ย้อนอดีตกันก่อนนิดนึงครับ จะได้เมามันส์ในการติดตามข่าว
ลุ้นระทึก...คดี “2 ล้านล้านบาท” เพื่อไทยชิงปัดสวะ-กดดันศาล รธน.
http://www.manager.c...D=9570000028020
12 มีนาคม 2557 06:51 น.
จุดไฮไลต์สำคัญในวันนี้ (12 มี.ค.) ที่มีการเฝ้าติดตามกันมาด้วยใจระทึก คือ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในคดีคำร้องที่อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ได้ยื่นคำร้องมายังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้วินิจฉัยว่า ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ.... หรือร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท “ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 และ 170 หรือไม่”
โดยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คนได้นัดประชุมตั้งแต่เวลา 09.30 น.เพื่อลงมติด้วยวาจาจากนั้นจะมีการเขียนคำวินิจฉัยกลางและน่าจะอ่านคำวินิจฉัยได้ในช่วงสายวันที่ 12 มี.ค.นี้ ผลคำวินิจฉัยจึงน่าจะรู้ผลก่อนตลาดหุ้นปิดทำการแน่หากไม่มีอะไรผิดพลาด
จากที่ศาลรัฐธรรมนูญวางแนวทางการพิจารณาไต่สวนคดีเพื่อนำมาสู่คำวินิจฉัยในครั้งนี้ซึ่งคำวินิจฉัยจะแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ 1. กระบวนตรากฎหมายชอบด้วยรัฐธรรมนูญ หรือไม่ และ 2. เนื้อหาขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
นั่นหมายถึงศาลก็ต้องพิจารณาว่าร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านล้านบาท ที่มีกรอบเวลาการใช้เงิน 7 ปี แต่จะมีภาระหนี้สินที่ต้องใช้กันทั้งเงินต้น-ดอกเบี้ยร่วม 50 ปี ที่เรียกกันว่า กู้ชาตินี้ใช้ชาติหน้า ศาลจะเห็นอย่างไร จะเห็นว่ารัฐบาลสามารถออกร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวได้ หรือศาลจะเห็นว่าร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 และ 170 ที่เป็นบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญปี 50 ที่อยู่ในหมวด 8 ที่ว่าด้วยเรื่องการเงินการคลังและการงบประมาณ ที่ว่าด้วยเรื่องการใช้จ่ายงบประมาณที่เป็นเงินแผ่นดินที่จะต้องทำภายใต้กฎหมายที่กำหนดไว้ เช่น กฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายไม่ใช่ออกมาในรูปแบบอย่างที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ชินวัตรคลอดร่าง พ.ร.บ.กู้เงินดังกล่าวออกมา ตรงนี้น่าลุ้นอย่างยิ่ง
และจากกรอบคำวินิจฉัยที่ศาลรัฐธรรมนูญวางไว้ใน 2 ประเด็น คือ 1. กระบวนตรากฎหมายชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ และ 2. เนื้อหาขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ฝ่ายรัฐบาลที่เป็นหนึ่งในคีย์แมนสำคัญของรัฐบาลที่ร่วมผลักดันร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้มาตลอดอย่าง “วราเทพ รัตนากร” รมต.สำนักนายกรัฐมนตรีและรมช.เกษตรและสหกรณ์ ก็ออกมาวิเคราะห์ไว้ล่วงหน้าว่าแนวทางคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญอาจเป็นไปได้ใน 3 แนวทางตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ คือ
(1. พ.ร.บ.ดังกล่าวชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ทั้งกระบวนการตราขึ้นและเนื้อหากรณีนี้ก็จะต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 150
(2. ร่าง พ.ร.บ.นั้นมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ แต่มิใช่สาระสำคัญ ดังนั้นเฉพาะข้อความที่ขัดหรือแย้งนั้นจึงเป็นอันตกไป ขั้นตอนต่อจากนั้นก็จะต้องนำร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวในส่วนที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 154 วรรคสี่ ประกอบกับมาตรา 150
(3. กระบวนการตราขึ้นไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ หรือมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญซึ่งข้อความนั้นเป็นสาระสำคัญกรณีนี้ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวตกไปทั้งฉบับ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 154 วรรคสาม
เป็นมุมวิเคราะห์ของคนในรัฐบาลที่เชื่อได้เลยว่าเป็นการวิเคราะห์ของแกนนำรัฐบาลเพื่อไทยที่ไปนั่งพูดคุยกันมาในช่วงไม่กี่วันก่อนหน้านี้ โดยน่าจะมีฝ่ายกฎหมายของรัฐบาลหลายคนเข้าไปร่วมหารือด้วย ซึ่งก็มีเสียงวิเคราะห์ตามมาเช่นกันว่า ดูแล้วโอกาสความเป็นไปได้ที่จะออกมาในสูตรที่ 2 อย่างที่ “วราเทพ” คาดการณ์ คือ ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวมีข้อความหรือบทบัญญัติที่ขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญ แต่ไม่ใช่สาระสำคัญ ไม่มีผลทำให้ต้องตกไปทั้งฉบับ ในส่วนที่มีปัญหาก็ให้ตัดออกไปแล้วนำร่างทั้งฉบับนำขึ้นทูลเกล้าฯ ต่อไป แต่ไม่เคยมีกรณีเช่นนี้เกิดขึ้นมาก่อน
อย่างไรก็ตาม อีกฝ่ายมองว่าแนวทางก็น่าจะออกมาแบบเบ็ดเสร็จไปเลย คือ ศาลรัฐธรรมนูญระบุชัดในคำวินิจฉัยเลยว่า ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทดังกล่าวขัดหรือไม่ขัดรัฐธรรมนูญ-กระบวนการตรากฎหมายชอบหรือไม่ชอบ และมีผลอย่างไรจะได้ไม่เกิดปัญหาคลุมเครือจะกลายเป็นปัญหากับศาลรัฐธรรมนูญในภายหลังขึ้นไปอีก
ขืนออกมาแบบกั๊กๆ ไม่เป็นผลดีแน่นอน
ป่านนี้ทางรัฐบาลได้มีการเตรียมการอะไรหลายอย่างไว้แล้วสำหรับการรองรับผลคำวินิจฉัยที่จะออกมาโดยเฉพาะหากออกมาแบบลบสุดๆ กับรัฐบาลคือออกมาในแนวทางที่ 3 คือ กระบวนการตราร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ หรือมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญซึ่งข้อความนั้นเป็นสาระสำคัญจนทำให้ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวตกไปทั้งฉบับ
ยิ่งช่วง 2-3 วันมานี้พบได้ว่าบนเวทีคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ฯ (กปปส.) มีการพูดถึงเรื่องร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทแบบโหมโรงมากเป็นพิเศษ ชนิดที่ สุเทพ เทือกสุบรรณ เอาเรื่องนี้ไปพูดบนเวทีกินเวลาหลายสิบนาทีตั้งแต่ก่อนศาลรัฐธรรมนูญจะอ่านคำวินิจฉัยล่วงหน้าร่วม 3-4 วัน ก็น่าจะยิ่งทำให้ฝ่ายรัฐบาลเพื่อไทย น่าจะคิดอะไรไปล่วงหน้าก่อนแล้วว่ามันเป็นสัญญาณอะไรแปลกๆ หรือไม่
อาจเพราะเหตุนี้เลยทำให้รัฐบาลรีบออกตัวแต่เนิ่นๆ แบบน่าเกลียดว่า หากร่างดังกล่าวถูกศาลรัฐธรรมนูญตีตกก็ไม่จำเป็นที่รัฐบาลต้องรับผิดชอบอะไรทางการเมืองทั้งที่ร่างดังกล่าวเป็นร่างกฎหมายการเงินที่ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นคนเซ็น
อย่างที่ วราเทพ ออกมาพูดแบบปัดสวะล่วงหน้าโดยอ้างว่า เป็นเพราะร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาไปแล้ว อีกทั้งมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรไปแล้วไม่ใช่กรณีว่าร่าง พ.ร.บ.ของ ครม.ไม่ผ่านการพิจารณาของรัฐสภา แถมยังกดดันศาลรัฐธรรมนูญอีกว่าหากร่างฉบับนี้ไม่ผ่านจะทำให้เสียโอกาสในการพัฒนาประเทศเพราะระบบขนส่งมวลชน-โครงการก่อสร้างต่างๆการก่อสร้างจะล่าช้าออกไป
แต่สิ่งที่ “วราเทพ” รวมถึงคนในรัฐบาลคนอื่นๆ ที่พูดทำนองเดียวกัน เช่น พงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรีมือกฎหมายของรัฐบาลไม่ได้พูดให้ครบถ้วนก็มีหลายเรื่อง อาทิ ความรับผิดชอบทางการเมือง เพราะต้องไม่ลืมว่าก่อนหน้าที่รัฐบาลจะเสนอร่างดังกล่าวเข้าสภาฯ หลายฝ่ายได้ออกมาเตือนแล้วว่าเป็นร่างที่สุ่มเสี่ยงจะมีปัญหาขัดรัฐธรรมนูญแต่รัฐบาลก็ยังดันร่างเข้าสภาฯ และวุฒิสภาโดยไม่ฟังเสียงทักท้วง
และต้องไม่ลืมว่าร่างฉบับนี้ที่ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมสภาฯ และที่ประชุมวุฒิสภาออกมาอย่างรวดเร็ว ฝ่ายที่ลงมติให้ความเห็นชอบก็คือพวกสภาทาสทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นอดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย-อดีต ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลเวลานี้รวมถึงพวก ส.ว.สายรัฐบาลแม้ตอนนี้พวกอดีต ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลทั้งหลายจะสิ้นสภาพไปแล้ว สภาถูกยุบไปแล้วแต่เรื่องความรับผิดชอบทางการเมืองมันก็ต้องมีกันบ้าง
ไม่ใช่มาพูดจาปัดสวะตีกันล่วงหน้าไม่ขอรับผิดชอบอะไรเลยทั้งสิ้น หรือว่านี่มันจะเป็นสันดานของพวกรัฐบาลเพื่อไทยจริงๆ
Edited by ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่, 12 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 21:39.