Jump to content


Photo
- - - - -

รามเกียรติกับมหาภารตะยุทธ มาดู "นักเขียนลิเบอร่าน" ตีความ 2 เรื่องนี้อย่างน่าขันกันครับ


  • Please log in to reply
13 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

    หน้าตาดี มีอุดมการณ์

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 21,670 posts

ตอบ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 20:36


http://www.oknation....4/02/27/entry-1

Posted by insanetheater 

 

เวิ้งวิภาษ หนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน ฉบับประจำวันศุกร์ที่ 10 มกราคม 2556

อติภพ ภัทรเดชไพศาล

 

มหากาพย์รามายณะ กับ มหาภารตะยุทธ์ นั้นมีต้นกำเนิดจากแหล่งเดียวกัน คืออินเดีย แต่ถูกสร้างขึ้นตามความเชื่อที่ต่างนิกายกัน

 

ขณะที่มหาภารตะนับถือร่างอวตารของพระนารายณ์เป็นพระกฤษณะ

ในรามายณะกลับนับถือร่างอวตารในรูปของพระราม

 

ในสังคมไทย ดูเหมือนเราจะมุ่งศึกษาแต่เรื่องรามายณะ หรือ รามเกียรติ์ เป็นหลัก โดยน้อยนักที่จะมีการกล่าวถึงเรื่องมหาภารตะ

 

เคยมีคนตั้งข้อสังเกตว่า ที่สังคมไทยชื่นชอบเรื่องรามเกียรติ์มากเป็นพิเศษ จนหลงลืมเรื่องมหาภารตะไปโดยสิ้นเชิงนั้น เกิดจากการที่สังคมไทยเป็นสังคมที่นิยมเรื่องเล่าแบบดำ-ขาว

แสดงถึงความดีความชั่วที่ตัดกันอย่างสุดขั้ว

 

โดยมีพระรามเป็นเครื่องหมายถึงความดีสูงสุด และทศกัณฑ์เป็นเครื่องหมายของความเลวทรามต่ำช้าอย่างไม่อาจหาใดเปรียบ

สอดคล้องกับคำวิจารณ์ของเขมานันทะ ที่ว่า

“พระรามเป็นแบบฉบับบุคคลในอุดมคติ คือเป็นพระเจ้า เป็นสามีที่เลิศที่สุดของภรรยาคือนางสีดา เป็นพี่ชายที่ดีที่สุดของน้องคือพระลักษมณ์ เป็นคนที่ทรงสัตย์ที่สุด รับคำของพ่อไว้แล้ว แม้พ่อตายแล้วยังปฏิบัติต่อ”

(เขมานันทะ, เค้าขวัญวรรณกรรม)

 

ขณะที่มหาภารตะ เป็นเรื่องราวการฆ่าฟันกันเองของญาติพี่น้องสองฝ่าย คือฝ่ายเการพและปาณฑพ ที่ต่างฝ่ายต่างอ้างความชอบธรรมของตนเอง 

 

โดยเนื้อหาในเรื่องยังมีประเด็นที่แปลกและแหวกขนบอย่างยิ่ง เช่น ในกรณีที่พี่น้องปาณฑพทั้งห้า มีเมียเป็นผู้หญิงคนเดียวกัน คือนางเทราปที

 

เป็นไปได้อย่างไรที่ผู้หญิงคนเดียวจะมีสามีถึงห้าคน สิ่งนี้ช่างขัดแย้งกับศีลธรรมและสามัญสำนึกอย่างโจ่งแจ้ง แต่ฝ่ายปาณฑพนั้นเป็นฝ่ายตัวเอก เป็นฝ่ายดีในเรื่อง จะเป็นไปได้อย่างไรที่ฝ่ายดีจะกระทำในเรื่องผิดศีลธรรมเช่นนี้

 

เรื่องแปลกๆ เช่นนี้มักถูกมองว่าเป็นปริศนาธรรม และต้องการการตีความในระดับลึก

ศีลธรรมจึงเป็นสิ่งที่ถูกท้าทายและตั้งคำถามในมหากาพย์เรื่องนี้อย่างถึงที่สุด

 

นอกจากนั้น การพิฆาตฆ่าฟันญาติพี่น้องตนเอง ก็ยังแสดงให้เห็นถึงความบิดเบี้ยวของ “ศีลธรรม” ความเจ็บปวดใจของอรชุนในการเข้าสู่สนามรบ จึงจำเป็นต้องได้รับการคลี่คลายโดย “ภควัตคีตา” ของพระกฤษณะ

อันเป็นกถาที่เต็มไปถ้อยคำเชิงปรัชญาขั้นสูง ที่ไม่ใช่ว่าจะอ่านเข้าใจกันง่ายๆ

 

ยิ่งในตอนจบของเรื่อง เมื่อตัวเอก ยุธิษฐิระ ได้ขึ้นสวรรค์ เข้าเฝ้าพระกฤษณะ เขากลับพบว่าคนอื่นๆ ล้วนอยู่บนสวรรค์กันหมดแล้ว ซึ่งรวมถึงฝ่ายศัตรูหรือตัวโกงที่ถูกเขาฆ่าตายในทุ่งกุรุเกษตรไปแล้วด้วย

อันแสดงให้เห็นถึงมายาภาพของความเป็นตัวเอก-ตัวโกง ที่ไม่มีอยู่จริง 

 

แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเราทั้งหมดทั้งมวล ล้วนเป็นหนึ่งเดียวกัน และความชั่ว-ความดีก็ไม่ใช่อะไรอื่นนอกจากภาพลวงตาเท่านั้น

 

นี่แหละ ที่ทำให้สังคมไทยไม่ต้องตาต้องใจกับมหาภารตะ แต่กลับไปถูกใจกับรามเกียรติ์ เพราะเนื้อเรื่องที่ง่ายๆ ทื่อๆ ตรงไปตรงมา ถ้าไม่ชั่วก็คือดี ถ้าไม่ดีก็คือชั่ว

 

ในช่วงเดือนที่ผ่านมา ผมรู้สึกว่าพล็อตเรื่องง่ายๆ ทื่อๆ นี้ กำลังถูกผลักดัน หรือถูกนำมาโกหกว่าเป็นความจริงเพียงหนึ่งเดียวในสังคมไทย

 

เมื่อข้างหนึ่ง ทำการชี้หน้ากล่าวหาอีกข้างหนึ่ง ว่าโกง ว่าเป็นเผด็จการ หาว่าต้นเหตุของความเลวร้ายของสังคมไทยมีต้นเหตุมาจากทักษิณและระบอบทักษิณที่ชั่วช้าสามานย์อย่างสุดขั้ว

 

และขณะที่อ้างว่าตนเองเป็น “คนดี” ก็เที่ยวกล่าวหาชี้หน้าชาวบ้านที่ไม่เห็นด้วยกับตัวเองว่า “โกง” บ้าง เป็น “ขี้ข้าทักษิณ” บ้าง

 

การไม่เคารพความเห็นต่าง และอวดอ้างว่าฝ่ายตนเท่านั้น ที่เป็น “คนดี นอกจากจะนำไปสู่การดูหมิ่นเหยียดหยามผู้ที่คิดต่างว่าเป็น “คนไม่ดี” แล้ว ยังต้องนับว่าเป็นการ “โกหก” นำเรื่องไม่จริงมาพูดอย่างน่าละอายใจเป็นอย่างยิ่ง

 

เพราะในโลกแห่งความจริง รู้ๆ กันอยู่ว่า คนที่ดีที่บริสุทธิ์ผุดผ่องร้อยเปอร์เซ็นต์นั้นไม่เคยมีอยู่

เช่นเดียวกับคนชั่ว ที่ชั่วไปทุกกระเบียดนิ้วก็ย่อมไม่มีอยู่เช่นกัน

 

การมองภาพสังคมไทยว่ามีเพียงฝ่ายชั่วกับฝ่ายดีนั้นเป็นการมองด้วยจิตใจที่คับแคบตื้นเขิน และมีแต่จะนำไปสู่การใช้ความรุนแรงต่อกันโดยปราศจากการยั้งคิด

คงยังจำกันได้ว่าเรามีตัวอย่างกรณีเช่นนี้มาแล้วหลายต่อหลายครั้ง

 

 

 


gladiator 1.jpg

 

 

 

 

 

 


#2 พอล คุง

พอล คุง

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 11,014 posts

ตอบ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 20:40

อ้าวววววววววววววววววววววววว 

 

เ-หี้ย จะเปรียบสองเรือง แต่เสือกวิเคราะห์เรืองเดียว

 

อืมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม

 

เ-มิงกลางม๊วกกกกกกกกกกกกกกกกกกก


ถึงตรูจะเลวยังไง ตรูก้อไม่ได้ขายชาติ เหมือนเสื้อแดงว่ะ เข้าใจนะ

 


#3 RiDKuN_user

RiDKuN_user

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 13,167 posts

ตอบ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 20:46

ไม่คิดง่ายๆ บ้างละว่ามหาภารตะมันเนื้อเรื่องซับซ้อนฟังแล้วงงกว่าเรื่องรามเกียรติ์ตั้งเยอะ

พวกคิดอยากจะโยงมั่วๆ ก็โยงมันมีเยอะนะสมัยนี้ ชอบยกอะไรแปลกๆ มายืนยันความเชื่อตัวเอง

ไม่ต้องลีลามากหรอกมั้ง อยากจะด่า กปปส. ก็ด่าไปเลย ไม่ต้องอารมภบทให้เยิ่นเย้อ

ไปลากคนที่เขานิยมชมชอบสองเรื่องนี้มาเกี่ยวโดยใช่เหตุอีกต่างหาก  -_-


" ชีวิตผมไม่เคยกลัวอะไรทั้งนั้น ผมกลัวอย่างเดียว...กลัวจะถูกมองว่า 'ขายชาติ' " - The Last Tycoon

~ ทักษิณตาย เสรีไทยไชโย ~

#4 DarkSwan

DarkSwan

    Reporter Activated

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,689 posts

ตอบ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 20:50

............

ผมไม่เข้าใจว่าอยากจะพูดว่า อย่ามาหาว่าพวกกุเลวนะ พวกเมิงบอกว่าดีแต่จริงๆ แล้วพวกเมิงอ่ะเลว แบบนี้ ก็พูดมาตรงๆ ก็ได้

ไปยกมหาภารตะ กะ รามเกียรติ์ มาทำไมให้วุ่นวาย

 

แต่ไอ้พวกที่ชอบคิดแบบนี้ เคยสำรวจตัวเองไหมล่ะว่า ตัวเองดีหรือว่าเลว  หรือทุกวันนี้ กุเป็นยังไงกุก็ยังไม่รู้เลย

 

หรือเพราะว่า บอกว่าตัวเองดีก็ไม่ได้ ชั่วก็ไม่เชิง เพราะถ้าฟันธงลงไปแบบนี้ก็เท่ากับ ไปขัดแย้งกับตรรกะที่ว่า ดีก็ไม่รู้ดูไม่เห็นเลว ที่ได้กล่าวมาข้างต้น

แล้วทุกวันนี้มีลูกมีหลานสอนลูกสอนหลานยังไง ถ้ายังไม่รู้ว่าอะไรดีอะไรเลว

 

แยกซ้่ายแยกขวา ดีชั่วแยกไม่ได้ แล้วมาวิจารณ์ได้ยังไงว่าอะไรดีอะไรเลว ตรงไหนดีตรงไหนเลว

รู้ผิด รู้ชอบ รู้ดี รู้ชั่ว จึงจะเป็นคน

บ้างครั้ง ถึงสับสน ก็จงหาคำตอบต่อไป ไม่ใช่ยังไงก็ได้

 

เป็นคนหรือเปล่า?


ถ้าอยากได้ความเท่าเทียม

ก็ปีนป่ายขึ้นไปให้อยู่เทียบเท่ากับคนอื่นเค้า

อย่าได้กระชากฉุดให้คนอื่นเขาลงมาตกต่ำเท่ากับตน


#5 Quezonla

Quezonla

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 259 posts

ตอบ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 20:54

ในความเห็นส่วนตัว วรรณกรรม 2 เรื่องนี้แสดงให้เห็นวัฒนธรรมของ อินเดีย ซึ่งแผ่อิทธิพลมายังไทยได้ดีมาก
คือจะวนเวียนอยู่กับเรื่องกิเลสตัณหา ความโลภโมโทสัน แย่งผัวแย่งเมีย ชิงสมบัติ 

คือมันอาจจะมีปรัชญาซ่อนอยู่อย่างลึกซึ้ง จนคนที่คิดติ้นๆไม่อาจจะเข้าใจก็เป็นไปได้


Edited by Quezonla, 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 20:54.


#6 หลงฮู้เช็ง

หลงฮู้เช็ง

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 328 posts

ตอบ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 21:00

" ที่สังคมไทยชื่นชอบเรื่องรามเกียรติ์มากเป็นพิเศษ จนหลงลืมเรื่องมหาภารตะไปโดยสิ้นเชิงนั้น เกิดจากการที่สังคมไทยเป็นสังคมที่นิยมเรื่องเล่าแบบดำ-ขาว

แสดงถึงความดีความชั่วที่ตัดกันอย่างสุดขั้ว โดยมีพระรามเป็นเครื่องหมายถึงความดีสูงสุด และทศกัณฑ์เป็นเครื่องหมายของความเลวทรามต่ำช้าอย่างไม่อาจหาใดเปรียบ " 

 

หากใครอ่านรามเกียรติ์ แล้ววิเคราะห์ได้แค่นี้  คงต้องกลับไปเรียนวิชาภาษาไทย หมวดวรรณคดีใหม่ ตั้งแต่ระดับมัธยม เสียแล้วละ พระรามเอง ไม่ได้มีความดีงามสูงสุด

ตรงกันข้าม หลายๆ ฉาก หลายๆ ตอนเลยทีเดียว  ที่พระราม แทบๆ จะกลายเป็นผู้ร้ายด้วยซ้ำ  ในขณะที่ทศกัณฑ์ ไม่ได้เลวทรามต่ำช้าอย่างไม่อาจหาใดเปรียบ

แม้ว่าจะเป็นตัวแทนฝ่ายอสูร แต่ก็เป็นอสูรขั้นเทพ เพียบครบไปด้วยเกียรติและศักดิ์แห่งวงศ์ยักษา  รามเกียรติ์ เป็นวรรณคดีที่มีตัวละครหลากหลาย แต่ละตัวละคร
ล้วนมีบุคลิก พฤติกรรม และความเชื่อแตกต่างกันออกไป ไม่ได้แบ่งแยกความดีความชั่วตัดกันสุดขั้วเลย  ตรงกันข้าม  กลับมีความเป็นสีเทาคลุมเครือเต็มไปหมด
สงสัยเหลือเกิน ว่าพวกลิเบอรัลเนี่ย  มันรู้หรือเปล่าว่า  ชีโฉด หญิงโหด มารยา ช้างงารี ชายทรชน นี่ ...  หมายถึงอะไร นี่แหละคือคีย์เวิร์ด

ที่แสดงให้เห็นเด่นชัดว่า รามเกียรติ์ ไม่ใช่วรรณกรรมที่แบ่งแยกความดีความชั่วตัดกันสุดขั้วเป็นอันขาด

ปล. ทักษิณในปัจจุบัน นั่นแหละคือเครื่องหมายของความเลวทรามต่ำช้าอย่างไม่อาจหาใดเปรียบแล้ว !


Edited by หลงฮู้เช็ง, 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 21:04.


#7 Kaizer

Kaizer

    Warlord

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,317 posts

ตอบ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 21:07

สงสัยคงยังไม่เคยอ่าน "สามก๊ก"


สละชีพเพื่อหลักธรรมคือคำขวัญ

 

ฆ่าคนเพื่อชิงอำนาจคือวิธีการ

 

ส่วนลิ่วล้อที่ส่งไปตายก็คือตัวหมากแห่งคุณธรรม


#8 ctpk05

ctpk05

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 967 posts

ตอบ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 21:12

เนื่องจากผมก็เป็นคนที่อ่านและชอบทั้ง 2 เรื่องนี้มาก จึงอยากบอกว่า

 

จริงๆแล้วทั้งสองเรื่อง มาจากคติเดียวกัน คือการอวตารของพระนารายณ์ 

 

รามเกียรติ์ = รามาวตาร = นารายณ์อวตารปางที่ 8 เป็นพระราม

มหากาพย์ภารตยุทธ = กฤษณาวตาร = นารายณ์อวตารปางที่ 9 เป็นพระกฤษณะ

 

ซึ่งเป็นคติที่ริร่านบอกว่าล้าหลัง งมงายไม่ใช่เหรอ แล้วจะยกตัวอย่างมาทำเพื่อ...

 

 

อีกประการหนึ่ง ตัวเอกรามเกียรติ์ก็มีอารมณ์สีเทาๆ  คือไม่ดีและไม่เลวเช่นกัน 

ตัวอย่างเช่น พระรามหูเบาและได้เนรเทศนางสีดาในตอนท้ายเรื่อง  

 

ริร่านจ๋า ขอความกรุณาคุณมรึงไปอ่าน 2 เรื่องนี้ให้เข้าใจก่อนนะ อย่ามาเสร่อโพส

 


"ข้าพระพุทธเจ้า จักยอมตาย เพื่อดำรงไว้ซึ่งพระบรมเดชานุภาพแห่งพระมหากษัตริย์เจ้า"


#9 Octavarium

Octavarium

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,095 posts

ตอบ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 21:20

เรื่องมหาภารตะนี่ ทีมงานซีรี่ส์ (ไม่อยากเรียกสารคดี) ancient aliens เอามาอ้างว่าทั้งหมดเกิดจากคนโบราณเห็นเอเลี่ยนรบกันด้วยอาวุธนิวเคลียร์

แล้วเอามาบันทึกไว้ด้วยความเข้าใจของคนสมัยนั้น เทพเจ้าทั้งหลายล้วนแต่เป็นเอเลี่ยน :lol:

 

 

ปล. คนเขียนบล็อกควรทบทวนมาตราฐานทางศีลธรรมของตัวเองอย่างเร่งด่วน


       Invoke ExitWindowsEx, EWX_SHUTDOWN | EWX_POWEROFF | EWX_FORCEIFHUNG, SHTDN_REASON_MAJOR_SYSTEM


#10 RiDKuN_user

RiDKuN_user

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 13,167 posts

ตอบ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 21:51

ในความเห็นส่วนตัว วรรณกรรม 2 เรื่องนี้แสดงให้เห็นวัฒนธรรมของ อินเดีย ซึ่งแผ่อิทธิพลมายังไทยได้ดีมาก
คือจะวนเวียนอยู่กับเรื่องกิเลสตัณหา ความโลภโมโทสัน แย่งผัวแย่งเมีย ชิงสมบัติ 

คือมันอาจจะมีปรัชญาซ่อนอยู่อย่างลึกซึ้ง จนคนที่คิดติ้นๆไม่อาจจะเข้าใจก็เป็นไปได้

 

มันเป็นแบบนั้นทั้งโลกแหละครับ ปัจจุบันก็ยังเป็นอยู่  -_-


" ชีวิตผมไม่เคยกลัวอะไรทั้งนั้น ผมกลัวอย่างเดียว...กลัวจะถูกมองว่า 'ขายชาติ' " - The Last Tycoon

~ ทักษิณตาย เสรีไทยไชโย ~

#11 annykun

annykun

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,567 posts

ตอบ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 22:01

คนดีแยกดำขาว  คนชั่วชอบสลับขาวกับดำ  คนโง่มองทุกอย่างเป็นสีเทา  คนฉลาดแยกแยะความเข้มสีได้  ลิเบอร่าน  ที่เขียนบทความนี้  อยู่ตรงไหน?

เฉลย  คือพวกโง่ทีมองโลกเป็นสีเทาเหมือนกันหมด  แยกความเข้มสีไม่ได้  แยกขาวดำไม่ได้  เลยโดยคนชั่วหลอกให้เรียกสีดำ  ว่าสีขาว

ยิ่งสีดำเข้มเท่าไหร่  ยิ่งโดนหลอกว่าสว่างไสวมากเท่านั้น เหมือนโดนหลอกให้งมหาของบางอย่างในความมืด  เชื่อหมดใจว่าจะเจอ

แต่เพ่งมองเท่าไหร่  ก็มองไม่เคยเห็น  ไอ้พวกตาบอดสี  


คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของผู้ชนะสงคราม  คือ   ความแข็งแกร่ง และ อุดมการณ์ที่สอดคล้องกับความเป็นจริง

คุณธรรมที่พร้ำสอน  ล้วนเป็นสิ่งที่จำเป็นรองลงมา   ส่วน  ประชาธิปไตยน่ะรึ  เอาเข้าจริงๆ  สำคัญอันใด?? 

 


#12 PeaceMan

PeaceMan

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 513 posts

ตอบ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 22:03

วิเคราะห์มั่วดีจัง...

#13 แม้ว ม.7

แม้ว ม.7

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,237 posts

ตอบ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 22:12

ทำไมดูถูกคนไทยจัง ผมอ่านทั้งสองเรื่องไม่ชอบทั้งสองเรื่อง เพราะคติความคิดไม่ตรงกับความจริง (เช่นในมหาภารตะมีฉากที่เด็กเกิดมาใหม่ๆโดน ฆ่าทิ้งเพราะจะส่งเด็กกลับสวรรค์ ซึ่งมันขัดกับความจริง ที่คนทุกคนเกิดมาตามกรรมลิขิต การฆ่าเขาทิ้งไม่ใช้การรับรองว่าเขาจะกลับไปสวรรค์)


พ.ต.ท.ทักษิณ ยังได้พูดตัดพ้อกับคนที่เดินทางไปพบว่า “พรรคเพื่อไทยมีคนเก่งๆ เยอะ ทั้งนักวิชาการ ด็อกเตอร์ ทูต แต่ไม่กล้าออกมาสู้ คนหน้าตาดีไม่ออกมา พวกที่ออกมาหน้าตาไม่ค่อยดี ไม่เหมือนกับพรรคประชาธิปัตย์ ฝ่ายตรงข้าม คนมีความรู้ นักวิชาการออกมาเยอะแยะเลย คนจริงใจกับผมมันน้อย วางยาผม เพราะตัวเองอยากอยู่นานๆ เห็นว่านายกฯ ไม่แข็ง แต่ท่านนายกฯ ก็ดี แต่คนรอบข้างไม่เป็นการเมือง ผมส่งคนเป็นการเมืองไปนายกฯ ก็ไม่เอา ผมก็สงสารนายกฯ จึงไม่อยากจู้จี้ แต่คนที่เมืองไทยมันไม่ได้ดั่งใจ” 

http://astv.mobi/AlgEYM7

แปลสั้นๆ เขาด่าไอ้เสร่อแกนนำแดงว่า"โง่แต่ขยัน"


#14 Et tu Brute?

Et tu Brute?

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,529 posts

ตอบ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 22:12

หนังฮอลลีวูด การ์ตูนญี่ปุ่น หรือละครน้ำเน่าไทย ก็มีพระเอกผู้ร้ายเยอะแยะ

 

ไม่ใช่ว่าเรื่องสลับซับซ้อนตัวละครหลายมิติมีดีชั่วอยู่ในตัวคนเดียวกันมันไม่มี

 

เพียงแต่เรื่องแบบพระเอกผู้ร้ายมันเป็นอุดมคติ ที่คนมุ่งหวัง และสร้างพลังใจได้ จึงได้รับความนิยมมากกว่า

มันก็แค่ fiction ครับ แค่เรื่องรสนิยม มีทั้งคนชอบและไม่ชอบ เหมือนๆ กันทุกประเทศแหละ

 

อินี่หลอกด่านะนายจ๋าา


It's us against the world





ผู้ใช้ 1 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 1 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน