คณิตศาสตร์
วิธีสำรวจความคิดเห็น
สร้างเมื่อ 15 พ.ค. 2556 14:39:04
การสำรวจความคิดเห็น
การสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มบุคคลเกี่ยวกับเรื่องหนึ่งก็คือการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยวิธีการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวจากกลุ่มบุคคลนั้นข้อมูลที่ได้จากความคิดเห็นของแต่ละบุคคลในเรื่องใด ๆ มิใช่ข้อเท็จจริงของเรื่องนั้น ๆ ทั้งหมด จะมีความแตกต่างกันเนื่องจากตัวผู้ตอบด้วย ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจความคิดเห็นในเรื่องเดียวกัน อาจจะแตกต่างกันเนื่องจากเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ อาชีพ สถานภสพสมรส ศาสนา หรือพื้นที่อยู่อาศัยก็ได้ การสรุปผลความคิดเห็นของกลุ่มบุคคล จึงนิยมสรุปผลจำแนกตามลักษณะต่าง ๆ ของกลุ่มผู้ตอบด้วย เช่น การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานของรัฐบาล จะจำแนกตามภาค (ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ กรุงเทพมหานครและปรมณฑล)เขตการปกครอง (เขตเทศบาล นอกเขตเทศบาล) เพศ (ชาย หญิง) ระดับการศึกษา (ประถมศึกษาและต่ำกว่า มัธยมศึกษาและอาชีวศึกษา และอุดมศึกษา) อาชีพ (ลูกจ้างรัฐบาล ลูกจ้างเอกชน เกษตรกร อาชีพอิสระ) การสรุปผลการสำรวจความคิดเห็นจำแนกตามลักษณะต่าง ๆ ของตัวผู้ตอบข้างต้นจะทำให้สามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาและกำหนดนโยบายของรัฐบาลให้เหมาะสมกับกลุ่มบุคคลในแต่ละลักษณะได้
3.1 วิธีสำรวจความคิดเห็น
ขั้นตอนและวิธีการที่สำคัญในการสำรวจความคิดเห็น มีดังต่อไปนี้
3.1.1 ขอบเขตของการสำรวจ
ในการสำรวจความคิดเห็นต้องกำหนดของเขตของการสำรวจความคิดเห็นให้ชัดเจน ขอบเขตของการสำรวจความคิดเห็นอาจกำหนดได้หลายแบบ เช่น
1. กำหนดด้วยพื้นที่ เช่น พื้นที่รวมทั้งประเทศ พื้นที่ภาคเหนือ พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล พื้นที่อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก
2. กำหนดด้วยลักษณะส่วนตัวของผู้ตอบ เช่น เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้
3. กำหนดด้วยการมีส่วนได้ส่วนเสียกับเรื่องที่จะทำการสำรวจ เช่น ผู้ที่มีส่วนได้เสียกับการเปิดหรือปิดเขื่อนปากมูล จังหวัดอุบลราชธานี
3.1.2 วิธีเลือกตัวอย่าง
ในการสำรวจความคิดเห็นต้องกำหนดวิธีเลือกตัวอย่างหรือตัวแทนกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งจะนำมาเก็บรวบรวมข้อมูล ตัวอย่างหรือตัวแทนกลุ่มบุคคลที่จะเลือกมาเก็บรวบรวมข้อมูลควรจะมีลักษณะดังต่อไปนี้
1. มีตัวอย่างหรือตัวแทนครบทุกลักษณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งลักษณะที่สำคัญซึ่งจะมีผลทำให้ความคิดเห็นแตกต่างกัน เช่น พื้นที่ที่อยู่อาศัย ลักษณะส่วนตัวของผู้ตอบ หรือระดับการมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับเรื่องที่สำรวจความคิดเห็น
2. มีจำนวนตัวอย่างหรือตัวแทนในแต่ละลักษณะตามข้อ 1 มากพอและสอดคล้องกับจำนวนทั้งหมดที่มีอยู่จริงในลักษณะนั้น ๆ เช่น การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศเกี่ยวกับการบริจาคดวงตาภายหลังการเสียชีวิต จะต้องใช้จำนวนประชาชนที่เป็นเพศชาย และเพศหญิง เป็นจำนวนเพศละ 3000 คน เท่ากัน เพราะปัจจุบันประชากรชายและหญิงมีจำนวนใกล้เคียงกัน
สำหรับวิธีเลือกตัวอย่างหรือตัวแทนของกลุ่มบุคคลมาใช้ในการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ที่นิยมใช้กันทั่วไปมีหลายวิธี เช่น การสุ่มตัวอย่าง(random sampling) การเลือกตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (stratified sampling) การเลือกตัวอย่างแบบหลายขั้น (multi-stage sampling) และการเลือกตัวอย่างแบบกำหนดโควตา ( quota sampling ) การเลือกตัวอย่าวแต่ละวิธีเพื่อนำมาใช้ในการสำรวจความคิดเห็นต่างข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป ดังนี้
การสุ่มตัวอย่าง เหมาะที่จะใช้กับการสำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มที่มีกรอบตัวอย่าง ( sampling frame )ครบถ้วนสมบูรณ์ และมีขอบเขตของกลุ่มที่ไม่กว้างขวางมากนัก เช่นการสำรวจความคิดเห็นของพนักงานบริษัทซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดหนึ่งและไม่มีสาขาอื่น ๆ นอกจังหวัดหรือนอกประเทศ เกี่ยวกับสวัสดิการด้านรถรับส่งมาทำงานในบริษัทนั้น หรือการสำรวจความคิดเห็นของพนักงานการประปานครหลวงเกี่ยวกับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีกรอบตัวอย่างเป็นรายชื่อของพนักงานการประปานคาหลวงทุกคน วิธีสุ่มตัวอย่างซึ่งหน่วยตัวอย่างทุก ๆ หน่วยมีโอกาสถูกเลือกมาเป็นตัวอย่างเท่า ๆ กันสามารถทำได้หลายวิธี เช่น
- การสุ่มโดยวิธีจับสลาก นิยมใช้กับกลุ่มที่มีจำนวนหน่วยตัวอย่างน้อย
- การสุ่มโดยใช้ตารางเลขสุ่ม (table of random numbers) นิยมใช้กับกลุ่มที่มีจำนวนหน่วยตัวอย่างมาก
- การสุ่มอย่างเป็นระบบ (systematic sampling) นิยมใช้กับกรอบตัวอย่างที่มีหน่วยตัวอย่างเรียงกันหรือจัดให้เรียงกันได้ เช่น รายชื่อพนักงานบริษัทที่เรียงตามลำดับการเข้าทำงานก่อนหลัง ในการสุ่มตัวอย่างอาจใช้การสุ่มจากผู้ที่อยู่ในอันดับที่หารด้วย 5 ลงตัวทุกคน
การเลือกตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เหมาะที่จะใช้กับการสำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มที่มีกรอบตัวอย่างครบถ้วนสมบูรณ์และสามารถแบ่งเป็นกลุ่มย่อย ๆ ได้ตามเขตที่อยู่อาศัยของผู้ตอบ (ประเทศแบ่งเป็นภาค จังหวัด อำเภอ เขต ตำบล แขวง ในเขตเทศบาลนอกเขตเทศบาล กระทรวงแบ่งเป็น กรม กอง แผนก บริษัทแบ่งเป็นฝ่าย
ส่วน แผนก หรือแบ่งตามลักษณะของผู้ตอบ ( เพศ อายุระดับการศึกษา รายได้ อาชีพ สถานภาพสมรส) โดยกำหนดให้แต่ละชั้นภูมิเป็นภาคต่างๆ ของประเทศกรมต่างๆ ของกระทรวง วัยต่างๆ ของอายุ ระดับต่างๆ ของการศึกษา ฯลฯ และเลือกตัวอย่างจากแต่ละชั้นภูมิซึ่งอาจใช้สุ่มหรือวิธีอื่นๆ ก็ได้สำเร็จ ความคิดเห็นดดยใช้วิธี
เลือกตัวอย่างแบบมีข้อดีคือสามารถสรุปความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการจำแนกตามกลุ่มต่างๆ ที่แบ่งได้ เช่น
จำแนกตามภาค จำแนกตามเขต จำแนกตามเพศ จำแนกตามอาชีพ
การเลือกตัวอย่างแบบหลายขั้น เหมาะที่จะใช้กับการสำรวจความคิดเห็น จากกลุ่มที่สามารถ
แบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆ ได้หลายชั้น ( ประเทศแบ่งขั้นที่ 1 เป็นภาค ภาคแบ่งขั้นที่ 2 เป็นจังหวัด จังหวัดแบ่งขั้นที่ 3
เป็นอำเภอ อำเภอบ่งขั้นที่ 4 เป็นตำบล ตำบลแบ่งขั้นที่ 5 เป็นหมู่บ้าน กระทรวง เบ่งขั้นที่ 1 เป็นกรม กรมแบ่งขั้นที่ 2 เป็นกอง กองแบ่งขั้นที่ 3 เป็นแผนก มหาวิทยาลัยแบ่งขั้นที่ 1 เป็นคณะ คณะ คณะแบ่งขั้นที่ 2 เป็นภาควิชา )
โดยกำหนดให้เลือกตัวอย่างมาจากแต่ละขั้น เช่น ขั้นที่ 1 เลือกกรมตัวอย่างจากกระทรวง ขั้นที่ 2 เลือกกองตัวอย่าง
จากกรมตัวอย่าง และ ขั้นที่ 3 เลือกแผนกตัวอย่างจากกองตัวอย่างของกรมตัวอย่าง ข้อดีของการเลือกตัวอย่างแบบหลายขั้นก็คือไม่จำเป็นต้องมีกรอบตัวอย่างที่สมบูรณ์ในทุกๆ ขั้น ให้มีกรอบตัวอย่างที่สมบูรณ์ในตัวอย่างของแต่ละขั้นก็เป็นการเพียงพอ นอกจากนี้การเลือกตัวอย่างแบบหลายขั้นยังสามารถประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเก็บรวบรวมข้อมูลเมื่อเทียบกับการเลือกตัวอย่างวิธีอื่นๆ ที่นิยมใช้กันทั่วไปอีกด้วย
การเลือกัวอย่างแบบกำหนดโควตา เหมาะที่จะใช้กับการสำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มที่ไม่มีกรอบตัวอย่าง หรือมีกรอบตัวอย่างที่ไม่สมบูรณ์ โดยการกำหนดคุณสมบัติของตัวอย่างตามลักษณะของตัวอย่างที่คาดว่าจะมีผลกระทบต่อความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ทำการสำรวจ เช่น การสำรวจความคิดเห็นของประชาชน
เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ลักษณะของประชาชนซึ่งน่าจะมีผลกระทบต่อความคิดเห็นเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด คอ เพศ อายุ และรายได้ ดังนั้น คุณสมบัติของตัวอย่างที่ควรจะนำมากำหนดสำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลดังกล่าวคือ เพศ อายุ และรายได้ กล่าวคือ จะต้องมีตัวอย่างหรือตัวแทน
ของประชาชนทุกเพศ ทุกช่วงอายุ และทุกระดับรายได้ หรือการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับเขื่อนปากมูล คุณสมบัติของตัวอย่างที่สำคัญซึ่งคาดว่าจะมีผลกระทบต่อความคิดเห็นเกี่ยวกับเขื่อนปากมูล คือ บริเวณที่อยู่อาศัย ( อยู่เหนือเขื่อนหรืออยู่ใต้เขื่อน) ซึ่งมีผลกระทบต่อประโยชน์ได้เสียในการเปิด ปิด เขื่อนที่แตกต่างกัน
ดังนั้นคุณสมบัติของตัวอย่างที่จะควรนำมากำหนดสำหรับการรวบรวมข้อมูลดังกล่าว คือ บริเวณที่อยู่อาศัย
วึ่งเกี่ยวข้อง 3 อำเภอ คือ อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอโขงเจียม และอำเภอสิรินธร กล่าวคือจะต้องเลือกตัวอย่าง
หนือประชาชนในแต่ละอำเภอของ 3 อำเภอ ข้างต้นมาสอบถามความคิดเห็น โดยที่ตัวอย่างประชาชน ในแต่ละอำเภอควรจะต้องมีทั้งประชาชนที่ได้รับผลกระทบมาก ได้รับผลกระทบปานกลาง และได้รับผลกระทบน้อย
ส่วนจำนวนตัวอย่างที่จะนำมาใช้ในการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ควรเป็นเรื่องเท่าไหร่นั้น
ขึ้นอญุ่กับปัจจัยที่สำคัญต่อไปนี้
- จำนวนของกลุ่มบุคคลทั้งหมดที่จะสำรวจความคิดเห็น
- การจำแนกกลุ่มย่อยของผลการสำรวจความคิดเห็น
- ความแตกต่างระดับการศึกษาของกลุ่มบุคคลที่ทำการสำรวจ
- ความแตกต่างระหว่างการได้เสียประโยชน์ของกลุ่มบุคคลที่ทำการสำรวจ
- ความถูกต้องเชื่อถือได้ของผลการสำรวจที่ต้องการ
กล่าวคือ จำนวนตัวอย่างหรือตัวแทนในการสำรวจความคิดเห็นจะต้องมากขึ้นตามจำนวนกลุ่มบุคคลทั้งหมดที่มากขึ้นตามจำนวนกลุ่มที่ต้องการจำแนกผลการสำเร็จตามขนาดความแตกต่างระหว่าระดับการศึกษา
และการได้เสียประโยชน์ของกลุ่มบุคคลที่สำรวจ และตามขนาดของความน่าเชื่อถือได้ของผลการสำเร็จีท่มากขึ้น
สำหรับขนาดตัวอย่างกลุ่มบุคคลที่สำนักงานสถิติแห่งชาติใช้ในการสำรวจ ความคิดเห็นเพื่อเสนอผลในระดับต่างๆ ( ประเทศ ภาค จังหวัด ) เป็นดังนี้
ระดับเสนอผล
จำนวนตัวอย่าง
ระดับจังหวัดอย่างเดียว
1,100 ถึง 4,800
ระดับประเทศอย่างเดียว
2,000
ทั้งระดับประเทศและภาค
5,600 ถึง 10,000
ทั้งระดับจังหวัด ภาค และประเทศ
31,000 ถึง 62,000
3.1.3การสร้างแบบรวจความคิดเห็น
แบบสำรวจความคิดเห็นที่ดีควรจะมีลักษณะต่างๆ ที่สำคัญดังต่อไปนี้
1. แบบสำรวจควรปนะกอบด้วย 3 ส่วนเป็นอย่างน้อย ดังนี้
ส่วนแรกคือ ลักษณะของผู้ตอบที่คาดว่าจะมีผลทำให้คำตอบที่แสดงความคิดเห็น แตกต่างกันจากผู้ที่มีลักษณะอื่น
เช่นพื้นที่อยู่อาศัย เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้อาชีพฯ
ส่วนที่สองคือความคิดเห็นของผู้ตอบในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องนั้น เช่นคำถามในการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับพึงพอใจในการใช้บริการการประกันสุขภาพถ้วนหน้า คำถามที่ใช้ถามอาจเกี่ยวกับด้านการบริหารการ/ การดูแลเอาใจใส่การตรวจรักษาของแพทย์/พยาบาล อุปกรณ์ทางการแพทย์ และคุณภาพยาส่วนการวัดระดับความพึงพอใจในแต่ละด้าน นิยมใช้มาตรประเมินค่า 5 ระดับ ได้แก่ พึงพอใจมาก พึงพอใจค่อนข้างมาก พึงพอใจปานกลาง พึงพอใจค่อนข้างน้อย และพึงพอใจน้อย หรือในกรณีที่ต้องการวัดระดับความพึงพอใจอย่างหยาล ๆ หรือคร่าว ๆ อาจใช้มาตรประเมินค่าเพียง 2 ระดับ คือ พึงพอใจ และไม่พึงพอใจ หรือใช้มาตรประเมินค่า 3 ระดับ คือ พึงพอใจมาก พึงพอใจปานกลาง และพึงพอใจน้อย
ส่วนที่สาม คือ ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ของผู้ตอบเกี่ยวกับเรื่องที่สำรวจความคิดเห็นนั้น ๆ
2. คำถามเกี่ยวกับความคิดเห็นในเรื่องที่สำรวจต้องไม่เป็นคำถามนำหรือคำถามที่พยายามชักนำให้ผู้ตอบตามที่ผู้สำรวจต้องการ เช่น ท่านไม่พึงพอใจในการบริการการประกันสุขภาพถ้วนหน้าใช่ไหม หรือท่านเห็นด้วยกับบริการการประกันสุขภาพถ้วนหน้าของรัฐบาลใช่หรือไม่
3. จำนวนคำถามไม่ควรมีมากเกินไป เพราะจะทำให้ผู้ตอบร่วมมือในการตอบคำถามน้อยลง และคำตอบมีจำนวนเกินความจำเป็นในการนำไปใช้ประโยชน์ทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น
4. ผู้ตอบแบบสำรวจความคิดเห็นควรจะมีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องที่ทำการสำรวจเป็นอย่างดี มิฉะนั้นความคิดเห็นที่สำรวจได้จากผู้ตอบดังกล่าวจะไม่สามารถนำไปใช้ในการสรุปผลร่วมกับคำตอบของผู้ตอบรายอื่น ๆ ได้
3.1.4 การประมวลผลปละวิเคราะห์ความคิดเห็น
การประมวลผลและวิเคราะห์ผลการสำรวจความคิดเห็นโดยทั้ว ๆ ไป จะประกอบด้วย
1. ร้อยละของผู้ตอบแบบสำรวจความคิดเห็นในแต่ละด้านที่เกี่ยวข้องฃ
- ในกรณีที่ถามเกี่ยวกับความคิดเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จะจำแนกตามระดับความคิดเห็น ได้แก่ เห็นด้วย ค่อนข้างเห็นด้วย เห็นด้วยปานกลาง ค่อนข้างไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย หรือเห็นด้วย ไม่มีความคิดเห็น ไม่เห็นด้วย
- ในกรณีที่ถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจ จะจำแนกตามระดับความพึงพอใจ ได้แก่ พอใจมาก พอใจค่อนข้างมาก พอใจปานกลาง พอใจค่อนข้างน้อย พอใจน้อย
- ในกรณีที่ถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความสนใจหรือความต้องการ จะจำแนกตามระดับความสนใจหรือความต้องการ ได้แก่ สนใจมาก สนใจค่อนข้างมาก สนใจปานกลาง สนใจค่อนข้างน้อย สนใจน้อย
2. ระดับความคิดเห็นเฉลี่ย โดยแทนค่าระดับความคิดเห็นในแต่ละด้านของผู้ตอบแต่ละคน ดังนี้
เห็นด้วย แทนด้วยค่า 5
ค่อนข้างเห็นด้วย แทนด้วยค่า 4
เห็นด้วยปานกลาง แทนด้วยค่า 3
ค่อนข้างไม่เห็นด้วย แทนด้วยค่า 2
ไม่เห็นด้วย แทนด้วยค่า 1
สำหรับค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นที่คำนวณได้ อาจมีความหมายดังนี้
ค่าเฉลี่ยความคิดเห็น
ความหมาย
1.00 - 1.80
ไม่เห็นด้วย
1.81 - 2.60
ค่อนข้างไม่เห็นด้วย
2.61 - 3.40
เห็นด้วยปานกลาง
3.41 - 4.20
ค่อนข้างเห็นด้วย
4.21 - 5.00
เห็นด้วย
ค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นในทุก ๆ ด้าน ของผู้ตอบแต่ละคน เมื่อนำมาหาระดับความสัมพันธ์กับลักษณะต่าง ๆ ของผู้ตอบ เช่น พื้นที่อยู่อาศัย เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ อาชีพฯ จะทำให้ทราบว่าลักษณะใดของผู้ตอบที่มีผลทำให้ระดับความคิดเห็นแตกต่างกัน และลักษณะใดที่ส่งผลกระทบต่อระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ทำการสำรวจมากน้อยกว่ากัน เช่น ระดับการศึกษาของผู้ตอบส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่สำรวจนั้นมากกว่าเพศและ อายุ โดยที่อาชีพไม่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ทำการสำรวจเลย
3.2 ตัวอย่างเรื่องที่เคยมีการสำรวจความคิดเห็นจากหน่วยงานต่าง ๆ
การสำรวจความคิดเห็นสามารถทำได้ในทุก ๆ เรื่องโดยเฉพาะเรื่องที่ต้องการให้กลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหาหรือกำหนดแนวทางหรือนโยบายด้านต่าง ๆ ของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น
ด้านการเมือง
- เรื่องการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดฯ
- เรื่องคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งประเภทต่าง ๆ ที่ต้องการ
- เรื่องการซึ้อเสียง และการขายสิทธิการเลือกตั้ง
- เรื่องทรัพย์สินของนักการเมือง
ด้านเศรษฐกิจ
- เรื่องภาวะเศรษฐกิจของประเทศ
- เรื่องหวยใต้ดิน
- เรื่องบัตรเครดิต การซึ้อสินค้าเงินผ่อน
- เรื่องการคอร์รัปชัน
ด้านกฎหมาย
- เรื่อง การผสมเทียม
- เรื่องการครอบครองอาวุธปืน อาวุธสงคราม
- เรื่องการทำแท้ง
- เรื่องการค้าเสรี
ด้านวัฒนธรรมประเพณี
- เรื่องวันวาเลนไทน์
- เรื่องการทำบุญ
- เรื่องการบวชพระ
- เรื่องประเพณีสงกรานต์
ด้านอาหารและยา
- เรื่องยาแผนโบราณ สมุนไพร
- เรื่องอาหารเสริม อาหารจานด่วน
- เรื่องเครื่องดื่มชูกำลัง น้ำดื่มบรรจุขวด
- เรื่องนมผง นมสด
ด้านกีฬา
- เรื่องการพนันฟุตบอล
- เรื่องการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกม กีฬาโอลิมปิกของนักกีฬาไทย
- เรื่องการออกกำลังกายของเยาวชนและผู้สูงอายุ
- เรื่องกีฬาตีไก่ ชนวัว
ด้านสิ่งแวดล้อม
- เรื่องการทิ่งขยะ
- เรื่องการสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ
- เรื่องท่อไอเสียรถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์
- เรื่องการปล่อยน้ำเสียลงแม่น้ำลำคลอง
สำหรับการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อนโยบายหลักของรัฐบาลเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการดำเนินนโยบายที่สำคัญของภาครัฐซึ่งจัดทำโดยกองสถิติประชามติ สำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปีงบประมาณ 2546 มีทั้งหมด 21 เรื่อง ได้แก่
1) โครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้แก่เกษตรกรรายย่อย พ.ศ. 2546
2) โครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานของรัฐบาล พ.ศ. 2546 (เมื่อบริหารงานครบ 2 ปี)
3) โครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชยที่ซื้อคอมพิวเตอร์จากโครงการคอมพิวเตอร์ไอซีทีเพื่อคนไทย พ.ศ. 2546
4) โครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการทำงานของรัฐสภา รัฐบาล องค์กรอิสระ และประเด็นอื่น ๆ พ.ศ. 2546
5) โครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการปรับเวลาของประเทศไทยให้เร็วขึ้น 1 ชั่วโมง พ.ศ. 2545
6) โครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ก่อนและหลังการประกาศสงครามขั้นแตกหักเพื่อเอาชนะยาเสพติด) พ.ศ. 2546
7) โครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชัน พ.ศ. 2546
8) โครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง พ.ศ. 2546
9) โครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับผู้มีอิทธิพล พ.ศ. 2546
10) โครงการสำรวจความคิดเห็นของข้าราชการเกี่ยวกับสวัสดิการการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2546
11) โครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาทรักษาทุกโรค) พ.ศ. 2546
12) โครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานของรัฐบาล พ.ศ. 2546 (เมื่อบริหารงานครบ 2 ปี 6 เดือน)
13) โครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์เรื่องโรคเอดส์ พ.ศ. 2546
14) โครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการบริจาคดวงตา(ภายหลังการเสียชีวิต) พ.ศ. 2546
15) โครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับของขวัญปีใหม่ที่ต้องการจากรัฐบาล พ.ศ. 2546
16) โครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับเขื่อนปากมูล อำเภอพิบูลมังสาหาร โขงเจียม สิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
17) โครงการสำรวจความคิดเห็นของผู้ปกครองเกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เนตหรือคอมพิวเตอร์ของบุตรหลาน / สมาชิกในครัวเรือน ในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2546
18) โครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการบริหารของภาครัฐทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2546
19) โครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับมาตรการตรึงราคา / กำหนดระดับราคาน้ำมัน พ.ศ. 2546
20) โครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนผู้ใช้บริการเกี่ยวกับรถตู้โดยสารที่วิ่งระหว่างกรุงเทพมหานคร - ต่างจังหวัด พ.ศ. 2546
21) โครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับเกมออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2546
3.1.4 การประมวลผลปละวิเคราะห์ความคิดเห็น
การประมวลผลและวิเคราะห์ผลการสำรวจความคิดเห็นโดยทั้ว ๆ ไป จะประกอบด้วย
1. ร้อยละของผู้ตอบแบบสำรวจความคิดเห็นในแต่ละด้านที่เกี่ยวข้องฃ
- ในกรณีที่ถามเกี่ยวกับความคิดเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จะจำแนกตามระดับความคิดเห็น ได้แก่ เห็นด้วย ค่อนข้างเห็นด้วย เห็นด้วยปานกลาง ค่อนข้างไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย หรือเห็นด้วย ไม่มีความคิดเห็น ไม่เห็นด้วย
- ในกรณีที่ถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจ จะจำแนกตามระดับความพึงพอใจ ได้แก่ พอใจมาก พอใจค่อนข้างมาก พอใจปานกลาง พอใจค่อนข้างน้อย พอใจน้อย
- ในกรณีที่ถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความสนใจหรือความต้องการ จะจำแนกตามระดับความสนใจหรือความต้องการ ได้แก่ สนใจมาก สนใจค่อนข้างมาก สนใจปานกลาง สนใจค่อนข้างน้อย สนใจน้อย
2. ระดับความคิดเห็นเฉลี่ย โดยแทนค่าระดับความคิดเห็นในแต่ละด้านของผู้ตอบแต่ละคน ดังนี้
เห็นด้วย แทนด้วยค่า 5
ค่อนข้างเห็นด้วย แทนด้วยค่า 4
เห็นด้วยปานกลาง แทนด้วยค่า 3
ค่อนข้างไม่เห็นด้วย แทนด้วยค่า 2
ไม่เห็นด้วย แทนด้วยค่า 1
สำหรับค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นที่คำนวณได้ อาจมีความหมายดังนี้
ค่าเฉลี่ยความคิดเห็น
ความหมาย
1.00 - 1.80
ไม่เห็นด้วย
1.81 - 2.60
ค่อนข้างไม่เห็นด้วย
2.61 - 3.40
เห็นด้วยปานกลาง
3.41 - 4.20
ค่อนข้างเห็นด้วย
4.21 - 5.00
เห็นด้วย
ค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นในทุก ๆ ด้าน ของผู้ตอบแต่ละคน เมื่อนำมาหาระดับความสัมพันธ์กับลักษณะต่าง ๆ ของผู้ตอบ เช่น พื้นที่อยู่อาศัย เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ อาชีพฯ จะทำให้ทราบว่าลักษณะใดของผู้ตอบที่มีผลทำให้ระดับความคิดเห็นแตกต่างกัน และลักษณะใดที่ส่งผลกระทบต่อระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ทำการสำรวจมากน้อยกว่ากัน เช่น ระดับการศึกษาของผู้ตอบส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่สำรวจนั้นมากกว่าเพศและ อายุ โดยที่อาชีพไม่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ทำการสำรวจเลย
3.2 ตัวอย่างเรื่องที่เคยมีการสำรวจความคิดเห็นจากหน่วยงานต่าง ๆ
การสำรวจความคิดเห็นสามารถทำได้ในทุก ๆ เรื่องโดยเฉพาะเรื่องที่ต้องการให้กลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหาหรือกำหนดแนวทางหรือนโยบายด้านต่าง ๆ ของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น
ด้านการเมือง
- เรื่องการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดฯ
- เรื่องคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งประเภทต่าง ๆ ที่ต้องการ
- เรื่องการซึ้อเสียง และการขายสิทธิการเลือกตั้ง
- เรื่องทรัพย์สินของนักการเมือง
ด้านเศรษฐกิจ
- เรื่องภาวะเศรษฐกิจของประเทศ
- เรื่องหวยใต้ดิน
- เรื่องบัตรเครดิต การซึ้อสินค้าเงินผ่อน
- เรื่องการคอร์รัปชัน
ด้านกฎหมาย
- เรื่อง การผสมเทียม
- เรื่องการครอบครองอาวุธปืน อาวุธสงคราม
- เรื่องการทำแท้ง
- เรื่องการค้าเสรี
ด้านวัฒนธรรมประเพณี
- เรื่องวันวาเลนไทน์
- เรื่องการทำบุญ
- เรื่องการบวชพระ
- เรื่องประเพณีสงกรานต์
ด้านอาหารและยา
- เรื่องยาแผนโบราณ สมุนไพร
- เรื่องอาหารเสริม อาหารจานด่วน
- เรื่องเครื่องดื่มชูกำลัง น้ำดื่มบรรจุขวด
- เรื่องนมผง นมสด
ด้านกีฬา
- เรื่องการพนันฟุตบอล
- เรื่องการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกม กีฬาโอลิมปิกของนักกีฬาไทย
- เรื่องการออกกำลังกายของเยาวชนและผู้สูงอายุ
- เรื่องกีฬาตีไก่ ชนวัว
ด้านสิ่งแวดล้อม
- เรื่องการทิ่งขยะ
- เรื่องการสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ
- เรื่องท่อไอเสียรถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์
- เรื่องการปล่อยน้ำเสียลงแม่น้ำลำคลอง
สำหรับการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อนโยบายหลักของรัฐบาลเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการดำเนินนโยบายที่สำคัญของภาครัฐซึ่งจัดทำโดยกองสถิติประชามติ สำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปีงบประมาณ 2546 มีทั้งหมด 21 เรื่อง ได้แก่
1) โครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้แก่เกษตรกรรายย่อย พ.ศ. 2546
2) โครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานของรัฐบาล พ.ศ. 2546 (เมื่อบริหารงานครบ 2 ปี)
3) โครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชยที่ซื้อคอมพิวเตอร์จากโครงการคอมพิวเตอร์ไอซีทีเพื่อคนไทย พ.ศ. 2546
4) โครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการทำงานของรัฐสภา รัฐบาล องค์กรอิสระ และประเด็นอื่น ๆ พ.ศ. 2546
5) โครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการปรับเวลาของประเทศไทยให้เร็วขึ้น 1 ชั่วโมง พ.ศ. 2545
6) โครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ก่อนและหลังการประกาศสงครามขั้นแตกหักเพื่อเอาชนะยาเสพติด) พ.ศ. 2546
7) โครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชัน พ.ศ. 2546
8) โครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง พ.ศ. 2546
9) โครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับผู้มีอิทธิพล พ.ศ. 2546
10) โครงการสำรวจความคิดเห็นของข้าราชการเกี่ยวกับสวัสดิการการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2546
11) โครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาทรักษาทุกโรค) พ.ศ. 2546
12) โครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานของรัฐบาล พ.ศ. 2546 (เมื่อบริหารงานครบ 2 ปี 6 เดือน)
13) โครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์เรื่องโรคเอดส์ พ.ศ. 2546
14) โครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการบริจาคดวงตา(ภายหลังการเสียชีวิต) พ.ศ. 2546
15) โครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับของขวัญปีใหม่ที่ต้องการจากรัฐบาล พ.ศ. 2546
16) โครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับเขื่อนปากมูล อำเภอพิบูลมังสาหาร โขงเจียม สิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
17) โครงการสำรวจความคิดเห็นของผู้ปกครองเกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เนตหรือคอมพิวเตอร์ของบุตรหลาน / สมาชิกในครัวเรือน ในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2546
18) โครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการบริหารของภาครัฐทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2546
19) โครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับมาตรการตรึงราคา / กำหนดระดับราคาน้ำมัน พ.ศ. 2546
20) โครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนผู้ใช้บริการเกี่ยวกับรถตู้โดยสารที่วิ่งระหว่างกรุงเทพมหานคร - ต่างจังหวัด พ.ศ. 2546
21) โครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับเกมออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2546
กิจกรรม
1. ให้นักเรียนหากลุ่มเพื่อร่วมกันทำการสำรวจความคิดเห็น โดยมีขั้นตอนทำงานดังนี้
1) กำหนดหัวข้อหรือเรื่องที่ต้องการสำรวจ พร้อมเหตุผลที่ต้องการสำรวจข้อมูล
2) กำหนดวิธีการสำรวจข้อมูลที่เหมาะสมกับเรื่องที่ต้องการสำรวจและความรู้ของนักเรียน
3) เลือวิธีสำรวจข้อมูลโดยศึกษาเรื่องวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลในบทที่ 1
4) สำรวจข้อมูลและสรุปผลสำรวจข้อมูล
5) นำเสนอผลการสำรวจความคิดเห็นในรูปของรายงานโปสเตอร์ หรือสื่ออื่นตามความเหมาะสม
ตัวอย่างหัวข้อสำรวจความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ มีดังนี้
1) การเรียนพิเศษเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยจำเป็นหรือไม่
2) วิชาหรือสาขาอาชีพที่นักเรียนต้องการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
3) นักเรียนที่คิดการเรียนภาษาที่สามเพิ่มเติมจากภาษาไทยและภาษาอังกฤษเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับนักเรียนหรือไม่
4) อาชีพที่นักเรียนใฝ่ฝันอยากจะทำ
5) คุณภาพของอาหารและการใช้บริการของโรงอาหารในดรงเรียนเหมาะสมดีและวหรือไม่
6) ข้อบกพร่องของนักเรียนเองที่ควรปรับปรุง
7) คุณครูในฝันควรมีคุณสมบัติอย่างไร
8) ศิลปินที่คุณชื่อนชอบคือใคร
2. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มเพื่อช่วยกันหาข้อสรุปที่ได้จากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเรื่องที่น่าสนใจจากสื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆ เพื่อมานำเสนอในชั้นเรียน
ที่มา : http://www.vcharkarn...iew.php?id=1554