ดี ให้เหลือแต่คนกรุงเทพ ปลูกข้าวกินเองนะคร้าบถนนหนทางก็กวาดกันเองนะคร้าบ และอย่าแย่งทรัพยากรณ์และผลผลิตชาวต่างจังหวัดมาปรนเปรอกันนะคร้าบ เราไม่อยากเป็นทาสอีกแล้ว ขนาดหาเลี้ยงเขาเรายังอยู่กันได้นับประสาอะไร......
แยกไปไม่มีทางออกทะเลนะคร้าบบ เดี๋ยวลูกหลานขาดไอโอดีนนะคร้าบบบ
ไม่มีภาษีพวกไม่เอาแดง แล้วจะรู้สึกนะคร้าบบบ
พวกแผ่นดินแดง โกงชาติแสนล้าน แต่ออกข่าว ชาติได้กำไรแสนล้าน เพราะมันควบคุมสื่อ แล้วเอาเงินมาเลี้ยงสื่อ
พอเงินไม่พอใช้ ไม่มีที่ไหนให้กู้ มันก็จะขึ้นภาษี สำนักข่าวต่างๆก็อวยรัฐบวยที่ขึ้นภาษี รัฐบวยทำดีแล้ว ชอบแล้ว ส่วนพวกรากหญ้าก็ต้องก้มหน้าก้มตาหาเงินมาให้รัฐไถต่อไป ไปร้องเรียนใครก็ไม่ได้ เพราะพวกตัวใหญ่ๆมีอำนาจ ก็พวกเดียวกะรัฐบวย แค่คิดก็สนุกแล้ว
แต่ช่วยไปใช้พื้นที่บนแผ่นดินเขมรนะ ขอฮุนซวยทำเป็นเขตปกครองพิเศษเลย แล้วยกพวกไปอยู่กันที่นั่น
“ 2563 ” กรุงเทพจมน้ำ!!!
“ 2563 ”
กรุงเทพจมน้ำ
อีก 10 ปีกรุงเทพอยู่ใต้บาดาล
สถาบันเวิลด์วอทช์ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรที่ศึกษาวิจัยด้านสภาพแวดล้อมทั่วโลกระบุว่า จากการศึกษาของสหประชาชาติ(UN) และอีกหลายสถาบัน พบว่า เมืองที่มีที่ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลทั่วโลกกำลังเผชิญกับอันตรายจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นและพิบัติภัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก โดยพบว่า เมืองชายฝั่ง 21 แห่ง จากทั้งหมด 33 แห่งที่ได้รับการคาดการณ์ว่าจะมีจำนวนประชากรสูงถึง 8 ล้านคนภายในปี 2558 มีความเปราะบางสูงมากที่จะถูกน้ำท่วม ซึ่ง 1 ในเมืองที่มีความเสี่ยงต่อภัยนี้ คือ“กรุงเทพมหานคร”
สอดคล้องกับโครงการวิจัยร่วมไทย-ยุโรป GEO2TECDI (Geodetic Earth Observation Technologies for Thailand : Environmental Change Detection and Investigation) ซึ่งเป็นโครงการวิจัยร่วมระหว่างประเทศไทยและสหภาพยุ โรปที่ได้รับการสนับ สนุนเงินทุนจากสหภาพยุโรป ในโครงการตรวจวัดการเคลื่อนตัวของแผ่นดินและระดับน้ำ ทะเลโดยใช้เทคโนโลยี Space Geodetic ออกมาเปิดเผยผลวิจัย ว่า ประเทศไทยโดยรวมจะมีการทรุดตัวลงอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ระดับน้ำทะเลในอ่าวไทยกลับเพิ่มขึ้น ส่วนแผ่นดินกรุงเทพฯ จะทรุดลงปีละ 15 มม.
“รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์” กรรมการภูมิศาสตร์โลก และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ที่เพิ่งศึกษาวิจัยประเด็นนี้เสร็จหมาดๆ แล้วส่งเปเปอร์ให้กับธนาคารโลก (World Bank) ในฐานะเจ้าของเงินทุนการวิจัย เล่าความเป็นมาว่า ได้ใช้เวลาในการศึกษาเรื่องนี้ 2ปี โดยศึกษาเฉพาะกรณีของประเทศไทย
เหตุเพราะว่าธนาคารโลกสนใจเรื่องนี้มาก และศึกษามาอย่างต่อเนื่องจนได้ข้อมูลว่า 4 เมืองหลักในทวีปเอเชีย ได้แก่ เมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย, เมืองโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม, เมืองมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ และกรุงเทพฯ ประเทศไทย
ดังนั้น จึงให้ทุนมาศึกษาวิจัยว่าความเสี่ยงมีมากขนาดไหน ประชาชนจะได้รับผลกระทบกี่ครอบครัว และความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจะเป็นมูลค่าเท่าไหร่
“วิธีการศึกษาผมได้ใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์ในห้องปฏิบัติการ เป็นคอมพิวเตอร์ทั้งหมด สร้างเมืองกรุงเทพฯจำลองขึ้นมา ซึ่งกรุงเทพฯ ประกอบด้วยแม่น้ำเจ้าพระยา และคลองต่างๆ ระดับความสูงของพื้นดิน ระดับน้ำทะเลบริเวณเขตบางขุนเทียน จากนั้นใส่ปริมาณน้ำเหนือ น้ำหนุน และปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมา ใส่ข้อมูลต่างๆ ลงไปให้ครบ และใช้เหตุการณ์น้ำท่วมปี 2538 เป็นฐาน..”
ผล.. เราพบว่าถ้าเหตุการณ์อย่างปี 2538 เกิดขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง อนาคตเราหนีไม่พ้นแน่ กรุงเทพฯรับไม่ได้กับเหตุการณ์นี้ ต้องโดนน้ำท่วมหนัก”
คำว่า ”กรุงเทพฯรับไม่ได้กับเหตุการณ์นี้” ของอาจารย์เสรีมีความหมายว่าผืนดินบริเวณริมทะเลทั้งหมด โดยวัดจากริมชายทะเลเข้าไปในแผ่นดินประมาณ 10 กิโลเมตร จะถูกน้ำท่วม “โดยมีระดับความสูงของน้ำ 1.8-2.00 เมตร” !! ดังนั้นลักษณะของบ้านอนาคตประเทศไทยต้องมีใต้ถุนสูง ส่วนบ้านแพลอยน้ำเป็นของประเทศเนเธอร์แลนด์ที่ขณะนี้ได้ออกแบบเตรียมรับมือน้ำท่วมไว้แล้ว
“”เราพบว่าพื้นที่กรุงเทพฯ จะถูกน้ำท่วมรุนแรง แน่นอนว่าขึ้นอยู่กับว่าจะติดกับชายฝั่งขนาดไหน ถ้าอยู่ติดชายฝั่งระดับน้ำจะท่วมสูง 1.8-2.00เมตร ถ้าลึกเข้าไปก็ลดหลั่นกันไป แต่ริมชายฝั่งอย่าง จ.สมุทรปราการ สมุทรสาคร บริเวณปากแม่น้ำจมแน่ๆ”"
กทม.ชี้ 10 ปีต้องเลือก
จะย้ายเมืองหรือสร้างเขื่อน
อย่างไรก็ดีต่อท่าทีของสำนักงานกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรงนั้น ล่าสุด“นายพรเทพ เตชะไพบูลย์” รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) ได้ออกมายอมรับแล้วว่า เรื่องนี้เป็นความจริง !
“ทั้งหมดเป็นสิ่งที่คาดการณ์ แต่ก็ไม่ได้แตกต่างกันกับเรา ก็อยู่ที่ว่า มันจะเป็น10 ปีกว่ามันจะจมหรือมากกว่านี้ ตอนนี้เรายังไม่เห็นภาพชัดเจน เพราะเราดูดน้ำออกมาได้ตลอด และเรายังมี คิงไซส์หรือ แนวกันน้ำ ระดับ 2.50 เมตรรองรับอยู่” พรเทพ บอก
รายงานจากกทม.ระบุว่า ปัจจุบันที่ดินครึ่งหนึ่งในกรุงเทพฯอยู่ใต้ระดับน้ำทะเล และอีกครึ่งหนึ่งอยู่ในลักษณะที่ปริ่มน้ำ ซึ่งพรเทพ ระบุว่า สาเหตุหลักของเรื่องนี้มาจาก 2 ปัจจัยหลัก นั่นคือ การทรุดตัวลงของดินในกรุงเทพฯปีละ 2 ซม.เนื่องจากการดูดน้ำบาดาลไปใช้ไม่ต่ำกว่าพันบ่อต่อวัน และระดับน้าทะเลที่เพิ่มขึ้นปีละ 1 ซม. ทั้งหมดนี้ก็รวมเป็น 3 เซนติเมตร ซึ่งเป็นอัตราปกติ
แต่สิ่งที่น่าวิตกก็คือ ข้อมูลที่รองผู้ว่ากทม.ที่ดูแลเกี่ยวกับการป้องกัน และ แก้ปัญหาน้ำท่วมเปิดเผยมาตรงๆว่า ความเชื่อที่ว่า แนวกันน้ำจะป้องกันน้ำไหลบ่าจะสามารถรองรับไปได้อีก 20 ปีนั้นเป็นข้อมูลที่ล้าสมัยไปแล้ว
“จากภาวะโลกร้อน ได้กลายเป็นตัวเร่งให้ระดับน้ำเพิ่มมากขึ้น 40 % ยกตัวอย่าง เดิมที่เราคาดว่ากันว่า ฝนจะตกในเดือนนี้ 180 มิลลิเมตร แต่ความจริงตกถึง 210 มิลลิเมตร หรือ ทั้งปีน่าจะตกแค่ 1,400 มิลลิเมตร แต่วันนี้มันตก 1,800 มิลลิเมตร มันทำให้ผมเป็นห่วงแนวกั้นน้ำ อย่าว่า 20 ปีเลย แค่ 10 ปีจะรองรับถึงหรือเปล่า เพราะระดับน้ำขึ้นไปอยู่ที่ 2.20 เมตรแล้ว”
รองผู้ว่ากทม. ชี้ว่า ช่องโหว่ที่จะทำให้กรุงเทพฯกลายเป็นนครใต้บาดาล ก็คือ “บางขุนเทียน” ซึ่งมีการกัดเซาะจากน้ำทะเลไปรวดเร็วเกินกว่าที่คาดคิดไว้
“คุณเชื่อไหม วันนี้น้ำทะเลกัดเซาะแผ่นดินไปกว่า 300 ตารางกม.แล้ว และเลวร้ายขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าเราพยายามจะรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ คือ การคืนสภาพป่าชายเลนแต่ก็ไม่ได้ผล”
พรเทพ บอกว่า ปัญหาใหญ่และอุปสรรคสำคัญที่เขาประสบในการสกัดกั้นการรุกคืบของน้ำทะเลจากอ่าวไทยก็คือ เอ็นจีโอและกลุ่มคนที่มีแนวคิดอนุรักษ์ธรรมชาติ เขา เปิดเผยว่า กลุ่มคนเหล่านี้ไม่เห็นด้วยกับแนวทางหรือเทคโนโลยีใหม่ๆที่จะหยุดการไหลบ่าจากน้ำทะเล ไม่ว่าจะเป็นการทำคิงไซส์ การสร้างเขื่อน หรือ วิธีอื่นๆ เพราะมองว่าจะไปทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ
...และวิธีเดียวที่เอ็นจีโอเหล่านี้เห็นด้วย ก็คือ การทิ้งวัสดุที่เหลือใช้ ไม่ว่าจะเป็น หิน ยาง หรือ เอาเสาไปปัก เพื่อทำให้เกิดการสะสมของดินตะกอน ซึ่งนำไปสู่การเกิดขึ้นของป่าชายเลน
“วิธีเหล่านี้ก็พิสูจน์แล้วว่าไม่ได้ผล เพราะเรามาทำตั้งแต่ปี 2523 แต่ก็หยุดการเพิ่มของระดับน้ำไม่ได้ เพราะสู้ธรรมชาติไม่ไหว ถ้าเราจะอยู่ร่วมกับธรรมชาติ ก็ต้องย้ายเมืองหลวง เอามั๊ย หรือไม่ ก็สร้างเขื่อนมี 2 ทางเลือก ถ้าไม่ทำทุ่งครุ และกรุงเทพฯจะอยู่ใต้น้ำแน่นอน” เขาระบาย
รศ.ดร.เสรี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ให้มุมมองถึงเรื่องนี้ว่า กรุงเทพฯ มีแผ่นดินที่ติดน้ำทะเลเพียงแห่งเดียว คือ เขตบางขุนเทียน ซึ่งขณะนี้หลักเขตกรุงเทพมหานครในเขตบางขุนเทียน ถูกน้ำทะเลล้ำเขตเข้ามาประมาณ 1 กิโลเมตร แสดงให้เห็นว่า แผ่นดินจมหายไป 1 กิโลเมตร
ปัจจุบันนี้การแก้ปัญหาน้ำท่วมดำเนินการโดยวิธีสูบน้ำเหนือที่ไหลทะลักให้ แยกออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งขวาให้ไหลลงแม่น้ำบางปะกง ส่วนฝั่งซ้ายให้ไหลลงแม่น้ำท่าจีน แต่ในอนาคตสิ่งสำคัญที่สุด คือ ต้องป้องกันน้ำทะเลหนุนให้ได้