Jump to content


Photo
- - - - -

บทความน่าสนใจ..."กฏแห่งกรรม(กับอนาคตยิ่งลักษณ์)"...


  • Please log in to reply
3 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 Suraphan07

Suraphan07

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,016 posts

ตอบ 3 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 15:26

ลองอ่านกันดูครับ... ;)

 

กฎแห่งกรรม

2 มีนาคม 2557

ถ้อยแถลงของผู้ปฏิบัติหน้าที่นายกฯ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" เรื่องโครงการรับจำนำข้าวเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา มีความคล้ายคลึงอย่างมากกับถ้อยแถลงของยิ่งลักษณ์ ในเรื่องร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับ "เหมาเข่ง" เมื่อวันที่ 5 พ.ย. ปีที่แล้ว

"ในช่วงเวลาสองปีที่ผ่านมา โครงการจำนำข้าวของรัฐบาลประสบความสำเร็จ บรรลุเป้าหมาย ชาวนามีรายได้เพิ่ม...น่าเสียดายว่าความฝันความหวังที่จะลืมตาอ้าปากของชาวนาไทย กำลังโดนเกมการเมือง สร้างกระบวนการบ่อนทำลายอันรวดเร็วจนจะหมดสิ้นลงในไม่ช้า ดิฉันมีความเสียใจและต้องขอโทษพี่น้องชาวนา ที่เกิดเหตุการณ์เอาชาวนาเป็นตัวประกันของกลุ่มต่อต้านรัฐบาล ทำให้รัฐบาลไม่สามารถดำเนินโครงการได้ด้วยความราบรื่น....

...เกมการเมืองที่กล่าวถึงนั้น มาจากกลุ่มที่ต่อต้านรัฐบาล มีแนวทางที่จะล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และตั้งรัฐบาลที่ไม่เป็นประชาธิปไตยให้เกิดขึ้น..."  นี่คือถ้อยแถลงของนายกฯยิ่งลักษณ์ เรื่องโครงการรับจำนำข้าวที่กำลังวุ่นวายเพราะรัฐบาลไม่สามารถหาเงินมาจ่ายค่าข้าวให้ชาวนาได้ โดยแถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา

และนี่คือ ถ้อยแถลงของนายกฯยิ่งลักษณ์ ที่แถลงสดผ่านโทรทัศน์เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน ปีที่แล้ว ในเรื่องร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม

"...เมื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผ่านพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้ว จะเห็นได้ว่า มีคนไทยหลายกลุ่มยังมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน และยังไม่พร้อมที่จะให้อภัย ทั้งยังมีท่าทีที่จะเป็นบ่อเกิดแห่งความขัดแย้งที่นำไปสู่ความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ดิฉันไม่อยากเห็นการนำพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมนี้ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง ทำให้เกิดข้อถกเถียง หรือมีการให้ข้อมูลที่สับสน และถูกบิดเบือน โดยมีเจตนาที่จะล้มล้างรัฐบาล และระบอบประชาธิปไตยอีกครั้ง...

การบิดเบือนนั้น ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า กฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายการเงิน...ที่สำคัญมีความพยายามที่จะบิดเบือนว่า กฎหมายจะกลบเกลื่อนการทุจริตคอร์รัปชั่น..."

 

ความเหมือนอย่างแรกในการแถลงทั้งสองครั้งของนายกฯ คือ นายกฯยิ่งลักษณ์ ไม่ได้แสดงท่าที "สำนึกผิด" ต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ทั้งเรื่องร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ทั้งที่ชัดเจนว่ารัฐบาลมีพฤติกรรมโกหก หลอกลวงประชาชน เสนอร่างกฎหมายที่มีเนื้อหาแบบหนึ่งเข้าไป แล้วไปแก้ไขให้เป็นอีกอย่าง คือพูดอย่างทำอย่าง แม้รัฐบาลจะพยายามบอกว่าไม่เกี่ยว เป็นเรื่องของ ส.ส. แต่ในความจริง ต่างก็รู้ว่าไม่ใช่ และสุดท้ายสิ่งที่ปรากฏออกมาคือ คนที่เสนอแก้ไขกฎหมาย คือ "ประยุทธ์ ศิริพานิช" ก็เปิดอกยอมรับว่า เสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับเหมาเข่งเพื่อช่วย "ทักษิณ ชินวัตร" พี่ชายนายกฯ

ครั้งนั้นมีเสียงเรียกร้องให้นายกฯ "ขอโทษ" แต่นายกฯยิ่งลักษณ์ ก็เฉย

 

มาถึงเรื่องจำนำข้าว ทั้งๆที่ปรากฏให้เห็นความล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่าของโครงการประชานิยมที่ใหญ่ที่สุดของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ มีการทุจริตเกิดขึ้นในทุกขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การรับข้าวชาวนาเข้าไปในโรงสี ไปจนถึงการระบายข้าวที่มีการระบุว่าทำจีทูจี(รัฐบาลต่อรัฐบาล) แต่ความจริงพบว่าขายกันอยู่ในประเทศโดยส่วนหนึ่งถูกระบายให้กับบริษัทพวกพ้องผู้มีอำนาจในรัฐบาล ทำลายระบบการค้าข้าวของประเทศ ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการพัฒนาคุณภาพข้าว และสุดท้ายไม่มีเงินมาจ่ายค่าข้าวให้ชาวนา แต่นายกฯยิ่งลักษณ์ ก็ไม่ได้ยอมรับว่านั่นคือ "ความผิด"

เมื่อไม่ได้ยอมรับว่าทำผิด ย่อมไม่สำนึกผิด และไม่แสดงความรับผิดชอบ

 

ความเหมือนอย่างที่สอง คือ นอกจากไม่สำนึกผิดแล้ว นายกฯยิ่งลักษณ์ ยังบอกว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็น "เกมการเมือง" ของคนที่มีเจตนา "ล้มรัฐบาล" และ "ระบอบประชาธิปไตย"

นอกจากไม่มองว่าเป็นความผิดของตัวเอง ยังโทษคนอื่น!!

 

สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาในทั้งสองเรื่อง คือ "วิกฤติศรัทธา" ของประชาชนที่มีต่อรัฐบาล

ในกรณี พ.ร.บ.นิรโทษกรรม การที่รัฐบาลใช้ "โอกาส"ที่ได้รับไปหลอกลวงประชาชน พูดอย่างทำอย่าง แถม "ลักหลับ" ผ่านร่างกฎหมายนี้ในยามวิกาล ใช้อำนาจ"ตามอำเภอใจ" ทำให้ประชาชนไม่เชื่อถือคำพูดของฝ่ายรัฐบาลอีกต่อไป สภาพของนายกฯไม่ต่างจาก "เด็กเลี้ยงแกะ" แม้รัฐบาลจะยอมถอยกรูด นายกฯยิ่งลักษณ์ออกมาพูดหลายครั้งหลายครา ยืนยันว่าจะไม่นำร่างกฎหมายนี้มาพิจารณาอีกตลอดอายุรัฐบาล แต่คนก็ไม่เชื่อ กระทั่งวุฒิสภาคว่ำร่างกฎหมายนี้ไปแล้ว ก็ยังมีคนไม่ไว้ใจ กลัวว่ารัฐบาลจะแอบไปหยิบยกขึ้นมาพิจารณาอีกครั้ง ขยายไปถึงไม่ไว้ใจให้รัฐบาลนี้บริหารประเทศต่อไป และขับไล่รัฐบาลออกจากอำนาจ และแม้จะยุบสภาแล้ว กระแสต่อต้านรัฐบาลเพื่อไทย และตระกูล "ชินวัตร" ก็ยังอยู่

 

เช่นเดียวกับปัญหาโครงการรับจำนำข้าวที่รัฐบาลกำลังเผชิญกับวิกฤติศรัทธาอย่างหนัก มีคนแห่ไปถอนเงินจากธนาคารออมสิน หลังจากธนาคารออมสินปล่อยเงินกู้ให้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) จนทำให้ธนาคารออมสินต้องยกเลิกการให้กู้ และผู้อำนวยการธนาคารออมสินต้องลาออก

ฝ่ายรัฐบาลพยายามระดมคนไปฝากเงินเพื่อทดแทนเงินที่ถูกคนแห่ถอนออกไป แต่เนื่องจากที่คนแห่ไปถอนเงินไม่ใช่เพราะธนาคารออมสินมีปัญหาสภาพคล่อง หรือว่าธนาคารจะเจ๊ง แต่เป็นเพราะคนต้องการแสดงการ "ต่อต้าน" ให้รัฐบาลเห็น การระดมคนไปฝากเงินจึงไม่ได้ช่วยแก้ปัญหา "วิกฤติศรัทธา" ที่มีต่อรัฐบาล

แทนที่จะยอมรับใน "ความผิดพลาด" ที่เกิดขึ้นมาจากการกระทำของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับเหมาเข่ง หรือ โครงการรับจำนำข้าว รัฐบาลยิ่งลักษณ์ กลับชี้ว่าเป็นความผิดของกลุ่มต่อต้านที่ต้องการล้มรัฐบาล

 

ความจริงในเรื่องรับจำนำข้าวที่รัฐบาลไม่มีเงินจ่ายให้ชาวนา และพยายามหาหนทาง แต่ก็ไม่สามารถทำได้สำเร็จ มีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่เห็นด้วยกับการกระทำของกลุ่มต่อต้านที่ไปกดดันจนไม่มีใคนกล้าปล่อยกู้ให้กับโครงการนี้ รวมถึงเรื่องการแห่ไปถอนเงินก็เช่นกัน แต่คนส่วนนั้นก็ต้องการให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ยอมรับว่า "ทำผิด" และแสดงความสำนึกผิดออกมาบ้าง อย่างน้อยก็ "ขอโทษประชาชน" ต่อความผิดที่รัฐบาลที่ทำลงไป

ตรงกันข้าม ในการแถลงนายกฯยิ่งลักษณ์ ยืนยันว่าโครงการนี้ประสบความสำเร็จ แถมบอกว่าในระดับนโยบายไม่ได้กำหนดวิธีให้ไปโกง แต่หากมีปัญหาในขั้นตอนปฏิบัติก็ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตรวจสอบอย่างเสมอภาค ไม่ลำเอียง

 

แทนที่นายกฯยิ่งลักษณ์จะตั้งกรรมการขึ้นมาตรวจสอบเอาผิดกับคนโกง หลังจากหน่วยงานต่างๆส่งสัญญาณเตือนทั้งที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการ แต่นายกฯยิ่งลักษณ์กลับตั้งแง่ต่อผู้ทำหน้าที่ตรวจสอบ

 

"ในระดับนโยบายไม่มีการสร้างวิธีที่จะโกงเงินดังที่ถูกกล่าวหา และในระดับปฏิบัติหากมีการรั่วไหล ดิฉันก็ต้องการเห็นการตรวจสอบที่เข้มงวด และยินดีในกระบวนการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) โดยไม่เลือกปฏิบัติและมีความเสมอภาคภายใต้หลักนิติธรรม โดยไม่มีความลำเอียงหรือวาระทางการเมืองที่ซ้อนเร้น"

 

ถ้านายกฯยิ่งลักษณ์รู้จัก"สำนึกผิด" และ "ขอโทษ" "วิกฤติศรัทธา"อาจไม่บานปลายขนาดนี้

 

นอกจากนี้ หลังจาก ปปช.ตั้งข้อกล่าวหานายกฯยิ่งลักษณ์ ในโครงการรับจำนำข้าว ว่าละเว้นปฏิบัติหน้าที่ หลังจาก ปปช.และหลายหน่ยงานเตือนเรื่องความไม่ชอบมาพากลของโครงการ แต่นายกฯก็ยังเพิกเฉย ซึ่งเป็นความผิดตามกฎหมายอาญามาตรา 157 มีโทษจำคุก 1-10 ปี ก็มีการมองกันว่าอนาคตการเมืองของนายกฯยิ่งลักษณ์ อาจจะซ้ำรอยผู้เป็นพี่ชาย

ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของ "กฎแห่งกรรม" แท้ๆ!!

 

(หมายเหตุ : จากคอลัมน์ Convergent Newsroom โดย สมฤทัย ทรัพย์สมบูรณ์ (@jin_nation) เนชั่นสุดสัปดาห์ ฉบับ 21 กุมภาพันธ์ 2557)

 

http://www.oknation....4/03/02/entry-1

 

คิดเห็นกันเช่นไร เชิญได้ครับ...  B)



#2 ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

    หน้าตาดี มีอุดมการณ์

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 21,670 posts

ตอบ 3 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 15:28

*
POPULAR

พ่อแม่เขาสอนมาดี

พี่น้องลูกเมียสันด-นเลยเหมือนกันยังกะโขก


gladiator 1.jpg

 

 

 

 

 

 


#3 nomoreshin

nomoreshin

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 417 posts

ตอบ 3 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 20:01

นี่คือเหตุผลว่าทำไมในอดีต มีกฎมณเฑียรบาล ประหารเจ็ดชั่วโคตร
สิ่งที่นักการเมืองไทยไม่เคยรู้และประชาชนไม่จำเป็นต้องบอก

หากปกครองด้วยความลุแก่อำนาจ หยิบยื่นแต่ความอิ่มหนำสำราญให้แต่กับพวกพ้องของตน สร้างความคับแค้นให้กัดกินในใจผู้คนทั่วไป วันหนึ่งคนเหล่านั้นจะลุกขึ้นมาทำอะไรก็ได้ เพราะไม่มีอะไรที่จะเสีย..

#4 แฮงค์แมน ศิษย์หุบเขาปิศาจ

แฮงค์แมน ศิษย์หุบเขาปิศาจ

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 220 posts

ตอบ 3 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 21:01

ก็เหมือนท่านเมพแม้ว ณ ดูไบไงจำกันได้ไหมทำผิดไม่เคยขอโทษหรือแสดงออกโดยการลาออก

มันกลับพูดวาทะเห้ๆที่ยังจำไม่ลืม บกพร่องโดยสุจริต ไงครับ :lol:






ผู้ใช้ 0 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 0 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน