Jump to content


Photo
- - - - -

เลือกตั้งโมฆะ ไม่มีสมคบคิด (บทสัมภาษณ์ ผู้ตรวจการแผ่นดิน VS ฝ่ายกฎหมายพรรค พท.)

เลือกตั้ง

  • Please log in to reply
18 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 อู๋ ฮานามิ

อู๋ ฮานามิ

    สมาชิกหน้าเก่า

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,018 posts

ตอบ 23 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 10:35

เลือกตั้งโมฆะ ไม่มีสมคบคิด

 

 “พรเพชร-ผู้ตรวจการแผ่นดิน”  มือคุมสำนวนคดี เลือกตั้งโมฆะ 
 
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ให้การเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557 เป็นโมฆะ ก่อให้เกิดแรงกระเพื่อมทางการเมืองสูงยิ่ง โดยเฉพาะกับฝ่ายรัฐบาล-พรรคเพื่อไทยและคนเสื้อแดง ที่ฟาดหัวฟาดหางใส่ "องค์กรอิสระ" แบบไม่มียั้ง ขณะที่ก็ยังไม่มีความชัดเจนว่า สุดท้ายแล้วพรรคประชาธิปัตย์จะส่งคนลงสมัครรับเลือกตั้งหรือไม่ แต่ในส่วนของ กปปส.นั้นชัดเจนแล้วว่า ประกาศจะขัดขวางการเลือกตั้งต่อไปแม้จะมีการจัดการเลือกตั้งกันใหม่ 
 
“ไทยโพสต์” สัมภาษณ์ “พรเพชร วิชิตชลชัย” ผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่เพิ่งเข้ามารับตำแหน่งเมื่อช่วงสิ้นปี 2556 แต่เป็นที่รู้กันว่าเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เพราะประสบการณ์ความเป็นอดีตผู้พิพากษามาหลายสิบปี ผ่านตำแหน่งในฝ่ายตุลาการมามากมาย เช่น อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา เลยทำให้เป็นมือกฎหมายสำคัญของสำนักงาน เห็นได้จากได้รับมอบหมายให้เป็นตัวแทนประธานผู้ตรวจการแผ่นดินไปแถลงคดีด้วยวาจาและตอบข้อซักถามตุลาการศาล รธน.ในคดีเลือกตั้ง 2 ก.พ.เป็นโมฆะ จนสุดท้ายศาล รธน.มีมติ 6 ต่อ 3 ให้การเลือกตั้งดังกล่าวที่ผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นผู้ร้องเป็นโมฆะ 
 
“พรเพชร” ออกตัวว่า ด้วยสถานะความเป็นผู้ตรวจการแผ่นดิน ผลพวงอะไรที่จะตามมาจากคดีนี้จะเป็นอย่างไร ไม่ขอพูดอีกแล้ว อย่างไรก็ตาม ในส่วนของเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ ที่ผู้ตรวจการแผ่นดินไปยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ รวมถึงเรื่องที่พรรคการเมืองไปออกแถลงการณ์ว่ามีกระบวนการ "สมคบคิด" กันทางการเมือง ก็พร้อมตอบข้อซักถาม 
 
“ไม่ขอพูดเรื่องคดี เราเป็นผู้ตรวจการแผ่นดิน เราเป็นองค์กรอิสระ ทำหน้าที่อย่างถูกต้องสมบูรณ์แล้ว ก็ขอพูดแค่นี้”
 
อย่างไรก็ตาม เมื่อถามในข้อกฎหมายว่าคำร้องคดีนี้ที่ นายกิตติพงศ์ กมลธรรมวงศ์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ได้ร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน แล้วผู้ตรวจการแผ่นดินได้มีมติส่งคำร้องดังกล่าวไปยังศาลรัฐธรรมนูญ กับคำร้องก่อนหน้านี้ของวิรัตน์ กัลยาศิริ อดีต ส.ส.สงขลา ประชาธิปัตย์ ยื่นให้ผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อขอให้ส่งไปศาล รธน.เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะเหมือนกัน ทำไมของวิรัตน์ไม่ส่งศาลรัฐธรรมนูญ แต่ของกิตติพงศ์กลับส่ง “พรเพชร” แจงเรื่องนี้อย่างละเอียดว่า กรณีคำร้องของวิรัตน์ ที่ผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ได้ยื่น ในคำร้องเพราะตัววิรัตน์ระบุไว้ชัดเจนว่า ให้ตรวจสอบการกระทำของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งในคำร้องบรรยายมาเรื่องของการเลือกตั้งไม่ชอบทั้งนั้น ข้อกล่าวหาของวิรัตน์เป็นการตรวจสอบการกระทำของ กกต.เป็นหลัก ดังนั้น ผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณาแล้วพบว่าส่งศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ เพราะเขาต้องการให้ผู้ตรวจการแผ่นดินวินิจฉัยแล้วส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ว่าการกระทำของ กกต.นั้นไม่ชอบ จึงทำให้ผู้ตรวจการแผ่นดินส่งไปไม่ได้
 
...แต่คำร้องของอาจารย์ธรรมศาสตร์ เขาอ้างมาทำนองว่าการเลือกตั้งครั้งนี้เกิดจากพระราชกฤษฎีกาที่ยุบสภาฯ แล้วส่งผลให้การเลือกตั้งนั้นไม่ชอบ ซึ่งถ้าดูประเด็นที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซักถามในวันนัดไต่สวนเมื่อ 19 มีนาคม จะเห็นได้ชัดว่ากรณี 28 เขตเลือกตั้งใน 8 จังหวัดภาคใต้ ที่มันเกิดปัญหาขึ้นมา เพราะว่า กกต.ก็เห็นว่ามันจะส่งผลต่อความชอบด้วยกฎหมาย ของพระราชกฤษฎีกาเดิม ที่เป็นพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งทั่วไปเดิม (เลือกตั้ง 2 ก.พ.) ซึ่งเมื่อ 28 เขตเลือกตั้งเมื่อเปิดรับสมัครไม่ได้ มันต้องแก้ไขด้วยตัวพระราชกฤษฎีกา คือออกใหม่ แก้ไขเพิ่มเติม กกต.ก็เลยส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคราวที่แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญก็บอกว่าทำไปสิ ให้ไปปรึกษา (ประธาน กกต.-นายกรัฐมนตรี) แล้วก็ทำไป แต่ก็ไม่มีการทำ อาจารย์ธรรมศาสตร์ก็เลยร้องเข้ามา อย่างนี้มันเกี่ยวกับความชอบหรือ มันไม่ใช่เรื่องที่ว่าพระราชกฤษฎีกามันไปขัดหรือแย้งอะไรกับรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องของการที่จะต้องเดินต่อไปตามพระราชกฤษฎีกาการเลือกตั้ง อันนี้เป็นประเด็นสำคัญ ตรงนี้เป็นเรื่องกฎหมายที่เข้าใจยาก เป็นเรื่องของกฎหมายวิธีบัญญัติ คือเป็นเรื่องของการที่จะเข้าองค์ประกอบของการที่เราจะส่งเรื่องไปศาลรัฐธรรมนูญได้อย่างไร 
 
ส่วนประเด็นที่ นายศุภชัย สมเจริญ ประธาน กกต. ให้การต่อศาลว่า การส่งคำร้องของผู้ตรวจการแผ่นดินทำไม่ถูกต้อง เพราะไม่มีการเรียกฝ่าย กกต.ไปชี้แจงเสียก่อน แต่กลับส่งศาลรัฐธรรมนูญเลย “พรเพชร” ให้รายละเอียดเรื่องนี้ว่า  กรณีคำร้องที่ส่งไปเป็นอำนาจที่ผู้ตรวจการมีดุลยพินิจ ถ้าเห็นว่ามีปัญหาข้อเท็จจริงที่จะต้องซักถามผู้ตรวจการแผ่นดิน ก็เป็นดุลยพินิจที่จะส่งเรื่องไปได้ เป็นดุลยพินิจ ถ้าผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่าเป็นประเด็นข้อกฎหมายล้วนๆ ก็จะส่งไปได้ โดยไม่จำเป็นต้องซักถามหรือให้ผู้ถูกร้องตอบก่อน 
 
เมื่อซักต่อไปถึงรายละเอียดของคดี เช่น เนื้อหาในคำแถลงด้วยวาจาที่นายพรเพชรแจงต่อศาลรัฐธรรมนูญ โดยยกเรื่องจีดีพีของประเทศกับการเลือกตั้ง รวมถึงปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองต่างๆ คำถามเหล่านี้ทาง "พรเพชร" ย้ำอีกครั้งว่าขอไม่พูดดีกว่า เพราะได้พูดเคลียร์แล้วในศาลรัฐธรรมนูญ ทุกอย่างก็อยู่ในคำแถลงต่อศาลแล้ว โดยไม่จำเป็นต้องชี้แจงว่าจะเป็นยังไง จะส่งผลยังไง ให้สังคมพิจารณาดีกว่า 
 
เมื่อเราถามว่า เริ่มจะมีการปลุกกระแสให้คนต่อต้านไม่ยอมรับคำวินิจฉัยศาล รธน.จะเกิดปัญหาอะไรไหมต่อจากนี้? “พรเพชร” ย้ำว่า อันนั้นเป็นเรื่องของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ โดยหลักแล้วทุกองค์กรก็บอกแล้วว่าจะเคารพคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจะออกมาในแนวทางที่ทำให้เกิดความสงบในบ้านเมือง เป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่เขาก็ต้องพิจารณานอกจากปัญหาข้อกฎหมายและข้อเท็จจริง คิดว่าศาลรัฐธรรมนูญก็รักประเทศชาติ ถ้าเห็นหนทางที่จะวินิจฉัยไปในทางให้เกิดความวุ่นวายคงไม่ทำ แต่ต้องดูเป็นธรรมก่อนถึงจะใช้อำนาจ 
 
 
- มีการพุ่งเป้าโจมตีองค์กรอิสระกันมาก รวมถึงผู้ตรวจการแผ่นดินด้วย ว่าใช้ทฤษฎีสมคบคิด?
 
ผมเรียนยืนยันเลยว่า ไม่เคยพูดจาอะไรกับใครเลย ตั้งแต่เป็นผู้ตรวจการแผ่นดินมา ยังไม่เคยไปพูดอะไรกับใครแม้แต่คำเดียว แม้แต่กับองค์กรอิสระด้วยกันเอง ก็ไม่เคยได้ไปพบปะอะไรกันเลย 
 
อย่างกรณีที่มีการโยงไปเรื่ององค์กรอิสระ กรณีองค์กรอิสระหลายแห่ง (เสนอโรดแม็พ) ที่ผมก็ไม่ทราบมาก่อน เพราะผมก็เพิ่งมารับหน้าที่ แต่ทราบว่าเขามีความสัมพันธ์กันทางสังคมาก่อน มีกีฬากระชับมิตร มีการสังสรรค์กันเป็นประจำ มีการพูดคุยประจำเดือน ผลัดกันเป็นเจ้าภาพ นี่คือสิ่งที่ผมทราบมา แต่ผมก็ไม่เคยไปร่วม ดังนั้นสิ่งที่เขาทำกันมาหลายปี ผมก็ไม่รู้ว่าเขาเริ่มกันมาเมื่อไหร่ การที่เขาพบกันแบบนี้ มันก็มีกันมาก่อนแล้ว แล้วเมื่อถึงวาระที่มีอะไร เขาก็คงพูดกัน ควรจะทำอย่างไร และมีใครเกิดไอเดียกันขึ้นมา ไม่ได้มีการสมคบอะไรกันหรอก แต่ผมก็ยังไม่ได้เข้าไปประชุมอะไรกับเขาเลย 
 
พอแย้งว่า บทบาทองค์กรอิสระที่ออกมาเสนอโรดแม็พการเจรจาดังกล่าว ไม่ใช่หน้าที่ขององค์กรอิสระ “พรเพชร-ผู้ตรวจการแผ่นดิน” ตอบว่า มันไม่ใช่หน้าที่โดยตรง แต่ผมว่าเป็นหน้าที่ของประชาชนทุกคนในประเทศไทย ที่จะต้องคิดแล้วเมื่อเขาเป็นส่วนหนึ่งของประชาชน เขาก็คงคิดอะไร คิดว่าจะต้องทำอะไรบ้าง ผมไม่ได้แก้ตัวแทนเขา 6 องค์กรนี้ แต่เขาก็อยู่ในวิสัยที่จะไปพูดกับคนได้ ไปพูดกับคู่กรณีได้ทำนองนั้น ผมมองว่าไม่ได้เรื่องใหญ่อะไร หลายคนก็มองว่าการที่ 6 องค์กรเหล่านี้อยากทำงานทำนองนี้ ซึ่งเป็นเรื่องปกติของสังคมที่เขาอยากให้คนดีกัน อยากให้คนพูดกัน มันก็ไม่ได้เรื่องใหญ่อะไร เพราะไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายอะไร ถ้าทำไม่ได้ก็เลยกันไป 
 
 
 
- ช่วงนี้มีแรงกดดันพุ่งเป้าไปที่องค์กรอิสระกันมาก เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ หรือผู้ตรวจการแผ่นดินเอง ก็กำลังถูกดึงเข้าไปในสถานการณ์ขัดแย้ง?
 
ศาลรัฐธรรมนูญก็ต้องถูกกดดันอยู่แล้ว เพราะคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเป็นสิ่งที่มีผลเป็นเด็ดขาด ทุกฝ่ายต้องรับ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายใด ก็ต้องยอมรับแรงกดดันที่ศาลรัฐธรรมนูญก็ย่อมมีมาก
 
แต่ในส่วนขององค์กรอิสระโดยเฉพาะผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยสภาพหรือโดยอำนาจไม่ใช่องค์กรวินิจฉัยชี้ขาด แต่เป็นองค์กรที่พิจารณาเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยมิชอบหรือบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดที่ไม่ชอบ ที่อาจไม่มีหนทางเยียวยาแก้ไขหรือแก้ไขยาก หรือหากมีการกระทำที่ไม่ชอบ ทางผู้เสียหายหรือผู้เกี่ยวข้องก็สามารถที่จะไปดำเนินการตามวิถีทางของเขา เช่น ไปฟ้องต่อศาลหรือไปร้องกับองค์กรอื่น แต่ว่าบางเรื่องไปทางอื่นก็อาจไม่ได้ เช่น ไม่ได้อยู่ในฐานะผู้เสียหาย หรือในบางเรื่อง ที่อาจไปมีผลกระทบกับสังคมโดยส่วนรวม รัฐธรรมนูญจึงบัญญัติให้มีองค์กรผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อทำหน้าที่นี้ เพื่ออุดช่องว่างทั้งหมด ไม่เช่นนั้นจะมีบางเรื่องที่ไปสู่องค์กรวินิจฉัย เช่น ศาลต่างๆ หรือ ป.ป.ช.ไม่ได้ ดังนั้นผู้ตรวจการแผ่นดินจึงเป็นผู้พิจารณาเรื่องส่งต่อ 
 
ข้อวิพากษ์วิจารณ์ตอนนี้ส่วนหนึ่งก็เกิดจากเพราะองค์กรผู้ตรวจการแผ่นดินเพิ่งถูกจัดตั้งขึ้นมา ตั้งแต่รัฐธรรมนูญปี 40 ซึ่งก็มีประชาชนจำนวนมากไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่แท้จริงของผู้ตรวจการแผ่นดิน ก็ไม่อยากไปรื้อฟื้นอะไร แต่ไม่ว่าจะปรากฏจากที่ผ่านทางสื่อต่างๆ ก็พบว่ามีคนไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินในส่วนนี้ ก็ไปบอกว่าเราไม่มีอำนาจหน้าที่ตรงนี้ไปทำ ทำไป ซึ่งหากไปดูผลงานของเรา จะเห็นได้ว่า เราได้ไปแก้ปัญหาการกระทำที่ไม่ชอบปีหนึ่งๆ มีเยอะมากเป็นพันเรื่อง แต่ว่าอาจเป็นเรื่องเล็กๆ ในสายตาของสังคม เช่น การไปตรวจสอบเรื่องการบุกรุกที่ป่าสงวน การกระทำที่ไม่ชอบของเจ้าพนักงานที่มีต่อราษฎร เราก็ไปแก้ไข แล้วก็ส่งเรื่องต่อไปยังองค์กรที่มีอำนาจ แล้วเขาก็แก้ไขเยียวยาความเดือดร้อน เรื่องใหญ่ๆ ก็มีหลายเรื่องที่คนไม่ทราบ เช่น เรื่องการแก้ไขกฎหมายต่างๆ
 
 เช่น เรื่องการเสียภาษี อย่างเมื่อก่อน กฎหมายให้การยื่นแบบเสียภาษีให้สามีภรรยาเอารายได้มารวมกันแล้วยื่นการเสียภาษีที่ทำให้เสียเปรียบ ประชาชนเสียภาษีเยอะขึ้น แต่ตอนนี้ก็ต่างคนต่างยื่น กรมสรรพากรก็ยอมว่าที่ทำก่อนหน้านี้ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ เรื่องแบบนี้คนไม่ทราบว่าเป็นผลงานของผู้ตรวจการแผ่นดิน เราตรวจสอบทั้งการกระทำของรัฐ เจ้าหน้าที่รัฐ และยังตรวจสอบกฎหมายต่างๆ เมื่อตรวจสอบพบว่าไม่ชอบก็ส่งต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป เช่น ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญก็ทำกันมาตลอดอยู่แล้ว 
 
 “โดยบทบาทหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินจึงไม่น่าจะถูกโยงเข้าไปว่าใช้อำนาจโดยมิชอบ หรือถูกเชื่อมโยงทางการเมือง เพราะผู้ตรวจการแผ่นดินก็ระมัดระวังอยู่แล้วว่าต้องทำภายในขอบอำนาจ เพราะถ้าไม่ทำ ก็จะเป็นการปล่อยให้เกิดทางตันขึ้นมา” 
 
...องค์กรนี้รัฐธรรมนูญสร้างขึ้นมาเพื่อให้ปัญหาทุกอย่างได้มีการแก้ไขได้ ให้นำไปสู่องค์กรวินิจฉัยได้ ในขณะเดียวกันคนที่พอเข้าใจบ้างก็อาจวิพากษ์วิจารณ์ผู้ตรวจการแผ่นดินว่าไม่มีอำนาจเด็ดขาด คือเมื่อพบการกระทำแล้วไม่สามารถไปทำอะไรได้เอง ซึ่งก็เพราะเขาไม่ต้องการให้เราทำอะไรได้เอง เพราะด้วยกำลังของเราก็ดี หน่วยของเราก็ดี มันจะไปแย่งคนอื่นเขาวินิจฉัยไม่ได้ เพราะคนที่เขาวินิจฉัย เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง เขามีมาตรฐานในการวินิจฉัย คือเราเป็นฝ่ายเห็นปัญหาแล้วบุคคลไม่สามารถไปเสนอต่อเขาได้ รัฐธรรมนูญก็เลยบอกให้เสนอผ่านผู้ตรวจการแผ่นดิน 
 
 
- พวกแรงต้านองค์กรอิสระต่างๆ ทำให้หนักใจไหมเวลาผู้ตรวจการแผ่นดินจะรับเรื่องไว้พิจารณาอะไรต่อไป?
 
การพิจารณาแต่ละเรื่องถ้าผลกระทบมันมาก ทางผู้ตรวจการแผ่นดินจะประชุมปรึกษาหารือกันโดยลงรายละเอียดกันมากทุกแง่มุม กว่าจะได้ข้อยุติอย่างเช่นเรื่องคำร้อง 2 ก.พ. เป็นโมฆะ ทางผู้ตรวจการแผ่นดินก็ได้มีการประชุมพิจารณากันตลอดเวลาทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ เรื่องหนักใจอะไร คือมันเป็นหน้าที่ของเรา ก็ต้องคุยกันมาก คุยกันทุกแง่มุม มีการซักเจ้าหน้าที่อะไรต่างๆ เรื่องอะไรต่างๆ เราก็ไม่อยากให้บ้านเมืองเกิดความแตกแยก แต่ด้วยอำนาจหน้าที่ เราก็ปฏิบัติและใช้อำนาจตามวิถีทางของรัฐธรรมนูญ 
 
“อย่างเรื่องคำร้องนี้ การเลือกตั้งก็ต้องมีการตรวจสอบเป็นปกติ ซึ่งถ้ามีเหตุที่ทำให้การเลือกตั้งไม่ชอบ ทุกประเทศเขาก็ตรวจสอบ และถ้ามันไม่ชอบจริงๆ ด้วยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ก็ต้องเลือกตั้งใหม่”
 
 อันนี้เป็นหลักธรรมดาของรัฐธรรมนูญทุกประเทศ ดังนั้นผู้ตรวจการแผ่นดินมีหน้าที่เพียงดูข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ว่ามันสมควรจะไปเสนอศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ มีเหตุตามกฎหมายหรือไม่ สิ่งที่เสนอไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณานั้นอยู่ในขอบเขตจำกัดมากว่าการเลือกตั้งนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ ไม่มีประเด็นอื่นเลย ความจริง กกต.เขารู้ปัญหานี้แล้วถึงการที่การเลือกตั้งทั่วไปจะไม่ชอบ กกต.เคยยื่นคำร้องไปศาลรัฐธรรมนูญครั้งหนึ่งแล้ว ตุลาการศาลรัฐธรรรมนูญถึงได้ซักถาม
 
คราวนี้ในเรื่องผลกระทบที่หลายคนมาโต้แย้งว่า แล้วคนที่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งแล้วจะเป็นอย่างไร มันก็ถูกต้องเขาถูกกระทบ แต่ว่าองค์กรวินิจฉัยเขาก็คำนึงว่าอันไหนมีความสำคัญกว่ากัน 
 
“เหมือนกับมีข้อสอบรั่วแล้วต้องมีการจัดสอบใหม่ เราก็ไปเข้าสอบ แล้วเราไม่ได้เป็นคนไปรู้ข้อสอบรั่วเสียหน่อยแล้วเราต้องสอบใหม่ อันนี้ก็เช่นกัน สิทธิของผู้เลือกตั้งที่ไม่ว่าจะไปลงคะแนนเสียงให้ใคร หรือคนที่ไปลงสมัครรับเลือกตั้งก็เช่นกัน ก็ต้องได้รับผลกระทบ ผมไม่อยากพูดเลยไปถึงเรื่องความเสียหาย ว่าใครต้องรับผิดชอบ อันนั้นคงไม่ใช่ประเด็น เพราะผมพูดไปล่วงหน้าไม่ได้ เพราะว่าเราต้องพิจารณาอีกถ้ามีการอ้าง”
 
 
- คนวิจารณ์กันมากว่าคำร้องคดีนี้เท่ากับเป็นการไปรับรองการทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง ต่อไปก็อาจเกิดกรณีแบบนี้อีกในการเลือกตั้งครั้งต่อๆ ไป เช่น ไปปิดหรือล้อมคูหาเลือกตั้ง ไปทำอะไรเพื่อล้มการเลือกตั้ง จะเป็นบรรทัดฐาน?
 
หน้าที่ในการดูแลรักษากฎหมายไม่ให้คนทำผิด เป็นหน้าที่ของรัฐบาล ดังนั้นศาลหรือผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ได้ไปห้ามหรือยุยงส่งเสริมให้มีการกระทำผิด เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะดูแล ผมพูดมากกว่านี้ไม่ได้ 
 
แต่ประเด็นนี้คนแย้งกันเยอะว่าต่อไปมีการเลือกตั้งเกิดขึ้น แล้วมีผู้สมัครส่งคนไปปิดคูหาลงคะแนน ก็ทำให้เกิดปัญหาในการเลือกตั้ง 
ผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ใช่ตำรวจ ถ้าแสดงความเห็นแล้วไปกระทบอำนาจหน้าที่ของคนอื่นเขา ถ้าทำอย่างนั้นมันจะไปสร้างความขัดแย้งในสังคมต่อไป ผมก็จะไม่ไปโต้ตอบเขา มันรู้ได้อยู่แล้วว่าปัญหานี้มันจะแก้ไขได้อย่างไร รัฐบาลก็ต้องแก้ หรือถ้ารัฐบาลจะไม่แก้ ก็ต้องบอกว่าจะให้ใครแก้ แต่มาโทษว่าผมไม่ยอมรับคงไม่ได้หรอก 
 
 
- บทบาทองค์กรอิสระต่อวิกฤติการเมืองเวลานี้ ดูแล้วเป็นไง บางคนบอกแทนที่จะคลี่คลาย กลับทำให้การเมืองติดล็อกมากขึ้น?
 
องค์กรอิสระต้องทำภายในขอบอำนาจตามรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญดีไซน์กำหนดมาไว้อย่างนั้น ถ้าเมื่อใดที่องค์กรอิสระไปทำนอกรัฐธรรมนูญ เมื่อนั้นจะเกิดปัญหา ไปก่อปัญหาวิกฤติทางการเมือง หรือไม่ทำก็ก่อให้เกิดปัญหาวิกฤติทางการเมือง ทุกองค์กรไม่ใช่องค์กรอิสระอย่างเดียว รัฐบาลด้วยหรือองค์กรของรัฐทุกแห่ง 
 
 
- มองยังไงที่มีคนตั้งคำถามกับการทำงานขององค์กรอิสระกันมากในช่วงหลังว่ามีอำมาตย์อยู่เบื้องหลัง หรือไม่ก็บอกว่าต้องการล้มระบอบทักษิณ
 
ถ้ามีอำมาตย์หรือมีใครมาสั่งการ เป็นสิ่งไม่ถูกต้องแน่นอน ถ้ามีพยานหลักฐานหรือจะร้องเรียนมาที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน เราก็ตรวจสอบได้ หรือจะยื่นตรวจสอบผู้ตรวจการแผ่นดินเองก็ได้ มีกระบวนการตรวจสอบได้ทั้งนั้น ถ้ามีการทำอย่างเช่นที่ว่า ก็ไม่ชอบแน่นอน แต่จากประสบการณ์ที่ผมมาเป็นผู้ตรวจการแผ่นดินมาไม่กี่เดือน ก็อย่างที่บอกไม่เคยได้พูดกับใครเลย ดังนั้นผมก็ไม่ทราบหรอกว่าใครจะมาสั่งหรือจะมาติดต่ออะไร ไม่ต้องถึงขั้นสมคบหรอก แค่จะไปพูดคุยกับใครผมยังไม่เคยพูดเลย แล้วก็ไม่เคยมีใครมาพูดกับผม 
 
ส่วนการรับเรื่องไว้ตรวจสอบของผู้ตรวจการแผ่นดิน ผมจะพูดเฉพาะตอนที่ผมเข้ามาแล้วและต้องรอดูต่อไป และให้ดูว่าเราได้ปฏิบัติด้วยความเป็นธรรมหรือไม่ ตอนนี้ก็เริ่มมีเรื่องร้องเรียนว่าแม้แต่องค์กรอิสระเอง หรือว่ารัฐบาลเองหรือบุคคลต่างๆ ก็มีเรื่องร้องเรียน ทั้งการกระทำที่ไม่ชอบ ก็ขอให้คอยดูการกระทำของเราต่อไป เพราะผมก็เพิ่งเข้ามา แต่ก็ได้มีการพิจารณากันไปบ้างแล้ว 
 
 
- มีบางฝ่ายพยายามสร้างกระแสว่า องค์กรอิสระ เป็นเครื่องมือของบางกลุ่มเพื่อล้มล้างระบอบทักษิณ?
 
ยืนยันว่าไม่มี ไม่มีความคิด ยืนยันผู้ตรวจการแผ่นดินไม่มีความคิดในเรื่องไปล้มล้างรัฐบาลหรือระบอบทักษิณอะไร ไม่มีประเด็น แต่เมื่อสังคมพูดมา ผมระวัง แน่นอนว่าถ้ามันไม่ใช่  มันก่ำกึ่ง เราก็ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบมาก เราต้องระวัง 
 
 
- เกรงไหมหลังจากนี้ ผู้ตรวจการแผ่นดินอาจถูกลากเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ขัดแย้งทางการเมืองด้วยเหมือนองค์กรอิสระอื่นๆ เช่น ป.ป.ช.
 
ไม่ ผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ประสงค์อย่างนั้น แล้วเราก็จะไม่ไปโต้แย้งอะไรเขา การเมืองย่อมมีสิทธิ์วิจารณ์ผู้ตรวจการแผ่นดินได้ ผมทำหน้าที่ตรงนี้ก็ย่อมโดนวิพากษ์วิจารณ์ได้  แล้วถ้าเรื่องไปถึงที่ว่า ร้ายแรงกันถึงกับที่เราต้องพิสูจน์ข้อเท็จจริง เราก็พร้อมจะพิสูจน์ว่าเราทำไปโดยชอบ โดยสุจริตและเที่ยงธรรม ไม่ได้อยู่ใต้อิทธิพลใคร ไม่ได้มีวัตถุประสงค์จะไปล้มล้างใคร พร้อมที่จะพิสูจน์ ที่พูดไม่ได้หมายถึงไปท้าทายเขา แต่หมายความว่าเราต้องยืนยันอย่างนี้ แล้วมันเป็นอย่างนี้จริงๆ ทฤษฎีสมคบคิดเป็นข้อกล่าวหาที่ร้ายแรง ที่เราก็รู้สึกมากเหมือนกัน แต่ก็ไม่ได้โกรธเคืองอะไร เขาก็มีสิทธิ์วิพากษ์วิจารณ์ 
 
ตบท้ายเราถามผู้ตรวจการแผ่นดินใหม่คนล่าสุด ถึงการทำงานในรอบหลายเดือนที่ผ่านมา หลังก่อนหน้านี้เคยให้สัมภาษณ์ช่วงวันแรกๆ ของการทำหน้าที่ว่าคนภายนอกมักมองผู้ตรวจการแผ่นดินว่าเป็นเสือกระดาษ หรือเป็นครูถือไม้เรียว พอมาทำงานจริงหลายเดือนที่ผ่านมา การทำงานของผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นยังไงบ้าง "พรเพชร" ตอบเรื่องนี้ว่า ที่เปรียบเป็นครูถือไม้เรียว ก็คือผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจยับยั้ง คือถึงจะถือไม้เรียว แต่ก็ต้องส่งเรื่องไปให้องค์กรอื่นที่เขามีอำนาจเด็ดขาดที่จะจัดการได้ อำนาจของเรามันจึงกว้าง  ตรวจสอบทั้งการกระทำและตรวจสอบทั้งจริยธรรม มันไม่ได้สิ้นสุดที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน มันยังไปที่อื่นอีก แล้วเขาก็ไม่ได้ต้องการให้ผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นองค์กรที่จะใช้อำนาจเด็ดขาด ไม่เช่นนั้นก็คงรับไม่ไหว แล้วก็จะไปซ้ำซ้อนกับองค์กรอื่นเขา สมมุติมีเรื่องทุจริตประพฤติมิชอบ เราก็จะส่งไปที่ป.ป.ช. 
 
...การทำงานที่ผ่านมา คือต้องทำให้สังคมเข้าใจบทบาทหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดิน และทำให้เขาเชื่อมั่นในองค์กรนี้  ทำให้เขาเห็นว่ามีอำนาจอย่างไรและช่วยเหลือประชาชนอย่างจริงจังแค่ไหน อย่างหน้าที่สำคัญที่รัฐธรรมนูญปี 50 ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินดูเรื่องจริยธรรมของทั้งเจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อันนี้ผมคิดว่าเป็นแผนงานที่ผมจะให้ความสำคัญอย่างมากต่อไป.
 
โดย วรพล กิตติรัตวรางกูร
 
………………………………………………………………………………………
 
ภารกิจยังไม่จบ-สองคดีถอดถอน
 
 กับสถานการณ์เวลานี้ที่ฝ่ายรัฐบาล-พรรคเพื่อไทย-เสื้อแดง มองว่าฝั่งตัวเองกำลังโดนรุกไล่จาก "องค์กรอิสระ" ที่รุมประชิดทุกทาง จนแทบกระดิกไม่ได้ มีอำนาจก็ใช้ไม่ได้  และต้องระวังจะถูกองค์กรอิสระจัดการได้ทุกเมื่อ เห็นได้จากแถลงการณ์พรรคเพื่อไทยสองครั้งติดๆ กันทั้งก่อนและหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้การเลือกตั้ง 2 ก.พ.57 เป็นโมฆะ ที่ฝั่งเพื่อไทยเรียกว่ากำลังโดนองค์กรอิสระใช้รูปแบบที่เรียกว่า ทฤษฎีสมคบคิดของกลุ่มบุคคลและองค์กรตามรัฐธรรมนูญเล่นงาน 
 
“พนัส ทัศนียานนท์” หนึ่งในคณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย-อดีต ส.ว.เลือกตั้งปี 2543-อดีตสมาชิกสภาร่าง รธน.ปี 40 และยังเป็นอดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ที่ตอนนี้กลายเป็นอดีตผู้สมัคร ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ เพื่อไทยปี 57 ไปแล้วหลังเลือกตั้งเป็นโมฆะ วิเคราะห์สถานการณ์ต่อจากนี้ของฝั่งพรรคเพื่อไทยกับองค์กรอิสระไว้ดังนี้ 
 
...เวลานี้มันก็เข้าลักษณะเหมือนทฤษฎีสมคบคิด มีการรับลูกกันเหมือนรู้กัน กรณีผู้ตรวจการแผ่นดินที่ไปยื่น นักกฎหมายที่อ่านกฎหมายต้องได้ความหมายเหมือนกัน ทำไมศาลรัฐธรรมนูญเห็นเป็นอีกอย่างได้ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ชี้ขาดออกมา ต้องบอกทำไมมีอำนาจรับคำร้องของผู้ตรวจการแผ่นดินที่ไปยื่นต่อเขาได้ ไม่แน่ใจศาลเขาจะเขียนในคำวินิจฉัยไหม 
 
เรื่องขององค์กรอิสระตามคำแถลงพรรคเพื่อไทยเมื่อ 18 มีนาคม ก็คือมองว่าถูกรังแกมาตลอดไม่ยุติธรรม เมื่อกฎหมายชัดเจนแล้วยังไปบิดเบือนมัน ไม่มีกฎหมายรองรับยังเอาโน่นเอานี่มาอ้าง หน้าที่ที่เขาควรทำกลับไม่ทำ แต่มุ่งมั่นทำเรื่องนี้ เช่นเรื่อง 6 องค์กรอิสระมารวมกันเป็นคนกลาง  ไม่ใช่หน้าที่ตัวเอง ลักษณะนี้เกือบมองเห็นได้ชัดเจนว่าจับมือทำเรื่องต่างๆ ออกมา พูดตรงๆ คือพวกเขาจับมือเพื่อช่วยล้มรัฐบาลนี้
 
เมื่อถามว่าหมายถึงมองว่ามีการ ร่วมมือกันเพื่อไม่ให้พรรคเพื่อไทยมีอำนาจ “พนัส” ตอบทันทีว่าก็อย่างนั้น องค์กรอิสระไม่ได้พูด แต่ กปปส.โดยเฉพาะสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส.พูดชัดเจน บอกจะไม่ให้ผุดให้เกิด  ขุดรากถอนโคนระบอบทักษิณ พรรคเพื่อไทยก็เป็นส่วนหนึ่งในนั้น
 
 
- มีการพูดกันว่าอำมาตย์อยู่เบื้องหลังองค์กรอิสระเหล่านี้?
 
อันนั้นเป็นการสมมุติ เป็นวาทกรรมที่เรียกกัน เหมือนฝ่ายนั้นเรียกฝ่ายนี้ระบอบทักษิณ เช่นเดียวกับฝ่ายนี้เรียกฝ่ายโน้นเป็นระบอบอำมาตย์ แต่ไม่มีหลักฐานชัดเจน เป็นการคาดเดาว่ามีขบวนการเหล่านั้นอยู่
 
 
- คือดูแล้วการทำงานขององค์กรอิสระที่ผ่านมาลักษณะเหมือนมีธงอยู่ก่อนแล้ว?
 
ดูจากผลงานที่เขาทำออกมาแต่ละเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องที่ทำเกี่ยวกับรัฐบาล มีอะไรบ้างเป็นคุณต่อรัฐบาล เป็นการซ้ำเติมเหมือนช่วยกันนวด
 ที่เห็นชัดเจนคือ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่เขากล่าวหา 2 มาตรฐานก็ชัดเจน เรื่องโครงการจำนำข้าว เขาก็ไม่ได้ปฏิเสธ ที่มีการไปยื่นเรื่องให้สอบสวนโครงการสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ 4 ปียังไม่ทำอะไรเลย มาอ้างง่ายๆ ว่าเกิดเหตุน้ำท่วมเอกสารหาย  ปล่อยให้เกิดได้อย่างไร ถ้าเรื่องสำคัญปล่อยให้น้ำท่วมเอกสารหายก็ไม่ควรทำหน้าที่ต่อไป แต่กรณีนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ป.ป.ช.พิจารณากันแค่ 21 วัน ในที่สุดก็กล่าวหาว่าละเลยไม่สั่งการระงับโครงการ
 
เมื่อให้ "พนัส" ที่เป็นทั้งฝ่ายกฎหมายของเพื่อไทยและยังเป็นอดีต ส.ว.ปี 43 วิเคราะห์การถอดถอนคดีสำคัญทางการเมืองในชั้นวุฒิสภา กับ 2 คดีใหญ่ที่ ป.ป.ช.ตั้งแท่นอาจรอส่งไปที่สภาสูง คือคดีรับจำนำข้าวและคดีแก้ไข รธน.เรื่องที่มาของ ส.ว. 
 
เริ่มจากคดีแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มีการแจ้งข้อกล่าวหากับ  308 ส.ส.-ส.ว. เมื่อให้ประเมินว่าการถอดถอนจะสำเร็จหรือไม่  “พนัส” วิเคราะห์ว่า ถ้านายสมศักดิ์ (เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานสภาฯ) นายนิคม (ไวยรัชพานิช ประธาน ส.ว.) โดนป.ป.ช.ชี้มูล เชื่อว่าจะส่งไปให้วุฒิสภาทันที ก็มีปัญหาอีกว่า การชี้มูลความผิด ป.ป.ช.ชี้มูลแล้วแต่ได้เพียงแค่ว่า ผู้ถูกชี้มูลต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่ นายสมศักดิ์ถือว่าพ้นอำนาจหน้าที่ไปแล้วเพราะไม่มีสภาฯ แล้ว แต่คำถามคือว่า นิคมยังถือว่ารักษาการต่อหรือเปล่า รักษาการต่อไม่ถือเพราะเขาให้ยุติปฏิบัติหน้าที่ นิคมปฏิบัติหน้าที่ต่อไปไม่ได้ คนมาเป็นรักษการประธานวุฒิสภาแทนคือ สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย คำถามคือว่า อย่างนี้จะเรียกประชุมวุฒิสภาเพื่อพิจารณาวาระถอดถอนได้หรือไม่ คำตอบคือได้เพราะมาตรา 132 บอกไว้ชัดเจน  หากมีการถอดถอน วุฒิสภายังเรียกประชุมได้ แต่ ส.ว.เลือกตั้งอีก 50 คนยังถือว่ารักษาการหรือไม่ ก็ต้องถือว่ารักษาการ  ถ้าพ้นแล้วคนใหม่ยังไม่เข้ามาก็ต้องรักษาการต่อไป องค์ประกอบยังเหมือนเดิม มี ส.ว.เลือกตั้ง ส.ว.สรรหา ขาดแต่นิคมคนเดียว 
 
…ที่มองว่ามีส่วนได้ส่วนเสียคือ ส.ว.สรรหาที่ยังทำหน้าที่อยู่ตอนนี้ เพราะประเด็นที่ถูก ป.ป.ช.ส่งมาให้วุฒิสภาถอดถอน คือแก้รัฐธรรมนูญเรื่องที่มาของ ส.ว.สรรหาด้วย เมื่อ ส.ว.สรรหามีส่วนได้เสียแล้ว ลงมติได้หรือไม่ ก็ไม่มีกฎหมายอะไรห้ามไว้ แต่คำถามที่เป็นประเด็นคือ ส.ว.เลือกตั้งลงมติด้วยได้หรือไม่ ถ้าได้ ส.ว.เลือกตั้งอีก 50 คนลงได้ โอกาสที่จะถอดถอนไม่มี
 
เขาอาจต้องรอจังหวะอีกว่าจะส่งไปวุฒิสภาเมื่อใด ซึ่งมันไม่มีระยะเวลา แต่จะดึงยังไง ถ้าดึงไปถึงเลือกตั้ง ส.ว.ใหม่เข้ามา แต่ดูแล้วเสียงที่จะให้ถึงถอดถอนได้ (3 ใน 5 ของจำนวนส.ว.ที่มีอยู่) โอกาสจะได้ 90 คนก็ยากขึ้นไปอีก ยกเว้นเขาจะบอก เนื่องจากพวก ส.ว.เลือกตั้ง 50 คนที่ถูกชี้มูล ตามกฎหมายต้องยุติปฏิบัติหน้าที่ ก็ไม่มีสิทธิ์ลงคะแนนโหวต ดังนั้นองค์ประกอบเหลือแค่ ส.ว.สรรหา กับ ส.ว.เลือกตั้งที่ไม่ถูกชี้มูล หักออกจาก ส.ว.เลือกตั้ง 50 คนที่ถูกชี้มูล ก็เหลือ ส.ว.ประมาณ 100 คน ใช้เสียง 3 ใน 5 ประมาณ 60 คน แค่นี้ ส.ว.สรรหาก็ถอดถอนนายกฯ ได้แล้ว
 
 คิดว่าเขาน่าจะออกรูปนี้ เมื่อ ป.ป.ช.ชี้มูลจะส่งเลยทันที ส่งเลย วุฒิสภาก็เรียกประชุมถอดถอน นิคมทำหน้าที่ไม่ได้ สุรชัยทำหน้าที่ประธาน และบอก ส.ว.ที่โดน ป.ป.ช.ขณะนี้ ปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ ซึ่งผมว่าทำไม่ได้ เพราะเมื่อไม่ชี้มูล ส.ว. 50 คน ถือว่า ส.ว.เลือกตั้งยังปฏิบัติหน้าที่ได้ เพราะไม่ถูกชี้มูล หากวุฒิสภาเต็มอย่างนี้ โอกาสถอดถอนเป็นไปไม่ได้ อยู่ที่ว่าจังหวะเขาเสนอมาตอนไหน ถ้าเสนอไปหลังมีการเลือกส.ว.ใหม่ 30 มีนาคม จะแน่ใจได้อย่างไรว่า ส.ว.ใหม่ที่เข้ามาจะเป็นพวกเดียวกับคุณทั้งหมด และเขาเข้ามาก็ไม่มีมลทินอะไรเลย
 
ส่วนคดีจำนำข้าว ที่เราถามว่า ป.ป.ช.อาจแจ้งข้อกล่าวหากับนายกฯ ยิ่งลักษณ์ วิเคราะห์แล้วการถอดถอนของวุฒิสภาจะเป็นยังไง “ฝ่ายกฎหมายเพื่อไทย” ผู้นี้วิเคราะห์ว่า ก็น่าจะเป็นอย่างที่บอกข้างต้น ส.ว.ชุดใหม่ที่เข้ามาจะคานกับ ส.ว.สรรหา ตรงนี้คิดไม่ออกจะทำอย่างไร ยกเว้นถ้าเขาจะชี้มูล ส.ว.เลือกตั้ง 50 คน แล้วยุติปฏิบัติหน้าที่ ก็ไม่นับเป็นองค์ประชุม ถ้าเขาวางแผนอย่างนี้จริงๆ คือ ชี้มูลนิคมแล้วต้องไม่ส่งวุฒิสภา รอให้ชี้มูลคดีแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มีการแจ้งข้อกล่าวหา 308 คน ซึ่งมี ส.ว.รวมด้วยก่อนแล้วค่อยพิจารณาถอดถอน ถ้าเขาถอดถอนนิคมได้โดยใช้วิธีการอย่างนี้ โดยล็อก ส.ว.เลือกตั้ง 50 คนที่โดนคดีแก้ไขรัฐธรรมนูญเอาไว้ได้  ก็ชี้มูลยิ่งลักษณ์ก่อนที่ ส.ว.ชุดใหม่จะเข้ามา ถ้าจะทำก็ต้องเริ่มทำในอาทิตย์หน้า คือชี้ 308 คนด้วย แล้วเอาเข้ามาทีเดียว
 
 
- แต่ดูแล้วการชี้มูลความผิดคดีแก้ไขรัฐธรรมนูญกับ 308 ส.ส.-ส.ว. ทาง ป.ป.ช.บอกว่าอาจใช้วิธีการชี้มูลเป็นลอตๆ แล้วส่งมาวุฒิสภา ไม่รอชี้ครบทั้งหมด 308 คนแล้วค่อยส่งมา แล้วผลจะเป็นยังไง?
 
มันก็น่าคิด คือถ้าจะทำก็ทำได้ บอกคดีคนนี้ชี้แจงครบถ้วนหมดแล้วตัดสินได้
 
 
- ดูแนวโน้มแล้วนายกฯ ยิ่งลักษณ์ไม่น่ารอดในชั้นถอดถอน?
 
ถ้าทำอย่างนี้ ป.ป.ช.ต้องออกแรงหนักพอสมควร คงโดนหนักเลยล่ะ ถ้า ส.ว.ลุยไปอย่างที่ว่า ลงมติถอดถอนมีแต่ ส.ว.สรรหา ไม่มี ส.ว.เลือกตั้ง คิดว่าคงโดนเหมือนกัน คงมีคนหยิบยกมาเหมือนกันว่ามีส่วนได้เสียโดยตรง ไปตัดสินได้อย่างไร เป็นประเด็นจริยธรรม แม้กฎหมายไม่มีข้อห้าม แต่ทำไปแล้วการทำเป็นอย่างไร ในแง่ความรู้สึกไม่เป็นธรรมมันชัดเจนมาก
 
 
- ดูแล้วการขับเคลื่อนขององค์กรอิสระยังคงบล็อกรัฐบาลไปเรื่อยๆ?
 
    ตราบใดยังเป็นรัฐบาลเพื่อไทย ที่เขามองดูว่าเป็นความชั่วร้าย เขาก็มีความรู้สึกว่าชอบธรรมที่ทำอย่างไรก็ได้ ทั้งในอำนาจหรือนอกอำนาจก็ได้เพื่อขจัดออกไป เราต้องมองลักษณะที่ว่า การกระทำแต่ละองค์กรมีความเชื่อมโยงอย่างไร  หากทำโดยสุจริตก็ไม่น่ามีปัญหาอะไร
 
 
- ถ้าองค์กรอิสระดำเนินอย่างนี้ต่อไป แม้มีเลือกตั้งใหม่ พรรคเพื่อไทยชนะ องค์กรอิสระก็ยังจะทำแบบนี้?      
 
    มันก็คงหนีไม่พ้น ก็แสดงว่าภารกิจเขายังไม่จบสิ้น  องค์กรอิสระขณะนี้ก็ปรากฏตัวชัดเจนในสายตาคนทั่วไปว่าที่มาเป็นอย่างไร เกี่ยวพันเกี่ยวโยงกันอย่างไร ที่มาก็มาจากที่เดียวกันทั้งหมด จากคณะรัฐประหาร 49 แต่มาทำให้ดูว่าเป็นกลไก เป็นระบบ ฟังดูแล้วน่าเชื่อถือ พิจารณาตัวบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งไป เป็นการวางระบบ วางเกมอย่างเรียบร้อยแล้ว
 
    - ถ้าองค์กรอิสระทำเหมือนเป็นการสมคบคิด คนเสื้อแดงก็มีความชอบธรรมที่จะออกมาเคลื่อนไหว?
 
    ถ้าทำอะไรแล้วผิดกฎหมาย ตามหลักนิติธรรมถือว่าไม่ชอบธรรมทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับว่าเขาออกมาแล้วทำในสิ่งถูกต้อง ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ หากออกมาแล้วไปฟ้องร้องศาลก็ไม่ผิดอะไร แม้แต่จะออกมาชุมนุมก็เป็นเสรีภาพของเขา  ตราบใดไม่เลยกรอบก็ทำได้
 
    - การที่ 2 ก.พ.เป็นโมฆะ การเมืองไทยจะกลับไปเริ่มต้นกันใหม่ได้ไหม?
 
    อยู่ที่ว่า set  zero เพื่อจะทำอะไรต่อไป ถ้าทำลักษณะให้มีการเลือกตั้งกันใหม่ ถ้าเลือกตั้งก็ยังเป็นประชาธิปไตย ถ้าประชาธิปัตย์เห็นว่าไม่มีทางชนะได้ บอยคอตอีก ปัญหาก็ไม่จบอยู่ดี  ถ้า set zero ทหารยึดอำนาจ ฉีกรัฐธรรมนูญทิ้งเหมือนปี 49 ปัญหาก็ยุติ-ใช่ แต่ในแง่ประชาธิปไตยมันดิ่งเหว.
 
 
โดย วิจักรพันธุ์ หาญลำยวง 
……………………………………………..
 
 
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
 
ดูกันไป ศึกษากันไป วิจารณ์กันไปก่อน
 
ฝั่งแรก ชี้ชัดแล้วว่าที่ส่งเรื่อง ชงเรื่อง ตบเรื่อง ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย มีที่มาจากไหน
ฝั่งหลังนี่ยังมองความผิดคนอื่นเท่าตึกสูง ความผิดตนเท่ายอดหญ้าในสนามบอลเหมือนเดิม 
 
ที่ไม่พอใจศาลรัฐธรรมนูญเรื่องตัดสินเลือกตั้งโมฆะ  ได้อ่านและศึกษาคำวินิจฉัยกลางฉบับเต็มมาก่อนหรือเปล่า ก่อนจะมาบอกว่าอยุติธรรม ลำเอียง......
ให้จัดเลือกตั้งใหม่ทั้งหมดก็ไม่เอา แต่กระสันอยากดันเลือกตั้งตามกำหนดเดิมให้ได้
 
 
ปล. ผมมีเพื่อนเป็นอาจารย์กฎหมาย(แดงแจ๋เลย) บอกว่า ต้องจัดเลือกตั้งพร้อมกันทั่วประเทศ แล้วเลือกตั้งซ่อมล่ะ .......อันนี้มีในรัฐธรรมนูญนะครับ มาตรา 109(1) ถ้า ตำแหน่ง ส.ส. แบบแบ่งเขตว่างลงนอกจากสภาหมดวาระหรือยุบสภา ต้องจัดเลือกตั้งใหม่ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ตำแหน่งนั้นว่าง เว้นแต่อายุของสภาจะมีไม่ถึง 180 วัน

Edited by อู๋ ฮานามิ, 23 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 10:51.

ถึงผมจะเป็นคนหัวขบถ แต่ไม่คิดทรยศบุญคุณแผ่นดินเกิด

 

เสียงส่วนใหญ่ของประชาชน ไม่ใช่ใบอนุญาตทำร้ายประเทศชาติ


#2 idecon

idecon

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,580 posts

ตอบ 23 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 11:01

     กฎหมายเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งเพื่อทำให้สังคมมีความเป็นระเบียบและสงบสุข ซึ่งด้วยข้อจำกัดหลายๆประการทำให้กฎหมายไม่อาจแก้ไขปัญหาได้ในทุกๆเรื่อง เป็นผลทำให้เราคิดว่ากฎหมายไม่ดีบ้าง กฎหมายไม่ศักดิ์สิทธิ์บ้าง ไม่มีใครเกรงกลัวกฎหมายบ้าง และมีการแก้ไขกันอยู่เรื่อยไป
     แต่เรากำลังมองข้ามจุดสำคัญไปอย่างหนึ่งก็คือ กฎหมายก็เป็นเพียงข้อความหรือตัวหนังสือธรรมดาๆถ้าไม่มีผู้นำกฎหมายนั้นมาใช้ กฎหมายอาจกลายเป็นอาวุธป้องกันตัวที่ดีเยี่ยมถ้าเราใช้มันโดยถูกต้อง แต่กฎหมายก็อาจเป็นอาวุธทำร้ายผู้อื่นได้เช่นกันถ้าใช้มันผิดวิธี ดังนั้นจุดสำคัญไม่ได้อยู่ที่ว่ากฎหมายดีหรือไม่ดีเพียงอย่างเดียว แต่ผู้ใช้กฎหมายก็ต้องใช้กฎหมายในทางที่ถูกต้องเหมาะสมด้วย จะขาดปัจจัยอย่างหนึ่งอย่างใดไปไม่ได้ จริงๆแล้วกฎหมายนั้นไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ ถ้าคนในสังคมอยู่กันอย่างเป็นระเบียบและสงบสุข แต่สังคมแบบนั้นเป็นเพียงสังคมที่อยู่ในอุดมคติเท่านั้น ในความเป็นจริงแล้วตรงกันข้ามกันอย่างมาก ดังนั้นกฎหมายจึงยังมีความจำเป็นตราบเท่าที่ยังมีสังคมอยู่
     สิ่งที่สังคมเราต้องช่วยกันดำเนินการในตอนนี้เป็นอันดับแรก ไม่ใช่การแก้ไขกฎหมายเพื่อให้สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาได้ทุกเรื่อง เพราะปัญหาจะเกิดขึ้นมาใหม่เรื่อยๆตามสภาพสังคมและกาลเวลา แต่เราต้องพัฒนาตัวบุคคลในสังคม พัฒนาตัวผู้ใช้กฎหมาย ให้มีความรู้และมีศีลธรรมควบคู่กันไป กฎหมายนั้นออกโดยคนในสังคมและผู้ใช้ก็คือคนในสังคม ดังนั้นถ้าคนในสังคมมีคุณภาพแล้ว กฎหมายและการใช้บังคับก็จะดีตามไปด้วยนั่นเอง และนี่คือการแก้ไขปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นที่ต้นเหตุโดยแท้จริง

คนเป็นถึงอดีต อจ คณะนิติ ไม่น่าลืมแนวคิดของกฎหมายเบื้องต้น
นอกจากมีอคติมาบังตา

#3 ธีรเดชน้อย

ธีรเดชน้อย

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,659 posts

ตอบ 23 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 11:23

ยอมรับว่าไม่ค่อยได้เห็นบทบาทขององค์กรอิสระเท่าไหร่ โดยเฉพาะผู้ตรวจการแผ่นดิน

 

แต่ผมสนับสนุนองค์กรอิสระให้สามารถ คานอำนาจ ถ่วงดุล ตรวจสอบรัฐบาลอีกแรงหนึ่ง

 

อยากเห็นองค์กรอิสระมีอำนาจ กำลังคนและงบประมาณที่มากกว่านี้ 


" จุดเริ่มของการรัฐประหาร 22 พ.ค. 2557 หลังจากรัฐบาลเพื่อไทยได้บริหารประเทศล้มเหลวมาตลอด 2 ปีเศษ มีการทุจริตคอรัปชั่นมากมาย มีการนำพรบ.นิรโทษกรรมมาอนุมัติผ่านสภาฯเพื่อช่วยเหลือ น.ช. ทักษิณ ทำให้มวลมหาประชาชนลุกขึ้นประท้วงต่อต้าน แม้จนกระทั่ง ศาลรัฐธรรมนูญและปปช. ได้ตัดสินและชี้มูลความผิดจนต้องพ้นออกจากตำแหน่งแล้วก็ตาม ทำให้ประเทศชาติต้องหยุดนิ่ง สุดท้ายเมื่อ พลเอก ประยุทธ ผบ.ทบ.ได้เรียกทุกฝ่ายเข้ามาคุยเพื่อหาทางออกแล้ว โดยขอให้ ครม.ที่ยังคงเหลือลาออกเพื่อตั้งนายกฯเพื่อการปฎิรูปประเทศ แต่ไร้ซึ่งการตอบสนองและการเสียสละ ทำให้พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา จำเป็นต้องประกาศยึดอำนาจ   "

 

 


#4 kaidum

kaidum

    ขาดขา

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,125 posts

ตอบ 23 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 11:31

...เวลานี้มันก็เข้าลักษณะเหมือนทฤษฎีสมคบคิด มีการรับลูกกันเหมือนรู้กัน กรณีผู้ตรวจการแผ่นดินที่ไปยื่น นักกฎหมายที่อ่านกฎหมายต้องได้ความหมายเหมือนกัน ทำไมศาลรัฐธรรมนูญเห็นเป็นอีกอย่างได้ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ชี้ขาดออกมา ต้องบอกทำไมมีอำนาจรับคำร้องของผู้ตรวจการแผ่นดินที่ไปยื่นต่อเขาได้ ไม่แน่ใจศาลเขาจะเขียนในคำวินิจฉัยไหม 
 
เรื่องขององค์กรอิสระตามคำแถลงพรรคเพื่อไทยเมื่อ 18 มีนาคม ก็คือมองว่าถูกรังแกมาตลอดไม่ยุติธรรม เมื่อกฎหมายชัดเจนแล้วยังไปบิดเบือนมัน ไม่มีกฎหมายรองรับยังเอาโน่นเอานี่มาอ้าง หน้าที่ที่เขาควรทำกลับไม่ทำ แต่มุ่งมั่นทำเรื่องนี้ เช่นเรื่อง 6 องค์กรอิสระมารวมกันเป็นคนกลาง  ไม่ใช่หน้าที่ตัวเอง ลักษณะนี้เกือบมองเห็นได้ชัดเจนว่าจับมือทำเรื่องต่างๆ ออกมา พูดตรงๆ คือพวกเขาจับมือเพื่อช่วยล้มรัฐบาลนี้
 
เมื่อถามว่าหมายถึงมองว่ามีการ ร่วมมือกันเพื่อไม่ให้พรรคเพื่อไทยมีอำนาจ “พนัส” ตอบทันทีว่าก็อย่างนั้น องค์กรอิสระไม่ได้พูด แต่ กปปส.โดยเฉพาะสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส.พูดชัดเจน บอกจะไม่ให้ผุดให้เกิด  ขุดรากถอนโคนระบอบทักษิณ พรรคเพื่อไทยก็เป็นส่วนหนึ่งในนั้น
 
 
อ่านมาถึงบรรทัดนี้ ขำครับ 
สรุปได้ต้องรักษาอำนาจเอาไว้ โดยโทษว่าศาล กปปส องค์กรอิสระ
จับมือกันเพื่อล้มล้างรัฐบาลเพื่อไทย เน้นศาลไม่เป็นธรรม เน้นองค์กรอิสระกลั่นแกล้ง
แต่ไม่พูดถึงความผิดในคดี
ไม่พูดถึงการใช้หลักฐานความจริงเข้าต่อสู้
 
รูปลักษณ์ที่พวกคุณแดงเป็นอยู่ตอนนี้มันเหมือนสุนัขขี้เรื้อนที่ดิ้นรน
หลบหนีการเยียวยา ขี้กลากกินจนใกล้ตาย
แต่ยังดื้อรั้น เถือกไถล  แว้งกัด   

ประชาธิปไตยของผม ไม่ได้เกิดจากอารมณ์และการอุปถัมป์ โดยใคร

#5 อู๋ ฮานามิ

อู๋ ฮานามิ

    สมาชิกหน้าเก่า

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,018 posts

ตอบ 23 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 11:39

ยอมรับว่าไม่ค่อยได้เห็นบทบาทขององค์กรอิสระเท่าไหร่ โดยเฉพาะผู้ตรวจการแผ่นดิน

 

แต่ผมสนับสนุนองค์กรอิสระให้สามารถ คานอำนาจ ถ่วงดุล ตรวจสอบรัฐบาลอีกแรงหนึ่ง

 

อยากเห็นองค์กรอิสระมีอำนาจ กำลังคนและงบประมาณที่มากกว่านี้ 

 

ผู้ตรวจการแผ่นดิน ไม่ค่อยมีข่าวครับ

 

แต่ส่วนใหญ่เราจะคุ้นเคยองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญที่เป็น กกต., ป.ป.ช. อย่างนั้นมากกว่า

จากข่าวการเลือกตั้ง และการดำเนินคดีของนักการเมืองในคดีทุจริต

 

เลยต้องกลับไปดูในรัฐธรรมนูญ พบว่ามีองค์กรอิสระต่างๆ ที่ประกอบด้วย

 

1. คณะกรรมการการเลือกตั้ง (สมัยก่อน การเลือกตั้ง ส.ส. ก่อนบังคับใช้รัฐธรรมนูญ ปี 40 มีกรมการปกครองเป็นผู้รับผิดชอบ)

 

2. ผู้ตรวจการแผ่นดิน 

 

3. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ 

 

4. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน


Edited by อู๋ ฮานามิ, 23 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 11:40.

ถึงผมจะเป็นคนหัวขบถ แต่ไม่คิดทรยศบุญคุณแผ่นดินเกิด

 

เสียงส่วนใหญ่ของประชาชน ไม่ใช่ใบอนุญาตทำร้ายประเทศชาติ


#6 temp

temp

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,682 posts

ตอบ 23 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 17:19

นักกฎหมายที่อ่านกฎหมายต้องได้ความหมายเหมือนกัน >ตวยเหอะ ภาษาคน จะยังไงก็ต้องตีความ ถ้าจะเถือกให้ตัวเองได้ฝ่ายเีดียว งั้นอ้างดูที่เจตนาอย่างเดียวเลยละกัน ว่าแต่ ถ้าพวกนักวิชาการหรืออาจารย์ที่เจตนาไม่สุจริตเนี่ย ก็ยิ่ง"จานลาย"นะ เพราะนักศึกษาจะโดนสอนผิดๆ เพื่อไปตอบข้อสอบใ้ห้ได้คะแนน นานๆเข้าก็ชินชา เผลอโดนล้างสมองไม่รู้ผิดชอบชั่วดี

 

เมื่อถามว่าหมายถึงมองว่ามีการ ร่วมมือกันเพื่อไม่ให้พรรคเพื่อไทยมีอำนาจ “พนัส” ตอบทันทีว่าก็อย่างนั้น องค์กรอิสระไม่ได้พูด แต่ กปปส.โดยเฉพาะสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส.พูดชัดเจน บอกจะไม่ให้ผุดให้เกิด  ขุดรากถอนโคนระบอบทักษิณ พรรคเพื่อไทยก็เป็นส่วนหนึ่งในนั้น >สลัด ของพวกมรึง ทั้งนิติเรด สปป พท นปช สปช กพอ สลน แม่มพูดพร้อมกันหมดเลย แต่บอกไม่ได้ร่วมมือ กรูแค่รักปชต
 
- มีการพูดกันว่าอำมาตย์อยู่เบื้องหลังองค์กรอิสระเหล่านี้?
อันนั้นเป็นการสมมุติ เป็นวาทกรรมที่เรียกกัน เหมือนฝ่ายนั้นเรียกฝ่ายนี้ระบอบทักษิณ เช่นเดียวกับฝ่ายนี้เรียกฝ่ายโน้นเป็นระบอบอำมาตย์ แต่ไม่มีหลักฐานชัดเจน เป็นการคาดเดาว่ามีขบวนการเหล่านั้นอยู่ >มีแม้วตัวเป็นๆบินไปบินมา มีขี้ข้าวิ่งไปหากันอยู่เห็นๆ โทรกันไปมาเพื่อสั่งการ/ปลุกระดม 
ส่วนเรื่องอำมาตย์ ชี้เป้ามาชัดๆเลยเป็นมั๊ย อย่าคาดเดา

Edited by temp, 23 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 17:54.

ควายตัวนี้สีขาว


#7 Kaizer

Kaizer

    Warlord

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,317 posts

ตอบ 23 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 18:47

 

 

 
- ดูแนวโน้มแล้วนายกฯ ยิ่งลักษณ์ไม่น่ารอดในชั้นถอดถอน?
 
ถ้าทำอย่างนี้ ป.ป.ช.ต้องออกแรงหนักพอสมควร คงโดนหนักเลยล่ะ ถ้า ส.ว.ลุยไปอย่างที่ว่า ลงมติถอดถอนมีแต่ ส.ว.สรรหา ไม่มี ส.ว.เลือกตั้ง คิดว่าคงโดนเหมือนกัน คงมีคนหยิบยกมาเหมือนกันว่ามีส่วนได้เสียโดยตรง ไปตัดสินได้อย่างไร เป็นประเด็นจริยธรรม แม้กฎหมายไม่มีข้อห้าม แต่ทำไปแล้วการทำเป็นอย่างไร ในแง่ความรู้สึกไม่เป็นธรรมมันชัดเจนมาก

 

 

กฎหมายไม่มีข้อห้าม แง่ความรู้สึกไม่เป็นธรรมมันชัดเจนมาก

 

ช่างกล้าพูดเนอะ เหมือนอีนายกเลย

 

วันนึงบอกทำไม่ได้ ไม่มีกฎหมายรองรับ อีกวันบอกให้ดูเจตนา อย่าใช้กฎหมายมาห้ำหั่นกัน

 

พรรคมึงมันชาชินแล้วสิ ทำสิ่งที่กฎหมายห้ามกันเป็นว่าเล่น ทำสิ่งผิดจริยธรรมกันเป็นสันดาน

 

อยู่เหนือกฎหมายมานาน พอคนทั้งประเทศเค้าทนไม่ได้ รวมตัวกันไล่ เอาไส้ออกมาตีแผ่ ว่าขดไหนเน่า ขดไหนมันทุจริต มันก็ดิ้นทุรนทุราย

 

อำนาจเสื้อแดงที่เคยใช้ต่อรอง ตอนนี้ก็ไม่เหลือ ตะกวดก็เริ่มเกียร์ว่าง

 

ที่เหลืออย่างเดียวคือหัวโขนของตำแหน่ง ที่สั่งการอะไรก็ไม่ได้ รอวันเน่าตาย ถูกชี้มูลความผิด ถูกถอดถอน 


สละชีพเพื่อหลักธรรมคือคำขวัญ

 

ฆ่าคนเพื่อชิงอำนาจคือวิธีการ

 

ส่วนลิ่วล้อที่ส่งไปตายก็คือตัวหมากแห่งคุณธรรม


#8 อู๋ ฮานามิ

อู๋ ฮานามิ

    สมาชิกหน้าเก่า

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,018 posts

ตอบ 23 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 18:53

ทบทวนข่าวเก่า ที่อาจารย์ธรรมศาสตร์คนหนึ่งยื่นเรื่องให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน เรื่องการเลือกตั้ง 2 ก.พ. 57 เป็นโมฆะ

 

ยื่นผู้ตรวจฯส่งศาลรธน.วินิจฉัยเลือกตั้ง2ก.พ.เป็นโมฆะ

 

อ.ธรรมศาสตร์ ลุยเอง ขอร้องให้พิจารณาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 244 ( 1) (ค) ประกอบมาตรา 245 เนื่องจากดำเนินการไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
วันพุธ 19 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 15:52 น.
 
 
ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่าวันที่ 19 ก.พ.  นายรักษเกชา แฉ่ฉาย โฆษกสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เปิดเผยว่า เมื่อวันที่18ก.พ.ที่ผ่านมา นายกิตติพงศ์ กมลธรรมวงศ์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เข้ายื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินขอให้พิจารณาตามรัฐธรรมนูญมาตรา244(1) (ค) ประกอบมาตรา245เสนอเรื่องพร้อมความเห็นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ การจัดการเลือกตั้ง2 ก.พ. ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นโมฆะ เนื่องจากเห็นว่ามีการดำเนินการไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ  โดยเนื้อหาคำร้องจะมีความแตกต่างจากคำร้องของนายวิรัตน์ กัลยาศิริ อดีตส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ยื่นให้ผู้ตรวจการส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้การเลือกตั้งส.ส. 2 ก.พ. เป็นโมฆะและผู้ตรวจวินิจฉัยไม่รับคำร้อง โดยคำร้องของนายกิตติศักดิ์ จะเป็นการร้องเมื่อการเลือกตั้ง 2 ก.พ. ผ่านไปแล้ว แต่ของนายวิรัตน์ เป็นการร้องก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง ดังนั้นข้อเท็จจริงตามคำร้องจึงมีความแตกต่างกัน ซึ่งที่ประชุมผู้ตรวจการแผ่นดินก็คงต้องนำความแตกต่างนี้มาพิจาณาว่าจะสามารถมีความเห็นและเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอย่างที่ผู้ร้องเสนอได้หรือไม่ ขณะนี้จึงให้ทางสำนักงานเร่งศึกษาคำร้อง เพื่อเสนอให้ที่ประชุมผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณา ซึ่งโดยปกติแล้วผู้ตรวจการแผ่นดินจะมีการประชุมทุกวันอังคารของสัปดาห์ แต่ไม่สามารถยืนยันได้ว่าจะมีการเสนอต่อที่ประชุมผู้ตรวจได้ทันการประชุมในวันอังคารหน้าหรือไม่

 

 
 
 
และหลังจากนั้น ผู้ตรวจการแผ่นดินก็รับเรื่อง ส่งคำร้องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญ
 
ผู้ตรวจการแผ่นดินมีมติส่งคำร้องให้ศาล รธน.ชี้ขาดเลือกตั้ง2ก.พ.โมฆะหรือไม่
 
เขียนวันที่ วันพฤหัสบดี ที่ 06 มีนาคม 2557 เวลา 11:00 น
 
ผู้ตรวจการแผ่นดิน มีมติเอกฉันท์ ให้ส่งคำร้องศาลรัฐธรรมชี้ขาดเลือกตั้ง2ก.พ. โมฆะหรือไม่ รองเลขาธิการฯ ยันประชุมสรุปผลไปตั้งแต่เมื่อวันที่ 5 มีนาคม ที่ผ่านมา เตรียมแถลงเป็นทางการ 7 มี.ค.นี้
 
จากกรณีนายกิตติพงศ์ กมลธรรมวงศ์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ยื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ขอให้เสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การจัดการเลือกตั้งทั่วไป ในวันที่ 2 ก.พ.2557 ที่ผ่านมา ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และให้มีการจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นใหม่โดยเร็ว ทั้งนี้ อาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 244 (1) (ค) ประกอบมาตรา 245 ไปเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2557 ที่ผ่านมานั้น
 
ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รายงานว่า ล่าสุดคณะผู้ตรวจการแผ่นดิน จำนวน 3 คน ประกอบด้วย นางผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ศาสตราจารย์ศรีราชา เจริญพานิช และศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร วิชิตชลชัย ผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้มีการประชุมเพื่อพิจารณาคำร้องของ นายกิตติพงศ์ และมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ส่งคำร้องดังกล่าวให้ศาลรัฐธรรมนูญ ชี้ขาดว่าการเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ. 2557 ที่ผ่านมา เป็นโมฆะหรือไม่
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคำร้องของนายกิตติพงศ์ ได้ยื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ขอให้เสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การจัดการเลือกตั้งทั่วไป ในวันที่ 2 ก.พ.2557 เป็นโมฆะ  มีเหตุผลหลัก 5 ประการ มีใจความโดยสรุป ดังนี้
 
1.การเลือกตั้งทั่วไปมิได้กระทำขึ้นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร เนื่องจาก 28 เขตเลือกตั้งในพื้นที่ภาคใต้ไม่มีผู้สมัครทำให้การเลือกตั้งทั่วไปมี 2 วัน วันแรกมี 347 เขตเลือกตั้ง อีกวันมี 28 เขตเลือกตั้งซึ่งกรณีดังกล่าว นอกจากขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 ยังขัดกับหลักการของประชาธิปไตยแบบผู้แทน และย่อมส่งผลให้ ส.ส.ที่มาจากการเลือกตั้งต่างวาระกัน มีฐานทางกฎหมายและความชอบธรรมของการเป็นผู้แทนที่แตกต่างกัน
 
2.การดำเนินการรับสมัครเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไป มิได้เป็นไปโดยเที่ยงธรรม จากกรณีรับสมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ ที่พรรคการเมืองซึ่งไม่สามารถเข้าไปยังสถานที่รับสมัครได้ ได้ไปแจ้งความไว้ที่กองปราบหรือ สน.ดินแดง ซึ่งไม่ใช่สถานที่รับสมัครเลือกตั้งตามที่ กกต.ได้ประกาศให้ทราบล่วงหน้าไว้ กรณีดังกล่าวเป็นการเลือกปฏิบัติให้ตัวแทนพรรคการเมืองได้สิทธิในการจัดสลากหมายเลข ทั้งที่มิได้ดำเนินการตามประกาศของ กกต. นอกจากนี้ ในการรับสมัคร ส.ส.เขต บางจังหวัดยังมีการเปลี่ยนแปลงสถานที่รับสมัครโดยไม่แจ้งล่วงหน้า ทำให้มีจำนวนถึง 16 เขตเลือกตั้งที่มีผู้สมัครเพียงคนเดียว
 
3.การนับคะแนนเสียงเลือกตั้งในทุกเขตเลือกตั้งหลังสิ้นสุดระยะเวลาลงคะแนนในวันที่ 2 ก.พ.2557 ทำให้ผู้ที่จะมาเลือกตั้งหลังวันดังกล่าวทราบผลการเลือกตั้งก่อนการลงคะแนน ทำให้เกิดผลกระทบต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียงและเกิดความไม่เที่ยงธรรมในการเลือกตั้ง ขัดต่อหลักความเสมอภาคและโอกาสที่ทัดเทียมกันของผู้สมัครรับเลือกตั้ง
 
4.การให้นับคะแนนเสียงเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ.2557 ทำให้การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งล่วงหน้าและการเลือกตั้งทั่วไปที่เลื่อนออกไปเป็นวันที่ 20 และ 27 เม.ย.2557 เป็นอันไร้ผลเพราะบัตรลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจะกลายเป็นบัตรเสียตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง
 
และ 5.กกต.ปล่อยปละละเลยให้มีการใช้อำนาจรัฐที่ก่อให้เกิดความได้เปรียบของผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาลและที่มีสมาชิกดำรงตำแหน่งอยู่ในคณะรัฐมนตรี จากกรณีที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 1 ของพรรคเพื่อไทย ได้ประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินในพื้นที่ 4 จังหวัด โดยมีการออกประกาศหลายฉบับที่มีผลโดยตรงต่อการทำให้เกิดความไม่เสมอภาคและความได้เปรียบเสียเปรียบในการเลือกตั้ง
 
ต่อมาเวลา 16.40 น. นายรักษเกชา แฉ่ฉาย รองเลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน และโฆษกสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ให้สัมภาษณ์ยืนยันสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org  ว่า คณะผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้มีการประชุมและพิจารณาเรื่องนี้ ไปตั้งแต่เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2557 แต่ยังไม่ขอเปิดเผยรายละเอียดผลการประชุม เพราะจะมีการเปิดแถลงข่าวเป็นทางการในวันที่ 7 มีนาคม นี้ เวลา 10.00 น.

 

 
 

Edited by อู๋ ฮานามิ, 23 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 18:53.

ถึงผมจะเป็นคนหัวขบถ แต่ไม่คิดทรยศบุญคุณแผ่นดินเกิด

 

เสียงส่วนใหญ่ของประชาชน ไม่ใช่ใบอนุญาตทำร้ายประเทศชาติ


#9 ธีรเดชน้อย

ธีรเดชน้อย

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,659 posts

ตอบ 23 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 19:22

ตอนนี้ นักวิชาการหางแดง ออกมาคัดค้าน การตัดสินขององค์กรอิสระที่ให้โทษกับฝ่ายตัวเองเป็นแถว

 

เหล่าแกนนำขี้ข้า ก้เตรียมปลุกกระแสระดมพล รอท่อน้ำเลี้ยง ต้นเดือนนี้เอาแน่

 

ระหว่างนี้สื่อฯขี้ข้าจะช่วยประโคมข่าวความขัดแย้ง นำเสนอข้อผิดพลาดของมวลมหาประชาชน

 

ตำรวจก็จะแถลงข่าวการจับกุมฝ่ายต่อต้านทรราชย์

 

แบบนี้เรียกทฤษฎี สมคบคิด(กันทำชั่ว) ได้ไหม ??


" จุดเริ่มของการรัฐประหาร 22 พ.ค. 2557 หลังจากรัฐบาลเพื่อไทยได้บริหารประเทศล้มเหลวมาตลอด 2 ปีเศษ มีการทุจริตคอรัปชั่นมากมาย มีการนำพรบ.นิรโทษกรรมมาอนุมัติผ่านสภาฯเพื่อช่วยเหลือ น.ช. ทักษิณ ทำให้มวลมหาประชาชนลุกขึ้นประท้วงต่อต้าน แม้จนกระทั่ง ศาลรัฐธรรมนูญและปปช. ได้ตัดสินและชี้มูลความผิดจนต้องพ้นออกจากตำแหน่งแล้วก็ตาม ทำให้ประเทศชาติต้องหยุดนิ่ง สุดท้ายเมื่อ พลเอก ประยุทธ ผบ.ทบ.ได้เรียกทุกฝ่ายเข้ามาคุยเพื่อหาทางออกแล้ว โดยขอให้ ครม.ที่ยังคงเหลือลาออกเพื่อตั้งนายกฯเพื่อการปฎิรูปประเทศ แต่ไร้ซึ่งการตอบสนองและการเสียสละ ทำให้พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา จำเป็นต้องประกาศยึดอำนาจ   "

 

 


#10 อู๋ ฮานามิ

อู๋ ฮานามิ

    สมาชิกหน้าเก่า

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,018 posts

ตอบ 24 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 01:22

ตอนนี้ นักวิชาการหางแดง ออกมาคัดค้าน การตัดสินขององค์กรอิสระที่ให้โทษกับฝ่ายตัวเองเป็นแถว

 

เหล่าแกนนำขี้ข้า ก้เตรียมปลุกกระแสระดมพล รอท่อน้ำเลี้ยง ต้นเดือนนี้เอาแน่

 

ระหว่างนี้สื่อฯขี้ข้าจะช่วยประโคมข่าวความขัดแย้ง นำเสนอข้อผิดพลาดของมวลมหาประชาชน

 

ตำรวจก็จะแถลงข่าวการจับกุมฝ่ายต่อต้านทรราชย์

 

แบบนี้เรียกทฤษฎี สมคบคิด(กันทำชั่ว) ได้ไหม ??

 

แล้วก็จะประโคมข่าวกิจกรรมที่โจมตีศาล องค์กรอิสระ อ้างประชาธิปไตยกันอีกเพียบเลย 

 

ก่อนเลือกตั้งนี่ เสื้อขาว จุดเทียน 

 

เที่ยวนี้ เสื้อดำ 


ถึงผมจะเป็นคนหัวขบถ แต่ไม่คิดทรยศบุญคุณแผ่นดินเกิด

 

เสียงส่วนใหญ่ของประชาชน ไม่ใช่ใบอนุญาตทำร้ายประเทศชาติ


#11 ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

    หน้าตาดี มีอุดมการณ์

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 21,670 posts

ตอบ 24 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 02:50

ที่จริงทางแก้ปัญหานี้ง่ายมาก

แค่พรรคไอ้แม้วเลิกดิ้นทุรนทุรายโทษคนนั้นคนนี้รวมหัวกลั่นแกล้ง แล้วหยุดทำผิดกฎหมายซะ

 

แค่นี้ก็จบแล้ว


gladiator 1.jpg

 

 

 

 

 

 


#12 Francis Drake

Francis Drake

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 243 posts

ตอบ 24 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 02:58

อันนี้เป็นความเห็นของอ.กิตติศักดิ์ ปรกติ ที่ได้ตอบคำถามของอ.ท่านหนึ่ง

ผมเห็นว่ามีประโยชน์จึงนำมาลงให้ได้พิจารณากันครับ

 

https://www.facebook...38?stream_ref=1

Surasak Sanguanpong > ‎Kittisak Prokati
 

สวัสดีครับอาจารย์ วันนี้มีประเด็นมาขอความรู้อาจารย์เกี่ยวกับคำวิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ กรณีการเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ. อีกแล้วครับ

ตามที่เราทราบว่าศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยกรณีเลือกตั้ง 2 ก.พ. และบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้เป็นนักกฏหมายก็สรุปตามความเข้าใจได้ว่าการเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ.เป็นโมฆะ ผมอ่านคำวินิฉัยกลางที่ตัดมาจากข่าวในหนังสือพิมพ์ มีข้อความวินิจฉัยที่อ่านแล้วยังไม่เข้าใจหลักการอยู่ข้อความหนึ่ง ซึ่งได้คัดข้อความมาลงตามนี้คือ (ข้อความเต็มอ้างอิงได้จากลิงค์แนบจากหน้าหนังสือพิมพ์)

"..เพราะจะมีผลทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักรเช่นเดียวกัน เป็นผลให้พระราชกฤษฏีกายุบสภาผู้แทนราษฏร พ.ศ. 2556 เฉพาะในส่วนที่กำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรเป็นการทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา 108 วรรคสอง"

ตามความเข้าใจของผู้ที่ไม่ได้เป็นนักฏหมายอย่างผมคือ คือการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญเพราะมีการเลือกตั้งที่ไม่เป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร แต่ข้อความในคำวิจฉัยที่โยงกลับไปถึง "พระราชกฤษฏีกายุบสภาผู้แทนราษฏร พ.ศ. 2556 เฉพาะในส่วนที่กำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรเป็นการทั่วไป" นั้นทำให้มีข้อสงสัยว่าตัวพระราชกฤษฎีกาซึ่งเป็นเรื่องต้นทางของการเลือกตั้งไม่น่าจะเป็นเหตุที่ทำให้การเลือกตั้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพราะไม่มีใครทราบได้ก่อนว่าจะเกิดเหตุเลือกตั้งที่ไม่เป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร (หมายถึงว่าเหตุที่ไม่ได้เลือกตั้งวันเดียวกันก็น่าจะเพียงพอ โดยไม่ต้องอ้างกลับไปถึงพระราชกฤษฎีกา)

จึงมาขอความรู้ว่าข้อความลักษณะนี้เป็นวิธีหรือหลักการเขียนในเชิงกฎหมายเฉพาะหรือไม่อย่างไรบ้าง ทราบว่าอาจารย์งานยุ่ง แต่ก็ขออนุญาตรบกวนเป็นครั้งคราว และขอขอบพระคุณล่วงหน้านะครับ

 

 

ความเห็นของอ.กิตติศักดิ์ ปรกติ

Kittisak Prokati สวัสดีครับ อาจารย์Surasak Sanguanpong ผมยังไม่เห็นคำวินิจฉัยกลางของศาลนะครับ ที่ส่งมานั้นเป็นเพียงในแถลงข่าวเท่านั้น แต่ก็เข้าใจว่ากรณีนี้เป็นเรื่องศาลรัฐธรรมนูญตีความความหมายของมาตรา ๒๔๕ (๑) ในความหมายอย่างกว้าง และเป็นการเปิดช่องทางร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้กว้างขึ้นครับ และคงต้องตอบยาว เป็นตอน ๆ ไปนะครับ

ก่อนอื่นต้องแยกเสียก่อนว่าช่องทางการเสนอเรื่องเข้าสู่การวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญผ่านทางผู้ตรวจการแผ่นดินและกรรมการสิทธิมนุษยชนนั้น แตกต่างจากการเสนอเรื่องราวให้ศาลพิจารณาเกี่ยวปัญหากฎหมายขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญในแง่อื่น ๆ คือไปใช้คำว่า บทกฎหมายมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ซึ่งตรงนี้ผมเข้าใจเอาเอง (เพราะยังไม่เห็นคำพิพากษา) ว่าศาลเห็นว่ากรณีมีปัญหากฎหมายขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญเป็นเพียง subset ของกรณีมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ คือแม้กฎหมายไม่ได้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ หากการปฏิบัติตามกฎหมายนั้นจะเกิดผลไปในทางขัดรัฐธรรมนูญก็เรียกว่ามีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญได้ 

ยกตัวอย่างเช่น แนวคำพิพากษาบรรทัดฐานของศาลฎีกาซึ่งเป็นแนวการตีความบทกฎหมายบทใดบทหนึ่งขัดต่อหลักความเสมอภาค หรือหลักความสมควรแก่เหตุ หรือไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรม โดยตัวกฎหมายนั้นไม่ได้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญเลย 

เราอาจเห็นได้จากตัวอย่างปัญหาว่า เอกชนจะฟ้องผู้อื่นเป็นจำเลยในคดีอาญาเพื่อประโยชน์สาธารณะโดยไม่ได้เป็นผู้เสียหายโดยตรงได้หรือไม่ เช่นกรณีผู้ไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งฟ้อง กกต. เป็นจำเลยฐานทุจริตต่อหน้าที่ ซึ่งศาลฎีกาตัดสินไปเมื่อไม่นานมานี้ว่าในคดีนี้โจทก์ซึ่งเป็นเอกชนไม่ใช่ผู้เสียหาย (ทั้ง ๆ ที่สมมติว่ามีสถานการณ์เชื่อได้ว่า ถ้าตำรวจ และอัยการดำเนินคดีในฐานะเป็นผู้แทนของรัฐ ก็คงทำสำนวนอ่อน หรือสั่งไม่ฟ้องทำให้คดีระงับไปเลย) 

จะเห็นได้ว่ากรณีนี้กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งกำหนดว่า ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้เสียหายนั้น ไม่มีวี่แววว่าจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญตรงไหนเลย เพียงแต่การตีความและการปรับใช้กฎหมายได้คำนึงถึงสิทธิของผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งที่จะได้รับหลักประกันว่าการเลือกตั้งจะดำเนินไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมตามรัฐธรรมนูญไม่เพียงพอ

กรณีแบบนี้ ถ้าไปร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน และผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นด้วย ก็อาจอ้างได้ว่า บทกฎหมายว่าด้วยผู้เสียหายมีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพราะศาลตีความหรือปรับใช้แคบไป ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยวางหลักเพิ่มเติม ซึ่งถ้าศาลรัฐธรรมนูญเห็นด้วย และวินิจฉัยว่าการปรับใช้บทกฎหมายนี้จะต้องคำนึงถึงอะไรเพิ่มเติมบ้างจึงจะสอดคล้องกับหลักนิติธรรม ก็จะมีผลผูกพันศาลต่อไปในอนาคตได้ โดยไม่ต้องยื่นเรื่องแก้กฎหมาย หรือรอให้ศาลฎีกาวางแนวบรรทัดฐานใหม่ 

ทำนองเดียวกัน กรณีตามมาตรา ๑๑๒ นั้น ที่ผ่านมามีแต่ร้องกันว่ามาตรานี้ขัดต่อรัฐธรรมนูญตามมาตรา ๒๑๑ ศาลรัฐธรรมนูญก็ได้วินิจฉัยไปแล้วว่าบทกฎหมายมันไม่ขัด แต่หากจะหันมาใช้ช่องทางคณะกรรมการสิทธิตามมาตรา ๒๕๗ (๒) ซึ่งบัญญัติไว้ทำนองเดียวกับกรณีผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยร้องว่าบทกฎหมายนี้มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ (ไม่ใช่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ) เพราะการปรับใช้กฎหมายคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนไม่เพียงพอ ก็คงจะพอไปได้โดยอาศัยแนวคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญฉบับนี้

 

 

Kittisak Prokati :ทีนี้มีปัญหาต่อไปว่า แล้วพระราชกฤษฎีกานี่มันเป็นบทกฎหมายหรือ ในเมื่อศาลรัฐธรรมนูญเคยวางแนวมาตลอดว่า พระราชกฤษฎีกาเป็นเพียงกฏ ไม่ใช่กฎหมายซึ่งตามรัฐธรรมนูญมุ่งหมายถึงกฎหมายชั้นพระราชบัญญัติเท่านั้น

ตรงนี้ผมก็เดาเอาโดยไม่ได้เห็นคำพิพากษาอีกเช่นกันว่า ศา
ลวางแนวว่า พระราชกฤษฎีกาที่อาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญประกาศออกไปนั้นมีฐานะเป็นกฎหมาย ชั้นเดียวกันกับพระราชบัญญัติ และเท่ากับเป็นการอ้างอำนาจตรวจสอบพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามรัฐธรรมนูญ เช่นพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรซึ่งปกติย่อมเป็นเรื่องดุลพินิจของรัฐบาลว่าศาลอาจตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของพระราชกฤษฎีกานี้ได้ไปในตัว 

กรณีทำนองนี้เคยเกิดขึ้นแล้วในเยอรมัน เมื่อนายกรัฐมนตรีจูงใจให้ประธานาธิบดีใช้อำนาจยุบสภา โดยไม่มีความขัดแย้งทางการเมืองใด ๆ ในสภา เพียงแต่เห็นว่ากำลังได้เปรียบทางการเมือง อยากให้มีการเลือกตั้งใหม่จะได้คะแนนมากขึ้น ศาลรัฐธรรมนูญก็เคยอ้างอำนาจตรวจสอบมาแล้ว

เป็นอันว่าบทกฎหมายก็มีความหมายกว้าง และมีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญก็มีความหมายกว้างทั้งคู่ครับ

 

 

Kittisak Prokati :ต่อมาก็เป็นเรื่องการเลือกตั้งซึ่งเป็นการดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกายุบสภาที่ให้เลือกตั้งในวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ซึ่งอันที่จริงก็เป็นการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญที่ให้กำหนดวันเลือกตั้งภายในหกสิบวันนับแต่ยุบสภา และต้องเป็นวันเดียวกันทั่วประเทศตามมาตรา ๑๐๘ วรรคสอง โดยมีปัญหาว่า เมื่อเลือกตั้งในวันดังกล่าวไม่สำเร็จ มันจะทำให้พระราชกฤษฎีกาส่วนที่เกี่ยวกับการกำหนดวันเลือกตั้งนั้นกลายเป็นกรณีมีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญได้อย่างไร

เรื่องนี้เป็นปัญหาในหลักกฎหมายทั่วไปเกี่ยวกับนิติกรรมที่มีเงื่อนไข นั่นคือนิติกรรมที่มีเงื่อนไขบังคับก่อน เช่นมีการแสดงเจตนาทำนิติกรรมกันโดยกำหนดไว้ว่าจะเป็นผลก็ต่อเมื่อเงื่อนไขอันเป็นเหตุการณ์ในอนาคตเกิดขึ้น แล้วต่อมาปรากฏว่าเหตุการณ์ในอนาคตที่ไม่แน่นอนนั้นไม่มีทางจะเกิดขึ้นแน่ ดังนี้การแสดงเจตนาที่ได้ทำกันไว้เป็นนิติกรรมนั้นย่อมตกเป็นโมฆะไป 

ตัวอย่างเช่น ทำพินัยกรรมให้แหวนวงหนึ่งตกเป็นของลูกสาว หากในอนาคตลูกสาวมีบุตรคนแรกเป็นชาย ต่อมาปรากฏว่าบุตรคนแรกของเธอเป็นหญิง กรณีนี้เงื่อนไขที่กำหนดว่าหากมีบุตรคนแรกเป็นชายกลายเป็นอันไม่มีทางเกิดขึ้น เรียกว่าเงื่อนไขตกไป กรณีเช่นนี้ตามหลักกฎหมายทั่วไปถือว่าพินัยกรรมนั้นตกเป็นโมฆะไป 

เปรียบกับเรื่องพระราชกฤษฎีกากำหนดการเลือกตั้งที่ว่า ให้ทำการเลือกตั้งในวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ นั้นแท้จริงแล้ว พระราชกฤษฎีกานี้ก็เป็นการทำนิติกรรมของรัฐ คือการประกาศเจตนาของราชอาณาจักรไทยให้มีการจัดตั้งสภาผู้แทนราษฎรเพื่อจัดตั้งรัฐบาลใหม่โดยมีเงื่อนไขว่าให้ทำการเลือกตั้งในวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ทีนี้มีปัญหาว่า ถ้าการเลือกตั้งที่กำหนดให้ทำกันในวันที่ ๒ กุมภาพันธ์มันเกิดทำไม่ได้ ไม่มีทางเป็นไปได้โดยแน่แท้ ผลจะเป็นอย่างไร ถ้านำหลักเรื่องนิติกรรมใดมีเงื่อนไขบังคับก่อน หากเงื่อนไขตกไปนิติกรรมตกเป็นโมฆะ ผลก็คือถ้าการเลือกตั้งเป็นไปไม่ได้ เงื่อนไขก็ตกไป นิติกรรมคือพระราชกฤษฎีกาก็ตกเป็นโมฆะ และเป็นกรณีมีปัญหาเกี่ยวด้วยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งเฉพาะสำหรับกรณีนี้ก็คือพระราชกฤษฎีกาเฉพาะในส่วนที่กำหนดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ ๒ กุมภา นั้นไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ 

ปัญหาเบื้องต้นที่ต้องตอบเสียก่อนคือ แล้วการเลือกตั้งนั้นมันเป็นอันว่าเสียไป ไม่มีทางเป็นไปได้ อันจะทำให้เงื่อนไข (ให้ทำการเลือกตั้งในวันที่ ๒ กุมภา) ตกไปหรือไม่ ก็ต้องพิจารณาว่า ที่เลือกตั้งไม่ได้นั้นถึงขนาดทำให้การเลือกตั้งตกไปเลยหรือไม่ หรือยังมีทางเยียวยาให้สำเร็จลงได้ ซึ่งถ้าเป็นกรณีปกติที่ กกต. ประกาศวันลงคะแนนเป็นวันอื่นได้ และทำให้ถือได้ว่าการเลือกตั้งวันที่ ๒ กุมภา ยังสำเร็จลงได้ กรณีนี้การเลือกตั้งย่อมไม่ตกไป เช่นสมมติว่าได้ดำเนินการตามขั้นตอนมาโดยตลอด แล้วมีเหตุให้ต้องเลื่อนวันลงคะแนนในบางเขตไป เช่นมีเหตุน้ำท่วม ภัยพิบัติ ดังนี้เพียงแต่เลื่อนวันลงคะแนนในเขตที่มีปัญหาได้โดยการเลือกตั้งไม่ตกไป แต่ถ้าการเลือกตั้งเป็นอันไม่สำเร็จลงได้แล้วโดยแน่แท้ ชนิดไม่มีทางเยียวยาได้แล้ว ก็จะเป็นกรณีที่เรียกได้ว่าเงื่อนไขตกไป

 

 

 

Kittisak Prokati :แต่ปรากฏว่ากรณีที่เกิดขึ้นในบ้านเรา เป็นกรณีที่การเลือกตั้งไม่อาจสำเร็จลงได้โดยแน่แท้ หรือเป็นอันไร้ประโยชน์ต้องจัดการเลือกตั้งใหม่ เราจึงถือว่าเงื่อนไขคือการเลือกตั้งนั้นตกไป ทำไมถึงกล่าวว่าการเลือกตั้งไม่อาจสำเร็จลงได้โดยแน่แท้ ก็เพราะมีการดำเนินการข้ามขั้นตอน เพราะการเลือกตั้งเป็นกระบวนการ การจะดำเนินกระบวนการต่อไปต้องดำเนินกระบวนการก่อนนั้นให้เสร็จเสียก่อน คือต้องมีการประกาศกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้ง ประกาศเขตเลือกตั้ง แล้วจึงรับสมัคร จากนั้นประกาศชื่อผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง แล้วเปิดให้มีการหาเสียงผ่านสือสาธารณะ มีการลงคะแนนล่วงหน้า และมีการลงคะแนน กับนับคะแนนโดยชอบ จึงจะประกาศผลได้ โดยผลนั้นต้องมี สส. อย่างน้อยร้อยละ ๙๕ อีกด้วย แต่กรณีของเรามีปัญหาตรงที่รับสมัครยังไม่เสร็จ ก็ไปดำเนินการขั้นอื่น ๆ จนมีการนับคะแนนกันแล้ว จึงให้มีการไปลงคะแนนอีกในภายหลัง กับมีการสมัครใหม่ในเขตที่ยังไม่ได้รับสมัคร การดำเนินกระบวนการทั้งหมดนี้มันทำให้การเลือกตั้งเสียไป เมื่อการเลือกตั้งเสียไป ก็เลยส่งผลทำให้ประกาศกฤษฎีกาส่วนที่กำหนดให้จัดเลือกตั้งเป็นอันไร้ผล หรือมีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญตามมา

เปรียบอีกอย่างก็คือทำนิติกรรมว่า จะให้เงินเมื่อหุงข้าวสุกก่อนเที่ยง ปรากฏว่าคนหุงข้าวใส่น้ำน้อยไปมาก ข้าวเลยไหม้ พอไหม้ไปแล้ว จะเติมน้ำลงไปเพิ่ม ก็ไม่ทำให้ข้าวสุกขึ้นมาได้ เมื่อเวลาผ่านเที่ยงไปแล้ว เป็นอันว่าเงื่อนไขไม่อาจสำเร็จได้ เงื่อนไขตกไป เมื่อเงื่อนไขตกไปก็เลยทำให้นิติกรรม (ซึ่งขณะกระทำไม่โมฆะ) ตกเป็นโมฆะไป 

พระราชกฤษฎีกานั้นเป็นนิติกรรมที่รัฐประกาศว่า ให้ตั้งสภาผู้แทนราษฎรขึ้น โดยมีเงื่อนไขว่าให้ทำการเลือกตั้งในวันที่ ๒ กุมภา แม้ก่อนนั้น กกต. จะได้เล็งเห็นแล้วว่าจะไม่สำเร็จ จนต้องเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย และศาลรัฐธรรมนูญก็ได้วินิจฉัยให้เลื่อนได้แล้ว ก็ไม่มีการเลื่อน จนปรากฏว่าเมื่อถึงวันที่ ๒ กุมภา แล้ว การเลือกตั้งที่ได้ทำแล้ว มันบกพร่องจนไม่อาจจะเรียกว่าการเลือกตั้งได้ เพราะชิงสุกก่อนห่ามอย่างที่กล่าวแล้ว กรณีก็ทำให้การเลือกตั้งที่ให้ทำวันที่ ๒ กุมภา ไม่สำเร็จลงได้ และเป็นอันตกไป เมื่อเงื่อนไขตกไป นิติกรรมก็ตกเป็นโมฆะ พระราชกฤษฎีกานั้นก็เลยไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญที่กำหนดว่าให้กำหนดการเลือกตั้งภายใน ๖๐ วัน


ที่ตอบอาจารย์มาทั้งหมดนี้ เป็นความเห็นส่วนตัวที่ยังไม่ได้อ่านคำพิพากษาฉบับเต็ม แต่พยายามเดาเอาว่าศาลคิดอย่างไร และน่าจะมีเหตุผลอย่างไร โดยตั้งข้อสมมติฐานไว้ก่อนว่า ถ้าศาลคิดอย่างมีเหตุผลรองรับศาลจะให้เหตุผลอย่างไร เป็นการคาดเดาเอาสำหรับอธิบายมิตรสหาย ยังไม่เหมาะสำหรับการเผยแพร่อ้างอิงนะครับ

 

 

===================================================================

 

ขอย้ำอีกครั้งครับว่าผมนำมาเพื่อพิจารณา และตามตัวสีแดงด้านบน "ยังไม่เหมาะสำหรับการเผยแพร่อ้างอิงนะครับ"

 

 

 


"                          "

 

 

 


#13 IFai

IFai

    รักในหลวง

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,782 posts

ตอบ 24 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 03:42

นักกฎหมายที่อ่านกฎหมายต้องได้ความหมายเหมือนกัน

    ต่อไปสบายแล้วครับ เวลามีเรื่องขัดแย้งอะไรไม่ต้องไปศาลแล้ว ไปหา "นักกฏหมายที่อ่านกฏหมาย" เขาให้ความเห็นอย่างไรก็จบ เพราะ ความเห็น ....."จะต้องได้ความหมายเหมือนกัน" 

   ** แต่เราจะรู้ได้อย่างไร ...ว่าคนไหนเป็นนักกฏหมายที่อ่าน หรือไม่อ่านกฏหมาย

 

   ทำเป็น ขี้ข้าตักขี้ไปได้ พอตักขี้ว่าอย่างไร ขี้ข้าจะว่าเหมือนกันหมด

    เปรียบได้? ...ตักขี้ คือกฏหมาย ขี้ข้าคือ "นักกฎหมายที่อ่านกฎหมายต้องได้ความหมายเหมือนกัน

    ห้ามขัดแย้งกฏหมาย ....คือตัวตักขี้ 

 

   จึงเรียกขี้ข้าเหล่านั้นว่าควาย


ประโยชน์สูงสุดของประชาชน คือกฏหมายสูงสุดของประเทศ ...วิชา มหาคุณ


#14 ธีรเดชน้อย

ธีรเดชน้อย

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,659 posts

ตอบ 24 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 08:40

เทียบการให้ความเห็นของอ.กิตติศักดิ์กับ นักวิชาการหางแดง แล้วเห็นความแตกต่างชัดเจนครับ

 

อ.กิตติศักดิ์ มักเน้นคำว่า  ยังไม่ได้อ่านคำวินิจฉัยของศาล ในการอธิบายข้อกฎหมายที่ยุ่งยากต่อความเข้าใจนี้

 

ขณะที่นักวิชาการหางแดง สรุป ชี้นำและฟันธงทันทีที่การวินิจฉัย ไม่ถูกใจ 


" จุดเริ่มของการรัฐประหาร 22 พ.ค. 2557 หลังจากรัฐบาลเพื่อไทยได้บริหารประเทศล้มเหลวมาตลอด 2 ปีเศษ มีการทุจริตคอรัปชั่นมากมาย มีการนำพรบ.นิรโทษกรรมมาอนุมัติผ่านสภาฯเพื่อช่วยเหลือ น.ช. ทักษิณ ทำให้มวลมหาประชาชนลุกขึ้นประท้วงต่อต้าน แม้จนกระทั่ง ศาลรัฐธรรมนูญและปปช. ได้ตัดสินและชี้มูลความผิดจนต้องพ้นออกจากตำแหน่งแล้วก็ตาม ทำให้ประเทศชาติต้องหยุดนิ่ง สุดท้ายเมื่อ พลเอก ประยุทธ ผบ.ทบ.ได้เรียกทุกฝ่ายเข้ามาคุยเพื่อหาทางออกแล้ว โดยขอให้ ครม.ที่ยังคงเหลือลาออกเพื่อตั้งนายกฯเพื่อการปฎิรูปประเทศ แต่ไร้ซึ่งการตอบสนองและการเสียสละ ทำให้พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา จำเป็นต้องประกาศยึดอำนาจ   "

 

 


#15 temp

temp

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,682 posts

ตอบ 24 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 08:55

 

ตอนนี้ นักวิชาการหางแดง ออกมาคัดค้าน การตัดสินขององค์กรอิสระที่ให้โทษกับฝ่ายตัวเองเป็นแถว

 

เหล่าแกนนำขี้ข้า ก้เตรียมปลุกกระแสระดมพล รอท่อน้ำเลี้ยง ต้นเดือนนี้เอาแน่

 

ระหว่างนี้สื่อฯขี้ข้าจะช่วยประโคมข่าวความขัดแย้ง นำเสนอข้อผิดพลาดของมวลมหาประชาชน

 

ตำรวจก็จะแถลงข่าวการจับกุมฝ่ายต่อต้านทรราชย์

 

แบบนี้เรียกทฤษฎี สมคบคิด(กันทำชั่ว) ได้ไหม ??

 

แล้วก็จะประโคมข่าวกิจกรรมที่โจมตีศาล องค์กรอิสระ อ้างประชาธิปไตยกันอีกเพียบเลย 

 

ก่อนเลือกตั้งนี่ เสื้อขาว จุดเทียน 

 

เที่ยวนี้ เสื้อดำ 

กิจกรรมดีๆ? มีเสมอๆ ครับ <_<

==========

 

Jessada Denduangboripant
21 hours ago · Edited
บ่ายๆ เย็นๆ วันนี้มีกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยหลายอย่างแถว ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และสนามหลวง .... ใครสนใจแนวไหนก็ขอเชิญนะครับ ถ้าแนวธรรมะ ก็ขอเชิญไปจุดเทียนทำบุญที่สนามหลวง ตอน 4โมงเย็น พันช์ หลุยส์ ถ้าแนววิชาการ ก็ขอเชิญฟังเสวนาที่ ม.ธ. ถ้าแนวรณรงค์ ก็เชิญร่วมกิจกรรมของคุณ สมบัติ บุญงามอนงค์ ได้เลยครับ
------------
(ด่วน 23 มี.ค.57 ) วันนี้ 2 กิจกรรมที่ ห้องประกอบ หุตะสิงห์ ตึกอเนกประสงค์ 1 ม. ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ภาคบ่าย เริ่ม 13.30 น. 1) "สมัชชาปกป้องประชาธิปไตยแถลงข่าวกรณีศาล รธน.ตัดสินเลือกตั้ง 2 ก.พ.เป็นโมฆะ" ตั้งแต่ 13.30น. กิจกรรมที่ 2 เชิญอาสาร่วมกับ บก.ลายจุด สมบัติ บุญงามอนงค์ ทำกิจกรรม ที่ สนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ ประมาณ5 โมงเย็น หลังงานแถลงข่าวของ สปป.ขอเชิญชวนมาร่วมแปรอักษรเป็นรูป X กากบาท ใช้คนประมาณ 100 คน


Edited by temp, 24 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 09:03.

ควายตัวนี้สีขาว


#16 อู๋ ฮานามิ

อู๋ ฮานามิ

    สมาชิกหน้าเก่า

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 12,018 posts

ตอบ 24 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 12:56

เทียบการให้ความเห็นของอ.กิตติศักดิ์กับ นักวิชาการหางแดง แล้วเห็นความแตกต่างชัดเจนครับ

 

อ.กิตติศักดิ์ มักเน้นคำว่า  ยังไม่ได้อ่านคำวินิจฉัยของศาล ในการอธิบายข้อกฎหมายที่ยุ่งยากต่อความเข้าใจนี้

 

ขณะที่นักวิชาการหางแดง สรุป ชี้นำและฟันธงทันทีที่การวินิจฉัย ไม่ถูกใจ 

 

เป็นการออกตัวที่ควรทำ ที่บอกว่า "ยังไม่ได้อ่านคำวินิจฉัยของศาล" 

 

ไม่ใช่อ่านข่าวแล้วด่วนสรุป โดยเฉพาะนักกฎหมายนี่ต้องระวังในการให้ความเห็นมากๆ 


Edited by อู๋ ฮานามิ, 24 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 12:56.

ถึงผมจะเป็นคนหัวขบถ แต่ไม่คิดทรยศบุญคุณแผ่นดินเกิด

 

เสียงส่วนใหญ่ของประชาชน ไม่ใช่ใบอนุญาตทำร้ายประเทศชาติ


#17 temp

temp

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,682 posts

ตอบ 24 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 16:01

Piyabutr Saengkanokkul
Yesterday
ศาลรัฐธรรมนูญยังไม่ได้วินิจฉัยเพิกถอนการเลือกตั้ง 2 ก.พ.57 ไม่มีตรงไหนเลยที่ลบล้างการเลือกตั้ง 2 ก.พ.57 คะแนนเสียงเกือบ 20 ล้านยังสมบูรณ์อยู่ ไม่มีตรงไหนบอกว่าโมฆะ ศาลรัฐธรรมนูญบอกเพียงว่า พรฎ ในส่วนกำหนดวันเลือกตั้งไม่ชอบด้วย รธน มาตรา 108 (ซึ่งประหลาดมาก เพราะ พรฎ กำหนดวันเลือกตั้งวันเดียวตาม รธน มาตรา 108 ทุกประการ)

ดังนั้น อยากให้ช่วยกันพูดว่า การเลือกตั้งยังไม่โมฆะ คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญมีปัญหาบกพร่องผิดพลาดร้ายแรง คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญต่างหากที่เป็นโมฆะ

ประเด็นเหล่านี้ รอฟังอาจารย์วรเจตน์ อาจารย์ธีระ 13.30 น.


ควายตัวนี้สีขาว


#18 DarkSwan

DarkSwan

    Reporter Activated

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,689 posts

ตอบ 24 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 16:45

ถ้าทุกภาคส่วน เขาร่วมกัน ตรวจสอบชี้มูลความผิดของ รัฐบาล พท. อย่างบูรณาการ ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ มันก็ควรจะคิดอย่างน้อยที่สุดก็ที่ติ่งของติ่งของติ่งของกลีบก้านสมอง หน่อยว่า

 

"เออ เว้ย แล้วพรรค เพื่อทุยของกุมันผิดจริงหรือเปล่าวะ"

 

กันบ้างนะครับ 

ฟายแดง


ถ้าอยากได้ความเท่าเทียม

ก็ปีนป่ายขึ้นไปให้อยู่เทียบเท่ากับคนอื่นเค้า

อย่าได้กระชากฉุดให้คนอื่นเขาลงมาตกต่ำเท่ากับตน


#19 Novice

Novice

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,353 posts

ตอบ 24 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 18:41

Piyabutr Saengkanokkul
Yesterday
ศาลรัฐธรรมนูญยังไม่ได้วินิจฉัยเพิกถอนการเลือกตั้ง 2 ก.พ.57 ไม่มีตรงไหนเลยที่ลบล้างการเลือกตั้ง 2 ก.พ.57 คะแนนเสียงเกือบ 20 ล้านยังสมบูรณ์อยู่ ไม่มีตรงไหนบอกว่าโมฆะ ศาลรัฐธรรมนูญบอกเพียงว่า พรฎ ในส่วนกำหนดวันเลือกตั้งไม่ชอบด้วย รธน มาตรา 108 (ซึ่งประหลาดมาก เพราะ พรฎ กำหนดวันเลือกตั้งวันเดียวตาม รธน มาตรา 108 ทุกประการ)

ดังนั้น อยากให้ช่วยกันพูดว่า การเลือกตั้งยังไม่โมฆะ คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญมีปัญหาบกพร่องผิดพลาดร้ายแรง คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญต่างหากที่เป็นโมฆะ

ประเด็นเหล่านี้ รอฟังอาจารย์วรเจตน์ อาจารย์ธีระ 13.30 น.

 

แหม โชคดีนะฮะที่จานวอระเจด ไม่ได้เป็นผู้พิพากษาที่ไหน ไม่งั้นผมว่าจานวอระเจดต้องโดนจำเลยโวยวายว่าคำพิพากษาของจานเป็นโมฆะมันทุกคดีแน่เลย  :D

 

แล้วอยากบอกว่ายิ่งจานออกมากวน teen สังคมมากเท่าไหร่ โอกาสที่จานจะจบแบบไอ้ไม่เต็มบาทมันก็มีมากเท่านั้นแหละฮะ ผมว่าถ้าไอ้แม้วโดนจัดการแล้วเนี่ย จานน่าจะลาออกจากมหาลัยไปทำงานแถว ๆ มอนเตเนโกรดีกว่านะฮะ เพราะผมว่าไอ้พวกลูกหาบจานในกลุ่มมันคงไม่มีเวลาว่างมาช่วยกันกระสุนให้จานหรอกฮะ


Edited by Novice, 24 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 18:48.





ผู้ใช้ 1 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 1 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน