Jump to content


Photo
- - - - -

ตุลาการศาลปกครองสูงสุดเสียงข้างน้อย แย้งคดีคืนตำแหน่ง ถวิล เปลี่ยนศรี


  • Please log in to reply
30 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 sumitta

sumitta

    น้องใหม่

  • Members
  • Pip
  • 4 posts

ตอบ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 00:02

ตุลาการศาลปกครองสูงสุดเสียงข้างน้อย แย้งคดีคืนตำแหน่ง  ถวิล เปลี่ยนศรี  

 

1.jpg

 

 

ตุลาการ ศาลปกครองสูงสุดเสียงข้างน้อย แย้งคดีคืนตำแหน่ง "ถวิล เปลี่ยนศรี " อดีตเลขา สมช. ระบุไม่เห็นพ้องกับมติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดฝ่ายเสียงข้าง มาก แต่เห็นพ้องด้วยกับร่างคำพิพากษาเดิมขององค์คณะที่ 3 ชี้คำสั่งย้อนหลังมีผลในทางนิตินัยเท่านั้น แต่มิได้มีผลในทางพฤตินัยเพราะความเป็นจริงไม่อาจย้อนเวลากลับไปหาอดีตได้ อีก องค์คณะตุลาการศาลปกครองสูงสุด จำนวน 3 คน ออกนั่งบัลลังก์เริ่มอ่านคำพิพากษาและวินิจฉัยคดีหมายเลขดำที่ อ.992/2556 กรณีนายถวิล เปลี่ยนศรี อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ยื่นฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) เนื่องจากถูกโยกย้ายตำแหน่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยถูกย้ายตำแหน่งจากเลขาธิการ สมช. มาเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 7 ก.ย. 2554 และมีคำสั่งให้คืนตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ให้กับนายถวิล เปลี่ยนศรี ภายในระยะเวลา 45 วัน นับแต่วันที่มีคำพิพากษา เนื่องจากเห็นว่าการออกคำสั่งโอนย้ายดังกล่าวไม่มีความชัดเจนในเหตุผลข้อ เท็จจริงเกี่ยวกับความเหมาะสมและได้ปฏิบัติหน้าที่ไม่มีประสิทธิภาพมีข้อ บกพร่องหรือไม่สนองนโยบายรัฐบาลตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี จึงไม่มีเหตุสมควรถูกโอนย้ายตำแหน่ง ถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่ชอบโดยกฎหมาย

 

ขณะ เดียวกันตุลาการในศาลปกครองสูงสุดเสียงข้างน้อย ทำความเห็นแย้งไม่เห็นพ้องด้วยกับมติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ฝ่ายเสียงข้างมาก แต่เห็นพ้องด้วยกับร่างคำพิพากษาเดิมของศาลปกครองสูงสุดโดยองค์คณะที่ 3 โดยทำความเห็นแย้งไว้ดังนี้

ความเห็นแย้ง คดีหมายเลขดำที่ อ. 992/2556

 

ตุลาการ ในศาลปกครองสูงสุดฝ่ายเสียงข้างน้อย ... ไม่เห็นพ้องด้วยกับมติของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดฝ่ายเสียง ข้างมากดังกล่าวข้างต้น แต่เห็นพ้องด้วยกับร่าง คำพิพากษาเดิมของศาลปกครองสูงสุดโดยองค์คณะที่ 3 จึงขอทำความเห็นแย้งไว้ดังนี้

1. สรุปผลการพิจารณาพิพากษาคดีและการกำหนดคำบังคับที่แตกต่างกันระหว่างศาล ปกครองชั้นต้น ศาลปกครองสูงสุดโดยองค์คณะที่ 3 ประธานศาลปกครองสูงสุด และมติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดฝ่ายเสียงข้างมาก

2. ความเห็นแย้งของตุลาการในศาลปกครองสูงสุดฝ่ายเสียงข้างน้อย

3. ความเห็นแย้งเฉพาะตน

 

อ่านรายละเอียด เพิ่มเติมได้ >>>>>  http://prachatai.com...l/2014/03/52174



#2 ppneer

ppneer

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 7,201 posts

ตอบ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 00:06

อึๆๆๆๆ ตกลงเป็นประชาธิปไตย มั้ยครับ


ขวานทอง บรรพบุรุษ เป็นคนสร้างให้เราทุกวันนี้ ตัวกูจะปกปักรักษาเท่าชีวิตเพื่อ พ่อหลวง กูถวายชีวิตใอ้แม้ว ออกไปๆๆๆ กูเกลียดใอ้แม้ว

#3 ไทยไม่ทน

ไทยไม่ทน

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,381 posts

ตอบ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 00:15

อ้าว ก็เสียงข้างมากที่ฝ่ายประชาธิปไตย เค้าเชียร์ไม่ใช่เหรอ

มีอะไรผิดปกติหรือไง


llllllllllllllllllllllllllllll

llllllllllllllllllllllllllllll

llllllllllllllllllllllllllllll

 


#4 sumitta

sumitta

    น้องใหม่

  • Members
  • Pip
  • 4 posts

ตอบ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 00:20

เนื่องจากเห็นว่าการออกคำสั่งโอนย้ายดังกล่าวไม่มีความชัดเจน



#5 ทองดี

ทองดี

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 618 posts

ตอบ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 00:29

บอกที่มาของคุณได้เลยครับ  ประชาไท



#6 HiddenMan

HiddenMan

    Long Live The King

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,023 posts

ตอบ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 00:30

14 ต่อ 8 ก็จบแล้วนิ่ครับ...


“Live as if you were to die tomorrow. Learn as if you were to live forever.”  - Mahatma Gandhi

 

สนใจบ้านพักคนชราเสรีไทย (FB Secret Group) ติดต่อ (PM) เว็บบอร์ด

https://www.facebook...denman.serithai


#7 หลวงประดิษฐ ดูมันทำ

หลวงประดิษฐ ดูมันทำ

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 836 posts

ตอบ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 00:34

จะต้องชนะแบบ 22 ต่อ 0 หรือไงครับ ถึงเรียกว่าประชาธิปไตย  ????????  B)


คนที่อยากเลือกตั้ง ก็ไม่ต่างอะไรกับ คนที่ต้องการมี เพศสัมพันธ์ ????? ต่อให้เค้ารู้ว่าเมื่อเลือกไปก็เกิดปัญหา

ซึ่งก็ไม่ต่างอะไรกับกับการที่มีเพศสัมพันธ์ทั้ง ๆ ที่รู้ว่า กำลัง อึ๊-บ ปี๊ กับคนที่เป็นเอดส์
 


#8 คลำปม

คลำปม

    สลิ่มเต็มขั้นจ้า

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,657 posts

ตอบ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 00:40

*
POPULAR

เสียงข้างน้อยมีความหมายเสมอครับ

 

การทำความเห็นแย้งให้เป็นหลักฐานบันทึกไว้จึงเหมาะสมถูกต้องทุกประการ

 

แต่โดยคำพิพากษา  ซึ่งถือเป็นที่สุด  ก็ต้องว่าไปตามนั้นครับ

 

 

และมีแต่เสียงข้างมากที่ไร้คุณภาพเท่านั้นแหละครับ  ที่ไม่รู้คุณค่าของเสียงข้างน้อย

 

ตอนที่คนแทบทั้งโลกเชื่อว่าโลกแบน  เสียงข้างน้อยเคยเชื่อว่าโลกกลม

 

ตอนที่คนไทยเราแห่เลือกพรรคการเมืองนึงให้เป็นเสียงข้างมาก  

 

มันก็ไม่ได้มีอะไรยืนยันเลยว่าการเลือกนั้นถูกต้อง

 

 

รัฐบาลทั่วโลกที่ทำผิดจนมีผู้คนออกมาประท้วงขับไล่

 

ก็ล้วนมาจากเสียงข้างมากทั้งนั้นแหละครับ


วิธีการยุติระบอบทักษิณ

ก็แค่เพียงทำให้คนไทยส่วนใหญ่ "ฉลาด"


#9 เรื่อยๆเอื่อยๆ

เรื่อยๆเอื่อยๆ

    There is a face beneath this mask, but it isn't me.

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,223 posts

ตอบ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 01:37

ข้างไหนผมก็ฟังครับ แต่เมื่อกฎหมายระบุให้ใช้ตุลาการเสียงข้างมาก ไม่ใช่ตุลาการเสียงเอกฉันท์ ใครจะเอาเรื่องความเห็นแย้งมาเล่นเข้าข้างนายก ผมถือว่าไม่เคารพกฎหมายครับ



#10 Bookmarks

Bookmarks

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 33,617 posts

ตอบ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 02:20

อะไรที่อยู่ข้างตัวเองก็เอามาเป็นพวกได้หมด แต่ถ้าลองเสียงข้างน้อยตอนนี้ ไปตัดสินคดีให้รัฐบาลนี้ผิด ก็เอาตุลาการที่เคยเอามาอ้างเข้าข้างตัวเอง มาด่าได้อีก สรุปแล้วควายแดงมันผูกขาดความถูกต้องของมันไว้แล้ว แต่ไม่ดูหนังหน้า กับปัญญาสมองของพวกมันเลย 



#11 templar

templar

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,180 posts

ตอบ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 03:50

อย่าลืมว่าทักษิณชนะ  5 ต่อ 4  คดีซุกหุ้นจนมีทรราชย์มาถึงทุกวันนี้น่ะครับ


อย่ามาเห่าว่ากรูมาจากการเลือกตั้ง  เพราะการเลือกตั้งไม่ใช่ทุกอย่างของประชาธิปไตย

การตรวจสอบบ้านเมืองอย่างเข้มข้น  ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและตุลาการ  จำเป็นสำหรับประเทศไทย

 

สิ่งที่บ่งบอกว่าประเทศไหนพัฒนาแล้วไม่ได้ดูที่  มีตึกสูงมากเท่าไร  มีห้างเยอะไหม  มีจีดีพีสูงแค่ไหน

แต่ดูที่การศึกษา  และ คุณภาพของบุคลากรภายในประเทศ


#12 Googeee

Googeee

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 254 posts

ตอบ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 05:11

https://www.youtube....h?v=IfQy1TNsutg         เวลาศาลตัดสินถูกใจ

https://www.youtube....h?v=E5BumBu4UqY     เวลาศาลตัดสินไม่ถูกใจ



#13 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 07:49

เนื่องจากเห็นว่าการออกคำสั่งโอนย้ายดังกล่าวไม่มีความชัดเจน

 

กี่ท่านที่ไม่เห็นว่าชัดเจน กี่ท่านเห็นว่าชัดเจน แสดงว่ามีอยู่จริง เห็นได้จริง ที่เห็นไม่ชัดก้ต้องไปถามท่านที่เห็นชัด ก็จะเห็นเอง


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#14 sos42

sos42

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 669 posts

ตอบ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 08:05

ที่อย่างนี้มาสนใจเสียงข้างน้อย ก่อนหน้านี้ด่าคนอื่นว่าไอ้พวกเสียงข้างน้อย  :lol:

คนเราทำทุกอย่างเพื่อประโยชน์ของตัวเองจริงๆ 



#15 temp

temp

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,682 posts

ตอบ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 09:09

2.2.2 ในกรณีที่มีการเพิกถอนนิติกรรมทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จะกำหนดให้การเพิกถอนมีผลย้อนหลังหรือไม่ย้อนหลังหรือมีผลไปในอนาคต นั้น ในระบบกฎหมายปกครองของต่างประเทศ (เช่น ในประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส) มีวิวัฒนาการดังนี้

(1) แต่เดิม ศาลปกครองของของฝรั่งเศสจะถือเคร่งครัดว่า นิติกรรมทางปกครองใดที่ศาลวินิจฉัยว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลจะเพิกถอนนิติกรรมทางปกครองนั้นโดยให้การเพิกถอนมีผลย้อนหลังไปถึงวันที่นิติกรรมทางปกครองดังกล่าวมีผลใช้บังคับโดยยึดถือตามหลักการที่ว่าการกระทำทางปกครองต้องชอบด้วยกฎหมาย และเป็นหน้าที่ของหน่วยงานทางปกครองที่จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลที่ให้เพิกถอนโดยให้มีผลย้อนหลัง ซึ่งก็คือการย้อนเวลากลับไปในอดีตโดยถือเสมือนหนึ่งว่าไม่เคยมีการออกนิติกรรมทางปกครองที่ถูกศาลเพิกถอนมาก่อน เช่น ในกรณีที่ศาลเพิกถอนประกาศผลการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ หรือในกรณีที่ศาลเพิกถอนคำสั่งลงโทษทางวินัยข้าราชการหรือคำสั่งให้ข้าราชการออกจากราชการด้วยเหตุอื่นโดยให้การเพิกถอนมีผลย้อนหลัง หน่วยงานทางปกครองก็จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลโดยการจัดให้มีการสอบแข่งขันใหม่หรือโดยการดำเนินการให้ข้าราชการที่ถูกสั่งให้ออกจากราชการได้กลับคืนสู่สถานภาพเดิม โดยจะต้องคืนตำแหน่ง เงินเดือน สิทธิในการเลื่อนขั้นเงินเดือน สิทธิในการเลื่อนระดับตำแหน่ง อายุราชการ ฯลฯ ทั้งนี้ โดยพิจารณาตามกฎเกณฑ์ทางกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น

(2) ต่อมา ศาลปกครองของฝรั่งเศสได้ยอมรับว่า หน้าที่ของหน่วยงานทางปกครองที่จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลที่ให้เพิกถอนนิติกรรมทางปกครองโดยให้มีผลย้อนหลังโดยการดำเนินการให้ผู้ฟ้องคดีที่ชนะคดีได้กลับคืนสู่สถานภาพเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการดำเนินการให้ผู้ที่ถูกสั่งให้ออกจากราชการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ได้กลับเข้ารับราชการนั้น อาจกระทำได้แต่เพียงในทางนิตินัยเท่านั้น มิได้หมายความว่า หน่วยงานทางปกครองมีหน้าที่ต้องดำเนินการให้ผู้นั้นได้กลับเข้ารับราชการในทางพฤตินัยจริงๆ ทั้งนี้ เนื่องจากในระหว่างการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลซึ่งอาจใช้เวลานานหลายปี ผู้ฟ้องคดีอาจจะขาดคุณสมบัติที่จะกลับเข้ารับราชการได้แล้ว เช่น ผู้ฟ้องคดีมีอายุเกินกำหนดหรือมีปัญหาเจ็บป่วยหรือทุพพลภาพ เช่นนี้ การดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลก็คือการดำเนินการในทางนิตินัย โดยการคืนสิทธิอันพึงมีพึงได้ให้แก่ผู้ฟ้องคดีเท่าที่ยังสามารถดำเนินการให้ได้อยู่ (เช่น เงินเดือนสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่อาจคำนวณเป็นเงินได้) และโดยการชดเชยความเสียหายเป็นเงินให้แก่ผู้ฟ้องคดีแทนการดำเนินการในทางพฤตินัย

นอกจากนี้ ในกรณีที่ผู้ฟ้องคดียังมีคุณสมบัติที่จะกลับเข้ารับราชการได้ ก็มิได้หมายความว่า หน่วยงานทางปกครองจะต้องดำเนินการให้ผู้ฟ้องคดีได้กลับเข้ารับราชการในตำแหน่งเดิมเสมอไป ทั้งนี้ เนื่องจากในระหว่างการพิจารณาพิพากษาคดีของศาล ในตำแหน่งเดิมที่ผู้ฟ้องคดีเคยครองอยู่ ก็ย่อมมีการแต่งตั้งบุคคลอื่นให้ดำรงตำแหน่งแทนผู้ฟ้องคดีไปแล้วหลายคน ดังนั้น หน่วยงานทางปกครองจึงอาจแต่งตั้งให้ผู้ฟ้องคดีกลับเข้าสู่ตำแหน่งที่มีลักษณะเหมือนกันหรือตำแหน่งที่เทียบเท่าได้ โดยมีข้อยกเว้นสำหรับตำแหน่งผู้พิพากษาหรือตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานบางหน่วยงานที่มีลักษณะเฉพาะ

(3) โดยที่การที่ศาลปกครองเพิกถอนนิติกรรมทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายโดยให้การเพิกถอนมีผลย้อนหลังอาจมีผลกระทบต่อหลักความมั่นคงทางนิติฐานะและการคุ้มครองสิทธิของบุคคลซึ่งสุจริต ตลอดจนส่งผลกระทบต่อการบริหารราชการแผ่นดินในวงกว้างได้ ดังนั้น นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา ศาลปกครองของฝรั่งเศสจึงปรับเปลี่ยนแนวคำวินิจฉัยเดิมที่เคยถือเคร่งครัดว่าจะต้องเพิกถอนโดยให้มีผลย้อนหลังเสมอ เป็นให้มีข้อยกเว้นได้ในกรณีที่การเพิกถอนนิติกรรมทางปกครองโดยให้มีผลย้อนหลังจะส่งผลกระทบที่รุนแรงเกินขนาดอย่างชัดแจ้งและก่อให้เกิดผลที่ตามมาซึ่งไม่ได้สัดส่วนกับความไม่ชอบด้วยกฎหมายของนิติกรรมทางปกครองนั้น ในกรณีเช่นว่านี้ ศาลปกครองอาจเพิกถอนนิติกรรมทางปกครองนั้นโดยให้การเพิกถอนมีผลไปในอนาคตได้ ทั้งนี้ เพื่อมิให้ส่งผลกระทบต่อผลทางกฎหมายของนิติกรรมทางปกครองนั้นที่ได้เกิดขึ้นแล้วตั้งแต่วันที่นิติกรรมทางปกครองนั้นได้มีผลใช้บังคับมาจนถึงวันที่ศาลมีคำพิพากษาให้เพิกถอน นอกจากนี้ ในกรณีที่ศาลปกครองเพิกถอนนิติกรรมทางปกครองที่ได้ออกมาโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ศาลปกครองก็อาจกำหนดให้การเพิกถอนมีผลไปในอนาคตได้ ทั้งนี้ เพื่อให้หน่วยงานทางปกครองได้มีโอกาสและเวลาไปดำเนินการจัดทำนิติกรรมทางปกครองในเรื่องนั้นใหม่โดยดำเนินการให้ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้

ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ในระบบกฎหมายปกครองของต่างประเทศนั้นการเพิกถอนนิติกรรมทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ศาลปกครองไม่จำเป็นต้องเพิกถอนโดยให้มีผลย้อนหลังเสมอไป โดยศาลปกครองอาจเพิกถอนโดยให้มีผลไปในอนาคตก็ได้ในกรณีที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น

 

------------------------------

 

2.2.3 ในระบบกฎหมายปกครองของไทย มีการบัญญัติไว้อย่างชัดเจนในกฎหมาย 2 ฉบับว่า การเพิกถอนนิติกรรมทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจะให้มีผลย้อนหลังหรือไม่ย้อนหลังหรือมีผลไปในอนาคตถึงขณะใดขณะหนึ่งก็ได้ ดังนี้คือ

(1) พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

“ มาตรา 50 คำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายอาจถูกเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วนโดยจะให้มีผลย้อนหลังหรือไม่ย้อนหลังหรือมีผลในอนาคตไปถึงขณะใดขณะหนึ่งตามที่กำหนดได้ แต่ถ้าคำสั่งนั้นเป็นคำสั่งซึ่งเป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้รับ การเพิกถอนต้องเป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 51 และมาตรา 52”

“มาตรา 51 การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งเป็นการให้เงินหรือให้ทรัพย์สินหรือให้ประโยชน์ที่อาจแบ่งแยกได้ ให้คำนึงถึงความเชื่อโดยสุจริตของผู้รับประโยชน์ในความคงอยู่ของคำสั่งทางปกครองนั้นกับประโยชน์สาธารณะประกอบกัน ฯลฯ”

(2) พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542

“มาตรา 72 ในการพิพากษาคดี ศาลปกครองมีอำนาจกำหนดคำบังคับอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (1) สั่งให้เพิกถอนกฎหรือคำสั่งหรือสั่งห้ามการกระทำทั้งหมดหรือบางส่วน ในกรณีที่มีการฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) ฯลฯ ฯลฯ

ในการมีคำบังคับตามวรรคหนึ่ง (1) ศาลปกครองมีอำนาจกำหนดว่าจะให้มีผลย้อนหลังหรือไม่ย้อนหลังหรือมีผลไปในอนาคตถึงขณะใดขณะหนึ่งได้ หรือจะกำหนดให้มีเงื่อนไขอย่างใดก็ได้ ทั้งนี้ ตามความเป็นธรรมแห่งกรณี ฯลฯ ฯลฯ”

ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ในระบบกฎหมายปกครองของไทยนั้น การเพิกถอนนิติกรรมทางปกครอง (กฎหรือคำสั่งทางปกครอง) ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่จำเป็นต้องเพิกถอนโดยให้มีผลย้อนหลัง โดยอาจเพิกถอนให้มีผลไม่ย้อนหลังหรือมีผลไปในอนาคตก็ได้ โดยให้คำนึงถึงความเชื่อโดยสุจริตของผู้ที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์สาธารณะประกอบกัน ทั้งนี้ ตามความเป็นธรรมแห่งกรณ

 

 

------------------------------

 

 

2.3 ในการพิจารณาพิพากษาคดีที่ผ่านมาที่มีการเพิกถอนนิติกรรมทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลปกครองสูงสุดได้เคยกำหนดให้การเพิกถอนมีผลไม่ย้อนหลังมาแล้วหลายคดี...........................................[บลาๆๆๆ]

 

2.4 ในคดีอื่นที่ศาลปกครองสูงสุดได้เคยพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งโอนข้าราชการโดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่คำสั่งโอนมีผลใช้บังคับนั้น ตำแหน่งข้าราชการที่มีการโอนมีความแตกต่างจากตำแหน่งที่เป็นปัญหาในคดีนี้ เช่น

คดีหมายเลขแดงที่ อ. 229/2554 ระหว่างนายจาดุร อภิชาตบุตร ผู้ฟ้องคดี กับนายกรัฐมนตรี ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 กับพวก

ในคดีดังกล่าว ผู้ฟ้องคดีถูกโอนจากตำแหน่งรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีไปเป็นผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งศาลปกครองสูงสุดพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งโอนผู้ฟ้องคดีโดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่คำสั่งโอนมีผลบังคับ ซึ่งตำแหน่งในคดีดังกล่าวมีลักษณะที่แตกต่างจากตำแหน่งในคดีนี้ กล่าวคือ ตำแหน่งรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นตำแหน่งรองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงที่มีได้หลายตำแหน่ง และในกรณีที่ศาลปกครองพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งโอนโดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่คำสั่งโอนมีผลบังคับ ถึงแม้ว่าในขณะนั้น ตำแหน่งรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเลขที่ตำแหน่งเดิมที่ผู้ฟ้องคดีในคดีดังกล่าวเคยครองอยู่จะไม่ว่างแล้วเนื่องจากได้มีการแต่งตั้งบุคคลอื่นให้มาดำรงตำแหน่งแทนแล้วก็ตาม ก็มิได้หมายความว่าผู้ถูกฟ้องคดีจะต้องทำให้ตำแหน่งรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเลขที่ตำแหน่งเดิมที่ผู้ฟ้องคดีในคดีดังกล่าวเคยครองอยู่ว่างลงโดยการโอนบุคคลอื่นซึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งในขณะนั้นไปดำรงตำแหน่งอื่น แต่ผู้ถูกฟ้องคดีก็สามารถขอให้ ก.พ. ดำเนินการตามมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 โดยกำหนดตำแหน่งรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีขึ้นมาใหม่เป็นการเฉพาะตัวของผู้ฟ้องคดีในคดีดังกล่าวได้ แต่ตำแหน่งในคดีนี้เป็นตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติซึ่งเป็นตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี

ซึ่งนอกจากจะเป็นตำแหน่งที่มีเพียงตำแหน่งเดียวแล้ว ยังเป็นตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการที่ปฏิบัติราชการรับผิดชอบงานด้านความมั่นคงของประเทศโดยตรงที่ผู้ดำรงตำแหน่งจะต้องเป็นบุคคลซึ่งได้รับความไว้วางใจจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ว่าจะสามารถปฏิบัติราชการตอบสนองนโยบายด้านความมั่นคงของรัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย ซึ่งที่ผ่านมา เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล รัฐบาลใหม่ที่เข้ามาบริหารราชการแผ่นดินแทนรัฐบาลเดิมก็จะคัดเลือกบุคคลที่รัฐบาลใหม่ให้ความไว้วางใจให้เข้ามาดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ นอกจากนี้ ยังปรากฏข้อเท็จจริงในคดีนี้ว่า ภายหลังจากที่ได้มีการโอนผู้ฟ้องคดีให้พ้นจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติแล้ว ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงตัวผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวจากผู้ฟ้องคดีมาเป็นพลตำรวจเอก วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี และได้มีการเปลี่ยนแปลงตัวผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวจากพลตำรวจเอก วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี มาเป็น พลโท ภราดร พัฒนถาบุตร ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่มิได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับ การพิจารณาพิพากษาคดีนี้และได้เข้าดำรงตำแหน่งดังกล่าวโดยสุจริต โดยไม่มีผู้ใดนำคำสั่งแต่งตั้งพลโท ภราดร พัฒนถาบุตร มาฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อขอให้เพิกถอน ดังนั้น การที่ศาลปกครองพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งโอนผู้ฟ้องคดีโดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่คำสั่งดังกล่าวมีผลบังคับ ก็ย่อมจะมีผลกระทบต่อการดำรงตำแหน่งดังกล่าวของพลโท ภราดร พัฒนถาบุตร และอาจมีผลกระทบต่อความต่อเนื่องของการปฏิบัติราชการของผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติตามภารกิจต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายจากสภาความมั่นคงแห่งชาติและจากรัฐบาลได้ นอกจากนี้ การเพิกถอนคำสั่งโอนผู้ฟ้องคดีโดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่คำสั่งโอนมีผลบังคับ ก็มีผลในทางนิตินัยเท่านั้น แต่มิได้มีผลในทางพฤตินัยเพราะตามความเป็นจริงไม่อาจย้อนเวลากลับไปหาอดีตได้อีกแล้ว

ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดฝ่ายเสียงข้างน้อย จึงไม่เห็นพ้องด้วยกับมติของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดฝ่ายเสียงข้างมากที่ให้เพิกถอนประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน ลงวันที่ 30 กันยายน 2554 ให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับ โดยมีข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวทางหรือวิธีการดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ควรที่จะพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายเพื่อให้ผู้ฟ้องคดีได้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ทั้งนี้ ภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่มีคำพิพากษา โดยตุลาการในศาลปกครองสูงสุดฝ่ายเสียงข้างน้อยเห็นควรกำหนดให้การเพิกถอนประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าวมีผลเมื่อครบกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่มีคำพิพากษานี้ โดยมีข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวทางหรือวิธีการดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาโดยให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 พิจารณาดำเนินการตามกฎหมายเพื่อให้ผู้ฟ้องคดีได้ดำรงตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งอื่นที่มีอำนาจหน้าที่ในทางบริหารเทียบเท่ากับตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ทั้งนี้ ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่มีคำพิพากษา

 

 

------------------------------

 

 

3. ความเห็นแย้งเฉพาะตน

นอกจากความเห็นแย้งดังกล่าวข้างต้นแล้ว นายวิษณุ วรัญญู ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด ยังมีความเห็นแย้งเพิ่มเติมอันเป็นความเห็นเฉพาะตน......................................[หลายบรรทัด] ...................................

 

กรณีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 30 กันยายน 2554 เป็นเรื่องที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างว่าการแต่งตั้งโยกย้ายตำแหน่งผู้ฟ้องคดีไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ฟ้องคดีจึงต้องปฏิบัติตามข้อ 7 ของ กฎ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ พ.ศ. 2551 เสียก่อน เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ฟ้องคดีได้ดำเนินการ กรณีจึงต้องถือว่าผู้ฟ้องคดีไม่มีสิทธิฟ้องคดีนี้ตามมาตรา 42 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542

3. ในคำขอท้ายฟ้องลงวันที่ 30 เมษายน 2555 ผู้ฟ้องคดีมิได้ระบุขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 30 กันยายน 2554 การที่ศาลปกครองชั้นต้นและศาลปกครองสูงสุดหยิบยกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 30 กันยายน 2554 ขึ้นมาพิจารณาและพิพากษาเพิกถอน จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ

โดยที่ประเด็นเรื่องการพิพากษาเกินคำขอเป็นข้อกฎหมายสำคัญและเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยอันศาลปกครองสูงสุดหยิบยกขึ้นพิจารณาได้เองแม้คู่กรณีจะมิได้กล่าวอ้างในอุทธรณ์ จึงไม่เห็นด้วยที่ที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดไม่หยิบยกประเด็นนี้ขึ้นพิจารณาด้วย

 

โดยที่ก่อนผู้ฟ้องคดีนำคดีนี้มาฟ้องต่อศาลปกครองกลางเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2555 ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 30 กันยายน 2554 อันมีผลทำให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติและได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำแล้ว

 

คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 152/2554 ลงวันที่ 7 กันยายน 2554 ที่ให้ผู้ฟ้องคดีไปปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี จึงสิ้นผลไปโดยปริยายแล้ว เหตุแห่งการฟ้องคดีในคดีนี้จึงหมดสิ้นไป ดังนั้น นายวิษณุ วรัญญู ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด จึงเห็นว่าคดีนี้ชอบที่ศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ


Edited by temp, 11 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 09:46.

ควายตัวนี้สีขาว


#16 เสือน้อย

เสือน้อย

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,990 posts

ตอบ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 09:15

ก็ต้องว่าไปตามข้อบังคับ ว่าไปตามกฎหมาย

ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติที่ความเห็นในบางกรณีไม่ตรงกัน

แต่ก็ต้องถือหลักประชาธิปไตย

เว้นแต่ .. กฎหมาย หรือ ข้อบังคับ ที่ระบุไว้ว่า

ต้องเป็นเอกฉันท์เท่านั้น ถึงจะมีผลบังคับ


-- อรุณสวัสดิ์ทุกท่าน -- http://www.Arunsawat.com

#17 DoctorK

DoctorK

    ช่างท.บ.กิ๊กก๊อก

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,046 posts

ตอบ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 09:18

เสียงข้างมากคือความถูกต้องงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงง

 

 

 

 

จขกท.เคยได้ยินคำนี้ไหมครับ

 

:lol:  :lol:  :lol: 


รักที่สุดคือพ่อหลวง ห่วงที่สุดคือคนที่รักประชาธิปไตยจนเสียสติ

 

หากโพสไหนไม่เหมาะสม MODลบได้เลยนะครับ


#18 ธีรเดชน้อย

ธีรเดชน้อย

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,659 posts

ตอบ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 09:25

ไม่ว่าจะเสียงข้างมากหรือน้อย ต่างตัดสินด้วยความเห็นทางข้อกฎหมาย 

 

เมื่อคืนที่อ่านเจอ ข่าวนี้เป็นของสำนักข่าวอิศรา ครับ 


" จุดเริ่มของการรัฐประหาร 22 พ.ค. 2557 หลังจากรัฐบาลเพื่อไทยได้บริหารประเทศล้มเหลวมาตลอด 2 ปีเศษ มีการทุจริตคอรัปชั่นมากมาย มีการนำพรบ.นิรโทษกรรมมาอนุมัติผ่านสภาฯเพื่อช่วยเหลือ น.ช. ทักษิณ ทำให้มวลมหาประชาชนลุกขึ้นประท้วงต่อต้าน แม้จนกระทั่ง ศาลรัฐธรรมนูญและปปช. ได้ตัดสินและชี้มูลความผิดจนต้องพ้นออกจากตำแหน่งแล้วก็ตาม ทำให้ประเทศชาติต้องหยุดนิ่ง สุดท้ายเมื่อ พลเอก ประยุทธ ผบ.ทบ.ได้เรียกทุกฝ่ายเข้ามาคุยเพื่อหาทางออกแล้ว โดยขอให้ ครม.ที่ยังคงเหลือลาออกเพื่อตั้งนายกฯเพื่อการปฎิรูปประเทศ แต่ไร้ซึ่งการตอบสนองและการเสียสละ ทำให้พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา จำเป็นต้องประกาศยึดอำนาจ   "

 

 


#19 ปุถุชน

ปุถุชน

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 27,531 posts

ตอบ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 09:39

ตุลาการศาลปกครองสูงสุดเสียงข้างน้อย แย้งคดีคืนตำแหน่ง ถวิล เปลี่ยนศรี

Started by sumitta, Today, 00:02
 
 
sumitta เอ๋ย....
sumitta เลือก'เสียงข้างมาก'ถูกต้องในบางกรณี ไม่ถูกต้องในบางกรณี...?
sumitta เลือก'เสียงข้างน้อย'ถูกต้องในบางกรณี ไม่ถูกต้องในบางกรณี...?
 
sumitta เลือกเสียงข้างมากในสภาถูกต้อง ในกรณีที่รัฐบาลทักษิณ-ยิ่งลักษณ์ พรรคเพื่อไทย มีเสียงข้างมาก....
sumitta เลือกเสียงข้างน้อยในศาลปกครองถูกต้อง ในกรณีเสียงข้างน้อยในศาลปกครองพิจารณาเป็นประโยชน์กับรัฐบาลยิ่งลักษณ์....
 
ฮืมม์................ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า
 
 
กระทู้นี้เป็นกระทู้แรก เป็นกระทุ้เฉพาะกิจ ?

Edited by ปุถุชน, 11 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 09:40.

เคียงข้างลุงกำนัน ปฏิรูปการเมืองไทย กำจัดระบอบทักษิณ ขับไล่มวลหมู่ขี้ข้า วันที่ 26 พฤษภาคม 2557...


#20 applejaa

applejaa

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 460 posts

ตอบ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 09:46

:D



#21 galaxy2

galaxy2

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,063 posts

ตอบ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 10:12

หงายเงิบไป...ฟายแดงทุกตัวมาทีไร เอาโชว์โง่ โชว์ถูแถก มาเสนอตลอด



#22 พอล คุง

พอล คุง

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 11,014 posts

ตอบ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 10:16

ตุลาการศาลปกครองสูงสุดเสียงข้างน้อย แย้งคดีคืนตำแหน่ง  ถวิล เปลี่ยนศรี  

 

1.jpg

 

 

ตุลาการ ศาลปกครองสูงสุดเสียงข้างน้อย แย้งคดีคืนตำแหน่ง "ถวิล เปลี่ยนศรี " อดีตเลขา สมช. ระบุไม่เห็นพ้องกับมติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดฝ่ายเสียงข้าง มาก แต่เห็นพ้องด้วยกับร่างคำพิพากษาเดิมขององค์คณะที่ 3 ชี้คำสั่งย้อนหลังมีผลในทางนิตินัยเท่านั้น แต่มิได้มีผลในทางพฤตินัยเพราะความเป็นจริงไม่อาจย้อนเวลากลับไปหาอดีตได้ อีก องค์คณะตุลาการศาลปกครองสูงสุด จำนวน 3 คน ออกนั่งบัลลังก์เริ่มอ่านคำพิพากษาและวินิจฉัยคดีหมายเลขดำที่ อ.992/2556 กรณีนายถวิล เปลี่ยนศรี อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ยื่นฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) เนื่องจากถูกโยกย้ายตำแหน่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยถูกย้ายตำแหน่งจากเลขาธิการ สมช. มาเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 7 ก.ย. 2554 และมีคำสั่งให้คืนตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ให้กับนายถวิล เปลี่ยนศรี ภายในระยะเวลา 45 วัน นับแต่วันที่มีคำพิพากษา เนื่องจากเห็นว่าการออกคำสั่งโอนย้ายดังกล่าวไม่มีความชัดเจนในเหตุผลข้อ เท็จจริงเกี่ยวกับความเหมาะสมและได้ปฏิบัติหน้าที่ไม่มีประสิทธิภาพมีข้อ บกพร่องหรือไม่สนองนโยบายรัฐบาลตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี จึงไม่มีเหตุสมควรถูกโอนย้ายตำแหน่ง ถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่ชอบโดยกฎหมาย

 

ขณะ เดียวกันตุลาการในศาลปกครองสูงสุดเสียงข้างน้อย ทำความเห็นแย้งไม่เห็นพ้องด้วยกับมติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ฝ่ายเสียงข้างมาก แต่เห็นพ้องด้วยกับร่างคำพิพากษาเดิมของศาลปกครองสูงสุดโดยองค์คณะที่ 3 โดยทำความเห็นแย้งไว้ดังนี้

ความเห็นแย้ง คดีหมายเลขดำที่ อ. 992/2556

 

ตุลาการ ในศาลปกครองสูงสุดฝ่ายเสียงข้างน้อย ... ไม่เห็นพ้องด้วยกับมติของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดฝ่ายเสียง ข้างมากดังกล่าวข้างต้น แต่เห็นพ้องด้วยกับร่าง คำพิพากษาเดิมของศาลปกครองสูงสุดโดยองค์คณะที่ 3 จึงขอทำความเห็นแย้งไว้ดังนี้

1. สรุปผลการพิจารณาพิพากษาคดีและการกำหนดคำบังคับที่แตกต่างกันระหว่างศาล ปกครองชั้นต้น ศาลปกครองสูงสุดโดยองค์คณะที่ 3 ประธานศาลปกครองสูงสุด และมติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดฝ่ายเสียงข้างมาก

2. ความเห็นแย้งของตุลาการในศาลปกครองสูงสุดฝ่ายเสียงข้างน้อย

3. ความเห็นแย้งเฉพาะตน

 

อ่านรายละเอียด เพิ่มเติมได้ >>>>>  http://prachatai.com...l/2014/03/52174

 

ไหนว่า เป็นฝ่ายประติ๊ยไตย์ อ้างแต่เสียงข้างมากไง

 

ทำไมตอนนี้ จะโหนเสียงข้างน้อยละ

 

:D  :D  :D


ถึงตรูจะเลวยังไง ตรูก้อไม่ได้ขายชาติ เหมือนเสื้อแดงว่ะ เข้าใจนะ

 


#23 galaxy2

galaxy2

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,063 posts

ตอบ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 10:21

จขกท.หงายเงิบ  ...คาดว่าหายหัวไปอีกระยะ ไม่ก็ใช้ล๊อกอินอื่น แน่นอนช่วงนี้...... :lol:



#24 plunk

plunk

    สลิปงินเดือนอยู่ไหนอ่ะ ไอ้คางครูด?

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 10,862 posts

ตอบ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 10:21

ตุลาการศาลปกครองสูงสุดเสียงข้างน้อย แย้งคดีคืนตำแหน่ง  ถวิล เปลี่ยนศรี  

 

1.jpg

 

 

ตุลาการ ศาลปกครองสูงสุดเสียงข้างน้อย แย้งคดีคืนตำแหน่ง "ถวิล เปลี่ยนศรี " อดีตเลขา สมช. ระบุไม่เห็นพ้องกับมติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดฝ่ายเสียงข้าง มาก แต่เห็นพ้องด้วยกับร่างคำพิพากษาเดิมขององค์คณะที่ 3 ชี้คำสั่งย้อนหลังมีผลในทางนิตินัยเท่านั้น แต่มิได้มีผลในทางพฤตินัยเพราะความเป็นจริงไม่อาจย้อนเวลากลับไปหาอดีตได้ อีก องค์คณะตุลาการศาลปกครองสูงสุด จำนวน 3 คน ออกนั่งบัลลังก์เริ่มอ่านคำพิพากษาและวินิจฉัยคดีหมายเลขดำที่ อ.992/2556 กรณีนายถวิล เปลี่ยนศรี อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ยื่นฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) เนื่องจากถูกโยกย้ายตำแหน่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยถูกย้ายตำแหน่งจากเลขาธิการ สมช. มาเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 7 ก.ย. 2554 และมีคำสั่งให้คืนตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ให้กับนายถวิล เปลี่ยนศรี ภายในระยะเวลา 45 วัน นับแต่วันที่มีคำพิพากษา เนื่องจากเห็นว่าการออกคำสั่งโอนย้ายดังกล่าวไม่มีความชัดเจนในเหตุผลข้อ เท็จจริงเกี่ยวกับความเหมาะสมและได้ปฏิบัติหน้าที่ไม่มีประสิทธิภาพมีข้อ บกพร่องหรือไม่สนองนโยบายรัฐบาลตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี จึงไม่มีเหตุสมควรถูกโอนย้ายตำแหน่ง ถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่ชอบโดยกฎหมาย

 

ขณะ เดียวกันตุลาการในศาลปกครองสูงสุดเสียงข้างน้อย ทำความเห็นแย้งไม่เห็นพ้องด้วยกับมติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ฝ่ายเสียงข้างมาก แต่เห็นพ้องด้วยกับร่างคำพิพากษาเดิมของศาลปกครองสูงสุดโดยองค์คณะที่ 3 โดยทำความเห็นแย้งไว้ดังนี้

ความเห็นแย้ง คดีหมายเลขดำที่ อ. 992/2556

 

ตุลาการ ในศาลปกครองสูงสุดฝ่ายเสียงข้างน้อย ... ไม่เห็นพ้องด้วยกับมติของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดฝ่ายเสียง ข้างมากดังกล่าวข้างต้น แต่เห็นพ้องด้วยกับร่าง คำพิพากษาเดิมของศาลปกครองสูงสุดโดยองค์คณะที่ 3 จึงขอทำความเห็นแย้งไว้ดังนี้

1. สรุปผลการพิจารณาพิพากษาคดีและการกำหนดคำบังคับที่แตกต่างกันระหว่างศาล ปกครองชั้นต้น ศาลปกครองสูงสุดโดยองค์คณะที่ 3 ประธานศาลปกครองสูงสุด และมติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดฝ่ายเสียงข้างมาก

2. ความเห็นแย้งของตุลาการในศาลปกครองสูงสุดฝ่ายเสียงข้างน้อย

3. ความเห็นแย้งเฉพาะตน

 

อ่านรายละเอียด เพิ่มเติมได้ >>>>>  http://prachatai.com...l/2014/03/52174

ก็เห้น ควาย และ รัฐบาล ประกาศ เสียงข้างมาก คือความชอบธรรม และ ความถูกต้อง


ทำได้ทันที ไม่ต้องกู้ พรรคไหนเห่าไว้ตอนหาเสียงวะ?และกระทู้ในตำนานของ คนขี้โกหก http://webboard.seri...้สลิปเงินเดือน/

#25 แอบดูที่รูเดิม

แอบดูที่รูเดิม

    ขาประจำอำเช็ด!!!

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,025 posts

ตอบ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 10:22

สับสนในชีวิตหรือไงฟระ ทุกทีเห็นแต่บอกเสียงข้างมาก ถุ้ยส์


ทำอาชีพยาม เงินเดือนน้อย ไม่ค่อยมีปัญหากะใคร

#26 galaxy2

galaxy2

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,063 posts

ตอบ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 10:23

สับสนในชีวิตหรือไงฟระ ทุกทีเห็นแต่บอกเสียงข้างมาก ถุ้ยส์

มันลืมไปอ่ะดิว่าเคยพ่นลมปากกันไว้ว่าเสียงข้างมากๆๆๆๆๆๆ.....เลยเผลอแสดงสันดานเอาแต่ได้ถ่ายเดียวมาพูด



#27 -3-

-3-

    ตัวละครลับ

  • Moderators
  • 8,707 posts

ตอบ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 10:25

อย่าลืมว่าทักษิณชนะ  5 ต่อ 4  คดีซุกหุ้นจนมีทรราชย์มาถึงทุกวันนี้น่ะครับ

 

ให้ถูกคือชนะ 4 ต่อ 7 ครับ  :lol:


"I want you to form a contract with me and become magical girls!" - kyubey
 
/人 ‿‿ ◕人\

#28 ชาวสวน

ชาวสวน

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,095 posts

ตอบ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 10:44

เสียงข้างน้อย

เละ 

:D



#29 MIRO

MIRO

    Praise the Sun

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,883 posts

ตอบ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 10:51

post-5192-0-72265300-1365166799.jpg

 

 

ผมไม่ได้กล่าวไว้..


The most valuable things in life are not measured in monetary terms.

The really important things are not houses and lands, stocks and bonds, automobiles and real estate,

but friendships, trust, confidence, empathy, mercy, love and faith.


#30 ซีมั่น โลช่า

ซีมั่น โลช่า

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,098 posts

ตอบ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 10:57

ตุลาการศาลปกครองสูงสุดเสียงข้างน้อย แย้งคดีคืนตำแหน่ง  ถวิล เปลี่ยนศรี  

 

1.jpg

 

 

ตุลาการ ศาลปกครองสูงสุดเสียงข้างน้อย แย้งคดีคืนตำแหน่ง "ถวิล เปลี่ยนศรี " อดีตเลขา สมช. ระบุไม่เห็นพ้องกับมติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดฝ่ายเสียงข้าง มาก แต่เห็นพ้องด้วยกับร่างคำพิพากษาเดิมขององค์คณะที่ 3 ชี้คำสั่งย้อนหลังมีผลในทางนิตินัยเท่านั้น แต่มิได้มีผลในทางพฤตินัยเพราะความเป็นจริงไม่อาจย้อนเวลากลับไปหาอดีตได้ อีก องค์คณะตุลาการศาลปกครองสูงสุด จำนวน 3 คน ออกนั่งบัลลังก์เริ่มอ่านคำพิพากษาและวินิจฉัยคดีหมายเลขดำที่ อ.992/2556 กรณีนายถวิล เปลี่ยนศรี อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ยื่นฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) เนื่องจากถูกโยกย้ายตำแหน่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยถูกย้ายตำแหน่งจากเลขาธิการ สมช. มาเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 7 ก.ย. 2554 และมีคำสั่งให้คืนตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ให้กับนายถวิล เปลี่ยนศรี ภายในระยะเวลา 45 วัน นับแต่วันที่มีคำพิพากษา เนื่องจากเห็นว่าการออกคำสั่งโอนย้ายดังกล่าวไม่มีความชัดเจนในเหตุผลข้อ เท็จจริงเกี่ยวกับความเหมาะสมและได้ปฏิบัติหน้าที่ไม่มีประสิทธิภาพมีข้อ บกพร่องหรือไม่สนองนโยบายรัฐบาลตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี จึงไม่มีเหตุสมควรถูกโอนย้ายตำแหน่ง ถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่ชอบโดยกฎหมาย

 

ขณะ เดียวกันตุลาการในศาลปกครองสูงสุดเสียงข้างน้อย ทำความเห็นแย้งไม่เห็นพ้องด้วยกับมติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ฝ่ายเสียงข้างมาก แต่เห็นพ้องด้วยกับร่างคำพิพากษาเดิมของศาลปกครองสูงสุดโดยองค์คณะที่ 3 โดยทำความเห็นแย้งไว้ดังนี้

ความเห็นแย้ง คดีหมายเลขดำที่ อ. 992/2556

 

ตุลาการ ในศาลปกครองสูงสุดฝ่ายเสียงข้างน้อย ... ไม่เห็นพ้องด้วยกับมติของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดฝ่ายเสียง ข้างมากดังกล่าวข้างต้น แต่เห็นพ้องด้วยกับร่าง คำพิพากษาเดิมของศาลปกครองสูงสุดโดยองค์คณะที่ 3 จึงขอทำความเห็นแย้งไว้ดังนี้

1. สรุปผลการพิจารณาพิพากษาคดีและการกำหนดคำบังคับที่แตกต่างกันระหว่างศาล ปกครองชั้นต้น ศาลปกครองสูงสุดโดยองค์คณะที่ 3 ประธานศาลปกครองสูงสุด และมติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดฝ่ายเสียงข้างมาก

2. ความเห็นแย้งของตุลาการในศาลปกครองสูงสุดฝ่ายเสียงข้างน้อย

3. ความเห็นแย้งเฉพาะตน

 

อ่านรายละเอียด เพิ่มเติมได้ >>>>>  http://prachatai.com...l/2014/03/52174

ควายไหมล่ะ *คุณ*

เวลาไอ่เหลี่ยมได้เข้าสู่ตำแหน่งนายกเพราะ บกพร่องโดยสุจริต น่ะ มันได้เสียงเป็นเอกฉันท์ปล่าว



#31 คลำปม

คลำปม

    สลิ่มเต็มขั้นจ้า

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,657 posts

ตอบ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 13:00

 

อย่าลืมว่าทักษิณชนะ  5 ต่อ 4  คดีซุกหุ้นจนมีทรราชย์มาถึงทุกวันนี้น่ะครับ

 

ให้ถูกคือชนะ 4 ต่อ 7 ครับ  :lol:

 

 

เสริมอีกนิดครับ

 

มติคือ 4:4:7

 

คือ 7 ท่านเห็นว่าผิด  4 ท่านเห็นว่าไม่ผิด

 

อีก 4 ท่านเห็นว่าเป็นการดำรงค์ตำแหน่งคนละวาระ  จึงไม่พิจารณาถูก-ผิดครับ

(เป็นเรื่องที่เกิดสมัยเป็นรัฐมนตรีให้บิ๊กจิ๋ว)

 

เสียงข้างน้อยแบบนี้แหละที่มีความหมาย

 

เพราะพอเหตุการณ์ผ่านมา  ทักษิณก็ทำเรื่องแบบนี้ซ้ำๆอีก (ใช้นอมินี)

 

มองย้อนกลับไปก็จะเห็นว่าเสียงข้างน้อยคือความถูกต้องครับ

 

 

ในโลกของความเป็นจริง  เสียงข้างน้อยคือความถูกต้องมากมายเลย 

 

เราจึงไม่ควรละเลยเสียงส่วนน้อยไงครับ


  • -3- likes this

วิธีการยุติระบอบทักษิณ

ก็แค่เพียงทำให้คนไทยส่วนใหญ่ "ฉลาด"





ผู้ใช้ 1 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 1 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน