Jump to content


Photo
- - - - -

สัมภาษณ์ อภิสิทธิ์ 24 เม.ย.2557

อภิสิทธิ์

  • Please log in to reply
2 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 ธีรเดชน้อย

ธีรเดชน้อย

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,659 posts

ตอบ 24 เมษายน พ.ศ. 2557 - 17:15

(24 เม.ย. 57) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์รายการฟ้าวันใหม่ ทาง Blue Sky Channel ว่าต่อไปนี้ตนก็จะไม่อยู่เฉย โดยจะทำข้อเสนอ และพยายามหาแนวทางที่จะทำให้หลายฝ่ายมายอมรับว่าบ้านเมืองควรจะเดินต่อไปอย่างไร ในช่วงอาทิตย์ข้างหน้าก็จะทำตรงนี้เป็นการเฉพาะ 

 

กรณีพรบ.นิรโทษกรรม

 

ประท้วงนี้ก็คือการต่อต้านกฎหมายนิรโทษกรรม ซึ่งแน่นอนในประเด็นของกฎหมายนิรโทษกรรมนั้นเราก็คิดว่ามันก็น่าจะมีข้อยุติ หรือมีจุดจบที่ไม่นานนัก แต่ว่าถึงวันนี้ก็ยังไม่จบ คือความหมายก็คือว่ามันน่าจะจบตรงที่ว่า คงไม่มีสภาที่ไปยืนยันแล้ว แต่อายุของกฎหมายฉบับนี้ก็ 6 เดือน หลังจากที่รัฐบาล บอกว่า สว. ให้คว่ำ คือใช้คำว่า คว่ำ แต่จริงๆ ก็คือแขวนไว้ เพราะฉะนั้นก็น่าจะเดือน พ.ค. นี้ ที่กฎหมายนิรโทษกรรมจะตายจริงๆ ออกไปจากระบบ” 

 

หากมีสภาใหม่ขึ้นมา กฎหมายนี้ก็ไม่สามารถจะหยิบยกขึ้นมาพิจารณาได้อีกใช่หรือไม่ 

“ครับ ต้อง (หยิบขึ้นมาพิจารณา) ก่อนเดือน พ.ค. นี้ครับ” 

หากจะต้องทำก็ต้องเสนอกฎหมายเข้ามาใหม่ใช่หรือไม่ 
“ใช่ครับ” 

 

กรณียิ่งลักษณ์

 

แต่เรื่องข้าวนั้นผมก็ดูแล้วเห็นมีความพยายามอย่างมากในการที่จะเพิ่มประเด็นขึ้นมา และตอนนี้ก็มามุ่งในเรื่องประเด็นข้าวหาย ซึ่งก็ขอเรียนว่าตอนนี้ที่พยายามสร้างกระแสขึ้นมาบอก ข้าวไม่ได้หายนะ ใช้คำว่า เบิกเกินแล้วตอนนี้ได้คืนแล้ว ผมก็เข้าใจว่าไม่มีอะไรหรอกครับ มันหายจริงคือเอาออกไปหาประโยชน์ แล้วตอนนี้ก็เวียนกลับมาคืน ก็แค่นั้นนะครับ ก็เดี๋ยว ปปช. ก็คงต้องใช้ดุลพินิจในการพิจารณาเรื่องนี้ต่อไป” 

“เหมือนเงินคุณวิทเยนทร์หาย ไม่รู้เบิกเกินไปหรือเปล่า หรืออะไร เสร็จแล้ววันดีคืนดีก็เอามาคืน ก็บอกเปล่าหรอก เบิกเกินออกไป แล้วเอามาคืน ไม่ได้หาย อันนี้ ปปช. ก็ต้องพิจารณาครับ” 

 

กรณีเปิดประชุมวุฒิสภา

 

ในฝ่ายนิติบัญญัติ วานนี้มีการประชุมซึ่งประกอบด้วย เลขาธิการคณะรัฐมนตรี เลขาธิการวุฒิสภา  เลขาธิการสภาผู้แทนราษฏร และผู้แทนจากสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา หารือกรณีที่วุฒิสภา จะขอให้รัฐบาลตราพระราชกฤษฎีกาเพื่อเปิดประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา 

