ลูกสาวผมเพิ่งกลับจากอังกฤษ ค่าเครื่องบินลอนดอน-ปารีส แบบโลว์คอส ถูกกว่ายูโรสตาร์นะครับ
รถไฟความเร็วสูงมันจะดีตรงที่ไม่ต้องเผื่อเวลาเยอะ ถึงสถานีก่อนครึ่งชั่วโมง หรือ 20 นาทีก็ยังไหว
แต่ขึ้นเครื่องบิน สนามบินอยู่ไกล แถมยังต้องไปก่อนเวลาอีก
นักท่องเที่ยวจึงมักใช้บริการ ยูโรสตาร์ กันมากครับ
เพราะเวลามันมีค่า เอาเวลาไปเที่ยวดีกว่าไปนั่งรอในสนามบิน
ดังนั้นรถไฟความเร็วสูงจุดเด่นเลยคือต้องเชื่อมต่อกับต่างประเทศ
ในยุโรปจะเรียกว่า Rail Pass ซื้อที่นึงขึ้นได้ไม่จำกัดตามวันที่กำหนด
( แบบ 3 วันค่าตั๋วก็ 2-30,000 บาทแล้ว)
ถ้าจะทำระบบรางก็ต้องเอาจุดเด่นของมันมาใช้ครับ จะมาทำแค่กรุงเทพ-เชียงใหม่อย่าทำเลย เจ๊งแน่
ผมว่าคนเข้าใจผิดกันเยอะเรื่องรถไฟความเร็วสูง ว่าต้องเชื่อมกับต่างประเทศถึงจะดี
มันไม่เกี่ยวเลยครับ เส้นทางที่ประสบความสำเร็จ คือเส้นทางที่เชื่อมสองเขตเศรษฐกิจขนาดใหญาเอาไว้ด้วยกัน และระยะทางไม่ควรเกิน 1000 กิโลเมตร
ไม่เชื่อลองไปเช็คดูเลยครับ เส้นทางที่คนขึ้นเยอะๆ เป็นอย่างที่ผมบอกทั้งสิ้น อย่างเส้นทางแรกของโลก และยังใช้กันเยอะที่สุด ก็คือ โตเกียว-โอซาก้า เป็นเส้นทางภายในประเทศที่เชื่อมเขตเศรษฐกิจอันดับ 1 2 และ 3 เข้าไว้ด้วยกัน
หันกลับมามองที่ประเทศไทย ถ้าจะสร้าง ก็ต้องดูว่าเส้นทางไหนที่คนเดินทางกันเยอะที่สุด และก็เห็นๆเลยครับ ว่ากรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เป็นเมืองอันดับ 1 และ 2 ระหว่างทางก็มีเมืองใหญ่อยู่ด้วย การเดินทางก็หนาแน่นที่สุด ถ้าจะสร้าง ก็ต้องเส้นทางนี้ก่อนครับ สำหรับผม ถ้าสร้างเอง ใช้เอง เส้นทางไปมาเลย์คือเส้นทางที่ไม่ควรสร้างเลย เพราะมันไกลเกินไป เครื่องบินจะสะดวกกว่ารถไฟความเร็วสูง ส่วนเส้นทางไปจีนนั้น คำถามคือ เดินทางไปที่ไหนครับ? มีเมืองไหนที่ห่างไม่เกินพันกิโล และเป็นเมืองเศรษฐกิจขนาดใหญ่?
เรื่องเชื่อมกับต่างประเทศมันเป็นจุดขายครับคุณ Gop
ปัจจัยความคุ้มค่าในการสร้าง มันมีส่วนเป็นไปตามที่คุณยกมาก็จริง แต่ก็ไม่ทั้งหมด
ญี่ปุ่นคงต้องยกเว้นเพราะเชื่อมต่อเมืองใหญ่เส้นไหนก็คุ้มค่าครับ เพราะประชากรเขาหนาแน่นมากที่สุดในโลก
เขาต้องออกแบบระบบขนคนที่มีประสิทธิภาพสูงสุด แต่ไทยเราเหมือนเขาหรือครับ?
ผมกล้ายืนยันเลยว่าถ้าทำแค่สายเชียงใหม่-กรุงเทพ ยังไงก็ขาดทุน
ไม่ใช่ขาดทุนธรรมดา ขาดทุนระดับมโหฬารด้วย
ที่ผมเสนอให้ทำเชื่อมโยงจีน-พม่าหรือลาว-ไทย-มาเลย์ กับสิงคโปร์ ก็เพราะรัฐบาลเดิม (ปชป.) เขาคุยไปแล้ว
จีนก็สนใจ เราลงทุนน้อย ความเสี่ยงต่ำ
ที่สำคัญเราจะมีผู้โดยสารนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก
ลำพังแค่คนไทยเราขึ้นไม่ไหวหรอกครับ ประชากรเราไม่มีรายได้สูงและมีจำนวนมากพอ
เราก็จึงควรมองเดโมแบบยูโร คือเชื่อมโยงให้มากสุด
อีกทั้งเรากำลังจะเปิด AEC การลงทุนในละแวกนี้ยังไงก็มีมูลค่าสูงขึ้น
และถ้าจะทำแค่ในเมืองไทย จีนเขาเข้ามาศึกษาแล้วครับว่าเส้นทางที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูงสุดคือ กรุงเทพ-ระยอง
เป็น 2 เมืองที่รายได้สูงสุดในประเทศไทยด้วย ทั้งการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมมูลค่ามหาศาลครับ
(จะเหมือนที่ญี่ปุ่นทำเชื่อมเมืองใหญ่เข้าด้วยกัน)
แต่ถ้าทำจริง เดินทาง 1 ชั่วโมงค่าตั๋ว 500up ผมก็ยังสงสัยว่าจะไปไหวไหม?
แล้วที่ยังต้องคุยกันอีกยาวก็คือความโปร่งใสของโครงการ
ประเทศเราเวลาอยากได้อะไรก็มักไม่มองถึงช่องโหว่ที่นักการเมืองชั่วๆมันฉกฉวย
การลงทุนระบบรถไฟความเร็วสูง รัฐบาลต้องแบกรับต้นทุนมหาศาล
ความเสี่ยงทั้งหมดตกอยู่กับรัฐบาล (ถ้าทำแบบเพื่อไทย)
ทว่าจุดที่เป็นสถานีตามเมืองใหญ่ๆ เช่นถ้าวิ่งสายเหนือก็ อยุธยา-ชัยนาท-นครสวรรค์-พิษณุโลก-ลำปาง-เชียงใหม่ (ยกตัวอย่าง)
พวกนักการเมืองฝ่ายที่กำหนดกติกาเขาจะซื้อที่รอผลกำไรอย่างเดียวเลยครับ (เหมือนโครงการทวาย)
กลายเป็นว่าเอาประเทศชาติมาเสี่ยงให้คนชั่วมันรวย
ผมเคยอ่านเจอปรีชาญานของกษัตริย์ไทยสมัยก่อนคือ
สมัย ร.4 (อาจเป็น ร.5 นะครับจำไม่ไคร่ได้)
ท่านตัดถนนเส้นใด เจ้าของที่ซึ่งถนนตัดผ่าน อันจะได้รับอาณิสงค์ความเจริญนั้นต้องจ่ายเงินนะครับ
จ่ายให้แก่ผู้ที่เสียที่ดินอันถูกเวนคืนนั้น
(ถ้าถูกเวนคืนบางส่วนหลงเหลือบางส่วนก็คิดหักลบกลบกันไปตามอัตรา)
ถนนสำคัญๆหลายสายในอดีต หลวงจึงไม่ต้องเสียค่าเวนคืนสักเฟื้องก็มี
แต่ทุกวันนี้กลายเป็นคนขี้ฉ้อมาหาประโยชน์จากการลงทุนของรัฐ
ผมคิดว่าต้องปฏิรูปกันขนานใหญ่ครับ
ถ้าจะทำรถไฟความเร็วสูง
รัฐบาลต้องเวนคืนที่จำนวนมากพอ เพื่อเอามาหาประโยชน์กลับคืนคลัง
(เช่นที่ดินของการรถไฟหลายแปลง ซึ่งปัจจุบันมีค่ามหาศาลเช่น จตุจักร)
หรือไม่ก็กลุ่มทุนต่างๆต้องประมูลกันเสนอที่ดินให้ตั้งสถานี ในแนวที่ไม่ห่างจากที่ดินของการรถไฟเดิม
อยากได้ความเจริญ มุูลค่าที่ดินตัวเองเพิ่มก็ต้องจ่ายครับ
ตรงนี้เราไม่ค่อยได้พูดกันผมก็ขอเสนอไว้ให้ทุกท่านช่วยพิจารณาด้วย
ปล : ข้อมูลเรื่องรถไฟความเร็วสูงจากสารคดี
ผมอ่านแล้วดีมากเลยครับ คุณตี๋เป็นคนเอามาลงไว้
http://www.sarakadee...3/07/19/nakorn/
Edited by คลำปม, 14 March 2014 - 14:59.