Jump to content


Photo
- - - - -

"ผู้ว่าการจังหวัด" ต่างกับ "ผู้ว่าราชการจังหวัด" อย่างไร???


  • Please log in to reply
4 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 zeedzaad

zeedzaad

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,963 posts

ตอบ 7 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 11:48

มท. คิดอะไรอยู่ จึงมีร่างกฎหมายนี้
“A fool's brain digests philosophy into folly, science into superstition, and art into pedantry. Hence University education. ”George Bernard Shaw

#2 คนกินข้าว

คนกินข้าว

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,422 posts

ตอบ 7 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 11:58

"ราช" แปลว่า กษัตริย์ หรือ พระเจ้าแผ่นดิน

มันแสลงใจคำนี้ เลยตัดออก

เหมือนที่พวกมันเปลี่ยน คำว่า "ข้าราชการ" เป็น "เจ้าหน้าที่ของรัฐ"


"การเมือง เป็นเรื่องผลประโยชน์ส่วนตน ผลประโยชน์ประชาชน เป็นข้ออ้าง"

#3 zeedzaad

zeedzaad

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,963 posts

ตอบ 7 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 12:00


เตรียมจัดเวทีล่ารายชื่อ ดันกม.จังหวัดปกครองตนเองเข้าสภาฯ



http://www.isranews....9-td-forum.html


‘ไพโรจน์ พลเพชร’ ชี้จังหวัดปกครองตนเอง ถือเป็นการปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่พอ ๆ กับสมัยร.5 เปรียบสถานการณ์ปกติ อาจจะต้องเข็นครกขึ้นภูเขากันหนักมาก



วันที่ 31 มกราคม 2557 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา จัดเวทีภาคีพัฒนาประเทศไทย ‘ปฏิรูปการปกครองและการกระจายอำนาจ’ ณ โรงแรม เดอะทวิน ทาวเวอร์ กรุงเทพฯ

นายไพโรจน์ พลเพชร กรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) กล่าวถึง ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การบริหารจังหวัดปกครองตนเอง ว่าข้อเสนอดังกล่าวเกิดขึ้นจากแนวคิดจังหวัดจัดการตนเองของจ.เชียงใหม่ที่เสนอให้คปก. เสนอความเห็นและจัดทำกฎหมายฉบับนี้ขึ้น เราจึงเล็งเห็นควรให้มีกฎหมายกลางขึ้นมาก่อน จากนั้นหากจังหวัดใดมีความพร้อมจะปกครองตนเองก็สามารถจะออกพระราชกฤษฎีกาได้เลย

สำหรับแนวคิดเกี่ยวกับการผลักดันกฎหมายนี้ เกิดจากกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมถึงการรวมศูนย์อำนาจของรัฐไทย แม้จะมีการกระจายอำนาจลงสู่ท้องถิ่น (อบจ. อบต. เทศบาล) แต่โครงสร้างเดิม ๆ ยังคงอยู่ รัฐส่วนกลางยังมีอิทธิพลหลักใน 3 ด้าน ได้แก่ 1.การวางแผนการพัฒนาทุกด้าน 2.สิทธิจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และ3.การจัดการงบประมาณแผ่นดินและภาษี

“แม้ว่าจะมีการกระจายอำนาจลงสู่ท้องถิ่น แต่เรื่องภารกิจและงบประมาณยังคงอยู่ส่วนกลาง ดังนั้นการกระจายอำนาจของไทยจึงไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร” กรรมการคปก. กล่าว และว่าเราจึงเล็งเห็นการกระจายอำนาจจะเป็นทิศทางที่สำคัญของประชาธิปไตย เพราะไม่ว่าไทยจะมีการพัฒนาประชาธิปไตยแบบไหน หากประชาชนยังเข้าไม่ถึงอำนาจและแก้ปัญหาของประชาชนได้ ก็จะเกิดคำถามว่า “ประชาธิปไตยกินไม่ได้ในหมู่ประชาชน”

นายไพโรจน์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ในรัฐธรรมนูญ (รธน.) ปี 2540 และ 2550 ยังบัญญัติไว้เกี่ยวกับการบริหารจังหวัดปกครองตนเองในมาตรา 78 (3) กำหนดให้รัฐต้องกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) พึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการของท้องถิ่นได้เอง ส่งเสริมให้อปท. มีส่วนร่วมในการดำเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ พัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่นให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ รวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็นอปท.ขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น

มาตรา 281 รัฐจะต้องให้ความเป็นอิสระแก่อปท.ตามหลักแห่งการปกครองตนเอง ตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น และส่งเสริมให้อปท. เป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำ บริการสาธารณะ และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจแก้ปัญหาในพื้นที่ รวมถึงท้องถิ่นใดมีลักษณะที่จะปกครองตนเองได้ ย่อมมีสิทธิจัดตั้งเป็นอปท.

“ปรากฏว่าตั้งแต่มีรธน.มายังไม่เคยมีจังหวัดใดที่จัดการปกครองตนเองได้เลย อย่างไรก็ตาม จะต้องเร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวจริงทางปฏิบัติ เพื่อให้เกิดสิทธิเฉกเช่นที่จ.เชียงใหม่ได้ดำเนินการ ดังนั้นเมื่อคปก. พิเคราะห์แล้วจึงเห็นควรให้มีการบริหารจังหวัดปกครองตนเอง” กรรมการคปก. ระบุ

สำหรับสาระสำคัญของ (ร่าง) พ.ร.บ. การบริหารจังหวัดปกครองตนเอง นายไพโรจน์ สรุปว่า เมื่อกฎหมายฉบับนี้คลอดออกมา จังหวัดที่ต้องการจัดตั้งเป็นจังหวัดปกครองตนเอง ประชาชนในพื้นที่จะต้องแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันโดยการออกเสียงประชามติจำนวน 3 ใน 5 ของผู้มาออกเสียงเห็นชอบ จากนั้นกำหนดให้มีสภาจังหวัดปกครองตนเอง ผู้ว่าการจังหวัดปกครองตนเอง และสภาพลเมืองจังหวัดปกครอง

“ผู้ว่าการจังหวัดปกครองตนเองมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี ไม่เกิน 2 สมัย ซึ่งระยะเวลาคิดว่าเหมาะสมแล้ว และไม่ควรให้มีอำนาจผูกขาดเพียงตระกูลใดตระกูลหนึ่ง” กรรมการคปก. กล่าว และว่าส่วนสภาพลเมืองมีหน้าที่กำหนดนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระดับท้องถิ่น การจัดทำบริการสาธารณะ ตลอดจนการสนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบอำนาจของอปท.

ทั้งนี้ อำนาจหน้าที่ของจังหวัดปกครองตนเองจะครอบคลุมทุกเรื่อง แม้กระทั่งกรณีตำรวจ ยกเว้น 4 เรื่องหลัก ได้แก่ 1.การป้องกันประเทศ 2.การคลังของรัฐและระบบเงินตรา 3.การศาล และ 4.ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

นายไพโรจน์ ยังกล่าวถึงเรื่องการคลังและรายได้ ควรให้มีคณะกรรมการบริหารภาษีระหว่างรัฐและอปท. ทำหน้าที่จัดเก็บภาษีอากรและรายได้อื่น โดยภาษีที่ใช้ฐานร่วมระหว่างรัฐกับอปท. เช่น ภาษีเงินได้ส่วนบุคคลธรรมดา ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสุรา ค่าภาคหลวงแร่ เมื่อจัดเก็บแล้วให้ไว้เป็นรายได้ของจังหวัดปกครองตนเองไม่น้อยกว่า 70% ของรายได้ทั้งหมด และนำส่งรายได้ไม่น้อยกว่า 30% ให้แผ่นดิน

ส่วนภาษีท้องถิ่น เช่น ภาษีรถยนต์ ภาษีค้าปลีกยาสูบ ภาษีเพื่อการศึกษา ภาษีการพนัน อากรสัตว์ เมื่อจัดเก็บแล้วให้ตกเป็นของจังหวัดปกครองตนเองทั้งหมด

“จังหวัดปกครองตนเองเป็นประเด็นที่ค่อนข้างท้าทาย ถือเป็นการปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่พอ ๆ กับสมัยรัชกาลที่ 5 เปรียบได้กับการย้อนไปสู่อดีตที่มีท้องถิ่นจังหวัดตนเอง เรียกว่า พลิกการเปลี่ยนความสัมพันธ์ทางอำนาจที่ใหญ่มาก ซึ่งหากเป็นในสถานการณ์ปกติ อาจจะต้องเข็นครกขึ้นภูเขากันหนักมาก” กรรมการคปก. กล่าว

ท้ายที่สุด นายไพโรจน์ ระบุว่า ในใจของตนเองยังเชื่อมั่นว่าประชาชนจะร่วมกันลงประชามติขับเคลื่อนให้เกิดกฎหมายฉบับนี้ เพื่อตัดสินอนาคตตนเอง

ด้านดร.วณี ปิ่นประทีป ผอ.สำนักงานประสานการพัฒนาสังคมสุขภาวะ (สปพส.) กล่าวถึงความคืบหน้าการผลักดันพ.ร.บ.การบริหารจังหวัดปกครองตนเอง ว่า ปัจจุบันมีการผลักดันกฎหมายเพื่อช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมมากขึ้น โดยเฉพาะร่างกม.ฉบับนีีี้มีรูปธรรมที่จะเกิดขึ้นได้มากที่สุด ทำให้เร็ว ๆ นี้จะมีการจัดเวทีเผยเเพร่เเนวคิดในระดับภูมิภาค เพื่อรวมบรวมรายชื่อประชาชนไม่ต่ำกว่า 5,000 ชื่อ เสนอกฎหมาย เพื่อให้เกิดการปฏิรูปประเทศอย่างเเท้จริง

.
.
.
.
.


เสนอพ่วงพรบ.จังหวัดปกครองตนเองกับปฏิรูปประเทศ 31 มกราคม 2557 เวลา 18:31 น. |เปิดอ่าน 785 | ความคิดเห็น 1 8 7 More Sharing Services ทั้งหมด + คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย เสนอพ่วงพ.ร.บ.จังหวัดปกครองตนเองกับกระบวนการปฏิรูปประเทศ วันที่....... อ่านต่อได้ที่ : http://bit.ly/1hWr8aY

.
.
.
ร่าง....ดาวน์โหลดที่ http://www.lrct.go.th/th/?p=9314
“A fool's brain digests philosophy into folly, science into superstition, and art into pedantry. Hence University education. ”George Bernard Shaw

#4 templar

templar

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,180 posts

ตอบ 8 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 20:22

ข้าราชการ   เปลี่ยนเป็น   เจ้าหน้าที่รัฐ  

 

ผู้ว่าราชการจังหวัด   เปลี่ยนเป็น   ผู้ว่าการจังหวัด

 

จินตนาการน้ำแตกของฟักแม้ว   -_-


อย่ามาเห่าว่ากรูมาจากการเลือกตั้ง  เพราะการเลือกตั้งไม่ใช่ทุกอย่างของประชาธิปไตย

การตรวจสอบบ้านเมืองอย่างเข้มข้น  ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและตุลาการ  จำเป็นสำหรับประเทศไทย

 

สิ่งที่บ่งบอกว่าประเทศไหนพัฒนาแล้วไม่ได้ดูที่  มีตึกสูงมากเท่าไร  มีห้างเยอะไหม  มีจีดีพีสูงแค่ไหน

แต่ดูที่การศึกษา  และ คุณภาพของบุคลากรภายในประเทศ


#5 ธีรเดชน้อย

ธีรเดชน้อย

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,659 posts

ตอบ 8 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 20:30

แนวคิดคล้ายๆ กปปส. ทำไมไม่มาร่วมกัน ?? 


" จุดเริ่มของการรัฐประหาร 22 พ.ค. 2557 หลังจากรัฐบาลเพื่อไทยได้บริหารประเทศล้มเหลวมาตลอด 2 ปีเศษ มีการทุจริตคอรัปชั่นมากมาย มีการนำพรบ.นิรโทษกรรมมาอนุมัติผ่านสภาฯเพื่อช่วยเหลือ น.ช. ทักษิณ ทำให้มวลมหาประชาชนลุกขึ้นประท้วงต่อต้าน แม้จนกระทั่ง ศาลรัฐธรรมนูญและปปช. ได้ตัดสินและชี้มูลความผิดจนต้องพ้นออกจากตำแหน่งแล้วก็ตาม ทำให้ประเทศชาติต้องหยุดนิ่ง สุดท้ายเมื่อ พลเอก ประยุทธ ผบ.ทบ.ได้เรียกทุกฝ่ายเข้ามาคุยเพื่อหาทางออกแล้ว โดยขอให้ ครม.ที่ยังคงเหลือลาออกเพื่อตั้งนายกฯเพื่อการปฎิรูปประเทศ แต่ไร้ซึ่งการตอบสนองและการเสียสละ ทำให้พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา จำเป็นต้องประกาศยึดอำนาจ   "

 

 





ผู้ใช้ 2 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 2 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน