ParaDon, on 28 Feb 2014 - 05:06, said:
ที่บ้านเมืองชิปหายวายป่วงทุกวันนี้
ที่ปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้คือ อัยการ กฤษฎีกา ปปช.ที่เป็นทนายให้รัฐบาล
3 หน่วยงานนี้แหล๊ะที่ต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบด้วย
โครงการทุกโครงการต้องผ่าน กฤษฎีกา
ส่วน อัยการกับปปช.ก็ค่อยแต่ดึงเชงรอให้เกิดความเสียเยอะเสียก่อนค่อยออกมาเสนอหน้า
เอาตัวรอด กฤษฎีกาเป็นนิ้วให้รัฐบาล อัยการก็ค่อยแตะถ่วง ปปช.ไม่ยอมชี้มูลรอให้คดีหมดอายุ
ประเทศชาติบ้านเมืองจะไม่บรรลัยยังไงไหว 
กฤษฎีกาก็เป็นแค่ที่ปรึกษากฎหมายของรัฐบาลครับ จริงๆ แล้วถ้าเทียบกับเอกชนก็เป็นเพียงฝ่ายกฎหมาย แต่เผอิญว่าองค์ประกอบของคณะกรรมการกฤษฎีกา (มีหลายคณะ) มีกรรมการเป็นอาจารย์ ข้าราชการเกษียญอายุ ฯลฯ มานั่งด้วย ก็มีความน่าเชื่อถือในระดับหนึ่ง แต่ก็ไม่ใช่ความเห็นจะถูกต้องไปเสียทุกอย่าง
เมื่อวานอ่านข่าวเห็นว่ารองเลขฯ กฤษฎีกาไปชี้แจงกรรมาธิการ สว. เรื่องการให้ความเห็นเกี่ยวกับการกู้เงินหลังยุบสภาเพื่อมาจ่ายชาวนา มีการให้เหตุผลว่าทำได้และไม่ขัด รธน. ม. 181 เพราะว่าเป็นการก่อหนี้ผูกพันก่อนหน้าที่จะมีการยุบสภา
อ่านแล้วก็รู้สึกคันเหลือเกิน ไม่มีใครเถียงหรอกว่าเป็นการก่อหนี้ผูกพันก่อนยุบสภา แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่มีการใช้วงเงินห้าแสนล้านตามมติ ครม. เดิมไปเต็มวงเงินแล้ว และยังไม่ได้มีมติ ครม. ใหม่เพื่อการกู้เงินเพิ่มวงเงินก่อนหน้าที่จะมีการยุบสภา ดังนั้นการกู้เงินนี้จึงเป็นไปตามมติ ครม. (น่าจะเดือนมกราคม 2557) ที่เพิ่มวงเงินขึ้นใหม่และการกู้เงินก็ไม่ได้เป็นไปตามมติ ครม. เดิม กรณีนี้จึงไม่น่าทำได้โดยไม่ขัดกับ รธน. ความเห็นของกฤษฎีกาตรงจุดนี้เหมือนกับว่าเป็นการให้ความเห็นที่ไม่ครอบคลุมทั้งหมด และสุดท้ายการกู้เงินของรัฐบาลหลังยุบสภาจึงน่าจะขัดกับ รธน.
อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่าการตอบคำถามของหน่วยงานราชการจะเป็นลักษณะการตอบตรงคำถามโดยไม่มีการขยายความหรือให้ความเห็นครอบคลุมในประเด็นอื่น (คือถามอะไรก็ตอบเฉพาะคำถาม ไม่แนะนำมากกว่านั้น) ดังนั้นจึงอาจให้เครดิตกฤษฎีกาว่าการให้ความเห็นคงเป็นเรื่องการตอบตามคำถามเท่านั้น ซึ่งหากคนถามชงมาหวาน คนตอบก็ตอบแบบหวานๆ ไปด้วย อันนี้เป็นเทคนิคที่รู้กันในการสอบถามระหว่างหน่วยงานราชการ