“อันนี้ผมเรียนว่า อันนี้ผมไม่เข้าใจจริงๆ เพราะว่าผมไม่ทราบว่ามันมีปัญหาข้อขัดแย้งอะไรกันมากมาย เพราะประเด็นง่ายๆ มีอย่างนี้ครับ อันที่ 1 รัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติที่เขียนไว้ชัดว่า วุฒิสภาทำอะไรได้ในช่วงนี้ แล้วก็สิ่งที่วุฒิสภาต้องการเปิดประชุมที่จะทำ ไม่ว่าจะเป็นการไปแต่งตั้ง ปปช. หรือว่าจะไปพิจารณาเรื่องถอดถอนนั้น ล้วนแล้วแต่อยู่ในบทบัญญัติที่รัฐธรรมนูญระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่า วุฒิสภาสามารถทำได้ในระหว่างที่ไม่มีสภาผู้แทนราษฎร 

ประเด็นที่ 2 การดำเนินการเปิดประชุมสมัยวิสามัญนี้ บทหลักคือเป็นอำนาจที่รัฐบาลสามารถทำได้อยู่แล้ว ดังนั้นเมื่อรัฐบาลเห็นว่ามีงานของวุฒิสภาที่จะต้องทำ และตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญก็คือให้ทำโดยเร็วด้วย รัฐบาลก็เปิดสภาให้วุฒิสภาก็เท่านั้นเองครับ แต่พยายามมาหยิบเรื่องเล็กๆ ว่า คนที่จะต้องทำหนังสือไปอะไร คือมันไม่ใช่ประเด็นนะครับ” 

 

คุณอภิสิทธิ์คิดว่าเหตุใดรัฐบาลจึงยื้อไม่ให้มีการเปิดประชุมวุฒิสภา 

“ก็คงไม่อยากให้ประชุมในประเด็นที่เขาจะประชุมกัน ไม่อยากให้แต่งตั้ง ไม่อยากให้มีการพิจารณาเรื่องถอดถอนมั๊งครับ ก็ต้องเป็นอย่างนั้น คือผมมองไม่เห็นเหตุผลจริงๆ นะครับ แล้วก็อยากจะย้ำนะครับว่า เมื่อปี 2549 ซึ่งแม้จะเป็นรัฐธรรมนูญปี 40 แต่บทบัญญัติก็เหมือนกัน ก็มีการเปิดสมัยประชุมวิสามัญ และคนรับสนองพระบรมราชโองการก็คือนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ก็เท่านั้นเอง” 

 

เหตุที่ยื้อเป็นไปได้หรือไม่ว่า หากนายกฯ ต้องพ้นจากตำแหน่ง ก็จะทำให้ไม่มีการประชุมวุฒิ ทำหน้าที่แทน สส. เพื่อเลือกนายกฯ คนใหม่ 

“ประเด็นเรื่องวุฒิ ทำหน้าที่แทน สส. ขณะนี้มันไม่มีนะครับ เพราะว่าเรากำลังพูดถึงบทบาทของวุฒิสภาที่เขามีอำนาจตามรัฐธรรมนูญกำหนดเอาไว้ในระหว่างการยุบสภา มันไม่เกี่ยวกันนะครับ” 

เข้าข่ายผลประโยชน์ทับซ้อน ผลประโยชน์ขัดกัน หรือผิดมาตรา 157 หรือไม่ 
“ผมคิดว่าถ้าเกิดยื้อกันไปจนเป็นระยะเวลาที่เห็นได้ชัดว่ามันน่าจะมีความไม่สุจริต ก็คงเป็นประเด็นขึ้นมาอีกแล้วครับ” 

ในจำนวนผู้ที่ถูกถอดถอน ก็จะมี น.ส.ยิ่งลักษณ์ รวมอยู่ด้วย หากถูกชี้มูลโดยปปช. 
“ถูกต้องครับ ก็จะเป็นประเด็นความไม่สุจริตขึ้นมาอีกครับ”

 

กรณีไม่เข้าประชุมพรรคการเมืองกับกกต.

 

เรื่องที่คุณอภิสิทธิ์ไม่ได้ไปร่วมประชุมกับ กกต. นั้น ร.ต.อ.เฉลิมบอกว่าเป็นเรื่องที่จินตนาการกันไปเอง หากจะฆ่า เดินเข้าไปใช้ปืนยิงกระบาลทีเดียว วิ่งออกมาก็จบ 

“คุณเฉลิมรู้ใช่มั้ย แล้วผมเคยพูดเรื่องระเบิดนะ ผมเคยพูดเรื่องระเบิดมั้ย แล้วคุณเฉลิมรู้ได้อย่างไร ผมก็สนใจเหมือนกันนะ เพราะว่าเครือข่ายที่มีข้อมูลเรื่องพวกนี้มา มันก็พรรคพวกคุณเฉลิมไม่ใช่เหรอ” 

เข้าใจว่ามีการพูดโดยใช้คำว่าระเบิดพลีชีพ แต่ ร.ต.อ.เฉลิมบอกว่าไม่ใช่ 
“ผมไม่แน่ใจนะ ผมเข้าใจว่าใช้คำว่าพลีชีพครับ คำว่าพลีชีพในที่นี้หมายถึงว่า เจ้าตัวคนทำนั้นอาจจะยอมถูกจับ ยอมถูกเล่นงาน” 

คอลัมน์แม่ลูกจันทร์วันนี้ก็ผสมโรงเรื่องนี้ด้วย 
“ผมก็ไม่อยากจะไปต่อล้อต่อเถียงอะไรกับใครหรอกครับ ผมรู้ว่าข้อเท็จจริงคืออะไร และผมก็ไม่มีเหตุผลจะต้องไปกลัวหรอก ปัดโถ คำถามแม่ลูกจันทร์ 2 คำถามตอบก็ง่าย ผมไปผมก็ยืนยันความเห็นผม ไม่ได้มีปัญหาอะไร เพราะความเห็นผมเป็นความเห็นที่สุจริต และเป็นความเห็นที่อยู่บนผลประโยชน์ของส่วนรวมก็เท่านั้นเอง ก็ลำบากครับ คนอย่างแม่ลูกจันทร์ผมก็ไม่ทราบนะครับ ถ้าคิดว่าปัญหาเรื่องความปลอดภัยไม่มี ก็แสดงว่ามี 2 อย่าง 1. ไม่รู้ไปอยู่ที่ไหนว่า การกระทำความรุนแรงต่อตัวผมที่เกิดขึ้นมาในรอบกี่ปีที่ผ่านมานี้มีกี่เรื่องแล้ว 2. ความรุนแรงที่เกิดขึ้นโดยกลุ่มที่มีการออกข่าวในเรื่องนี้มีมากี่เรื่องแล้ว มันก็ชัดเจนอยู่ 

ผมก็บอกแล้วว่า ข้อมูลนี้ใครจะไปยืนยัน 100% ผมก็ถึงได้ปรึกษากับ กกต. เพราะเขาเป็นคนจัดว่า ท่านเห็นข่าวอย่างนี้มั้ย อะไรมั้ย เขาก็บอกเขาก็เห็น เขาก็ทราบมา ไม่งั้นเขาจะไม่ระดมเจ้าหน้าที่หรืออะไรมา แต่ว่าผมไม่ได้เดือดร้อนอะไรหรอกครับ เพราะว่าผมรู้ว่าข้อเท็จจริงคืออะไร แล้วมันก็ไม่มีประเด็นนะครับ ผมก็ให้ความเห็นของผมไป ผมยังไม่ทราบเลย มีคนบอกผม หัวหน้าพรรคเพื่อไทยก็ไม่ได้ไปไม่ใช่เหรอ” 

กลัวระเบิดพลีชีพด้วยหรือเปล่า 
“เดิมจะนั่งติดกับผมไม่ใช่เหรอ” 

ถ้ามองว่าในบทบาทของผอ. ศอ.รส. การที่พูดมา 2 คนติดกัน 
“โอย ไม่ต้องไปพูดถึง ศอ.รส. แล้ว ไม่ได้ทำบทบาทในเรื่องความมั่นคงเลย ดูการประชุมแต่ละวันที่เขาออกมาแถลง แล้วมีรายงานที่ออกมาว่า พูดอะไรกันในที่ประชุม ไม่ได้เป็นเรื่องของการดูแลความมั่นคงมานานแล้วครับ เป็นเรื่องการเมืองล้วนๆ แล้วก็ตรงนี้ก็จะเป็นปัญหาต่อไป ผมก็เตือนด้วยว่า ถ้ามีเลือกตั้ง แล้วยังใช้ ศอ.รส. ในบทบาทอย่างนี้ ผมว่าก็น่าจะผิดกฎหมายเลือกตั้งนะครับ” 

 

สิ่งที่คุณอภิสิทธิ์พบเจอความรุนแรงมาตลอดหลายปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการถูกข่มขู่ การที่บ้านถูกยิง 

“คือตั้งแต่ตอนเป็นนายกรัฐมนตรีก็เห็นชัดอยู่แล้วว่ามีความพยายามที่จะเอาชีวิตผม ตั้งกี่ครั้ง ผมก็ไม่ได้ว่าอะไรนะครับ ผมก็พยายามที่จะไม่มาให้เป็นปัญหา อุปสรรคในการทำงาน แต่ว่าในสถานการณ์ของเมื่อวานซืน บังเอิญคนจัด กับทางผม ปรึกษากันแล้วก็บอกว่า มันมีหลายเรื่องซึ่งมันไม่อยู่ในความควบคุมของพวกเราเอง ผมก็ถามว่า ถ้าอย่างนั้นอนุญาตให้ เหมือนกับฝ่ายดูแลความปลอดภัยที่ทางพวกผมจะจัดกันไปกันเองเข้าไปได้มั้ย ก็เข้าไม่ได้ แล้วก็ถ้าถามว่า ทำไมมีบุคคลหลายคนซึ่งไม่ควรจะอยู่ในห้องประชุมนั้นเข้าไปได้ เมื่อวานนี้ผมก็ยังสอบถาม กกต. ไปเหมือนกัน เขาบอกว่าเขาก็จะไปตรวจสอบ” 

 

กรณีภาษี VAT 10%

 

วานนี้มีข่าวว่า นายกิตติรัตน์ จะปรับภาษีมูลค่าเพิ่มเป็น 10% 

“ผมเข้าใจว่าคุณกิตติรัตน์พยายามจะบอกว่า คือจะทำความเข้าใจอย่างนี้ก่อนนะครับ มันมีมาตรการหลายมาตรการของรัฐบาลซึ่งบางมาตรการก็เริ่มมาตั้งแต่รัฐบาลก่อนๆ โน้น มาจนถึงบางมาตรการของรัฐบาลชุดนี้ ที่เป็นมาตรการที่ทางเทคนิคทางกฎหมายนั้นเป็นมาตรการชั่วคราว ยกตัวอย่างอะไรครับ ภาษีน้ำมัน มีการไม่เก็บภาษีน้ำมันดีเซล หรือเก็บในอัตราที่เรียกว่าเกือบจะเป็นศูนย์ เพื่อลดราคาน้ำมันดีเซล ตั้งแต่สมัยรัฐบาลผม (เพื่อตรึงราคาไว้ที่ 30 บาท) แต่มันไม่ใช่มาตรการถาวร ความหมายคือมันต้องมีการต่ออายุอยู่เป็นระยะๆ เพราะฉะนั้นพออายุหมดปั๊บ รัฐบาลถ้าไม่ต่อ มันก็จะกลับไปสู่อัตราที่สูง มีเรื่องแบบนี้อีกหลายเรื่องครับ เช่นมาตรการซึ่งเมื่อวาน หรือวันก่อนที่รัฐบาลก็เพิ่งต่ออายุไป เช่น รถไฟฟรี รถเมล์ฟรี ที่มีการต่ออายุกันเป็นระยะๆ ว่าให้อีกกี่เดือนๆ พอหมดอายุ ถ้าไม่มีมติคณะรัฐมนตรีใหม่ ก็ต้องกลับไปเก็บค่าโดยสาร 

ทีนี้กรณีของภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมไปถึงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็เหมือนกัน ก็คือภาษีมูลค่าเพิ่ม อัตราที่แท้จริงของมันคือร้อยละ 10 แต่มีการลดเป็นการชั่วคราว ซึ่งทำมาตั้งแต่โน้น ต้มยำกุ้งโน้นครับ มาเหลือ 7 แต่จะมีอายุอยู่ บังเอิญจะมาครบอายุตอนปลายปีนี้ เพราะฉะนั้นถ้าไม่มีการต่อ มันก็จะกลับขึ้นที่ 10% 

ทีนี้รัฐบาลก็เลยออกมาพูดว่า นี่ไง ต้องรีบหารัฐบาลที่มีอำนาจเต็มเข้ามา จะได้มาทำให้มันลดต่อได้ ก็นี่ไงครับ ผมกำลังจะบอกว่า แล้วทำไมทีรถเมล์ รถไฟ มันต่อได้ล่ะ ทำไมทีเรื่องภาษีน้ำมัน มันต่อได้ล่ะ เพราะฉะนั้นอันนี้ก็คงต้องพูดกันให้ชัดทั้งในเรื่องข้อกฎหมาย ส่วนประเด็นว่าสมควรจะขึ้นจาก 7 เป็น 10 หรือไม่นั้น ก็รู้สึกคุณกิตติรัตน์ กับรัฐบาลนี้เคยพยายามขยับๆ อยู่เหมือนกันนะ เท่าที่ผมจำได้” 

“1. ทำไมพอมาถึงมาตรการนี้มันเกิดต่ออายุไม่ได้ ทำไมมาตรการอื่นมันต่อได้ ข้อที่ 2 ตกลงคุณกิตติรัตน์เองจะขึ้นหรือเปล่า ถ้าคุณกิตติรัตน์จะขึ้นอยู่แล้ว จะไปเดือดร้อนทำไม” 

เรื่องนี้เป็นกฎหมายหรือไม่ 
“คือย่างนี้ครับ ผมเข้าใจว่าน่าจะอยู่ในรูปของกฎหมายของฝ่ายบริหาร ที่ออกได้ตามประมวลรัษฎากร หรือกฎหมายภาษีหลัก 

ต้องไปถามคุณกิตติรัตน์ 1. ถ้าคุณจะขึ้นอยู่แล้ว แล้วคุณเดือดร้อนหรือเปล่า ไม่ใช่คุณตั้งใจจะขึ้นอยู่แล้ว ก็เลยบอกที่ขึ้นนี้เพราะว่ามันไม่มีอำนาจจะต่ออายุ ไม่ได้นะ ต้องพูดความจริงกับประชาชน” 

 

http://www.democrat....7&SECTION_ID=29

 


" จุดเริ่มของการรัฐประหาร 22 พ.ค. 2557 หลังจากรัฐบาลเพื่อไทยได้บริหารประเทศล้มเหลวมาตลอด 2 ปีเศษ มีการทุจริตคอรัปชั่นมากมาย มีการนำพรบ.นิรโทษกรรมมาอนุมัติผ่านสภาฯเพื่อช่วยเหลือ น.ช. ทักษิณ ทำให้มวลมหาประชาชนลุกขึ้นประท้วงต่อต้าน แม้จนกระทั่ง ศาลรัฐธรรมนูญและปปช. ได้ตัดสินและชี้มูลความผิดจนต้องพ้นออกจากตำแหน่งแล้วก็ตาม ทำให้ประเทศชาติต้องหยุดนิ่ง สุดท้ายเมื่อ พลเอก ประยุทธ ผบ.ทบ.ได้เรียกทุกฝ่ายเข้ามาคุยเพื่อหาทางออกแล้ว โดยขอให้ ครม.ที่ยังคงเหลือลาออกเพื่อตั้งนายกฯเพื่อการปฎิรูปประเทศ แต่ไร้ซึ่งการตอบสนองและการเสียสละ ทำให้พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา จำเป็นต้องประกาศยึดอำนาจ   "

 

 


#2 หงส์เฒ่าเสาร์ธรรม

หงส์เฒ่าเสาร์ธรรม

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,408 posts

ตอบ 24 เมษายน พ.ศ. 2557 - 22:43

"อภิสิทธิ์" แถลงจุดยืน ปชป.ถึงทางออก ปท.ผ่านโซเชียลฯ


จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ ... ศีลธรรม เป็นกรอบรักษาจินตนาการให้ดำรงอยู่ด้วยความดีงาม... -_- 


#3 vee

vee

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 455 posts

ตอบ 25 เมษายน พ.ศ. 2557 - 13:35

จากวิดีโอ...
สุเทพ-ยิ่งลักษณ์ คู่ขัดแย้ง?

ใช่เหรอ?

 

ชุมนุมก็ไม่ใช่ทางออก

คำตัดสินศาลก็ไม่ใช่ทางออก

รัฐประหารก็ไม่ใช่ทางออก

เอ้าเฮ้ยสุเทพเลิกชุมนุม! มาร์คบอกให้ไปเจรจาว่ะ!!


Edited by vee, 25 เมษายน พ.ศ. 2557 - 13:39.





ผู้ใช้ 0 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 0 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน