น่าจะออกมาในรูปของสงครามเย็น 2 ไปก่อนจะเป็นการแยกประเทศ และเป็นสงครามแบ่งแยกดินแดน โดนมีมหาอำนาจออกมาเบื้องหน้าเลย
ชาวยูเครนลุกฮือโค่นล้มประธานาธิบดีวิคเตอร์ ยานูโควิช ที่มีความสัมพันธ์กับรัสเซียไปเรียบร้อยแล้ว สถานการณ์ทุกอย่างน่าจะราบรื่น
แต่ชาวโลกกลับคาดการณ์ผิดโดยสิ้นเชิง
เพราะสถานการณ์ได้เพิ่มวิกฤตรุนแรงขึ้นกว่าเดิม
เมื่่อรัสเซียส่งกำลังทหารเข้ายึดครองพื้นที่ในแคว้นไครเมีย(Crimea)ซึ่งเป็นดินแดนของยูเครน
ทำให้ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ผู้นำสหรัฐฯถึงกับเต้นผาง โทรศัพท์สายตรงถึงนายวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย ให้ถอนทัพรัสเซียพ้นจากดินแดนไครเมีย
ขณะที่"ปูติน"ย้อนแย้ง"โอบามา"อ้างว่า รัสเซียจำเป็นต้องปกป้องผลประโยชน์ในไครเมีย
ฝ่ายยุโรปซึ่งผนึกแน่นกับ"สหรัฐฯ"ขู่"รัสเซีย"ถ้าไม่ถอนทหารออกจากไครเมียจะขับพ้นสมาชิกกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกหรือ"จี8"
แต่"รัสเซีย"เมินเสียงขู่จากนานาชาติตรงกันข้ามกลับยืนกรานจะตรึงทหารใน"โครเมีย"ต่อไป
ทำไมรัสเซียจึงให้ความสำคัญกับ"ไครเมีย"อย่างยิ่ง
และนี่จะเป็นชนวนวิกฤตนำไปสู่"สงครามโลกครั้งที่สาม"หรือไม่?
ต่อไปนี้คือ 5 คำถาม-ตอบ ระหว่าง"ไครเมีย-รัสเซีย-ยูเครน"
1. ไครเมียไม่ได้เป็นของรัสเซียในปัจจุบัน แต่ในอดีตเคยเป็น
ความวิตกว่ายูเครนจะแตกแยกได้ทำให้เกิดการประท้วงต่อรัสเซียที่มีผลประโยชน์ในดินแดนไครเมียมากว่าหลายร้อยปีเนื่องจากไครเมียเป็นดินแดนเกษตรที่อุดมสมบูรณ์และได้ถูกใช้เป็นพื้นที่เข้าถึงทะเลดำโดยรัสเซียยกดินแดนไครเมียแก่ยูเครนในปี2497 เมื่อครั้งที่ยูเครนยังเป็นประเทศเครือบริวารในยุคสหภาพโซเวียต ต่อมา หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายในปี 2534 ชาวไครเมียเริ่มเรียกร้องออกจากการปกครองของยูเครน เพราะต้องการกลับไปเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียอีกครั้ง แต่รัฐสภายูเครนและส.ส.ของไครเมียโหวตคัดค้านข้อเรียกร้องดังกล่าว
2.ชาวรัสเซียจำนวนมากอาศัยอยู่ในไครเมีย
ประเมินกันว่า มีประชากร 3 กลุ่มอยู่ในไครเมีย กลุ่มแรก เป็นชาวยูเครนโดยพื้นเพที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของยูเครน
กลุ่มที่สอง เป็นชาวรัสเซียที่อยู่ทางตอนใต้
กลุ่มที่สาม เรียกว่า ชาว"ตาตาร์"ซึ่งอยู่ตอนกลางของพื้นที่ทั้งหมด
กลุ่มนี้มีประชากรคิดเป็นสัดส่วนราว 15-20 เปอร์เซ็นต์ เคยได้รับผลกระทบอย่างหนักจากสหภาพโซเวียตในยุคของโจเซฟ สตาลิน อดีตผู้นำเผด็จการ
3.กองทัพเรือรัสเซียบางส่วนตั้งอยู่ในไครเมีย
หากจะถึงพูดความสำคัญของไครเมียต่อรัสเซีย ต้องมองย้อนกลับไปพูดถึงกองเรือในทะเลดำของรัสเซียโดยทันที ที่ผ่านมา กองทัพรัสเซียมีฐานทัพอยู่ในไครเมียในเมืองเซวาสโตปอล ในทะเลดำ มานานกว่า 230 ปีแล้ว รวมทั้งเรืออื่น ๆ และเรือดำน้ำ ที่อยู่ทางตอนเหนือของตุรกี และสามารถเคลื่อนทัพไปยังทะเลเมดิเตอเรเนียน เพื่อสร้างอิทธิพลครอบงำต่อภูมิภาคตะวันออกกลางและภูมิภาคบอลข่าน
ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญบางรายแย้งว่า ความสำคัญดังกล่าวถือว่ากล่าวเกินจริง เพราะจริง ๆ แล้ว ไครเมียเป็นฐานเล็กที่สุดของกองทัพรัสเซีย โดยมีกองเรือเพียง 4 กอง และรัสเซียมีชายฝั่งติดทะเลดำของตัวเอง จริงๆ แล้ว รัสเซียเพียงแค่กำลังขยายท่าเรือทะเลดำในเมืองโนโวรอสสิยาค และย้ายกองทัพรบบางส่วนมายังที่นี่เท่านั้น
4.ไครเมีย เคยมีบทบาทสำคัญต่อประวัติศาสตร์โลกมาก่อน
แม้ว่าจะไม่ค่อยรู้เรื่องสงครามไครเมีย แต่คงเคยได้ยินชื่อของ"ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล" ผู้ก่อตั้งสถานพยาบาลในยุคปัจจุบัน เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในสงครามไครเมียเมื่อปี 2393 ซึ่งขณะนั้น"ไนติงเกล"เป็นที่รู้จักในนามของ"ผู้หญิงถือตะเกียง"(Lady with the Lamp) คอยดูแลรักษาพยาบาลทหารที่บาดเจ็บในสงครามที่รัสเซียต่อสู้กับอังกฤษ ฝรั่งเศส และจักรพรรดิออตโตมันแห่งตุรกี
5.ความสำคัญของ"ยัลต้า"จุดกำเนิดประวัติศาสตร์แบ่งโลก
เมื่อสงครามโลกครั้งที่2ใกล้จะปิดฉากในปี2488เหล่าผู้นำสัมพันธมิตร ได้แก่ ประธานธิบดีแฟรงคลิน ดี รูสเวลท์ แห่งสหรัฐ,นายกรัฐมนตรีวินสตัน เชอร์ชิล ของอังกฤษ และโจเซฟ สตาลิน ผู้นำเผด็จการรัสเซีย นัดพบกันที่รีสอร์ต"ยัลต้า" ในไครเมียเพื่อหารือแผนแบ่งยุโรปเป็นสองส่วน
ผลจากการประชุมครั้งนั้นทำให้โลกเกิดสงครามเย็น
เป็นจุดกำเนิดแบ่งยุโรปเป็นสองซีก ซีกหนึ่งอยู่ในมือ"รัสเซีย"
และอีกซีกอยู่ในโลกเสรีนิยมที่มีสหรัฐฯเป็นหัวหอก
http://www.matichon....&catid
กลุ่มแบ่งแยกดินแดนพยายามอาศัยช่วงชุลมุนกรณีเหตุวุ่นวายทางการเมืองในกรุงเคียฟ ผลักดันข้อเรียกร้องให้รัสเซียอ้างสิทธิเหนือดินแดนแห่งนี้
สาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมียของยูเครน ถือเป็นป้อมปราการสำคัญสุดท้ายที่ยังต่อต้านผู้นำประเทศคนใหม่ เห็นได้จากภาพผู้ประท้วงโบกธงรัสเซียพร้อมตะโกน "รัสเซีย รัสเซีย" ไปตามท้องถนน
การปลดประธานาธิบดีวิกเตอร์ ยานูโควิช เมื่อวันเสาร์ (22 ก.พ.) เป็นสิ่งที่ได้รับการยอมรับทั่วประเทศ แม้แต่เขตฐานเสียงของเขาทางภาคตะวันออกซึ่งพูดภาษารัสเซีย แต่ไครเมีย อันเป็นคาบสมุทรในทะเลดำที่เชื่อมต่อกับยูเครนด้วยฉนวนแคบ ๆ เป็นจุดเดียวที่ท้าทายรัฐบาลใหม่
ไครเมียมีความน่าสนใจ ตรงที่เป็นพื้นที่เดียวของยูเครนที่ประชาชนส่วนใหญ่มีเชื้อสายรัสเซีย และเป็นที่ตั้งกองเรือทะเลดำของรัสเซีย สภาพการณ์ดังกล่าวทำให้ไครเมียเป็นดินแดนที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ และกลายเป็นจุดสนใจใหม่ในการขับเคี่ยวระหว่างรัสเซียกับชาติตะวันตก เกี่ยวกับอนาคตของยูเครน
ความตึงเครียดปะทุขึ้นในเมืองซิมเฟอโรโพล เมื่อกลุ่มแบ่งแยกดินแดนพยายามอาศัยช่วงชุลมุนกรณีเหตุวุ่นวายทางการเมืองในกรุงเคียฟ ผลักดันข้อเรียกร้องให้รัสเซียอ้างสิทธิเหนือดินแดนแห่งนี้ อันเป็นดินแดนที่นิกิตา ครุชเชฟ ผู้นำคอมมิวนิสต์ มอบให้ยูเครนเมื่อปี 2497
ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น ทำให้สหรัฐเตือนรัสเซียไม่ให้ส่งรถถังไปยังไครเมีย เพราะหากทำเช่นนั้นอาจส่งผลให้เกิดสงครามขึ้นอีกในดินแดนที่มีประวัติศาสตร์ของการสู้รบและเปลี่ยนมือผู้ปกครองมาหลายครั้ง
ด้านประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินแห่งรัสเซีย ก็พยายามแสดงสถานภาพด้วยการสั่งให้กองกำลังทางตะวันตกของรัสเซียเตรียมพร้อม พร้อมกล่าวว่า การกระทำของรัสเซียเป็นไปเพื่อรับประกันความมั่นคงของโรงงานรัสเซียในท่าเรือเซวาสโตโพลในไครเมีย
ในทัศนะของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนในไครเมียแล้ว ไม่มีเวลาใดที่จะขอความช่วยเหลือจากรัสเซียได้เหมาะเท่าช่วงนี้อีกแล้ว
จริงๆ แล้วผู้คนในไครเมีย ได้จัดการชุมนุมมาตั้งแต่ช่วงก่อนหน้าที่สภายูเครนจะถอดถอนนายยานูโควิชลงจากอำนาจ
ในส่วนของรัสเซียนั้น แม้ไม่ได้ชื่นชอบนายยานูโควิชมากนัก แต่ก็สนับสนุนเขา เพราะทราบดีว่าหากนายยานูโควิชพ้นจากอำนาจ อิทธิพลของรัสเซียที่มีต่อยูเครนก็จะลดน้อยลง
การหลุดจากตำแหน่งของนายยานูโควิช ทำให้ประชาชนเชื้อสายรัสเซียกว่า 1 ล้านคนในไครเมีย มองว่าสถานการณ์มีความไม่แน่นอนมากขึ้น และรู้สึกต้องการการปกป้องจากรัสเซีย ที่มีสายสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรมและศาสนาระหว่างกันอย่างแข็งแกร่ง
บางคนก็ไม่พอใจเป็นพิเศษที่ผู้นำใหม่ของยูเครน บังคับใช้กฎหมายที่ให้ความสำคัญกับการใช้ภาษายูเครน ซึ่งไม่ใช่ภาษาแม่ในไครเมีย ดังนั้นจึงไม่ยอมรับกลุ่มผู้นำใหม่ของยูเครน
ข่าวลือที่ว่าผู้ประท้วงจากกรุงเคียฟอาจเดินทางจากเมืองหลวงมาจัดการกับกลุ่มแบ่งแยกดินแดน สร้างความกังวลให้ชาวไครเมีย ถึงขั้นสร้างกองกำลังป้องกันตนเองขึ้นมาอย่างไม่เป็นทางการ
หัวหน้าพรรคแนวร่วมที่เป็นตัวแทนประชาชนเชื้อสายรัสเซีย "นายเกนนาดี บาซอฟ" กล่าวว่า พวกเขาต้องปกป้องตนเองจากอาชญากรติดอาวุธสวมหน้ากาก ที่เดินทางมายังไครเมียเพื่อก่อความไม่สงบ หลังจากทำให้ยูเครนไร้เสถียรภาพไปแล้ว
การรวมชาติกับรัสเซียไม่ใช่เป้าหมายหลักของพรรค แต่พรรคเชื่อว่าการแบ่งแยกยูเครนระหว่างฝั่งตะวันออกที่ประชาชนพูดภาษารัสเซีย กับฝั่งตะวันตก สมเหตุสมผลทั้งในแง่เศรษฐกิจและวัฒนธรรม
นายบาซอฟเปิดเผยว่า ความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของยูเครนอยู่ทางฝั่งตะวันออก ที่ซึ่งประชาชนทำงานอย่างแท้จริง ในฝั่งตะวันตกพวกเขาเดินทางไปกรุงเคียฟเพียงเพื่อประท้วงเท่านั้น อันเป็นการเน้นย้ำถึงการสบประมาทของคนเชื้อสายรัสเซียต่อผู้ประท้วงในยูเครน ที่จำนวนมากมาจากฝั่งตะวันตกของประเท
http://www.bangkokbi...สแยกดินแดน.html