Jump to content


Photo
- - - - -

ผลสอบจำนำข้าว ฉบับ สตง.! ยิ่งทำชาติยิ่งเสียหาย - "ยิ่งลักษณ์" ต้องยุติ!


  • Please log in to reply
6 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 ซุ่มเงียบ

ซุ่มเงียบ

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 798 posts

ตอบ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 10:24

ผลสอบจำนำข้าว ฉบับ สตง.! ยิ่งทำชาติยิ่งเสียหาย - "ยิ่งลักษณ์" ต้องยุติ!

 

BfcG0SLIEAIxUoM.jpg

 

"..การดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของรัฐบาลตั้งแต่ปีการผลิต 2554/55 เป็นต้นมา มีความเสี่ยงความไม่โปร่งใสและน่าเชื่อว่ามีการทุจริตสูง และยังมีผลการดำเนินงานขาดทุนจำนวนหลายแสนล้านบาท ..ทำให้เกิดความเสียหายต่องบประมาณแผ่นดินและเกษตรกรความเสี่ยงต่อระบบการคลังของประเทศ.."

 

ereruuuu.jpg

 

หมายเหตุ : เป็นรายละเอียดในหนังสือแจ้งผลการตรวจสอบโครงการรับจำนำข้าว ฉบับล่าสุด  ที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แจ้งไปถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐให้พิจารณา  เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2557  ที่ผ่านมา  หลังจากที่ก่อนหน้านี้ สตง. ได้ส่งรายงานผลการตรวจสอบไปให้พิจารณาแล้ว 3 ฉบับก่อนหน้าที่ 

 

----------

 

เรื่อง การตรวจสอบโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของรัฐบาล 

 

กราบเรียน นายกรัฐมนตรี

 

สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ได้ตรวจสอบการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของรัฐบาลตั้งแต่ ปีการผลิต 2554/55 เป็นต้นมา ซึ่งคณะรัฐมนตรี มีมติอนุมัติกรอบวงเงินทุนหมุนเวียนเพื่อดำเนินโครงการต้องไม่เกิน 500,000 ล้านบาท ประกอบกับการศึกษา วิเคราะห์จากผลการตรวจสอบการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2548/49 และ 2549/50 และโครงการประกันรายได้เกษตรกร ของปีการผลิต 2552/53 และ 2553/2554 ของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินที่ผ่านมา ข้อเสนอและความเห็นจากสถาบัน องค์กรต่างๆ เกี่ยวกับโครงการ ตลอดจนรายงานการปิดบัญชีโครงการของคณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าวเปลือกตามนโยบายรัฐบาล ซึ่งจากการตรวจสอบดังกล่าว สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน มีความเห็นและข้อเสนอแนะดังนี้

 

1. การดำเนินงานโครงการมีจุดอ่อนหรือความเสี่ยงในทุกขั้นตอนตั้งแต่การขึ้นทะเบียนเกษตรกรจนถึงการระบายข้าว ซึ่งเป็นช่องทางนำไปสู่การสวมสิทธิ์การจำนำและการทุจริตในโครงการ

 

จากการตรวจสอบที่ผ่านมา ทั้งโครงการรับจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2548/49 และ 2549/50 และโครงการประกันรายได้เกษตรกร ซึ่งมีการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเช่นเดียวกัน พบว่า การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวไม่ถูกต้อง เกินความเป็นจริง ก่อให้เกิดความเสี่ยงที่เป็นช่องทางนำไปสู่การสวมสิทธิ์เกษตรกรและการทุจริตได้ การตรวจสอบรับรองข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรไม่สามารถดำเนินการตรวจสอบได้อย่างทั่วถึง และการใช้การประชุมประชาคมเป็นเครื่องมือในการรับรองความถูกต้อง ความครบถ้วน ของข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิผล สำหรับผู้แทนเกษตรกรและตัวแทนข้าราชการซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ประจำจุดรับจำนำเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร รวมทั้งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานประจำจุดรับจำนำขององค์การคลังสินค้าและองค์การตลาดเพื่อเกษตรกรไม่สามารถทำหน้าที่ช่วยเหลือเกษตรกรให้ได้รับความเป็นธรรมทั้งด้วนคุณภาพข้าว (กรมข้าว) การหักลดความชื้นและสิ่งเจือปนเกินความเป็นจริง

 

เนื่องจากส่วนใหญ่ยังขาดความรู้หรือประสบการณ์เกี่ยวกับการตรวจสอบคุณภาพข้าว (กรมข้าว) ชนิดข้าวน้ำหนักข้าว นอกจากนี้ การจัดเก็บรักษาข้าวของโครงการเกิดการสูญหายหรือขาดบัญชี สำหรับการระบายข้าวตามโครงการดำเนินการได้น้อยและล่าช้ามาก ส่งผลทำให้ข้าวสารคุณภาพเสื่อม ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ได้สรุปประเด็นปัญหาและความเสี่ยงสำคัญที่พบจากการตรวจสอบการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกแจ้งให้นายกรัฐมนตรีเพื่อโปรดพิจารณาให้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาปรับปรุงการดำเนินงานโครงการ ตามหนังสือที่เคยแจ้งถึงนายกรัฐมนตรี มาแล้ว 3 ฉบับ

 

สำหรับการตรวจสอบโครงการรับจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2554/55 เป็นต้นมา สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ได้ติดตามขอข้อมูลผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ องค์การคลังสินค้า องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงการคลัง เกี่ยวกับผลการดำเนินงานการรับฝากข้าวเปลือก การออกใบประทวน การเก็บรักษาข้าวสาร การระบายข้าวตามโครงการ และผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อมูลปริมาณข้าวคงเหลือของโรงสี และโกดังกลางที่เข้าร่วมโครงการ ณ วันที่ 27 มิถุนายน 2556 รวมทั้งข้อมูลและรายงานผลการปิดบัญชีโครงการรับจำนำผลผลิตทางการเกษตรของคณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าวเปลือกตามนโยบายรัฐบาล

 

แต่ปรากฏว่าสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้รับข้อมูลดังกล่าวเพื่อประกอบการตรวจสอบตามอำนาจหน้าที่ล่าช้า และไม่ครบถ้วน เช่น ข้อมูลการระบายข้าวตามโครงการของกระทรวงพาณิชย์ และผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อมูลปริมาณข้าวคงเหลือของโรงสีและโกดังกลางที่เข้าร่วมโครงการ ณ วันที่ 27 มิถุนายน 2556

 

จากข้อมูลรายงานผลการปิดบัญชีโครงการฯ ซึ่งจัดส่งให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2557 คณะอนุกรรมการปิดบัญชีฯ ได้ให้ข้อสังเกตว่า องค์การคลังสินค้าและองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร มีการรายงานข้อมูลปริมาณข้าวสารคงเหลือในคลังสินค้าไม่ถูกต้องครบถ้วน ล่าช้าไม่เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด รวมทั้งมีการแก้ไขข้อมูลบ่อยคลัง ทำให้ไม่สามารถปิดบัญชีได้ทันเหตุการณ์ อีกทั้งยังมีการขอปรับเพิ่มปริมาณข้าวสารคงเหลือ ณ วันที่ 27 มิถุนายน 2556 จำนวนสูงมากถึง 2.98 ล้านตัน แต่ไม่สามารถตรวจสอบยืนยันความถูกต้องได้

 

นอกจากนี้ การระบายข้าวตามโครงการ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติแจ้งข้อกล่าวหากับผู้ที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากพบว่าการทำสัญญาซื้อขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) กับสาธารณรัฐประชาชนจีนนั้น ยังไม่มีข้อเท็จจริงใดๆ สนับสนุนว่าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจทั้งสองแห่ง ที่เข้ามาทำสัญญาซื้อขายแบบรัฐต่อรัฐได้รับมอบหมายจากสาธารณรัฐประชาชนจีน และไม่มีการส่งออกข้าวออกนอกราชอาณาจักรจริง

 

2.ผลกระทบจากการดำเนินโครงการก่อให้เกิดความเสียหายต่อเงินงบประมาณแผ่นดิน และเกษตรกร ความเสี่ยงต่อระบบการคลังของประเทศ และไม่เกิดการพัฒนาการผลิตข้าวอย่างยั่งยืน ดังนี้

 

2.1 การดำเนินโครงการมีผลขาดทุนจำนวนสูงมาก จากการรายงานผลการปิดบัญชีโครงการรับจำนำผลผลิตทางการเกษตรของรัฐบาล โดยคณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าวเลือกตามนโยบายรัฐบาล โดยพิจารณาจากผลการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555 และโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปี การผลิต 2555/56 (ครั้งที่ 1 ) พบว่า สิ้นสุด วันที่ 31 พฤษภาคม 2556 มีผลขาดทุนจำนวน 332,372.32 ล้านบาท และมีผลขาดทุนสูงกว่ายอดการปิดบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 มกราคม 2556 (ซึ่งมีผลขาดทุนจำนวน 220,968.78 ล้านบาท) จำนวนมากถึง 111,403.54 ล้านบาท ชี้ให้เห็นแนวโน้มผลการขาดทุนสูงขึ้น

 

ทั้งนี้หากดำเนินการระบายข้าวคงเหลือในคลังสินค้ากลางได้ต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี และล่าช้าจะส่งผลทำให้ข้าวเสื่อมคุณภาพและมีมูลค่าลดลง รวมทั้งยังมีค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาข้าวเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาเก็บรักษาไว้ เช่น ค่าเช่าคลังสินค้ากลาง ค่าใช้จ่ายรมยารักษาคุณภาพข้าว ทั้งนี้ ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2556 ตามรายงานผลการปิดบัญชีโครงการตั้งแต่ปี การผลิต 2554/55 จนถึงปีการผลิต 2555/56 (ครั้งที่ 1) มีปริมาณข้าวสารคงเหลือในคลังสินค้ากลางรวมจำนวน 13,001,470.58 ตัน ซึ่งจะส่งผลให้โครงการมีผลขาดทุนเป็นจำนวนมาก โดยรัฐบาลต้องรับผิดชอบผลขาดทุนที่เกิดขึ้นจากโครงการทั้งหมด รวมทั้งภาระเงินต้นและดอกเบี้ยจากเงินกู้

 

2.2 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จ่ายเงินให้แก่เกษตรกรที่นำใบประทวนสินค้ามาจำนำโครงการล่าช้าเพราะมีเงินทุนหมุนเวียนไม่เพียงพอ เนื่องจากรัฐบาลระบายข้าวล่าช้ามาก โดยพิจารณาจากผลการดำเนินการระบายข้าวตามแผนการระบายข้าวตามโครงการรับจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2554/55 และ 2555/56 จำนวน 220,415 ล้านบาท เพียงวันที่ 30 กันยายน 2556 พบว่า สามารถระบายข้าวได้จำนวน 128,373 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 58.24 ของแผนการระบายข้าว หากรัฐบาลยังไม่สามารถระบายข้าวเพื่อนำเงินมาใช้หมุนเวียนในโครงการอาจจะต้องกู้เงินเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้หนี้สาธารณะของประเทศเพิ่มสูงขึ้น ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อระบบการคลังของประเทศ รวมทั้งก่อให้เกิดผลกระทบและความเสียหายต่อเกษตรกรที่ยังไม่ได้รับเงินจากการจำนำข้าว

 

2.3 เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ได้รับประโยชน์จากโครงการรับจำนำข้าวเปลือกทุกเมล็ดส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรที่มีฐานะร่ำรวยและฐานะปานกลาง ทั้งที่การดำเนินโครงการต่างๆ ของภาครัฐเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรนั้น ควรให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรยากจนหรือมีรายได้น้อยเป็นลำดับแรก จากผลงานวิจัยของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) โดย ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร และคณะ พบว่า เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่เข้าร่วมโครงการทุกรายได้รับประโยชน์จากโครงการมีรายได้เพิ่มขึ้นจริง แต่ปรากฏว่าเกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่มีฐานะร่ำรวย (ร้อยละ 30 ของครัวเรือนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว) ได้รับประโยชน์จากโครงการร้อยละ 39 ของมูลค่าการจำนำ และเกษตรกรที่มีฐานะปานกลาง (ร้อยละ 40) ได้รับประโยชน์ร้อยละ 43 ขณะที่เกษตรกรที่มีฐานะยากจน (ร้อยละ 30) ได้รับประโยชน์เพียงร้อยละ 18

 

2.4 การดำเนินโครงการไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่แท้จริงของการผลิตข้าว และไม่ทำให้เกิดการพัฒนาการผลิตข้าวอย่างยั่งยืน ซึ่งปัญหาการผลิตข้าวที่แท้จริงคือ ปัญหาด้านการผลิตและด้านการตลาด โดยปัญหาด้านการผลิต ได้แก่ ประสิทธิภาพการผลิตต่ำ การขาดแคลนน้ำหรือปัญหาน้ำท่วม คุณภาพดิน ปัจจัยการผลิตไม่เพียงพอและราคาแพง การระบายของโรคและแมลง ทำให้ปริมาณผลผลิตข้าวเฉลี่ยต่อไร่ในอัตราที่ต่ำข้าวมีคุณภาพต่ำ และขายได้ในราคาถูก สำหรับปัญหาด้านการตลาด ได้แก่ การถูกกดราคารับซื้อ การปลอมปนข้าว ขาดมาตรฐานการรับซื้อโดยไม่ได้ซื้อตามขั้นคุณภาพ ทำให้เกษตรกรขาดแรงจูงใจในการปรับปรุงคุณภาพให้เป็นไปตามความต้องการของตลาด อีกทั้งนโยบายรับจำนำข้าวมีส่วนทำให้เกษตรกรไม่ให้ความสนใจกับการปรับปรุงคุณภาพข้าว

 

อีกทั้งผลงงานวิจัยของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) โดย ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร และคณะยังพบว่าการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ทุกเมล็ดส่งผลให้ระบบการค้าข้าวแบบแข่งขันของภาคเอกชนถูกทำลายและทดแทนด้วยระบบการค้าข้าวของรัฐ และเกิดการสูญเสียตลาดส่งออกข้าวของไทย เนื่องจากรัฐบาลไม่มีความสามารถในการขายข้าวเหมือนพ่อค้าส่งออก รวมทั้งเกิดการสูญเสียในคุณค่าข้าวไทย

 

จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่า การดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของรัฐบาลตั้งแต่ปีการผลิต 2554/55 เป็นต้นมา มีความเสี่ยงความไม่โปร่งใสและน่าเชื่อว่ามีการทุจริตสูง และยังมีผลการดำเนินงานขาดทุนจำนวนหลายแสนล้านบาท ซึ่งรัฐบาลต้องรับผิดชอบตั้งงบประมาณชดเชยผลการขาดทุนและภาระดอกเบี้ยเงินกู้ที่เกิดขึ้นจากโครงการทั้งหมด ทำให้เกิดความเสียหายต่องบประมาณแผ่นดินและเกษตรกรความเสี่ยงต่อระบบการคลังของประเทศ และขาดความยั่งยืนในการพัฒนาการผลิตข้าว อีกทั้งการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกถือเป็นนโยบายแทรกแซงตลาดและสร้างภาระต่อเนื่องให้รัฐบาลต้องจัดเก็บรักษาข้าวสารไว้ในคลังสินค้ากลางและกลายเป็นพ่อค้าขายข้าวแข่งขันกับเอกชน ซึ่งนำไปสู่ช่องทางการทุจริตในขั้นตอนดังกล่าวข้างต้น

 

เพื่อให้การดำเนินโครงการเพื่อช่วยเหลือหรือแก้ไขความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และตรงกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเงินงบประมาณแผ่นดิน สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน จึงมีข้อเสนอแนะขอให้นายกรัฐมนตรีในฐานะประธานกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติโปรดพิจารณาดำเนินการดังนี้

 

1. พิจารณาทบทวนและยุติการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกในฤดูกาลต่อไป โดยอาจพิจารณาใช้มาตรการหรือแนวทางการช่วยเหลือในลักษณะอื่นแทน เช่นการสนับสนุนปัจจัยการผลิต และให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรยากจนหรือมีรายได้น้อยเป็นลำดับแรก รวมทั้งให้มีการจัดทำฐานข้อมูลที่มีความครบถ้วน ถูกต้อง ครอบคลุมทุกกิจกรรมสำคัญที่ต้องดำเนินการและเป็นฐานข้อมูลเดียวกัน ในแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และมีกระบวนการติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติงานตามโครงการอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ทั้งในระดับจังหวัดและระดับภาพรวมของโครงการทั้งประเทศเพื่อสามารถนำไปสู่การวางแผนการดำเนินงานตามโครงการในระยะต่อไปให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

2. กรณีการจ่ายเงินจำนำตามโครงการล่าช้า ซึ่งส่งผลกระทบและความเสียหายต่อเกษตรกรให้พิจารณาจ่ายเงินจำนำตามโครงการให้แก่เกษตรกรที่ยังไม่ได้รับเงินจากโครงการให้เป็นไปตามกฎหมายระเบียบที่เกี่ยวข้องตลอดจน ขั้นตอนการดำเนินงานที่ถูกต้องครบถ้วน รวมทั้งกำหนดมาตรการเยียวยาเพื่อบรรเทาผลกระทบและความเสียหายให้แก่เกษตรกรดังกล่าวด้วย

 

3. การรายงานผลการดำเนินงานโครงการ พิจารณาเร่งรัดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรายงานผลการดำเนินงานให้คณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าวเปลือกตามนโยบายรัฐบาล เพื่อจัดทำรายงานปิดบัญชีและรายงานผลการดำเนินงานในทุกโครงการตั้งแต่ปีการผลิต 2547/48 เป็นต้นมา ส่งให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบและเผยแพร่ให้สาธารณชนทราบโดยเร็ว

 

4. เพื่อให้การบริหารจัดการข้าวตั้งแต่การผลิตไปจนถึงการจำหน่าย เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ควรให้ความสำคัญต่อการดำเนินการแก้ไขปัญหาการผลิตข้าวที่แท้จริง คือ ปัญหาด้านการผลิตและปัญหาด้านการตลาด ควบคู่ไปกับการดำเนินงานโครงการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวตามนโยบายของรัฐบาล โดยพิจารณาให้มีการบูรณาการแก้ไขปัญหาหารกผลิตข้าวอย่างเป็นระบบครบวงจรภายใต้กิจกรรมการส่งเสริมสนับสนุนของหน่วยงานรัฐ การยกระดับมาตรฐานคุณภาพการผลิตสินค้าข้าวไทยเป็นสินค้าที่มีคุณภาพสูงและส่งเสริมการพัฒนาตลาด การวิจัยมูลค่าเพิ่มของสินค้าข้าว

 

จึงกราบเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาสั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้พิจารณาดำเนินการตามข้อเสนอแนะของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินต่อไป

 

ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง

 

นางสาวประพีร์ อังกินันทน์

รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน

รักษาราชการแทน ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน

 

http://www.isranews....27008-sson.html



#2 ธีรเดชน้อย

ธีรเดชน้อย

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,659 posts

ตอบ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 10:33

รัฐบาลนี้จะยอมรับผลการตรวจสอบนี้หรือไม่ องค์กรอิสระเหล่านี้ น่าจะมีอำนาจควบคุมรัฐบาล

 

ได้มากกว่านี้นะครับ ปฎิรูปแล้วอยากให้องค์กรอิสระที่ตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชั่น มีเครื่องมือ

 

อำนาจ กำลังคนที่จัดการได้เด็ดขาดและรวดเร็วกว่านี้ 


" จุดเริ่มของการรัฐประหาร 22 พ.ค. 2557 หลังจากรัฐบาลเพื่อไทยได้บริหารประเทศล้มเหลวมาตลอด 2 ปีเศษ มีการทุจริตคอรัปชั่นมากมาย มีการนำพรบ.นิรโทษกรรมมาอนุมัติผ่านสภาฯเพื่อช่วยเหลือ น.ช. ทักษิณ ทำให้มวลมหาประชาชนลุกขึ้นประท้วงต่อต้าน แม้จนกระทั่ง ศาลรัฐธรรมนูญและปปช. ได้ตัดสินและชี้มูลความผิดจนต้องพ้นออกจากตำแหน่งแล้วก็ตาม ทำให้ประเทศชาติต้องหยุดนิ่ง สุดท้ายเมื่อ พลเอก ประยุทธ ผบ.ทบ.ได้เรียกทุกฝ่ายเข้ามาคุยเพื่อหาทางออกแล้ว โดยขอให้ ครม.ที่ยังคงเหลือลาออกเพื่อตั้งนายกฯเพื่อการปฎิรูปประเทศ แต่ไร้ซึ่งการตอบสนองและการเสียสละ ทำให้พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา จำเป็นต้องประกาศยึดอำนาจ   "

 

 


#3 ช่อมัลลิกา

ช่อมัลลิกา

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,773 posts

ตอบ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 10:41

รบ ยิ่งลักษณ์ ไม่ยุติหรอกค่ะ

หน้าด้านออกจะตาย...คนมาชุมนุม ขับไล่ มืดฟ้ามัวดิน  เธอก็ไม่รู้สึก

 

เธอก็แค่หุ่นยนต์ กดปุ่มปุ๊บพูดแบบเดิมๆตลอด

"ดิฉันมาจากการเลือกตั้งคะ เราต้องรักษากติกา ปกป้องประชาธิปไตยค่ะ

ถ้าเราไม่รักษา เราจะอยู่กันได้ไงหล่ะค่ะ"

 

ง่ายๆกำลังสื่อว่า รบ ดิฉันคอร์รัปชั่น โกง เงินจำนำข้าวยังไง ก็ไม่ผิดค่ะ

เพราะดิฉันมาจากการเลือกตั้ง มาจากระบบประชาธิปไตยนะคะ



#4 Manners

Manners

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 623 posts

ตอบ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 10:41

เห็นนามสกุลแล้วกลัวใจ



#5 ซุ่มเงียบ

ซุ่มเงียบ

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 798 posts

ตอบ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 11:00

เห็นนามสกุลแล้วกลัวใจ

 

4(578).jpg

ประพีร์ อังกินันทน์

000...หลังมีข้าราชการทยอยออกมาร่วมสนับสนุนการชุมนุมขับไล่รัฐบาลและระบอบทักษิณ“ครูหยุย”วัลลภ ตังคณานุรักษ์ เลขาธิการมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก ที่ออกมาร่วมชุมนุมอดไม่ได้ที่จะพูดถึง”ความกล้าหาญทางจริยธรรม...ข้าราชการไทย ถือเป็นหลักในการ รับใช้ประชาชนและประเทศชาติมาช้านาน..การเมืองที่ผ่านมาได้แทรกซึมทำลายระบบนี้มาตลอด ด้วยการโยกย้ายตำแหน่งคนของตนขึ้นตำแหน่งที่สูงขึ้นและหากินกับการซื้อขายตำแหน่งอย่างมากมาย จนศักดิ์ศรีข้าราชการตกต่ำอย่างมาก...ครั้นเมื่อมีการประท้วงขึ้น ข้าราชการในตำแหน่งสูง ที่ส่วนใหญ่ได้ดิบได้ดี เพราะรัฐบาลชุดนี้ จึงพยายามช่วยรัฐบาลต่อต้าน ที่พอมีสำนึกดีหน่อยก็เงียบเฉย ที่มีความกล้าหาญทางจริยธรรมในการต่อสู้สิ่งผิดก็เริ่มจะลุกขึ้นประกาศตนออกมา...จุดเริ่มน่าชื่นชมจาก”ปลัดสาธารณสุข”ที่เริ่มกระตุ้นสำนึกที่ดีงามและความกล้าของเหล่าข้าราชการมากขึ้น กระทั่งเริ่มเป็นกระแสลมที่รุนแรงขึ้นแล้ว จากหนึ่งเป็นสอง ละเรื่อยมาเป็นพัน หมื่น แสน..ออกมาครับเหล่าข้าราชการ ลุกขึ้นเพื่อแผ่นดินและอนาคตของลูกหลานไทย. เวลาแห่งการปลดโซ่ตรวนของความเป็นทาสการโกง มาถึงแล้ว...แต่เรื่องนี้“ประพีร์ อังกินันทน์“รักษาการ ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นผู้เริ่มทำจดหมายเป็นรายแรกให้ กกต.เลื่อนการเลือกตั้ง เพราะจะสูญเสียงบแผ่นดินมหาศาล...แล้วตอนนี้ผลเป็นอย่างที่คาดการณ์แล้ววุ่นวายมากกว่าทุกครั้ง....000

 

ไม่ทราบว่าเป็นสายไหนของอังกินันทน์ แต่เท่าที่เป็นข่าวก็ถือว่าเป็นข้าราชการที่ใช้ได้คนหนึ่ง



#6 เสือน้อย

เสือน้อย

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,990 posts

ตอบ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 11:01

ประเทศชาติเสียหายหนัก ยึดทรัพย์ทั้ง ครม. ก็คงไม่พอใช้

แต่มันต้องมีคนรับผิดชอบต่อการกระทำที่ทำให้ประเทศเสียหาย

ไม่งั้นนักการเมือง/ข้าราชการที่ร่วมกระทำ ก็ไม่เข็ด


-- อรุณสวัสดิ์ทุกท่าน -- http://www.Arunsawat.com

#7 sanskrit_shower

sanskrit_shower

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,741 posts

ตอบ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 11:09

ชิบหายไม่เป็นไร  เพราะหนูมาจากการเลือกตั้งค่ะ






ผู้ใช้ 2 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 2 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน