ปลากัดลูกทุ่งไทย
ในกลุ่มปลาก่อหวอด
มีอยู่ด้วยกัน 4 species หรือ 4 ชนิด
ปลากัดภาคกลาง (Betta splendens) พบกันในพื้นที่ภาคกลางและภาคเหนือไปจนถึงประจวบคีรีขันธ์ และชนิดนี้เองที่เป็นต้นสายพันธุ์ของปลากัดทั้งหลายในปัจจุบัน
ปลากัดอีสาน (Betta smaragdina) ชื่อก็บ่งบอกถึงกิ่นกำเนิดอยู่แร้ว ลักษณะเกล็ดสวยงาม เกล็ดแบบนี้ นักเลี้ยงปลาเขาเรียกว่า "หนังงู" หรือ "เกล็ดงู" โดยเฉพาะบริเวณแก้มหรือแผ่นปิดเหงือกที่เป็นสีเขียว
ปลากัดภาคใต้ (Betta imbellis) คำว่า imbellis เป็นภาษาละติน มีความหมายว่า "สงบสันติ" ปลากัดชนิดนี้มีความดุร้ายก้าวร้าวน้อยที่สุด แต่ก็ไม่ใช่ว่ากัดไม่เป็นนะ มีจุดเด่น คือ สีเขียวมากกว่าชนิดอิื่น ๆ พบได้ตั้งแต่ประจวบฯลงไป และยังพบได้ที่กัมพูชาอีกตะหาก ซึ่งปลาที่พบในพื้นที่กัมพูชามีลำตัวสีดำอีกตะหาก
ปลากัดมหาชัย (Betta mahachai) เป็นชนิดที่เพิ่งประกาศล่าสุด แต่ในวงการเลี้ยงปลารู้จักกันมานานไม่รู้กี่ปีแร้ว จัดเป็น edemic species หรือสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น อย่างหนึ่ง เนื่องจากมีถิ่นกำเนิดและแพร่กระจายพันธุ์แคบมาก ๆ คือ จำกัดบริเวณแค่เขตบางบอนและบางขุนเทียนในพื้นที่ของ กทม. และเขตจังหวัดสมุทรสาคร หรือมหาชัยเท่านั้น จุดเด่นก็คือ สีลำตัวเข้ม แผ่นปิดเหงือกมีสีเขียวกว่าชนิดอื่น ๆ เห็นได้ชัดเจน
นอกจากนี้แร้ว ยังมีปลากัดอีกกลุ่มนึง ซึ่งไม่ได้ก่อหวอดเวลาวางไข่ ซึ่งไม่ขอพูดถึง เขาเรียกกันว่า ปลากัดอมไข่ ซึ่งเป็นปลากัดที่มีพฤติกรรมต่างไปจากพวกนี้ นั่นคือ เวลาวางไข่จะไม่ก่อหวอด แต่จะใช้ปากอมไข่ไว้จนกว่า่จะฟักเป็นตัว ปลาพวกนี้จะเป็นปลาที่ไม่มีพฤติกรรมก้าวร้าวเลย สามารถอยู่ด้วยกันเป็นฝูงได้ หลายชนิดพบได้ในป่าพรุ หรือลำธารที่เป็นน้ำตก หรือถิ่นที่อยู่เฉพาะ ปลาแบบนี้ก็มีผู้เลี้ยงอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว บางชนิดก็มีรูปร่างหรือสีสันสวยงาม แปลกตาไปกว่าปลากัดแบบที่คุ้น ๆ กันอยู่เยอะเรยทีเดียว
ปัจจุบัน ปลากัดป่าทุกชนิดอยู่ในสภาวะที่น่าเป็นห่วงทั้งนั้น เนื่องจากเป็นปลาขนาดเล็ก และอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำนิ่งที่ปัจจุบันก็ถูกปนเปื้อนด้วยสารเคมี และมลภาวะต่าง ๆ ทั้งยังโดนการปนเปื้อนทางพันธุกรรมอีก จากฝีมือมนุษย์ที่ผสมพันธุ์ปลากัดต่าง ๆ มาอย่างยาวนาน จนบางทีเป็นปลาลูกผสม ลูกสังกะสี อะไรไม่รู้เลอะไปหมด จนหาปลาที่เป็น wild type หรือสายพันธุ์แท้ ๆ ยากขึ้นเต็มที