พอดีได้นั่งดูมาตรการประกันสังคมของประเทศไทยในมาตราที่ ๔๐ "ประกันสังคมกับผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ"
ทำไมมันถึงดูอ่อนด้อย สิทธิประโยชน์ต่ำเตี้ยเรี่ยดินปานนี้
- เจ็บป่วย ก็ต้องนอนโรงพยายบาลอย่างน้อย ๒ วันถึงจะเข้าเกณฑ์ โดยจะได้เงินทดแทนรายได้!!
- กรณีทุพพลภาพ ได้รับ ๕๐๐-๑๐๐๐ บาทต่อเดือนเป็นเวลา ๑๕ ปี
- กรณีเสียชีวิต ค่าปลงศพ ๒๐๐๐๐ บาท
- เพิ่มเติมมีอีกแผนที่มีบำเน็จชราภาพ
แต่คำถามคือ...กองทุนประกันสังคมควรเป็นสิทธิประโยชน์อีกขั้นของ"พลเมือง"มิใช่หรือ?
พลเมืองที่อยากดูแลตัวเองโดยพึ่งภาครัฐให้น้อยที่สุดด้วยการออมเงินทั้งสมัครใจและบังคับ
ทั้งที่เป็นเงินที่เขาต้องถูกหักต้องจ่าย แต่การบริการเข้าขั้งห่วยแตกเป็นภาระของพลเมืองแทนที่จะเป็นหลักประกัน
มันควรเป็นการประกันชีวิตโดยภาครัฐเพื่อเพิ่มสิทธิการดูแลที่ดีขึ้นจากภาครัฐมิใช่หรือ?
จะดีกว่าไหมถ้า
- รัฐมีการส่งเสริมให้คนทำประกันกับภาครัฐเจ็บป่วยก็ใช้กองทุนที่ตนสะสมไว้แทนที่จะเป็นภาษีของคนทั้งชาติ
- รัฐมีการส่งเสริมให้วางแผนการศึกษาของบุตรหลานด้วยการสะสมเงินไว้ตั้งแต่เนิ่นๆแทนที่จะมากู้เรียนตอนหลัง
- รัฐใช้กองทุนประกันสังคมในการทำสวัสดิการของรัฐแทนที่จะเอาเงินงบประมาณประจำปีมาลงทุกปีอย่าง ๓๐ บาท
- รัฐเก็บสะสมเงินให้พลเมืองได้มีบำเน็จ บำนาญ ยามชราโดยที่พึ่งพารัฐบาลให้น้อยที่สุด
- รัฐบาลใช้กองทุนประกันสังคมเป็นประกันให้พลเมืองอุ่นใจยามทุพพลภาพว่าจะไม่อดตาย
เราใช้จ่ายงบประมาณกับการดูแลโดยให้เปล่ามากเกินไปหรือไม่?
จะไม่ให้ประชาชนยืนอยู่ได้ด้วยตัวเองเลยหรือ?
เป็นคำถามที่ผุดขึ้นมาในหัวเพราะแผนการประภัยประกันชีวิตที่ว่ามาเป็นของเอกชนเสียหมดซึ่งเบี้ยประกันนั้นก็เยอะอยู่เหมือนกันทำไมรัฐบาลจึงไม่ทำให้เป็นประกันชีวิตพื้นฐานแก่ประชาชน ต้องให้ประชาชนใช้ชีวิตแบบไม่มีหลักประกันไปนานเพียงใด?หรืออยากอุ้มคนไทยไปทั้งชาติ...