วันนี้ที่ 1 เมษายน 2557 คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ไต่สวนข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานจนเสร็จสิ้น และได้ พิจารณาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ประกอบคําวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ ๑๕-๑๘/๒๕๕๖ เมื่อ วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ ในส่วนที่เกี่ยวกับนายสมศักดิ์ เกีนรติสุรนนท์แล้ว จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า
......๑. นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ในฐานะประธานรัฐสภา ได้นําญัตติ ขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับซึ่งมิใช่ฉบับเดิมของนายอุดมเดช รัตนเสถียร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และคณะ เป็นผู้เสนอเมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๖ ส่งสําเนาให้สมาชิกรัฐสภาเพื่อประกอบการประชุม ร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ ๔ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๖ โดยปรากฏข้อเท็จจริงว่าเมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๖ นายอุดมเดช รัตนเสถียร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้ประสานเจ้าหน้าที่สํานักการประชุม สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เพื่อนําร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม บันทึกหลักการและเหตุผล และบันทึก วิเคราะห์สรุปสาระสําคัญฉบับใหม่ทั้งฉบับ ไปเปลี่ยนกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับเดิมและนําร่างรัฐธรรมนูญฉบับเดิม กลับคืนไป โดยการแก้ไขดังกล่าวไม่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาลงชื่อเสนอญัตติตามมาตรา ๒๙๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ซึ่งนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ในฐานะประธาน รัฐสภา ทราบถึงการแก้ไขดังกล่าว
.....๒. นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ในฐานะประธานรัฐสภา ได้ตัดสิทธิ ผู้ขออภิปรายในวาระที่ ๑ ขั้นรับหลักการเมื่อวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๖ และจงใจปิดการอภิปรายในมาตรา ๑๐ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2556 ทั้งๆ ที่มีสมาชิกที่ยังไม่ได้ใช้สิทธิอภิปรายจํานวนมาก นอกจากนี้เมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๖ ยังได้ขอมติที่ประชุมเพื่อวินิจฉัยตัดสิทธิผู้ขอแปรญัตติและผู้สงวนความเห็นเป็นจํานวน ๕๗ คน เพราะเหตุขัดต่อหลักการทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้มีการฟังการอภิปราย ตามคําร้องจริง
.....๓. นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ในฐานะประธานรัฐสภา ได้จัดให้มีการ ลงมติให้กําหนดเวลาแปรญัตติ ๑๕ วัน โดยให้เริ่มนับระยะเวลา ๑๕ วันนับตั้งแต่วันที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๖ ซึ่งเป็นวันที่รับหลักการ เห็นว่า การแปรญัตติ เป็นสิทธิของสมาชิกรัฐสภาที่จะเสนอความคิดเห็น การแปรญัตติจึงต้องมีเวลาพอสมควรเพื่อให้สมาชิก ผู้ประสงค์จะขอแปรญัตติได้ทราบระยะเวลาที่แน่นอนในการยื่นขอแปรญัตติ อันเป็นสิทธิในการทําหน้าที่ ของสมาชิกรัฐสภาภายใต้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ การนับระยะเวลาในการแปรญัตติ ย่อมไม่อาจนับเวลาย้อนหลังได้ แต่ต้องนับตั้งแต่วันที่ที่ประชุมมีมติเป็นต้นไป การเริ่มนับระยะเวลาย้อนหลังไปจนทําให้ เหลือระยะเวลาขอแปรญัตติเพียง ๑ วัน เป็นการดําเนินการที่ขัดต่อข้อบังคับการประชุมและไม่เป็นกลาง จึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
.....การกระทําและพฤติการณ์ของนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ในฐานะประธานรัฐสภา จึงมีมูลความผิดฐานส่อว่าจงใจใช้อํานาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓ มาตรา ๑๒๕ วรรคหนึ่งและวรรคสอง มาตรา ๒๙๑ อันเป็นมูลเหตุให้ถูกถอดถอน ออกจากตําแหน่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๗๐ และมาตรา ๒๗๔ ประกอบพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔ มาตรา ๕๖ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๑ และมาตรา ๖๒
..... จึงให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ส่งรายงานและเอกสารที่มีอยู่พร้อมทั้งความเห็นไปยัง ประธานวุฒิสภา เพื่อดําเนินการตามมาตรา ๒๗๓ และมาตรา ๒๗๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ต่อไป
.....สําหรับในส่วนของการดําเนินคดีอาญาคณะกรรมการ ป.ป.ช.อยู่ระหว่างการไต่สวนข้อเท็จจริง.....
เครดิต Chuchart Srisaeng
ภาพประกอบ อินเตอร์เน็ต