พี่ที่นับถือกัน แกให้ช่วยนำเสนอให้ เนื่องจาก แกอายุเยอะแล้ว ไม่สามารถทางด้าน ไอทีเท่าใหร่ แต่ความรู้ ทางด้านกฎหมาย การเมือง พร้อมประสบการณ์ ทางการเมืองที่แกสัมผัสมา (ไม่ได้เป็นนักการเมือง) มองเห็นปัญหารากฐานของการเมืองไทย จึงขอนำเสนอ เพื่อเป็นทางเลือก หรือ เสริมแนวคิด ให้กับสังคม เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ก็ว่ากันไปนะครับ
การปฏิรูปประเทศไทย (ตอนที่ 1)
- เดิม ก่อน รัชกาลที่ 5 ปฏิรูประบบบริหารราชการ ประเทศไทยมีโครงสร้างอำนาจแบบการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น คือ ท้องถิ่นปกครองตนเองในรูปของมณฑล เช่น มณฑลถลาง มณฑลโคราช มณฑลนครศรีธรรมราช มณฑลเชียงใหม่ ฯลฯ เป็นต้น
- ต่อมา เนื่องจากสถานการณ์โลกในขณะนั้นประเทศมีภัยจากการล่าอาณานิคมจากชาติตะวันตก ร.5 จึงจำเป็นต้องปรับโครงสร้างการปกครองมาเป็นการรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลาง ซึ่งก็เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ในขณะนั้น ทำให้ประเทศมีการจัดตั้ง กระทรวง ทบวง กรม มีการพัฒนาระบบ ไฟฟ้า โทรศัพท์ โรงเรียน มหาวิทยาลัย ไปรษณีย์ รถไฟ ประปา ฯลฯ ได้อย่างรวดเร็ว เพราะเป็นการรวม ศูนย์อำนาจ และสั่งการมาจากศูนย์อำนาจ ประกอบกับในขณะนั้นเราได้พระมหากษัตริย์ที่ดี ทำเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ ประเทศจึงมีความเจริญก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดด
- จากนั้นไม่นาน อำนาจรวมศูนย์ที่อยู่ในมือของกษัตริย์ ถูกเปลี่ยนมาอยู่ในมือของคณะราษฎร์ à ทหาร à และนักการเมือง นายทุนสามานย์ ตามลำดับ ซึ่งโครงสร้างของประเทศนับจาก ร.5 จนถึงปัจจุบันโดยเนื้อหาแล้วยังคงไม่เปลี่ยน คือเมื่อมีการรวมศูนย์กลางอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง ภาษีถูกเก็บรวบรวมไว้ที่ส่วนกลาง จึงเป็นเค็กก้อนใหญ่ที่ทุกฝ่ายจ้องจะหาผลประโยชน์ อำนาจเดิมของกษัตริย์จึงตกอยู่ในกลุ่มนักการเมือง หรือ ทหาร สับเปลี่ยนกันไป มิได้ตกอยู่ในมือของประชาชนอย่างแท้จริง หากทหารจะแย่งอำนาจ ก็ทำการรัฐประหารยึดอำนาจได้ง่าย โดยยึดศูนย์อำนาจก็ครอบครองประเทศได้ นักการเมืองนายทุนสามานย์ อยากครอบครองประเทศนี้ ก็ซื้อ ส.ส. และ ซื้อเสียง ด้วยเงินไม่กี่หมื่นล้านบาท ก็ได้อำนาจยึดครองประเทศได้โดยง่าย เพราะอำนาจไม่ได้ถูกกระจายอยู่ในมือประชาชน
- โครงสร้างอำนาจนับจาก ร.5 จนถึงปัจจุบันมีอายุ 150 ปีแล้ว ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง บัดนี้ถือว่าล้าสมัยอย่างมาก ก่อให้เกิดปัญหามากมายดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป
- ถ้าเราลองพิจารณาประเทศที่เขาเจริญ และมีความสงบ มีเสถียรภาพทางการเมืองในโลกนี้แล้ว เราจะเห็นว่าโครงสร้างอำนาจในประเทศนั้น ๆ มีการกระจายอำนาจ ให้ท้องถิ่นปกครองตนเองอย่างแท้จริง เช่น อังกฤษ แม้จะมีกษัตริย์ ก็มีการกระจายอำนาจเป็นแค้วน เป็นมณฑล อเมริกาปกครองเป็นรัฐ มาเลเซียเป็นรัฐ มีกษัตริย์หมุนเวียนกันครองราชย์ตามวาระ อินเดียเป็นรัฐ จีนเป็นมณฑล ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย ฯลฯ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นทั้งสิ้น มิใช่เป็นการรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง และประเทศดังกล่าวก็จะไม่เกิดปัญหาที่ทหารออกมาปฏิวัติรัฐประหาร เพราะไม่สามารถยึดอำนาจได้ เนื่องจากอำนาจได้ถูกกระจายไปสู่ส่วนย่อย ตกอยู่ในมือของประชาชนและท้องถิ่น ไม่สามารถแย่งอำนาจมาได้โดยง่าย
- เมื่อโครงสร้างอำนาจของไทยเป็นการรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลางอย่างปัจจุบันจึงก่อให้เกิดวิกฤติปัญหาทางการเมืองมาตลอด กล่าวคือ
- ค่านิยมการเลือกตั้ง ส.ส. ของประชาชนไทยได้พัฒนามาจากรากเหง้าค่านิยมดั้งเดิมของไทย คือระบบ “ไอ้เสือ” ในสมัยก่อนคนที่เป็น “ไอ้เสือ” จะเป็นที่รักเคารพของชุมชนในหมู่บ้าน เพราะ“ไอ้เสือ”จะไม่ปล้นหมู่บ้านของตนเอง แต่จะไปปล้นหมู่บ้านอื่นเมื่อได้ทรัพย์มาก็เก็บไว้เองส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งนำมาแจกชาวบ้าน เวลาชาวบ้านมีข้อพิพาทกัน“ไอ้เสือ”ก็จะช่วยเคลียร์ปัญหาให้ การเลือก ส.ส. ของชาวบ้านในปัจจุบันก็ไม่ต่างอะไรกับระบบ“ไอ้เสือ” คือต้องเลือกคนโกง ยิ่งโกงมากเท่าไรยิ่งดี ถือว่ามีฝีมือ เพราะ ส.ส.“ไอ้เสือ”พวกนี้จะต้องไปปล้นงบประมาณจากที่อื่นให้มาลงบ้านตัวเองและ ส.ส. พวกนี้ก็จะโกงงบประมาณที่ได้มาไว้เป็นของตนเองส่วนหนึ่ง ชาวบ้านหมู่บ้านนั้นไม่สนใจหรอกว่านักการเมือง ส.ส. จะโกงกันอย่างไร ขอให้ได้งบประมาณมาลงบ้านตัวเองและตัวเองได้ประโยชน์จากการโกงนั้นด้วยก็ไม่เป็นไร จึงเกิดค่านิยมว่า“โกงไม่เป็นไร ขอให้มีผลงาน” ดังนั้น ถ้าผมเป็นชาวสุพรรณบุรี ผมก็ต้องเลือก นายบรรหาร ตลอดไป เพราะ นายบรรหาร สามารถแย่งงบประมาณจากที่อื่นมาลงจังหวัดตนได้มากเกินความจำเป็น แม้งบประมาณที่ได้มา นายบรรหาร จะเอาบริษัทญาติพี่น้องของตนเข้ามากอบโกย ผมซึ่งเป็นชาวสุพรรณก็พอใจ และชื่นชมว่า ส.ส. ของผมเก่งที่ไปปล้นงบจากที่อื่นมาได้ และคิดว่าเงินงบประมาณที่ถูกโกงไปนั้น ไม่ใช่เงินของตน แต่เป็นเงินจากที่อื่นๆ
ดังนั้น ต่อไปทุกเขตการเลือกตั้ง ถ้าชาวบ้านอยากได้งบประมาณมาพัฒนาท้องถิ่นอย่างสุพรรณบุรี ก็จะค่อยๆพากันไปเลือก ส.ส. แบบ“ไอ้เสือ”ส.ส.ที่ปล้นไม่เป็น หรือไม่ใช่ ส.ส. โจร ชาวบ้านจะไม่เลือก และค่อยๆหมดไปจากประเทศไทย
ส่วนชาวบ้านเขตอื่นๆที่ถูกปล้นก็ร้องบอกว่า “ เฮ้ย...ไอ้เสือ บ้านอื่นมาปล้นบ้านเรา ทำไมปล่อยให้มันปล้นเราฝ่ายเดียว ไอ้เสือ บ้านเราต้องไปปล้นเอาทรัพย์เราคืนบ้าง ” ในที่สุดมีการปล้นกันไป ปล้นกันมา เกิดขึ้นระหว่างหมู่บ้านทั่วประเทศตอนแรกไอ้***็ต่อสู้กันเองระหว่างไอ้เสือคนไหนมีวิชาโจรอยู่ยงคงกระพันก็ชนะ ไอ้เสือที่แพ้เขาสู้ไม่ได้ก็ไปปลุกระดมชาวบ้านให้มาช่วยสู้ ไอ้เสืออีกฝ่ายหนึ่งก็ไปปลุกระดมชาวบ้านของตนให้มาช่วยเช่นกันเกิดรบราฆ่าฟันกันระหว่างหมู่บ้าน ในที่สุดขยายวงใหญ่ขึ้นเป็นไอ้เสือฝ่ายค้าน กับไอ้เสือฝ่ายรัฐบาลปลุกมวลชนเข้ามาสู้กัน กลายเป็นสงครามกลางเมือง สิ่งนี้เป็นปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นกับประเทศไทยในขณะนี้ซึ่งต้นตอมาจาก “ส.ส.ไอ้เสือ ”
- การแก้ปัญหาวิกฤติทางการเมืองในปัจจุบันจะต้องมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างอำนาจด้วยการกระจายอำนาจกลับไปสู่ท้องถิ่นอย่างแท้จริง ให้ชาวบ้านได้ปกครองตนเอง เก็บภาษี และบริหารงบประมาณของตนเอง โดยการยกเลิกระบบการรวมศูนย์อำนาจที่มีการเก็บภาษีทั่วประเทศ แล้วมารวมกันที่ส่วนกลาง กลายเป็นเค็กก้อนใหญ่ที่ไอ้เสือทั้งหลายจ้องจะปล้นจากกองกลาง และการบริหารปกครองต้องใช้หลักที่ว่า “ใครได้รับเลือกตั้งมาจากที่ใด ให้ปกครองที่นั่น” เช่น ชาวอีสานเลือกทักษิณ ชาวใต้เลือกชวน หากทักษิณเป็นนายกฯ คนใต้ก็ไม่ยอมรับ เพราะเขาไม่ได้เลือก ในทางกลับกัน หากชวนเป็นนายกฯ ชาวอีสานก็ไม่ยอมรับเช่นกัน เพราะเขาชอบทักษิณ
ดังนั้นเมื่อมีการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นอย่างแท้จริงแล้วท้องถิ่นใดอยากเลือกผู้นำ หรือนักการเมืองส.ส.ที่เป็นไอ้เสือ ก็ต้องถือว่าเป็นเรื่องของคนในท้องถิ่นนั้นโดยตรง เป็นเอกสิทธิของเขา เพราะไอ้เสือที่เขาเลือกมาไม่สามารถไปปล้นทรัพย์จากที่อื่นได้อีกต่อไปแล้ว นอกจากปล้นบ้านหรือท้องถิ่นของตนเองเช่น ชาวสุพรรณบุรีอยากเลือกบรรหารให้มาภาษี แล้วโกงภาษีของชาวสุพรรณ ก็เป็นเรื่องของชาวสุพรรณเป็นเรื่องของชุมชนในท้องถิ่นนั้น ๆ เขาจะตัดสินใจเองว่าเงินภาษีของเขาจะยอมให้ไอ้เสือปล้นหรือไม่ซึ่งเชื่อว่าความรู้สึกของชุมชนจะเกิดความหวงแหนเงินภาษีของเขาเองมากกว่าที่เป็นอยู่ในระบบโครงสร้างปัจจุบันเพราะปัจจุบันเขารู้สึกว่าเงินนั้นมาจากส่วนกลาง และเป็นเงินจากที่อื่น มิใช่เงินของเขาโดยตรงจะเห็นว่าเมื่อมีการกระจายอำนาจออกไปดังกล่าวแล้ว เส้นทางของเงินภาษีจะสั้นชาวบ้านผู้เสียภาษีจะเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของเงินนั้นต่างกับโครงสร้างแบบรวมศูนย์อำนาจในปัจจุบันเส้นทางของเงินภาษีจะยาวทั้งขาเก็บและขากลับมาในรูปงบประมาณเกิดการรั่วไหลได้ตลอดทาง
- เมื่อมีการกระจายอำนาจบริหารและอำนาจจัดเก็บภาษีไปสู่ท้องถิ่นแล้ว รัฐบาลกลางก็จะเหลือหน่วยงานหลักคือ กลาโหม ต่างประเทศ การคลัง และ ศาลสูง เท่านั้น ส่วนงานอื่นๆ ให้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลท้องถิ่นทั้งสิ้น ไม่ว่า การศึกษา ตำรวจ อัยการ ศาลท้องถิ่น สาธารณสุข เกษตร คมนาคม แรงงาน มหาดไทย วัฒนธรรม ฯลฯ บุคลากรทั้งหลายเหล่านั้นก็ต้องไปสังกัดภายใต้รัฐบาลท้องถิ่น
- การปรับโครงสร้างอำนาจด้วยการกระจายอำนาจไปสู่รัฐบาลท้องถิ่นนั้นเหมาะสม และสอดคล้องกับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ฯลฯ ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรง และซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ จะได้เข้ามามีส่วนร่วมโดยตรง และรู้ปัญหา ความต้องการของชุมชนนั้นได้ดีกว่ารัฐบาลกลาง ตัวอย่างเช่น
- ปัญหาเรื่องที่ดินทำกิน ปัจจุบันได้รวมศูนย์อำนาจในการออกโฉนดที่ดินไว้ที่ส่วนกลาง ได้แก่ กรมที่ดิน กรมป่าไม้ ฯลฯ ผลก็คือชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในชุมชนนั้นไม่มีที่ทำกิน ไม่มีเอกสารสิทธิในที่ดิน แต่คนในกรุงเทพฯ หรือเมืองใหญ่ซึ่งไม่ได้ทำกินหรือเป็นเกษตรกร กลับมีโฉนดที่ดินทั่วประเทศไทย ดังนั้น ปัญหานี้ต้องกระจายอำนาจให้รัฐบาลท้องถิ่นเป็นผู้กำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะได้สิทธิทำกินในที่ดิน เพราะเขาจะรู้จักคนในพื้นที่ดี ส่วนคนนอกชุมชนถ้าจะมีการครอบครองที่ดิน ต้องพิจารณาในอันดับหลังจากชาวบ้านในชุมชนนั้น หรือต้องถือครองโดยมีเงื่อนไขของการส่งเสริมการลงทุน มิใช่การเก็งกำไรที่ดิน และให้ชาวชุมชนเข้ามาตรวจสอบอย่างเข้มข้น