Jump to content


Photo
- - - - -

จุดตายยิ่งลักษณ์ G2G ปลอม กับการไขปริศนา รัฐไทยยอมขาดทุนกับโครงการรับจำนำข้าว เพื่อใครกันแน่ ชาวนา หรือ "พวกมัน"


  • Please log in to reply
2 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 mr.patton

mr.patton

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 579 posts

ตอบ 10 เมษายน พ.ศ. 2557 - 22:17

จุดตายยิ่งลักษณ์ G2G ปลอม กับการไขปริศนา 
รัฐไทยยอมขาดทุนกับโครงการรับจำนำข้าว เพื่อใครกันแน่ ชาวนา หรือ "พวกมัน"

 

โดย อจ.หมุ่มเหลือน้อย PAUL
================================

9 ตุลาคม 2555 หลังประชุมครม.เสร็จ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ พร้อมบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมต.พาณิชย์ ให้สัมภาษณ์ว่าจะมีการขายข้าวแบบ G2G จำนวน 4 ล้านตัน ไปยังหลายๆประเทศ โดยเฉพาะประเทศจีนโดยจะแล้วเสร็จสิ้นปี 2556

มีการทำสัญญากับ "บริษัท จีเอสเอสจี จำกัด" และ "บริษัท ไห่หนาน จำกัด" โดยอ้างว่าเป็นรัฐวิสาหกิจจากจีน 

ทั้งที่ความจริงการทำสัญญาซื้อขายข้าว G2G กับประเทศจีนจะต้องผ่าน COFCO (ดูคำอธิบาย COFCO ด้านล่าง) ก่อน แต่ทั้งสองบริษัทด้านบนไม่สามารถหาหนังสือมอบอำนาจจาก COFCO มายืนยันได้ G2G ครังนี้จึงไม่สำเร็จ 

แต่มีความพยายามนำโควต้าข้าว G2G ครั้งนี้ใช้เพื่อขายข้าวให้กับ บริษัท เอกชนไทย

จากการตรวจสอบพบว่ามี บริษัทค้าข้าวจำนวน 17 บริษัท ของไทย ซื้อข้าวจากรัฐบาลโดยอ้างว่าเป็นการซื้อข้าว G2G โดยมีหลักฐานที่สำคัญคือแคชเชียร์เช็คจำนวนหลายพันใบ สั่งจ่ายโดยกรรมการของทั้ง 17 บริษัท จำนวน 89 คน
(ใน 17 บริษัท มีบริษัทส่งออกข้าว ที่ถูกเรียกว่าห้าเสือค้าข้าวรวมอยู่ด้วย)

จากการสอบสวนของ ปปช.อีกเช่นกัน พบว่าทุกบริษัทจะซื้อข้าวได้ต้องติดต่อผ่าน บ.สยามอินทิกา จำกัด และจะขนข้าวออกไปได้ก็ต่อเมื่อ จ่ายแคชเชียร์เช็คให้กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

จำนวนข้าวที่ซื้อขายโดยอ้าง G2G ครั้งนี้มีจำนวน 4.8 ล้านตัน 

+++++ 
การขายข้าวออกไปได้ เป็นเรื่องดี แม้จะไม่ได้ขายแบบ G2G แต่รัฐบาลระบายข้าวได้ แต่..................

การขายข้าวแบบ G2G ได้รับสิทธิพิเศษ ไม่ต้องจ่ายภาษี การขายข้าวให้บริษัทเอกชน โดยอ้างว่าเป็นการขายแบบ G2G เป็นการเอื้อให้ บริษัทเอกชนไม่ต้องจ่ายภาษีให้รัฐบาล 
+++++

ปปช. ตั้งสมมุติฐานว่า บ.อินทิกา ที่ทำตัวเป็นนายหน้ามีการเรียกรับผลประโยชน์ จากการขายข้าวตามจำนวนนี้ จากบริษัททั้ง 17 แห่ง

ผู้อำนายการสำนักข่าวอิสรา ให้สัมภาษณ์ว่า จากการลงไปเก้บข้อมูลเบื้งต้น พบว่าจำนวนข้าวที่ส่งออกผ่านรายงานของกรมศุลกากร มีจำนวน 3.7 แสนตัน หรือประมาณ 9% ของปริมาณข้าวที่ขายออกไป และข้าวบางล็อตมีการขายไปในราคาเพียง 1 ใน 3 ของต้นทุนที่รัฐบาลรับจำนำมา 

ในตอนต้นของโครงการรับจำนำขาว มีการท้วงว่าจะมีการทุจริตในการขายข้าวของรัฐบาลได้ ซึ่งนายกรัฐมนตรีรับทราบ 
แต่นายกรัฐมนตรียังปล่อยให้เกิดการทุจริต ขนาดใหญ่เช่นนี้ ก่อความเสียหายให้รัฐบาลอย่างรุนแรง 
นายกรัฐมนตรี ต้องรับผิดชอบหรือไม่ ?
การกล่าวอ้างว่าได้มอบหมายนโยบายไปแล้ว แต่ผู้ดำเนินการทุจริตบกพร่องต่อหน้าที่เอง ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ดำเนินการหรือของผุ้สั่งการ ? 

ผู้สั่งจ่ายแคชเชียร์เช็คซื้อข้าวจากกรมการค้าต่างประเทศ สามารถถูกกันเป็นพยานตามกฏหมายใหม่ของ ปปช.ได้ 
แน่นอนหากทำเช่นนี้ ปปช. จะต้องโดนกล่าวหาจาก ผู้สนับสนุนรับบาลว่าสองมาตรฐานปกป้อง ผู้ส่งออกข้าวที่เสียผลประโยชน์จากโครงการจำนำข้าวของรัฐบาลเพื่อไทย ซึ่ง ปปชงต้องเตรียมคำตอบที่สามารถอธิบายกับสังคมให้ได้ ถ้าจะมีการกัน 89 กรรมการบริษัทค้าข้าวไว้เป็นพยาน เพราะในความเป็นจริงทั้ง 89 คนนั้นก็รู้อยู่ว่ากำลังมีส่วนในกระบวนการทุจริตเงินภาษีของประเทศ 

สุดท้าย................. 
ประชาชนในฐานะผู้รับผิดชอบสูงสุดต่อรัฐบาล ต้องเรียนรู้สิ่งที่เกิดขึ้น ระบบโควต้าส่งออกในอดีต จนมาถึงการขายข้าวโดยรัฐแต่เพียงผู้เดียว เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนผู้ทำธุรกิจค้าข้าวจริง ทำอย่างไรนโยบายแบบนี้จะหมดไป

ชาวนาเอง แม้จะได้ประโยชน์จากโครงการรับจำนำข้าว แต่ก็เห็นแล้วว่าเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ ไม่ครบตามวาระของรัฐบาลเสียด้วยซ้ำ ตกลงนโยบายแบบไหนถึงดีต่อประเทศ

นโยบายของรัฐที่ปิดกั้นการถกเถียงอย่างกว้างขวาง อย่างจำนำข้าว ที่กล่าวหาผู้ที่เตือนว่าจะเกิดการทุจริตและความเสียหายแก่รัฐมหาศาล ว่าเป็นผู้ที่ไม่ต้องการให้ชาวนามีรายได้มากขึ้น เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของโครงการที่หมกเม็ดผลประโยชน์ของตนและพวกพ้อง โดยอ้างผลประโยชน์ของผู้ด้อยโอกาสในประเทศ 

ประเทศไทยต้องการการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง จะอำมาตย์ หรือไพร่ขึ้นครองเมือง ผลประโยชน์ชาติยังเอามาแบ่งในพวกพ้องตนเองได้อย่างหน้าด้านๆ ประโยชน์อะไรที่ประชาชนต้องานั่งทะเลาะกัน 

ทำไมไม่ร่วมมือกัน ควบคุมทั้งอำมาตย์ และไพร่ ให้อยู่ในสายตา และละอายต่อการทำชั่ว

+++ 
ทุจริตการขายข้าวในรัฐบาลอภิสิทธิ์ ก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน คือนำข้าวที่รับจำนำไว้มาขายในราคาถูก เพียงแต่ อภิสิทธิ์ สามารถอ้างได้ว่า การขายข้าวนั้นไม่ใช่นโยบายของตัวเอง เพราะนโยบายของ ปชป.คือประกันราคา การขายข้าวทุจริตผู้ที่รับผิดชอบคือ รมต.และข้าราชการที่เกี่ยวข้อง อภิสิทธิ์ ก็จะลอยตัวไปได้
ส่วนข้ออ้างว่า แล้วที รัฐบาลอภิสิทธิ์ โดนร้อง ทำไมไม่จัดการ มาจัดการรัฐบาลยิ่งลักษณ์ 
การอ้างอย่างนี้ ไม่ได้ช่วยยิ่งลักษณ์ฟอกผิดให้เป็นถูกได้ ความผิด และหลักฐานของรัฐบาลนี้ก็ยังมีอยู่ ปปช.เองถ้าตอบคำถามไม่ได้ว่าทำไม ก็จะโดนเล่นงานฐานละเว้นเอง 
+++

* COFCO ย่อมาจาก China National Cereals, Oils and Foodstuffs Import and Export Corporation ทำหน้าที่คนกลาง/นายหน้านำเข้าข้าว เพื่อรักษาจำนวนการนำเข้าตามโควต้าที่ รัฐบาลกลางกำหนด

** รายชื่อกรรมการบริาัทค้าข้าว 89 คนจะใส่ไว้ใน ความเห็น 

..........เพิ่มเติม 1. บริษัทแคปปิตัลซีเรียลส์ จํากัด 
2. นายไพศาล วนิชจักรวงศ์ กรรมการบริษัทแคปปิตัลซีเรียลส์ จํากัด 
3. นายสุรศักดิ์ พิเชษฐพงษา กรรมการบริษัทแคปปิตัลซีเรียลส์ จํากัด 
4. นางสาวอัมพรศรี ตันติสถาพร กรรมการบริษัทแคปปิตัลซีเรียลส์ จํากัด 
5. นางสาวดวงสมร อุดมรัชตวนิชย์ กรรมการบริษัทแคปปิตัลซีเรียลส์ จํากัด 
6. นายสรพล เอื้อชูวงศ์ กรรมการบริษัทแคปปิตัลซีเรียลส์ จํากัด 
7. นายธารเกษม วนิชจักรวงศ์ กรรมการบริษัทแคปปิตัลซีเรียลส์ จํากัด 
8. นายวิญญู พิชญ์พงศา กรรมการบริษัทแคปปิตัลซีเรียลส์ จํากัด 
9. นายรวิสักก์ วนิชจักรวงศ์ กรรมการบริษัทแคปปิตัลซีเรียลส์ จํากัด 
10. นายสุกิจ รัตนาพิทักส์เทพ 
11. นายสุเมธ สุดใจรักษ์

12. บริษัทนครหลวงค้าข้าว จํากัด 
13. นายวรพงศ์ พิชญ์พงศา กรรมการบริษัทนครหลวงค้าข้าว จํากัด 
14. นายวิเชียร วนิชจักรวงศ์ กรรมการบริษัทนครหลวงค้าข้าว จํากัด 
15. นายนที ศิระวัฒน์ กรรมการบริษัทนครหลวงค้าข้าว จํากัด 
16. นางอัมภา อัครบุญเลิศยศ กรรมการบริษัทนครหลวงค้าข้าว จํากัด 
17. นายพงศ์พัฒน์ วนิชจักรวงศ์ กรรมการบริษัทนครหลวงค้าข้าว จํากัด 
18. นายวัลลภ พิชญJพงศา กรรมการบริษัทนครหลวงค้าข้าว จํากัด 
19. นายอนันต์ พิเชษฐพงศา กรรมการบริษัทนครหลวงค้าข้าว จํากัด

20. ห้างหุ้นส่วนจํากัดโรงสีกิจทวียโสธร 
21. นายทวี อาจสมรรถ หุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจํากัดโรงสีกิจทวียโสธร

22. บริษัทกิจทวียโสธรไรซ์ จํากัด 
23. นายทวี อาจสมรรถ กรรมการบริษัทกิจทวียโสธรไรซ์ จํากัด 
24. นางอุษณีย์ อาจสมรรถ กรรมการบริษัทกิจทวียโสธรไรซ์ จํากัด 
25. นายเสกสิทธิ์ ลีพิบูลย์สวัสดิ์ กรรมการบริษัทกิจทวียโสธรไรซ์ จํากัด

26. บริษัทเอเชียโกลเด้นไรซ์ จํากัด 
27. นายชัยวัฒน์ นิ้มวัฒนา กรรมการบริษัทเอเชียโกลเด้นไรซ์ จํากัด 
28. นายพรชัย โตนิติวงศ์ กรรมการบริษัทเอเชียโกลเด้นไรซ์ จํากัด 
29. นายวิชัย บุญธนาพิบูลย์ กรรมการบริษัทเอเชียโกลเด้นไรซ์ จํากัด 
30. นางกุลภัทรา ปรีชา กรรมการบริษัทเอเชียโกลเด้นไรซ์ จํากัด 
31. นายสมบัติ เฉลิมวุฒินันท์ กรรมการบริษัทเอเชียโกลเด้นไรซ์ จํากัด 
32. นายวศิน ตันติวนิชชานนท์

33. บริษัทสุวรรณเกลียวทอง จํากัด 
34. นายจักรพงศ์ ปิติพรสัมฤทธิ์ กรรมการบริษัทสุวรรณเกลียวทอง จํากัด 
35. นางสาววิไลลักษณ์ ตั้งนุศาสน์

36. บริษัทไทยฟ้า จํากัด 
37. นายสุชาติ เศรษฐีวรรณ กรรมการบริษัทไทยฟ้า จํากัด 
38. นางสาววิพา พินธุโสภณ กรรมการบริษัทไทยฟ้า จํากัด 
39. นายพงษ์ชัย เศรษฐีวรรณ กรรมการบริษัทไทยฟ้า จํากัด 
40. นายโชคชัย เศรษฐีวรรณ กรรมการบริษัทไทยฟ้า จํากัด 
41. นายเขมทัต ธนโกเศศ

42. บริษัทพี.เอส.ซี.สตาร์ช โปรดักส์ จํากัด 
43. นางสาวอารยา กําปั่นแก้ว กรรมการบริษัทพี.เอส.ซี.สตาร์ช โปรดักส์ จํากัด 
44. นายสุมนต์ เสรีธรณกุล กรรมการบริษัทพี.เอส.ซี.สตาร์ช โปรดักส์ จํากัด 
45. นายสรัญ เสรีธรณกุล กรรมการบริษัทพี.เอส.ซี.สตาร์ช โปรดักส์ จํากัด 
46. นายสิรินทร์ เสรีธรณกุล กรรมการบริษัทพี.เอส.ซี.สตาร์ช โปรดักส์ จํากัด 
47. นายสราวุธ เสรีธรณกุล กรรมการบริษัทพี.เอส.ซี.สตาร์ช โปรดักส์ จํากัด
48. บริษัทเค.เอ็ม.ซี.อินเตอร์ไรซ์ (2002) จํากัด 
49. นายปกรณ์ ลีศิริกุล กรรมการบริษัทเค.เอ็ม.ซี.อินเตอร์ไรซ์ (2002) จํากัด 
50. นางวิจิตร ชาตะมีนา กรรมการบริษัทเค.เอ็ม.ซี.อินเตอร์ไรซ์ (2002) จํากัด 
51. นายมนต์ชัย ลีศิริกุล กรรมการบริษัทเค.เอ็ม.ซี.อินเตอร์ไรซ์ (2002) จํากัด 
52. นายสุรชัย หรือทัชชล ลีศิริกุล กรรมการบริษัทเค.เอ็ม.ซี.อินเตอร์ไรซ์ (2002) จํากัด 
53. นางสาวดารณีย์ ลีศิริกุล กรรมการบริษัทเค.เอ็ม.ซี.อินเตอร์ไรซ์ (2002) จํากัด 
54. นายไชยศิริ ลีศิริกุล กรรมการบริษัทเค.เอ็ม.ซี.อินเตอร์ไรซ์ (2002) จํากัด 
55. นางสาวทิพย์สุดา ลีศิริกุล กรรมการบริษัทเค.เอ็ม.ซี.อินเตอร์ไรซ์ (2002) จํากัด

56. บริษัทเอลัช (ประเทศไทย) จํากัด 
57. นายชู หมิง เซ็น กรรมการบริษัทเอลัช (ประเทศไทย) จํากัด 
58. นางสาวลิอุ ยุก หมิง ไอลีน กรรมการบริษัทเอลัช (ประเทศไทย) จํากัด 
59. นายชู ไว ลัน กรรมการบริษัทเอลัช (ประเทศไทย) จํากัด

60. นางสาวรัตนา แซ่เฮง กรรมการบริษัทสยามอินดิก้า จํากัด 
61. นางสาวเรืองวัน เลิศศลารักษ์ กรรมการบริษัทสยามอินดิก้า จํากัด 
62. นางสาวสุธิดา จันทะเอ กรรมการบริษัทสยามอินดิก้า จํากัด 
63. นายสมยศ คุณจักร 
64. นายกฤษณะ สุระมนต์ 
65. นายอภิชาติ จันทร์สกุลพร

66. นางสาวธันยพร จันทร์สกุลพร กรรมการบริษัทสิราลัย จํากัด

67. บริษัทข้าวไชยพร จํากัด 
68. นายไพบูลย์ ควรทรงธรรม กรรมการบริษัทข้าวไชยพร จํากัด 
69. นายสมชัย บุณยมานนท์ กรรมการบริษัทข้าวไชยพร จํากัด 
70. นายสมบัติ บุณยมานนท์ กรรมการบริษัทข้าวไชยพร จํากัด 
71. นางสาวอรพิน ควรทรงธรรม กรรมการบริษัทข้าวไชยพร จํากัด

72. บริษัทไชยพรไรซแอนด์ฟู้ดโปรดักส์ จํากัด 
73. นายไพบูลย์ ควรทรงธรรม กรรมการบริษัทไชยพรไรซแอนด์ฟู้ดโปรดักส์ จํากัด
74. นายเสริมศักดิ์ ควรทรงธรรม กรรมการบริษัทไชยพรไรซแอนด์ฟู้ดโปรดักส์ จํากัด 
75. นางสาวสุนิสา ควรทรงธรรม กรรมการบริษัทไชยพรไรซแอนด์ฟู้ดโปรดักส์ จํากัด 
76. นายวิโรจน์ ควรทรงธรรม กรรมการบริษัทไชยพรไรซแอนด์ฟู้ดโปรดักส์ จํากัด 
77. นายสมชัย บุณยมานนท์ กรรมการบริษัทไชยพรไรซแอนด์ฟู้ดโปรดักส์ จํากัด 
78. นางสุดี อุทัยแสงชัย กรรมการบริษัทไชยพรไรซแอนด์ฟู้ดโปรดักส์ จํากัด 
79. นายวีระ ควรทรงธรรม กรรมการบริษัทไชยพรไรซแอนด์ฟู้ดโปรดักส์ จํากัด

80. บริษัทเจียเม้ง จํากัด 
81. นางประพิศ มานะธัญญา กรรมการบริษัทเจียเม้ง จํากัด 
82. นางสาวประไพวัลย์ มานะธัญญา หรือเทียนขํา กรรมการบริษัทเจียเม้ง จํากัด 
83. นายโอฬาร มานะธัญญา กรรมการบริษัทเจียเม้ง จํากัด

84. บริษัทยิ่งวัฒนาทาปิโอก้า จํากัด 
85. นางสาวรัชนี วีระกุล กรรมการบริษัทยิ่งวัฒนาทาปิโอก้า จํากัด 
86. นางจุไรรัตน์ วีระกุล กรรมการบริษัทยิ่งวัฒนาทาปิโอก้า จํากัด 
87. นางสาวรุ่งรวี สง่าเขียว 
88. นายสมศักดิ์ พงษ์มณีรัตน์ 
89. นายสมเกียรติ์ พันธุ์นิธิทร์ 

เพิ่มเติม“..เรื่องนี้ มีบริษัทเอกชนเข้ามาเกี่ยวข้องเยอะมาก บางรายก็รับหน้าที่นำข้าวมาปรับปรุงต่อบ้าง เอาข้าวไปขายต่อบ้าง มีการเอาข้าวรัฐมาเร่ขายในราคาถูกบ้าง แต่ข้อเท็จจริงที่ชัดเจนคือข้าว ไม่ได้ถูกส่งออกไปต่างประเทศ แล้วจะมาเรียกว่า จีทูจีได้อย่างไร.. ” กลายเป็นประเด็นร้อนขึ้นมาทันที
http://www.isranews.org/isranews-scoop/item/28510-rice_28510.html 

เพิ่มเติม 
คนชอบถามว่า...... ""มันมีประเทศไหนในโลกมั้ยที่เปิดเผยเงินทุกบาททุกสตางค์(เอาแค่บางโครงการก็ยังดี)ในบัญชีให้ประชาชนที่อยากเช็คเข้าไปเช็คได้"""

ตอบ....ที่จริง ประทสไทยก็เช็คได้ครับ ถ้าโครงการนั้นเบิกจ่ายในงบประมาณแผ่นดิน 

เราสามารถไปดูได้ตั้งแต่การเบิกจ่ายที่ กรมบัญชีกลาง และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน รวมถึง เข้าชื่อ ขอดูข้อมูล ตาม พรบ.เปิดเผยข้อมูล

แต่โครงการ จำนำ ข้าว ไม่ใช่โครงการที่เบิกจ่ายเงินตาม ระเบียบ ครับ 

เงินที่ใช้ รับจำนำเป็นเงินของ ธกส. ณ วันนี้ นอกจากค่าเก็บรักษาข้าว และค่าดอกเบี้ย รัฐบาล ยังไม่ได้ใช้เงินจาก งบประมาณเลย 

นี่จึงเป็นที่มาของการไม่ยอมทำบัญชี อย่างละเอียด 

โครงการ 3.5 แสนล้าน 2 ล้านล้าน ก็จะดำเนินใกล้เคียงกัน คือไม่เข้าสู่ระบบการเงินของราชการ ครับ



#2 Bookmarks

Bookmarks

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 33,617 posts

ตอบ 10 เมษายน พ.ศ. 2557 - 23:42

อย่างที่คุณวิชาพูดเลย โครงการจำนำข้าวมีการวางแผนจะโกงมาตั้งแต่แรกแล้ว เริ่มจากปล่อยผีสยามอินดิก้า ซึ่งเป็นของเสี่ยเปี๊ยงคนสนิทไอ้แม้ว การเก็บรักษาความลับก็จะดีกว่าให้บริษัทค้าข้าวรายอื่น แล้วก็เอามาเป็นนายหน้ารับค้าข้าว กินส่วนต่าง การโกงนี้มันไม่ใช่ในส่วนของข้าราชการแล้ว แต่เป็นการโกงในส่วนของรัฐบาลเองโดยตรงเลย



#3 ปุถุชน

ปุถุชน

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 27,531 posts

ตอบ 11 เมษายน พ.ศ. 2557 - 00:20

สุดท้าย................. 
ประชาชนในฐานะผู้รับผิดชอบสูงสุดต่อรัฐบาล ต้องเรียนรู้สิ่งที่เกิดขึ้น ระบบโควต้าส่งออกในอดีต จนมาถึง
การขายข้าวโดยรัฐแต่เพียงผู้เดียว เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนผู้ทำธุรกิจค้าข้าวจริง ทำอย่างไรนโยบายแบบนี้จะหมดไป

ชาวนาเอง แม้จะได้ประโยชน์จากโครงการรับจำนำข้าว แต่ก็เห็นแล้วว่าเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ ไม่ครบตามวาระของรัฐบาลเสียด้วยซ้ำ
ตกลงนโยบายแบบไหนถึงดีต่อประเทศ

 

 

 

คุณชวน หลีกภัยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์...

 

เปิดการค้าข้าวเสรี ส่งออกเสรี ไม่มีโควต้าระยะแรก ภายหลังต้องเปลี่ยนเป็นโควต้าตามเดิม

เริ่มต้นคุณชวน หลีกภัยเป็นรัฐมนตรีพาณิชย์ เปิดการค้าข้าวเสรี ยกเลิกโควต้าส่งออกข้าว

พ่อค้าข้าว 16 ตระกูลใหญ่/ธนาคาร มีโควต้าค้าข้าวส่งออกทั้งหมด

ไม่พอใจ จึงแกล้งไม่ซื้อข้าวจากชาวนา ชะลอการส่งออก

ให้หนังสือพิมพ์ประโคมข่าวว่า การค้าข้าวเสรีทำให้ราคาข้าวราคาตก พ่อค้าต่างประเทศไม่ยอมซื้อข้าวจากไทย ฯลฯ....

ชาวนารวมหัวกันกดดันรัฐมนตรีพาณิชย์ว่าขายข้าวไม่ได้....

 

เนื่องจากพ่อค้าข้าว(เจ้าเก่า)ส่วนใหญ่เป็นบริษัทในเครือธนาคารไทยทั้งหมด

เมื่อมีการค้าข้าวเสรี ธนาคารไม่ให้'สินเขื่อ'แก่พ่อค้าส่งออกหน้าใหม่

พ่อค้าหน้าใหม่จึงต้องส่งออกด้วยเงินทุนของตนเอง หรือเงินนอกระบบ มีตลาดไม่มากนัก

ในที่สุดรัฐมนตรีพาณิชย์ ชวน หลีกภัยที่ซื่อสัตย์ ไม่ต้องการหากินจากโควต้าข้าว ต้องยอมแพ้ กลับไปใช้โควต้าข้าวอย่างเดิม...

 

....การเปิดการค้าเสรี ส่งออกเสรีเป็นวิธีการที่ดี เพราะ....

....พ่อค้าส่งออกไม่ได้เป็นบริษัทในเครือธนาคาร ซึ่งส่วนหนึ่งล้มละลายแล้ว...

....นักการเมืองกลุ่มใหม่ คนละกลุ่มทุนเก่า เปิดโอกาสให้พรรคพวกส่งออกค้าข้าวหน้าใหม่

 

....ธนาคารไทยและธนาคารต่างประเทศให้โอกาส ให้'สินเชื่อ'จำนวนมากแก่พ่อค้านอกกลุ่ม 16

....พ่อค้าส่งออกข้าวรายใหญ่จะมี'เส้นสาย'ผูกพันนักการเมืองกลุ่มใหม่ของตนเอง

....ไม่มีใครสามารถยึดโควต้าข้าวต่างประเทศได้ทั้งหมด....

 

วันนี้.....พฤติกรรมของรัฐบาลยิ่งลักษณ์กับโครงการจำนำข้าว คือการ'กินรวบ'ข้าวทั้งหมด

พ่อค้าที่ซื้อข้าวเพื่อขายในประเทศและส่งออกรายใหญ่ต้อง'จิ้มก้อง' แบ่งผลประโยชน์กับขี้ข้าของนักโทษหนีคุก.....


Edited by ปุถุชน, 11 เมษายน พ.ศ. 2557 - 00:23.

เคียงข้างลุงกำนัน ปฏิรูปการเมืองไทย กำจัดระบอบทักษิณ ขับไล่มวลหมู่ขี้ข้า วันที่ 26 พฤษภาคม 2557...





ผู้ใช้ 0 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 0 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน