เล่ห์เหลี่ยมจัดจริงฯ
#1
Posted 24 January 2014 - 21:24
#2
Posted 24 January 2014 - 21:26
POPULAR
ด่าไอ้เหลี่ยม ณ ดูไบ หรือจ๊ะ
ไอ้นี่มันเหลี่ยมจัดจริงๆคร้า
มันไม่รอดหรอก.. ไม่คุก ก็ยมโลกนั่นแหล่ะคร้า
Edited by ดอกปีบ, 24 January 2014 - 21:32.
- กรรมกรไอที, Rxxxx, ตะนิ่นตาญี and 11 others like this
ดอกไม้งามมีหนามแหลม ใช่บานแย้มให้คนชม บานไว้เพื่อสะสม ความอุดมแห่งผืนดิน...
#3
Posted 24 January 2014 - 21:28
ที่ 2 ซะแหล่ว
#4
Posted 24 January 2014 - 21:29
- Rxxxx, 10Mz, Lucas Leiva Benitez Rodger and 5 others like this
ถึงผมจะเป็นคนหัวขบถ แต่ไม่คิดทรยศบุญคุณแผ่นดินเกิด
เสียงส่วนใหญ่ของประชาชน ไม่ใช่ใบอนุญาตทำร้ายประเทศชาติ
#5
Posted 24 January 2014 - 21:31
POPULAR
สารประกอบไฮโดรคาร์บอน (Hydrocarbon Compounds)
สารประกอบไฮโดรคาร์บอน หมายถึงสารประกอบอินทรีย์ที่มีเฉพาะธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบ ในธรรมชาติพบสารประกอบไฮโดรคาร์บอนเกิดในแหล่งต่าง ๆ เช่น ยางไม้ ถ่านหิน ปิโตรเลียม เช่น CH4 , C2H6 , C2H4
สมบัติของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน
ตารางแสดงผลการทดสอบสมบัติของไฮโดรคาร์บอนบางชนิด
สรุปสมบัติของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนได้ ดังนี้
1) การละลายน้ำ
การละลายของสารในตัวทำละลายเกิดจากอนุภาคของสาร แทรกเข้าไปอยู่ระหว่างอนุภาคของตัวทำละลาย และเกิดแรงยึดเหนี่ยวซึ่งกันและกัน สารที่มีขั้วจะละลายได้ในตัวทำละลายที่มีขั้ว ส่วนสารที่ไม่มีขั้วจะละลายได้ดีในตัวทำละลายที่ไม่มีขั้ว เนื่องจากน้ำเป็นตัวทำละลายมีขั้วสารที่ละลายในน้ำจึงควรเป็นโมเลกุลมีขั้ว (Polar molecule) สารประกอบไฮโดรคาร์บอน เช่น เฮกเซน (C6H14) เฮกซีน (C6H12) และเบนซีน (C6H6) เป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว (Non polar molecule) มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ จึงไม่ละลายน้ำ แต่ละลายได้ในตัวทำละลายอินทรีย์ที่ไม่มีขั้ว
2) การเผาไหม้
เมื่อพิจารณาการเผาไหม้ ปรากฏว่า เฮกเซนติดไฟให้เปลวไฟสว่างไม่มีควัน เกิดการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ ส่วนไซโคลเฮกซีนติดไฟง่ายให้เปลวไฟสว่างมีเขม่าและเบนซีนติดไฟได้ง่าย ให้เปลวไฟสว่างมีควันและเขม่ามาก เป็นการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ ถ้าพิจารณาอัตราส่วน C : H ในแต่ละสารจะได้ดังนี้
จากข้อมูล จะพบว่าถ้า C เท่ากันแต่ H น้อยกว่า หรือสารที่มีเปอร์เซนต์ของธาตุ C มากการ เผาไหม้จะมีเขม่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากเกิดการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ การเผาไหม้ของสารใดๆ คือการที่สารนั้นทำปฏิกิริยาออกซิเจนในอากาศ แล้วให้พลังงานความร้อนออกมา โดยปกติ C เผาไหม้ให้ CO2 และ H เผาไหม้ให้น้ำ ดังสมการ
C + O2 CO2
2H2 + O2 2H2O
การเผาไหม้ของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ถ้าเป็นไปอย่างสมบูรณ์ ควรจะได้ก๊าซ CO2 และ H2O ดังสมการ
CH4 + 2O2 CO2+ 2H2O + พลังงาน
2C6H14 + 19O2 12CO2 + 14H2O + พลังงาน
แต่อย่างไรก็ตามถ้าการเผาไหม้เป็นไปอย่างไม่สมบูรณ์ก็จะเกิดก๊าซ CO และเขม่า เช่น การเผาไหม้ของไซโคลเฮกซีนและเบนซีน
3) การทำปฏิกิริยากับสารละลาย KMnO4 และสารละลายโบรมีน (Br2)
เมื่อพิจารณาจากปฏิกิริยา จะจำแนกสารประกอบไฮโดรคาร์บอนได้ 3 ประเภทคือ
3.1 สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่ไม่ฟอกสีสารละลายโบรมีนในที่มืด และไม่ฟอกสีสารละลาย KMnO4 แต่ฟอกสีสารละลายโบรมีนในที่สว่าง เช่น เฮกเซน
3.2 สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่ฟอกสีสารละลายโบรมีน ทั้งในที่มืดและที่สว่าง และฟอกสีสารละลาย KMnO4 เช่น ไซโคลเฮกซีน
3.3 สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่ไม่ฟอกสีสารละลายโบรมีน ทั้งในที่มืดและสว่างและไม่ฟอกสีสารละลาย KMnO4 เช่น เบนซีน
จากการศึกษาสมบัติของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนจะพบว่า สารเหล่านี้จะมีลักษณะโครงสร้าง และสมบัติแตกต่างกัน ซึ่งถ้าให้สารที่มีสมบัติคล้ายคลึงกันอยู่ในกลุ่มเดียวกัน จะสามารถจำแนกสารออกเป็นประเภทได้
การเรียกชื่อสารประกอบไฮโดรคาร์บอน
1. การเรียกชื่อสามัญ (Common name) ใช้เรียกชื่อสารประกอบอินทรีย์ที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก ๆ และโครงสร้างโมเลกุลเป็นแบบง่าย ๆ ไม่มีหลักเกณฑ์แน่นอน เช่น กรดฟอร์มิก (HCOOH) กรดแอซีติก (CH3COOH) ซึ่งการเรียกชื่อสามัญจะตั้งชื่อตามแหล่งกำเนิดของสารประกอบ หรือตามชื่อของผู้ค้นพบ เมื่อการค้นพบสารประกอบอินทรีย์มากขึ้นเรื่อย ๆ การเรียกชื่อสาทัญอาจทำให้เกิดความสับสน
2. การเรียกชื่อระบบ IUPAC เป็นระบบการเรียกชื่อสารประกอบที่นักเคมีได้จัดระบบขึ้นในปี พ.ศ.2237 (ค.ศ.1892) เรียกระบบนี้ว่า International Union of Pure and Applied Chemistry หรือ IUPAC จะเรียกตามจำนวนอะตอมโดยใช้จำนวนนับในภาษากรีก ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 โครงสร้างหลัก ส่วนที่ 2 คำลงท้าย ส่วน 3 คำนำหน้า
1) โครงสร้างหลัก เป็นส่วนที่แสดงลักษณะโครงสร้างหลักของคาร์บอนที่ต่อกันเป็นสายยาวที่สุด การเรียกชื่อโครงสร้างหลักจะเรียกตามจำนวนอะตอมของคาร์บอนที่ต่อกันเป็นสายยาวที่สุด โดยกำหนดการเรียกชื่อดังนี้
อะตอม C
ชื่อภาษาไทย
ชื่ออังกฤษ
อะตอม C
ภาษาไทย
ชื่ออังกฤษ
1
มีท
meth–
6
เฮกซ
hex–
2
อีทหรือเอท
eth–
7
เฮปท
hept–
3
โพรพ
prop–
8
ออกท
oct–
4
บิวท
but–
9
โนน
non–
5
เพนท
pent–
10
เดกค
dec–
2) คำลงท้าย เป็นส่วนที่เติมท้ายชื่อของโครงสร้างหลักเพื่อแสดงว่าสารประกอบอินทรีย์นั้นเป็นสารประกอบประเภทใด คำลงท้ายจะบอกให้ทราบถึงชนิดของหมู่ฟังก์ชัน เช่น alkane ลงท้ายด้วย –ane หรือ alcohol ลงท้ายด้วย –ol เป็นต้น
3) คำนำหน้า เป็นส่วนที่เติมหน้าชื่อของโครงสร้างหลัก จะบอกให้ทราบว่าในโครงสร้างหลักมีหมู่ฟังก์ชัน อะตอม หรือกลุ่มอะตอมใดมาเกาะบ้าง กี่หมู่ และอยู่ที่ C ตำแหน่งใดในโครงสร้างหลัก การบอกตำแหน่งของส่วนที่มาเกาะให้ใช้ตัวเลขน้อยที่สุด
3.2 ประเภทของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน
แบ่งออกได้ เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1. อะลิฟาติกไฮโดรคาร์บอน (aliphatic hydrocarbon) หมายถึง สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ที่ภายในโมเลกุลมีอะตอมของ C ต่อกันเป็นลูกโซ่ ในลักษณะปลายเปิด ซึ่งอาจเป็นโซ่ตรง (straight chain) หรือโซ่ที่มีกิ่งก้านสาขา (branched chain ) และพันธะระหว่าง C อะตอม อาจเป็นพันธะเดี่ยว พันธะคู่ หรือพันธะสาม หรือมีพันธะมากกว่าหนึ่งชนิด ผสมกันก็ได้ อะลิฟาติกไฮโดรคาร์บอน แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
1.1 แอลเคน (alkane)
1.2 แอลคีน (alkene)
1.3 แอลไคน์ (alkyne)
ตัวอย่างสารประกอบ อะลิฟาติกไฮโดรคาร์บอน
2. อะลิไซคลิกไฮโดรคาร์บอน (alicylic hydrocarbon) หมายถึง สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่โซ่ของคาร์บอนต่อกันเป็นวง เช่น ไซโคลแอลเคน ไซโคลแอลคีน และไซโคลแอลไคน์
ตัวอย่างสารประกอบ อะลิไซคลิกไฮโดรคาร์บอน
3. อะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (aromatic hydrocarbon ) คือ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่คาร์บอนต่อกันเป็นวง พันธะระหว่างคาร์บอนอะตอมที่ต่อกันเป็นวง มีความยาวพันธะอยู่ระหว่างพันธะเดี่ยวกับพันธะคู่และมีความยาวพันธะเท่ากันคือ 139 พิโกเมตร เช่น เบนซีน ซึ่งสามารถเขียนสูตรโครงสร้างได้ดังนี้
ที่มา: http://dcsl.srp.ac.t...istry/chem4018/
Edited by ctpk05, 24 January 2014 - 21:41.
"ข้าพระพุทธเจ้า จักยอมตาย เพื่อดำรงไว้ซึ่งพระบรมเดชานุภาพแห่งพระมหากษัตริย์เจ้า"
#6
Posted 24 January 2014 - 21:39
#7
Posted 24 January 2014 - 21:41
- ตะนิ่นตาญี, nastyfunky, huey and 2 others like this
#8
Posted 24 January 2014 - 21:42
ทำไมมันกลายเป็น "กระทู้มีสาระ" ได้ครับ
ทั้งที่ขึ้นต้น ไม่ใช่
- Bourne, bubblesafari, temp and 1 other like this
#9
Posted 24 January 2014 - 21:44
POPULAR
สูตรหาความเร็วรอบเครื่องกลึง
#10
Posted 24 January 2014 - 21:53
ในการลับมีดกลึงเราต้องมีความตั้งใจในการทำงานเพราะว่าหากเราลับมีดกลึงผิดจากแบบ หรือไม่ได้มุมมีดที่ถูกต้อง จะทำให้ไม่สามารถที่จะทำการกลึงได้ เพราะมุมมีดไม่สามารถตัดเฉือนเหล็กได้ หรือทำให้อายุการใช้งานของคมตัดสั้นลง
#13
Posted 24 January 2014 - 21:58
แล้วถ้าเป็นดอกสว่าน ลับคมอย่างไรครับ
#14
Posted 24 January 2014 - 21:59
ลัทธิอัศวินคาทอลิก : อัศวินเทมพลาร์
(ข้อมูลจากวิกิพีเดีย)
อัศวินเทมพลาร์ อัศวินแห่งความลี้ลับ เป็นกลุ่มอัศวินคริสเตียนในสงครามครูเสดที่ มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุด ได้ชื่อว่าเป็นผู้ริเริ่มระบบธนาคาร และมีจุดจบอันแสนเศร้าสลด แม้แต่ในปัจจุบันก็ยังมีข่าวลือ และตำนานเกี่ยวกับอัศวินกลุ่มนี้เล่าลือกันในวงกว้าง
อัศวินเทมพลาร์ ก่อตั้งขึ้นหลังจากสงครามครูเสดครั้งแรกไม่นาน ปี 1119 Hughes de Payens ชนชั้นสูงจากฝรั่งเศส พร้อมกับอัศวินผู้ติดตามอีก 8 คน ก่อตั้งกลุ่มที่มีจุดมุ่งหมายในการปกป้องผู้แสวงบุญในดินแดนศักดิ์สิทธิ กษัตริย์ Baldwin II แห่งเยรูซาเลม ได้อนุญาตให้ทั้ง 9 คนไปอาศัยอยู่ที่บริเวณทิศใต้ของ Temple Mount ซึ่งทั้งชาวคริสต์และอิสลามถือกันว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ
ชาวคริสต์เชื่อกันว่าโบสถ์นี้ตั้งอยู่บนซากปรักพังของ Temple of Solomon ในคัมภีร์ไบเบิล และสำหรับชาวมุสลิม กาหลิบอุมัยยะห์อับด์ อัล-มาลิคเคยสร้าง วิหาร โดมทองแห่งเยรุซาเล็มซึ่งภายในบรรจุก้อนหินที่ศาสดามูฮัมหมัดได้รับจากสวรรค์ ณ ที่ตรงนี้
ซึ่งการที่อัศวินเทมพลาร์มาอาศัยอยู่ในสถานที่สำคัญทางศาสนาอย่างยิ่งยวด เช่นนี้ ทำให้ในภายหลัง กลายเป็นบ่อเกิดของตำนานต่างๆนานา ของKnights Templar ที่เล่าลือกันว่า พวกเขา "พบ"อะไรบางอย่างใต้ซากวิหาร
พวกอัศวินเทมพลาร์ใช้ชีวิตอย่างสมถะ ประทังชีวิตด้วยของบริจาค จึงได้รับการขนานนามว่า อัศวินผู้ยากไร้ และหลังจากที่อัศวินเทมพลาร์ไปอาศัยอยู่ในสถานที่ ที่เชื่อกันว่าเคยเป็นที่ตั้งของโบสถ์ Temple of Solomon จึงได้รับการขนานนามอีกว่า อัศวินแห่งโบสถ์โซโลมอน
9 ปีต่อมา เชื่อเสียงของอัศวินผู้สมถะผู้อุทิศตัวเพื่อปกป้องผู้แสวงบุญ และผลงานดีเด่นต่างๆ แพร่เข้าไปในยุโรป มีผู้บริจาคทรัพย์สินเงินทองมากมาย ทั้งที่ดิน และเงินทองไหลบ่าสู่พวก Knights Templar มากมาย ชนชั้นสูงชาวยุโรปหลายคนยังส่งลูกหลานของตัวเองให้เข้าร่วมกลุ่มด้วย Knights Templar จึงเติบโตอย่างรวดเร็ว และในปี 1139 อัศวินเทมพลาร์ได้รับเกียรติยศอันสูงสุด เมื่อพระสันตปาปา อินโนเซนต์ที่ 2 ประกาศให้พวกอัศวินเทมพลาร์อยู่เหนือกฎหมายของทุกประเทศ ไม่ต้องเสียภาษี และสามารถเดินทางผ่านดินแดนใดก็ได้โดยมิให้ผู้ใดขัดขวาง
ถึงแม้อัศวินเทมพลาร์จะเป็นกลุ่มที่เน้นหนักไปในด้านการทหาร แต่สมาชิกส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นนักรบ แต่มีหน้าที่คอยบริหารจัดการทรัพย์สินต่างๆ และอำนวยความสะดวกให้กับนักรบ โดยในกลุ่มอัศวินเทมพลาร์แบ่งออกเป็น 4 ส่วน - อัศวิน ถูกฝึกฝนในแบบของทหารม้าหนัก แต่งกายด้วยสีขาวและสัญลักษณ์กางเขนสีแดง - sergeants มาจากชนชั้นที่อยู่ต่ำกว่าอัศวิน ทำหน้าที่ในฐานะทหารม้าเบา พวกนี้จะสวมชุดสีน้ำตาล - the serving brothers ทำหน้าที่บริหารจัดการทรัพย์สินของกลุ่ม และทำหน้าที่ติดต่อค้าขาย -the chaplains พระที่ทำหน้าที่ทางจิตวิญญาณและทางศาสนาให้กลุ่ม
พวกอัศวินเทมพลาร์เข้าร่วมสมรภูมิสำคัญๆในดินแดนแถบนี้ในฐานะกองทหารชั้น ยอด และยังเคยเข้าร่วมกับกองทัพของ Louis VII แห่งฝรั่งเศส และ King Richard I แห่งอังกฤษ ในการรบในดินแดนปาเลสไตน์
ระบบธนาคารอัศวินเทมพลาร์มีทรัพย์สินจำนวนมหาศาล และเริ่มให้ผู้แสวงบุญชาวเสปนยืมเงินสำหรับใช้เดินทางไปดินแดนศักดิ์สิทธิในปี 1135
ปี 1150 Knights Templar ก็เริ่มใช้ระบบใหม่ซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบของระบบธนาคาร นั่นคือ เมื่อมีผู้แสวงบุญในยุโรปประสงค์จะเดินทางไปดินแดนศักดิ์สิทธิ พวกเขาจะนำทรัพย์สินทั้งหมดของตนไปฝากไว้กับฐานของอัศวินเทมพลาร์ในประเทศ ของตน ซึ่งทางอัศวินเทมพลาร์จะออกใบเสร็จซึ่งจดบันทึกรายการทรัพย์สินที่ฝากเอาไว้ ให้ผู้แสวงบุญติดตัวไป และเมื่อผู้แสวงบุญกำลังเดินทางไปดินแดนศักดิ์สิทธิ หากต้องการใช้เงินเมื่อไหร่ ก็นำใบเสร็จนี้ไปยื่นต่ออัศวินเทมพลาร์ที่เจอระหว่างทาง และเอาทรัพย์สินของตนออกมาใช้ได้ ด้วยวิธีนี้ผู้ แสวงบุญจะปลอดภัยจากการถูกปล้นชิงกลางทาง เพราะไม่ได้นำของมีค่าติดตัวไปด้วย (แถมยังทำให้อัศวินเทมพลาร์มีทรัพย์สินเพิ่มอีกอื้อซ่า)
นอกจากมีระบบฝากเงินแล้ว ด้วยความร่ำรวยของอัศวินเทมพลาร์จึงมีหลายต่อหลายคนในยุโรปเข้ามาขอยืมเงิน ไม่ว่าจะเป็นขุนนางมายืมเงินเพื่อไต่เต้าตำแหน่ง แม่ทัพยืมเงินไปสร้างกองทัพ พ่อค้ายืมเงินไปทำธุรกิจ แม้แต่พระก็ยังมายืมเงินจากอัศวินเทมพลาร์เนื่องจากการคิดดอกเบี้ยเป็น เรื่องต้องห้ามของศาสนจักร พวกอัศวินเทมพลาร์จึงไม่ได้คิดดอกเบี้ย แต่คิด"ค่าเช่า"แทน
อัศวินเทมพลาร์กลายเป็นกลุ่มที่ร่ำรวยและมีอำนาจอย่างมาก ครอบครองที่ดินทั้งในยุโรปและตะวันออกกลาง สร้างปราสาทและโบสถ์มากมาย มีฟาร์มหลายแห่ง ค้าขายสินค้าทั้งส่งออกและนำเข้า มีกองทัพเรือของตัวเอง และครอบครองเกาะไซปรัสทั้งหมด
ล่มสลายเมื่อกรุงเยรูซาเลมพ่ายต่อสุลต่าน ซาลาดิน การสนับสนุนจากยุโรปก็ตกต่ำลง ในช่วงท้ายปี 1300 กษัตริย์ ฟิลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศส ได้ยืมเงินจำนวนมากจากอัศวินเทมพลาร์เพื่อใช้ในการทำสงครามกับอังกฤษ แต่ไม่มีเงินพอที่จะใช้คืนได้ เลยหาเหตุเบี้ยวนี้ สั่งสอบสวนผู้นำของ Templar Grand Master Jacques de Molay ในฐานะเป็นพวกนอกรีต ซึ่งเจ้าตัวให้การปฏิเสธ
ในวันศุกรที่ 13 ปี 1307 ฟิลิปจับกุมตัวสมาชิกอัศวินเทมพลาร์ทั้งหมดในฝรั่งเศส กล่าวหาว่าพวกอัศวินเทมพลาร์บูชาปีศาจบาโฟเมต เป็นพวกนอกรีต และสั่งประหาร ซึ่งทำให้ฟิลิปรอดพ้นจากการเป็นหนี้พวกอัศวินเทมพลาร์ซ้ำฟิลิปยังยึดทรัพย์สินของพวกอัศวินเทมพลาร์ทั้งหมดในฝรั่งเศส
ด้วยแรงกดดันจากฟิลิป พระสันตปาปาคลีเมนต์จึงสั่งยุบกลุ่มอัศวินเทมพลาร์ที่ดินของอัศวินเทมพลาร์ ถูกโอนไปให้พวก Hospitallers และพวกผู้นำในยุโรปก็เอาตามอย่างฟิลิป ประกาศให้พวกอัศวินเทมพลาร์เป็นพวกนอกรีตและยึดทรัพย์สิน ในปี 1314 ผู้นำของอัศวินเทมพลาร์ทั้ง 3 คน ถูกจับเผาทั้งเป็น
พวกสมาชิกที่เหลือในยุโรปถูกตามจับไปสอบสวนโดยผู้สอบสวนของพระสันตปาปา (ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่รอด) บางคนหนีไปเข้าร่วมกับกลุ่มอื่นเช่น Order of Christ และ Knights Hospitaller พวกอัศวินเทมพลาร์จึงล่มสลายลง
ถึงแม้อัศวินเทมพลาร์จะล่มสลายลง แต่ยังคงทิ้งปริศนาเอาไว้หลายอย่าง เช่น เกิดอะไรขึ้นกับสมาชิกอีก 100 คนที่ยังหลงเหลือในยุโรป กองเรือของพวกอัศวินเทมพลาร์หายไปใหน บันทึกที่จดบันทึกบัญชีการค้าและทรัพย์สินของอัศวินเทมพลาร์หายไปใหน หรือมันไม่เคยมีอยู่มาตั้งแต่แรกแล้ว
ตำนานในปัจจุบันมีตำนานเล่าลือของพวกอัศวินเทมพลาร์อยู่ทั่วไป และกลายเป็นปริศนายอดฮิตที่มักมีคนนำไปแต่งนิยายหรือภาพยนตร์เสมอ ตำนานที่พูดถึงมากๆก็มีดังนี้
ฐานบัญชาการในตำนาน
ตามประวัติ พวกอัศวินเทมพลาร์ตั้งฐานบัญชาการแห่งแรกใกล้ๆ Temple Mount ซึ่งถือเป็นสถานทีศักดิ์สิทธิของคริสเตียน ยิว และมุสลิม
เชื่อกันว่าTemple Mount ตั้งอยู่บนซากปรักหักพังของโบสถ์โซโลมอนในไบเบิล มีคำล่ำลือมากมายเกี่ยวกับโบสถ์นี้ว่า เป็นสถานที่เก็บวัตถุศักดิ์สิทธิยิ่งยวดเอาไว้ เช่น เป็นสถานที่เก็บ หีบแห่งพันธสัญญา ที่โมเสสใช้ติดต่อกับพระเจ้า บางตำนานก็ว่ามีอุโมงค์ลับใต้วิหารซึ่งเป็นที่เก็บ ชิ้นส่วนของไม้กางเขนที่ใช้ตรึงพระเยซู บางตำนานก็กล่าวว่าในนั้น เก็บเอกสารสำคัญบางอย่างที่มีมาตั้งแต่สมัยพระเยซู ด้วยเหตุหลายคนจึงเชื่อกันว่า พวกอัศวินเทมพลาร์พบเจออะไรบางอย่างในโบสถ์นั้น และสิ่งนั้นทำให้ Knights Templar ก้าวขึ้นสู่อำนาจสูงสุด แต่อย่างไรก็ตาม ไม่มีหลักฐานใดบ่งบอกว่าตำนานเหล่านี้จะเป็นจริง
นักวิชาการบางคน เช่น Hugh J. Schonfield มีข้อสันนิษฐานว่า พวกอัศวินเทมพลาร์อาจไปเจอคัมภีร์โบราณ Copper Scroll "ม้วนบันทึกทองแดง" ซึ่งอาจจะเป็นเหตุให้พวก Knights Templar ถูกข้อกล่าวหาว่าเป็นพวกนอกรีต (คัมภีร์ Copper Scroll คือส่วนหนึ่งของคัมภีร์อื้อฉาวแห่งศาสนาคริสต์ นั่นคือคัมภีร์ Dead Sea Scrolls"ลิลิตเดดซี" ซึ่งมีการค้นพบในถ้ำคูมรัน คาดการ์ณกันว่าเป็นคัมภีร์ไบเบิลยุคแรกสุดจากยุคโรมัน ซึ่งมีเนื่อหาบางส่วนแตกต่างจากไบเบิลในปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง ซึ่งทางวาติกันปฏิเสธเนื้อหาในคัมภีร์นั้นว่าไม่เป็นความจริง และมีข่าวลือว่าทางวาติกันพยายามเข้ามาแทรกแซงไม่ให้มีการเผยแพร่สู่สาธารณะ)
ตำนาน ศุกร์ที่ 13
หลายคนเชื่อว่า ความเชื่อที่ว่าวันศุกร์ที่ 13 เป็นวันโชคร้าย มีสาเหตุมาจากที่พวกอัศวินเทมพลาร์ถูกจับในข้อหาเป็นพวกนอกรีตในวันศุกร์ที่ 13 นี่เอง
ผู้อ้างว่าเป็นผู้สืบทอดมีสมาคมหลายสมาคมในยุโรป อ้างว่าเคยติดต่อและเกี่ยวข้องกับอัศวินเทมพลาร์เช่น สมาคม Freemasonry ซึ่งรับธรรมเนียมปฏิบัติและพิธีกรรมมากจากพวกKnights Templar ซึ่งเน้นหนักไปในด้านการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์
และยังมีสมาคมอีกหลายกลุ่ม อ้างว่าตนเองสืบทอดมาจากพวกอัศวินเทมพลาร์เช่น Order of the Solar Temple ซึ่งไม่มีหลักฐานใดๆยืนยันข้ออ้างนี้
Edited by ไทยไม่ทน, 24 January 2014 - 22:22.
llllllllllllllllllllllllllllll
llllllllllllllllllllllllllllll
llllllllllllllllllllllllllllll
#15
Posted 24 January 2014 - 21:59
เจอรถโฟล์คเต่าสีชมพูสวยมากที่ เวทีปทุมวัน
#17
Posted 24 January 2014 - 22:06
มหานวดารา
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด
มหานวดารา[1] หรือ ซูเปอร์โนวา (อังกฤษ: supernova) เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ระเบิดที่มีพลังมากที่สุดที่รู้จัก นั่นคือเป็นการระเบิดของดาวฤกษ์มวล มากเมื่อสิ้นอายุขัยแล้ว จะเปล่งแสงสว่างมหาศาลและระเบิดออกรัศมีสว่างวาบเป็นรัศมีเพียงชั่วครู่ ก่อนจะเลือนจางลงในเวลาสัปดาห์หรือเดือนเท่านั้น
ระหว่างช่วงเวลาสั้นๆ ที่เกิดมหานวดารานี้ มันจะปลดปล่อยพลังงานมหาศาลขนาดเท่ากับพลังงานของดวงอาทิตย์ดวงหนึ่งสามารถปลดปล่อยได้ทั้งชีวิตทีเดียว การระเบิดจะขับไล่ดวงดาวและวัตถุต่างๆ ที่อยู่ใกล้ให้กระเด็นออกไปไกลด้วยความเร็ว 10% ของความเร็วแสง(3,000 กิโลเมตร/วินาที) และเกิดคลื่นกระแทกแผ่ออกไปโดยรอบตรงช่องว่างระหว่างดวงดาว การกระแทกนี้ได้กวาดเหล่าแก๊สและฝุ่นละอองออกไปอย่างรวดเร็ว เรียกปรากฏการณ์นี้ว่าการเกิดซากมหานวดารา
แต่ละประเภทของมหานวดารา ที่ยังปรากฏให้เห็นอยู่ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ซึ่งเกิดพลังงานที่เกิดจากนิวเคลียร์ฟิวชัน หลังจากแกนกลางของดาวมีอายุมวลมากเข้าสู่ความตาย และเริ่มสร้างพลังงานจากนิวเคลียร์ฟิวชัน อยู่ภายใต้แรงโน้มถ่วงที่จะนำไปสู่การยุบตัวของดวงดาว จนอาจกลายเป็นดาวนิวตรอนหรือไม่ก็หลุมดำ การปลดปล่อยพลังงานศักย์โน้มถ่วง ทำให้เกิดทั้งความร้อนและสาดผิวชั้นนอกของดวงดาวให้กระเด็นออกไป ในทางกลับกัน ดาวแคระขาวอาจสะสมเพิ่มพูนสสารจนเพียงพอจากดาวข้างเคียงกัน หรือที่เรียกว่าระบบดาวคู่ (binary star system) เป็นการเพิ่มอุณหภูมิแกนกลางจนกระทั่งเกิดฟิวชันถึงระดับของธาตุคาร์บอน แกนกลางของดาวฤกษ์ที่ร้อนระอุซึ่งอยู่ในสภาวะยุบตัวเนื่องจากมีมวลเกินค่าขีดจำกัดของจันทรเศกขาร (Chandrasekhar limit) ซึ่งมีค่าประมาณ 1.38 เท่าของดวงอาทิตย์ เกิดเป็นมหานวดาราประเภท T1 (Type I Supernovae) แต่ว่าดาวแคระขาวจะแตกต่างตรงที่มีการระเบิดที่เล็กกว่าโดยใช้เชื้อเพลิงจากไฮโดรเจนที่ ผิวของมัน เรียกว่า โนวาดาวที่มีมวลน้อย (ประมาณไม่ถึงเก้าเท่าของดวงอาทิตย์) เช่นดวงอาทิตย์ของเรา จะวิวัฒน์ไปเป็นดาวแคระขาวโดยปราศจากการเกิดมหานวดารา
ประเภทของมหานวดาราที่เราคุ้นเคยที่สุดก็คือ มหานวดาราประเภท T2 (Type II Supernovae) เกิดจากการสิ้นสุดวงจรชีวิตของดาวฤกษ์ เป็นการดับของดาวฤกษ์ที่มีขนาดยักษ์กว่าดวงอาทิตย์ของเรา โดยการระเบิดจะเกิดขึ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว เมื่อเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ในแกนกลางของดาวฤกษ์หมดลง แรงดันที่เกิดจากอิเล็กตรอนผลักกันก็จะหายไป ดาวฤกษ์จะยุบตัวลงเนื่องจากแรงโน้มถ่วงอะตอมธาตุในแกนกลางดาวฤกษ์บีบอัดตัวจนชนะแรงผลักจากประจุ อะตอมจึงแตกออกเหลือแต่นิวตรอนอัด ตัวกันแน่นแทน เปลือกดาวชั้นนอกๆ ที่บีบอัดตามเข้ามาจะกระแทกกับแรงดันจากนิวตรอน จนกระดอนกลับและระเบิดกลายเป็นมหานวดารา วัสดุสารจากการระเบิดมหานวดาราจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเกือบเท่าความเร็วแสง ที่ใจกลางของมหานวดาราจะมีก้อนนิวตรอนซึ่งจะเรียกว่า ดาวนิวตรอน (neutron star)
โดยเฉลี่ยแล้ว มหานวดาราจะเกิดประมาณห้าสิบปีครั้งหนึ่งในดาราจักรที่มีขนาดเท่าๆ กับทางช้างเผือกของเรา มีบทบาทสำคัญกับการเพิ่มมวลให้กับมวลสารระหว่างดวงดาว นอกจากนั้น การแผ่กระจายของคลื่นกระแทกจากการระเบิดของมหานวดาราสามารถก่อให้เกิดดาวดวงใหม่ได้มากมาย
คำว่า “โนวา” มาจากภาษาลาติน แปลว่าใหม่ หมายถึงการเกิดใหม่ของดาวดวงใหม่ส่องแสงสว่างในท้องฟ้า ส่วนคำว่า “ซูเปอร์” จำแนกมหานวดาราออกจาก โนวา ธรรมดา ต่างกันที่ความสว่างที่สว่างกว่า ขนาดและทางกลที่ต่างกันด้วย คำว่ามหานวดาราใช้ครั้งแรกในหนังสือ Merriam-Webster's Collegiate Dictionary ตีพิมพ์เมื่อปี 1926
ประวัติศาสตร์การค้นพบ
ครั้งแรกที่ทำการบันทึกการเกิดมหานวดารา คือ SN 185 ค้นพบโดยนักดาราศาสตร์ชาวจีน ในปี ค.ศ.185 มหานวดาราที่สว่างที่สุดเท่าที่เคยบันทึกคือ SN 1006 อธิบายรายละเอียดโดยนักดาราศาสตร์ชาวจีนและอาหรับ มหานวดาราที่สังเกตง่ายอีกอันหนึ่งคือ SN 1054 หรือ เนบิวลารูปปู มหานวดาราที่ค้นพบทีหลังด้วยสายตาคือ SN 1572 และ SN 1604 ซึ่งอยู่ในดาราจักรทางช้างเผือก ถูกบันทึกว่ามีผลกระทบต่อการพัฒนาทางดาราศาสตร์ ในยุโรป เพราะพวกเขาใช้เป็นข้อถกเถียงกับความคิดของอริสโตเติล ที่กล่าวว่า “จักรวาลที่อยู่นอกเหนือจากดวงจันทร์และดาวเคราะห์ ไม่มีอยู่จริง”
หลังจากมีการพัฒนากล้องดูดาวจึงสามารถค้นพบมหานวดาราได้จากดาราจักรอื่นๆ ได้ เริ่มจากปี 1885 การสังเกตมหานวดารา S Andromedae ในดาราจักรแอนโดรเมดา มหานวดาราก่อให้เกิดความรู้ที่สำคัญด้านจักรวาลวิทยา ในช่วงศตวรรษที่ยี่สิบ แบบจำลองแบบต่างๆ ของมหานวดาราถูกพัฒนามากขึ้น และทำให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจวงจรชีวิตของดาวของดวงดาวได้มากขึ้นด้วย มหานวดาราที่อยู่ห่างไกลซึ่งถูกค้นพบเร็วๆ นี้ พร่ามัวมากกว่าที่คาดเอาไว้ ซึ่งเป็นหลักฐานว่า จักรวาลอาจมีการขยายตัวด้วยความเร่ง
7 พฤษภาคม 2550 มีรายงานการค้นพบมหานวดาราที่สว่างที่สุด เอสเอ็น 2006 จีวาย (SN2006gy) ในดาราจักร เอ็นจีซี 1260 (NGC 1260) เป็นการดับสลายของดาวฤกษ์ที่มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ถึง 150 เท่า มีช่วงสูงสุดของการระเบิดยาวนานถึง 70 วันต่างจากมหานวดาราอื่น ๆ ที่มีช่วงสูงสุดเพียงแค่ 2 สัปดาห์ และมีความสว่างมากกว่าอีกหลายร้อยมหานวดาราที่นักดาราศาสตร์เคยสังเกตเห็น
การค้นหา
เพราะว่ามหานวดาราเกิดขึ้นน้อยในดาราจักรของเรา เกิดทุกๆ ห้าสิบปี การได้มาซึ่งตัวอย่างของการเกิดมหานวดารา ต้องศึกษามาจากการสังเกตหลายๆ ดาราจักร
แต่มหานวดาราในดาราจักรอื่นๆ ไม่สามารถทำนายล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำนัก แสงหรือการส่องสว่างจากการระเบิดของมหานวดาราทำให้นักดาราศาสตร์ใช้มหา นวดาราเป็นเทียนมาตรฐาน เพื่อวัดใช้ระยะทางจากโลกถึงดาราจักรที่มีมหานวดาราปรากฏอยู่ นอกจากนี้นักเอกภพวิทยาซึ่งศึกษามหานวดาราประเภทนี้ยังบอกได้ว่าเอกภพของเรา กำลังขยายตัวด้วยความเร่ง และยังมีความสำคัญมากในการค้นหามันก่อนที่มันจะเกิดการระเบิด นักดาราศาสตร์มือสมัครเล่นที่มีจำนวนมากกว่านักดาราศาสตร์มืออาชีพ มีบทบาทอย่างมากในการค้นพบมหานวดารา โดยทั่วไปจากการมองไปยังดาราจักรใกล้ๆ ผ่านกล้องโทรทรรศน์แสง และเปรียบเทียบมันกับรูปที่เคยบันทึกไว้ก่อนหน้า
จนกระทั่งถึงปลายศตวรรษที่ยี่สิบ นักดาราศาสตร์หันมาใช้คอมพิวเตอร์ในการควบคุมกล้องโทรทรรศน์และซีซีดี ในการตามล่าค้นหามหานวดารา เมื่อสิ่งนี้เป็นที่นิยมสำหรับนักดาราศาสตร์มือสมัครเล่น จึงมีการติดตั้งเครื่องมืออย่าง Katzman Automatic Imaging Telescope (เป็นกล้องโทรทรรศน์ที่ถ่ายภาพได้) เป็นต้น เร็วๆ นี้ โปรเจกต์ที่ชื่อว่า Supernova Early Warning System (SNEWS) เริ่มมีการใช้การตรวจจับนิวตริโนเป็นตัวช่วยในการค้นหามหานวดาราในดาราจักร ทางช้างเผือก เพราะนิวตริโนเป็นอนุภาคที่ถูกผลิตขึ้นจากการระเบิดของมหานวดารา และไม่ถูกดูดกลืนโดยแก๊สและฝุ่นละอองต่างๆ ในระหว่างดวงดาวในดาราจักรนั้น
การค้นหามหานวดาราแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม โดยจะให้ความสนใจเรื่องความสัมพันธ์ของสิ่งใกล้ๆกัน กับการมองหาการระเบิดที่ไกลออกไป เพราะการระเบิดของจักรวาล ทำให้วัตถุต่างๆ ในจักรวาลเคลื่อนห่างออกจากกัน การถ่ายภาพสเปกตรัมของดาราจักรหลายสิบดวงจะพบว่า แสงจากดาราจักรเกือบทุกดาราจักรมีลักษณะการเลื่อนทางแดง นั่นคือวัตถุที่อยู่ไกลออกไปมากจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงกว่าวัตถุที่ อยู่ใกล้กว่าและเรียกได้ว่ามีการเลื่อนไปทางแดงสูงกว่า (higher redshift)
การค้นหาการเลื่อนแดงสูงจะช่วยในการจับสังเกตมหานวดารา และสามารถคำนวณหาระยะห่างและความเร็วเคลื่อนออกของมหานวดารานั้นได้ด้วย โดยการสังเกตว่าการเลื่อนแดงเลื่อนไปมากน้อยเพียงใด ความสัมพันธ์นี้อยู่ในกฎของฮับเบิล
การตั้งชื่อ
มหานวดาราที่ค้นพบจะถูกรายงานไปให้ International Astronomical Union's Central Bureau for Astronomical Telegrams ทราบเพื่อตั้งชื่อ ชื่อจะใส่ปีที่ถูกค้นพบหลังชื่อที่เป็นอักษรหนึ่งหรือสองตัว มหานวดารายี่สิบหกอันแรกของปีถูกตั้งโดยใช้อักษร A ถึง Z เป็นอักษรตัวใหญ่ หลังจากนั้นอักษรตัวเล็กที่เป็นคู่จึงถูกใช้ตามมา เช่น aa, ab ประมาณนี้ นักดาราศาสตร์ทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่นต่างค้นหามหานวดาราได้มากถึงกว่า ร้อยอันในหนึ่งปี (367 ในปี 2005, 551 ในปี 2006, 572 ในปี 2007) ยกตัวอย่างเช่น มหานวดาราอันสุดท้ายที่ค้นพบในปี 2005 ชื่อว่า SN 2005nc ทำให้รู้ว่ามันเป็นมหานวดาราที่ค้นพบลำดับที่ 367 ในปี 2005 (nc ระบุว่าเป็นลำดับที่สามร้อยหกสิบเจ็ด)
ชื่อของมหานวดาราที่เคยบันทึกไว้โดยใช้การระบุปีที่ค้นพบได้แก่ SN 185, SN 1006, SN 1054, SN 1572 (Tycho's Nova) และ SN 1604 (Kepler's Star) ตั้งแต่ปี 1885 ตัวอักษรจึงได้ใช้ต่อท้ายปีนั้นด้วย เช่น SN 1885A, 1907A เป็นต้น โดยมหานวดาราอันสุดท้ายที่ค้นพบคือ SN 1947A โดยใช้ SN เป็นตัวขึ้นต้น
การจัดแบ่งประเภท
ความพยายามที่จะทำความเข้าใจมหานวดาราอย่างถ่องแท้ ทำให้นักดาราศาสตร์ต้องมีการจัดแบ่งประเภทตามข้อกำหนดของ เส้นการดูดกลืนของความแตกต่างทางเคมีของธาตุซึ่งจะปรากฏในสเปคตราของมัน ธาตุแรกที่จะแบ่งคือการปรากฏหรือไม่ปรากฏของเส้นสเปคตรัมไฮโดรเจน ถ้าหาสเปคตรัมของมหานวดารามีเส้นของไฮโดรเจน (รู้จักในนามของ อนุกรมของบัลเมอร์ในส่วนหนึ่งของสเปคตรัมที่มองเห็นได้) มันถูกจัดไว้ใน Type II หรือประเภทที่สอง นอกจากนั้นก็เป็นประเภทที่หนึ่ง หรือ Type I ประเภทเหล่านี้ยังจำแนกเป็นซับดิวิชันได้อีก โดยจัดตามเส้นที่มีอยู่หรือปรากฏอยู่จริงจากธาตุต่างๆ และรูปร่างของเส้นโค้งแสง (light curve…เป็นกราฟของความส่องสว่างปรากฏของมหานวดารากับเวลา)
Supernova taxonomy[2] ประเภท ลักษณะ Type I Type Ia ไม่มีไฮโดรเจน และ แสดงลักษณะของ เส้นซิลิกอน (a singly-ionized silicon (Si II) line) ที่ 615.0 นาโนเมตร, ใกล้จุดพีคของแสง Type Ib เกิดเส้น Non-ionized helium (He I) line ที่ 587.6 นาโนเมตร และ ลักษณะการดูดกลืนซิลิกอนไม่เด่นชัด ใกล้ 615 นาโนเมตร Type Ic มีเส้นฮีเลียมน้อย หรือไม่มีเลย และลักษณะการดูดกลืนซิลิกอนไม่เด่นชัด ใกล้ 615 นาโนเมตร Type II Type IIP เส้นโค้งแสงแทบจะไม่ปรากฏ Type IIL เป็นเส้นตรงลดลงในเส้นโค้งแสง (กราฟแมคนิจูดกับแสงเป็นเส้นตรง)
มหานวดาราประเภทที่สอง Type II จะเป็นซับดีวิชันอะไรนั้นขึ้นอยู่กับสเปคตราของมัน ในขณะที่ส่วนใหญ่แล้วมหานวดาราประเภทที่สองแสดงเส้นการแผ่รังสีค่อน ข้างกว้าง ซึ่งบ่งชี้ถึงการกระจายตัวของความเร็วในค่าเป็นพันกิโลเมตรต่อวินาที บางอันแสดงความสัมพันธ์เฉพาะในช่วงแคบ เหล่านี้เรียกว่า Type IIn โดยตัว n คือ narrow หรือแคบ นั่นเอง
มหานวดาราส่วนน้อยอีกส่วนหนึ่ง เช่น SN 1987K and SN 1993J แสดงการเปลี่ยนประเภท คือมีการแสดงเส้นไฮโดรเจนในช่วงแรกๆ แต่ว่า เมื่อผ่านไปเป็นสัปดาห์หรือเดือน เส้นที่เด่นจะเป็นเส้นฮีเลียม ประเภท Type IIb จะใช้อธิบายการรวมกันของ TypeII และ Ib
แบบจำลองในปัจจุบัน
โดยทั่วไปแล้ว มหานวดาราเกิดจากการระเบิดของดาวฤกษ์มวลมากเมื่อมันหมดอายุขัย ดาวฤกษ์เมื่อยังมีชีวิตจะประกอบไปด้วยก๊าซไฮโครเจนเป็นส่วนใหญ่ ก๊าซปริมาณมหาศาลรวมตัวจึงเกิดสนามแรงโน้มถ่วง ทำให้หดตัวเข้าสู่จุดศูนย์กลาง แต่แรงโน้มถ่วงเหล่านั้นก็ทำให้อะตอมอยู่ชิดกันและเสียดสีกันเกิดปฏิกิริยา นิวเคลียร์ฟิวชัน (Fusion Nuclear Reaction) ซึ่งจะเปลี่ยนไฮโดรเจนรวมเป็นธาตุที่หนักกว่านั่นคือฮีเลียมและแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทั้ง ความร้อนและแสงสว่างออกมา ถ้าหากว่าไม่มีอะไรหยุดยั้ง ปฏิกิริยาฟิวชันก็จะดำเนินไปจนเกิดธาตุหนักไปเรื่อยๆ เช่น จากไฮโดรเจนรวมเป็นฮีเลียม คาร์บอน ออกซิเจน หลอมรวมกันจนผลสุดท้ายที่หนักที่สุดก็คือธาตุเหล็ก และจะสะสมธาตุหนักเหล่านี้ไว้ที่แกนกลางผิวนอกก็จะเป็นธาตุที่เบากว่า แต่มันเป็นไปไม่ได้ตลอดกาล เพราะเมื่ออะตอมมีการชิดกันขึ้น จะเกิดแรงดันที่เรียกว่าแรงดันสภาพซ้อนสถานะของอิเล็กตรอน(electron degeneracy pressure) อันเกิดจากการที่อิเล็กตรอนถูกบีบให้ชิดกันจนเกิดแรงผลักต่อกันเอง ช่องว่างระหว่างสสารย่อมน้อยลงจนถึงระดับที่อิเล็กตรอนเต็มช่องว่างเหล่า นั้นหมดแล้ว อิเล็กตรอนที่อยู่ผิวนอกกว่าก็ไม่สามารถอัดเข้ามาได้อีก เป็นสภาพที่ไม่สามารถดันให้ปริมาตรเล็กลงได้อีก
ดาวฤกษ์จะอยู่ในสภาพนี้โดยไม่ยุบตัว จนกว่ามันจะเผาไฮโดรเจนหมดลงซึ่งทำความดันต้านแรงโน้มถ่วงไม่มีอีกต่อไป สำหรับดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อยกว่า 1.38 เท่าของดวงอาทิตย์ ในขณะที่ยุบตัว แรงดันสภาพซ้อนสถานะของอิเล็กตรอนจะต้านทานการยุบตัวของดาวได้ทำให้มันกลาย เป็นดาวแคระขาวและไม่เกิดมหานวดารา
แต่มันจะกลายเป็นมหานวดาราได้ ถ้าหากว่าดาวแคระขาวดวงนั้นเป็นระบบดาวคู่ และจะนำไปสู่มหานวดาราแบบ Type Ia ส่วนที่เหลือนั้นจะเป็นมหานวดาราที่เกิดจากดาวมวลมาก (massive star) ทั้งสิ้น ซึ่งจะเป็นประเภท Type Ib Type Ic และ Type II
Type I
เป็นการระเบิดภายในระบบเทหวัตถุคู่ที่ดวงหนึ่งเป็นดาวแคระขาวอีกดวงเป็น ดาวฤกษ์ธรรมดาหรือไม่ก็เป็นดาวแคระขาวทั้งสองดวง เมื่อดาวแคระขาวดูดกลืนเอาก๊าซจากดาวฤกษ์อีกดวงจนกระทั่งกระตุ้นให้เกิดการ ระเบิดอย่างรุนแรง การดูดกลืนก็มีสองแบบดังนี้
แบบแรก มีระบบดาวคู่ ประกอบด้วยดาวฤกษ์ดวงใหญ่สองดวงมีการโคจรรอบกันเองซึ่งบางทีอาจจะแคบลง เรื่อยๆ ทำให้ง่ายต่อการแชร์เปลือกนอกซึ่งกันและกัน และอาจจะพัฒนาตัวเป็นดาวยักษ์แดง ดวงหนึ่งจะใช้เชื้อเพลิงรอบตัวมันเองไปกับการจุดฟิวชัน มวลก็หายไปเรื่อยๆ จนกระทั่งไม่สามารถเกิดฟิวชันได้อีก แล้วมันก็จะกลายเป็นดาวแคระขาวซึ่งประกอบด้วยธาตุคาร์บอนและออกซิเจน ดวงที่สองก็เผาผลาญตัวเองเช่นกันโดยใช้เชื้อเพลิงจากมวลสารของตัวมันเองและ ดูดมวลสารจากดาวเคระขาวข้างๆ กัน เพิ่มมวลให้ตัวมันเองจนเป็นดาวยักษ์แดงจากนั้นจะพัฒนาเป็นมหานวดาราในที่สุด
แบบที่สอง เป็นการรวมตัวระหว่างดาวแคระขาวสองดวงที่อยู่ใกล้กัน บางทีอาจเป็นดาวคู่ซึ่งกันและกัน จนมีมวลมีค่ามากกว่าขีดจำกัดของจันทรเสกขา แล้วทำให้เกิดการระเบิดในลำดับต่อมา การระเบิดประเภทนี้ค่อนข้างจะให้ความสว่างคงที จึงใช้เป็นตัววัดระยะระหว่างกาแลคซีได้
มหานวดารา Type Ia Ib Ic ต่างกันตรงรายละเอียดในเส้นสเปกตรัม ซึ่งจะปรากฏต่างกันดังตารางข้างต้น แต่ล้วนเกิดจากดาวมวลมากทั้งสิ้น ซึ่งจะกล่าวในลำดับต่อไป
Type II
จากที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าดาวฤกษ์ซึ่งเต็มไปด้วยไฮโดรเจนจะถูกจุดปฏิ กิริยานิวเคลียร์ฟิวชันเมื่อมีอุณหภูมิและความดันสูงพอ แต่จะมีความดันดีเจนเนอเรซีของอิเล็กตรอนคอยดันไม่ให้ดาวยุบตัวต่อไปได้ หลังจากที่ดาวสะสมธาตุคาร์บอนไว้ที่แกนกลาง ดาวมวลน้อยจะไม่สามารถยุบตัวลงมากพอที่อุณหภูมิที่จะมีอุณหภูมิภายในเพียงพอ สำหรับการจุดฟิวชันคาร์บอนและจบชีวิตลง ถ้าเป็นดาวมวลปานกลางก็จะจุดได้ ยุบตัวลงไปอีกชั้นหนึ่ง ประมาณ 600 ล้านเคลวิน แกนกลางเปลี่ยนจากคาร์บอนเป็นออกซิเจนและนีออน แต่ไม่สามารถลงไปถึง 1500 เคลวินสำหรับจุดฟิวชันนีออนได้ และมีความดันอิเล็กตรอนดีเจนเนอเรซียับยั้งการยุบตัวเอาไว้
แต่สำหรับดาวฤกษ์ที่มีมวลมากกว่า 8 เท่าของดวงอาทิตย์ไม่เป็นเช่นนั้น ดาวจะมีแรงโน้มถ่วงสูงมากจนความดันดีเจนเนอเรซีของอิเล็กตรอนไม่มีบทบาทเข้า มาขัดขวางการยุบตัวของดาวเลย เมื่อฮีเลียมที่แกนกลางหมดลง ดาวมวลมากจะยุบตัวจนแกนกลางมีอุณหภูมิสูงถึง 600 ล้านเคลวิน เพื่อจุดฟิวชันคาร์บอนได้อย่างง่ายดายในเวลาไม่เกิน 500 ปี คาร์บอนในแกนกลางก็จะถูกแทนที่ด้วยออกซิเจนที่เป็นขี้เถ้าของฟิวชันคาร์บอน ไปจนหมดสิ้น ฟิวชันคาร์บอนที่แกนกลางหยุดลง ดาวจะยุบอัดตัวลงอีกจนมีอุณหภูมิสูงถึง 1,500 ล้านเคลวิน และจุดฟิวชันของนีออนและออกซิเจนต่อไปอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ฟิวชันออกซิเจถูกจุดขึ้นที่แกนกลาง ฟิวชันเปลือกคาร์บอน ฟิวชันเปลือกฮีเลียม และฟิวชันเปลือกไฮโดรเจนก็กำลังดำเนินต่อไปเช่นกัน จึงเรียกว่า การเกิดปฏิกิริยาฟิวชันเปลือกหลายชั้น (Multiple Shell Burning)
ฟิวชันในระยะท้ายๆ ของดาวฤกษ์มวลมากเป็นการเกิดปฏิกิริยาฟิวชันที่มีความซับซ้อนมาก เมื่อธาตุใดที่แกนกลางหมดลง ดาวก็จะยุบตัวจนกว่าจะมีอุณหภูมิสูงมากพอที่จะจุดฟิวชันของธาตุหนักกว่า ลำดับต่อไปได้ ชั้นเปลือกของฟิวชันของธาตุต่างๆ จึงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนดาวมีชั้นฟิวชันหลายสิบชั้นซ้อนกันดูคล้ายหัว หอม ในขณะที่อุณหภูมิที่แกนกลางของดาวเพิ่มขึ้นถึงระดับหลายพันเคลวิน ธาตุที่หนักขึ้นเรื่อยๆ ก็กำเนิดขึ้นในแกนกลาง จากคาร์บอน (6 โปรตอน) ออกซิเจน (6 โปรตอน) นีออน (10 โปรตอน).... เรื่อยไป
ดาวจะใช้เวลาเผาผลาญธาตุนั้นและเริ่มชั้นใหม่น้อยลงอย่างมาก ในชั้นท้ายๆ ดาวจะใช้เวลาเผาผลาญเชื้อเพลิงหมดไปภายในไม่กี่วันเท่านั้น ซึ่งนับว่าสั้นมากเมื่อเทียบกับอายุหลายล้านปีของดาว แล้วในที่สุดธาตุก็รวมกันจนเกิดเป็นขี้เถ้าธาตุเหล็กในแกนกลาง ซึ่งเป็นธาตุที่ไม่สามารถจุดฟิวชันเป็นธาตุที่หนักกว่าได้
ชั้นเปลือกที่อยู่เหนือแกนเหล็กขึ้นไปต่างปล่อยขี้เถ้าเหล็กลงมาทับถมที่ แกนกลาง ทำให้น้ำหนักของแกนกลางเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แกนเหล็กถูกบีบอัดที่ความดันสูงอย่างยิ่งยวดและความดันนี้ยังคงเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง ในเวลานี้แกนยังคงรูปอยู่ได้เพราะแรงดันดีเจนเนอเรซีของอิเล็กตรอน แต่เมื่อความกดดันเพิ่มขึ้นจนถึงจุดวิกฤติ อิเล็กตรอนในแกนเหล็กจะไม่อาจทนได้อีกต่อไป จึงถูกอัดรวมเข้ากับโปรตอนเกิดเป็นนิวตรอน (Neutron) และอนุภาคนิวตริโน (Neutrino) การรวมตัวนี้ทำให้จำนวนอิเล็กตรอนในแกนกลางลดหายไปเกือบทั้งหมด ความดันดีเจนเนอเรซีของอิเล็กตรอนที่ประคับประคองแกนเหล็กไว้จึงหมดไปด้วย เมื่อไม่มีความดันดีเจนเนอเรซีคงรูปแกนไว้ แรงโน้มถ่วงจะอัดแกนกลางของดาวลงเป็นดาวนิวตรอนในชั่วพริบตา และในเสี้ยววินาทีน้นเอง พลังงานที่ถูกปลอปล่อยจากการยุบตัวของแกนที่หนาแน่นอย่างที่สุดจะระเบิดออก มาในทุกทิศทาง เปล่งแสงสว่างและพลังงานมากกว่าพี่ดาวได้ผลิตมาตลอดชั่วชีวิต ความร้อนและความดันอันมหาศาลจากการระเบิดทำให้เกิดธาตุหนัก เช่น ปรอท เงิน หรือ ทองคำขึ้นได้ การระเบิดนี้เรียกว่า มหานวดารา จะฉีกดาวทั้งดวงออกเป็นธุลีและสาดเศษส่วนของดาวออกไปในห้วงอวกาศด้วยความ เร็วกว่า 10,000 กิโลเมตร/วินาที
มหานวดาราจะทำลายดาวลงโดยสิ้นเชิง เหลือเพียงแต่ซากแกนกลางของดาว คือ ดาวนิวตรอน ซึ่งเป็นดาวที่มีความหนาแน่นสูงมากเพราะเต็มไปด้วยนิวตรอนอัดแน่น ดาวนิวตรอนมักมีขนาดประมาณ 20 – 30 กิโลเมตรเท่านั้น แต่ถึงกระนั้นก้มีมวลเทียบได้กับดวงอาทิตย์ของเรา นอกจากดาวนิวตรอนแล้ว รอบๆ มหานวดาราก็จะเต็มไปด้วยเศษซากของดาว เรียกว่า ซากมหานวดารา (Supernova Remnant) แล้วก็เป็นต้นกำเนิดของเนบิวลาด้วยเช่นกัน
การเกิดมหานวดาราไม่ได้ให้ผลแค่กลายเป็นดาวนิวตรอนสถานเดียวเท่านั้น ณ จุดสิ้นอายุขัยของดาวมวลมากจะระเบิดมวลส่วนใหญ่ของดาวออกไป แต่ถ้ามวลส่วนหนึ่งตกกลับมายังดาวนิวตรอนที่ยังเหลืออยู่ตรงกลาง ในกรณีของดาวฤกษ์ที่มีมวลเริ่มต้นมากกว่า 18 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ (ค่าทางแบบจำลองคณิตศาสตร์) เศษซากดาวที่ตกกลับลงมายังดาวนิวตรอนจะมีมวลมากพอที่จะทำให้ดาวนิวตรอนมีมวล เพิ่มขึ้นเกินกว่า 3 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ได้ ซึ่งเกินกว่าลิมิตดาวนิวตรอน ความดันดีเจนเนอเรซีของนิวตรอนจึงไม่อาจต้านทานแรงโน้มถ่วงที่สูงขึ้น เรื่อยๆ ได้อีกต่อไป ดาวนิวตรอนจะถูกยุบตัวลงอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เพราะไม่มีแรงใดๆ ในจักรวาลที่จะต้านทานการยุบตัวได้ ชัยชนะเด็ดขาดจึงเป็นของแรงโน้มถ่วง คือดาวนิวตรอนจะยุบตัวลงเป็นหลุมดำ (Black Hole) ซึ่งเป็นวัตถุที่มีขนาดเป็นศูนย์มวลเป็นอนันต์ นอกจากนี้ยังมีอีกทางหนึ่งที่ดาวฤกษ์สามารถกลายเป็นหลุมดำได้คือ แกนเหล็กของดาวมวลมากที่สิ้นอายุขัยสามารถยุบตัวลงผ่านลิมิตดาวนิวตรอนกลาย เป็นหลุมดำได้โดยตรง ในกรณีนี้ จะไม่เกิดปรากฏการณ์มหานวดาราอีกเลย (เกิดขึ้นในดาวที่มีมวลเริ่มต้นหลายสิบเท่าของมวลดวงอาทิตย์)
กลุ่มดาวในทางช้างเผือกที่น่าจะเป็นมหานวดารา (Milky Way Candidates)
กลุ่มเนบิวล่า รอบๆ ดาวหมาป่า (Wolf-Rayet starWR124) ที่ตั้งอยู่ในระยะห่างออกไป 21,000 ปีแสง มีดาวขนาดใหญ่มากมายในทางช้างเผือกที่สามารถเปลี่ยนเป็นมหานวดาราได้ภายใน หนึ่งพันถึงหนึ่งร้อยล้านปีข้างหน้า รวมทั้ง Rho Cassiopeiae, Etha Carinae และ RS Ophiuchi, the Kitt Peak Downes star KPD1930+2752, HD 179821, IRC+10420, VY Canis Majoris, Betelgeuse Antares and Spica กลุ่มดาวหมาป่าหลายดวง เช่น Gamma Velorma , WR 104, และกลุ่ม Quintuplet ซึ่งสามารถทำนายได้ว่าจะเกิดมหานวดาราได้ในอนาคตข้างหน้า
ดาวที่มีโอกาสเป็นมหานวดาราได้ในเร็วๆนี้ คือ IK Pegasi (HR 8210) ตั้งอยู่ห่างไป 150 ปีแสง ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มดาวเรียงกันและดาวแคระขาว ห่างกันแค่ 31 ล้านกิโลเมตร โดยดาวแคระขาวมีมวลเป็น 1.15 เท่าของดวงอาทิตย์ และต้องใช้เวลาหลายล้านปีก่อนที่จะกลายเป็นมหานวดาราประเภทที่ 1 ได้
Edited by sorrow, 24 January 2014 - 22:07.
- ตะนิ่นตาญี, วิท, กล้ากันเกรา and 4 others like this
ร่วมกันทำลายล้างระบอบทักษิณ-เผด็จการชินวัตรให้หมดไปจากแผ่นดินไทย
โลกมนุษย์ย่อมจะดีกว่านี้แน่ เพราะมีผู้ไม่ยอมแพ้แม้ถูกหยัน
คงยืนหยัดสู้ไปใฝ่ประจัญ ยอมอาสัญก็เพราะปองเทิดผองไทย
#18
Posted 24 January 2014 - 22:08
แล้วถ้าเป็นดอกสว่าน ลับคมอย่างไรครับ
จัดให้ครับ
ขั้นตอนการลับดอกสว่านมีดังนี้
1) ตรวจสอบสภาพเครื่องเจียระไนก่อนทำการลับ
2) ปรับแท่นพักงานให้ห่างหินเจียระไนประมาณ 3 มิลลิเมตร
3) ตรวจสอบมุมของดอกสว่านก่อนทำการลับ
4) จับดอกสว่านให้ถูกวิธี เพื่อช่วยให้การหมุนลับดอกสว่านได้สะดวก
5) ต้องให้แกนดอกสว่านทำมุม 59 องศา กับผิวหน้าหินเจียระไน เพื่อให้ได้มุมที่ปลายดอกสว่านที่ถูกต้อง เพราะการเจาะวัสดุทั่ว ๆ ไปใช้มุมที่ปลายดอกสว่าน 118 องศา เพราะฉะนั้นจึงได้มุมข้างละ 59 องศา ซึ่งเป็นค่าที่ถูกต้อง
6) ขณะลับต้องนำดอกสว่านจุ่มน้ำหล่อเย็นบ่อย ๆ เพื่อระบายความร้อน ลับดอกสว่านสลับกันทีละข้าง จนได้ขนาดมุมเท่ากันตามต้องการ
วิธีการลับดอกสว่าน
1) หินเจียระไนจะต้องหมุนเข้าหาตัว
2) ตรวจสอบมุมของดอกสว่าน
3) วางดอกสว่านบนแท่นรองรับ ใช้มือซ้ายจับที่ปลายดอกสว่าน ห่างออกมาประมาณ 40 มิลลิเมตร และมือขวาจับที่ก้านดอกสว่าน
4) กดก้านดอกสว่านลงให้ด้าน “FLANK” สัมผัสหน้าหินเจียระไน
5) ลักษณะที่คมด้านนอก สัมผัสหน้าหินเจียระไนตอนเริ่มเจียระไนด้าน “FLANK” ของดอกสว่าน ขณะลับดอกสว่านต้องจุ่มน้ำระบายความร้อนบ่อย ๆ ไม่ให้ปลายคมจิกดอกสว่านไหม้ กดดอกสว่านกับหน้าหินและแท่นรองรับเบาๆจับด้านหมุนและกอเข้าหาหินเจียระไนเพียงเบา ๆ พร้อมกับหมุนเล็ก
ข้อควรคำนึงถึง
ในการลับคมตัดของดอกสว่านที่ใช้งานกันทั่ว ๆ ไป มุมคมตัดของดอก สว่านจะมีค่ามุมเป็น 118 องศา ครึ่งหนึ่งเท่ากับ 59 องศา เพราะฉะนั้น การทาบคมตัดของดอกสว่านจะต้องวางทาบให้ได้มุม 59 องศากับผิวหน้าของล้อหินเจียระไน แล้วจึงกดดอกสว่านพร้อมกับหมุนให้ลับช่วงด้านหลังให้เกิดมุมหลบ เพื่อลดการเสียดสีและทำให้เกิดคมตัดขึ้น
http://www.thaibuilt...om/?page_id=919
#19
Posted 24 January 2014 - 22:09
อยากอ่านเรื่องขุมทองโซโลมอนอะครับ.ขอบคุณตอนต่อไป เรื่อเล่าตลกร้าย ในสงครามครูเสด
#20
Posted 24 January 2014 - 22:09
เจ้าของกระทู้ รู้หรือยังว่า โลกกลม ไม่ใช่โลกแบน
- ppneer and bubblesafari like this
ถึงตรูจะเลวยังไง ตรูก้อไม่ได้ขายชาติ เหมือนเสื้อแดงว่ะ เข้าใจนะ
#22
Posted 24 January 2014 - 22:23
ต่อนะครับ....
เซลล์ไฟฟ้าเคมี แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. เซลล์กัลวานิก (galvanic cell) หรือเซลล์โวลตาอิก (voltaic cell)
2. เซลล์อิเล็กโทรไลต์ (electrolytic cell)
เซลล์กัลวานิก (galvanic cell)
ได้กล่าวถึงปฏิกิริยารีดอกซ์ที่เกิดขึ้นเมื่อนำแผ่นสังกะสีจุ่มลงในสารละลายของทองแดง หรือตัวรีดิวซ์จุ่มลงในตัวออกซิไดซ์โดยตรงแล้วในบทนำ ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นทำให้เกิดพลังงานในรูปของความร้อน แต่ถ้าแยกตัวรีดิวซ์ออกจากตัวออกซิไดซ์ แล้วเชื่อมต่อวงจรภายนอกและสะพานเกลือ (salt bridge) อิเล็กตรอนก็จะถูกถ่ายโอนผ่านตัวกลางภายนอกจากขั้วไฟฟ้าที่เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันไปยังขั้วไฟฟ้าที่เกิดปฏิกิริยารีดักชัน จึงทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าได้ เซลล์ไฟฟ้าที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมีนี้เรียกว่าเซลล์กัลวานิก หรือเซลล์โวลตาอิก (galvanic cell or voltaic cell)
เซลล์กัลวานิกประกอบด้วยสองครึ่งเซลล์ โดยแต่ละครึ่งเซลล์จะประกอบด้วยขั้วไฟฟ้าที่จุ่มลงไปในสารละลาย แท่งสังกะสีและแท่งทองแดงในเซลล์เป็นขั้วไฟฟ้าซึ่งเรียกว่า อิเล็กโทรด (electrode) ขั้วที่เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน เรียกว่า ขั้วแอโนด (anode) และขั้วที่เกิดปฏิกิริยารีดักชัน เรียกว่าขั้วแคโทด (cathode)
ปฏิกิริยาออกซิเดชันที่แอโนด (Zn) Zn(s) Zn2+(aq) + 2e-
ปฏิกิริยารีดักชันที่แคโทด (Cu) Cu2+(aq) + 2e- Cu(s)
หมายเหตุ : ประจุที่สะสมจะทำให้ออกซิเดชันที่แคโทดและรีดักชันที่แอโนดเกิดยากขึ้น
ระหว่างที่เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันขึ้นที่ขั้วแอโนด Zn จะค่อย ๆ กร่อนแล้วเกิดเป็น Zn2+ ละลายลงมาในสารละลายที่มี Zn2+ และ SO42- ส่วนที่ขั้วแคโทด Cu2+จากสารละลายเกิดปฏิกิริยารีดักชันกลายเป็นอะตอมของทองแดงเกาะอยู่ที่ผิวของขั้วไฟฟ้า เมื่อปฏิกิริยาดำเนินไปจะพบว่าในครึ่งเซลล์ออกซิเดชันสารละลายจะมีประจุบวก (Zn2+) มากกว่าประจุลบ (SO42-) และในครึ่งเซลล์รีดักชันสารละลายจะมีประจุลบ (SO42-) มากกว่าประจุบวก (Cu2+) จึงเกิดความไม่สมดุลทางไฟฟ้าขึ้น ปัญหานี้สามารถที่จะแก้ไขได้โดยการใช้ สะพานเกลือ (salt bridge) เชื่อมต่อระหว่างสองครึ่งเซลล์ ซึ่งสะพานเกลือทำจากหลอดแก้วรูปตัวยู ภายในบรรจุอิเล็กโตรไลต์ที่ไม่ทำปฏิกิริยากับสารในเซลล์และมีไอออนบวก ไอออนลบเคลื่อนที่ด้วยความเร็วใกล้เคียงกัน หรือทำจากกระดาษกรองชุบอิเล็กโตรไลต์ โดยสะพานเกลือทำหน้าที่เป็นตัวกลางที่เชื่อมต่อระหว่างครึ่งเซลล์ทั้งสอง และเป็นสิ่งที่ป้องกันการเกิดการสะสมของประจุโดยไอออนบวกจากสะพานเกลือจะเคลื่อนที่ไปยังครึ่งเซลล์ที่มีประจุลบมาก ในทางตรงกันข้ามไอออนลบก็จะเคลื่อนที่ไปยังครึ่งเซลล์ที่มีประจุมาก จึงทำให้ปฏิกิริยาดำเนินต่อไปได้ในเวลาที่มากขึ้น
และเนื่องจากครึ่งเซลล์ทั้งสองเชื่อมต่อกับวงจรภายนอก ครึ่งเซลล์ที่มีศักย์รีดักชันสูงกว่าจะเกิดรีดักชัน และครึ่งเซลล์ที่มีศักย์รีดักชันต่ำกว่าจะ(ถูกบังคับให้)เกิดออกซิเดชัน ความต่างศักย์ระหว่างอิเล็กโทรดนี้ เรียกว่า แรงเคลื่อนไฟฟ้า (electromotive force: emf) และมีหน่วยเป็นโวลต์ (volt)
เมื่อเรียนเรื่องเซลล์กัลวานิก เราก็จำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้
2. ค่าศักย์รีดักชันมาตรฐานกับตารางธาตุ
เซลล์กัลวานิกแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด
1. เซลล์ปฐมภูมิ (primary cell) เมื่อปฏิกิริยาเคมีภายในเซลล์เกิดขึ้นและดำเนินไปแล้ว ปฏิกิริยาจะเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์และเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับไม่ได้หรือนำมาอัดไฟใหม่ไม่ได้
2. เซลล์ทุติยภูมิ (secondary cell) เกิดปฏิกิริยาย้อนกลับได้หรือนำมาอัดไฟใหม่ได้
เซลล์อิเล็กโทรไลต์ (electrolytic cell)
เมื่อผ่านไฟฟ้าเข้าไปในเซลล์ที่ประกอบด้วยขั้วไฟฟ้าสองขั้วจุ่มอยู่ในสารละลายอิเล็กโทรไลต์ จะเกิดปฏิกิริยาเกิดขึ้นภายในเซลล์ เรียกกระบวนการนี้ว่าอิเล็กโทรลิซิส (electrolysis) และเรียกเซลล์ไฟฟ้าเคมีนี้ว่า เซลล์อิเล็กโทรไลต์
ในการพิจารณาขั้วบวก/ขั้วลบจะพิจารณาจากปริมาณอิเล็กตรอนว่ามีมากหรือน้อย
- เซลล์แกลแวนิก ขั้วที่เกิดออกซิเดชันมีอิเล็กตรอนสะสม(จากภายใน) จึงเป็นขั้วลบ
- เซลล์แกลแวนิก ขั้วที่เกิดรีดักชันมีอิเล็กตรอนสะสม(จากภายนอก) จึงเป็นขั้วลบ
ในเมื่อแบตเตอรี่เป็นตัวจ่ายกระแสไฟฟ้า อิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่ออกจากขั้วแอโนด (ขั้วลบ) ของแบตเตอรี่ผ่านลวดตัวนำไปยังขั้วไฟฟ้าของเซลล์อิเล็กโทรไลต์ ดังนั้นขั้วไฟฟ้าที่ต่อกับขั้วลบของแบตเตอรี่จะเป็นขั้วแคโทด เพราะเป็นขั้วที่เกิดปฏิกิริยารีดักชัน และเนื่องจากต่อกับขั้วลบ ขั้วไฟฟ้านี้จึงเป็นขั้วลบ ส่วนขั้วไฟฟ้าอีกขั้วหนึ่งเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันจึงเป็นขั้วแอโนด และต่อกับขั้วบวกของแบตเตอรี่จึงเป็นขั้วบวก อิเล็กตรอนเคลื่อนที่ออกจากขั้วแอโนดของเซลล์เข้าสู่แบตเตอรี่
หลักการของเซลล์อิเล็กโทรไลต์สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากมาย ดังต่อไปนี้
3. การชุบโลหะ
"ข้าพระพุทธเจ้า จักยอมตาย เพื่อดำรงไว้ซึ่งพระบรมเดชานุภาพแห่งพระมหากษัตริย์เจ้า"
#23
Posted 24 January 2014 - 22:34
ใครเป็นแฟนน้องยุนอา แนะนำให้ดูซีรีย์เรื่องนี้เลยค่าาา
ชื่อเรื่อง : 총리와 나 / The Prime Minister and I
ชื่อเรื่องอื่นๆ : 總理與我 / Prime Minister Is Dating
ประเภท: โรแมนติก คอมเมดี้
จำนวนตอน : 16
ออกอากาศช่อง : KBS2
ช่วงเวลาออกอากาศ : 09 ธ.ค. 2556 - 28 ม.ค. 2557
เวลาออกอากาศ: จัน - อังคาร [เวลา 21:55 ตามเวลาเกาหลี] [เวลา 19:55 ตามเวลาไทย]
เรื่องย่อ The Prime Minister and I
นายกรัฐมนตรี ควอนยุล (รับบทโดย อีบอมซู) พ่อหม้ายลูกสาม เขาสามารถทำงานได้ดีอย่างไม่ขาดตกบกพร่อง แต่ทว่าเรื่องดูแลลูกๆ ดูเหมือนจะตรงกันข้ามกันสิ้นดี ส่วนนักข่าวสาวนัมดาจอง(อิมยุนอา) เธอต้องปลอมตัว เพื่อไปหาข่าวที่บ้านนายกควอนยุล แต่แล้ว ดาจองต้องต้องกลายเป็นภรรยาของท่านนายก ควอนยุล เพราะข่าวลือ โชคชะตาที่ไม่คาดฝันจึงเกิดขึ้น นัมดาจองเปรียบเสมือนของขวัญวันคริสต์มาสสำหรับเขาและลูกๆ มาติดตามเรื่องราวความรัก โขคชะตาที่ทำให้เขาทั้งสองต้องมาเจอกัน กับ The Prime Minister and I
ฉายถึงตอนที่ 13 แระค่าา สนุกมว๊ากกกกกก
ขอบคุณข้อมูล : โครตฮิต.คอม
Edited by bubblesafari, 24 January 2014 - 22:35.
- Rxxxx and ตะนิ่นตาญี like this
#29
Posted 24 January 2014 - 22:57
หุ หุ ๆ ๆ
Edited by Rxxxx, 24 January 2014 - 22:58.
- ppneer and อู๋ ฮานามิ like this
#30
Posted 24 January 2014 - 23:03
แร่ทังสเตน
ที่พบในประเทศไทย คือ แร่วุลแฟรไมต์ (wolframite;(Fe,Mn)WO4) แร่ชีไลต์ (scheelite;CaWO4) นอกจากนี้ยังพบแร่ในกลุ่มของแร่วุลแฟรไมต์ ในบางแหล่งแร่ด้วย คือแร่เฟอร์เบอไรต์ (ferberite;FeWO4) และแร่เฮิบเนอไรต์ (huebnerite;MnWO4) แร่ทังสเตนนี้มักเกิดร่วมกับแร่ดีบุก ซึ่งมีกำเนิดมาจากหินอัคนีจำพวกแกรนิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งหินแกรนิตที่มีอายุอ่อนซึ่งโผล่เป็นเทือกเขาแนวยาวตั้งแต่เหนือจดใต้ทางด้านตะวันตกของประเทศ
การตรวจแร่ทังสเตนชนิดต่างๆทำได้โดยอาศัยคุณสมบัติของแร่แต่ละชนิด ดังนี้
แร่วุลแฟรไมต์ เป็นแร่ที่มีสีดำค่อนไปทางน้ำตาลหรือน้ำตาลแก่เกือบดำ มีสีผงละเอียดเป็นสีน้ำตาลความถ่วงจำเพาะ 7.0 – 7.5 จับดูจะรู้สึกหนักมือ จะมีผิวแร่ด้านหนึ่งเป็นมันเงา มีคุณสมบัติแม่เหล็กดูดติดผงแร่เล็กๆ แร่เฟอร์เบอไรต์จะมีสีและสีผงละเอียดของแร่เป็นสีดำ ส่วนแร่เฮิบเนอไรต์จะมีสีผงของแร่เป็นสีน้ำตาลมากกว่า
แร่ชีไลต์ มีสีขาว เหลือง ขาวอมเหลือง เขียว และน้ำตาล เนื้อแร่โปร่งแสง มีความวาวคล้ายแก้ว มีความถ่วงจำเพาะ 5.9 – 6.7 จึงเป็นแร่ที่มีความวาวแบบไม่ใช่วาวโลหะที่มีน้ำหนัก ความแข็ง 4.5 – 5 ซึ่งขีดกระจกไม่เข้า อาจตรวจสอบโดยการตรวจการเรืองแสงของแร่ภายใต้แสงอัลตราไวโอเลต ซึ่งจะให้สีของแสงเรืองเป็นสีน้ำเงินหรือฟ้าอ่อน ซึ่งถ้าหากมีธาตุโมลิบดินัมในโมเลกุลของชีไลต์จะทำให้สีของการเรืองแสงต่างออกไป โดยจะทำให้สีอ่อนลงจนเกือบเป็นสีขาว แต่ถ้าหากมีปริมาณของโมลิบดินัมมากขึ้นจะทำให้การเรืองเป็นสีเหลืองมากขึ้น
ประโยชน์ของแร่ทังสเตน โลหะทังสเตน ที่ถลุงแล้วมีความสำคัญอย่างยิ่งต่ออุตสาหกรรมหนัก ใช้ผสมเหล็กกล้าในการทำเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทนความร้อนสูง ทำเครื่องจักรกล หัวเจาะเกราะ ใบมีด ตะไบ ใบเลื่อย ไส้หลอดไฟฟ้า และหลอดวิทยุ นอกจากนี้ ยังใช้ในการทำสีอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาและเครื่องแก้ว
Edited by mongdoodee, 24 January 2014 - 23:03.
- sorrow likes this
#31
Posted 24 January 2014 - 23:04
หาความเร็วรอบงานกลึง
ลับมีดกลึง
ลับดอกสว่าน
นึกถึง ปี1 ปวช. ช่างกล
- ppneer and ตะนิ่นตาญี like this
#32
Posted 24 January 2014 - 23:08
หุ หุ ๆ ๆ
ลองเปิดต่อจากคลิปของคุณอู๋นะครับ ได้ฟีลจังแหม่
Edited by ctpk05, 24 January 2014 - 23:29.
- Rxxxx, อู๋ ฮานามิ, silence and 1 other like this
"ข้าพระพุทธเจ้า จักยอมตาย เพื่อดำรงไว้ซึ่งพระบรมเดชานุภาพแห่งพระมหากษัตริย์เจ้า"
#33
Posted 24 January 2014 - 23:25
#34
Posted 24 January 2014 - 23:29
เมื่อคืนวานเจอ12องศาเข้าก็ไปแทบตายแล้ว
#35
Posted 24 January 2014 - 23:30
แล่วคิตว่าจะรอดรึ
แล้วคิดได้หรือยัง จะจัดเวที่ที่ไหน
จะบริจาค 10บาท
สู้เวทีไอ้เทือก
- ตะนิ่นตาญี likes this
ขอเสื้อแดงทุกท่านจงเป็นเสื้อแดงตลอดชีวิต เกิดชาติหน้าชาติไหนๆจงเป็นเสื้อแดงทุกชาติๆไป
#36
Posted 24 January 2014 - 23:33
- ppneer, idecon, bubblesafari and 1 other like this
#37
Posted 24 January 2014 - 23:36
แม่ยยยยยยยยยยยยยย
ชาวนาขึ้นเวที
ยังกะเวที ไอ้ตู่ไอ้เต้น
ถ้าเปิดมาเจอละ นึกว่าเป็นเวทีเสื้อแดง
- ตะนิ่นตาญี likes this
ขอเสื้อแดงทุกท่านจงเป็นเสื้อแดงตลอดชีวิต เกิดชาติหน้าชาติไหนๆจงเป็นเสื้อแดงทุกชาติๆไป
#38
Posted 24 January 2014 - 23:41
แม๋ยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยย
น้ำลายอหังการ์ฟุ้งกระจาย
ต่างกันจริงๆ เวทีเสื้อแดงกะเวทีกปปส.
- ตะนิ่นตาญี likes this
ขอเสื้อแดงทุกท่านจงเป็นเสื้อแดงตลอดชีวิต เกิดชาติหน้าชาติไหนๆจงเป็นเสื้อแดงทุกชาติๆไป
#40
Posted 25 January 2014 - 00:17
เมื่อไหร่จะหน้าร้อนซะทีเว้ย โครตหนาวววววเลย อยากไปทะเลยโว๊ยยยยยยยยยยย
ส่งคนในรูปมาสงขลาเลยครับ
จะดูแลอย่างดี
ถ้าผมมีแบบนี้ ผมจะส่งทำไม ผมก็ต้องเก็บไว้บ้านสิ 55555+
#41
Posted 25 January 2014 - 02:55
#43
Posted 25 January 2014 - 06:59
(กระทู้)
- Rxxxx, ตะนิ่นตาญี and Bourne like this
จะยอมตายหมายให้เกียรติดำรง จะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา
#44
#45
Posted 25 January 2014 - 08:01
นกแก้ว หรือ นกปากขอ (อังกฤษ: Parrot) เป็นอันดับของนกอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Psittaciformes
เป็นนกที่มีความแตกต่างกันมากทางสรีระ คือมีตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงใหญ่ (19-100 เซนติเมตร) มีหัวกลมโต ลำตัวมีขนอุยปกคลุมหนาแน่น ขนมีแกนขนรอง ต่อมน้ำมันมีลักษณะเป็นพุ่มขน ผิวหนังค่อนข้างหนา มีลักษณะเด่นที่แตกต่างจากนกอันดับอื่น ๆ คือ จะงอยปากที่สั้นหนา และทรวดทรงงอเป็นตะขอหุ้มปากล่าง มีความคมและแข็งแรง อันเป็นที่ของชื่อสามัญ ใช้สำหรับกัดแทะอาหารและช่วยในการปีนป่าย เช่นเดียวกับกรงเล็บ[2] รูจมูกไม่ทะลุถึงกัน สันปากบนหนาหยาบและแข็งทื่อ ขนปลายปีกมี 10 เส้น ขนกลางปีกมี 8-14 เส้น ไม่มีขนกลางปีกเส้นที่ 5 ขนหางมี 12-14 เส้น หน้าแข้งสั้นกว่าความยาวของนิ้วที่ยาวที่สุด แข้งปกคลุมด้วยเกล็ดชนิดเกล็ดร่างแห นิ้วมีการจัดเรียงแบบนิ้วคู่สลับกัน คือ เหยียดไปข้างหน้า 2 นิ้ว (นิ้วที่ 2 และ 3) และเหยียดไปข้างหลัง 2 นิ้ว (นิ้วที่ 1 และนิ้วที่ 4) ซึ่งนิ้วที่ 4 สามารถหมุนไปข้างหน้าได้
เป็นนกที่อาศัยและหากินบนต้นไม้ กินผลไม้และเมล็ดพืช บินได้ดีัและบินได้เร็ว พบอาศัยอยู่เป็นคู่หรือเป็นฝูง ทำรังตามโพรงต้นไม้ ไข่สีขาว ลักษณะทรงกลม วางไข่ครั้งละ 2-6 ฟอง ลูกนกแรกเกิดมีสภาพเป็นลูกอ่อนเดินไม่ได้ พบกระจายพันธุ์ตามเขตร้อนทั่วโลก ในบางชนิดมีอายุยืนได้ถึง 50 ปี โดยเฉพาะนกแก้วชนิดที่มีขนาดใหญ่ และจากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์พบว่า นกแก้วขนาดใหญ่มีความเฉลียวฉลาดเทียบเท่ากับเด็กอายุ 4 ขวบ[2]
เป็นนกที่มนุษย์รู้จักกันเป็นอย่างดี เนื่องด้วยนิยมเลี้่ยงเป็นสัตว์เลี้ยงที่สามารถฝึกหัดให้เลียนเสียงตามแบบภาษามนุษย์ในภาษาต่าง ๆ ได้ ประกอบกับมีสีสันต่าง ๆ สวยงามตามชนิด ซึ่งนกแก้วไม่มีกล่องเสียง แต่การส่งเสียงมาจากกล้ามเนื้อถุงลมและแผ่นเนื้อเยื่อ เมื่ออวัยวะส่วนนี้เกิดการสั่นสะเทือน จึงเปล่งเสียงออกมาได้[2][3] แบ่งออกได้ราว 360 ชนิด ใน 80 สกุล[4]
ในประเทศไทยพบเพียงวงศ์เดียว คือ Psittacidae หรือนกแก้วแท้ พบทั้งหมด 7 ชนิด ใน 3 สกุล อาทิ นกแขกเต้า (Psittacula alexandri), นกแก้วโม่ง (P. eupatria) เป็นต้น[3]
อย่างไรก็ตาม มีนกเพียงชนิดเดียวในอันดับนี้ที่บินไม่ได้ และหากินในเวลากลางคืนด้วย คือ นกแก้วคาคาโป (Strigops habroptila) ที่พบเฉพาะบนเกาะนิวซีแลนด์เท่านั้น โดยเป็นนกรูปร่างใหญ่ บินไม่ได้ นอกจากจะหากินในเวลากลางคืนแล้ว ยังมีเสียงร้องประหลาดที่คล้ายกบหรืออึ่งอ่างอีกด้วย ปัจจุบันมีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์มากแล้ว [5]
อย่าให้ความชั่วร้ายครอบงำเรา จนไม่รู้จักผิดชอบดีชั่ว
#49
Posted 25 January 2014 - 09:31
http://www.thairath....tent/eco/370189
ไทยรัฐ : จนถึงขณะนี้หลายคนยังประท้วงเรียกร้อง ฟ้องศาล ให้ใช้ราคาแอลพีจีราคาเดิม มีมุมมองต่อเรื่องนี้อย่างไร
พงษ์ศักดิ์ : ตัวผมเองมีมุมมองเรื่องของก๊าซแอลพีจี เป็นเรื่องสำคัญระดับประเทศ โดยเฉพาะทั่วโลกแอลพีจีเขาไม่เอามาเป็นเชื้อเพลิง เพราะว่ามีสาร ซี 2 และซี 3 ที่เหมาะไปทำปิโตรเคมี มีมูลค่าเพิ่มมหาศาล ทุกวันนี้ประเทศของเราเติบโตได้ด้วยอุตสาหกรรมปิโตรเคมี มาทำพลาสติก ทำอุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งมูลค่าเติบโตต่อกิโลกรัมของแอลพีจี เพิ่มเป็น 30,000-1 แสนบาทต่อกิโลกรัม มูลค่าเพิ่มมหาศาลมาก หลายประเทศจึงส่งเสริมนำแอลพีจีไปทำปิโตรเคมี
เพ้งเอ๋ย ยังไม่รู้อีกว่าเขาเอา โพเพน (C 3) บิวเทน (C4) รวมกัน เป็น LPG
กระบวนการแยกก๊าซธรรมชาติ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามความเหมาะสม และให้เกิดคุณค่าทางเศรษฐกิจสูงสุด จะแตกต่าง จากกระบวนการกลั่นน้ำมัน ที่เริ่มต้นการกลั่น ด้วยการแยกองค์ประกอบน้ำมัน ส่วนที่เบาที่สุด ออกมาก่อน ขณะที่การแยกก๊าซธรรมชาตินั้น สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ส่วนที่หนักที่สุด จะถูกแยกออกเป็นลำดับแรก ผลิตภัณฑ์ที่ได ้จากโรงแยกแปรสภาพก๊าซธรรมชาติ สามารถจำแนกตามลักษณะ ของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่แยกออก และนำไปใช้ประโยชน์ต่อกระบวนการผลิตอื่น ๆ ดังนี้
1. ก๊าซมีเทน (C1) : ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม และนำไปอัดใส่ถังด้วยความดันสูง เรียกว่าก๊าซธรรมชาติอัด สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์ รู้จักกันในชื่อว่า “ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์” (Natural Gas for Vehicles : NGV)
2. ก๊าซอีเทน (C2) : ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้น สามารถนำไปใช้ผลิตเม็ดพลาสติก เส้นใยพลาสติกชนิดต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้แปรรูปต่อไป
3. ก๊าซโพรเพน (C3) และก๊าซบิวเทน (C4) : ก๊าซโพรเพนใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้นได้เช่น ใช้ผลิตโพรพิลีน ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เพื่อใช้ในการผลิตเม็ดพลาสติกโพลีโพรพิลีน (PP) เช่น ยางในห้องเครื่องยนต์ หม้อแบตเตอรี่ กาว สารเพิ่มคุณภาพน้ำมันเครื่องรวมทั้งใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรมได้อีกด้วย การใช้ก๊าซบิวเทนโดยตรงคือ ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับจุดบุหรี่ เตาย่าง เตาผิง และอื่นๆ และหากนำเอาก๊าซโพรเพนกับก๊าซบิวเทนมาผสมกัน อัดใส่ถังเป็นก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas : LPG) หรือที่เรียกว่าก๊าซหุงต้ม สามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือน เป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานยนต์ และใช้ในการเชื่อมโลหะได้
4. ไฮโดรคาร์บอนเหลว (Heavier Hydrocarbon): อยู่ในสถานะที่เป็นของเหลวที่อุณหภูมิและความดันบรรยากาศ เมื่อผลิตขึ้นมาถึงปากบ่อบนแท่นผลิต สามารถแยกจากไฮโดรคาร์บอนที่มีสถานะเป็นก๊าซบนแท่นผลิต สามารถลำเลียงขนส่งโดยทางเรือหรือทางท่อ นำไปกลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูปต่อไป
5. ก๊าซโซลีนธรรมชาติ : แม้ว่าจะมีการแยกคอนเดนเสทออกเมื่อทำการผลิตขึ้นมาถึงปากบ่อบนแท่นผลิตแล้ว แต่ก็ยังมีไฮโดรคาร์บอนเหลวบางส่วนหลุดไปกับไฮโดรคาร์บอนที่มีสถานะเป็นก๊าซ เมื่อผ่านกระบวนการแยกจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติแล้ว ไฮโดรคาร์บอนเหลวนี้ก็จะถูกแยกออก เรียกว่า ก๊าซโซลีนธรรมชาติ หรือ NGL (natural gasoline) และส่งเข้าไปยังโรงกลั่นน้ำมัน เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปได้และยังเป็นตัวทำละลาย ซึ่งนำไปใช้ในอุตสาหกรรมบางประเภทได้เช่นกัน
6. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ : เมื่อผ่านกระบวนการแยกแล้ว จะถูกนำไปทำให้อยู่ในสภาพของแข็ง เรียกว่า น้ำแข็งแห้ง นำไปใช้ในอุตสาหกรรมถนอมอาหาร อุตสาหกรรมน้ำอัดลมและเบียร์ ใช้ในการถนอมอาหารระหว่างการขนส่ง นำไปเป็นวัตถุดิบสำคัญในการทำฝนเทียม และนำไปใช้สร้างควันในอุตสาหกรรมบันเทิง อาทิ การแสดงคอนเสิร์ต หรือการถ่ายทำภาพยนตร์
เอาอะไรมาเป็นรมว.ก็ทำให้ประชาชนเดือดร้อนแบบนีล่ะ
Tam-mic-ra ฟันธง! คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ ..... คิดครับคิด จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96 ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3
#50
Posted 25 January 2014 - 09:40
0 user(s) are reading this topic
0 members, 0 guests, 0 anonymous users