Jump to content


Photo
- - - - -

อดีตก็เรื่องนึง ปัจจุบันท่านดีทีเดียว ขอยกนิ้วให้ท่านธีระชัยฯ


  • Please log in to reply
11 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 เตาะแตะ

เตาะแตะ

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 87 posts

ตอบ 27 มกราคม พ.ศ. 2557 - 15:33

ท่านให้ความเห็นไว้น่าสนใจ แต่ ณ บัดนี้ เขาจะอ่านกันไหมนี่ และถึงอ่าน ก็จะตามๆกันไปค่อนข้างแน่ ปล่อยให้ล้มไม่ได้นี่หว่า

 

***************************************************************

 

 

 


Thirachai Phuvanatnaranubala · 12,872 คนถูกใจสิ่งนี้
6 ชั่วโมงที่แล้ว · 
  • จดหมายเปิดผนึกถึงข้าราชการกระทรวงการคลังและผู้บริหารสถาบันการเงิน เกี่ยวกับเงินกู้รับจำนำข้าว

    วันที่ 25 มกราคม 2557
    เรื่อง การตีความของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเรื่องโครงการรับจำนำข้าว

    เรียน 1 ปลัดกระทรวงการคลัง
    2 ผู้อำนวยการสำนักบริหารหนี้สาธารณะ
    3 ผู้บริหารสถาบันการเงินที่กำลังพิจารณาจะให้กู้ยืมในโครงการรับจำนำข้าว

    ตามที่ปรากฏข่าวในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจฉบับวันที่ 25 มกราคม 2557 ว่าสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้แจ้งผลการพิจารณาเรื่องโครงการจำนำข้าวมาที่รัฐบาล โดยพิจารณาเห็นว่า โครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล ไม่ถือเป็นโครงการใหม่ เนื่องจากโครงการรับจำนำข้าวเปลือกฤดูกาลผลิตปี 2556/ 2557 ได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2556 ซึ่งเป็นการดำเนินการก่อนที่นายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภา เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2556 อีกทั้งในช่วงที่ผ่านมามีเกษตรกรได้เข้าร่วมในโครงการดังกล่าวของรัฐบาล ดังนั้นถือเป็นหนี้ผูกพันที่รัฐบาลต้องหาแหล่งเงินมาบริหารหนี้ที่เกิดจากโครงการดังกล่าว


    สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจึงมีความเห็นว่า โครงการรับจำนำข้าวเปลือกฤดูกาลผลิตปี 2556/ 2557 จึงอยู่ในเงื่อนไขมาตรา 181 (3) นั้น

    ผมขอเรียนว่าในการพิจารณาดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาน่าจะยังมิได้คำนึงอย่างครบถ้วนและรอบคอบในประเด็นต่อไปนี้

    1.
    การโอนวงเงินกู้ที่มีไว้เพื่อรองรับร่าง พรบ. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. ... (เงินกู้สองล้านล้านบาท) น่าจะไม่ถูกต้อง

    วงเงินกู้ 1.3 แสนล้านบาท ที่โอนจากโครงการคมนาคม ไปใช้ในโครงการรับจำนำข้าวแทนนั้น เป็นส่วนหนึ่งของวงเงินรวม 3,316,330.84 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวงเงินที่เตรียมไว้รองรับการก่อหนี้ตามร่าง พรบ. ข้างต้น จึงเป็นวงเงินอนาคต ดังนั้น การโอนวงเงินอนาคต มาใช้ในปัจจุบัน ทั้งที่ร่าง พรบ. ดังกล่าวยังไม่มีผลใช้บังคับ จึงน่าจะไม่ถูกต้อง

    2. การโอนวงเงินกู้จากโครงการคมนาคมไปใช้ในโครงการรับจำนำข้าว น่าจะมีผลเป็นการรอนสิทธิคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป ทั้งในการดำเนินการโครงการคมนาคมดังกล่าว และในการกำหนดนโยบายการคลังหาแหล่งเงินเพื่อใช้ในโครงการรับจำนำข้าว

    เนื่องจากโครงการคมนาคมดังกล่าวน่าจะได้รับการพิจารณามาแล้วอย่างรอบคอบโดยกระทรวงคมนาคม ดังนั้น เมื่อมีการโอนวงเงินสำหรับโครงการดังกล่าวออกไป คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ย่อมจะไม่สามารถเลือกที่จะดำเนินการโครงการดังกล่าวได้อีกต่อไป หรือหากจะดำเนินการ ก็ต้องมีภาระหาเงินกู้ก้อนใหม่เพื่อการนี้
    นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีชุดใหม่อาจจะประสงค์ที่จะใช้แหล่งเงินจากการขายข้าว ให้เป็นแหล่งเงินหลักเสียก่อน แล้วค่อยใช้แหล่งเงินจากการกู้ เป็นแหล่งเพิ่มเติมถ้าหากไม่พอเพียง ดังนั้น การโอนวงเงินกู้ดังกล่าว จึงเป็นการรอนสิทธิของคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ที่จะกำหนดนโยบายการคลังจัดลำดับก่อนหลังของแหล่งเงิน

    3.
    การโอนวงเงินกู้ดังกล่าว น่าจะผิดวัตถุประสงค์ในการกำหนดวงเงินรับจำนำข้าวเป็นวงเงินหมุนเวียน

    ที่ผ่านมากระทรวงการคลังได้เสนอคณะรัฐมนตรีให้กำหนดวงเงินสำหรับโครงการรับจำนำข้าวในลักษณะที่เป็นวงเงินหมุนเวียน ก็เพื่อกระตุ้นให้กระทรวงพาณิชย์เร่งรัดการจำหน่ายข้าว อันจะเป็นการลดความเสี่ยงข้าวเสื่อมสภาพ และป้องกันการทุจริต มิให้มีการชะลอการขายข้าวแบบผ่านคอขวด โดยให้ผ่านผู้ซื้อเพียงไม่กี่รายไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ดังนั้น การโอนวงเงินดังกล่าว จึงเป็นการดำเนินการที่ผิดวัตถุประสงค์เดิม ที่ต้องการลดความเสี่ยงข้าวเสื่อมสภาพ และป้องปรามการทุจริต

    4. การที่
    คณะกรรมการบริหารหนี้สาธารณะฯ มีมติโอนวงเงิน และให้กระทรวงการคลังค้ำประกันหนี้ดังกล่าวนั้น เป็นมติที่เกิดขึ้นภายหลังการยุบสภา จึงน่าจะเข้าบทบัญญัติของมาตรา 181 (3) ด้วย

    ถึงแม้โครงการรับจำนำข้าวเปลือกฤดูกาลผลิตปี 2556/ 2557 จะได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2556 ซึ่งเป็นการดำเนินการก่อนที่นายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภา เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2556 ก็ตาม แต่คณะรัฐมนตรีมิได้อนุมัติให้กระทรวงการคลังค้ำประกันหนี้ การค้ำประกันหนี้ปรากฏภายหลังในมติของคณะกรรมการบริหารหนี้สาธารณะฯ ที่เกิดขึ้นภายหลังการยุบสภา

    เรื่องนี้ต้องพิจารณาสองประเด็น หนึ่ง มติของคณะกรรมการบริหารหนี้สาธารณะฯ มีอำนาจที่จะบังคับคณะรัฐมนตรีรักษาการณ์ ให้ต้องไม่คัดค้านการค้ำประกันหนี้ ตามมติของคณะกรรมการดังกล่าวได้จริงหรือไม่ และ สอง หากมีอำนาจที่จะบังคับคณะรัฐมนตรีรักษาการณ์ได้จริง การดำเนินการของคณะกรรมการหนี้สาธารณะฯ น่าจะต้องอยู่ในบทบัญญัติของมาตรา 181 (3) ด้วย

    5.
    การโอนวงเงินและขั้นตอนการอนุมัติให้กระทรวงการคลังค้ำประกันดังกล่าวไม่เป็นไปตามขั้นตอนปกติที่เคยใช้เดิม จึงอาจจะมีเจตนาฝ่าฝืนมาตรา 181 (4)

    เนื่องจากการชำระเงินให้แก่เกษตรกรที่ค้าง จะทำให้เกิดผลดีแก่พรรคการเมืองที่ร่วมรัฐบาลเป็นอย่างมาก โดยจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เกี่ยวข้องจะมีหลายล้านคน ทั้งตัวเกษตรกรเอง และบุคคลในครอบครัว รวมไปถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องในขบวนการรับจำนำข้าวด้วย ดังนั้น ผู้ดำเนินการจึงต้องระมัดระวัง มิให้เข้าข่ายฝ่าฝืนมาตรา 181 (4)

    แต่กรณีนี้มีการดำเนินการที่ไม่ค่อยจะปกติอย่างน้อยสามเรื่อง คือ 

    หนึ่ง การโอนวงเงินที่เป็นส่วนหนึ่งของร่าง พรบ. กู้เงินสองล้านล้านบาท ในระหว่างการเลือกตั้ง โดยไม่รอผลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเสียก่อน เป็นการดำเนินการที่รีบร้อน อาจจะมีเจตนาแอบแฝงเพื่อให้มีผลต่อการเลือกตั้ง

    สอง การโอนวงเงินจากโครงการลงทุนเพื่อสร้างทรัพย์สินวัตถุถาวรให้แก่ประเทศ อันเป็นโครงการที่จะช่วยเพิ่มความสะดวกและลดต้นทุนในการขนส่งสินค้าและการเดินทาง อันเป็นโครงการที่สำคัญต่อกลยุทธทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างยิ่ง แต่เปลี่ยนไปเป็นโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งเป็นการใช้สิ้นเปลืองและมีโอกาสจะขาดทุน และไม่ได้สร้างวัตถุถาวรใดๆ เพื่อการพัฒนาประเทศ ซึ่งการโอนวงเงินข้ามประเภทเช่นนี้ ไม่ใช่เรื่องที่ทำกันเป็นปกติ และเมื่อมีการเร่งดำเนินการในช่วงที่มีการเลือกตั้ง จึงอาจจะมีเจตนาแอบแฝงเพื่อให้มีผลต่อการเลือกตั้ง

    สาม การอนุมัติให้กระทรวงการคลังค้ำประกันหนี้ แทนที่จะเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาตรงไปตรงมาอย่างเปิดเผยเช่นเดิม กลับไปดำเนินการอย่างไม่เปิดเผยผ่านคณะกรรมการบริหารหนี้สาธารณะฯ และเป็นการมีมติในช่วงที่มีการเลือกตั้ง จึงอาจจะมีเจตนาแอบแฝงเพื่อให้มีผลต่อการเลือกตั้ง

    ผมจึงขอแนะนำให้ท่านใช้ความระมัดระวังในการดำเนินการดังกล่าว
    จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ
    ขอแสดงความนับถือ
    นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล


#2 ธีรเดชน้อย

ธีรเดชน้อย

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,659 posts

ตอบ 27 มกราคม พ.ศ. 2557 - 15:43

แสดงว่า คุณธีระชัยเห็นความไม่ชอบมาพากลของคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกา 

 

ครับใช่ ปัจจุบันคุณธีระชัยถือว่า เป็นอีกผู้หนึ่งที่ร่วมเปิดโปงความไม่ชอบมาพากลของรัฐบาลนี้ครับ 

 

ปล.ข้อสงสัย อ่านผ่านๆมา คณะกรรมการกฤษฎีกา สังกัด สำนักนายกฯ ใช่ไหมครับ 


" จุดเริ่มของการรัฐประหาร 22 พ.ค. 2557 หลังจากรัฐบาลเพื่อไทยได้บริหารประเทศล้มเหลวมาตลอด 2 ปีเศษ มีการทุจริตคอรัปชั่นมากมาย มีการนำพรบ.นิรโทษกรรมมาอนุมัติผ่านสภาฯเพื่อช่วยเหลือ น.ช. ทักษิณ ทำให้มวลมหาประชาชนลุกขึ้นประท้วงต่อต้าน แม้จนกระทั่ง ศาลรัฐธรรมนูญและปปช. ได้ตัดสินและชี้มูลความผิดจนต้องพ้นออกจากตำแหน่งแล้วก็ตาม ทำให้ประเทศชาติต้องหยุดนิ่ง สุดท้ายเมื่อ พลเอก ประยุทธ ผบ.ทบ.ได้เรียกทุกฝ่ายเข้ามาคุยเพื่อหาทางออกแล้ว โดยขอให้ ครม.ที่ยังคงเหลือลาออกเพื่อตั้งนายกฯเพื่อการปฎิรูปประเทศ แต่ไร้ซึ่งการตอบสนองและการเสียสละ ทำให้พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา จำเป็นต้องประกาศยึดอำนาจ   "

 

 


#3 PHOENiiX

PHOENiiX

    ปู 4ssโกงชาวนา

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 9,226 posts

ตอบ 27 มกราคม พ.ศ. 2557 - 15:45

ใครยอมปล่อยก็รับการเสี่ยงคุกเอาเอง



#4 เสือน้อย

เสือน้อย

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,990 posts

ตอบ 27 มกราคม พ.ศ. 2557 - 15:47

คณะกรรมการกฤษฎีกา .. ไม่ใช่ศาล

ผมจำได้ครั้งหนึ่งว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา ( ชุดใหญ่ ) สมัยท่าน อ.มีชัย เป็นประธาน

ลงมติว่า สนามกอล์ฟอัลไพน์ เป็นของวัด  จนป่านนี้ยังไม่เป็น

..

 

อยากให้รัฐบาลกู้ไปเลย ( ไม่รู้จะหาจากไหน )

แล้วค่อยให้ศาลพิจารณาต่อไป


-- อรุณสวัสดิ์ทุกท่าน -- http://www.Arunsawat.com

#5 Solid Snake

Solid Snake

    แดงกำมะลอ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,892 posts

ตอบ 27 มกราคม พ.ศ. 2557 - 15:51

ที่สำคัญสุดคือคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่ได้มาร่วมติดคุกจากการกระทำ กรณีท่านทักษิณต้องโดนโทษจำคุกเพราะดันเชื่อคณะกรรมการกฤษฎีกา



#6 sos42

sos42

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 669 posts

ตอบ 27 มกราคม พ.ศ. 2557 - 15:53

ตกลงโครงการกู้ สองล้านล้าน นี้กู้มาแล้วหรือ



#7 เตาะแตะ

เตาะแตะ

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 87 posts

ตอบ 27 มกราคม พ.ศ. 2557 - 15:54

จาก พระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พศ.2522 ม.6 ให้นายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรมการกฤษฎีกาโดยตำแหน่ง ดังนั้น หน่วยงานนี้น่าจะเป็นหน่วยงานอิสระตามตัวอักษร

สมัยรัฐบาลก่อนๆก็ดูเป็นอิสระดี แต่พออยู่ใต้ตระกูลชิน กลายเป็นยอมอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของนายกฯซะงั้น



#8 Bayonet

Bayonet

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,235 posts

ตอบ 27 มกราคม พ.ศ. 2557 - 18:09

ไม่มียุคไหนที่คณะ กฤษฎีกา จะกากสถุนเท่ากับชุดนี้อีกแล้ว

 

ตอนสมัยไอ้เหลี่ยมแม้ว่ามันจะครอบงำ กฤษฎีกา ได้ แต่ก็ยังพอมีคนเห็นแย้งกับมันบ่อย  จนมันต้องหันไปใช้บริการ  อัยโกงสุดสุด  ที่เป็นรักษาการ ก.ยุติธรรม  ตอนนี้ไงล่ะ



#9 Bookmarks

Bookmarks

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 33,617 posts

ตอบ 27 มกราคม พ.ศ. 2557 - 18:17

เดี๋ยวพอโดนติดคุก อีปูก็อ้างถาม กฤษฎีกาแล้ว 



#10 เสือยิ้มยาก

เสือยิ้มยาก

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,695 posts

ตอบ 27 มกราคม พ.ศ. 2557 - 18:27

news_img_99221_1.jpg556000014253502.JPEG

90527.jpg

e59i5ga66a6jaha6jhb9k.jpg


        shotgun.gif       d444.gif        cheesy.gif

 


#11 เสือยิ้มยาก

เสือยิ้มยาก

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,695 posts

ตอบ 27 มกราคม พ.ศ. 2557 - 18:33

556000014253503.JPEG

556000014253506.JPEG

556000014253505.JPEG556000014253507.JPEG

 

 

 


        shotgun.gif       d444.gif        cheesy.gif

 


#12 ไทยไม่ทน

ไทยไม่ทน

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,381 posts

ตอบ 27 มกราคม พ.ศ. 2557 - 18:43

 

 

556000014253505.JPEG

 

กร๊ากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก

 

ฮ่าๆๆๆๆ


llllllllllllllllllllllllllllll

llllllllllllllllllllllllllllll

llllllllllllllllllllllllllllll

 





ผู้ใช้ 1 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 1 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน