ในระยะนี้มีข่าวที่ฝั่งเสื้อแดง มติชน สรยุทธ์ ระดมกันประโคมว่า รัฐบาลอินโดนีเซียวางแผนที่จะลงทุน 14 ล้านล้าน ในโครงสร้างพื้นฐานตามแผน MP3EI ของประธานาธิบดีบัมบัง ยูโดโยโน ตั้งแต่ปี 2011 วัตถุประสงค์ชัดเจน เพื่อที่จะพูดกระทบกระเทียบ การคว่ำ พรบ. เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทของไทยโดยศาลรัฐธรรมนูญ เช่นกระทู้นี้
http://pantip.com/topic/31830377
ทั้งนี้แผน MP3EI ดังกล่าวเป็นแค่แผนแม่บทพื้นฐานการพัฒนาประเทศ ซึ่งหากลงลึกในรายละเอียดการใช้เงิน งบประมาณ 14 ล้านล้านบาท (USD 486 billion) นั้น ใช้เวลาถึง 15 ปี โดยมีแผนลงทุนด้านคมนาคมประมาณ 2.3 ล้านล้านบาท (USD 75 billion) ในการทะยอยลงทุนในโครงการต่างๆ เช่นรถไฟ ถนน ทางด่วน ซึ่งแบ่งเป็น
- 51% ของงบประมาณ ให้เอกชนลงทุนเอง (private sector)
- 21% ของงบประมาณ มาจากการลงทุนจากต่างประเทศและรูปแบบ PPPs เช่น สัมประทานทางด่วน
- 18% ของงบประมาณ ให้รัฐวิสาหกิจลงทุน (SOEs)
- 10% ของงบประมาณ รัฐบาลและรัฐบาลท้องถิ่นลงทุน (governmental sector)
ซึ่งปัจจุบันผลการดำเนินงานพบว่า มีปัญหาอยู่พอสมควรเลยทีเดียว ดังข่าวนี้
http://www.thejakart...-fails-act.html
สรุปว่า รัฐบาลอินโดนีเซียวางแผนลงทุนเองแค่ 10 เปอร์เซ็นท์เท่านั้น (1.4 ล้านล้านบาท ใน 15 ปี) ซึ่งคาดว่าเป็นการลงทุนในงบประมาณปกติ แต่เน้นการดึดดูดเชิญชวนให้ภาคเอกชนลงทุนในโครงการต่างๆ เนื่องจากขาดแหล่งเงินทุน ส่วนกำไร-ขาดทุน เอกชนว่ากันเอง
ซึ่งผิดกับของเพื่อไทยที่จะกู้มาลง 2 ล้านล้านบาทใน 7 ปี ลงตูมทีเดียว เอกชนหวานหมู ประชาชนรับภาระ - โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่ ร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว ให้เอาเงินกู้ไปใช้ได้ โดยไม่ต้องนำส่งคลัง แค่รายงานให้รัฐสภาทราบก็พอ เหมือนตีเช็คเปล่า ให้รัฐบาลเอาไปใช้จ่ายอะไรก็ได้ โดยไม่ผ่านการตรวจสอบอย่างเข้มข้น ตามเจตนารมย์ของมาตรา 8 ของรัฐธรรมนูญ
เรื่องนี้ อ.พิสิทธิ์ ลี้อาธรรม อธิบายไว้ชัดเจนดีมากครับ
http://www.econ.cmu....ocDownload1.pdf