได้เงินเดือน 15,000 ไม่จ่ายภาษี 

เริ่มเห็นประเด็นกันแล้วใช่มั้ยครับ 

ภาษีตามหลักคิด Ability to pay เป็นการบังคับ ให้คนที่มีความรับผิดชอบ รับผิดชอบต่อสังคมมากยิ่งๆ ขึ้น เอ้านี่ผมพูดตามเนื้อผ้านะ ชวนให้คิดก่อน เดี๋ยวผมมีคำตอบให้

แท่น แทน แท๊น เอาหล่ะ ต่อจากนี้ผมจะเริ่มการจับแพะชนแกะ ให้ดู

จากหลักคิดภาษี ที่ยอมให้คนที่รับผิดชอบมากกว่า อาสาจ่ายภาษีจำนวนมากๆเพื่อคนในประเทศแล้ว ยังนำไปสู่การเกิดขึ้นของ Sense of ownership ... ความรู้สึกเป็นเจ้าเข้าเจ้าของ 

เคยเห็นวัดที่มีชื่อผู้บริจาคแปะตรงนู้นตรงนี้มั้ยครับ ทั้งที่จ่ายเงินเพื่อสาธารณะประโยชน์ แต่ก็อดที่จะแสดงความเป็นเจ้าของไม่ได้ ลูกหลานเดินไปไหนก็ภูมิใจ กำแพงยายกู ซุ้มประตูปู่ ศาลาย่าทวด 

คปฏิเสธไม่ได้หรอกครับว่า คนที่จ่ายภาษีในอัตราก้าวหน้าทั้งหลายก็อดคิดแบบนี้ไม่ได้เช่นกัน ดังนั้นั้นวาทกรรม ชั้นจ่ายภาษี ชั้นมีสิทธิมากกว่า จึงไม่ค่อยจะน่ารังเกียจเท่าไหร่ ถ้า ไม่ได้เอาวาทกรรมนั้นมาดูถูกคนอื่น หรือเอามาอ้างเพื่อที่จะเลี่ยงการจ่ายภาษี และที่สำคัญ มันไม่ใช่มายาคตินะครับ อ.ยุกติ เค้าคิดอย่างนั้นได้ และเค้ามีหลักการสนับสนุนให้คิดแบบนั้นได้เช่นกัน

ในทางส่งเสริมสังคม วาทกรรม "ชั้นจ่ายภาษีมากกว่า" จะได้ผลอย่างมาก ถ้าอ้างเพื่อเรียกร้องสิทธิอะไรบางอย่าง เช่น สิทธิตรวจสอบ สิทธิตั้งคำถาม 

เจ้าอาวาสคะ ในฐานะที่หนูเป็นหลานย่าคนสร้างโบสถ์ การที่เจ้าอาวาสอนุญาตให้เณรนอนด้วยกันสองต่อสองผิดวินัยสงฆ์มั้ยคะ แต่ละคนก็ตุ้งติ้งเหลือหลาย หรือบางคืนเจ้าอาวาสไปร่วมด้วยคะ 
หรือเจ้าอาวาสคะ เงินทอดกฐินปีนี้ ทำไมเจ้าอาวาสเอาไปสร้างเทวรูป เทวดาอะไรอยู่ได้คะ โรงเรียนวัดอาคารผุพังทำไมไม่เอามาซ่อมคะ 

แบบนี้ถือเป็น มายาคติ กดคนจมดินหรือเปล่าครับ 

ความรู้สึกเป็นเจ้าของ ความรู้สึกเสียดายเงิน ความรู้สึกเหมือนโดนเอาเปรียบ มันรู้สึกจริงๆนี่ครับ ไม่ได้ไปมายาเสแสร้งตรงไหน 

แยกให้ออกนะครับ ว่าเค้ารู้สึกกับภาษีก้อนไหนที่จ่ายออกไป

สุดท้าย ที่ผมยั่วให้คิดข้างต้น ว่าแบบนี้คนที่ขยันทำงานเยอะๆ ก็ไม่ยุติธรรมสิ ตามมาอ่านให้จบก่อนครับ ค่อยโวยวาย

สิ่งที่เราควรคุยกันให้เข้าใจ คือเรื่องของ หน้าที่ของภาษี ในการกระจายรายได้ ของสังคม 

use tax rule ไม่ปราณีต่อคนจนนะครับ คนต้องกินต้องใช้เท่ากัน สมมุติเดือนละ 1000 บาท 
คนจนมีรายได้ 10,000 บาทจ่ายภาษี 70 บาท 0.7% ของรายได้
คนชั้นกลางมีรายได้ 15,000 บาท จ่ายภาษี 70 บาท 0.47% ของรายได้
คนชั้นกลางรวยกว่า มีรายได้ 20,000 จ่ายภาษี 70 บาท 0.35% ของรายได้

จะเห็นว่าระบบภาษีทางอ้อมแบบนี้ ทำให้คนจน มีภาระภาษีมากกว่าคนรายได้มาก 
รัฐจึงต้องลดภาระอื่นๆ ให้พวกเค้าแทน เช่น ภาระค่ารักษาพยาบาล ภาระค่าศึกษาบุตร ภาระค่าเดินทาง ฯลฯ

แล้วรัฐจะเอาเงินมาจากไหนมาแบ่งเบาภาระของคนจนหล่ะครับ รัฐก็ต้องเอามาจาก ภาษีทางตรง โดยเฉพาะคนรวยๆๆๆๆๆๆๆ มากๆๆๆๆๆๆๆๆ

เพราะคนรวยมากๆ ใช้จ่ายเงินมากไปก็จะทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ (อันนีไม่ค่อยใช่หรอก แต่ยกมาเพื่อเป็นข้ออ้างเก้บภาษีอัตราก้าวหน้าสูงๆ อิ อิ ) 
แต่เหตุผลที่ควรเก็บอัตราก้าวหน้าเยอะๆ เพราะการที่คนรวยยิ่งรวย ก็จะยิ่งเข้าครอบครอง ทรัพยากรการผลิตมากขึ้น ก็จะนำไปสู่การผูกขาดของทุน ซึ่งช่องว่างรายได้ก็จะถ่างมากขึ้น คนจนยิ่งจนภาระของรัฐก็หนักขึ้น

การใช้ภาษีให้เกิดประโยชน์ มากยิ่งขึ้นไปอีก นอกจากการแบ่งเบาภาระของคนจน ก็คือการส่งเสริมให้คนจนเข้าถึงโอกาสมากขึ้น 

คุ้นๆมั้ยครับ หลักคิดแบบนี้ ทักษิณ 1 ชัดๆ แต่หลังจาก ทักษิณ 1 แล้วหายไปไหนหมดครับ 
มีแต่มาตรการประชานิยม แจก แจก แจก คนจน ส่งเสริมคนรวยให้รวยยิ่งๆ ขึ้นไป แล้วใครซวยครับ 

ชนชั้นกลางในเมืองครับ ซวย 

เป็นชนชั้นกลาง นักวิชาการก็ด่า เสื้อแดงก็แขวะ วันดีคืนดี ก็ยุให้ชาวบ้านเกลียดอีก เค้ามีแต่สงครามชนชั้น คนจนกับพวกศักดินา นายทุนใหญ่ นี่นักวิชาการไทยสร้างสงครามชนชั้นระหว่างคนจน กับชนชั้นกลาง เฮ้อ ประเทศเอน็จอนาจใจ

ปล. บทความนี้ในแง่ความเป็นวิชาการ มีการลดทอน หลักฐาน ข้อสังเกตุ หรือ ข้อจำกัดบางเรื่องไว้ เพื่อให้การอธิบายเข้าใจง่ายๆ นะครับ 

ถ้าสนใจก็สามารถค้นหาความรู้เพิ่มเติมได้ ตามห้องสมุดทั่วไป google ไม่พอนะจ๊ะ เด็กๆ



#22 PATTON

PATTON

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 221 posts

ตอบ 7 มกราคม พ.ศ. 2557 - 01:39

เอาไว้อ่านเล่นๆเรื่องข้าวตามรอย : ข้าว : หายนะ หรือไม่

~~~~~~~~~~~~~~~~~
วันก่อนๆ ผมไล่เรียงเนื้อหาต่างๆ เป็นข้อความ อาจดูยากสักนิด

วันนี้ขอใช้รูปจาก กรุงเทพธุรกิจ มาประกอบข้อมูลกันอีกครั้ง
~~~~~~~~~~~~~~~~~
ลองพิจารณากันนะครับ ว่าประเทศไทย เสียหายจาก โครงการจำนำข้าว จริงหรือไม่ ?

บริหารแบบนี้ ............ เอาอีกไหม ?????

ล่าสุด ก.คลัง ออกมาแถลง หรือ มาเรียกขู่เรียกค่าไถ่ล่วงหน้ามิทราบ

"โครงการจำนำข้าว ต้องรอดูรัฐบาลต่อไป ว่าจะมีนโยบายยังไง"
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
นี่ขู่กรรโชก กันอีกแล้วหรอ ยังไม่ทันเลือกตั้ง 

ก็บังคับให้ชาวนาเลือกกันแล้วหรอครับ.......โธ่เอ๊ยประเืทศไทย

ไม่เลือก ไม่จำนำ ............. เวรกรรมชาวนาแท้ๆ
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
มีความเห็นบางคน กล่าวหาผมว่า "ผมไม่อยากเห็นชาวนามีรายได้มากขึ้น"

....................... น่าเสียใจครับ ที่คิดแบบนี้

ชาวนาได้เงินมากขึ้นน่ะดีครับ แต่ควรทำแบบนี้หรือ ?

ไม่มีวิธีอื่นสนับสนุนหรือไร ไม่ใช่แต่ พรรคเพื่อไทย , ประชาธิปัตย์มาประกันราคาข้าว

ผมก็ไม่ชอบเช่นกัน

เพราะ รัฐฯ ละเลยการสนับสนุนให้ ชาวเกษตร ยืนได้ด้วยลำแข้งตัวเอง

ส่งเสริมในด้านที่ไม่ยั่งยืน ไม่สนับสนุนการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต พัฒนาคุณภาพ ก็แย่แล้ว

กลับเน้น การกู้ยืมล่วงหน้า เพิ่มภาระหนี้สินให้กับชาวนา

นั่นยังไม่ร้ายเท่า "ทุจริตกับประเทศ และภาษีของทุกคน"

ข้อเท็จจริงอีกด้านคือ แม้ชาวนาจะได้เงินเพิ่มขึ้น เฉลี่ย ตันละ 1-2,000 บาท

แต่ต้นทุนสูงขึ้นตาม และภาระหนี้สินเพิ่มขึ้น 

ตกลง.......ช่วยชาวนา หรือ ช่วยใคร ?
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
นโยบายแบบนี้....ขู่ชาวนาแบบนี้.......ดีหรือครับ ?

photo.php



#23 PATTON

PATTON

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 221 posts

ตอบ 8 มกราคม พ.ศ. 2557 - 12:18

บทความเรื่องรถไฟความเร็วสูง  ในลาว เเละระบบ4G บทความนี้จะเรียกว่าข้อเท็จจริงได้ไหม ก็คงได้ อะ นะ ผมก็เพิ่งรู้ เหตุผลที่ลาวเลือกใช้ระบบ 4G

1601507_10202598810589780_1007791370_n.jpg รูปที่เห็นเป็นโครงการรถไฟของประเทศ ลาว 
เส้นทางแรก เป็นเส้นทางจากจีนตัดเข้าลาว ต่อเข้าหนองคาย ลงท่าเรือแหลมฉะบัง หรือต่อเข้า มาเลเซีย ด้านตะวันตกเพื่อลงท่าเรือแคลง มาเลเซีย หรือต่อไปท่าเรือสิงคโปร์ เป็นการสร้างเส้นทางขนส่งของจีนโดยไม่ต้องอ้อมทะเลจีนใต้ และทะเลที่เป็นข้อพิพาทกับ ฟิลิปปินส์ และเวียตินาม

เส้นทางนี้ ประเทศจีนจะลงทุนก่อสร้างทั้งหมด แต่ปัจจุบันติดปัญหาบางประการ ยังไม่มีความคืบหน้า ซึ่งคล้ายกับเส้นทางคุนหมิง พม่าที่ปัจจุบันก็ยังไม่คืบหน้าเช่นกัน

ส่วนเส้นทางที่สองเป็นเส้นทางด้านล่าง จาก ลาวบาวชายแดนเวียตินาม ไปสะหวันเขต เข้ามุกดาหารและก็เช่นเดิม วิ่งหาทางลงทะเล แต่มีความเป็นไปได้ที่โครงการนี้ต้องไปลงทะเลที่มาเลเซีย เพราะผู้ที่ได้สัมปทานเดินรถไฟในลาว คือ Giant Consolidated บ.เอกชนจากมาเลเซีย โดยจะลงทุน 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่จะได้อายุสัมปทาน 50 ปี รวมถึงธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ในสถานีต่างๆของลาว 11 สถานี 

ทั้งสองโครงการ เริ่มต้นประกาศไปตั้งแต่ 2555 และมีการเริ่มคุยกันตั้งแต่ก่อนหน้านั้นหลายปี 

เมื่อปี 52 - 53 รัฐบาลอภิสิทธิ์ คุยกับจีนเรื่องเส้นทาง จีน ลาว(เวียงจันทร์) หนองคาย กรุงเทพ ลงใต้ ไปมาเลเซีย โดยตั้งใจจะให้เป็นรถไฟความเร็วกว่า คือความเร็วประมาณ 120 - 150 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพราะต้องการใช้ขนส่งสินค้าเป็นหลัก ไม่ใช่มาตำน้ำพริกละลายแม่น้ำเป็นความเร็วสูงที่ 250 กม/ชม.ขึ้นไป เพราะต้นทุนจะแพงเกินกว่าที่จะขนส่งสินค้าทั่วไป 

ส่วนทางรถไฟสายล่างที่ บ.มาเลฯได้สัมปทานไป ก็เป็นรถไฟความเร็วปรกติคือ 120 กม/ชม แต่สร้างโครงสร้างพื้นฐานรองรับรถไฟความเร็วสูงกว่านั้นในอนาคต

ดังนั้น ที่เอามาแชร์ ด่ากัน แม่งมั่วไอ้บ้า ไอบื้อ ไอ้เสร่อ เอาข่าวเก่ามาเล่น แล้วก็มั่วข้อมูล รู้ไม่จริง ข่าวเค้าออกมาตั้งกะปี 55 ขุดเอามาด่าคนอื่น

แล้วถามจริงๆนะ เอามั้ยครับ สัมปทาน 50 ปี ให้บริษัทต่างชาติ เอามั้ย 
อย่ามาเล่นข่าวตีวัวกระทบคราด ด่าคนไทยกันเองเลย เบื่อ 

และตั้งแต่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ปัญญาอ่อนไม่สนใจประเทศเพื่อนบ้าน จะทำรถไฟความเร็วสูงไปเชียงใหม่ก่อน โดยอ้างว่าเพื่อรองรับ ASEAN ถามหน่อยเถอะ มีโครงการรถไฟจากประเทศเพื่อนบ้านไหนบ้างครับ ที่มาเชียงใหม่ 

รัฐบาลอภิสิทธิ์ เค้าคุยกับจีนแล้วว่าไปเจอกันที่หนองคาย แต่เพื่อไทยเล่นแต่การเมือง กลัว ปชป.อ้างเป็นผลงานตน เลยไม่ให้หนองคายเป็นความสำคัญอันดับแรก 

แล้วขอเถอะครับ การที่เอาประเทสเพื่อนบ้านมาอ้างอิงเพื่อด่ากันเอง เพื่อนบ้านเค้าไม่สบายใจ เช่น บอกว่าลาวเค้ามี 4G นะ มีรถไฟความเร็วสูง แล้วมันทำไมครับ ประเทศเค้ามีไม่ได้เหรอ 

ในเมื่อเค้าไม่มีการวางระบบสายสัณญานอินเตอร์เนตไว้ก่อน เลยต้องใช้ 4G แทน เพราะ 4G ไม่เน้นการติดต่อด้วยเสียง เน้นการส่งข้อมูล เข้าใจมั้ย มันเป็นการมาทีหลัง ไทยเรามีโครงข่ายสายทั้งทองแดง ทั้งไฟเบอร์ออปติก ลงทุนมาไม่รู้กี่หมื่นกี่แสนล้าน จะเอา 4G ไปทำแป๊ะอะไรตอนนี้ ใช้ให้คุ้มก่อนเหอะ เอาไฟเบอร์ออปติกที่วางทั่วเมืองมาทำเป็น WIFI เฉพาะจุดก็พอ ไม่ตอ้ง 4G รู้ไม่จริงก็เอามาด่ากันเอง

ส่วนรถไฟความเร็วสูงก็ให้ดูแล้วกัน ลาวบาว ไปสะหวันเขตระยะทาง 220 กิโลเมตร รถไฟความเร็วสูงที่ไหนมันจะวิ่งทำความเร็วได้ ระยะทางแค่นี้ พอได้ความเร็วสูงสุด ก็ต้องชะลอพอดี 

 

 

 

>>>>>>> คุ้มทุนที่ คนเดินทาง 30,000 คนต่อวัน   ถ้าจำนวนคนเท่านี้รถไฟตัองออกทุกชม

 

>>> สื่อนอกสับโครงการรถไฟความเร็วสูงรัฐบาลปู ชี้ไม่ตอบโจทย์พัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทย เชื่อการกู้เงินซ้ำเติมหนี้สาธารณะให้มากยิ่งขึ้น

 

ดิอิโคโนมิสต์วิจารณ์โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงและการโรดโชว์ “สร้างอนาคตไทย 2020” ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ว่า โครงการนี้อาจไม่ตอบโจทย์การพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวไทย โดยแจงหลักฐานว่า จำนวนผู้โดยสารรถไฟในรอบ 20 ปีที่ผ่านมาหดตัวลงจาก 88 ล้านคนต่อปี เป็น 46 ล้านคนต่อปี

สิ่งพิมพ์ดังรายงานเพิ่มเติมว่า แผนการสร้างทางรถไฟของรัฐบาลที่ต้องทุ่มงบมูลค่ากว่า 2 ล้านล้านบาท และต้องจ่ายดอกเบี้ยกว่า 3 ล้านล้านบาท ในอีก 50 ปีนั้น ถือเป็นความพยายามเที่ยวล่าสุดที่จะผลักดันโครงการเมกะโปรเจกต์หลังจากประเทศไทยไม่มีโครงการลักษณะนี้มาตั้งแต่ปี 1997 และเป็นความชาญฉลาดในการใช้งบประมาณซึ่งคิดเป็นมูลค่ากว่า 1 ใน 5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งในอีก 2 ปีข้างหน้า

อย่างไรก็ตาม ดิอิโคโนมิสต์แจงด้านบวกของโครงการว่า เมกะโปรเจกต์น่าจะทำให้เกิดการจ้างงานเพิ่มมากขึ้นกว่า 5 แสนตำแหน่ง แต่น่าเสียดายที่ตัวเลขผู้ว่างงานชาวไทยมีไม่ถึงตัวเลขดังกล่าว ฉะนั้นผลประโยชน์จึงน่าจะตกกับแรงงานต่างด้าว

สื่อมะกันยังวิเคราะห์อีกว่า เส้นทางรถไฟส่วนใหญ่ผ่านภาคอีสานและ จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นฐานเสียงของพรรคเพื่อไทย โดยละเลยประชาชนอีกกว่า 2 เท่า ซึ่งอาศัยอยู่ในจังหวัดอื่นๆ ดังนั้นการเดินเส้นทางรถไฟเช่นนี้อาจไม่ตอบวัตถุประสงค์ของรัฐบาลที่ต้องการลดค่าขนส่งโดยรวม รวมทั้งลดภาวะ “เมืองหัวโต” โดยการเชื่อมโยงต่างจังหวัดกับเมืองให้แรงงานไทยไม่ต้องย้ายถิ่นที่อยู่มาทำงานในเมืองใหญ่เท่านั้น

ดิอิโคโนมิสต์ปิดท้ายโดยเผยผลสำรวจจากธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด ที่ระบุว่า ครัวเรือนไทยเป็นหนี้คิดเป็นมูลค่ากว่า 68% ของค่าจีดีพี ซึ่งจำนวนนี้มากกว่าหนี้ที่พลเมืองในประเทศยักษ์ใหญ่อย่าง จีน (20%) อินเดีย (18%) อินโดนีเซีย (17%) ก่อขึ้น

ส่วนการกู้ยืมเงินสำหรับอภิมหาโปรเจกต์รถไฟความเร็วสูงจะซ้ำเติมให้ตัวเลขหนี้สาธารณะของไทยจาก 45% ต่อจีดีพีเลวร้ายขึ้นไปอีก หลังจากที่ตัวเลขนี้เคยลดลงตั้งแต่ปี 2006

 

ขอบคุณโพสทูเดย์ http://www.posttoday...็วสูงยิ่งลักษณ์

 

>>>>รูปนี้คือตารางเวลา และราคาของ Eurostar รถไฟความเร็วสูงวิ่งระหว่างลอนดอน ปารีส ระยะทาง 492 กิโลเมตร ในเวลา 2 ชั่วโมง 20 นาที รวดเร็วและสะดวกกว่าการเดินทางใดๆระหว่าง 2 ประเทศ

จากตัวเลขผู้โดยสารล่าสุด ยูโรสตาร์ รองรับผู้โดยสารวันละ 30,000 คน หรือปีละ 9.9 ล้านคน โดยคาดว่าปีหน้าจะมีผู้โดยสารแตะระดับ 10 ล้านคนเป็นครั้งแรก

ราคาบัตรโดยสาร เฉลี่ยอยู่ที่ 100 ยูโร (ถูกสุดตั๋วโปรโมชั่น 64.5 ยูโร แพงสุด 245 ยูโร ) เป็นเงินไทยประมาณ 4,500 - 11,000 บาท 

ดูทั้งจำนวนคนและค่าโดยสาร ยูโรสตาร์ น่าจะคุ้มค่าการลงทุนนะครับ แต่เอาเข้าจริงๆแล้ว ยูโรสตาร์ เพิ่งได้กำไรจากการดำเนินการในฐานะบริษัท stand alone ครั้งแรกเมื่อปี 2011 ทั้งที่เปิดมาตั้งแต่ 1994 

แน่นอนครับ ประเทศในยุโรปเค้าเข้าสู่ความเป็นรัฐสวัสดิการ ดังนั้นธุรกิจรถไฟความเร็วสูงรัฐออกเงินสนับสนุนให้อยู่แล้ว เรื่องขาดทุนจึงเป็นเรื่องปรกติของบริการสาธารณะอย่างนี้ 

ผมเองก็คงเห็นดีเห็นงามไปด้วยหากประเะทศไทยมีบริการสาธารณะ แบบรถไฟความเร็วสูงให้คนเดินทางไปไหนมาไหน สะดวกขึ้น โดยที่คนส่วนใหญ่ของประเทศ ไม่รู้สึกอะไรกับการเดินทาง 500 กิโลเมตรในราคา 4,500 บาท

รัฐสวัสดิการ บริการสาธารณะ อะไรก็ตามแต่ มันน่าจะเริ่มบริการจากคนที่มีปัญหาค่าครองชีพก่อนดีหรือไม่ 

รถไฟฟรีเดินทางจากกรุงเทพ เชียงใหม่ครั้งละครึ่งวัน มันไม่ได้ทำให้คุณภาพชีวิต หรือความสามารถในการทำมาหากินของคนรายได้น้อยดีขึ้นสักเท่าไหร่ เมื่อดูเหตุผลของคนที่ต้องการรถไฟความเร็วสูง ที่ต้องการให้คนเดินทางอย่างรวดเร็วเพื่อประสิทธิภาพการทำมาหากิน 

การขนส่งมวลชน คือบริการสาธารณะ ไม่เถียง 
รัฐต้องจัดการดูแลให้เท่าเทียมทั่วถึงยิ่งไม่เถียง 

ไม่คุ้มทุน ไม่เป็นอะไรถ้าบริการสาธารณะนั้น กระจายความเจริญและรายได้ให้คนทั้งประเทศ 

แต่รถไฟความเร็วสูง คือบริการสำหรับใคร คนจน หรือคนรวย ????

ไม่ต้องประชดหรอกครับว่าชนชั้นกลาง ในกรุงคงลั๊ลลา ดีใจขึ้นรถไฟความเร็วสูงกันหากมีใช้ แน่นอนครับ เพราะด้วยรายได้ พวกเค้าน่าจะพอจ่ายได้ และยิ่งดีหากรัฐช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายอีกทอดหนึ่ง ค่าตั๋วพันนิดๆ จากที่ควรจะเป็น 2 - 3 พันบาท คนชั้นกลางไปใช้บริการแน่ 

แต่..... ที่ชนชั้นกลางกรุงเทพแบบผม ค้านรถไฟความเร็วสูงเพราะอะไร

เพราะผมไม่อยากให้รัฐนำเงินของคนทั้งประเทศ มาอำนวยความสะดวกให้คนแบบผม ทั้งที่ในประเทศนี้ยังมีคนที่ลำบากกว่าผม และต้องการบริการสาธารณะด้านอื่นๆ มากกว่ารถไฟความเร็วสูง เช่นเครือข่ายรถไฟย่อยในภูมิภาค กระจายจากเส้นหลักไปจังหวัดใกล้เคียง เครือข่ายขนส่งในจังหวัดต่างๆ และ เครือข่ายการขนส่งเชื่อมโยงระดับอำเภอ 

ผมไม่เอารถไฟความเร็วสูง แต่ผมขอ ทางรถไฟ ไปถึงทุกจังหวัดแทนได้หรือไม่ ขอเครือข่ายทางรถไฟในภูมิภาคได้หรือไม่ โครงการไหนได้ประโยชน์มากกว่า 

การถกเถียงเรื่องนี้ อยู่บนพื้นฐานเรื่องการจัดการทรัพยากรงบประมาณของรัฐ ว่าจัดสรรงบประมาณเพื่อใคร และเพื่ออะไร 

ประสิทธิภาพของงบประมาณ มาจากการรับฟังปัญหาของคนทั้งประเทศ
หากถามคนทั้งประเทศ 67 ล้านคน คุณคิดว่า คำตอบเรื่องการขนส่งทางรางคือ 

อยากได้การเดินทางแบบความเร็วสูง หรือแค่เร็วขึ้น
อยากได้ เส้นทางใหม่ๆ หรือขยายความเร็วในเส้นทางเดิมๆ จังหวัดเดิมๆ 

อย่าให้แผนที่เส้นทางรถไฟหลอกตาคุณ เส้นรถไฟเป็นเส้นเล็กนิดเดียวไม่หนาใหญ่กินพื้นที่หากจะสเกลจริงที่ถูกต้อง 

ปล.การถกเถียงกับเหล่าเด็กๆ ความรู้น้อย สมองฟองน้ำที่ไปดูดซับข้อมูลของคนที่ตนเองรัก มาเถียงแทนไม่มีประโยชน์ หากเค้าไม่เปลี่ยนเป็นคนที่เปิดกว้างรับรู้ข้อมูลอย่างรอบด้าน

 

1424261_10202617070046255_1078698317_n.jpg

 

>>>>เส้นรถไฟ หนาปั๊ก หลอกลวงประชาชน สเกลจริง บางนิดเดียว ไม่ครอบคลุมคนทั้งประเทศอย่างเพียงพอ 1545769_10202623055915898_1258717348_n.jpg

 

 

>>>>>>>>อังกฤษ วางแผนจะขายยูโรสตาร์ ภายใน 2020 หลังจากประคับประคองมา ตั้งแต่ 1994

SB10001424052702304451904579237402193320892

 

 

>>>>>>สุวรรณภูมิ เป็นโครงการเพื่อแก้ปัญหา ทั้งเรื่องการจราจรติดขัด ดอนเมืองคับแคบไม่เพียงพอ 

รถไฟความเร็วสูง แก้ปัญหา อะไร
ผมเห็นส่วนใหญ่ พูดเรื่อง ขยายโอกาส ประโยชน์ในอนาคต ซึ่งเป็นเรื่องที่ต่างคนต่างคาดการณ์ ไม่ใช่ปัญหาที่มองเห็นได้ในปัจจุบัน 

การเดินทางปัจจุบัน ไม่สะดวก คนไม่สามารถเดินทางได้ อย่างนัั้นหรือ
การเดินทางช้าไป ช้าแค่ไหน ความเร็วเท่าไหร่ที่ต้องการ 
ต้นทุนพลังงาน ค่าใช้จ่ายทางราง ทำให้ค่าพลังงานต่อคนลดต่ำอยู่แล้ว ไม่จำเป็น ต้องลงทุนมหาศาลแด้วยโครงการ ความเร็วสูง 

รถไฟความเร็วสูงคิดค่าพลังงาน 0.033 หน่วยต่อคนต่อกิโลเมตร ค่าไฟหน่วยละ2 บาท การเดินทางทางรางอื่นๆ ก็ลดหลั่นลงมา ในระดับไม่แตกต่าวงกัน

กรุงเทพเชียงใหม่ ค่าพลังงาน คนละ 50 กว่าบาท แต่ราคาตั๋วที่แพง พันกว่าบาท คือค่าอะไร 

ค่าโครงสร้างที่มหาศาล หลายแสนล้านบาท ใช่หรือไม่ ???
ถ้าอย่างนั้น เราใช้การเดินทางด้วยรางประเภทอื่น ก็ประหยัดพลังงานได้สิ ???? 

ย้ำอีกครั้ง รถไฟความเร็วสูง คุ้มค่ามากขึ้นเมื่อต่อเชื่อมกับ ประเทศเพื่อนบ้าน 

ยิ่งลักษณ์ ไป มาเลเซียหลายหน ทำไมไม่สามารถต่อเส้นจาก สิงคโปร์ กัวลาลัมเปอร์ ให้มาถึงหาดใหญ่หล่ะ 

เส้นทางจากจีนเข้าลาว ทำไมไม่รีบไปรับที่หนองคายหล่ะ 

นั่นแหละ จำนวนคนที่คุ้มค่า และประโยชน์ จริงๆ 

เลิกเพ้อเรื่องเชียงใหม่ได้อแล้วครับ เชียงใหม่เจริย โดยไม่ต้องมีความเร็วสูงหรอครับ 

และถ้า สถานีต้องอยู่นอกเมือง อย่างที่วางแผนไว้ door to door time รถไฟความเร็วสูง โดนเครื่องบินกินขาดครับ เพราะสนามบินเชียงใหม่ แทบจะอยู่กลางเมืองแล้ว ครับ

 

>>>>>>>  Low cost airline ขยายได้ไม่มีเต็ม ที่สนามบินส่วนอาคารผู้โดยสารมันเต็มเพราะทักษิณจะรีบสร้างให้เสร็จทันสมัยตัวเองยังเป็นนายก เลยให้ตัดอาคารผู้โดยสารออกครึ่งหนึ่ง ทำให้อาคารผู้โดยสารของสุวรรณภูมิ เล็กเท่ากับสนามบินดอนเมือง ซึ่งไม่พอรองรับแน่นอน


Edited by PATTON, 12 มกราคม พ.ศ. 2557 - 02:48.


#24 PATTON

PATTON

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 221 posts

ตอบ 10 มกราคม พ.ศ. 2557 - 01:45

บทความของ อจ.หนุ่มไฟเเรงท่านหนึ่ง

ครม.เศรษฐกิจกังวล ปี 57 GDP โต 3 - 3.5% 
อ้าง เพราะไม่สามารถ เบิกจ่ายงบน้ำ 3.5 แสนล้าน และงบคมนาคม 2 ล้านล้านได้ 

เออกลายเป็นความผิดซะงั้น 
ตกลงประเทศไทย งบประมาณแผ่นดินไม่พอให้ ศก.เติบโตใช่มั้ย 
ลำพังเงินที่เก็บจากภาษีประชาชน แล้วเอามาใช้จ่ายเนี่ย เศรษฐกิจประเทศไม่เติบโตเลยงั้นเหรอ

โหแบบนี้ก็ต้องกู้ล้างผลาญไปเรื่อยๆ สิ 

แต่เท่าที่รู้ โดยทั่วไปถ้ารัฐบาลกู้เงินหรือพิมพ์เงินเพิ่มมักจะเกิดจากสาเหตุเศรษฐกิจตกต่ำไม่ใช่เหรอ อย่างเงิน IMF เงินโครงการมิยาซาว่า ตอนวิกฤติต้มยำกุ้ง หรือเงินไทยเข้มแข็ง เช็คช่วยชาติ ตอนแฮมเบอร์เกอร์ไครซิส 

แล้วรัฐบาลยิ่งลักษณ์ มันมีปัญหาอะไร จึงต้องกู้มากระตุ้นเศรษฐกิจครับ 

ปัญหาเกิดจากปัจจัยภายนอก หรือ รัฐบาลสร้างให้เกิดปัญหาเอง 

ใช้จ่ายงบประมาณไม่มีประสิทธิภาพ จากโครงการต่างๆที่เงินไปจมอยู่กับใครบางกลุ่มจนไม่เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจหรือเปล่า ไหนบอกว่าแต่ละโครงการจะกระตุ้นเศรษฐกิจไง จำนำข้าว รถคันแรก ค่าแรง 300 เหตุผลที่รองรับให้โครงการเหล่านี้เกิด ก็เพื่อกระตุ้น GDP ทั้งนั้นนี่ ย้อนกลับไปอ่านคำให้สัมภาษณ์ของคนในรัฐบาลได้เลย 

แล้วทำไมวันนี้ GDP ปี 56 ตก ปี 57 ก็คาดว่าจะตก อย่ามาอ้างม็อบนะ ปี 53 ม็อบยืดเยื้อยาวนาน GDP ยังโตเป็นประวัติการณ์เลย 

รัฐบาล เข้ามาปี 54 น้ำท่วม ไม่แก้ไข ความเชื่อมั่นนักลงทุนหาย
จำนำข้าว ทำระบบเศรษฐกิจ เสียหาย เงินงบประมาณที่ใช้ไม่มีประสิทธิภาพ กว่าครึ่งหายเข้ากระเป๋าใครก็ไม่รู้ที่ไม่ใช่ชาวนา
รถคันแรก สร้างภาระหนี้ครัวเรือน จนไม่เหลือเงินบริโภค
สินค้าแพง ข้าวของแพง ไม่ยอมรับ ภาระค่าใช้จ่ายประชาชนสูงหมกเม็ดตัวเลขเงินเฟ้อ
ขึ้นค่าแรงแบบกระชาก เกิดภาระชะลอตัวการลงทุนเอกชน 
การเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้า มีการคอร์รัปชั่นส่วนต่างมากเกินไป เงินหายออกจากระบบ เพราะคนโกงกินเก็บเอาเงินสดไป 

จากสิ่งที่กล่าวมา เป็นการบริหารของรัฐบาลที่ผิดพลาดทั้งนั้น ศก.โลกกำลังฟื้นตัว ศก.อาเซียน พึ่งพิงกันมากขึ้น แต่แทบไม่ส่งผลดีต่อประเทศไทยเลยทั้งที่เราเป็นประเทศส่งออก และพึ่งพิงการส่งออกมาก 

ค่าเงินผันผวน ไม่มีการดูแล บริหารไร้ทิศทาง ไม่มีเหตุผลเพียงพอในระดับนโยบายที่ข้าราชการที่มีความรู้จะอยากเชื่อและทำตาม การส่งออกที่เคยสดใส อยู่ๆก็ชะงักในรัฐบาลชุดนี้

มาวันนี้โทษคนอื่นอีก โครงการน้ำ 3.5 แสนล้าน ที่เบิกจ่ายไม่ได้เพราะโดนต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่ การทำประชาพิจารณ์ตามจังหวัดต่างๆ ก็เห็นอยู่ และน่ารู้ดีตั้งแต่ต้นแล้วว่า โครงการมีปัญหาแน่นอน เพราะไม่มีการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง ประชาชนออกมาต่อต้านโครงการในหลายๆจังหวัด ไม่นับประชาชนส่วนกลางที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการอย่างเขื่อนแม่วงก์

โครงการคมนาคม 2 ล้านล้าน ก็ออกมาชัดแล้วว่าต้องเวนคืนอีกจำนวนมาก หากจะสร้างรถไฟความเร็วสูง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้โครงการไม่เป็นไปตามเป้า 

เรื่องพวกนี้ มีการเตือนตั้งแต่เริ่มโครงการว่าจะเป็นปัจจัยไม่ให้โครงการสำเร็จ แต่ดื้อและคิดว่าตัวเองมีอำนาจในมือจะทำอะไรก็ได้ ไม่ให้ค่าความเสี่ยงไว้ ปริหารประเทศจนเศรษฐกิจประเทศต้องพึ่งพิงเงินกู้เหล่านี้ 

เลยอยากจะย้ำและให้สังเกตุ ตลอดมาประเทศนี้เศรษฐกิจเติบโต 4% - 5% จากเงินงบประมาณที่ไม่ต้องกู้มาใช้จ่ายให้มากมายเหมือนที่รัฐบาลนี้วางแผน 

คำถามคือ เงินในระบบงบประมาณหายไปไหน ทำไมกระตุ้นเศรษฐกิจไม่พอ 

"เอาไปโกงกิน กันใช่หรือไม่ ??????? "

ประเทศนี้เจ๊งเพราะใคร ไม่ใช่เพราะม็อบ หรือประชาชนที่ออกมาตรวจสอบ และจับผิดรัฐบาล แต่อยู่ที่รัฐบาล ไม่เก่ง ทำผิด ทำพลาด และใช้วิธีการโกหกเลี่ยงประเด็น เล่นการเมือง ยุให้ประชาชนแตกแยกเพื่อหนีความผิด และป้ายสีความผิดให้เป็นของฝ่ายตรงข้าม 

นี่แหละนักการเมืองไทย และคนไทยที่กระโดดมาปกป้องนักการเมืองยิ่งกว่าคุณภาพชีวิตของตัวเอง 

สาธุให้กับความศรัทธาอันน่าทึ่ง 
หลง กับ ศรัทธา และชื่นชม มันต่างกันนะ

เอวังและวังเวง แบบไม่รู้ตัวเมื่อเขียนมาถึง ณ จุดนี้



#25 PATTON

PATTON

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 221 posts

ตอบ 16 มกราคม พ.ศ. 2557 - 18:02

ไม่ค่อยได้เข้ามาครับไปม็อบทุกวันไหนๆก็มาเเล้วเก็บ สิ่งเล็กๆน้อยมาให้ดูครับ 

 

ตลาดหุ้นเปนไงหนอ..... ปิดกทม. มาเกือบ 5 วันแล้ว ปิดตลาดที่แดนบวก ฝรั่งยัง "งง" เลย  

อิ อิ  ช่อง3 เเหกตาดูสะ ตีข่าวอยู่ได้  ม๊อบทำให้เศรษฐกิจทรุด

 

1511699_10201284673899182_16418801_n.jpg



#26 ppneer

ppneer

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 7,201 posts

ตอบ 16 มกราคม พ.ศ. 2557 - 18:07

เฮ้ย กระทู้ดีนี้หว่า


ขวานทอง บรรพบุรุษ เป็นคนสร้างให้เราทุกวันนี้ ตัวกูจะปกปักรักษาเท่าชีวิตเพื่อ พ่อหลวง กูถวายชีวิตใอ้แม้ว ออกไปๆๆๆ กูเกลียดใอ้แม้ว

#27 p-one

p-one

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 65 posts

ตอบ 16 มกราคม พ.ศ. 2557 - 18:35

ขอโทษนะคะ ตะกี้จะกดห้าดาว แต่คิดว่าต้องกดทั้งหมดเหมือนเวลาเราให้เรทติ้งแอพฯต่างๆ เลยเริ่มกดแต่ดาวแรก
แป่ว!!  กลายเป็นให้ดาวเดียวไปเลย..อยากจะขอบคุณสำหรับบทความดีๆที่รวบรวมมาให้อ่านค่ะ



#28 PATTON

PATTON

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 221 posts

ตอบ 16 มกราคม พ.ศ. 2557 - 21:35

อิ อิ เรื่องเงินเรื่องทองของกินใจเกี่ยวกับ เศรษฐกิจไทยเเน่นอน 

 

คนที่พยายามยัดเยียดความผิดของรัฐบาลเพื่อไทยที่ตัวเองสนับสนุนนั้นเป็นสิ่งที่น่าละอายอย่างมา
1) ต้องเข้าใจว่าอำนาจรัฐบาลมีจำกัดตามมาตรา181
2) การที่ขายข้าวใน 1 อาทิตย์ ระบบ G to G. ชาวนาก็ไม่สามารถได้เงินภายในสิ้น. มค 57 นี้เพราะการส่งมอบข้าวย่อมเกิดขึ้นเดือนหน้า
3) หากขายข้าวเดือนนี้ รัฐบาลใหม่หลังวันที่ 2 กพ 57 ต้องมาสานต่อการส่งมอบ ซึ่งรู้อยู่แล้วว่าจัดตั้งรัฐบาลไม่ได้หลังเลือกตั้งวันที่2 กพ 57 แล้วใครจะมาสานต่อ 
4) สมมุติว่าหลัง2 กพ 57 รัฐบาลรักษาการสานต่อจนกว่ามีรัฐบาลชุดใหม่ หากมีเหตุความเสียหายอื่นเช่นเก็บเงินไม่ได้ ใครจะมารับผิดชอบเรื่องนี้ รัฐบาลชุดใหม่อย่างนั้นหรือ

พวกชเลียเพื่อไทยและคนพรรึเพื่อไทยเหมือนกันหมดโยนขี้ให้คนอื่นเก่ง เช่นเรื่องโรงพัก เกิดในสมัย สมชาย วงศ์สวัสดิ์. แต่มาจบในสมัย นายกปูโดยพงษ์สพัส เป็นผู้รับผิดชอบเรื่องนี้กลับโยนให้ ปชป

อำนาจหน้าที่ ของคณะรัฐมนตรีรักษาการ มีอำนาจตาม มาตรา 181 คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ แต่ในกรณีพ้นจากตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรีจะปฏิบัติหน้าที่ได้เท่าที่จำเป็น ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดดังต่อไปนี้

(1) ไม่กระทำการอันเป็นการใช้อำนาจแต่งตั้งหรือโยกย้ายข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ หรือพนักงานของหน่วยของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือให้ผู้อื่นมาปฏิบัติหน้าที่แทน เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อน

(2) ไม่กระทำการอันมีผลเป็นการอนุมัติให้ใช้จ่ายงบประมาณสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉิน หรือจำเป็นเว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อน

(3) ไม่กระทำการอันมีผลเป็นการอนุมัติงานหรือโครงการ หรือมีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป

(4) ไม่ใช้ทรัพยากรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐเพื่อกระทำการใดซึ่งจะมีผลต่อการเลือกตั้งและไม่กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามระเบียบที่คณะกรรมการการเลือกตั้งก

 

 

 เเชร์ให้นะเเต่เป็นความชั่วของคุณมึง นะ ภูฟ้า รักษ์ประชาธิปไตร พงศ์สุระเดช  ชื่อยาวจังเอาชื่อคนตายมาต่อกันเปล่า อิ อิ 

1601072_497362360372513_1388352640_n.jpg   

 

 


แชร์หนักๆ ต้นเหตุที่ทำให้ชาวนาไทยได้เงินล่าช้า ให้ชาวนาทั้งประเทศ จำ กกต.ชุดนี้ไว้ เค้าจะขายข้าวให้จีน 1.2ล้านตัน กกต.บอกว่าจะเป็นการหาเสียงเลือกตั้ง...ถุยส์...ไอ้สัส...!!!!!


Edited by PATTON, 16 มกราคม พ.ศ. 2557 - 21:40.


#29 PATTON

PATTON

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 221 posts

ตอบ 16 มกราคม พ.ศ. 2557 - 22:59

อิ อิ ขอนอกเรื่องเเต่ก็ยังอยู่ในเรื่อง เศรษฐกิจไทย นะ ครับ

 
เห็นเขียนเรียกร้องกันเหลือเกินให้เคารพสิทธิในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งหรือโวยวายว่ารัฐบาลกี่รัฐบาลที่ผ่านมา คนต่างจังหวัดเป็นคนเลือก แต่คนกรุงเทพเป็นคนล้ม หรือเหมาว่ากรุงเทพมหานครคือประเทศไทย

แบ่งแยกกันอย่างนี้ไม่ใช่เรื่องดี แต่ที่พวกเราส่วนใหญ่ซึ่งเป็นชาวกรุงเทพ หรือคนที่เข้ามาทำมาหารับประทานในกรุงเทพ โวยวายกันอยู่ในขณะนี้คือ เรียกร้องให้รัฐบาลใช้จ่ายเงินภาษีอากรของประเทศให้ถูกต้อง โปร่งใส ไม่ใช่เข้าพกเข้าห่อใครหรือพรรคการเมืองใด หรือเอาไปใช้สุรุ่ยสุร่ายอย่างไม่มีวินัย ไร้ธรรมาภิบาลเพื่อสร้างคะแนนนิยมให้ตัวเองหรือพรรคการเมืองของตนเอง เงินทุกบาททุกสตางค์ที่นำมาใช้ในโครงการต่างๆของรัฐ หรือเงินที่นักการเมืองสกปรกอมเข้าพกเข้าห่อตัวเอง/พวกพ้องตัวเอง มาจากงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งมาจากการเก็บภาษีเงินได้จากบุคคลและองค์กรต่างๆทั้งสิ้น ไม่ได้ออกจากกระเป๋าเงินส่วนตัวของนักการเมืองหน้าไหนสักคน

เอาข้อมูลตัวเลขมาแสดงกันชัดๆ ให้เห็นกันว่า ประมาณการจัดเก็บภาษีเงินได้แต่ละปีที่นำมาเป็นงบประมาณแผ่นดินเกือบร้อยละ 60 มาจากผู้เสียภาษี องค์กร ห้างร้านในกรุงเทพมหานคร ที่เหลือมาจากการจัดเก็บภาษีในจังหวัดต่างๆดังนี้

อันดับในการเสียภาษีของแต่ละจังหวัด

1 กรุงเทพมหานคร 57.85%
2 ชลบุรี 8.50%
3 ระยอง 5.36%
4 สมุทรปราการ 5.16%
5 ปทุมธานี 4.32%
6 พระนครศรีอยุธยา 3.16%
7 ขอนแก่น 1.71%
8 นนทบุรี 1.66%
9 ฉะเชิงเทรา 1.47%
10 สมุทรสาคร 1.06%
11 นครปฐม 0.91%
12 สงขลา 0.68%
13 สระบุรี 0.66%
14 กาญจนบุรี 0.59%
15 กำแพงเพชร 0.54%
16 นครราชสีมา 0.49%
17 ภูเก็ต 0.47%
18 เชียงใหม่ 0.43%
19 สุราษฎร์ธานี 0.42%
20 ปราจีนบุรี 0.39%
21 ราชบุรี 0.27%
22 นครสวรรค์ 0.26%
23 ประจวบคีรีขันธ์ 0.25%
24 อุบลราชธานี 0.23%
25 บุรีรัมย์ 0.21%
26 นครศรีธรรมราช 0.17%
27 หนองคาย 0.16%
28 สมุทรสงคราม 0.15%
29 ลำพูน 0.13%
30 อุดรธานี 0.12%
31 ลำปาง 0.12%
32 พิษณุโลก 0.12%
33 เชียงราย 0.11%
34 สุพรรณบุรี 0.09%
35 เพชรบุรี 0.08%
36 ลพบุรี 0.08%
37 ตรัง 0.07%
38 กระบี่ 0.06%
39 อุตรดิตถ์ 0.06%
40 ชุมพร 0.06%
41 ชัยภูมิ 0.06%
42 ร้อยเอ็ด 0.06%
43 จันทบุรี 0.05%
44 แพร่ 0.05%
45 สุรินทร์ 0.05%
46 เพชรบูรณ์ 0.05%
47 สกลนคร 0.05%
48 กาฬสินธุ์ 0.05%
49 ศรีสะเกษ 0.04%
50 ตาก 0.04%
51 พิจิตร 0.04%
52 สระแก้ว 0.04%
53 มหาสารคาม 0.04%
54 พังงา 0.04%
55 มุกดาหาร 0.03%
56 สุโขทัย 0.03%
57 อ่างทอง 0.03%
58 เลย 0.03%
59 ปัตตานี 0.03%
60 สิงห์บุรี 0.03%
61 นราธิวาส 0.03%
62 ยะลา 0.03%
63 นครพนม 0.03%
64 ชัยนาท 0.03%
65 นครนายก 0.02%
66 พัทลุง 0.02%
67 พะเยา 0.02%
68 ตราด 0.02%
69 น่าน 0.02%
70 ยโสธร 0.02%
71 ระนอง 0.02%
72 อุทัยธานี 0.01%
73 หนองบัวลำภู 0.01%
74 สตูล 0.01%
75 อำนาจเจริญ 0.01%
76 แม่ฮ่องสอน 0.01%


#30 PATTON

PATTON

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 221 posts

ตอบ 17 มกราคม พ.ศ. 2557 - 22:30

อย่าหลงประเด็นเงินจำนำข้าว 

[1] 
รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ตั้งกรอบวงเงินการจำนำข้าวไว้ที่ 500,000 ล้านบาท 
นำมาจาก 1) ธกส.ไปกู้มาโดยรัฐบาลค้ำประกัน 410,000 ล้านบาท 
และ 2) สภาพคล่อง ธกส. 90,000 ล้านบาท

หมายความว่า ทั้งโครงการจำนำข้าว ไม่ว่าจะรับจำนำกี่ครั้ง จำนำเมื่อไหร่ "วงเงินรวม" ทั้งหมดจะไม่เกิน กรอบวงเงินดังกล่าว

[2]
ธกส. จ่ายเงินจำนำข้าวตั้งแต่ ตุลาคม 2554ไปแล้วประมาณ 700,000 ล้านบาท แต่ได้รับเงินค่าขายข้าวคืนจากกระทรวงพาณิชย์ 170,000 ล้านบาท 

หมายความว่า ปัจจุบัน วงเงินจ่ายของ ธกส. ได้เกินวงเงิน 500,000 ล้านบาท ที่ครม.กำหนดไว้แต่ต้นแล้ว 
แม้ จะมีมติ ครม.เมื่อ ม.ค.57 ให้ขยายกรอบวงเงินรับจำนำข้าว ของปี 56/57 จำนวน 270,000 ล้านบาท ก็ถือว่าเป็นการขัดมติ คม.แรกที่บอกว่า จะใช้เงินแค่ 500,000 ล้านทั้งโครงการ

[3]
รัฐบาลบังคับให้ ธกส. หาเงินมาจ่ายชาวนา โดย
1) เอาสภาพคล่องตัวเองมาจ่าย 
2) เอาวงเงินกู้ ของวงเงินกู้หน่วยงานอื่น มาใช้แทน เช่นวงเงินกู้ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ธนาคารอาคารสงเคราะห์ 
3) ให้หน่วยงานรัฐ เอาเงินกองทุนที่มีไปฝากกับ ธกส. เพื่อค้ำประกันเงินกู้ เช่นกองทุนสุขภาพต่างๆ กองทุนสลากกินแบ่ง

สรุป 

ความผิดอยู่ที่ใคร..... 
ไม่ใช่ ธกส. เพราะ ธกส. มีวงเงินแต่แรกสำหรับโครงการนี้อยู่แล้ว 500,000 ล้านบาท

ไม่ใช่ ความผิดม็อบ ที่กดดันให้รัฐบาลยุบสภา และอนุมัติวงเงินกู้ไม่ทัน เพราะวงเงินกู้นั้นเป็นวงเงินกุ้ ที่ไม่เคยอยู่ในกรอบโครงการจำนำข้าว แต่ต้น 

ไม่ใช่ความผิด กกต. เพราะการอนุมัติเงินกู้เพิ่ม สำหรับนำไปจ่ายชาวนา เป็นภาระผูกพันธ์ ของรัฐบาลหน้า รัฐบาลปัจจุบัน ทำไม่ได้อยุ่แล้ว

แล้วความผิดใคร 

ความผิดของ กระทรวงพาณิชย์ ที่ขายข้าวไม่ได้ 

วงเงิน 500,000 ล้าน เพียงพอสำหรับจำนำข้าวถึง 2 ปี และทุกตัวในรัฐบาลบอกว่าจะต้องขายข้าวได้ และมีเงินหมุนเวียนมารับจำนำ งวดต่อไป 

วงเงินเต็มแปลว่าหาเงินมาจ่ายหนี้เดิมไม่ได้ ............

ธกส. คือแพะรับบาป เหมือนมาเฟียเอาปืนมาขู่ ธนาคาร ให้ขยายวเงินบัตรเครดิต ทั้งที่วงเงินเก่าก็ยังไม่ใช้คื

อนาคตหนี้ท่วม เป็น NPL.

ซากขยะใต้พรมของโครงการรับจำนำข้าว ที่ไม่อยากให้ใครมาเปิดโปง ....  (เหตุนี้หรือเปล่า.... ที่ทำให้ท่านนาเเบบ ปู ต้องรักษาอำนาจ ผูกขาดอำนาจจนถึงที่สุด)



#31 PATTON

PATTON

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 221 posts

ตอบ 18 มกราคม พ.ศ. 2557 - 13:49

เรื่องนี้เกี่ยวกับ เศรษฐกิจไทย เเน่นอน จากที่เอาให้ดู ม็อบไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจไทยเสียหาย 5วันก่อนเงินบาทยังเเข็งค่าขึ้นอยู่เลย จากนี้จะเป็นอย่างไรรอดูวันจัน

 

 

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 13 มกราคม 2557 17:34:20 น.

นักบริหารเงิน เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ที่ระดับ 32.96/97บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจากช่วงเช้าที่ระดับ 33.07/08 บาท/ดอลลาร์ หลังปฏิบัติการปิดกรุงเทพฯ ของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข(กปปส.) สงบเรียบร้อย ไม่เกิดเหตุรุนแรง ประกอบกับการปรับตัวขึ้นของดัชนีตลาดหุ้น

 http://www.ryt9.com/s/iq03/1814686

 

 

เพชร โอสถานุเคราะห์...
"......มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประเมินการชุมนุมปิดกรุงเทพฯ ทำให้สูญเสียทางเศรษฐกิจวันละ 700-1,000 ล้านบาท
“ผมก็เลยลองประเมินความเสียหายจากรัฐบาลนี้”
ความเสียหายจากจำนำข้าว 425,000 ล้าน หมายความว่าต้องชุมนุม 400 วันถึงจะเท่ากับความเสียหายจากการทุจริตจำนำข้าว นี้ยังไม่รวม ทุจริตโครงการอื่น หรือถ้ารวมความเสียหายทั้งหมดที่ผ่านมาจาก ระบอบทักษิณ ที่เราต่างรู้กันๆ คงต้องชุมนุมปิดกรุงเทพฯ กันยาวเท่าไหร่ ถึงจะเท่ากับความเสียหายที่ ระบอบทักษิณ ทำไว้

1 ปี มี 365 วัน คงต้องชุมนุมกันเป็น 10 ปี ไม่แน่ใจว่าถึง 100 ปีป่าว... แต่ถ้าไม่ออกมาหยุด 2 ล้านล้าน คงออกมาชุมนุมแล้ว ไปเกิดใหม่ มาชุมนุมอีก ประเทศยังเสียหายไม่เท่า รัฐบาลนี้ทำเลย...."
.

 

 

 

 

 

 

 

17 ม.ค.57 ชายชุดดำลอบสังหารสุเทพทำงานพลาด ทิ้งหลักฐานอื้อ ตายน้ำตื้น

หลังรัฐแดงสั่งชายชุดดำลอบสังหารสุเทพแล้วแผนพลาด ชายชุดเขียวได้เข้าตรวจสอบบริเวณตึกร้าง ริมถนนบรรทัดทอง กทม. บริเวณด้านหน้าตึกเขียนว่าศูนย์ประสานงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฎิบัติการ หจก.ยอดเทพประธาน ด้านในชั้นล่างเป็นลักษณะของห้องครัวพบอาวุธปืน M16 ถอดประกอบจำนวน 1 กระบอก, วิทยุสื่อสาร 4 เครื่อง, มีดสปาต้า 1 ด้าม, ป้ายคำว่า “ Police “ แปรงและยาสีฟัน , อาหารกล่อง , กางเกง, หมวกสีแดงป้ายคำว่า “ หน่วยปฏิบัติการจู่โจม” ที่เช็คแล้วหน่วยงานที่เคยแจกหมวกนี้ คือชายชุดดำในจังหวัดนราธิวาส ในหลักสูตรการฝึกอบรมปฏิบัติการพิเศษจู่โจมฯ

ด้านหน้าอาคารร้างตึกที่เกิดเหตุ พบรถตู้ชายชุดดำที่มาจอดปฏิบัติการ ทะเบียนตราโล่ห์ 19086 สีบรอนเทา ชาวบ้านแถวนั้นบอกจอดทิ้งไว้นานแล้ว มีฝุ่นจับ บริเวณหน้ากระจกมีตัวหนังสือเขียนติดกระดาษไว้ว่า ติดต่อเจ้าของรถ ร.ต.ท.เอกพล ผุดผอม รอง สว.กลุ่มงานวิจัยและประเมินผล 3 กองวิจัย สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เบอร์โทรศัพท์ 02-205-3285 /094-496-7179 

สลักระเบิดที่ลอบสังหารพบชิ้นส่วนเป็นสลักระเบิดเป็นชนิด M48 มีใช้ในราชการเท่านั้น เป็นระเบิดขนาดเล็กพกสะดวก แต่อนุภาพเท่า M26 มุ่งสังหาร 5-8 คน จากรูปแบบการโจมตีของชายชุดดำที่รัฐแดงสั่งมานี้ พอจะวิเคราะห์ดังนี้

1. ระเบิดที่ขว้าง 2 ลอบสังหารสุเทพ 2 ลูกไม่ใช่เป้าหมายหลักที่แท้จริง
2. จากหลักฐานกล่องอาหารที่เขียนชื่อเล่นที่หน้ากล่อง ต้องมีชายชุดดำอีกชุดอยู่อีกตึกหนึ่งที่ไม่ใช่ตึกนี้
3. การลอบสังหารครั้งนี้ ชายชุดดำทำงานพลาด เพราะหลังจากขว้างระเบิดเพื่อให้คนล้อมตัวสุเทพแตกฮือแล้ว ไนท์เปอร์ชายชุดดำที่อยู่อีกตึกหนึ่งหาจังหวะยิงสุเทพไม่ได้ถนัด เพราะการ์ดชายชุดเขียว ชุดขาว และการ์ดอาสาของสุเทพมีถึง 40 คนที่ถูกฝึกมาอย่างดี รีบกดหัวสุเทพมอบลงทันที่และโอบล้อมตัวพาสุเทพออกไป ถือเป็นรูปแบบมืออาชีพในการรักษาความปลอดภัยมาตรฐานบุคคลสำคัญระดับชาติ

สรุป...งานนี้ชายชุดดำทำงานพลาดแถมทิ้งหลักฐานลอบสังหารสุเทพอื้อให้ตามตัวเชื่อมถึงหัวหน้าชายชุดดำและรัฐแดงได้อีก ตายน้ำตื้น

@ เสธ น้ำเงิน

 

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

 

@เรื่องขาดทุนจากนโยบายจำนำข้าว รำพึงเล็กๆ เป็นความสงสัยก่อน

ราคาน้ำมัน ขึ้นได้ ก็ลงได้. ราคาดีมันก็ผลิตมาเยอะ ซักพักก็ราคาตก

แต่ข้าวที่อยู่ในยุ้งที่จำนำมาราคาแพงๆ ขายไม่ออก ไม่ใช่ว่าอีกซักพักไม่มีกินก็มาขอซื้อ เพราะอีกไม่นานข้าวนาใหม่ก็จะออกมา แล้วทีนี้ก็รับจำนำแพงๆอีกเรื่อย เรื่อย เรื่อย

จะรับรู้ขาดทุนกันแบบไหนนะ รัฐบาลไทย

 

@ เขียน Note แจงข้อเสียจำนำข้าว  และข้อเสนอแนะควรแก้ไขอย่างไรก่อนเกิดปัญหา **

 

ขอเรื่อง ข้าว อีกครั้งนะครับ 

 

 

มีเพื่อนถามว่า ทำไมข้าวไทยถึงส่งออกลดลง แน่นอนครับเหตุผลสำคัญคือ เรื่องราคา ครับ  ทุกท่านทราบดีอยู่แล้วใช่มั้ยครับว่ารัฐไทยเลือกนโยบายอุดหนุนชาวนาและเกษตรกรด้วยการรับ จำนำ ข้าว เป็นการแทรกแซงกลไกราคา สร้าง Demand เทียมขึ้นมาเพื่อยกระดับราคาขึ้นโดยหวังว่า 

 

 

1. ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับ 1 เราจะสามารถควบคุมราคาได้ เพราะมองว่าตลาดเป็นของผู้ขาย และคู่แข่งของเราเช่น เวียตินาม อินเดีย ปากี ฯลฯ ก็คงพอใจที่ราคาส่งออกได้เพิ่ม เหมือนที่เคยทำสำเร็จกับการฮั้วราคายาง

 

 

2. แต่ถ้าประเทศคู่แข้งไม่ขึ้นราคา ก็หวังว่าสุดท้ายเมื่อข้าวขาดก็ต้องหันมาซื้อข้าวจากไทย

 

 

แต่การณ์หาได้เป็นเช่นนั้นไม่ 

 

 

เพราะการที่เราประกาศราคาจำนำข้าวในโลกที่ข้อมูลข่าวสารทั่วถึงกันทำให้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายทราบต้นทุนของเรา และข้อเท็จจริงที่ตามมาคือ 

 

 

1. คู่แข่งเพิ่มราคาส่งออกจริงแต่ยังถูกกว่าเรามาก ถูกกว่าตันละ 250 - 350 ดอลล่า ทั้งนี้เพราะเรากำหนดราคารับจำนำที่สูงเกินจริง โดยไม่ได้ดูที่สภาพความเป็นจริงของตลาด ว่าแต่ละประเทศผลิตข้าวได้เท่าไหร่ ต้นทุนต่อตันเท่าไหร่ (เกือบทุกประเทศมีผลผลิตต่อไร่มากกว่าเรา และไทยเป็นประเทศทีี่ใช้ปุ๋ย และสารเคมีมากที่สุดทำให้ต้นทุนต่อไร่เราสูงมาก) 

 

 

2. ข้าวไม่เหมือนกับยาง ยางพารา เมืิ่อทราบจำนวนพื้นที่เพาะปลูกแล้วจะทราบถึงปริมาณน้ำยาง ซึ่งจะออกมาสม่ำเสมอ แม้จะมีฤดูกาลก็สามารถคาดเดาได้ ผิดกับข้าว ในปัจจุบันพื้นที่เพาะปลุกในเกือบทุกประเทศสามารถปลูกข้าวได้มากกว่า 2 ครั้งต่อปี  ดังนั้นความหวังที่ว่าพอปริมาณข้าวของคู่แข่งหมดจะซื้อข้าวไทย ก็ไม่จริง เพราะคนซื้อรู้อยู่แล้วว่าต้นทุนข้าวในโกดังของไทยเท่าไหร่ และเมื่อเก็บไปนานๆ ประเทศไทยก็จะต้องขายขาดทุนออกมาไม่วันใดก็วันหนึ่ง จึงกลายเป็นเกมส์วัดใจ ที่ใครทนไม่ได้ก่อนกัน (ผลผลิตข้าวทั้งโลกอยู่ที่ 400 ล้านตัน ส่งออกกันจริงๆแค่ 30 ล้านตัน ดังนั้นเราไม่ควรคิดว่าเราจะสามารถควบคุมตลาดได้)

 

 

 

ความจริงในวันนี้ที่ไทยสูญเสียโอกาสในการส่งออกข้าวไปกว่า 4 ล้านตันเป็นเครื่องยืนยันว่าเรามา "ผิดทาง"  เตือนแล้วก็ไม่เชื่อ เชื่อแต่ก็โลภมองหาช่องทางโกงกิน

 

 

ผลเสียของการจำนำข้าวในแง่อื่น 

 

 

1. เราสูญเสียความได้เปรียบของพันธ์ข้าวคุณภาพ ราคาจำนำเป็นราคาแบบเหมา ใครมีข้าวก็จำนำได้ ดังนั้นชาวนาจะไม่คัดเลือกพันธ์ ซึ่งยุ่งยาก ต้นทุนเพิ่ม ในนา 1 ไร่อาจมีพันธ์ข้าวอื่นปนมาซึ่งในความเป็นจริงทำให้เสียราคา และสุดท้ายทำให้ความได้เปรียบในเรื่องคุณภาพข้าวที่ส่งออกหายไป 

 

 

2. การจำนำราคาข้างไม่ได้ช่วยชาวน่าที่ "จน" จริงๆ มีการคาดว่าคนที่ได้ผลประโยชน์คือชาวนาที่รวยอยู่แล้ว (ผลผลิตข้าว 50% ของประเทศมาจากชาวนาจำนวน 15% ของชาวนาทั้งหมด ซึ่งเหล่านี้คือชาวนารวย)

 

 

3. มีการเอื้อประโยชน์ให้กับการทุจริต ทั้งการรับจำนำข้าวของบริษัทจากตะวันออกกลางที่มาปลูกข้าวในไทย (ไม่ต้องบอกนะว่าใครพามา) และมีการสวมสิทธิจากประเทศเพื่อนบ้านที่ข้าวห่วย แต่เป็นช่องทางโกงกิน

 

 

4. ชาวนาจะได้ประโยชน์จากการจำนำข้าวก็ต่อเมื่อมีข้าวเท่านั้น ดังนั้นเมื่อนาล่ม รัฐก็ต้องมาชดเชยอีก เงินที่ชดเชยก็ไม่คุ้มกับการลงทุนที่ผ่านมา (ประกันดีกว่า เพรามองที่ต้นทุนการผลิตเลย ไม่ใช่งบบรรเทาสาธารณะภัย)

 

 

5. กลไกราคาเสียหาย 

 

 

6. สำคัญที่สุดคือการนำเงินงบประมาณไปประกันราคาโดยไม่ตัดเป็นค่าใช้จ่าย ทำเป็นเงินยืม โดยหวังว่าจะสามารถขายข้าวเอาเงินมาคืนคลังได้ แต่ในความเป็นจริง รัฐอาจขาดทุนปีละประมาณ 100,000 ล้านบาท ซึ่งเมื่อรับรู้ขาดทุนแล้วเราก็จะขาดดุลเงินสด ต้องกู้มาชดเชย เกิดภาระดอกเบี้ย และจำนวนหนี้สาธารณะสูงโดยที่พยายามหลับตาไม่รับรู้มาแต่ต้น ไม่เหมือนประกันที่จัดงบประมาณเพื่อการประกันไว้เป็นรายจ่ายอยู่แล้ว

 

 

แล้วควรจำนำแบบไหน

 

 

1. อย่ามองว่าเป็นนโยบายประชานิยม หรือแจกเงินชาวนา  แต่ให้มองว่าเป็นกลไกทางเศรษฐศาสตร์ ที่รัฐเข้าแทรกแซงราคา คือแทนที่จะรับจำนำทั้งหมด ให้เลือกรับจำนำบางช่วงราคา และรับจำนำปริมาณจำกัด

 

 

2. รับประกันแบบจำกัดปริมาณต่อราย เพื่อมุ่งช่วยชาวนารายย่อยมากกว่ารายใหญ่ ชาวนารายใหญ่มาทีเดียวโควตาโรงสีบางโรงเต็มทันที

 

 

3. จัดทำฐานข้อมูลการเพาะปลูกให้เรียบร้อยตั้งแต่เริ่มฤดูการผลิต เพื่อให้ทราบถึงจำนวนข้าวที่จะออกมาและป้องกันการสวมสิทธิจากข้าวต่างชาติ

 

 

4. ผลักดันให้ผู้ส่งออกใช้กลไกตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า และให้ชาวนาเกิดการรวมกลุ่ม เข้าไปขายในตลาดซื้อขายล่วงหน้า ไม่ืควรให้เกิดการเก็งกำไรในตลาดอย่างเดียว ควรส่งเสริมให้มีการซื้อขายล่วงหน้าจริงด้วย

 

 

 

 

สำหรับผมสิ่งที่ดีกว่าจำนำคือรับประกัน แต่เพราะมันเป็นโยบายของคนหนีทหาร สารเลวชาติชั่ว  ฆาตกรฆ่้าคนในประเทศ ดีแต่พูดดังนั้นก็ไม่ควรเอามาใช้ ดังัน้นผมจึงเสนอการรับจำนำที่ควรปรับเปลี่ยนเพื่อประโยชน์ของประเทศ ไม่ได้มุ่งด่าอย่างเดียว โปรดทราบ 

 

@@@ ข้อมูลตัวเลขของ ค่าใช้จ่ายของการรับจำนำข้าว ต้นทุนสี  ต้นทุนเก็บรักษา และโครงสร้างเงินกู้ ธกส.ที่นำมารับจำนำ*

 

จำนำข้าว (อีกครั้ง)

อยู่ๆ มีข้อถกเถียงเรื่อง การรับจำนำข้าว ว่า คุ้ม หรือ ไม่คุ้ม ผมเลยขอเอาข้อมูล โครงการนี้มานำเสนอ โดยขอให้ทุกท่านเป็นผู้พิจารณาเองว่า โครงการนี้เป็นอย่างไร

=== สรุปโครงการ ===

รับจำนำข้าว"เปลือก" นาปี 6.95 ล้านตัน จำนวนเงิน 118,562 ล้านบาท
รับจำนำข้าว"เปลือก" นาปรัง10.03 ล้านตัน จำนวนเงิน 148,629 ล้านบาท รวมรับจำนำข้าวเปลือก ถึงวันนี้ 16.98 ล้านตัน เป็นเงิน 267,191 ล้านบาท

ข้าวเปลือกที่รับจำนำมีการสีแปรสภาพเป็นข้าวสารแล้วทั้งสิ้น 10.68 ล้านตัน
(*** ตัวเลขข้าวสารที่สีได้ มีความผิดปรกติ เพราะสีเป็นข้าวสารได้ 62.8% ของข้าวเปลือกทั้งที่ได้ 50% ก็มากเกินปรกติแล้ว)

=== ต้นทุนอื่น และผลผลิต ===

** เงินที่ใช้ในการรับจำนำข้าว เป็น "เงินกู้จาก ธ.ก.ส. **

จ่ายให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เป็นค่าดอกเบี้ย ค่าใช้จ่าย บริหารสินเชื่อ ตันละ 595.30 บาท
จ่ายให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร เป็นค่าบริหารดำเนินการ, ค่าเช่าที่รับฝากข้าว, ค่าแปรสภาพข้าว, ค่ารักษาสภาพข้าวสาร ตันละ 398.33 บาท
ให้กรมการค้าภายใน เป็นค่าวางระบบติดตามรายงานผลการรับจำนำ
ตันละ 19.92 บาท 
จ่ายให้กรมส่งเสริมการเกษตร เป็นค่าขึ้นทะเบียนใบรับรองเกษตรกรอีก
ตันละ 8.36 บาท
รวมต้นทุนอื่นๆ ตันละ 1022 บาท

** หมายเหตุ ต้นทุนนี้คิดถึงเดือนกันยายน 55 หากเก็บข้าวต่อต้นทุนดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะต้นทุนหลักคือค่าดอกเบี้ย **

ต้นทุนจากความชื้น ข้าวเปลือกที่รับจำนำจะมีมาตรฐานความชื้นที่ 15% แต่ถ้าความชื้นของข้าวมีมากกว่า 15% ปริมาณข้าวจะหายไป 15 กิโลกรัมต่อทุกความชื้นที่เพิ่มขึ้น 1 % จากความชื้น 15% (ความชื้น 20% ข้าวจะหายไป 15* (20-15) = 75 กิโลกรัม)

ผลผลิตที่ได้จากข้าวเปลือก 1 ตัน หรือ 1,000 กก. หรือ 100 ถัง สีเป็นข้าว 100% ชั้น 2 จะได้รายละเอียดดังนี้

1. ต้นข้าว 405 กก. 
2. ปลายข้าว เอ.วันเลิศพิเศษ 20 กก.
3. ปลายข้าว เอ.วันเลิศ 160 กก.
4. ปลายข้าว ซี 90 กก.
5. รำละเอียด 81 กก.
6. รำหยาบ 30 กก.
7. แกลบ+ละออง 214 กก.
(ตัวเลขโดยประมาณของสมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ) 
ราคาผลผลิตจากข้าว ประเภทต่างๆสามารถสืบค้นจากอินเตอร์เนตได้

*** ประเด็นพิจารณา ***
1. รับจำนำข้าวเปลือกขายเป็นข้าวสาร
2. ต้นทุนการรับจำนำข้าวมักจะพูด เฉพาะต้นทุนการซื้อข้า่วจากเกษตรกร แต่ไม่พูดต้นทุนการแปรสภาพ(การสี) การบริหารจัดการ และที่สำคัญลืมให้ข้อมูลต้นทุนผันแปรของการเก็บรักษา stock ข้าวอย่างดอกเบี้ย ค่าเช่าโกดัง ความชื้น ค่าอบแห้ง *** รับจำนำข้าว 10 ล้านตัน ค่าดอกเบี้ยถึงเดือน ก.ย. 55 เป็นเงิน 5,950 ล้านบาท หากรวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ จะเป็นเงิน 10,220 ล้านบาท 
3. ฤดูการรับจำนำ 55/56 จะเริ่มเดือน ต.ค. นี้ ข้าวยังอยู่ในโกดังกว่า 10 ล้านตันจะทำอย่างไร ข้าวนาปี ต.ค. 55 ถึง ก.พ.56 จะออกมาอีก และมีเป้ารับจำนำในรอบหน้าถึง 22.8 ล้านตัน
4. เดือน ส.ค. ก.ย. คือเดือนที่ supply ข้าวต่ำสุดเพราะเป็นช่วงต้นฤดูปลูกข้าวนาปี และราคาจะสูงที่สุดในรอบปี หากรัฐขายข้าวในช่วงนี้ไม่ได้ ราคาก็จะเริ่มลดเพราะผลผลิตจะทยอยออกมาตั้งแต่ ต.ค. - ก.พ. 

*** เอวัง

 

@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

 

รวมงานเขียนเรื่องจำนำข้าว ของ อจ.   Paul 

 

https://www.facebook...152155257724153


Edited by PATTON, 23 มกราคม พ.ศ. 2557 - 01:30.


#32 PATTON

PATTON

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 221 posts

ตอบ 31 มกราคม พ.ศ. 2557 - 23:41

เรื่องข้าว เรื่องชาวนา เกี่ยวกับ เศรษฐกิจไทย เเน่นอน

โดย อจ.หนุ่มไฟเเรง

รัฐบาลจะทำเลวกับชาวนาไปถึงไหน 
ทำนาปรังล่ม เพื่อไม่ต้องจ่ายเงินจำนำข้าว ??? 

ทราบมั้ยครับว่าวันนี้ พื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปรัง ต้องการน้ำ 169% ของน้ำที่เก็บไว้
หมายความมว่า อย่างไร หมายความว่า น้ำในปีนี้ ไม่เพียงพอต่อการปลูกข้าวนาปรังทั้งหมด และนาข้าวกว่าครึ่ง ที่ต้องการน้ำมากกว่าที่มี จะมีโอกาสล่ม และขาดทุน 

น้ำไปไหน ทำไมนาปรังไม่มีน้ำ ??? 

ปริมาณน้ำฝนในปี 2556 ปรกติ
ปี 2556 ประเทศไทยมีปริมาณน้ำฝนสะสมรวม 1582 มม. สูงกว่าปีที่แล้ว 5% สูงกว่าค่าเฉลี่ย 9% เป็นระดับน้ำฝนที่อยู่ในเกณฑ์ปรกติ 
พยากรณ์อากาศของกรมอุตอนิยมวิทยา ถึงสภาพอากาศของปี 2557 ก็ไม่ได้บอกถึงสภาพอากาศที่จะมีปริมาณน้ำฝนมากกว่าปรกติ แต่มีการเตือนถึงความเป็นไปได้ของฝนทิ้งช่วงในฤดูแล้งของปี 

แต่การเก็บน้ำในสองเขื่อนใหญ่ ไม่ปรกติ 
จากรูป ทั้งๆที่ปริมาณฝนตกในภาคเหนือ ปี 2556 (1243 มม.) สูงกว่า ปี 2555 (1226 มม.) แต่ปริมาณน้ำที่เก็บไว้ในเขื่อนสำคัญสองเขื่อนคือเขื่อน ภูมิพล และเขื่อน สิริกิติ์ กลับมีปริมาณน้อยกว่าปี 2555 อย่างเห็นได้ชัด 

กบอ. แทรกแซงการระบายน้ำ 

นับตั้งแต่ปี 2554 ที่มีน้ำท่วมอย่างหนัก กบอ.(คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย ) ที่มีปลอดประสพ สุรัสวดี เป็นประธาน คือคณะกรรมการใหญ่ที่ดูแล ควบคุม สั่งการการเปิดปิดประตูน้ำ ของเขื่อนทั้งหลายแทน กรมชลประทาน 

และในปี 2556 กบอ. ตัดสินใจระบายน้ำจากสองเขื่อนใหญ่ จนปริมาณน้ำต่ำเทียบเท่ากับปี 2553 ที่มีภาวะฝนแล้ง 2553 (ฝนทั้งประเทศ 1,495 มม.) 2556 (ฝนทั้งประเทศ 1,582 มม.) 

คำถาม กบอ. คาดการณือย่างไรถึงระบายน้ำออกจากสองเขื่อนหลักในปริมาณมากขนาดนี้ คิดว่า ปี 2557 จะเกิดฝนตกหนักอย่างเช่นปี 2554 หรือ แต่กว่าฝนจะตกหนักก็ต้องอีกประมาณ 5 - 6 เดือนข้างหน้า แล้วชาวนาที่ปลูกข้าวนาปรังอยู่จะทำอย่างไร เป็นไปได้อย่างไร ที่ กบอ.วางแผนจัดการน้ำเช่นนี้ 

กรมชลประทาน สังกัดกระทรวงเกษตร ดูแลน้ำ อย่างน้อยสิ่งที่เค้าคิดก็คือการหาน้ำให้เพียงพอต่อการเพาะปลูกของเกษตรกร แล้ว กบอ. เอาเกณฑ์ อะไรมาบริหารจัดการน้ำ หรือเพราะมีคำว่า อุทกภัย จึงวางแผนเก็บน้ำน้อยๆ โดยใช้ความเสี่ยงการเกิดอุทกภัยเป็นหลัก แล้วชาวนาหล่ะ ไม่เห็นหัวชาวนาเลยใช่มั้ย ใครกันแน่ที่เลวและย่ำยีชาวนา 

หรือรัฐบาล ถังแตก........
ไม่มีเงินรับจำนำข้าว จึงใช้การควบคุมปริมาณน้ำ จำกัดการเพาะปลูกข้าวนาปรังของชาวนา จะได้มีข้าวมาเข้าโครงการน้อยลง และถ้าเป็นเช่นนั้น ทำไมไม่บอกตรงๆกับชาวนา ให้ชาวนาลงทุนซื้อเมล็ดพันธ์ สูบน้ำเข้านา ใส่ปุ๋ยใส่ยา ทำไม 

ลำพังเงินจำนำข้าวนาปี ที่ไม่จ่าย ชาวนาก็จะตายอยู่แล้ว นี่ถึงกับจะบังคับให้นาล่ม ทำให้เงินเก็บ เงินกู้ที่เอามาลงทุนนาปรัง สูญเสียหมดเลยหรือ 

ปรกติผมจะเขียนกล่าวหาใคร จะใช้เหตุและผล แต่วันนี้ขออนุญาตไม่มีเหตุผลมากพอ แต่ขอกล่าวหา รัฐบาลนี้ว่า กำลงัทำความเลวร้าย อย่างที่ไม่มีรัฐบาลไหนกระทำ ใช้กลวิธีทุกอย่างโดยไม่คำนึงถึง ชีวิต จิตใจของประชาชน เพื่อความอยู่รอด และผลประโยชน์ของตน 
อย่ามาอ้างว่า คนเมืองไม่เอาน้ำท่วม ชาวนาเลยต้องนาล่มเพราะน้ำไม่มี อย่ามาอ้างให้ประชาชนตีกันแบบเก่าๆ เราไม่เชื่อมั่นรัฐบาลอีกต่อไป

ถึงเวลาแล้วยังที่เราต้องมาปฏิรูปประเทศ ให้เกิดความโปร่งใส การจัดการน้ำ ต้องเปิดเผย ประชาชนมีส่วนในการบริหารดูแล ไม่ใช่ทำโดยดูผลประโยชน์อื่นที่ไม่ใช่ของประชาชน 

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ผมจะเดินไปเลือกตั้ง เพราะผมไม่เชื่อมั่นในการปฏิรูปโดยนักการเมือง 
ผมจะไป Vote No และผมจะผลักดัน ทุกวิถีทางให้เกิดการปฏิรูปประเทศไทย ให้ได้ 
ผมไม่รอใคร อีกต่อไป ผมจะลุกขึ้น ปฏิรูปประเทศนี้ ไม่ต้องการคณะกรรมการจากนักการเมืองหน้าไหนทั้งนั้น 

 

1604477_10202746429320156_134877182_n.jpg



#33 PATTON

PATTON

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 221 posts

ตอบ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 00:41

ผมได้ชี้ประเด็นเกี่ยวกับข้าวไทย เนื้อหาอาจจะยาว แต่จะทำให้เข้าใจสถานการณ์ข้าวไทยได้มากขึ้นครับ
สถานการณ์การผลิตข้าวไทย: วิกฤตและโอกาส
1. ปริมาณการผลิตและการบริโภคข้าวสารของโลกประมาณ 430 ล้านตัน/ปี ประเทศที่ผลิตข้าวมากเป็นอันดับ 1 คือ จีน 130 ล้านตัน/ปี อินเดีย 80.0-90.0 ล้านตัน/ปี เวียดนาม 24.0 ล้านตัน/ปี ไทยอยู่อันดับที่ 6 ประมาณ 20.0 ล้านตัน/ปี
2. จำนวนครัวเรือนเกษตรกรไทยทั้งหมดประมาณ 5.60 ล้านครัวเรือน เป็นครัวเรือนของชาวนา 3.70 ล้านครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 66.0
3. ประเทศไทยสามารถเพาะปลูกข้าวได้ 31.3 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นข้าวสารประมาณ 20.0 ล้านตัน (ข้าวเปลือก 100% จะได้ข้าวสาร 66.0% อื่นๆ อาทิ รำละเอียด รำหยาบ และแกลบ 34%)
4. ผลผลิตเฉลี่ยข้าวเปลือกต่อไร่ (เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ) ของโลกเฉลี่ย 700 กก/ไร่ อเมริกา 1,300 กก/ไร่ จีน 1,070 กก/ไร่ ญี่ปุ่น 1,065 กก/ไร่ เกาหลีใต้ 1,050 กก/ไร่ เวียดนาม 890 กก/ไร่ อินโดนีเซีย 750 กก/ไร่ เกาหลีเหนือ 690 กก/ไร่ บังคลาเทศ 690 กก/ไร่ ฟิลิปปินส์ 600 กก/ไร่มาเลเซีย 590 กก/ไร่ ลาว 580 กก/ไร่ ปากีสถาน 570 กก/ไร่ อินเดีย 550 กก/ไร่ กัมพูชา 460 กก/ไร่ ไทย 450 กก/ไร่ พม่า 410 กก/ไร่
5. ต้นทุนการผลิตข้าวเมื่อเปรียบเทียบจังหวัดที่มีการปลูกข้าวที่สำคัญระหว่างไทยกับเวียดนาม 
a. อยุธยา 5,800 บาท/ไร่ (ค่าเมล็ดพันธุ์ 600 บาท ค่าปุ๋ย 1,170 บาท ค่ายาฆ่าแมลง 1,000 บาท ค่าใช้จ่ายอื่นๆ 3,030 บาท)
b. เกิ่นเทอ 4,980 บาท/ไร่ (ค่าเมล็ดพันธุ์ 343 บาท ค่าปุ๋ย 1,360 บาท ค่ายาฆ่าแมลง 1,185 บาท ค่าใช้จ่ายอื่นๆ 2,096 บาท)
6. ข้าวสาร 20.0 ล้านตันบริโภคภายในประเทศประมาณ 11.3 ล้านตัน ส่งออก 8.70 ล้านตัน
7. ประเทศที่นำเข้าข้าวจากไทย คือ ไนจีเรีย เบนิน แอฟริกาใต้ บริโภคข้าวนึ่ง ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น บริโภคข้าวขาว อเมริกา บริโภคข้าวหอมมะลิ
8. ปัจจุบันผู้ส่งออกอันดับ 1 คือ อินเดีย ตามมาด้วยเวียดนามและไทย 
9. โครงสร้างการส่งออกข้าว คือ ไทยส่งออกข้าวขาวประมาณ 2.30 ล้านตัน (เวียดนาม 5.30 ล้านตัน) ข้าวหอม 2.60 ล้านตัน (เวียดนาม 2.60 ล้านตัน) ข้าวนึ่ง 2.80 ล้านตัน จากตลาดทั้งหมดประมาณ 6.00 ล้านตัน (เวียดนามไม่ส่งออกข้าวประเภทนี้) 
10. ราคาส่งออกข้าวสาร 5% ของไทยสูงกว่าเวียดนามตันละ 123 เหรียญสหรัฐฯ ข้าว 25% 70.0 เหรียญสหรัฐฯ
11. การรุกตลาดของประเทศคู่แข่ง อาทิ เวียดนามร่วมก่อตั้งบริษัทร่วมค้าลักลอบนำข้าวหอมมะลิ 105 (หอมเหมือนกลิ่นใบเตย เพราะมีสาร 2-acetyl-1-pyroline ที่มีอยู่ในใบเตย) ไปปลูกและตั้งชื่อเป็นเนียงมะลิ เพื่อส่งออกทดแทนข้าวหอมมะลิไทย และได้ร่วมกับพม่าผลิตข้าวชื่อ พอซันมุย (ข้าวเมล็ดป้อมสั้น แต่เมื่อหุงสุกจะยืดยาวเกือบ 2 ซม) ไปทดแทนตลาดข้าวแถบแอฟริกาของไท
12. จุดแข็งของการส่งออกข้าวไทย คือ 1) ชื่อเสียงของประเทศไทยในการส่งออกอาหาร 2) คุณภาพข้าว 3) ขั้นตอนการผลิตข้าวที่ครบวงจรและเข้มแข็ง 4) สภาพอากาศ/ความหลากหลายของพันธุ์ข้าว (ทั่วโลกมีทั้งหมด 23,000 ตัวอย่างพันธุ์ โดยมีอยู่ในประเทศไทยถึง 17,000 ตัวอย่างพันธุ์) 5) ประสบการณ์การค้าข้าวที่ยาวนาน 6) การบริการที่ดี ซื่อตรงต่อผู้ค้า 7) สามารถปรับตัวได้กับทุกมาตรฐานสุขภาพที่มีการกำหนดขึ้น
13. จุดอ่อนของข้าวไทย คือ 1) ต้นทุนการผลิตต่อไร่สูง แต่ผลผลิตต่อไร่ต่ำ 2) ระบบชลประทานในพื้นที่เพาะปลูกมีจำกัด เพียง 32% ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมด อีก 68% ต้องพึ่งพาน้ำฝน 3) งบวิจัยและพัฒนาการผลิตข้าวมีน้อยเกินไป (ไทยหลัก 100 ล้านบาท/ปี เวียดนามหลายพันล้านบาท/ปี) 4) ราคาส่งออกสูงกว่าคู่แข่ง 4) ขาดการสร้างตราสินค้าข้าวไทยที่แสดงถึงจุดเด่นที่ชัดเจน 5) ระบบและต้นทุนขนส่ง (ไทยใช้ระบบถนน เวียดนามใช้ระบบทางน้ำเป็นหลัก) 6) นโยบายและยุทธศาสตร์ข้าวไม่ชัดเจนกลับไปกลับมา บางครั้งเตะตัดขาตนเอง
14. ผลกระทบจากโครงการจำนำข้าว คือ 1) ชาวนาไม่สนใจปลูกข้าวที่มีคุณภาพดี เพราะราคาในการจำนำเท่ากัน และได้ผลผลิตมากกว่า 2) ไม่สนใจการปฏิบัติที่ดี ใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชทุกอย่าง ในพื้นที่อย่างเต็มที่ เพื่อเน้นปริมาณ 
15. การแก้ไขปัญหา 
ระยะสั้น 
1) ข้าวในสต๊อกต้องรีบนำมาแปรรูปเป็นข้าวนึ่ง เพื่อลดการขาดทุนจากโครงการรับจำนำ (ตลาด 5.00-6.00 ล้านตัน/ปี) 
2) ตั้งทีมงานที่มีความชำนาญเฉพาะมาทำการขายข้าวเพื่อลดสต๊อกและลดปัญหาคุณภาพข้าวที่เก็บไว้นาน 
3) แก้ไขหนี้สินที่ค้างชำระแก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวทั้งหมดและปิดโครงการรับจำนำ
ระยะกลาง/ยาว 
1) ใช้ความหลากหลายของตัวอย่างพันธุ์ข้าวที่มีผลิตข้าวตามโซนและตามความต้องการของตลาดเฉพาะ (Niche Market) เพื่อเพิ่มราคาการส่งออกและใช้เป็นนโยบายในการสนับสนุนการลดต้นทุนของเกษตรกร 
2) นำระบบโซนนิ่งมาใช้โดยจัดการพื้นที่ที่มีความเหมาะสมอย่างแท้จริงมาปลูกข้าว โดยเมื่อดูจากข้อมูลจะเหลือพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสำหรับปลูกข้าวเหลือเพียง 38.0% ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมดในปัจจุบันที่มีพื้นที่ปลูกข้าวนาปีราว 67.0 ล้านไร่ และนาปรังราว 16.0 ล้านไร่ 
3) เร่งลดต้นทุนและเพิ่มผลิตต่อไร่ ให้การสนับสนุนทุนแก่เกษตรกรทุกราย/รายย่อย รายละ 20,000 บาท/ครอบครัว จะใช้งบไม่เกิน 74,000 ล้านบาท 
4) กำหนดราคากลางซื้อขายข้าวของเกษตรกรโดยรัฐบาล เพื่อไม่ให้พ่อค้าคนกลางกดราคา (อาจต่ำกว่าราคาตลาดโลกเล็กน้อย เพื่อให้ผู้ส่งออกสามารถดำเนินธุรกิจได้) และโรงสี/ผู้ส่งออกต่องซื้อตามราคานี้และส่งออกโดยการกำกับของรัฐบาล 
5) ต้องกองทุนข้าวเพื่อสนับสนุนการผลิตและการส่งออกข้าว ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความเสถียรภาพด้านราคาข้าวในระยะยาว 
6) ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ทำโรงสีชุมชนเพื่อผลิตข้าวตามความหลากหลายของพันธุกรรมและความนิยมบริโภค 
7) ส่งเสริมงานวิจัยพัฒนาพันธุ์ข้าว การเพิ่มผลผลิต การนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ลดต้นทุน การส่งเสริมการปลูกข้าวอินทรีย์ 
8) รัฐบาลควรคัดเลือกทีมที่มีความเชี่ยวชาญด้านการตลาดข้าวมาเป็นทีมบุกเบิกและสร้างยุทธศาสตร์ข้าวที่ชัดเจน ไม่ใช่ส่งคนที่ไม่มีความรู้เรื่องข้าวมากำหนดนโยบายและเป็นหัวหน้าทีม ซึ่ง “เก่งบนเวทีประท้วง แต่ไม่ได้เรื่องบนเวทีการค้า” (วันนี้มันสายไปเเล้วครับ พรรคขี้ข้าทักษิณ
หมดเวลาเเล้ว)



#34 PATTON

PATTON

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 221 posts

ตอบ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 14:42

อันนี้เห็นเป็นบทความน่าสนใจดี เลย ขอเอามา นำเสนอ ไว้อ่านเล่น ขำ ขำ ครับ 

 

 

อ.แก๊ป ทำวิจัย สั้นๆ ดูว่าเซเลบเสื้อแดง พูดเรื่องจำนำข้าว ยังไงบ้าง 

เจ็บใจดีครับ ตกลงชาวนา ที่พวกเค้าเห็นอกเห็นใจ พร้อมเชียร์โครงการจำนำ วันนี้ไม่มีการเหลียวแลซักนิด ......
เกิดสงสัยอะไรนิดหน่อย อยากรู้ว่า คนที่พูดปาวๆว่า หนึ่งคนหนึ่งเสียงเท่ากัน อย่าดูถูกเสียงประชาชน จะเป็นห่วงเป็นใย “หนึ่งเสียง” ของชาวนาอย่างไรบ้าง? ก็เลยลองไปส่องๆ FB ของคนต่อไปนี้ ดูว่ามีสเตตัสเกี่ยวกับชาวนามากน้อยแค่ไหน และแสดงความเห็นใจเสียงชาวนามากแค่ไหน (ย้อนไป 1 อาทิตย์ ถึงวันเลือกตั้ง)

วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ – 0
เอกชัย ไชยนุวัตร – 0
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล - 1 (จากเยอะมาก เป็นแบบ ปล. บอกว่า ปล.เรื่องจำนำข้าว ผมไม่เห็นด้วยนะ สั้นๆ)
เกษียร เตชะพีระ – 1 (จากเยอะมาก เป็นการแชร์โพสต์ตัวเองที่เคยเขียนไว้ก่อนหน้านี้ บอกว่าไม่เห็นด้วยกับจำนำข้าวอย่างไร โดยไม่ได้แสดงความเห็นใจชาวนา แต่บอกว่ามีความเสี่ยงเพราะแบ่งผลประโยชน์ไม่ลงตัว
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ – แชร์ข่าวเรื่องชาวนาสามสี่ครั้งโดยไม่ได้แสดงความเห็นอะไร

คนที่ดูจะแสดงออกเรื่องชาวนามากที่สุด น่าจะเป็น สมบัติ บุญงามอนงค์ แต่เท่าที่เห็นไม่มีสเตตัสไหนแสดงถึงความเห็นอกเห็นใจชาวนา ส่วนใหญ่ออกไปในทางประชด กปปส.ว่าไม่ได้ช่วยชาวนาจริง และล่าสุดเห็นบอกว่า จะไปจับมือกับป้าเช็งคิดโครงการออกมาช่วยชาวนา (จะเชื่อได้มั้ย จับมือกับจอมหลอกลวงเนี่ยนะ) 
โดยทั้งหมด ไม่มีใครแชร์คลิปข่าวของน้ำตาชาวนาจากเวทีปทุมวัน

หนึ่งคนหนึ่งเสียงเท่ากันของพวกคุณ คงไม่รวมเสียงชาวนาด้วยกระมัง?
 

#35 mr.patton

mr.patton

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 579 posts

ตอบ 18 เมษายน พ.ศ. 2557 - 22:38

ไม่ได้เข้ามากระทู้นี้สะ นานเพราะ ไปช่วยเพื่อนๆชาวนาเดินทางหนีเจ้าหนี้นอกระบบเข้ามาทวง เงินจำนำข้าวจาก อีปู 

 

คืนนี้เป็นคืนสุดท้ายในกทม.ก่อนกลับไป ตจว.เลยขอ เอาข่าวมาลงสักเรื่อง2เรื่อง น่าจะมีประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย  

 

 

กูรูทอล์ค มันนี่ ชาแนล ธนาคารเกียรตินาคิน
สัมภาษณ์ ดร.ปิยะศักดิ์ มานะสันต์ (4 เมย. 57)

* บทความด้านล่างเป็นการเล็คเชอร์ (ไม่ได้มาจากการถอดเทปสัมภาษณ์) ผิดพลาด ตกหล่นประการใด ขอภัยไว้ ณ ที่ด้วย

ผลจากปัญหาการเมืองยืดเยื้อ ที่มีผลต่อเศราฐกิจ มีมุมมองที่เปลี่ยนไป คือ มีการปรับลดจีดีพีลงจาก 2.8% มาที่ 1.1% ประเด็นหลักคือ

- วันที่ 21 มีค. ที่ศาลให้เลือกตั้งเป็นโมฆะ 2 ฝ่ายไม่มีท่าทีที่จะรอมชอม คาดว่าจะได้รัฐบาลในครึ่งปีหลังจีดีพีจะโต 1.1%

สมมุติฐานหลัก ๆ มาจากการเมือง ดูว่าเลือกตั้งได้หรือไม่

- เลือกตั้งใหม่ถ้าลงทุกพรรค เลือกตั้งได้ โดยไม่มีการขัดขวาง น่าจะได้รัฐบาลใหม่ในไตรมาส 4 โดยคาดว่าจะมีการเลือกตั้งในเดือน สิงหาคม

- ไม่สามารถจัดการเลือกได้

- เกิดสุญญากาศทางการเมือง เรื่อง พรบ 2 ล้านล้าน, คุณถวิล, และที่มาสว. ซึ่งจะทำให้เหลือแค่ สว.สรรหา >> เกิดนายก.คนกลาง อาจทำให้เกิดการปะทะมวลชน << ทหารเข้ามา ความเชื่อมั่นหาย เศรษฐกิจตกต่ำ โอกาสเกิดประมาณ 30% เป็น worst case

การเมืองเป็นน้ำหนักหลักที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจไทย
ต้องติดตามดูประเด็นต่อไปนี้

- การเลือกตั้ง ทุกพรรคกลับมาลงหรือไม่

- การเลือกตั้ง สว. ที่ผ่านมา กกต. ยังไม่ได้ประกาศอย่างเป็นทางการ สว.ใหม่ จะโหวตประธานวุฒิ จะถูกถอดถอนหรือไม่ รัฐบาลรักษาการจะสิ้นสภาพหรือไม่

-รัฐบาลรักษาการสิ้นสภาพ

- กรณี คุณถวิล อาจจทำให้ นายก. และ ครม ทั้งคณะ สิ้นสภาพ เกิดสูญญากาศทางการเมือง

- การปะทะของมวลชน 2 ฝ่าย

ตัวเลขแต่ละกรณี

- ดีที่สุด จีดีพี 2.1% ปีหน้า 2.5% ปีหน้าโตต่ำ ๆ แต่ไม่ติดลบ

- กรณีฐาน จีดีพีปีนี้จะโต 1.1% การบริโภค การลงทุน ความเชื่อมั่น หดตัว ปีหน้าฟื้น 4

- กรณีแย่ คือมีการปะทะกัน จีดีพีปีนี้จะ -2% ปีหน้า 0.7% ทุกอย่างจะหดตัว ทั้งการลงทุนรัฐและเอกชน

ตลาดการเงิน การลงทุน ผลกระทบ

- ภาคการเงิน ดอกเบี้ยนโยบาย จะลดลงยาก เพราะเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น

- กรณีแย่มาก ๆ จีดีพี -2% อาจจะมีการปรับลดดอกเบี้ยโดยทั้งปีจะลดลง 0.5% ทำให้ธนาคารลดดอกเบี้ยทั้งฝาก และถอน

- ผลตอบแทนพันธบัตร จะต้องปรับขึ้น เพราะมีการไหลกลับของเงินทุน และวิกฤตการเมือง ทำให้มีการเข้าลงทุนอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรอายุ 10 ปีจะไปอยู่ที่ 4.4% และไปอยู่ที่ 4.8% ในปีหน้า

การส่งออกน่าจะดีขึ้นช่วงนี้ เเต่เรื่องข้าวคงยาก >>>> - ค่าเงิน จะอ่อนลง ปลายปี 34 จาก 32 บาทกว่า ๆ ในช่วงนี้

หุ้น น่าจะปรับลดลงนิดหน่อย แต่ขึ้นกับสถานการณ์การเมืองด้วย <<<<<< 



#36 mr.patton

mr.patton

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 579 posts

ตอบ 18 เมษายน พ.ศ. 2557 - 22:41

ส่วนอันนี้ เป็น รายการเรื่องเด่นอาเซียน TNN24 
Ep.12 "การปรับเปลี่ยนประเทศไทยภายใต้บริบทของการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจโลก" โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล และ ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล


ความกล้า และการปรับเปลี่ยนทัศนคติของคนในประเทศ เป็นสิ่งสำคัญในการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้ทันกระแสโลก และสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้

: : ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า การปรับเปลี่ยนทัศนคติ ของคนในประเทศ เป็นจุดเริ่มต้นและเป็นรากฐานสำคัญที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงประเทศไทย

แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงใหญ่ของโลกทั้งการเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างประชากรและการเข้าสู่สังคมเทคโนโลยีอัตโนมัติย่อมส่งผลให้บางประเทศได้เปรียบและมีความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น

ดังนั้นการยกระดับศักยภาพการผลิตจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการในทันที เพื่อไม่ให้ช่องห่างของศักยภาพการผลิตของไทยกับประเทศอื่นในภูมิภาคเดียวกันต่างกันมากขึ้นเรื่อยๆ 

: : ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา มองว่า การจะเปลี่ยนแปลงให้ทันกระแสโลกนั้น เราต้องกล้าที่จะปรับเปลี่ยน และอยู่บนพื้นฐานของความพอเพียง สำรวจความพร้อมของตัวเองก่อน และทำในสิ่งที่ตนถนัดและเชี่ยวชาญ 

ดร.สุเมธ ย้ำว่า ประเทศไทยมีจุดอ่อน คือ การบริหารจัดการ มีทั้งคน และทรัพยากร แต่สุดท้ายก็ไปไม่รอด  

 

 



#37 serialnu

serialnu

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 772 posts

ตอบ 18 เมษายน พ.ศ. 2557 - 23:13

ขอบคุณ  คุณ PATTON  ที่เอาบทความต่างๆมาประเทืองความรู้   ดีกว่าเสื้อแดงที่เอาข่าวจากเวป Go6 มาลงเยอะฮ่ะ แบบนี้สาระดีกว่าบาน

 

#38 Super@2

Super@2

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,781 posts

ตอบ 18 เมษายน พ.ศ. 2557 - 23:45

จะเป็นลม เมื่อกี้เปิดเ้ข้าไปดูพอร์ต เลือดไหลไม่หยุด แงๆๆ

 

ถ้าจำไม่ผิด ผมได้ยินจาก คุณ pinkpanda นี่หละเกริ่นเรื่องหุ้น สมัยที่เจ้าของ กระทู้สลิปเงินเดือน ในตำนานยังไม่หายไป(หรือยังอยู่ก็ไม่รู้)

เลยคิดการใหญ่ เล่นกับเค้าบ้าง ซึ่งตอนนี้บอกได้คำเดียวครับ ว่า เจ็บ  :(


พาโล อปริณายโก แปลว่า คนโง่ไม่ควรเป็นผู้นำ

#39 mr.patton

mr.patton

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 579 posts

ตอบ 30 เมษายน พ.ศ. 2557 - 23:26

ไปอะไรน่าสนใจ เลยเอามาเหล่าต่อให้ฟัง

นายกทักษิณ นั่งเป็นประธาน การประชุม คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งแรกเมื่อ กันยายน 2544 บอกว่าจะมาศึกษาเรื่องหากเปลี่ยน Time zone จะกระทบอะไรบ้าง

แต่วาระใหญ่การประชุมครั้งนั้นคือการผ่านแผนแม่บท ก๊าซธรรมชาติ ซึ่งรวมโครงการท่อส่งก๊าซ มูลค่า 9.3 หมื่นล้านไปด้วย

อีกไม่กี่เดือนต่อมา ปตท.ถูกแปรรูป พร้อมโครงการท่อก๊าซ ที่อนุมัติให้สร้างตั้งแต่ก่อนแปรรูป

และ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ บอกให้ใช้ แผนแม่บทเร่ื่องก๊าซศธรรมชาติครบวงจรเป็นจุดขาย นักลงทุน

คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เป็นคณะกรรมการใหญ่ด้านนโยบายพลังงาน มี นายกเป็นประธาน แต่โดยทั่วไปจะมอบหมายรองนายกด้านเศรษฐกิจ เข้าประชุมแทน แล้วนายกค่อยไปอนุมัติทีเดียวในการประชุม ครม ทักษิณ เข้าประชุมครั้งนี้ครั้งแรก และครั้งเดียวตลอดตำแหน่งนายกฯ

ปตท. ถูกฟ้องแพ้เรื่องสินทรัพย์ในส่วน ท่อส่งก๊าซ

ไม่คิดก็ต้องคิด ทำไมต้องรีบอนุมัติ โครงการท่อส่งก๊าซ โดยการลงทุนของรัฐให้ ปตท.เอาไปใช้เป็นจุดขายในการระดมทุน

คิดสิคิด คิดสิคิด

เพิ่มเติม
"อยู่ๆ เอางบประมาณ ไปสร้าง ความมั่งคั่งให้ ปตท.ก่อนแปรรูป 9.3 หมื่นล้าน

ทั้งที่ ออกขายหุ้น 49% ได้เงิน 3.23 หมื่นล้าน "

http://www.eppo.go.t...kpc/kpc-085.htm



#40 คนสับปรับ

คนสับปรับ

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,410 posts

ตอบ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 04:27

ขอเรื่องยางพารา และปาล์มน้ำมัน ด้วยครับ 



#41 เดือนเอก

เดือนเอก

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 542 posts

ตอบ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 07:40

กระทบหมดครับ

โดยที่ต่างจังหวัดเริ่มก่อน 

ไม่เหมือนต้มยำกุ้ง ที่เรียกว่า คนรวยล้ม

 

ผมเรียกรอบนี้ว่า รากหญ้าล้ม

 

เอาง่ายๆ เงินข้าวไม่ได้ ยังไม่จ่าย ค่าเมล็ด ปุ๋ย ค่ารถเกี่ยว ค่ายา ค่าแรง

แล้วตอนนี้ ค่ากินอยู่ เงินที่จะให้ลูกหลานเปิดเทอม ทำอย่างไรครับ  ถึงผูกคอตายกัน

 

ถ้ามีทุนบ้าง จะทำนารอบต่อไป ราคาต้นทุนกลมๆ  7-8000(หมายถึงรวมค่าครองชีพไปบ้าง)

 

จะเอามาขายใครครับ โรงสีไม่รับ รัฐก็แอบขายขาดทุนยับ(เพราะไม่ต้องคิด ไม่ใช่เงินกูที่ขาดทุน)

 

 

ตอนนี้มีผลกระทบจากค่าครองชีพ แก๊สจาก 300 จะชน 400 บาท น้ำมัน ค่าอาหาร

 

ค่าแรงดึงไม่ขึ้นเพราะมีแรงงานต่างชาติสอดแทรกตลอด

 

งานโรงงานก็ปิดตัวลง ย้ายฐานการผลิตไปเพื่อนบ้านหมด

 

ไม่มีรายได้ จากรากหญ้า ค้าขายไม่ได้ เศรษฐกิจ ชิบหาย ใครทำนโยบายแบบนี้ได้บ้าง

 

ฆ่าคนไทยแบบเลือดเย็นสุดๆ



#42 mr.patton

mr.patton

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 579 posts

ตอบ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 12:14

ทำไมราคาหมูถึงเเพง ?

บางเพจ บอกว่า อาหารเเพง ?

 

พืชการเกษตรที่ใช้ทำอาหารสัตว์ปีนี้ราคาตกตำ่ไม่ใช่หรือครับ?

 

บางเพจ บอกว่า นำ้มันเเพง  เเก๊สเเพง

 

ประเทศเราเป็นผู้ส่งออกนำ้มันรายใหญ่ (30 เม.ย. 2556)เป็นอันดับที่ 24 ของโลกตามข้อมูลของ EIA ..ประเทศไทยสามารถผลิตน้ำมันได้มากถึง 1,000,000 บาร์เรลต่อวัน แต่ใช้จริงวันละ 700,000 บาร์เรล ส่วนที่เหลือส่งออกไปขายต่างประเทศ 100,000 บาร์เรลต่อวัน 

 

เเก๊ส Chevron เผยปี 2012 ผลิตก๊าซธรรมชาติในไทยได้เป็นอันดับ 2 ของโลก นี้เเค่ บ.เดียวนะ

 

 

 

 บทวิเคราะห์ล่าสุดไม่พูดถึง ราคานำ้มัน ค่าขนส่งที่เพิ่นขึ้นเลย  ทำไมครับ ปตท.มันใหญ่มากนักไงครับ 

 

ข่าวดีอีกข่าวราคาไข่ไก่เบอร์0 

ในบาง จว.

4บาทเเล้ว

 

 

 

บทวิเคราะห์ ล่าสุด 22 เม.ย. 2557 - 

http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=227826%3A2014-04-22-06-35-08&catid=165%3A2009-03-19-03-51-23&Itemid=414#.U3WZcOBpv78

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ถ้าเรายังปล่อยให้พรรคการเมืองที่ไม่มีคุณธรรม ไร้ความสามารถบริหารประเทศ บริหารประเทศต่อไป เชื่อเถอะว่าเราได้เห็น ชาวนาไทยหมดไปจากเเผ่นดินไทยเเน่นอน ต่อไปก็จะเหลือเเต่ ลูกจ้างที่รับจ้างทำนาบนที่นาที่เคยเป็นของตัวเอง  

 

 

จากการที่ราคาข้าวไทยสูงกว่าประเทศคู่แข่งทำให้ปริมาณส่งออกข้าวลดลงต่อเนื่อง ในปี 2557   ข้าวขายไม่ออกเเต่คนไทยต้องทนกินข้าวเเพงเช่นเดิม

“FAO” เผย อัตราการผลิต    คาดว่าการผลิตข้าวสาลีจะเพิ่มขึ้นถึง 702 ล้านตัน ในปี 2013 และ 2014 ส่วนการผลิตข้าวนั้นถูกมองว่าจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นจนถึงระดับ 489.9 ล้านตัน   

 เอฟเอโอ (FAO) ซึ่งมีฐานอยู่ที่กรุงโรมของอิตาลี ได้คาดการณ์ไว้ว่าปริมาณผลิตผลของธัญพืชทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น 3% เป็น 2,402 ล้านตันในปี 2013 และ 2014 ทั้งนี้ผลผลิตส่วนมากที่เพิ่มขึ้นมานั้น จะมาจากความต้องการใช้ข้าวโพดเพื่อการเลี้ยงปศุสัตว์ที่เพิ่มขึ้น และจากความต้องการของภาคอุตสาหกรรมในสหรัฐฯ
       
       เอฟเอโอระบุว่า คลังสินค้าธัญพืชของโลกในช่วงท้ายปี 2014 ถูกคาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 11% เป็น 569 ล้านตัน ซึ่งสูงสุดในรอบ 12 ปี

นั้นอย่าคิดว่า ราคาอาหารสัตว์ในประเทศจะถูกลง เนื้อสัตว์ในประเทศจะถูกลง   ถ้าเรายังปล่อยให้พรรคการเมืองที่ไม่มีคุณธรรม ไร้ความสามารถบริหารประเทศ บริหารประเทศต่อไป เชื่อเถอะว่าเราจะได้เห็นราคาอาหารสัตว์ในตลาดโลกถูกลง เนื้อสัตว์ในตลาดโลกถูกลง เเต่  ราคาอาหารสัตว์ในประเทศเเพงขึ้น เนื้อสัตว์ในประเทศเเพงขึ้น

 

http://www.manager.c...D=9560000071435

 


Edited by mr.patton, 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 17:06.


#43 Bot V Mask

Bot V Mask

    ตัว V อยู่กลางหน้าผาก

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,185 posts

ตอบ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 12:43

พอประเทศไทยจะเจ๊ง ก็ได้เวลา "ชอปของถูก" อีกใช่ไหมครับ

เพราะคนที่ร่ำรวยขึ้นรอบนี้มีแค่กลุ่มเดียว กลุ่มเดียวจริงๆ

#44 mr.patton

mr.patton

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 579 posts

ตอบ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 14:59

ผู้รู้ทางเศรษฐกิจ วิเคราะห์ไว้ต่างๆนาๆ เเต่ผมจะบอกว่า 
เเล้วยังไง 
หุ่นจะขึ้นจะลงกองทุนปล้นสมบัติชาติหำหดหายไป เเล้วยังไง วันนี้ประชาชนก็ยังคงกินไข่เบอร์0 ราคา4บาทอยู่ดี 
ปฏิรูปประเทศ ปฏิรูปปตท. ปฏิรูปพวกธุรกิจผูกขาดสินค้า อุปโภคบริโภค ทำให้เขามีความหวังว่าจะได้กินใช้ของที่ถูกลง
วันนี้ประชาชนยังไม่ชนะ การออกมาร่วมชุมนุมยังจำเป็นเเละเป็นการเเสดง เจตจํานงค์ ที่จำเป็นยิ่ง เพจหมิ่นยังไม่ถูกปิด พวกหมิ่นยังไม่ถูกกำจัดออกจากสังคม

เจตจํานงค์ ปณิธาน ของเลือด เเละหยาดเหงื่อ ทุกหยด ต้องไม่ ศูนย์เปล่าไร้ค่า นั้นคือคำประกาศที่ผมได้ยินจากมวลมหาประชาชนวันนี้ 

Martial Law หรือกฏอัยการศึก อาจมีผลต่อกองทุน ตปท เพราะกองทุน บางกองทุนเขามีกฏภายในว่าไม่ลงทุนในประเทศที่มีการใช้กฏนี้

อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าทุกกองทุน จะต้องทำ และ กองทุนไทยไม่มีกฏนี้ 

ดัชนีจะเป็นอย่างไรในวันนี้และระยะสั้นๆ ขึ้นกับผู้เล่นในตลาด ว่าคิดอย่่างไร ไม่มีใครรู้จริงหรอกค่ะ เพราะดัชนีจะขึ้นจะลงมันขึ้นกับผู้เล่นในตลาด

บางคนอาจซื้อ เพราะถือเงินสดนานแล้ว บางคนอาจห่วงก็เลยขาย

สำหรับผู้ลงทุนระยะยาว การลงทุนจะดูภาพใหญ่ ดูปัจจัยพื้นฐานมากกว่าจะตัดสินใจเพราะเรื่องระยะสั้น 

ตลาดหุ้นเปิดซื้อขายหุ้นเช้านี้(20พ.ค.) หลังประกาศกฏอัยการศึก หุ้นติดลบ 20.61 จุด ปรับตัวอยู่ที่ 1,390.02 จุด คำสั่งซื้อขายสูงถึง 4,001.06 ล้านบาท คาดดัชนีผันผวนระยะหนึ่ง

บล.ฟินันเซีย ไซรัส (FSS)วิเคราะห์ว่า แม้ว่าปัญหาการเมืองอาจจะมีโอกาสจบเร็วกว่าคาด หลังมีการประกาศใช้กฎอัยการศึก แต่เนื่องจากยังต้องรอความชัดเจนอีกหลายด้าน รวมทั้งต้องรอดูว่าสถานการณ์จะร้อนแรงมากขึ้นหรือไม่ด้วย ดังนั้น FSS ยังแนะนำให้รอเลือกหุ้นเข้าซื้อเฉพาะช่วงตลาดย้อนลงจะปลอดภัยกว่า เงินทุนต่างชาติเมื่อวานนี้ยังไหลเข้าตลาดหุ้นภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 ในปริมาณที่ค่อนข้างหนาแน่น โดยส่วนใหญ่ไหลเข้าอินโดนีเซีย 211.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทย 16.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เวียดนาม 6.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐและฟิลิปปินส์ 3.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ค่าเงินภูมิภาคเช้านี้ค่อนข้างนิ่งเงินทุนต่างชาติน่าจะยังไหลเข้าต่อ

คาดงว่าดัชนีหุ้น SET ยังมีโอกาสที่จะแกว่งตัวผันผวนและปรับย้อนลงให้เห็นอยู่เช่นเดิม เราจึงแนะนำให้รอเลือกหุ้นซื้อเฉพาะเมื่อตลาดปรับตัวลงจะเหมาะสมกว่า

หุ้นเด่นวันนี้ บล.ฟินันเซีย ไซรัส (FSS)แนะนำ

CK บมจ.ช.การช่าง กำไรปกติไตรมาส 1/2557 ฟื้นตัวแรงที่สุดในกลุ่มเพิ่มขึ้น 59% จากไตรมาสก่อน ตามคาด และคิดเป็น 42% ของคาดการณ์กำไรปกติทั้งปีที่ 877 ล้านบาท ลดลง 5% จากปีก่อน ซึ่งเรายังคงไว้เพราะแนวโน้ม BMCL (CK ถือ 30.2%) และบจ.ไซยะบุรีพาวเวอร์ (ถือ 30%) คาดว่าจะขาดทุนในช่วงที่เหลือของปี FSSยังคงแนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 20 บาท

ITD บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ กำไรปกติไตรมาส 1/2557ลดลง 79% จากไตรมาสก่อน แย่ที่สุดในกลุ่ม และคิดเป็น 15% ของคาดการณ์กำไรปกติทั้งปีที่ 665 ล้านบาท ลดลง 20%จากปีก่อน ลดลงแรงที่สุดในกลุ่ม สำหรับความคืบหน้าของโครงการทวาย ITD มีโอกาสได้เงินคืนทั้งหมด 6 พันล้านบาทหากประมูลงานไม่ได้กลางปีนี้ แต่หากประมูลได้ ก็จะแปลงเงินลงทุนที่ได้ลงทุนไปก่อนหน้าเป็นหุ้น ในส่วนของการเพิ่มทุน 1 พันล้านบาท บริษัทได้ขยายเวลาการจัดสรรออกไป (แต่หากเพิ่มทุน จะมีสัดส่วนการถือครองหุ้นลดลง(dilution) 17%) เรายังคงเป้าหมาย 3.90 บาท แนะนำเพียงถือ FSS ยังชอบ STEC และ CK มากกว่า

TK บมจ.ฐิติกร FSSปรับประมาณการกำไรสุทธิลง 24% เหลือ 400 ล้านบาท ลดลง 7% จากปีก่อน โดยปรับสมมติฐานการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญขึ้นจากเดิม 12% ของสินเชื่อรวมเป็น 13.8% และปรับลดการเติบโตของสินเชื่อลงจากเดิม 5% เป็นไม่เติบโต แม้ว่า TK จะมี PE 11.6 เท่าแต่ก็สูงกว่า ASK, KCAR และ THANI เพราะผลประกอบการยังมีลงได้อีก downside และเราปรับราคาเป้าหมายลงเป็น 8.80 จาก 9.40 บาท ลดคำแนะนำเป็นขาย จากเดิมถือ



#45 mr.patton

mr.patton

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 579 posts

ตอบ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 15:05

บทความของ อจ.Somkiat 
สร้างความมั่งคั่งให้คนไทย วิถี 2030

ประเทศดังๆของโลกกำลังปฎิบัติตามเป้าหมาย2030>> สร้างคนให้มีสุขและมั่งคั่ง ทำงานสร้างอนาคตให้ลูกหลานของเขาใน 17 ปีข้างหน้า

ประเทศเหล่านี้ทำแผนที่สอดรับ ประสานกันทั้งในด้านการศืกษา การสร้างอาชีพที่รายได้สูงให้เด็ก สร้างโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ และวางเป้าหมายรอบด้านชัดเจน

คนไทยจะรวยขื้นได้ ต้องสร้างการศืกษาที่เหมาะ สร้างงานที่ดี เพื่อคนรุ่นต่อไปจะได้เข้าทำงานที่รายได้สูง มีคุณค่า หรือผลิตสินค้า บริการที่มีมูลค่าสูง แข่งกับโลกได้

สร้างคนแนวนี้ สร้างสินค้าแนวนี้ได้มากเท่าใด ประเทศและประชาชนจะมั่งคั่งได้ตามที่คนรุ่นนี้สร้างให้

รัฐบาลทำให้คนจน หรือรวยก็ได้ มิได้เป็นเพียงผู้คุมงบ แต่คุมชีวิตคนด้วย

ในวันที่นักเรียนร้องถามทิศทาง จะเรียนอะไรดี เรียนแล้วมีงานทำไหม รายได้ตลอดชีพเป็นเท่าใด คุ้มค่าการลงทุนไหม 

ไม่มีคำตอบ ไม่มีคนตอบที่ชัดเจน ครอบคลุมทุกอาชีพ 
@

ผมแอบมาอาสาแนะแนวให้นักเรียน ผมบอกน้องๆไปว่า

หนื่ง ในโลกของเรามีอาชีพถืง 500000 อาชีพ เพิ่มปีละ 20000 อาชีพ รายได้และลู่วิ่งต่างกัน เรียนหมอยังแยกได้เป็น40 สาขา เรียนวิศวะก็แยกฟิลด์ได้ราวนั้น เนื่องจากเมืองไทยไม่เคยมีคนทำข้อมูลพวกนี้ไว้ ผมก็เลยจัดการทำแจก ตอนนี้เด็กๆชัดเจนกว่ายุค Final Scores

สอง ประเทศจะมั่งคั่งได้ ต้องมีคนเรียนเป็น PMET มากๆ

สิงคโปร์มีคนทำงานรายได้สูงแนวPMET 50%ของแรงงานทั้งหมด ตั้งเป้าจะขยับขื้นเป็นสองในสามของประชากรในปี 2030 เพื่อมั่นใจว่าคนสิงคโปร์ยังนำประเทศอื่นได้

character ของคนประเทศหนื่งเป็นผลรวมของอาชีพหลักของคนในประเทศนั้น

เป็นชาวนามาก ก็มีวิถีชาวนา

เป็นผู้บริหารมาก ประเทศจะมีบุคลิคของนักบริหาร

เน้นท่องเที่ยว ชาตินั้นมีลักษณะผู้ให้บริการ

PMET คือ อาชีพ professionals,managerial services,exexutives,และ technicals

PMET แต่ละตัวแยกย่อยไปได้หลายหมื่นสาขา สินค้าสิ่งทอตามการจำแนกของกระทรวงพาณิชย์ ยังแยกได้เป็นหลายพันรายการ แต่ละรายการคือหนื่งอาชีพ - กางเกงใน จี สตริง ม่าน ผ้าห่ม ที่ใช้วัสดุต่างกัน

คุณเรียนอะไรบางอย่าง เพื่อเลือกว่าคุณจะเป็นอะไรใน PMET >professionals, managers,exexcutives,หรือ technicians

จะเป็นเจ้าของ หุ้นส่วน หรือทีมงานเลือกเอา จะเป็นข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ เอกชน สิทธินั้นเป็นของคุณ

สาม ชีวิตคนต้องเรียนรู้ ทำงานไปตามลำดับขั้น

อ่านหนังสือ The Prince ของ Machiavelli อย่าอ่านเพียงสองส่วนแรก คือ บทบาทของ prince เพื่อเป็นนาย บทบาทของ advisors คือ ผู้ใช้สมอง

ต้องอ่านบทสำคัญคือ บทบาทของ servants ที่ดี คนเริ่มจากล่างสุดของปิรามิด

สี่ อาชีพแต่ละอาชีพต้องการคนที่มีบุคลิคต่างกันออกไป เจ้าของบริษัท ข้าราชการ แต่ละหน่วย

พิธีกร นักเขียน นักวิชาการ นักวิจัย ทหาร ตำรวจ โปรโมเตอร์มวยกำไรปีละ 80 ล้าน

พ่อค้าชายแดน นักลงทุน VI นักการเมือง เจ้าของสถานบันเทิง 

หมอ เทเลคอม งานท่องเที่ยว นักบิน

ล้วนมีบุคลิคและความรู้ ความสามารถที่แตกต่าง

ทุกอาชีพมีช่องทาง คนต่างความสามารถล้วนมีโอกาส ไม่มีใครเหมาะกับงานทุกอาชีพ


ดังนั้น ในโลกนี้มีงานที่เหมาะกับคุณเสมอ มีลู่วิ่งให้คุณเสมอ มีที่ว่างให้คนทุกคนแต่คุณต้องหามันให้เจอ

ห้า โอกาสมีมากมายในอาชีพที่คนไม่รู้จัก เช่น ส่งผัก ผลไม้เข้าโลตัส กิจการอะไหล่รถยนต์ การค้าชายแดน การค้ากับจีน นำเข้า ส่งออก พระเครื่อง งานศิลปะแนวคริสตี้

ต้องเข้าไปศืกษาเรียนรู้ วิจัยเอง

อยากรู้ธุรกิจความเชื่อ ศรัทธาต้องเข้าวัด

หก มหาวิทยาลัยไม่ได้สอนทุกอาชีพที่มีโอกาส คุณต้องเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว 

อ่านหนังสือ พูดคุย ลงไปดูพื้นที่ รู้จักคน มีเครือข่าย คนทุกอาชีพทุกระดับการศืกษา มีความรู้ที่คุณไม่รู้


เจ็ด ความรู้ที่สำคัญของคนในศตวรรษที่21 คือ รู้ภาษาไทย อังกฤษ หรือภาษาต่างประเทศอื่น รู้วิธีสื่อสาร กล้าพูด กล้าคิด กล้าทำ

รู้จักหาความรู้และโอกาสเพิ่มเติม รู้จักปรับตัว รู็พื้นที่ รู้วิชาการ รู้จักชีวิต รู้เทคโนโลยี่


คนที่จบการศืกษาควรมีทั้งภูมิรู้ ภูมิธรรม ภูมิฐาน และภูมิป้องกันภัย

ไม่ต้องเร่งรีบเรียนอัดทุกอย่างตอนเด็ก คุณมีเวลาเรียนตลอดชีวิต มีโอกาสสร้างสิ่งใหม่ตลอดชีวิต คุณไม่มีทางเรียนรู้หมดทุกอย่าง เพื่อนที่คุณมีจืงสำคัญ

ถ้าภาษาคุณไม่เก่งมาก มองหาเมียจากโรงเรียนผู้หญิงที่เก่งภาษา

รู้ทั้งวิชาการ และวิชาชีวิต โลกมันเปลี่ยน

แปด ผมสอนวิธีสืบค้นแหล่งงานทั้งราชการ รัฐวิสาหกิจ เอกชน ต่างประเทศให้ 

วิชานี้มหาวิทยาลัยไม่ค่อยสอน 

นักเรียนจืงมีจุดหมาย และความมั่นใจในอนาคต

ถ้าคนรู้ว่าเป้าหมายของตนคืออะไร ชีวิตง่ายขื้น

แต่ต้องรู้จักรองรับสถานการณ์ที่ไม่สมหวังด้วย ดูกีฬาเยอะๆจะเข้าใจ ยิ่งเป็นแฟนแมนยู จะซื้งมาก 

ว่าชีวิตไม่แน่นอน

เก้า อนาคตของงาน ถ้าในระดับเทรนด์โลก งานเรื่อง asset management , pharmaceutical,และอีกหลายๆอย่างมาแรง 

ดูผลกระทบจากโครงการลงทุนภาครัฐ ต่อการสร้างงาน ดูการลงทุนของภาคเอกชน และสอนให้อ่านโมเดลของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ อ่านหนังสือของ ดร นิเวศน์

สิบ ความรู้เรื่องการบริหารสินทรัพย์ครอบครัว เป็นเรื่องสำคัญมากๆในยุคปัจจุบัน การเรียนรู้ value ความรู้ ประสบการณ์ของพ่อแม่ ครอบครัว สำคัญมาก

สิบเอ็ด อย่าดูถูกคน คนในทุกพื้นที่มีโอกาส มีความรู้เฉพาะด้าน เฉพาะพื้นที่

จังหวัดต่างๆรอบกรุงเทพกำลังเจริญขื้น มีโอกาสที่นั่น

คนส่วนใหญ่ไม่ได้จบมหาวิทยาลัยดังอะไร แต่เขารู้เรื่องที่ดิน การทำโฉนด การค้าชายแดน มากกว่าคุณเยอะ

ทุกคนในทุกพื้นที่มีโอกาสครับ

เปลี่ยนจากอาจารย์สอนเด็กมหาวิทยาลัยมาเป็นอาจารย์สอนเด็กมัธยมซะงั้น

แต่ผมรู้สืกดีมาก เรียนมหาวิทยาลัยจบแล้วบ้าง เรียนอยู่บ้าง ก้าวหน้ากันรวดเร็ว


#46 mr.patton

mr.patton

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 579 posts

ตอบ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 17:14

เล่นมือถือไปเจอมา ขอเเอบเอามา บะ ไว้ตรงนี้ ไม่อยากให้เป็น ประเด็น ตอนนี้  จะขอเก็บเรื่องนี้ไว้เล่น ถ้าลุงกำนันหักหลังประชาชน โดยส่วนตัวเท่าที่เห็นลุงเเกทำงานมาตลอดเกือบๆ200วัน ผมคิดว่าเเกเปลี่ยนไปเเล้วนะ ข่าววงในบอกทักษิณให้ข้อเสนอทั้งเป็นเงินทั้งตำเเหน่ง เเต่ลุงเเกไม่สน เพราะถ้าตกลงจะยิ่งเป็นกว่า ไอ้บัง คนจะเกลียดเเกทั้งประเทศยิ่งกว่าทักษิณสะอีกนี่

 


  บทความ ของ อจ.Paul

 

เราใช้งานพวกมัน พวกมันคือแรงงานของเรา 
ไม่ใช่ให้มันมาเป้นนายที่เราต้องสวามิภักดิ์ เชื่อฟังเป็นผู้อยู่ใต้อาณัติ

เหยียดมันด้วยความเลวในอดีตไว้ เพื่อให้มันต้องละอายและสร้างสิ่งดีมาลบล้าง ไม่ใช่ไปช่วยมันฟอกตัวโดยที่มันยังไม่มีผลงานอะไรออกมา

ด่ามันไปเรื่อยๆ หวดมันทุกครั้งที่ไร้สาระ รู้เท่าทันมันให้จริง

แล้วคุณ จะได้อะไรจากมัน มากกว่าที่คุณคิด 

 

 

 

 

ไม่คิดว่าตัวเองจะต้องมานั่งเขียนเรื่อง สปก.4-01 สมัย สุเทพเป็น รมช.เกษตรฯ

ค่าที่ว่ามาตรฐาน และความนึกคิดของคนในสังคมตีค่าเรื่องนี้ไปที่เรียบร้อยแล้ว

แต่ปัจจุบัน สงครามสี ทำให้มาตรฐานบางอย่างคลาดเคลื่อน เปลี่ยนแปลงไปในทางที่น่าพิศวง (มันคือสิ่งที่เกิดขึ้นกับทุกฝ่าย แต่วันนี้ผมขอพูดกรณีเฉพาะ กปปส. และเรื่อง สปก 4-01)

หลังการจัดการกับ สุจินดา คราประยูร ที่หวังสืบทอดอำนาจ รสช.สำเร็จ พรรคการเมืองของไทยกลายเป็นฝ่าย เทพ - มาร จากกระแสนี้ทำให้ ชวน หลีกภัย นำพาพรรค ปชป.ขึ้นเป็น พรรคที่ได้รับการเลือกตั้ง

แต่แล้วเทพก็จำแลง 20 พ.ย. 2537 สุเทพ ไปเป็นประธานแจก สปก. 4-01 จากพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมของภูเก็ต จำนวน 10,500 ไร่ แก่ประชาชน 480 คน ซึ่งในกลุ่มนั้น มีเศรษฐี และญาติของเลขาส่วนตัวสุเทพ ถึง 10 ราย

การให้เอกสารสิทธิ สปก 4-01 คือการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร เป็นนโยบายเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ที่ยากจน(ความลักลั่นคือคำจำกัดความว่ายากจน) โดยนำที่ดินของรัฐ เช่นที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ของทางราชการ ที่ดินที่กลายเป็นชุมชนไปแล้ว(โดนประชาชนยึด) และที่ดินป่าเสื่อมโทรม ทั้งนี้ ที่ดินที่แจกให้มีวัตถุประสงค์ให้ทำการเกษตรอย่างเดียว

เมื่อเรื่องนี้แดงขึ้น ฝ่ายค้านนำโดยเนวิน ชิดชอบ ก็ชำแหละสุเทพ และเครือข่ายประชาธิปัตย์ ในเร่องนี จนประชาชนที่สนใจการเมือง เชื่อในข้อมูลที่เนวิน หยิบยกขึ้นมา

ความผิดในกรณีนี้ มี 2 ประเด็น 
1 ความผิดของการไม่รัดกุมในการแจกที่ดิน ที่มีคนที่ขาดคุณสมบัติได้ไป 
และ 2 ในฐานะเป็นรัฐมนตรีที่ดูแลเรื่องนี้ คนใกล้ชิดกลับได้ผลประโยชน์ แม้จะปฏิเสธว่าไม่รู้เห็น หรือดูแลเฉพาะนโยบาย แต่ความรับผิดชอบต้องเกิดขึ้นแน่นอน

ผลจากการอภิปรายของฝ่ายค้าน พรรคพลังธรรม ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายเทพที่ร่วมรัฐบาลประกาศแยกตัวออก เสียงในพรรคประชาธิปัตย์เริ่มระส่ำ ในที่สุด ชวน หลีกภัยจึงยุบสภา และแพ้เลือกตั้งในครั้งต่อมา

การทุจริตในกรณีนี้ สังคมไทยได้บทเรียนมากมาย เช่น ต่อให้จับได้ ต่อให้มีหลักฐานให้เชื่อได้ว่านักการเมืองทุจริต แต่นักการเมืองก็ไม่ต้องรับผิดชอบอะไร สามารถโยนความผิดให้กับฝ่ายปฏิบัติได้ตลอดเวลา

จึงนำไปสู่การแก้รัฐธรรมนูญครั้งสำคัญของประเทศคือ รัฐธรรมนูญปี 2540 ที่มีองค์กรอิสระเพื่อตรวจสอบนักการเมืองให้รัดกุมขึ้น มีศาลอาญาแผนกคดีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเฉพาะ และทำการพิจารณาในระบบไต่สวน

คำถามสำคัญ มาตรฐานการตรวจสอบของรัฐธรรมนูญ 40 ถ้านำมาใช้กับคดี สปก. 4-01 สุเทพจะเป็นอย่างไร ถ้ายิ่งลักษณ์ ต้องรับผิดชอบต่อคดีจำนำข้าว ทำไมสุเทพถึงไม่ต้องรับผิดชอบด้วย

แม้นักธุรกิจใหญ่ตระกูลดังของภูเก็ตจะถูกตัดสินให้คืนที่ดิน แต่คำถามสำคัญคือ แล้วการดำเนินการเพื่อแจกที่ดินตั้งแต่ต้นนั้น ไม่มีการดำเนินคดีกับผู้รับผิดชอบฝั่งราชการเลยหรือ

และการต่อสู้ถึง 3 ศาล มิใช่ความหน้าด้านของเศรษฐีที่หวังที่ดินฟรีเพื่อเกษตรกรจนๆ เหรอ

สปก. 4-01 เป็นเรื่องที่หน้าด้านที่สุดในประวัติศาสตร์คดีทุจริต 
ทำโดยพรรคที่กล้าเรียกตัวเองว่า เทพ
ทำโดยคนที่มีฐานะอันจะกินในสังคม เบียดบังคนที่ไม่มีอันจะกิน
ทำโดยคนที่ไม่รับผิดชอบด้วยมาตรฐานสูงสุดของนักการเมือง

สุเทพยังเล่นการเมืองต่อ ......

ในวันที่สุเทพ ออกมาไล่ทักษิณ แม้สิ่งที่เค้าทำจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศให้ดีขึ้น ก็ไม่ได้หมายความเราต้องเปลี่ยนประวัติ และการรับรู้ของเรา ถึงความเลวทรามของเค้าให้สะอาด

การทนก้มหน้าด้วยสำนึกว่ากำลังเดินตามคนที่มีความสกปรก และทุจริตเป็นอาจิณ ทำให้การเดินตามของเรา เดินตามในฐานะผู้กุมบังเหียน ไม่ใช่ผู้ถูกลาก



#47 mr.patton

mr.patton

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 579 posts

ตอบ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 17:41

กรณี เวียดนาม เผาโรงงานของจีน ที่มาตั้ง ในเวียดนาม นอกจากประเด็นชาตินิยม กรณีพิพาท พื้นที่เกาะในทะเลจีนใต้แล้ว ยังมีเรื่องของการกดขี่แรงงาน ที่นายทุนจีน ทำกับคนงานเวียดนาม อีกด้วย

ทั้งการนำเข้าคนงานจีนมาทำงานในเวียดนาม ทั้งการให้ทำงานหนัก การจ่ายค่าแรงที่ไม่เป็นธรรม

ใครจะนึก ประเทศสังคมนิยม จะทำกับประเทศ สังคมนิยม ด้วยกัน
เพลง แองเตอร์นาซิอองนาล ชาติรัสเซีย มาตั้งแต่ 1918 จนมาถึง 1944 มีความหมายกว้างๆ คือ กรรมาชีพทั้งหลายล้วนพี่น้องกัน โดยไม่คำนึงถึงประเทศ หรือเขตแดน (เช จึงออกจาก คิวบา ไปปลดแอกประเทศอื่นๆ ในอเมริกาใต้ จนโดนฆ่าตาย) 

ก็แค่อยากเล่าให้ฟังว่า ขนาดแนวคิดสังคมนิยม ที่ีมองประโยชน์ที่ คน ยังอับจนประโยชน์ ของประเทศตนเอง 

เห็นแล้วก็น่าขำ นักวิชาการไทย ยังเชิดชู สังคมนิยมอยู่ได้ 

http://www.youtube.com/watch?v=wEI_Cd8azBY


Edited by mr.patton, 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 17:41.


#48 mr.patton

mr.patton

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 579 posts

ตอบ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 01:07

 ปรับแนวรบเข้าการต่างประเทศ

สามวัน หลังการเปลี่ยนอำนาจ เมื่อวันที่22 พฤษภาคม เราทุ่มน้ำหนักไปที่เศรษฐกิจ สี่วันผ่านไป ทิศทางเศรษฐกิจชัดเจนมาก ประชาชนพออกพอใจ ชื่นชม

หน่วยงานราชการ กระทรวง ธนาคาร หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว ภาคธุรกิจ ประชาชนร่วมมือกันเต็มที่

ช่วงนี้ ศืกหนักมาอยู่ที่การต่างประเทศ วันนี้จะปรับโหมด ชวนพวกเราไปแก้ไขปัญหาการต่างประเทศกัน

แต่ขอสรุปเศรษฐกิจส่งท้ายครับ

หนื่ง มีการประกาศ road map ที่ชัดเจน. เป็นสามขั้นตอน ในช่วง คสช บริหาร รักษาความสงบ ขั้นตอนการปฏิรูปประเทศ จนนำไปสู่การเลือกตั้ง เรื่องนี้สำคัญต่อนักลงทุนต่างประเทศ ตลาดหุ้น สื่อต่างประเทศมาก ทำให้ทิศทางประเทศไทยดูชัดเจน ต่างชาติ และคนไทยรู้ว่าเราจะไปเป็นจังหวะอย่างไร ข้อนี้ให้ห้าดาว ควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์จุดนี้

สอง การให้เกียรติเชิญนักธุรกิจจากญี่ปุ่นเข้าพบ ปรืกษาหารือเป็นอันดับแรก ทำได้ดีมาก ญี่ปุ่นกับไทยใกล้ชิดกันมานาน ไทยเป็นหุ้นส่วนที่ดีที่สุดของญี่ปุ่นในเอเซียไม่ใช่เวียดนาม หรืออินโดนิเซีย เพื่อนของผมบอก ต้องขอแรงคุณนินนาท ไชยธีรภิญโญ อดีตรองของโตโยต้าไปช่วยด้วย ประธานนักเรียนรุ่นผมเอง สมัย น้ำท่วม คุณนินนาทเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นให้บริษัทญี่ปุ่นในไทย โตโยต้าประกาศเพิ่มการลงทุนทันท

งานนี้ให้ห้าดาว

สาม คุณ สมชัย สัจจพงษ์ ผอ สำนักงานเศรษฐกิจการคลังบอกว่า ทิศทางที่ดีขื้น จะทำให้เศรษฐกิจไทยปีนี้โต 2.2% มากกว่า .2% ที่ประมาณไว้ เป็นข่าวดีมาก คุณสมชัย นายกสมาคมนิสิตเก่าเศรษฐศาสตร์ จุฬา ช่วยอธิบายได้ดีมาก อดีตโฆษกกระทรวงการคลังเก่า

สี่ การลงทุนที่ชะงักเนื่องมาจากกระทรวงอุตสาหกรรมวางก้ามน่าจะหมดไป คนละพรรคก็ยังงี้ บอร์ดสำนักงานส่งเสริมการลงทุนไม่มี จืงไม่มีผู้อนุมัติโครงการมาเป็นปี ถ้าตั้งบอร์ดได้เร็วและดี มีวิสัยทัศน์ จะเกิดการลงทุนหลายแสนล้าน บัณทิตใหม่จะได้มีงานทำ

ห้า แบงค์รัฐปล่อยเงินได้เพิ่มอีกสามแสนล้าน แบงค์พาณิชย์สภาพคล่องเหลือมาก

หก การท่องเที่ยวขอย้ายมาอยู่ด้านเศรษฐกิจ ควรทำด่วน การท่องเที่ยวไทยพิสูจน์มาหลายครั้งแล้วว่า ฟื้นได้ในไม่กีเดือน ควรมีการโฆษณาสร้างภาพในต่างประเทศให้มาก

เจ็ด หอการค้าไทยขอตั้งศูนย์ประสานงานกับ คสช และลงไปถืงระดับจังหวัด สภาอุตสาหกรรมก็เหมือนกัน ความร่วมมือจากภาคเอกชนเข้มแข็งมาก

แปด แผนที่ดูแย่คือ. กระทรวงศืกษา แทบเลตอีกแหละ กินหัวคิวไปแล้ว บริษัทก็ยุบไปแล้ว คอนเทนท์ไม่มี เสียใช้งานไม่ได้ร่วมสามสิบเปอร์เซนต์ ควรตรวจสอบโครงการนี้อย่างหนัก ต้องถาม สว ตวง รู้เรื่องนี้ดี

เก้า ตั้งงบได้แล้ว จ่ายชาวนาได้แล้ว จะตรวจสอบเรื่องข้าว ตรงใจคนมาก

สิบ รอบต่อไปน่าจะเป็นรัฐวิสาหกิจมีเงินลงทุนเยอะ แต่หลายแห่งอ่อนแอมาก เหลือบเยอะนั่งกันเต็มบอร์ด. เด็กนักการเมืองตรืม ไอ้บางคนทะลื่งไปนั่งในกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย

สิบเอ็ด ยังมีกองทุนที่ใช้งบประมาณหลายร้อยกองทุนที่เอาเงินไปแอบ แจกฟรีกันมาก

สิบสอง แผนกระทรวงพาณิชย์ยังไม่น่าสนใจมากนัก เหมือนเดิม ต้องเอาแนวคิดใหม่ไปใส่

สิบสาม กระทรวงอุตสาหกรรมหายไปเลย เกษตรก็เหมือนกัน 

ระวังงบกระทรวงวิทย์ปี 57 ให้ดี

สี่วันทำงานได้เร็วมาก

สรุปเศรษฐกิจแล้ว 
จะเปลี่ยนโหมดไปต่างประเทศละครั

 

ขอขอบคุณบทความดีๆของ อจ.somkiat  มา ณ.ที่นี้ ด้วย






ผู้ใช้ 0 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 0 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน