Jump to content


Photo
- - - - -

==พบข้อมูลน่าเป็นห่วงอนาคต คุณกิตติรัตน์ ณ ระนอง กรณีกู้เงินจำนำข้าว==

กู้เงิน จำนำข้าว กิตติรัตน์

  • Please log in to reply
23 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 jerasak

jerasak

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,878 posts

ตอบ 31 มกราคม พ.ศ. 2557 - 17:33

*
POPULAR

พบข้อมูลน่าเป็นห่วงเกี่ยวกับอนาคตคุณกิตติรัตน์ ณ ระนอง

รักษาการรัฐมนตรีคลังครับ :)

กรณีกู้เงินจ่ายค่าจำนำข้าว ที่มีข่าวคุณกิตติรัตน์ อ้างว่า 
สนง.คณะกรรมการกฤษฎีกา มีความเห็นว่าการดำเนินการ
ตามมติครม.ดังกล่าวไม่ขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 181(3)


ผมค้นหาดูก็เจอ หนังสือของ สนง.คณะกรรมการกฤษฎีกา
ที่ นร. 0901/85 ลงวันที่ 23 มกราคม 2557 ซึ่งอ้างถึง
หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0900/852 ลงวันที่ 23
มกราคม 2557
(ซึ่งก็คือวันเดียวกัน) ตอบข้อหารือของ
รมต.คลัง เรื่องการกู้เงินมาจ่ายหนี้จำนำข้าว ซึ่งเชื่อได้ว่า
เป็นเอกสารที่คุณกิตติรัตน์ใช้อ้างอิงตามข่าว มีข้อสังเกต
ที่ควรสนใจดังนี้ครับ...

1. คุณกิตติรัตน์ไม่ได้หารือ
"คณะกรรมการกฤษฎีกา"
แต่หารือกับ "สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา"
2. ความเห็นที่คุณกิตติรัตน์อ้างอิง ตามหนังสือนี้ระบุชัดเจน
ว่าเป็นความเห็นของ "สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา" 
ซึ่งไม่ทราบว่าหมายถึงใคร แต่ผู้ลงนามคือ
นายชูเกียรติ 
รัตนชัยชาญ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา

3. การพิจารณาของ "สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา" 
ทำได้รวดเร็วมาก
สามารถตอบกลับข้อหารือได้ภายใน
วันเดียวกับที่รับหนังสือคือ 23 มกราคม 2557

4. ความเห็นของ "สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา" 
ระบุชัดเจนว่ากระทรวงการคลังดำเนินการได้โดยไม่ขัด
ต่อมาตรา 181(3) ของรัฐธรรมนูญ


ความเห็นส่วนตัวของผมต่อกรณีนี้คือ ดูเหมือนคุณกิตติรัตน์
ไม่มั่นใจว่า "คณะกรรมการกฤษฎีกา" จะมีความเห็นเป็นบวก
ก็เลยหลีกเลี่ยงโดยส่งให้ "สำนักงาน" ตีความแทน ซึ่งความ
ละเอียดรอบคอบย่อมเทียบ "คณะกรรมการกฤษฎีกา" ไม่ได้
กรณีนี้ก็เห็นชัดว่าใช้เวลาพิจารณาเสร็จในวันเดียว!


ขนาดเรื่องที่ "คณะกรรมการกฤษฎีกา" มีความเห็นว่าไม่ผิด
ก็ยังเสี่ยงที่ศาลจะมีความเห็นต่าง เป็นที่รู้กันถ้ามีความเห็น
ว่า
"ํำถูกต้อง" จริงๆหมายถึงแค่ "อาจจะถูก" ตัวอย่างกรณี

"คดีที่ดินรัชดา" ของคุณทักษิณก็มีให้เห็นอยู่แล้ว

ตามความเห็นผม อนาคตคุณกิตติรัตน์น่าเป็นห่วงครับ :)

 

-----------------------------------------------------------------

หน้าแรก

1618492_652096994828524_16243732_n.jpg

 

หน้าที่สอง

1796629_652097031495187_1210205749_n.jpg


Edited by jerasak, 31 มกราคม พ.ศ. 2557 - 17:49.

== การเมืองคือมายา ข้าวปลาคือของจริง ==

#2 หงส์เฒ่าเสาร์ธรรม

หงส์เฒ่าเสาร์ธรรม

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,408 posts

ตอบ 31 มกราคม พ.ศ. 2557 - 17:35

คุก คุก คุก


จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ ... ศีลธรรม เป็นกรอบรักษาจินตนาการให้ดำรงอยู่ด้วยความดีงาม... -_- 


#3 HiddenMan

HiddenMan

    Long Live The King

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,023 posts

ตอบ 31 มกราคม พ.ศ. 2557 - 17:38

 

3. การพิจารณาของ "สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา" 
ทำได้รวดเร็วมาก
สามารถตอบกลับข้อหารือได้ภายใน
วันเดียวกับที่รับหนังสือคือ 23 มกราคม
2553

 

 

 

^_^  น่าจะเป็นปี 2557 ใช่มั้ยครับ...


“Live as if you were to die tomorrow. Learn as if you were to live forever.”  - Mahatma Gandhi

 

สนใจบ้านพักคนชราเสรีไทย (FB Secret Group) ติดต่อ (PM) เว็บบอร์ด

https://www.facebook...denman.serithai


#4 jerasak

jerasak

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,878 posts

ตอบ 31 มกราคม พ.ศ. 2557 - 17:50

 

 

3. การพิจารณาของ "สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา" 
ทำได้รวดเร็วมาก
สามารถตอบกลับข้อหารือได้ภายใน
วันเดียวกับที่รับหนังสือคือ 23 มกราคม
2553

 

 

 

^_^  น่าจะเป็นปี 2557 ใช่มั้ยครับ...

 

แก้ไขแล้วครับ หลงตาไปจริงๆ :)


== การเมืองคือมายา ข้าวปลาคือของจริง ==

#5 HiddenMan

HiddenMan

    Long Live The King

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,023 posts

ตอบ 31 มกราคม พ.ศ. 2557 - 17:56

 

 

 

3. การพิจารณาของ "สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา" 
ทำได้รวดเร็วมาก
สามารถตอบกลับข้อหารือได้ภายใน
วันเดียวกับที่รับหนังสือคือ 23 มกราคม
2553

 

 

 

^_^  น่าจะเป็นปี 2557 ใช่มั้ยครับ...

 

แก้ไขแล้วครับ หลงตาไปจริงๆ :)

 

 

^_^ ขอบคุณสำหรับข้อมูลและการวิเคราะห์ดีๆครับ


Edited by HiddenMan, 31 มกราคม พ.ศ. 2557 - 17:56.

“Live as if you were to die tomorrow. Learn as if you were to live forever.”  - Mahatma Gandhi

 

สนใจบ้านพักคนชราเสรีไทย (FB Secret Group) ติดต่อ (PM) เว็บบอร์ด

https://www.facebook...denman.serithai


#6 ทองเปลว

ทองเปลว

    อัครเทพ 15000

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,184 posts

ตอบ 31 มกราคม พ.ศ. 2557 - 17:58

อยากเห็นนักการเมืองฉ้อฉนติดคุกแบบคุณรักเกียรติอีกซักที แต่ส่วนใหญ่มันชอบหนีได้ก่อนตลอด 



#7 antiseptic

antiseptic

    น้องใหม่และซิง

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 6,672 posts

ตอบ 31 มกราคม พ.ศ. 2557 - 18:16

เรื่องขายข้าวได้หรือไม่ได้ ทำไมไม่คิดจะถามเค้าบ้างนะ
"We all make choices. But in the end, our choices make us."Andrew Ryan

#8 Robin

Robin

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,097 posts

ตอบ 31 มกราคม พ.ศ. 2557 - 18:19

สงสัยมีคนได้ติดคุกกันมั่งงานนี้



#9 สัตยวาที

สัตยวาที

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 870 posts

ตอบ 31 มกราคม พ.ศ. 2557 - 18:21

คิดว่า กิตตี้ คงหวังว่าจะรอดจากข้อกฏหมายอย่างคดีอื่นๆ ที่เจ้าหน้าที่รัฐหลุดรอด ด้วยช่องโหว่กฏหมาย

ดังนั้น สิ่งที่ประชาชนทั้งหลายต้องการจริงๆ คือ การปฏิรูป

 

เพื่ออุดช่องโหว่ ในการให้ประชาชนเป็นเจ้าทุกข์ แจ้งความเอาผิดเจ้าหน้าที่รัฐได้ 

คดีไม่มีวันหมดอายุความ และต้องชดใช้ความเสียหายต่อรัฐที่ตนก่อ

รวมทั้งมีโทษเพิ่มในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐแต่ปฏิบิติมิชอบ 

 

ถ้ามีบทลงโทษที่รุนแรง รอรองรับความชุ่ย มักง่าย เอาแต่ตัวรอด

ของข้าราชการการเมืองอย่างชัดเจน เป็นรูปธรรม ลงโทษได้จริงแล้ว

อยากจะรู้ว่ามีไอ้หน้าโง่ตัวไหน เอาคอไปขึ้นเขียงอีก ที่หน้าด้านทำๆกันนี่

เพราะมันรู้ว่า ความผิดตามไปลงโทษมันไม่ทันทั้งนั้น 

 

นี่แหละ คือสิ่งที่พวกคนคดโกง ฉ้อฉล เกรงกลัวที่สุดในการปฏิรูป 

เพราะงบประมาณประเทศจะไม่ใช่อาหารจานใหญ่ของพวกมันอีก 

การปฏิรูป ไม่มีเพื่อฝ่ายไหน เพราะมันสร้างมาเพื่อลงโทษคนโกงเท่านั้น


  ขอสาบแช่งคนเลวร้ายทำลายชาติ ให้ไร้สุข มีแต่ทุกข์ ไร้คนรักดูแล อุดมด้วยคนเกลียดชังรังแก

เจ็บป่วย ทรมาน งานการไม่ก้าวหน้า ทำสิ่งใดให้ฉิบหาย วอดวาย อย่าได้พบความสุขใดในทุกชาติภพ


#10 amplepoor

amplepoor

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,365 posts

ตอบ 31 มกราคม พ.ศ. 2557 - 18:41

วิกิสรุปอำนาจหน้าที่ของ "สำนักงานฯ" ไว้ดังนี้ ลองพิจารณาดู

แต่ผมสรุปให้ชัดๆ ละกันว่า จ่าศาล ไม่มีสิทธิออกคำวินิจฉัยแทนศาล

คงจะพอเทียบเคียงได้

 

อำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย

พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 บัญญัติให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นส่วนราชการระดับกรมในสำนักนายกรัฐมนตรีโดยเป็นส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี และมีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 62 แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2522 ดังนี้

  1. รับผิดชอบในงานธุรการของคณะกรรมการกฤษฎีกาและคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย และศึกษาและรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับงานของคณะกรรมการกฤษฎีกาและคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย
  2. พิจารณาและจัดทำร่างกฎหมายตามที่คณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย และเสนอความเห็นเกี่ยวกับการให้มีหรือแก้ไขปรับปรุงหรือยกเลิกกฎหมาย
  3. ช่วยเหลือและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการร่างกฎหมายแก่หน่วยงานของรัฐ
  4. ให้ความเห็นหรือปฏิบัติงานอื่นอันเกี่ยวกับกฎหมายให้แก่หน่วยงานของรัฐหรือตามที่รัฐบาลต่างประเทศหรือสถาบันระหว่างประเทศร้องขอ
  5. ฝึกอบรมและพัฒนาข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและเจ้าหน้าที่ของ รัฐในด้านกฎหมายและการร่างกฎหมาย รวมทั้งการเผยแพร่ทำความเข้าใจในด้านกฎหมายแก่บุคคลทั่วไป
  6. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาหลักกฎหมายและการบริหารราชการแผ่นดิน
  7. จัดพิมพ์ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อเผยแพร่ เว้นแต่เรื่องที่เป็นความลับ
  8. จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับผลงานและอุปสรรคในการดำเนินงานของคณะกรรมการกฤษฎีกาและคณะกรรมการพัฒนากฎหมายเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
  9. ศึกษาและรวบรวมข้อมูล รวมทั้งจัดให้ได้มาซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับระบบกฎหมายไทยและระบบกฎหมายต่าง ประเทศ และงานวิจัยกฎหมายหรือวิชาอื่นที่เกี่ยวกับกฎหมายทั้งของไทยและต่างประเทศ เพื่อประโยชน์แก่การปฏิบัติงานของคณะกรรมการกฤษฎีกาและคณะกรรมการพัฒนา กฎหมายตามพระราชบัญญัตินี้

นอกจากนี้ กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2545[2] ได้บัญญัติให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีภารกิจเกี่ยวกับการจัดทำกฎหมาย การใช้กฎหมายและการพัฒนากฎหมายให้ถูกต้อง สร้างความเป็นธรรมและส่งเสริมการพัฒนาประเทศและประโยชน์สุขของประชาชน ตลอดจนพัฒนาบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย โดยให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

  1. พิจารณาและจัดทำร่างกฎหมายตามที่คณะรัฐมนตรี หรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย และพิจารณาเสนอความเห็นให้มีการแก้ไข ปรับปรุงหรือยกเลิกกฎหมาย รวมทั้งช่วยเหลือหน่วยงานของรัฐในการจัดทำร่างกฎหมาย
  2. ให้ความเห็นทางกฎหมายแก่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี และหน่วยงานของรัฐ
  3. งานประสานการนิติบัญญัติ โดยการตรวจสอบดูแลงานกฎหมายของประเทศและแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องในการเสนอ กฎหมาย รวมทั้งการช่วยเหลืองานด้านกฎหมายในชั้นรัฐสภา
  4. จัดทำคำแปลกฎหมาย ให้ความเห็นทางกฎหมายเกี่ยวกับการกู้เงินและให้คำปรึกษาหรือปฏิบัติงานอื่น อันเกี่ยวกับกฎหมายให้แก่หน่วยงานของรัฐหรือตามที่รัฐบาลต่างประเทศหรือ สถาบันระหว่างประเทศร้องขอ
  5. วิจัยและพัฒนากฎหมาย โดยตรวจสอบสภาพปัญหาของประเทศและของสังคม แล้วทำการศึกษาวิจัยเพื่อเสนอร่างกฎหมายใหม่หรือแก้ไขกฎหมายเดิม
  6. การพัฒนาหลักกฎหมายปกครองเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติราชการ และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปฏิบัติราชการ รวมทั้งรับผิดชอบกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
  7. ทำหน้าที่เป็นศูนย์ข้อมูลกฎหมายกลาง โดยการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องแล้วให้บริการค้นคว้าแก่รัฐบาล รัฐสภา หน่วยงานของรัฐและประชาชน
  8. ดำเนินการพัฒนานักกฎหมายภาครัฐ เพื่อให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายมหาชน
  9. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา หรือตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา

พระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2522 ได้บัญญัติให้มีเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา (นักบริหาร 11 บส.) มีหน้าที่ควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งราชการของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา รับผิดชอบขึ้นตรงต่อประธานคณะกรรมการกฤษฎีกา (นายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรมการกฤษฎีกาโดยตำแหน่ง) และเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยให้มีรองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา (นักบริหาร 10 บส.) เป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการ

ตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เป็นตำแหน่งที่มีลักษณะพิเศษกว่าตำแหน่งผู้บริหารของหน่วยงานอื่น ๆ กล่าวคือ มาตรา 63 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2522 บัญญัติให้เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งเป็น บุคคลที่มีความเชี่ยวชาญในทางนิติศาสตร์ การร่างกฎหมาย และการบริหารราชการแผ่นดิน อันรัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว และคณะรัฐมนตรีนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาให้ทรงแต่งตั้งดำรงตำแหน่งดังกล่าว



#11 9JJ

9JJ

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 360 posts

ตอบ 31 มกราคม พ.ศ. 2557 - 19:23

คุกมีที่ว่างพอสำหรับงานนี้



#12 พอล คุง

พอล คุง

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 11,014 posts

ตอบ 31 มกราคม พ.ศ. 2557 - 19:29

สรุปว่า ไอ้โต้ง ยืนขาเข้าคุกไปแล้วครึ่งขาเข้าไปแล้ว

 

งานนี้ ถ้า รบ ล้มเมื่อไหร่ รับรองว่า ไอ้โต้ง จะไม่มีคนคุ้มกะลาหัว

 

คุก คุก คุก ยาวไป


Edited by พอล คุง, 31 มกราคม พ.ศ. 2557 - 19:30.

ถึงตรูจะเลวยังไง ตรูก้อไม่ได้ขายชาติ เหมือนเสื้อแดงว่ะ เข้าใจนะ

 


#13 Suleesav

Suleesav

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 372 posts

ตอบ 31 มกราคม พ.ศ. 2557 - 20:21

เลี่ยงคัมภีร์เก่งตัวพ่อ หมดราคาตั้งแต่ ไว้ลาย (White Lie) หมาขี้เรื้อนโน่นแล้ว



#14 aiwen^mei

aiwen^mei

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,150 posts

ตอบ 31 มกราคม พ.ศ. 2557 - 20:39

ขอบคุณสำหรับข่าวดีค่ะ

 

คนๆ นี้ น่ารังเกียจมาก

 

:)  :)  :)



#15 JUR1ST

JUR1ST

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,803 posts

ตอบ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 00:58

นอกจากไอ้โต้งแล้ว ควรลากเอาพวกข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐที่มีส่วนรู้เห็นไปรับผิดชอบด้วยครับ

#16 ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

    หน้าตาดี มีอุดมการณ์

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 21,670 posts

ตอบ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 04:10

คือผมก็เข้าใจนะว่าไอ้โต้งเข้าคุกไปครึ่งขาแล้ว

 

แต่ในความเป็นจริง ศาลคงให้ประกันตัว แล้วมันก็จะหนีไปเสวยสุขอยู่เมืองนอก

เหมือนไอ้บิดาแม้ว ประชา วัฒนา และอื่นๆอีกมากมาย


gladiator 1.jpg

 

 

 

 

 

 


#17 คนสับปรับ

คนสับปรับ

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,410 posts

ตอบ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 04:39

ถามหน่อยครับ ว่าอย่างกิตติรัตนได้อะไรจากการเป็นรัฐมนตรีกระทรวงนี้เห็นยอมทำทุกอย่าง แม้รู้ว่าผิด



#18 เสือยิ้มยาก

เสือยิ้มยาก

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,695 posts

ตอบ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 08:35

โกหกสีขาว ก็คือการโกหกจริงๆ และได้พูดจากปากจริงๆ

ติดคุกสีขาว ก็ติดคุกจริงๆ และคงได้อยู่ในห้องขังจริงๆซินะ :lol:

 

 

ถามหน่อยครับ ว่าอย่างกิตติรัตนได้อะไรจากการเป็นรัฐมนตรีกระทรวงนี้เห็นยอมทำทุกอย่าง แม้รู้ว่าผิด

แหม่ ถามมาได้ไงครับเนี่ย

มองดูคนอย่าง โภคิน นพดล และอื่นๆที่เป็นสมุนทักษิณ ไม่น่ามีข้อสงสัยครับ ช่องทางเพียบ :o


        shotgun.gif       d444.gif        cheesy.gif

 


#19 jerasak

jerasak

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,878 posts

ตอบ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 12:18

เมื่อวานนี้ 3 กพ.57 สำนักข่าวอิสรา เขียนถึงประเด็นเดียวกับกระทู้นี้เลยครับ
มีความคืบหน้าเพิ่มเติมเช่นได้สัมภาษณ์ คุณชูเกียรติ รัตนชัยชาญ เลขาธิการ-
คณะกรรมการกฤษฎีกา ในวันเดียวกัน กับมีความเห็นจากนักกฎหมายอาวุโส
ท่านอื่นมาประกอบเพิ่มเติมด้วย สรุปคือต้องรอวัดดวงถ้าคดีไปถึงศาลครับ :)

 

--------------------------------------------------------------

 

เบื้องหลัง"กฤษฎีกา"ไฟเขียวรัฐบาลยิ่งลักษณ์ หาเงินโปะหนี้จำนำข้าว?

http://www.isranews..../27030-bbk.html

 

สำนักข่าวอิสรา: วันจันทร์ ที่ 03 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 20:00 น

 

เปิดเบื้องหลังบันทึกความเห็น "สนง.กฤษฎีกา" ตอบข้อหารือ ก.คลัง ปมหาแหล่งเงินกู้โปะหนี้นำจำข้าว "รัฐบาลยิ่งลักษณ์" ดำเนินการรวดเร็วทันใจ "ถามปุ๊บตอบปั๊บ" แล้วเสร็จในวันเดียว!  

erererererr.jpg

ในการเดินหน้าหาแหล่งเงินกู้เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวของ รัฐบาลรักษาการ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ภายใต้การนำของ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่กำลังปรากฏอยู่ในขณะนี้ 

หนึ่งในเหตุผลทางกฎหมายสำคัญที่ นายกิตติรัตน์ นำมาใช้เป็นหลักในการพิจารณาเรื่องนี้ คือ ความเห็นของ "สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา"  

สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ตรวจสอบหนังสือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่ นร. 0901/ 85 ลงวันที่ 23 มกราคม 2557 ที่ทำถึง รัฐมนตรีว่ากระทรวงการคลัง เรื่องการขอหารือตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2557 เรื่องการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ 2557 ครั้งที่ 1 ซึ่งมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินการโครงการรับจำนำข้าว 

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ระบุข้อเท็จจริงที่นำมาใช้ในการพิจารณาเรื่องนี้ว่า “.. คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2556 รับทราบกรอบ ชนิด ราคา ปริมาณ ระยะเวลา หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขโครงการรับจำนำข้าวเปลือกปี การผลิต 2556/57 ซึ่งมีระยะเวลารับจำนำ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2556 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2557 สำหรับภาคใต้ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2556 - ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2557 ตามที่กระทรวงพาณิชย์ เสนอ และอนุมัติให้กระทรวงพาณิชย์ เร่งรัดดำเนินการโครงการจำนำข้าวเปลือก (นาปี) ภายใต้กรอบวงเงินของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปี การผลิต 2556/57 จำนวน 270,000 ล้านบาท 

ทั้งนี้ ให้กระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ซึ่งมีเป้าหมายปริมาณการรับจำนำรวม 16.5 ล้านตัน โดยขณะนี้ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ได้เริ่มดำเนินการรับจำนำใบประทวนซึ่งรัฐบาลได้ออกให้แก่เกษตรกรที่นำผลผลิตมาจำนำตามโครงการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2556 แล้วอันก่อให้เกิดภารผูกพันเป็นหนี้ที่รัฐบาลจะต้องชำระแก่เกษตรกรผู้ถือใบประทวน

สำหรับเกษตรกรที่ยังไม่มีใบประทวนนั้น ข้อเท็จจริงปรากฏว่า เกษตรกร ได้เริ่มดำเนินการปลูกข้าวเพื่อนำมาจำนำตามโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2556/57 ที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติแล้ว แม้เกษตรกรดังกล่าวจะยังไม่มีใบประทวนแต่เป็นการดำเนินการของเกษตรกรตามโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2556/57 ที่รัฐบาลจะต้องรับผิดชอบต่อไปจนสิ้นสุดโครงการที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้แล้ว

ดังนั้น เพื่อให้เกษตรกรได้รับชำระหนี้ กระทรวงการคลังจึงจำเป็นต้องจัดหาแหล่งเงินทุนให้เพียงพอ ซึ่งต่อมากระทรวงการคลังโดยคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะได้ดำเนินการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2557 ครั้งที่ 1 และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2557 รับทราบการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ 2557 ครั้งที่ 1 ดังกล่าว และอนุมัติการค้ำประกันเงินกู้ให้กับรัฐวิสาหกิจ ภายใต้กรอบวงเงินของแผนการบริหารหนี้สาธารณะดังกล่าวตลอดจน ให้กระทรวงการคลัง เป็นผู้พิจารณาการกู้เงิน วิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดต่างๆ ของการกู้เงินและการค้ำประกันในแต่ละครั้งได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น ทั้งนี้ เพื่อให้รัฐบาลสามารถดำเนินการชำระหนี้ที่เกิดขึ้นตามโครงการดังกล่าว 

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ยังระบุด้วยว่า พิจารณาข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้วเห็นว่า โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2556/57 ได้ก่อให้เกิดหนี้ที่รัฐบาลมีหน้าที่ต้องชำระตามกฎหมายโดยโครงการดังกล่าว เป็นโครงการที่คณะรัฐมนตรีได้เคยอนุมัติไว้แล้วก่อนมีการตราพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2556 ดังนั้น การที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2557 อนุมัติให้กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินกู้ของรัฐวิสาหกิจ ตลอดจนมอบหมายให้กระทรวงการคลัง เป็นผู้พิจารณาการกู้เงินเงื่อนไข และรายละเอียดต่างๆ ของการกู้เงินและการค้ำประกันในแต่ละครั้งได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น จึงเป็นการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการคลัง ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ.2548 เพื่อให้สามารถชำระหนี้ของรัฐบาลตามโครงการที่ได้รับอนุมัติก่อนการยุบสภาผู้แทนราษฎร จึงไม่ถือเป็นการกระทำอันมีผลเป็นการอนุมัติงานหรือโครงการ หรือมีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป ตามบทบัญญัติมาตรา 181 (3) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย”

ลงชื่อ "นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ" เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา

จากการตรวจสอบข้อมูลในหนังสือฉบับนี้ สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org พบประเด็นที่น่าสนใจดังนี้ 

1. ในหนังสือฉบับนี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา อ้างถึงหนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0900/852 ลงวันที่ 23 มกราคม 2557 โดยระบุว่ากระทรวงการคลังได้ขอหารือความเห็นมายังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อขอหารือในเรื่องนี้ 

ขณะที่หนังสือตอบความเห็นทางกฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ส่งกลับไปถึงกระทรวงการคลัง ลงวันที่ 23 มกราคม 2557 เช่นกัน 

ชี้ให้เห็นว่า การพิจารณาความเห็นทางกฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ในเรื่องนี้ใช้เวลาในการพิจารณาไม่ถึง 1 วัน 

2. ในหนังสือตอบความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ระบุคำว่า "สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา" เป็นผู้ตอบความเห็น "มิใช่" คณะกรรมการกฤษฎีกาที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องใดเรื่องหนึ่งแต่อย่างใด 

เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2557 นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้สัมภาษณ์ ยืนยันสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ว่า การตอบข้อหารือเรื่องนี้ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาทำในนามสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

ส่วนการตอบความเห็นก็เป็นไปตามหลักการทางกฎหมายทั่วไป และตามข้อเท็จจริงที่ถามมา แต่การปฏิบัติเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) จะต้องไปดำเนินการให้อยู่ภายใต้กรอบกฎหมายอีกครั้ง 

ขณะที่ นายเฉลิมชัย วสีนนท์ อดีตอธิบดีกรมสรรพสามิต นิติกรกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง และอดีตรองประธานศาลปกครองสูงสุด ให้สัมภาษณ์ยืนยันสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ก่อนหน้านี้ ว่า คณะกรรมการกฤษฎีกาไม่ใช่องค์กรผู้ชี้ขาดตามกฎหมาย ฉะนั้นแม้จะเป็นความเห็นขององค์คณะ หรือที่ประชุมใหญ่กฤษฎีกาเลย ก็ไม่ใช่ประเด็นอยู่ดี

"การกู้เงินในโครงการรับจำนำข้าวขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 181 หรือไม่ อยู่ที่การพิจารณาหรือตีความบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ สมมติต่อไปมีผู้ไปยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ซึ่งเชื่อว่าสามารถยื่นได้เพราะปัญหาเกิดขึ้นแล้ว และศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการดำเนินการของรัฐบาลกระทำไม่ได้ อะไรจะเกิดขึ้น"

"ผมเคยเป็นกรรมการกฤษฎีกา เคยอยู่กรมบัญชีกลาง เคยเป็นอธิบดีกรมสรรพสามิต ทราบเรื่องนี้ดี ฉะนั้นความเห็นของกฤษฎีกาไม่ใช่ประเด็น ไม่ว่าจะเป็นความเห็นของตัวเลขาธิการเอง ความเห็นขององค์คณะ หรือแม้แต่ที่ประชุมใหญ่ก็ตาม ก็ลองย้อนดูว่ากี่เรื่องแล้วที่ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาพอไปถึงศาลแล้ว แพ้ เมื่อก่อนศาลไม่ค่อยกลับความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกานะ แต่เดี๋ยวนี้ตั้งใครเข้าไปบ้างก็ลองไปดูก็แล้วกัน ทำไมความเห็นถึงถูกกลับเป็นประจำ" 

ก่อนหน้านี้ สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ตรวจสอบพบว่า เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2557 ที่ผ่านมา นางสาวจุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ได้ทำบันทึกข้อความ ด่วนที่สุด เลขที่ กค 0900/192 ถึงรองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน เพื่อขอให้นำเรียนข้อสังเกตต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ต่อกรณีการค้ำประกันเงินกู้โครงการรับจำนำข้าวเปลือก (นาปี) ปีการผลิต 2556/2557 

โดยตั้งข้อสังเกตว่า การดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2557 สำหรับโครงการรับจำนำข้าวเปลือก (นาปี) ปีการผลิต2556/2557 ตามมติคณะรัฐมนตรีข้างต้น อาจถูกวินิจฉัยชี้ขาดโดยองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ ฯ ต่อไปได้ว่าการดำเนินการดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฯ มาตรา181(3) หรืออาจถูกฟ้องร้องดำเนินคดีได้ จึงเห็นควรนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาทบทวน หรือสั่งการยืนยันให้ดำเนินการดังกล่าวต่อไป

(อ่านประกอบ:เปิดหนังสือลับ "สบน."แย้ง “กิตติรัตน์” ดันทุรัง หาเงินกู้โปะจำนำข้าว)

อย่างไรก็ตาม นายกิตติรัตน์ ยืนยันความเห็นชัดเจนว่า 

".. การที่ กกต.ระบุว่าการดำเนินการตามมติ ครม.วันที่ 21 ม.ค.2557 ไม่เข้าข่ายการใช้จ่ายตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 181 (1) ,(2) และ (4) และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นว่าการดำเนินการตามมติครม.ดังกล่าว ไม่ขัดต่อมาตรา 181(3) ของรัฐธรรมนูญ

ในขณะที่กระทรวงการคลัง มีภารกิจที่ต้องดำเนินการตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 3 ก.ย.2556 และวันที่ 21 ม.ค.2557

จึงยืนยันให้ดำเนินการตามมติ ครม.วันที่ 21 ม.ค. 2557 ต่อไป.."

ส่วนเรื่องนี้ จะถูกหรือผิด สุดท้ายอาจจะต้องให้องค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ เป็นผู้ชี้ขาด อีกครั้ง ?


Edited by jerasak, 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 12:19.

== การเมืองคือมายา ข้าวปลาคือของจริง ==

#20 55555

55555

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 13,795 posts

ตอบ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 13:19

 

 

 

def.jpg

นำเสนอข่าวโดยทีมงาน Sanook.com

( 21 ม.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 10.00 น. นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง ได้เดินทางออกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ว่าวันนี้ตนได้ลงมติไว้กรณีข้อหารือของรัฐบาลเรื่องกรอบเงินกู้ 1.3 แสนล้านบาทเกี่ยวกับโครงการรับจำนำข้าวแล้ว ภายหลังได้รับฟังคำชี้แจงของนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯและรมว.คลัง เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา ทั้งนี้คิดว่าคงไม่ต้องขอเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม เนื่องจากได้ข้อมูลครบถ้วนแล้ว โดยจะมีการแถลงเวลา 17.00 น.

ล่าสุด นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แถลงว่า มติ กกต.ไม่มีอำนาจเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบการปรับเปลี่ยนกรอบวงเงินรับจำนำข้าวตามที่รัฐบาลเสนอ โดยกกต. พิจารณาแล้วไม่เข้าข่ายการใช้อำนาจตามรธน.181

ทั้งนี้ในส่วนที่รัฐบาลจะดำเนินการเอง ไม่ว่าจะเป็นโครงการเกี่ยวกับรถไฟ โครงการจำนำข้าว เห็นควรให้รัฐบาลใช้ดุลพินิจตัดสินใจและรับผิดชอบเอง

 

 

ไม่ได้หมายความว่าการกู้เงินไม่ผิด แต่ กกต. บอกให้ไปคิดเอง ถ้าผิดก็ติดคุกเอง กกต. ไม่เกี่ยว

 

:D 



#21 บุคคลทั่วไป

บุคคลทั่วไป

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,880 posts

ตอบ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 16:45

มิน่าธนาคารถึงบอกว่าไม่ชัดเจนไม่ให้กู้


ความพึงพอใจของคนโง่ คือ หายนะ

#22 DarkSwan

DarkSwan

    Reporter Activated

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,689 posts

ตอบ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 16:57

 

(อ่านประกอบ:เปิดหนังสือลับ "สบน."แย้ง “กิตติรัตน์” ดันทุรัง หาเงินกู้โปะจำนำข้าว)

อย่างไรก็ตาม นายกิตติรัตน์ ยืนยันความเห็นชัดเจนว่า 

".. การที่ กกต.ระบุว่าการดำเนินการตามมติ ครม.วันที่ 21 ม.ค.2557 ไม่เข้าข่ายการใช้จ่ายตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 181 (1) ,(2) และ (4) และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นว่าการดำเนินการตามมติครม.ดังกล่าว ไม่ขัดต่อมาตรา 181(3) ของรัฐธรรมนูญ

ในขณะที่กระทรวงการคลัง มีภารกิจที่ต้องดำเนินการตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 3 ก.ย.2556 และวันที่ 21 ม.ค.2557

จึงยืนยันให้ดำเนินการตามมติ ครม.วันที่ 21 ม.ค. 2557 ต่อไป.."

ส่วนเรื่องนี้ จะถูกหรือผิด สุดท้ายอาจจะต้องให้องค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ เป็นผู้ชี้ขาด อีกครั้ง ?

 

แล้วพอองค์กรที่มีอำนาจตามรัฐธรรมนูญ ออกมาชี้ขาดว่าผิด 

เราก็จะออกมาตั้งโต๊ะแถลงไม่ยอมรับอำนาจการตัดสินนั้นนะครั๊ฟฟฟ์

 

ยอมรับแค่ตัดสินให้เราถูกครัฟฟฟ์

พูดจริงไม่ไว้ลายเลยครัฟฟ์


ถ้าอยากได้ความเท่าเทียม

ก็ปีนป่ายขึ้นไปให้อยู่เทียบเท่ากับคนอื่นเค้า

อย่าได้กระชากฉุดให้คนอื่นเขาลงมาตกต่ำเท่ากับตน


#23 THE THIRD WAY

THE THIRD WAY

    มาหาความจริง

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,417 posts

ตอบ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 22:21

เป็นความรู้นะครับ

กฤษฎีกา ตีความมานานแล้วครับ

 

อำเภอ หมายถึง นายอำเภอ

จังหวัด หมายถึง ผู้ว่าราชการจังหวัด

 

เพราะฉนั้น หน่วยงานไหนออกหนังสือ

ให้หมายความว่าผู้รับผิดชอบคือหัวหน้าหน่วยงานนั้น

 

ผิดถูก คุก หรือรอลงอาญา ก็ไม่สนุกทั้งสองทาง

 

เกือบลืม กฤษฎีกา เป็นเพียงให้คำปรึกษาเท่านั้น

การตัดสินใจเป็นเรื่องของผู้มีอำนาจ

 

ผมเคยน้ำตาเล็ดหน้าจอ ไม่ต่ำกว่าสามครั้ง

เมื่อมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ หรือกรณีอื่น

อิโง่ บอกว่า

จะส่งเรื่องให้กฤษฎีกาดูก่อน

 

มันไม่รู้เรื่องเอี้ยอะำไรเลยจริงๆ


อยู่เฉยๆ แล้วบอกว่าเป็นกลางทีคนอื่นทำอีกอย่าง บอกว่าเอียง

#24 THE THIRD WAY

THE THIRD WAY

    มาหาความจริง

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,417 posts

ตอบ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 22:24

นึกถึงวันที่คนในตระกูล ณ ระนอง ขึ้นเวที

 

และประกาศตัดขาดจากไอ้นี่

ใจหายกับประเทศไทยครับ


อยู่เฉยๆ แล้วบอกว่าเป็นกลางทีคนอื่นทำอีกอย่าง บอกว่าเอียง




ผู้ใช้ 1 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 1 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน