Jump to content


Photo
- - - - -

ธีระชัยเตือนผจก.ออมสินให้ธกส.กู้ มีพิรุธกลบเกลื่อนวัตถุประสงค์จริง เป็นนิติกรรมอำพราง เตือน"ควรเตรียมทนายไว้เลย"


  • Please log in to reply
4 replies to this topic

#1 ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

    หน้าตาดี มีอุดมการณ์

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 21,670 posts

Posted 14 February 2014 - 11:58

http://www.manager.c...D=9570000017819

557000001844201.JPEG

รบ.ปูสั่ง “ธกส.-ออมสิน” ซิกแซกอุ้มจำนำข้าว “ธีระชัย” ชี้เสี่ยงเข้าข่ายซื้อเสียงชาวนา

 วันนี้ (14 ก.พ.) นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และประธานกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้โพสต์ความเห็นหลายชิ้นเกี่ยวกับความพยายามในการหาช่องทางหลีกเลี่ยงกฎหมายของรัฐบาลรักษาการ น.ส.ยิ่งลักษณ์เพื่อแก้ปัญหาการผิดนัดชำระค่าข้าวให้กับชาวนาในโครงการจำนำข้าวมูลค่ากว่า 1.3 แสนล้านบาท ผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ก Thirachai Phuvanatnaranubala
       
       • เลี่ยงออก “หนังสือกล่อมใจ” ชี้เสี่ยงผิด 181(4) 
       
        ช่วงกลางดึกที่ผ่านมา นายธีระชัยได้ให้แสดงความเห็นต่อกรณีที่ มีข่าวว่ารัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ โดยนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้สั่งการให้ ธกส. กู้เงินจากธนาคารออมสิน โดยการออก “หนังสือกล่อมใจ (Letter of Comfort)” โดยนายธีระชัยระบุว่า การกระทำดังกล่าวถือว่าเป็นการพลิกแพลงอย่างมาก เนื่องจากโดยปกติหากมีการสั่งการให้มีการกู้และปล่อยกู้เช่นนี้ ธนาคารทั้งสองแห่งจะต้องให้กระทรวงการคลังออกหนังสือค้ำประกัน รวมถึงคณะรัฐมนตรีต้องอนุมัติด้วย แต่การออกหนังสือกล่อมใจนั้นไม่ได้เป็นการผูกมัด เพราะถ้าเป็นการผูกมัดก็จะถือเป็นการผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 181(3) ซึ่งถ้าไม่เป็นการผูกมัดก็หมายความว่าไม่เกิดการบังคับการค้ำประกันจริงๆ และภาระจะตกอยู่กับผู้บริหารของ ธกส. และ ออมสิน เนื่องจากสุ่มเสี่ยงว่าจะมีการกระทำผิดกฎหมาย มาตรา 181(4)
       
        ทั้งนี้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 181 ซึ่งระบุถึงอำนาจหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีรักษาการ ใน มาตรา 181 (4) ระบุไว้ว่า "ไม่ใช้ทรัพยากรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐ เพื่อกระทำการใดซึ่งจะมีผลต่อการเลือกตั้ง และไม่กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามระเบียบที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด"
       
       “ถ้าออกแนวนี้ รัฐมนตรีคลังก็จะผลักภาระไปให้บอร์ดสองธนาคารเต็มๆ แต่ที่หนักกว่า ก็คือทั้งรัฐมนตรี ข้าราชการคลัง และผู้บริหารของสองธนาคาร น่าจะผิดมาตรา 181 (4) อย่างชัดเจน เพราะเป็นการใช้ทรัพยากรของรัฐ ทำให้มีผลต่อการเลือกตั้ง ที่ยังไม่จบสมบูรณ์ ที่ปรึกษากฎหมายคลังควรเช็คให้ดีก่อน ว่าชาวนาที่ค้างใบประทวน และบุคคลในครอบครัว รวมไปถึงผู้ที่เกี่ยวข้องในขบวนการจำนำข้าวทั้งหมด เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งหรือไม่” นายธีระชัยระบุ

 

โดยข้อความฉบับเต็มที่นายธีระชัยโพสต์เมื่อช่วงกลางดึกมีดังนี้
       
        “ผู้อ่านแจ้งว่ามีข่าว รัฐมนตรีคลังจะให้ ธกส. กู้ ธ.ออมสิน เพื่อจ่ายชาวนา โดยจะออก letter of comfort ให้ทั้งสองธนาคารหากเป็นจริง ผมต้องชมเชย ว่าพยายามพลิกแพลงอย่างมาก
       ปกติสองธนาคารจะต้องให้กระทรวงการคลัง ออกหนังสือค้ำประกัน และ ครม. ต้องอนุมัติด้วย
       แต่ขณะนี้ หาก ครม” อนุมัติการค้ำประกัน ก็จะผิดมาตรา 181 (3) จังๆ จึงเลี่ยงไปออกเป็น Letter of comfort
       Letter of comfort เป็นหนังสือกล่อมใจ เป็นการแสดงความประสงค์ที่กระทรวงการคลัง อยากจะค้ำประกัน แต่ยังไม่สามารถทำได้ ก็จะพูดให้กำลังใจไว้ก่อน เอาไว้เมื่อพ้นสภาพรักษาการ ก็ค่อยออกหนังสือค้ำประกันจริงๆ ภายหลัง

       หนังสือนี้ ถ้าผูกมัดได้จริง ครม. ก็จะผิดกฎหมาย
       แต่ถ้าไม่ผูกมัด ก็จะไม่มีผลที่สองธนาคารจะบังคับการค้ำประกันให้เกิดขึ้นได้จริงๆ
       ดังนั้น ถ้าออกแนวนี้ รัฐมนตรีคลังก็จะผลักภาระไปให้บอร์ดสองธนาคารเต็มๆ

       แต่ที่หนักกว่า ก็คือทั้งรัฐมนตรี ข้าราชการคลัง และผู้บริหารของสองธนาคาร น่าจะผิดมาตรา 181 (4) อย่างชัดเจน เพราะเป็นการใช้ทรัพยากรของรัฐ ทำให้มีผลต่อการเลือกตั้งที่ยังไม่จบสมบูรณ์

 

       ที่ปรึกษากฎหมายคลัง ควรเช็คให้ดีก่อน ว่าชาวนาที่ค้างใบประทวน และบุคคลในครอบครัว รวมไปถึงผู้ที่เกี่ยวข้องในขบวนการจำนำข้าวทั้งหมด เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งหรือไม่ และการให้กู้โดยวิธีใช้ Letter of comfort ที่ผ่านมาในโครงการจำนำข้าว เคยใช้กันเป็นปกติหรือไม่

 

       หากไม่เคยใช้วิธีนี้มาก่อนเลย แม้แต่ครั้งเดียว แล้ววันนี้ มาทำกันแบบแปลกแหวกแนว จะทำให้เป็นข้อพิรุธ ว่าเป็นการพยายามทำเพื่อให้พรรคร่วมรัฐบาล ได้เปรียบในการเลือกตั้งที่เหลืออยู่หรือไม่
       ถ้าข้าราชการและผู้บริหารธนาคารไม่เห็นด้วย ผมว่าท่านควรทำหนังสือให้รัฐมนตรีคลังเขาสั่งการ เพื่อให้เขารับผิดชอบคนเดียว”
       
        ต่อมาในช่วงเช้าวันนี้ (14) นายธีระชัยได้โพสต์ภาพเป็นข่าวจาก นสพ.มติชน พร้อมระบุว่า
       
        “ข่าวมติชนเช้านี้ รมว คลัง บอกว่า จะเริ่มจ่ายชาวนาตั้งแต่วันจันทร์ที่ 17 (หวังว่าคงไม่เบี้ยวอีกเหมือนเดิมนะครับ)
       รมช.เบญจา (หลุยเจริญ) บอกว่า รัฐบาลจะกู้เงินจาก ธกส.

 

       กรณีนี้ หากใช้จดหมายคอมฟอร์ต แทนจดหมายค้ำประกันตามที่เคยดำเนินการมาทุกครั้ง จะเป็นการพลิกแพลง หาทางไม่ให้ผิด 181 (3) และ รมว คลัง ก็ต้องร่างถ้อยคำ ให้ไม่มีผลบังคับทางกฎหมาย มิฉะนั้น รมว.คลัง และ ครม. จะรับผิดชอบ และมติ ครม คงจะมีข้อความขมวดท้ายเหมือนในอดีต ให้ผู้ดำเนินการตามมติ ต้องทำให้ถูกกฎหมาย

 

       แต่เนื่องจากจดหมายดังกล่าว ไม่มีผลบังคับทางนิตินัย เป็นแต่การให้กำลังใจ ธกส. และ ธ.ออมสิน จึงจะต้องรับความเสี่ยงเองฝ่ายเดียว

 

       แต่ถึงแม้จะเลี่ยง 181 (3) พ้น ยังมีความผิด 181 (4) ซึ่งใช้บังคับแก่ข้าราชการคลัง และผู้บริหารธนาคารรัฐทั้งสองโดยตรง และการกู้โดยใช้จดหมายคอมฟอร์ตนี้ ไม่เคยใช้สำหรับการจำนำข้าวมาก่อน (ที่จริง ผมคิดว่าไม่เคยมีการใช้ในกรณีอื่นใดมาก่อนด้วยกระมัง)

 

       ที่ผ่านมา เมื่อรัฐบาลกู้ ก็จะทำการค้ำประกันอย่างโปร่งใส ตรงไปตรงมาทุกครั้ง
       มาครั้งนี้ การที่ รมว คลัง เปลี่ยนวิธีจากปกติ ไปเป็นไม่ปกติ กระทำอย่างรีบร้อนในช่วงเลือกตั้ง จึงสุ่มเสี่ยงเป็นข้อพิรุธ ความพยายาม เจตนาจะให้มีผลต่อการเลือกตั้ง

 

       ถ้าต่อไป ศาลตัดสินว่า รมว.คลังผิด ข้าราชการคลัง ก็ต้องร่วมรับผิดด้วย รวมถึงผู้บริหารสองธนาคารรัฐ ในความผิดอาญา และเมื่อศาลตัดสินนั้น หากมีผู้ร้อง ว่าทั้งสองธนาคาร และผู้บริหาร เมื่อได้ทราบการเตือนความผิดแล้ว ยังเข้าไปเป็นผู้สนับสนุนการทำความผิด จึงเรียกร้องให้รัฐบาลใหม่ ต้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่ง จากสองธนาคาร และจากผู้บริหารอีกด้วย ก็จะยิ่งทำให้สองธนาคารเสียหาย และต้องไปฟ้องร้องผู้บริหารซ้ำสอง รวมทั้งอาจทำให้การชำระหนี้คืนล่าช้า

 

       กรณีนี้ ผมจึงคิดว่าสหภาพของสองธนาคาร น่าจะไม่เห็นด้วยง่ายๆ ควรแนะนำผู้บริหาร ให้กำหนดเงื่อนใขบางอย่าง เพื่อป้องกันสองธนาคาร แต่ผมเองรู้จักผู้จัดการสองธนาคารนี้ดี ผมคิดว่าเขาระมัดระวังตัวพอสมควร

 

       จึงยังไม่อยากให้ชาวนาตั้งความหวังรอคอยมากเกินไป ชาวนาจึงควรยังเน้นการเรียกร้องต่อไป จนกว่าจะเห็นว่ารัฐบาลทำตามที่พูดได้จริงหรือไม่เสียก่อนครับ”

       
       • เตือน “วรวิทย์” ปล่อยกู้คราวนี้เตรียมทนายไว้ด้วย
       
       จากนั้นนายธีระชัย อดีต รมว.คลังยังโพสต์ข้อความต่อเนื่อง โดยอ้างจากข่าวของ นสพ.กรุงเทพธุรกิจที่ระบุถึงคำให้สัมภาษณ์ของ นายวรวิทย์ ชัยลิมปมนตรี ผู้อำนวยการธนาคารออมสินว่า นายวรวิทย์ให้สัมภาษณ์ว่า ธนาคารออมสินจะให้ ธกส.กู้ตามระบบการกู้ยืมระหว่างธนาคาร (อินเตอร์แบงก์) โดยไม่ทราบว่า ธกส.จะนำเงินไปใช้ในเรื่องอะไร ทว่า กลับแสดงข้อพิรุธเนื่องจากรัฐมนตรีการะทรวงการคลังกลับนัดผู้บริหารของสองธนาคารมาประชุม ทั้งยังมีการออกหนังสือกล่อมใจ (Letter of Comfort) เป็นหลักฐานให้กับสองธนาคารด้วย ด้วยเหตุนี้ตนจึงรู้สึกเป็นห่วงนายวรวิทย์ ผอ.ออมสิน และอยากให้ปรึกษาทนายให้ดี
       
        “ผมประเมินคุณวรวิทย์ ชัยลิมปมนตรี ผจก ธ.ออมสิน ผิดเสียแล้วครับ
       ข่าว กรุงเทพธุรกิจ วันนี้ คุณวรวิทย์ บอกว่าออมสินจะให้กู้ ธกส. แบบอินเตอร์แบงก์ตามปกติ ส่วนเงินกู้ดังกล่าว ธกส. จะนำไปใช้เรื่องจำนำข้าวหรือไม่ ตนไม่ทราบ

       ข่าว นสพ หลายฉบับวันนี้ ทำให้คุณวรวิทย์ทราบแล้วล่ะครับ โดยเฉพาะ รมช.เบญจา พูดชัด ว่ารัฐบาลจะกู้เงิน ธกส. เพื่อโครงการนี้ และหากเป็นการให้กู้อินเตอร์แบงก์ตามปกติ ทำไมต้องมีรัฐมนตรีคลัง นัดมาประชุมร่วมกัน

       เวลาแบงก์เขากู้อินเตอร์แบงก์กันนั้น ผู้ติดต่อกันระหว่างแบงก์ คือเจ้าหน้าที่บริหารเงิน ในห้องค้าเงินของแต่ละแบงก์ครับ
       พวกบริหารเงินนั้น เขาติดต่อกันทางโทรศัพท์ หรือจอรอยเตอร์ ไม่เคยมีการนัดคุยกันต่อหน้าด้วยซ้ำ
       ที่สำคัญคือ ไม่เคยมีการเจรจาตกลงกันผ่านรัฐมนตรีคลังแม้แต่ครั้งเดียว ในประวัติศาสตร์การธนาคารของไทย ทั่วโลก เขาก็ทำกันอย่างนี้ การกู้อินเตอร์แบงก์ในครรลองปกตินั้น ไม่มีประเทศใด เคยมีการนัดพูดกันระหว่างสองแบงก์ ผ่านรัฐมนตรีคลัง
       และการกู้อินเตอร์แบงก์ในครรลองปกตินั้น ไม่มีประเทศใด เคยมีกระทรวงการคลังออกหนังสือรับรู้การกู้ดังกล่าว ใดๆ ทั้งสิ้น

 

       หาก ธ.ออมสิน เกิดจะเห็นว่า ธกส. มีฐานะเข้มแข็ง ทำไมต้องมีจดหมายคอมฟอร์ต จากกระทรวงการคลังล่ะครับ
       กรณีนี้ จึงเป็นการแสดงพิรุธ กลบเกลื่อนวัตถุประสงค์จริง เป็นนิติกรรมอำพราง เจตนาเพื่อให้มีผลต่อการเลือกตั้ง มากกว่าการทำธุรกิจอินเตอร์แบงก์แบบตรงไปตรงมา

       ผมรู้จักคุณวรวิทย์ดี ผมเห็นว่าเป็นคนหนุ่มที่มีอนาคต จึงอดจะเป็นห่วงแทนไม่ได้
       คุณวรวิทย์จึงควรจะปรึกษาทนายความ เตรียมไว้ให้ดีนะครับ” 

 

 

นายธีระชัยกล่าวทิ้งท้าย

 


Edited by ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่, 14 February 2014 - 12:01.

gladiator 1.jpg

 

 

 

 

 

 


#2 ตี๋เล็ก

ตี๋เล็ก

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 291 posts

Posted 14 February 2014 - 12:04

ความคิดส่วนตัว. ไม่ต้องเตือนไม่ต้องไปขวางเส้นทางเงินเพื่อให้ชาวนา
ขอให้เงินไปถึงมือชาวนาเป็นใช้ได้
แล้วค่อยเช็คบิลทีหลัง
ริปทรัพย์คงไม่พอ ต้องติดคุกใช้หนี้อีก ล้านปี

#3 idecon

idecon

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,580 posts

Posted 14 February 2014 - 12:22

ชาวนาได้เงิน
กลับบ้านไปปลูกข้าว
เอาเข้าโครงการจำนำ
อิปรู นรก ก็ผลาญภาษีต่อไปอีก
ชาติย่อยยับ
ประเทศไม่ได้อะไร

#4 Bookmarks

Bookmarks

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 33,617 posts

Posted 14 February 2014 - 15:47

 ปี 44 ในสมัยรัฐบาลทักษิณ ระหว่างเมษายน 2544 - ตุลาคม 2545 วรวิทย์ ข้ามฟากไปนั่งเก้าอี้ “ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์” โดยมี ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ เป็นรมช.เกษตรฯ
       
       และควบเก้าอี้ที่ปรึกษา รมช.คลัง ในระหว่าง เดือนเมษายน 2544 - มีนาคม 2548 ซึ่งมี ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ ทำหน้าที่ รมช.คลัง รวมทั้งยังเป็น กรรมการและอนุกรรมการบริหาร, ประธานคณะอนุกรรมการกฎหมายและติดตามหนี้สิน องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) ในระหว่าง สิงหาคม 2544 - กันยายน 2546 
       
       ช่วงทำหน้าที่นี้ที่ปรึกษา รมช.คลัง ซึ่งถือกันว่าเป็นตำแหน่งทางการเมืองที่ได้รับความไว้วางใจจาก เสมือนหนึ่งตัวแทนรัฐมนตรี เพื่อบริหารงานภายในรัฐวิสาหกิจ
       
       ดังนั้น วรวิทย์วัย 32 จึงกลายเป็น บอร์ดธนาคารออมสิน ในระหว่างเดือนตุลาคม 2544 - เมษายน 2548  
       
       ทำหน้าที่ทั้ง กรรมการและกรรมการบริหาร, ประธานคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง รองประธานคณะกรรมการมูลนิธิออมสินเพื่อสังคม ธนาคารออมสิน
       
       จนกระทั่งเมื่อครบวาระ 4 ปี จึงสมัครเป็นพนักงานธนาคารออมสิน ในตำแหน่ง รองผู้อำนวยการธนาคารออมสินอาวุโส หัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านการเงิน (Chief Financial Officer) ประธานคณะกรรมการบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2548
 
นับจากอาชีพเจ้าหน้าที่สินเชื่อคนหนึ่ง จนก้าวพรวดพราดไปสู่ถนนการเมือง ก่อนจะย้อนกลับมาเป็น “กรรมการธนาคาร” แล้วจึงสมัครเข้าทำงานในระดับบริหารของธนาคารในตำแหน่ง “เอ็มดี”
       
       ดูเหมือนว่า เส้นทางของเด็กเส้นทางการเมือง มักมี “ทางลัด” ให้นั่งเก้าอี้ใหญ่เสมอ
 


#5 55555

55555

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 13,795 posts

Posted 14 February 2014 - 16:41

ออกที่แท้ รัฐบาลมันขี้เยี่ยวไม่สะดวก เลยต้องใช้ comfort

 

:lol: 






1 user(s) are reading this topic

0 members, 1 guests, 0 anonymous users