ไม่ได้จะมาทับถมหรือถากถางใครนะครับ เพราะเรื่องอุบัติเหตุคือเรื่องที่น่าเศร้า แต่มันน่าเศร้ากว่าที่ส่วนราชการยังทำงานแบบเดิมๆ ป้องกันอุบัติเหตุกันแต่ปาก ไม่ได้เรียนรู้และเตรียมพร้อมล่วงหน้ากันเลย ปีนึงก็มาสรุปกันที จบแล้วก็จบเลย ยิ่งตัวนายก มันรู้บ้างหรือเปล่าว่าจังหวัดบ้านมันน่ะ เกิดเหตุสูงสุด มันน่าจะจับ รมต อธิบดีทั้งหลายไปลองขับรถไปต่างจังหวัดช่วงสงกรานต์ดูบ้าง จะได้รู้ซะทีว่าปัญหามันต้องแก้ยังไง เราจะไม่ต้องมานับศพคนตายกันเหมือนเทศกาลประจำปี
เมื่อเวลา 10.30 น. ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย ประธานปิดศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2557 กล่าวว่า กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้รวบรวมสถิติอุบัติเหตุทางถนนประจำวันที่17 เม.ย.57 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการรณรงค์ “ร่วมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยสงกรานต์ทั่วไทยไร้อุบัติเหตุ” เกิดอุบัติเหตุ 238 ครั้ง (ปี2556 เกิด 247 ครั้ง) ลดลง 9 ครั้ง ร้อยละ 3.64 ผู้เสียชีวิต 43 ราย(ปี2556 เสียชีวิต 37 ราย) เพิ่มขึ้น 6 ราย ร้อยละ 16.22 ผู้บาดเจ็บ 299 คน (ปี 2556 บาดเจ็บ 257 คน) เพิ่มขึ้น 42 คนร้อยละ 16.34 สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุดได้แก่ ขับรถเร็วเกินกำหนด ร้อยละ 25.21 เมาแล้วขับ ร้อยละ 21.43 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 80.40 รถปิคอัพ ร้อยละ 8.40พฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ ไม่สวมหมวกนิรภัย ร้อยละ 21.64 ส่วนใหญ่เกิดในเส้นทางตรงร้อยละ 60.08 บนถนนทางหลวงแผ่นดิน ร้อยละ 42.86 ถนนอบต./หมู่บ้าน ร้อยละ 39.92 ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดได้แก่ ช่วงเวลา 12.01 – 16.00 น. ร้อยละ 26.05 ผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงาน (อายุ 20 – 49 ปี) ร้อยละ 44.44 ทั้งนี้ ได้จัดตั้งจุดตรวจหลัก2,275 จุด เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 67,002 คนเรียกตรวจยานพาหนะ 597,820 คัน มีผู้ถูกดำเนินคดีรวม 90,182 ราย จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดได้แก่ นครศรีธรรมราช ตรัง และราชบุรี (จังหวัดละ 12 ครั้ง)จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ 4 รายจังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ กาญจนบุรี 30 คนนายจารุพงศ์ กล่าวสรุปอุบัติเหตุทางถนนช่วงรณรงค์“ร่วมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยสงกรานต์ทั่วไทยไร้อุบัติเหตุ” รวม 7 วัน (วันที่ 11 – 17 เมษายน 2557) เกิดอุบัติเหตุรวม 2,992 ครั้ง (ปี2556 เกิด 2,828 ครั้ง) เพิ่มขึ้น 164 ครั้ง ร้อยละ 5.80 ผู้เสียชีวิตรวม 322 ราย (ปี 2556 เสียชีวิต 323 ราย) ลดลง 1 ราย ร้อยละ0.31 ผู้บาดเจ็บรวม 3,225 คน (ปี2556 บาดเจ็บ 3,040 คน ) เพิ่มขึ้น 185 คน ร้อยละ 6.09 สาเหตุ ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุดได้แก่ เมาแล้วขับ ร้อยละ 36.76 ขับรถเร็วเกินกำหนด ร้อยละ 24.47 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 79.14 รถปิคอัพ ร้อยละ 11.39พฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ ไม่สวมหมวกนิรภัยร้อยละ 21.99ส่วนใหญ่เกิด ในเส้นทางตรงร้อยละ 62.60 ถนน อบต./หมู่บ้าน ร้อยละ 38.74 บนถนนทางหลวงแผ่นดิน ร้อยละ 36.83 ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดได้แก่ ช่วงเวลา 16.01 – 20.00 น. ร้อยละ 32.95ผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงาน ร้อยละ 52.13 ทั้งนี้จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ 116ครั้ง
Edited by เรื่อยๆเอื่อยๆ, 19 เมษายน พ.ศ. 2557 - 00:59.