ที่ประชุม ป.ป.ช. มีมติถอดถอนส.ว. 36 ราย และยกคำร้อง 14 ราย โดยแบ่งเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มแรก 3 ราย คือผู้ร่วมลงลายมือชื่อเสนอญัตติแก้ไขเพิ่มเติมใรัฐธรรมนูญที่มา ส.ว. แต่ไม่ได้ลงมติในวาระที่ 1 ,2 และ 3 โดย ป.ป.ช. มีมติเอกฉันท์ว่า ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์ขัดกับรัฐธรรมนูญ จึงให้ข้อหาตกไป ส่วนกลุ่มที่ 2 จำนวน 2 ราย ได้ร่วมลงลายมือชื่อเสนอญัตติ และไม่ได้พิจารณาลงมติในวาระที่ 1 และ 2 แต่ลงมติเห็นชอบในวาระที่ 3 กลุ่มนี้มีมติเสียงข้างมากข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่มีพฤติการณ์ขัดกับรัฐธรรมนูญ จึงให้ข้อหาตกไป
กลุ่มที่ 3 จำนวน 22 รายที่ได้ร่วมลงชื่อเสนอญัตติแก้ไข และลงมติในทั้งสามวาระ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ ว่าการกระทำดังกล่าวถือว่ามีพฤติการณ์ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตรา 291 (1) วรรคหนึ่ง
กลุ่มที่ 4 จำนวน 13 ราย ป.ป.ช. มีมติเสียงข้างมากเห็นว่าการกระทำขอผู้ถูกกล่าวหาที่ได้ลงชื่อเสนอญัตติ และ ได้พิจารณาลงมติในวาระที่ 1 และ วาระที่ 3 โดยไม่ได้เห็นชอบในวาระที่ 2 ถือว่าการกระทำดังกล่าวถือว่าส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตรา 291 (1) วรรคหนึ่ง
กลุ่มที่ 5 จำนวน 9 ราย ป.ป.ช. มีมติ เสียงข้างมากเห็นว่า การกระทำของผู้ถูกกล่าวหา ซึ่งได้่ร่วมลงชื่อเสนอญัตติ และได้พิจารณาเฉพาะวาระที่ 1 และไม่ได้ลงในวาระที่ 2 และ 3 ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่มีพฤติการณ์ขัดกับรัฐธรรมนูญ จึงให้ข้อหาตกไป
และกลุ่มที่ 6 จำนวน 1 ราย ซึ่งได้ลงชื่อเสนอญัตติ และได้ลงมติในวาระที่ 2 แต่ไม่ได้ลงมติเห็นชอบ ในวาระที่ 3 การกระทำดังกล่าวถือว่าเป็นพฤติกรรมที่ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตรา 291 (1) วรรคหนึ่ง แล้ว โดยมีมติเอกฉันท์
http://www.bangkokbi...มาของ-ส.ว..html