เมื่อวันที่ 27 มี.ค. ที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ท.พญ.กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง(สพม.) พร้อมด้วย น.อ.บัญชา รัตนาภรณ์ นายอภิเดช เดชวัฒนสกุล และนายเรืองศักดิ์ เจริญผล ในฐานะผู้เสียหายจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ ได้เดินทางมายื่นหนังสือร้องเรียนต่อนายศรีราชา เจริญพานิช ผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อให้ดำเนินการตรวจ ข้าราชการการเมือง และเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและประมวลจริยธรรม ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 และ 279
โดย พ.ท.พญ.กมลพรรณ กล่าวว่า ขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินตรวจสอบการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน รมว.พลังงาน คณะกรรมการบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ผอ.สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทร์ อดีต รมว.พลังงาน และพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตนายกฯ เนื่องจากมีการกระทำดังนี้ 1.ละเมิดคำสั่งศาลและใช้ทรัพย์สินของประชาชนมาแสวงหาผลประโยชน์ เนื่องจาก ปตท. ถูกศาลปกครองสูงสุดสั่งให้คืนท่อก๊าซให้แก่แผ่นดิน แต่ปรากฏว่า ปตท. ไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการคืนท่อก๊าซที่เป็นส่วนของแผ่นดินให้กับรัฐให้ทั้งหมด แต่ ปตท. อีกทั้งยังนำเอาท่อก๊าซที่เป็นทรัพย์สินของแผ่นดินไปใช้แสวงหาผลประโยชน์ โดยเรียกเก็บค่าท่อก๊าซผ่านท่อเพิ่มเติมจากเดิม ทำให้ประชาชนต้องจ่ายค่าก๊าซในราคาที่แพงกว่าเดิม
พ.ท.พญ.กมลพรรณ กล่าวอีกว่า 2.มีการกระทำที่หมกเม็ดบิดเบือนข้อมูลต่อประชาชน เพื่อให้เข้าใจว่าก๊าซแอลพีจีในประเทศไม่พอใช้สำหรับภาคครัวเรือนและภาคขนส่ง จึงต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ก๊าซแอลพีจีมีราคาแพง ทั้งที่ความจริงการใช้ก๊าซแอลพีจีในภาคครัวและภาคขนส่งมีสัดส่วนน้อยกว่าภาคปิโตรเคมี ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ ปตท. จึงมองว่าเป็นการเอื้อประโยชน์และสร้างกำไรให้กับบริษัทลูกของ ปตท. อีกทั้งมีการนำเงินของกองทุนน้ำมัน ไปอุดหนุนราคาแอลพีจี ซึ่งสร้างกำไรให้กับบริษัทเหล่านี้ เช่น บริษัท ปตท. เคมิคอล มีกำไรเพิ่มขึ้น 180 เปอร์เซ็นต์ ในไตรมาสที่ 2 ปี54 และ 3.เจ้าหน้าที่รัฐแก้ไขกฎหมายเพื่อให้ประโยชน์แก่ผู้อื่น โดยในปี 2550 นายปิยสวัสดิ์ รมว.พลังงาน ในสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ ได้แก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียม มาตรา 22 , 28 และ 99 ให้เอื้อแก่เอกชนและให้อำนาจ รมว.พลังงานสามารถให้สัมปทาน ลดค่าสัมปทานแก่เอกชนโดยไม่ผ่านความเห็นหรือการมีส่วนร่วมของประชาชน ดังนั้นตนในฐานะผู้ร้องเรียนขอให้ทางผู้ตรวจการแผ่นดิน ไต่สวนข้อเท็จจริงและหากพิจารณาแล้วพบว่าผู้ถูกร้องละเมิดต่อกฎหมายจริง ให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน ส่งเรื่องไปยังคณะรัฐมนตรี รัฐบาล คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
ด้านนายศรีราชา กล่าวว่า ทางผู้ตรวจการฯ จะรับเรื่องไว้พิจารณา ซึ่งอาจจะมีการตั้งทีมพิเศษขึ้นมาตรวจสอบ เนื่องจากกรณีดังกล่าว ควรมีการให้ข้อมูลที่โปร่งใสและเป็นธรรมกับประชาชน เพราะประชาชนเป็นผู้ที่ได้รับความเสียหาย และเป็นผู้ที่ใช้พลังงานในราคาที่แพงเกินกว่าเหตุ.
คำฟ้องศาลปกครอง ค่าไฟฟ้า ราคาLPG NGV และน้ำมัน หมกเม็ด
คำฟ้อง คดีหมายเลขดำที่ / 2555
ศาลปกครองกลาง
วันที่ 16 เดือน กค. พุทธศักราช 2555
ก ชื่อและที่อยู่ของผู้ฟ้องคดี.
- นายมงคลกิตติ์ สุขสินธ์ธารานนท์
- นายอภิเดช เดชวัฒนะสกุล
- นาย เรืองศักดิ์ เจริญผล
- พท.พญ.กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง โทร 086 3671004
ข.ผู้ถูกฟ้องคดี
ผู้ฟ้องคดี ในฐานะ ผู้เสียหายจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ และประชาชนปฏิบัติ หน้าที่ปกป้อง ผลประโยชน์ชาติ มีความประสงค์ขอฟ้อง.
1. รมต กระทรวงพลังงาน ที่1
2. คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ที่ 2
3. คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ที่ 3
4. ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ที่ 4
5. คณะกรรมการ บริษัท ปตท. ที่5
6. คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ที่ 6
7. คณะกรรมการกลางว่าด้วย สินค้าและบริการ กระทรวงพาณิชย์ ที่ 7
8. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่ 8
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 7 คณะกรรมการกลางว่าด้วยสินค้าและบริการ มีอำนาจหน้าที่ ตามพรบว่าด้วยสินค้าและบริการ พศ 2542 มาตรา 25เมื่อได้มีการประกาศกำหนดสินค้าหรือบริการควบคุม ตามมาตรา 24 แล้ว ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1 กำหนดราคาซื้อ หรือราคาจำหน่ายสินค้าหรือบริการควบคุม ซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงถูกกำหนด ให้เป็นสินคาควบคุม ให้ผู้ซื้อซื้อในราคา ไม่ต่ำกว่าราคาที่กำหนด หรือให้ผู้จำหน่ายจำหน่าย ในราคาไม่สูง กว่าราคาที่กำหนด หรือตรึง ราคาไว้ในราคาใดราคาหนึ่ง แต่ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 8 ละว้นการปฏิบัติหน้าที่ ไม่กำหนดเพดานราคาน้ำมัน และก๊าซ ที่เป็นธรรม เพียงแต่ปล่อยให้ปตท และบริษัทในเครือ รวมทั้ง เอกชนที่ขายน้ำมัน ตั้งราคาตามอำเภอใจ และค้ากำไร เกินควร
2 กำหนดอัตรากำไรสูงสุดต่อหน่วยของสินค้าหรือบริการควบคุมที่ผู้จำหน่ายจะได้รับจากการจำหน่ายสินค้า หรือ บริการควบคุม หรือกำหนดอัตราส่วนแตกต่างระหว่างราคาซื้อกับราคาขายสินค้า หรือบริการควบคุม ในแต่ละ ช่วงการค้า แต่ ผู้ถูกฟ้องคดีที่8 มิได้ปฏิบัติตามกฎหมายที่ให้อำนาจไว้ ซึ่งไม่เป็นไปตามเจตนารมย์ ของรัฐธรรมนูญมาตรา 3 เจ้าหน้าที่รัฐต้องปฏิบัติหน้าที่ตามหลักนิติธรรม
แต่เมื่อประกาศ น้ำมันเชื้อเพลิงเป็นสินค้าควบคุมแล้ว คณะกรรมการกลางว่า ด้วยสินค้าและบริการ ไม่ตรวจสอบว่า รายได้จากการที่ ผู้ถูกฟ้องคดีที่1,2,3,4,5 ร่วมเป็นผู้สนับสนุน หรือร่วม ผู้อนุมัติ และ หรือ ได้รับผลประโยชน์จากโบนัสและ ผลกำไรของบริษัท ซึ่งขัด ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 152 157 ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีที่ 5มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของ พนักงาน ในองค์การหรือ หน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 4 มาตรา 5 ผู้ใดเป็นพนักงาน ใช้อำนาจในหน้าที่โดยมิชอบ ข่มขืนใจ หรือจูงใจ เพื่อให้บุคคลใดมอบให้ หรือหามาให้ ซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด แก่ตนเองหรือผู้อื่น เช่นเอกชนผู้ถือหุ้น รายได้จากกำไรบริษัท แต่เบียดเบียน ประชาชน หรือคณะกรรมการบริษัทปตท ได้รายได้จาก โบนัส ผลกำไร
มาตรา 9 ผู้ใดเป็นพนักงาน มีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใด เข้ามีส่วนได้เสีย เพื่อประโยชน์สำหรับตนเอง หรือผู้อื่นเนื่องด้วยกิจการนั้น เช่นเอกชนผู้ถือหุ้น รายได้จากกำไรบริษัท ในเครือปตท แต่เบียดเบียนประชาชน หรือคณะกรรมการบริษัทปตท ได้รายได้จาก โบนัส ผลกำไร
มาตรา 11 ผู้ใดเป็นพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการ ปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต เช่นกรรมการปตท กำหนด ราคาน้ำมัน และก๊าซ โดยมิชอบ เอื้อเอกชนผู้ถือหุ้น รายได้จากกำไรบริษัท ในเครือปตท แต่เบียดเบียนประชาชน หรือคณะกรรมการบริษัทปตท เอง ได้รายได้จาก โบนัส ผลกำไร และขัดประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 152 157
ดังนั้น การที่ครม.มีมติให้น้ำมันเชื้อเพลงเป็นสินค้าควบคุม ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคา สินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 เมื่อครม. มีมติให้น้ำมันเชื้อเพลิงเป็นสินค้าควบคุม ผู้ถูกฟ้องคดีที่8 จึงต้องทำหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้า และบริการ พศ. 2542 มีหน้าที่กำหนดราคา สินค้าควบคุมที่ เป็นธรรม กำหนดต้นทุนราคาขาย เพื่อให้เป็นธรรมแ ก่ประชาชน ตามกฎหมาย
ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งหมด เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 6 มาตรา 57 58 66 67 74 78(5) 85(4) 84(6) 87 178 279 คือต้องปฏิบัติตามหลักนิติธรรม ตามมาตรา 3 74 178 ต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายที่มีผลกระทบต่อประชาชนทั้งประทศ ตามมาตรา 57 58 87 ต้องกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม ตามมาตรา 84(6) ต้องให้ประชาชนได้รับผลประโยชน์จากทรัพยากร ของประเทศอย่างเป็นธรรมและสมดุลย์ ตามมาตรา 66 67 85(4) ต้องปฎิบัติตามประมวลจริยธรรม ของหน่วยงานนั้นๆตามรัฐธรรมนูญมาตรา 279
จึง เป็น เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ออกกฎ คำสั่ง ไม่ถูกต้อง ตามรูปแบบ ขั้นตอน และเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ จึงอยู่ในอำนาจพิจารณา พิพากษาของ ศาลปกครอง ตามพระราช บัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9(1) และ เป็นผู้กระทำหรือละเว้น การกระทำ โดยมิชอบ หรือ โดยไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรม ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 วรรคสองที่บัญญัติไว้ ว่า "การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม"
โจทก์ จึงมีอำนาจฟ้อง
ง. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ง. 1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พศ 2550
ง.2พระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ พ.ศ. 2535 แก้ไข พศ.2550 , พศ.2551
มาตรา 6 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการกำหนดราคาพลังงานให้สอดคล้องกับนโยบายและแผน การบริหารและ พัฒนาพลังงานของประเทศ
ง. 3 พระราชบัญญัติ ปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พศ 2545 หมวด11 กระทรวงพลังงาน
มาตรา 26 กระทรวงพลังงาน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดหา พัฒนาและ บริหารจัดการพลังงาน และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของ กระทรวงพลังงานหรือส่วนราชการ ที่สังกัดกระทรวงพลังงาน
ง.4 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 148 152 157
ง.5 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502
ง.6 พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีพ.ศ.2546
ง.7 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548
ง.8 พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ. 2518 มาตรา5
จ. รายละเอียดของการกระทำ ข้อเท็จจริง หรือพฤติการณ์ เกี่ยวกับการกระทำที่เป็น เหตุให้เกิดความ เดือดร้อน เสียหาย ที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดี
จ.1 ข้อเท็จจริงด้านราคาก๊าซ และน้ำมัน
จากมติครม.เมื่อวันที่ 21 พค 2534 ที่อนุมัติให้มีการยกเลิกการควบคุมราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และให้ลอยตัว ราคาน้ำมันตามกลไก ตลาดโลก ตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ผู้ถูกฟ้องคดีที่สอง เป็นผู้นำ เสนอ และผู้ถูกฟ้องคดีที่1,3,4,5 ร่วมกันออกกฎหรือกำหนดราคาพลังงานที่ไม่เป็นธรรม เนื่องจาก ปัจจุบัน น้ำมันในประเทศขุดได้มากกว่าครึ่ง (เอกสารแนบ 4) ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1,2,3,4,5,ร่วมกัน กำหนดราคาน้ำมัน และก๊าซที่แพงเกินจริงและเอื้อประโยชน์เอกชนผู้ถือหุ้น โรงกลั่นต่างๆ และเจ้าของปัมพ์น้ำมัน รวมทั้ง กรรมการ เจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน ซึ่งได้รับผลตอบแทน เป็นโบนัสตามกำไรของ บริษัทปตท และบริษัทในเครือ เช่น
1. กำหนดราคาหน้าโรงกลั่นสูง แพงกว่า ราคาตลาดโลก ไม่เป็นไปตามมติครม. มีการบวกค่ากำไรเกินควร เช่น
วันที่11-12 มิถุนายน 2555 ราคาน้ำมันดิบตลาดโลก อยู่ที่ 82-83 $ต่อบาเรลล์ซึ่งเท่ากับ 16.34 บาทต่อลิตร แต่ราคาหน้าโรงกลั่น อยู่ที่ 21บาทต่อลิตร เเพงเกินจริง อยู่ 5บาทต่อลิตร เป็นกำไรหน้าโรงกลั่น ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นของปตทถือหุ้นใหญ่ ครอบคุมตลาด ถึง 85 %
วันที่ 25-26 มิย 55 ราคาน้ำมันดิบตลาดโลก อยู่ที่ 78-80$ ต่อบาเรลล์ซึ่งเท่ากับ ประมาณ 15.75 บาทต่อลิตร แต่ราคาหน้าโรงกลั่น อยู่ที่ 20.85 บาทต่อลิตร เเพงเกินจริง อยู่ 5บาทต่อลิตร
วันที่ 4-6 กค 55 ราคาน้ำมันดิบตลาดโลก อยู่ที่ 83-84 $ต่อบาเรลล์ซึ่งเท่ากับ 16.64 บาทต่อลิตร แต่ราคาหน้าโรงกลั่น อยู่ที่ 21-22.46 บาทต่อลิตร เเพงเกินจริง อยู่ 5-6 บาทต่อลิตร
วันที่ 14-16 กค 51 ราคาน้ำมันดิบตลาดโลก ขึ้นสูงสุด อยู่ที่ 130-145 $ต่อบาเรลล์ซึ่งเท่ากับประมาณ 27-31 บาทต่อลิตร ราคาหน้าโรงกลั่น อยู่ที่ 30.9 บาทต่อลิตร เท่าความจริง
วันที่ 2-11 เม.ย. 55 ราคาน้ำมันดิบตลาดโลก อยู่ที่ 101-105 $ต่อบาเรลล์ซึ่งเท่ากับ ประมาณ 20.76 บาทต่อลิตร แต่ราคาหน้าโรงกลั่น อยู่ที่ 27.36-28.36 บาทต่อลิตร เเพงเกินจริง อยู่ 7-8 บาทต่อลิตร
(ทั้งหมดใช้เทียบเฉพาะเบนซิน 95 ตัวเดียว กัน)
ยังผลให้ โรงกลั่นต่างๆกำไร เพิ่มขึ้นเป็นพันล้าน เพิ่มจากปี 2554 เช่นบริษัท ESSO กำไร
ในปี 2555 ในไตรมาสแรก (มค-มีค 55 ) กำไรก่อนหักภาษี เท่ากับ 2508.71 ล้านบาท เทียบเท่ากับทั้งปี 2554 กำไรสุทธิ 939.75 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จำนวน 1,568.96 ล้านบาท ระยะเวลา แค่ เพียงสามเดือน หากทั้งปี อาจจะกำไรถึง หมื่นล้านบาท (เอกสารแนบ 6 )
หรือ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ในปี 2555 ในไตรมาสแรก (มค-มีค 55 ) กำไรก่อนหักภาษี เท่ากับ 2,438.32 ล้านบาท เทียบเท่ากับทั้งปี 2554 กำไรสุทธิ 5,632.00ล้านบาท ระยะเวลา แค่ เพียงสามเดือน หากทั้งปี อาจจะกำไรถึง หมื่นล้านบาท มากกว่า ปี 2554 เกือบสองเท่า (เอกสารแนบ 6) ซึ่งทั้งบางจากและ Esso ล้วนเป็นบริษัทของเอกชน ดังนั้น ผุ้ถูกฟ้องคดี ที่1,2,3,4,5 ,8 กำหนดราคาน้ำมัน โดยเอื้อประโยชน์เอกชน แต่สร้างภาระแก่ประชาชนทั้งประเทศ เป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อเอื้อ ประโยชน์เอกชน ขัดกฎหมายอาญา มาตรา 148 152 157 และ หรือ ขัดพ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดของพนักงาน ในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 4 ,5,9,11
จ.1.2 กำหนด เงินเข้ากองทุนน้ำมันที่เอื้อต่อ เอกชนที่ถือหุ้นปิโตรคมี เช่นบริษัทPTTโกลบอล จำกัด ปตท ถือหุ้น 49% (เอกสารแนบ 7 ) มีกำไร เพิ่มจากเดิมปี 54 กำไร 2,113.44 ล้าน บาท ในปี 2555 สามเดือนแรก(มค-มีค 55 ) กำไร 9,852.19 ล้านบาท (เอกสารแนบ 8 ) แต่หมกเม็ดแจ้งต่อประชาชนว่า ประชาชนใช้ก๊าซ จำนวนมากต้องนำเข้า และต้องนำเงินกองทุนน้ำมัน ที่เก็บจากประชาชนทุกคน รวมทั้งอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ใช้ก๊าซ และประชาชน ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ทั้งน้ำมันและก๊าซ ลิตรละ 1-12 บาท (เอกสารแนบ…5,9 ) ไปชดเชยต้นทุนของ บริษัท ปิโตรเคมี ซึ่งเป็นบริษัทลูกของปตท มีเอกชน ถือหุ้นอยู่ด้วย …(เอกสารแนบ 7 ..) แต่ที่จริงนำเข้ามาใช้ในปิโตรเคมี เพื่อการส่งออก ทั้งยังขาย ก๊าซLPG ให้บริษัทลูก ถูกกว่าขายให้ประชาชน และถูกกว่าราคาขายต่างประเทศ เช่นปี 2551 ราคาตลาดโลกอยู่ที่ 27 บาทต่อกก . ขายให้ บริษัทปิโตรเคมี 16.45 บาทต่อกก ขายปลีกให้ประชาชน 18.13 บาทต่อกก ( ที่มา คณะกรรมาธิการวุฒิสภา ฯ )
และ เมื่อช่วงต้นปี 2555 ผู้ถูกร้องเรียนที่1, 2,3, 4,5 ร่วมกัน หรือสนับสนุนให้มีการหมกเม็ดบิดเบือน ข้อมูล เอื้อประโยชน์เอกชน เพื่อประโยชน์ ตนเองหรือผู้อื่น โดยให้ข้อมูลสู่สาธารณะต่างกรรมต่างวาระ เพื่อให้ประชาชนเข้าใจว่า ก๊าซ LPG ในประเทศ ไม่พอใช้สำหรับครัวเรือน และภาคขนส่ง จนต้องสั่งจากต่าง ประเทศ และต้องเอาเงินในกองทุนน้ำมันไปชดเชย จากรายงานของวุฒิสภา ฯ พบว่า ปริมาณก๊าซLPG ที่ใช้ในครัวเรือน และขนส่ง มีสัดส่วน เพิ่มขึ้น น้อยกว่า ภาคปิโตรเคมี เช่นในปี 2551 และ 2552 ภาคปิโตรเคมี มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น 470 พันตัน ส่วนภาคครัวเรือน เพิ่มขึ้น 107 พันตัน ภาคขนส่ง ใช้ลดลง 110 พันตัน (อ้างอิง หนังสือที่ สว. (กมธ.2 ) 0010 /2563 ลงวันที่ 17 มิย 53 เอกสารแนบ 11 )
ส่วนในปี 2554 ช่วงเดือน มค-พค 54 (ช่วง ห้าเดือน ) เทียบกับปี 53 (12 เดือน ) สัดส่วนการใช้ LPG ในครัวเรือนเพิ่มขึ้น 11พันตัน ในรถยนต์เพิ่มขึ้น 12 พันตัน ภาคปิโตรเคมี เพิ่มขึ้น 54 พันตัน (ที่มากรมธุรกิจ พลังงาน) ดังนั้น การนำเข้า ก๊าซ LPG ที่นำเข้ามานั้น ใช้ในอุตาหกรรม ปิโตรเคมีมากกว่า ครัวเรือน และขนส่ง มาก ไม่ใช่ ใช้ในครัวเรือน หรือขนส่ง ทั้งการนำเข้านี้ ผุ้ถูกฟ้องคดีที่ 1,3,4 อ้างราคาสูงกว่าในประเทศ ที่ต้องเอาเงิน กองทุนน้ำมัน ที่ผู้ร้องเรียน และประชาชนทั้งประเทศ ต้องแบกภาระ ในรูปของราคาน้ำมันเบนซิน ก๊าซโซฮอลล์ หรือก๊าซLPG , NGV ที่เก็บ เงินเข้ากองทุน ลิตรละ 1-12 บาท แต่กลับไปเอื้อประโยชน์ กลุ่มปิโตรเคมี ที่ เป็นบริษัท ลูก ของปตท ซึ่งสร้างกำไร เพิ่มขึ้นแก่บริษัทเหล่านี้มากมาย เช่น บริษัท ปตท เคมิคอล กำไรเพิ่มขึ้น 180 % .ในไตรมาส สอง ปี 2554 ) เท่ากับ เสนอข้อมูลฉ้อฉล กลลวง เพื่อขูดรีดเงินค่าน้ำมัน และก๊าซไปชดเชยการนำเข้าก๊าซเพื่อปิโตรเคมีที่เป็นบริษัทลูกของปตท.แต่ออกข่าวเสมือน หนึ่งว่าประชาชน ใช้มากในครัวเรือนและยานยนต์ ถือเป็นการปกปิดบิดเบือนข้อมูล เพื่อผลประโยชน์ผู้อื่น แต่ขูดรีด และสร้างภาระเกินควรแก่ประชาชน สร้างความเหลื่อมล้ำในสังคม แต่สร้างความร่ำรวยให้เอกชนที่ถือหุ้น ปิโตรเคมี เช่นปี 2554 มีการชดเชยการนำเข้าLPG และอื่นๆกว่าห้าหมื่นล้านบาท การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดี ที่ 1,2,3,4,5 ดังกล่าวจึงเป็นการรกะทำที่ขัดต่อกฎหมายประมวลอาญามาตรา 341 148 152 157 และขัดประมวลจริยะธรรม ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 279 และกฎหมาย พระราชบัญญัติว่า ด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502
จ.1.3. กำหนดค่าการตลาดที่เอื้อเอกชน เจ้าของปัมพ์น้ำมัน เช่นค่าการตลาด ค่าการตลาดอยุ่ที่1.5-5บาท
ทำให้ประชาชนต้องจ่ายค่าน้ำมันแพงกว่าความจริงและผู้ถูกฟ้องคดีที่ 8 ไม่ปฏิบัติหน้าที่ ควบคุมราคาน้ำมันเชื้อเพลิง แต่ปล่อยให้ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1,2,3,4,5,6 กำหนดราคาน้ำมันและก๊าซตามอำเภอใจ
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1,2,3,4,5 ,6 จึงเป็นผู้ร่วม หรือสนับสนุน ให้เกิดการหมกเม็ดข้อมูล เพื่อฉ้อโกงประชาชน เป็นการการกระทำ ที่ขัดต่อ กฎหมายอาญามาตรา 341 มาตรา 148 มาตรา 152 มาตรา 157 ขัดประมวลจริยะ ธรรมนักการเมือง ข้อ 6 (5) ข้อ 8 ข้อ 9 ข้อ14 และรัฐธรรมนูญมาตรา 66 67 84(4) (6) ขัดประมวลจริยธรรม ข้าราชการพลเรือน ข้อประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน ข้อ 3 ขาราชการตองยึดมั่นในจริยธรรม ขอ 5 ขอ 8 (5) ข้าราชการต้องไมเอื้อประโยชนเปนพิเศษ ใหแกญาติพี่นอง พรรคพวกเพื่อนฝูง หรือผูมีบุญคุณ และตอง ปฏิบัติหนาที่ดวยความเที่ยงธรรมไมเห็นแกหนาผูใด ขอ 9 ใหขอมูลขาวสารแกประชาชนอยางครบถวน ถูกตอง ทันการณ และไมบิดเบือนขอเท็จจริง
จ.1.4 กำหนดราคาก๊าซNGV เอื้อเอกชนผู้ถือหุ้นในเครือปตท .
ก่อนที่จะมีการลอยตัวเอ็นจีวี ปตท. มักจะพูดอยู่เสมอว่า มีผลขาดทุนสะสมจากการขายก๊าซเอ็นจีวีอยู่ 30,000 ล้านบาท แต่ขณะเดียวกัน ก็ไม่เคยแสดงหลักฐานการซื้อขายNGV จริง จากข้อมูลของ สนพ. หลังจากลอยตัว ก๊าซ ที่ใช้ในภาคขนส่ง ในปี 2555 ปตท. จะมีรายรับจากการขายเอ็นจีวีเพิ่มขึ้นจากเดิมเดือนละ 1,758 ล้านบาท เป็น 2,999 ล้านบาท ส่วนแอลพีจีจะมีรายรับเพิ่มขึ้นจากเดิมเดือนละ 1,460 ล้านบาท เป็น 2,117 ล้านบาท
ประการสำคัญราคาเนื้อก๊าซที่ ปตท. นำมาแสดงต่อสาธารณชนเป็นราคาที่สูงเกินจริงถึง 4 เท่าตัว เพราะ ปตท. ไม่เคยแสดงหลักฐาน ว่าเนื้อก๊าซที่ไปซื้อมาจากปากหลุมราคาเท่าไหร่ แต่ไปเอาราคาก๊าซเอ็นจีวีที่ขายให้กับ กฟผ. มาแสดง แล้วก็บอกว่านี่ราคาต้นทุนเนื้อก๊าซ
จากคู่มือผลสรุปข้อเท็จจริงที่คณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้าง ธรรมาภิบาลวุฒิสภา หน้า 44 เอกสารแนบ 11 พบว่า ปตท .ซื้อก๊าซธรรมชาติจากปากหลุม เพียง 4.85เหรียญต่อล้าน บีทียู และข้อมุลที่ สว. รสนา โตสิตระกูล ได้เผยแพร่สู่สาธารณะ ทางเฟสบุค ค่าเนื้อก๊าซที่ปตทอ้างว่า8.39บาท/ก.ก เป็นราคาที่ขายให้ กฟผ.ซึ่ง เป็นราคาที่บวกค่าบริหารและกำไรไว้แล้ว คุณรสนา โตสิตระกูล ได้ตรวจดูข้อมูลราคาก๊าซตลาดโลกเดือนตุลาคม 54 ราคาแค่4บาทต่อก.ก. ตามข้อมูลของ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ราคาก๊าซปากหลุมที่ปตทซื้อ ราคาตำกว่าตลาดโลกตั้งแต่ 45-67% ราคาก๊าซของไทยแค่2บาทเท่านั้น (และราคาตลาดโลกลดลงไปเรื่อยๆ เอกสารแนบ... 16. แต่ ปตท.กลับอ้างต้นทุนตนเองสูง และ เพิ่มราคาจนประชาชนเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า ส่วน ปตท.สผ. ปตท. กรรมการบริษัท ในเครือ และ ผู้ถือหุ้นต่าง ร่ำรวยถ้วนหน้าโดยขูดรีดจากประชาชนทุกหมู่เหล่า ) แต่ปตท.กลับอ้างขาดทุนก๊าซNGV ทั้งที่บริษัทลูก กำไรจากการขายก๊าซให้กับปตท หลายหมื่นล้าน
จ.1.5 ขึ้นราคา LPG โดยเอื้อเอกชน และฉ้อโกงประชาชน จากราคาก๊าซLPG เดือน ธันวาคม 2554 ราคาขายก๊าซอยู่ที่ 18.13 บาทต่อลิตร เมื่อมีมติครม. ให้ขึ้นราคาก๊าซ เมื่อวันที่ 4 ตค 54 โดยอ้างต้องนำเข้า LPG ตามต้นทุนที่แท้จริง ปรากฎว่า ราคาที่เพิ่มขึ้นในเดือน เมษายน 2555 (เอกสารแนบ 9 ) ราคาก๊าซ LPG อยู่ที่ 20.38 บาทต่อลิตร สำหรับรถยนต์ และ 30.13 บาทต่อลิตร สำหรับภาคอุตสาหกรรม และส่วนที่เพิ่มจาก ราคาเดิมคือ เงินในกองทุนน้ำมัน (2) โดยเพิ่มขึ้น 2.1027 บาทต่อลิตร สำหรับก๊าซใช้ในรถยนต์ และ 11.215 บาทต่อลิตร สำหรับก๊าซในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งกองทุนเหล่านี้เอาเงิน ไปชดเชย การนำเข้าก๊าซ โพรเพนและบิวเทนใน ภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และไม่ปรากฎการแสดง ราคาก๊าซเหล่านี้ ในภาคปิโตรเคมี ซึ่งเป็นบริษัทลูกของปตท . รวมทั้งก๊าซที่ได้จากการ ขุดเจาะในประเทศ มีปริมาณพอเพียง ต่อใช้ ในภาคครัวเรือน และยานยนต์ ทั้งก๊าซธรรมชาติที่ขุดได้ในประเทศ ปริมาณเกินความสามารถ ในการกลั่น ต้องนำก๊าซทั้งหมด ที่ขุดจากหลุม ส่งไปผลิตไฟฟ้า และเผาทิ้งส่วนหนึ่งเพราะ โรงแยกก๊าซไม่เพียงพอ ต่อปริมาณ ก๊าซธรรมชาติ ที่ขุดได้ในประเทศซึ่งเป็นการกำหนดนโยบาย และการบริหารเพื่อให้เกิดการนำเข้า ก๊าซและ เป็นก๊าซ เพื่อปิโตรเคมี ไม่ใช่เพื่อครัวเรือน จึงเป็นการฉ้อโกงประชาชน โดยอาศัย มติครม . และมติคณะกรรมการผู้ถูกฟ้อง คดี ที่1,2,3,4,5 สร้างความชอบธรรม ในการแสวงหาประโยชน์จากประชาชนไปเอื้อบริษัทของเอกชนส่วนหนึ่ง ที่เป็นผู้ถือหุ้น ในบริษัทในเครือปตท .เช่น บริษัท ปตท บริษัท PTTGC ที่ทำธุรกิจปิโตรเคมี ฯ และ บริษัท ปตท สผ. ที่ขุดเจาะและสำรวจก๊าซ และขายก๊าซแก่ปตท
สัดส่วนรายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ 10 อันดับแรกของ ปตท. ณ วันที่ 9 กันยายน 2554 ปตท ถือหุ้น 51% ที่ เหลือ เอกชนถือหุ้น ส่วนบริษัท ปตท สผ มีปตท ถือหุ้น62% ที่เหลือเอกชนถือหุ้นอยู่ด้วย
จากข้อมูลในตารางจะเห็นได้ว่ากำไรปตท
1. เพิ่มขึ้นทุกปี กว่าแสนล้านบาท
2. สัดส่วนมาจากการผลิต สำรวจและขุดเจาะก๊าซ 80-90% ซึ่งเป็นบริษัทลูกในเครือปตท สัดส่วนถือหุ้น 62 % ซึ่งสามารถกำหนดทิศทางและราคา และการบริหารได้ทุกอย่าง จึงสามารถกำหนดราคาขายกีาซเอ็นจีวี เพื่อให้ปตทผส. กำไร แต่บริษัทแม่ (ปตท.)อ้างว่าขาดทุนราคาต้รทุนก๊าซ แต่แท้ที่จริงคือให้บริษัท ลูก (ปตทสผ) กำไรสูง เพื่อความชอบธรรมในการขอขึ้นราคาก๊าซธรรมชาติ
3. ในปี 54 กำไรสุทธิ 105,296 ล้านบาท หลังหักภาษี และดอกเบี้ย ซึ่งส่วนใหญ่มา จากการ สำรวจและผลิต และขายก๊าซ เอกสารแนบ 12
4. ในไตรมาสแรกของปี 55 ปรากฎว่าปตท กำไรสุทธิ37385.78 ล้านบาท จะเห็นว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่1,2,3,4,5 ล้วนกำหนดหรือสนับสนุนให้กำหนดราคาน้ำมันและก๊าซที่สร้างความร่ำรวยแก่บริษัทปตท และบริษัทในเครือ ที่มีเอกชนร่วมเป็นเจ้าของอยู่ด้วยแต่ประชาชนทั่วไปทุกคนต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายด้านราคาน้ำมันและราคาสินค้า ทุกอย่าง เพื่อไปชดชเยความร่ำรวยของธุรกิจของปตท และบริษัทในเครือ
นอกจากการมีน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติในประเทศแล้ว บริษัทในเครือปตท ยังสามารถส่งออกน้ำมัน สำเร็จรูป มูลค่ากว่าสามแสนล้านบาท เป็นอันดับสี่ของมวลรวมการส่งออกของประเทศ และเมื่อรวม ผลิตภัณฑ์ต่างๆของน้ำมัน เช่นเม็ด พลาสติค เคมีภัณฑ์ รวมมูลค่ามากกว่า800,000 ล้านบาท และมีมูลค่า มากกว่าส่งออกข้าว รายละเอียดตาม เอกสารแนบ 13 โดยราคาขายน้ำมันทั้งหมด ให้ประชาชน ทั้งที่ขุดได้ในประเทศ และนำเข้าจากต่างประเทศ (ซึ่งไม่เคยเห็นว่ามีสัญญาซื้อขาย หรือนำเข้ามาเท่าใด จากแหล่งใด ราคาเท่าใด ) ในราคา อิงราคาตลาดโลก ตามมติครม. แต่ข้อเท็จจริง คือ น้ำมันดิบจากไทยส่วนใหญ่ และที่อ้างว่าซื้อมาจากตลาดโลก ส่วนหนึ่ง ยังผลให้คนไทยใช้น้ำมันแพง ทั้งๆที่ น้ำมันส่วนใหญ่ที่ใช้ผลิต ได้เองในประเทศ แต่ผู้ประกอบการและผู้ถือหุ้น ปตท รวยขึ้น โกยกำไร เป็นแสนล้าน ส่วนกรรมการปตท กลับมีรายได้ ปีละหลายสิบล้านบาท ( 40-80 ล้านบาท ) จาก โบนัส และเงินเดือนเบี้ยประชุม รวมทั้งเอกชน มีรายได้จากการปันกำไร รวมตั้งแต่ปี 2543 -2550 รวมแล้วกว่า สองแสน ล้านบาท (216,384.49 ล้านบาท ) ( เอกสารแนบ 14 ) แต่คนทั้งประเทศจนลง จากวิจัยของหอการค้า ทั้งนี้ รายจ่ายที่เกิดขึ้น ล้วนมาจาก ผลจากการที่ราคาน้ำมันสูงขึ้น ทำให้ค่าไฟฟ้า ต้นทุนสินค้า อาหาร ค่าบริการ ค่าเดินทาง ขนส่ง ต้นทุนไปทำงาน ฯลฯ ต้องแพงขึ้น ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ประชาชน และผู้ฟ้องคดี และมติดังกล่าวยังขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 66 มาตรา 67 มาตรา 85(4) ที่กำหนดให้ประชาชนได้ประโยชน์จาก ทรัพยากร ของประเทศอย่างเป็น ธรรม และสมดุลย์ ขัดต่อ มาตรา 84 ด้านกระจายรายได้ รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ โดย (6) ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้ อย่างเป็นธรรม แต่ประกาศ และการกำหนดราคาดังกล่าว ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1,2,3,4,5 ดังกล่าว กลับสร้างความเหลื่อมล้ำให้สังคม และเป็นการสร้างภาระเกินควรแก่ ประชาชนทั้งประเทศ
จ.2 ข้อเท็จจริงด้านการขึ้นค่าไฟฟ้า
สูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้า โดยอัตโนมัติ (Ft) จากการที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ประชุมเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2554 ได้มีมติอนุมัติตามมติคณะ กรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ผู้ถูกฟ้องคดีที่2 ในการประชุมครั้งที่ 2/2554 (ครั้งที่ 135) เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2554 เรื่อง นโยบายการกําหนดโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า ของประเทศไทยปี 2554-2558 โดยอ้างว่า เพื่อให้สะท้อนถึง ต้นทุนในการจัดหาไฟฟ้าที่เหมาะสมและเป็นธรรม แตกต่างกันตามช่วงเวลาในแต่ละวัน ตลอดจนส่งเสริมให้มีการใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับ สภาวะเศรษฐกิจและสังคม
ต่อมา ครม. ในการประชุมเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2554 ได้มีมติอนุมัติตามมติ กพช. ในการ ประชุมครั้งที่ 3/2554 (ครั้งที่ 136) เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2554 เกี่ยวกับการปรับโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า ของประเทศไทย ปี 2554-2558 โดยให้ประกาศใช้ตั้งแต่ค่าไฟฟ้าในรอบเดือนกรกฎาคม 2554 เป็นระยะเวลา 2 ปี และให้มีการทบทวนในปี 2556 เพื่อประกาศใช้ต่อไปอีก 3 ปี และมอบหมายให้คณะกรรมการกํากับ กิจการพลังงาน (กกพ.) ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 6 นําความเห็นของที่ประชุมไปดําเนินการต่อไป
ในการประชุมครั้งที่ 26/2554 (ครั้งที่ 135)ของผู้ถูกฟ้องคดีที่6 เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2554 ได้มีมติเห็นชอบ โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าของประเทศไทย ปี 2554-2558 โดยให้นําค่าไฟฟ้าตามสูตรการ ปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดย อัตโนมัติ (Ft) ในงวดพฤษภาคม 2554-สิงหาคม 2554 จํานวน 95.81สตางค์/หน่วยขายปลีก ไปรวมใน โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าขายปลีกที่ใช้มาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2548และให้ประกาศใช้อัตรา ค่าไฟฟ้าใหม่ ตั้งแต่ค่า ไฟฟ้าในรอบเดือนกรกฎาคม 2554 เป็นระยะเวลา 2 ปี
เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2555 ที่ผ่านมา นายดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. กล่าวว่า ทาง กกพ. มีมติปรับขึ้นค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ หรือค่าเอฟที ในงวดเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม55 อีก 30 สตางค์ต่อหน่วย ( เอกสารแนบ 15 ) ซึ่งจะทำให้ค่าไฟฟ้าบ้าน ปรับขึ้นประมาณ 3.30 บาทต่อหน่วย หรือราว 7-8 เปอร์เซ็นต์ หากผู้ใช้คนใดเคยจ่ายค่าไฟประมาณเดือนละ 100 บาท จะต้องจ่ายค่าไฟเพิ่มขึ้นอีก 7-8 บาท
ทั้งนี้ นายดิเรก กล่าวว่า ค่าเอฟทีที่สูงขึ้น เป็น ผลมาจาก
1 ก๊าซธรรมชาติที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิต กระแสไฟฟ้า มีราคาสูงขึ้นตามราคาน้ำมัน อีกทั้ง
2 ความต้องการในการใช้ไฟฟ้างวดใหม่ ยังเพิ่มขึ้นด้วย ก่อนหน้านี้ มีการคาดการณ์ว่า ปริมาณการใช้ไฟฟ้า จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.69 แต่ในความเป็นจริง มีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 11.32 หรือ 51,955 ล้านหน่วย ซึ่งเป็นผลมาจากอากาศร้อน การใช้ไฟฟ้าภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 14 และการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรม ก็ทำให้การใช้ไฟเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 4 ซึ่งเป็นช่วงหน้าร้อน
ข้อเท็จจริง ราคาก๊าซในตลาดโลกลดลง เอกสารแนบ 16 และขณะนี้เดือนกค. 55 เลยหน้าร้อนมาแล้ว แต่ปตท และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1,2,3,4,5,6,8 ร่วมกัน อนุมัติ หรือสนับสนุน ให้มีการเพิ่มราคาก๊าซ และค่าไฟฟ้า และจากการที่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตอ้างว่า ต้นทุนค่าเชื้อเพลิง เพิ่มขึ้นเพราะท่อก๊าซ ของปตทรั่วต้องนำเข้า น้ำมันเตา มาผลิตกระแสไฟฟ้า และการใช้ไฟฟ้าในอัตราสูง แต่ปัจจุบัน ราคาก๊าซ ธรรมชาติในตลาดโลกลดลงมาก และราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกลดลง แต่การไฟฟ้าขอเพิ่มค่าเอฟที 30 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งข้ออ้างต่างๆ อ.ประสาทมีแต้ม ได้เขียนไว้ในผู้จัดการดังนี้ (เอกสารแนบ 17 )
คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ได้ประกาศขึ้นค่าไฟฟ้าเอฟที อีก 30 สตางค์ โดยอ้าง ราคาก๊าซขึ้นราคา และต้องใช้น้ำมันเตาทดแทน แต่จากการศึกษาข้อมูลของดร.ประสาท มีแต้มพบว่าสัดส่วนน้ำมันเตาใช้เพียง. 0.08%. ไม่ได้มีผลกระทบใดๆ ต่อต้นทุนการผลิต ไฟฟ้า ทั้งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตยังยินยอม ให้ปตท ขายก๊าซแพง กว่าขายให้เอกชนรายอื่นๆในไทย 30 บาทต่อล้านบีทียู และแพงกว่า อเมริกา 70 บาทต่อล้านบีทียู ทำให้ต้นทุน ค่าไฟฟฟ้า ก๊าซ หนึ่งล้านบีทียู ผลิตไฟฟ้าได้ 120 หน่วย ทำให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าแพงขึ้นกว่าทั่วไปอีก 25 สตางค์ ต่อยูนิท ซึ่งแสดงถึงการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1,2,3,4,5,6,7,8 และผู้เกี่ยวข้อง ร่วมกันสนับสนุน หรือร่วมอนุมัติหรือเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์ ราคาก๊าซ เพื่อเอื้อประโยชน์แก่บริษัทในเครือปตท และเอกชนผู้ถือหุ้น จึงมีความไม่ชอบด้วยกฎหมาย