Jump to content


Photo
- - - - -

นิวยอร์ก ไทมส์ "ประชาธิปไตยในห้วงอันตราย" (Democracy in Peril in Asia)


  • Please log in to reply
11 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 RED MORON

RED MORON

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,099 posts

ตอบ 7 มกราคม พ.ศ. 2557 - 21:36

ปกติข่าวจากประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านจะถูกเขียนขึ้นโดยนาย Thomas Fuller โดยจะมีเนื้อหาที่ฝั่งทักษิณและกลางกลวง ยกย่องว่าเป็นนักข่าวเสนอความจริง แต่วันนี้คณะบรรณาธิการ (Editorial Board) ได้เสนอบทบรรณาธิการเกี่ยวกับความวุ่นวายทางการเมืองใน 3 ประเทศในเอเชีย ได้แก่ บังคลาเทศ กัมพูชา ไทย ซึ่งเกิดจากการที่ประชาธิปไตยที่ไม่มีการตรวจสอบ โดยย่อหน้าสุดท้ายของบทบรรณาธิการคือ

 

ไม่มีทางออกที่ง่ายสำหรับปัญหาใน 3 ประเทศนี้ แม้ว่าการเลือกตั้งเป็นสิ่งที่สำคัญ แต่การเลือกตั้งไม่สามารถที่จะสร้างเสถียรภาพในระบอบประชาธิปไตยได้ ประเทศเหล่านี้จะตกอยู่ในความวุ่นวายทางการเมือง จนกระทั่งสามารถสร้างสถาบันที่สามารถตรวจสอบผู้นำนักการเมืองได้

 

There are no easy or quick solutions to the crisis in these three nations. While elections are vital, they are not sufficient to create stable democracies. Until these countries build institutions capable of serving as a check on political leaders, they will remain vulnerable to civil unrest.

 

http://www.nytimes.c...ef=opinion&_r=0



#2 ONETHAI

ONETHAI

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 962 posts

ตอบ 7 มกราคม พ.ศ. 2557 - 21:40

ยังยืนยันให้โอบามา เอาคณะรัฐมนตรีชุดนี้ไปบริหารงานที่อเมริกา

สัก 2 ปีก่อนดีมั้ยครับถ้ายังคะยั้นคะยอให้ไทยต้องเลือกตั้ง

 

ให้พวกนี้มันไปออก พรบ. นิรโทษกรรมพวกที่ถล่มเวิร์ลเทรด เหมือนไม่เคยถล่มมาก่อน


Edited by ONETHAI, 7 มกราคม พ.ศ. 2557 - 21:41.


#3 RED MORON

RED MORON

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,099 posts

ตอบ 7 มกราคม พ.ศ. 2557 - 21:55

ที่น่าสนใจก็คือ ความเห็นของที่ผู้อ่านที่ถูกโหวตมากที่สุดคือ ความเห็นที่ต่อว่าระบบประชาธิปไตยในอเมริกา ที่ว่านักการเมืองอเมริกัน ก็ใช้หน่วยงานรัฐหาผลประโยชน์ให้ตัวเองและพวกพ้องเช่นกัน ซึ่งความวุ่นวายเกี่ยวกับประชาธิปไตยในเอเชีย ก็น่าจะเป็นบทเรียนที่ดีให้กับประเทศอเมริกาเช่นกัน 



#4 ปุถุชน

ปุถุชน

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 27,531 posts

ตอบ 7 มกราคม พ.ศ. 2557 - 22:06

ยังยืนยันให้โอบามา เอาคณะรัฐมนตรีชุดนี้ไปบริหารงานที่อเมริกา

สัก 2 ปีก่อนดีมั้ยครับถ้ายังคะยั้นคะยอให้ไทยต้องเลือกตั้ง

 

ให้พวกนี้มันไปออก พรบ. นิรโทษกรรมพวกที่ถล่มเวิร์ลเทรด เหมือนไม่เคยถล่มมาก่อน

 

 

พรบ.นิรโทษกรรมฯ

ย้อนหลัง วินาศกรรม 9/11(2544)....!


เคียงข้างลุงกำนัน ปฏิรูปการเมืองไทย กำจัดระบอบทักษิณ ขับไล่มวลหมู่ขี้ข้า วันที่ 26 พฤษภาคม 2557...


#5 ชาตินี้ไม่เอาตระกูลชินวัตร

ชาตินี้ไม่เอาตระกูลชินวัตร

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,098 posts

ตอบ 7 มกราคม พ.ศ. 2557 - 22:38

ถ้าได้ประชาธิปไตยแบบแม้วๆ แบบหอยเน่า ขอเป็นแบบอื่นดีกว่า



#6 stormtrooper

stormtrooper

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 356 posts

ตอบ 8 มกราคม พ.ศ. 2557 - 01:01

บทบรรณาธิการดูเหมือนจะด่า กปปส. ด้วยซ้ำ  บอกว่าผู้ประท้วงต้องการแทนที่รัฐบาลที่ได้รับเลือกตั้งด้วยคณะที่ได้รับการแต่งตั้งเพราะไม่มีปัญญาเอาชนะยิ่งลักษณ์ในการเลือกตั้ง  อ่านแล้วเพลีย  ฝรั่งพวกนี้มันไร้เดียงสาหรือว่าเขียนเพราะถูกลอบบี้วะ



#7 stormtrooper

stormtrooper

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 356 posts

ตอบ 8 มกราคม พ.ศ. 2557 - 01:22

คอมเมนต์นี้เขียนได้ตรงความจริงมาก  เป็นของฝรั่งที่อยู่ใน กทม.

 

James Herendeen
Bangkok
NYT Pick
 
The summary comments on Thailand misrepresent, or fail to enlighten the situation entirely, and the general media coverage of the Thai political scene has been shallow and inaccurate.

The protesters are against 'just another election' because the Thaksin political machine has been buying elections with public funds, has skimmed enormous wealth from the country to their own benefit, and run corrupt infrastructure projects which, even today, require payments directly to the family and the Thaksin political network. They have installed a 'rice-buying' scheme to use public funds to pay farmers for rice well above market price, buying a political base at the expense to the economy.

Under Thaksin himself, as PM, he conducted an extra-judicial war on drugs in which, by his own government count, cost 2800 lives over three months and included the deaths of students, children and 'police enemies,' not drug-related.

There were the murders of 88 muslim 'dissidents' in the south who were handcuffed, thrown atop one another in containers and left to suffocate. Acknowledged by that government -- only, as an 'unfortunate incident.'

Business could not be conducted without direct payoffs to the Thaksin family during that premiership -- for the airport, for government complexes; the list was, and is, long.

This is what the western media refuse to look into and report. Many feel that the western media are looking the other way to further wester business interests and their own agendas.

 

แปลให้ฟัง

 

ข้อความที่สรุปในกรณี Thailand นั้นผิดพลาด หรือไม่สามารถอธิบายสถานการณ์ได้อย่างถ่องแท้, และข่าวที่ปรากฎในสื่อโดยทั่วไปเกี่ยวกับภาพการเมืองของไทยนั้นตื้นเขินและไม่ตรงข้อเท็จจริง

 

ผู้ประท้วงนั้นต่อต้านเพียงแค่ การเลือกตั้งอีกหน หนึ่งเพราะว่าเครื่องจักรการเมืองของทักษิณนั้นซื้อเสียงเลือกตั้งโดยใช้งบประมาณแผ่นดิน  กวาดเอาทรัพย์สินของประเทศไปมหาศาลเพื่อประโยชน์ของตัวเอง  และดำเนินโครงการพื้นฐานที่มีความฉ้อฉล  ซึ่งแม้แต่ในวันนี้ก็ยังเรียกร้องเงินทอง (จากผู้รับเหมา?) ที่ต้องจ่ายให้กับทักษิณและบริวาร  ไอ้พวกนี้ได้ทำโครงการ ‘จำนำข้าว’ เพื่อใช้งบแผ่นดินจ่ายให้ชาวนาในราคาสูงกว่าตลาดมาก เพื่อซื้อฐานคะแนนโดยที่เศรษฐกิจส่วนรวมเสียหาย

 

ภายใต้การปกครองของทักษิณเอง  ได้มีการฆ่าตัดตอนผู้ค้ายาเสพติดโดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรม  ซึ่งมีตัวเลขคนตายของทางรัฐบาล 2800 คนภายในสามเดือน  ซึ่งรวมถึงเหยื่อที่เป็นนักเรียน เด็ก และคู่อริกับตำรวจซึ่งไม่มีอะไรที่เกี่ยวข้องกับการค้ายา

 

มีการฆาตกรรมต่อชาวมุสลิม 88 คน ‘ผู้เห็นต่าง’ ในภาคใต้ซึ่งถูกจับใส่กุญแจมือ  จับให้กองทับถมกันท้ายรถจนกระทั่งมีการตาย  ซื่งทางรัฐได้ออกมากล่าวเพียงแค่ ‘เป็นเรื่องที่ไม่คาดคิด’

 

การทำธุรกิจต่าง ๆ ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ถ้าไม่มีการจ่ายให้กับครอบครัวชินวัตรในช่วงนั้นที่ทักษิณเป็นนายก  ในธุรกิจเกี่ยวกับสนามบิน  หรือที่เกี่ยวกับรัฐ  ซื่งปรากฏรายชื่อยาวเหยียด

 

ที่กล่าวมาเป็นสิ่งที่สื่อตะวันตกละเลยที่จะรายงาน  หลายฝ่ายรู้สืกเหมือนกับว่าสื่อตะวันตกมองไปในทางที่จะเกื้อหนุนผลประโยชน์ของธุรกิจต่างชาติ  หรือเพียงแค่การรับใช้ agenda ของตนเอง


Edited by stormtrooper, 8 มกราคม พ.ศ. 2557 - 01:55.


#8 ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

    หน้าตาดี มีอุดมการณ์

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 21,670 posts

ตอบ 8 มกราคม พ.ศ. 2557 - 07:25

^

^

โดนใจมาก เพราะผมเห็นข้อความนี้ในบทความแล้วก็ตระหนักถึงภัยของล้อบบี้ยิสต์

ว่าที่ทักษิณทุ่มทั้งกำลังเงินและกำลังเวลาไปมหาศาลนั้น มันเห็นผลมากและหยั่งรากลึกลงไปในความคิดของสื่อนอกเยอะมากจนน่าตกใจ

 

 

In Thailand, the country’s Election Commission said on Friday that elections scheduled for next month would go ahead despite efforts by protesters to sabotage them. Led by opposition politicians, the protesters want to replace the country’s elected government with an appointed council of technocrats because they have been unable to win elections against the party of Prime Minister Yingluck Shinawatra.

 

 

 

ทักษิณล้อบบี้สื่อนอกจนเชื่อฝังหัวว่าฝ่ายต่อต้านก็เพราะ "ตนไม่เคยชนะเลือกตั้ง"

 

เราคงต้องคิดแผนหักล้างการล้างสมองนี้ได้แล้วละครับ


gladiator 1.jpg

 

 

 

 

 

 


#9 ประชาราบ

ประชาราบ

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 621 posts

ตอบ 8 มกราคม พ.ศ. 2557 - 07:35

บทความแนวนี้คงจะมีเพิ่มขึ้น

 

เพราะมีเหตุเกิดคล้ายๆกันหลายประเทศ ถ้าเขียนข่าวแบบหลายมาตรฐาน(ในแต่ละประเทศ)คนอ่านจะจับได้

 

ดูอย่างกรณีประท้วงใน ยูเครน กับ ไทย สำนักข่าวต่างประเทศออกข่าวคู่กัน 

 

แต่ดูต่างกันราวฟ้ากับเหวทั้งที่เหตุการณ์ความขัดแย้งออกมาคล้ายๆกัน



#10 phoosana

phoosana

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 7,687 posts

ตอบ 8 มกราคม พ.ศ. 2557 - 07:42

ปกติข่าวจากประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านจะถูกเขียนขึ้นโดยนาย Thomas Fuller โดยจะมีเนื้อหาที่ฝั่งทักษิณและกลางกลวง ยกย่องว่าเป็นนักข่าวเสนอความจริง แต่วันนี้คณะบรรณาธิการ (Editorial Board) ได้เสนอบทบรรณาธิการเกี่ยวกับความวุ่นวายทางการเมืองใน 3 ประเทศในเอเชีย ได้แก่ บังคลาเทศ กัมพูชา ไทย ซึ่งเกิดจากการที่ประชาธิปไตยที่ไม่มีการตรวจสอบ โดยย่อหน้าสุดท้ายของบทบรรณาธิการคือ

 

ไม่มีทางออกที่ง่ายสำหรับปัญหาใน 3 ประเทศนี้ แม้ว่าการเลือกตั้งเป็นสิ่งที่สำคัญ แต่การเลือกตั้งไม่สามารถที่จะสร้างเสถียรภาพในระบอบประชาธิปไตยได้ ประเทศเหล่านี้จะตกอยู่ในความวุ่นวายทางการเมือง จนกระทั่งสามารถสร้างสถาบันที่สามารถตรวจสอบผู้นำนักการเมืองได้

 

There are no easy or quick solutions to the crisis in these three nations. While elections are vital, they are not sufficient to create stable democracies. Until these countries build institutions capable of serving as a check on political leaders, they will remain vulnerable to civil unrest.

 

http://www.nytimes.c...ef=opinion&_r=0

ใครจะกล้าตรวจสอบผู้นำทางการเมืองฝ่ายประชาธิปไตยได้ เดี๋ยวเจอสีสันประชาธิปไตยหรอก fuller อยากเจอบ้างไหม

แบบว่ามีลูกเกลี้ยงมาวางอยู่หน้าบ้าน


We love fender.

#11 ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

    หน้าตาดี มีอุดมการณ์

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 21,670 posts

ตอบ 8 มกราคม พ.ศ. 2557 - 07:51

บทความแนวนี้คงจะมีเพิ่มขึ้น

 

เพราะมีเหตุเกิดคล้ายๆกันหลายประเทศ ถ้าเขียนข่าวแบบหลายมาตรฐาน(ในแต่ละประเทศ)คนอ่านจะจับได้

 

ดูอย่างกรณีประท้วงใน ยูเครน กับ ไทย สำนักข่าวต่างประเทศออกข่าวคู่กัน 

 

แต่ดูต่างกันราวฟ้ากับเหวทั้งที่เหตุการณ์ความขัดแย้งออกมาคล้ายๆกัน

 

 

จนคุณโทนี่ คาตาลุชชี่ออกมาประณามว่า "เอ็ง 2 มาตรฐานโคตรๆ" (หมายถึงชาติตะวันตก โดยเฉพาะสหรัฐตัวดี)

 

 

 

ตอนนี้เริ่มมีพวกบิดเบือนเข้าไปตอบแล้ว  ชุดความคิดที่เห็นชัดมี 3 ชุดดังนี้

 

1. กปปส. คือพวก anti-democracy (อันนี้ชัด ว่าชุดความคิดจากไอ้ชั่วแม้ว) และเมื่อชนะเลือกตั้งไม่ได้ก็เลยต่อต้าน

2. กลุ่มต่อต้านคือพวก elite(อำมาตย์)  ต้องการปกครองพวก rural(รากหญ้า)

3. ประเทศไทยไม่เคยเป็นปชต. เพราะถูกปกครองด้วยระบอบกษัตริย์และกองทัพมาตลอด (ดูมันโยง)


gladiator 1.jpg

 

 

 

 

 

 


#12 ประชาราบ

ประชาราบ

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 621 posts

ตอบ 8 มกราคม พ.ศ. 2557 - 08:27

 

บทความแนวนี้คงจะมีเพิ่มขึ้น

 

เพราะมีเหตุเกิดคล้ายๆกันหลายประเทศ ถ้าเขียนข่าวแบบหลายมาตรฐาน(ในแต่ละประเทศ)คนอ่านจะจับได้

 

ดูอย่างกรณีประท้วงใน ยูเครน กับ ไทย สำนักข่าวต่างประเทศออกข่าวคู่กัน 

 

แต่ดูต่างกันราวฟ้ากับเหวทั้งที่เหตุการณ์ความขัดแย้งออกมาคล้ายๆกัน

 

 

จนคุณโทนี่ คาตาลุชชี่ออกมาประณามว่า "เอ็ง 2 มาตรฐานโคตรๆ" (หมายถึงชาติตะวันตก โดยเฉพาะสหรัฐตัวดี)

 

 

 

ตอนนี้เริ่มมีพวกบิดเบือนเข้าไปตอบแล้ว  ชุดความคิดที่เห็นชัดมี 3 ชุดดังนี้

 

1. กปปส. คือพวก anti-democracy (อันนี้ชัด ว่าชุดความคิดจากไอ้ชั่วแม้ว) และเมื่อชนะเลือกตั้งไม่ได้ก็เลยต่อต้าน

2. กลุ่มต่อต้านคือพวก elite(อำมาตย์)  ต้องการปกครองพวก rural(รากหญ้า)

3. ประเทศไทยไม่เคยเป็นปชต. เพราะถูกปกครองด้วยระบอบกษัตริย์และกองทัพมาตลอด (ดูมันโยง)

 

 

เห็นด้วยครับเวลารับข่าวแล้วงง มันเขียนหรือรายงานยังกับเป็นคนละประเทศที่เราอยู่เลย

 

elite ที่ว่าเห็นจะมีแต่ชนชั้นปกครองก็คือนักการเมือง ที่เป็นอภิสิทธิชน แถมเป็นผู้มีอิทธิพล(เถื่อน)ไปพร้อมกันในตัว

ทั้งควบคุมการออกกฎหมาย ควบคุมตำรวจ(ถามจ่าๆยังรู้นายเข้ามากันยังไงเข้าทางสส.ดีสุด)

ควบคุมอิทธิพลเถื่อน(นอกกฎหมาย) คุมซ่องโจร อันธพาล แก๊งค์ก่อกวนเมือง

 

 

โชคดีที่ กปปส. อึดเต็มพิกัด ไม่พ่ายมารยาร้อยเล่มเกวียนไปก่อนเพื่อบรรลุภาระกิจ และเพื่อพิสูจน์ตัวเองครับ

ยังไงผมก็ชื่อมั่นในกำนัน ที่แกเป็นคนจริง

 

แกบอกวางออกจากเลขาธิการพรรคฯ ก็ออกจริง 

ลาออก ส.ส. ปชป. ก็ออกจริง

บอกจะไม่มายุ่ง ปชป. อีก ผมก็เชื่อว่าจริง

 

แล้วแกบอกจะเอาชนะให้ได้เป็นงานสุดท้ายของชีวิตแก ผมก็เชื่อว่าจริง

 

 

 

 

 

 

ปล. เห็นมีคนบอกว่าทักษิณไปซื้อกองทุนสำคัญในอเมริกา(จำชื่อไม่ได้แล้ว) 

 

นายทุนพวกกำหนดนโยบายของ US อยู่กองทุนนี้เยอะ เข้าใจว่าเขารับเป็นพวกแล้วถึงได้อุ้มกันหน้าดู






ผู้ใช้ 2 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 2 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน