สิ่งที่คุณยิ่งลักษณ์ไม่เคยมี
คนเป็นนายกรัฐมนตรี ต้องมีหลักการธรรมภิบาลในการปกครอง บทความนี้ตั้งใจไถ่ถามถึงหลักการธรรมาภิบาลจากนายกรัฐมนตรี ที่กลายเป็นอดีตไปแล้ว คือ คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
2 ปี 9 เดือน 2 วัน คือช่วงระยะเวลาของการบริหารงานประเทศภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรก
49 วันที่สื่อประกอบสร้างความจริง ความหมาย และภาพลักษณ์โดยมีสื่อยักษ์ใหญ่โอบอุ้มคุ้มครองเธอจนได้เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีได้
โครงการประชานิยมต่างๆ นำพาเธอเข้ามา และโครงการประชานิยมเหล่านั้นนั่นเองที่เป็นภาพสะท้อนของความไม่มีประสิทธิภาพของการจัดการ
ใครที่ได้ยินเสียงคำเธอกล่าวลาเมื่อวาน หลังจากถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามีความผิดในการแต่งตั้งโยกย้ายคุณถวิล เปลี่ยนศรีอย่างไม่เป็นธรรม
แถมยังพบพฤติกรรมฉ้อฉล ปลอมแปลงเอกสารเพื่อล่อหลอกศาล
วิชามารเอาตัวรอดเช่นนี้ ถือว่าเป็นหนทางแนวทางประชาธิปไตยกระนั้นหรือ?
น่าอนาถนักกับสิ่งที่เธอกล่าวเพื่ออำลา "ยืนยันว่าไม่ได้ทำผิด ไม่ได้เป็นคนรับผิดชอบ แต่ได้มอบหมายให้ผุ้อื่นทำแทน" และที่ผ่านมา ยึดมั่นแนวทางผลประโยชน์ของประเทศ ประชาธิปไตย และขอยืนเคียงข้างประชาชน
นี่คือ "10 สิ่งที่ คุณยิ่งลักษณ์ไม่มี - ในฐานะนายกรัฐมนตรี" - บุคคลสาธารณะที่เป็นผู้นำประเทศไทย ที่สมควรถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้อย่างเป็นธรรม
......
1. ไม่มีความรับผิดรับชอบ :
นายกรัฐมนตรีคนนี้ ไม่เคยแสดงออกต่อการรับผิดชอบต่อความฉ้อฉล คอร์รัปชั่นใดๆ ในโครงการของรัฐเลย ทั้งโครงการจำนำข้าว โครงการบริหารจัดการน้ำ หรือการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม หรือ โครงการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานภายใต้รัฐบาลเลย
กลับกันเธอยังคิดว่า เธอถูกในวิธีการทำงาน ถูกในวิธีการรับผิดชอบ ถูกในวิธีการแก้ปัญหา และถูกที่เธอคือนายกรัฐมนตรี
เธอไม่เคยแก้ปัญหาด้วยวิธีการที่ถูกต้องตามแนวทาง ครรลองประชาธิปไตยตามที่เธอกล่าวอ้างเลย
2. ไม่ยอมรับการถูกตรวจสอบ :
แม้เธอจะถูกฟ้องร้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม คดีความศาลต่างๆ ทยอยเข้ามาตามลำดับกรรมเวรที่เธอก่อในฐานะนายกรัฐมนตรี
การไปศาล ไปชี้แจง หลายๆ ครั้งก้มีการเลื่อน หรือให้ทนายความไปยื่นคำร้องแทน น้อยครั้งนักที่เธอรับว่าเรื่องต่างๆ จะได้รับการตรวจสอบ
เธอพูดแต่ว่า "ไม่มี ไม่รู้ ไม่มา ไม่หนี ไม่ทราบ" ซึ่งนั่นกลายมาเป้นคำพูดที่แสดงถึงภาวะความเป็นผู้นำประเภทลอยตัวและปฏิเสธการถูกตรวจสอบจากกลไกอื่นๆในระบบการบริหารงาน
ยังมินับว่า เธอมิได้สำนึกว่า "อำนาจของรัฐสภา ตุลาการ ยังมีความเสมอเหมือนทัดเทียมอำนาจในการบริหาร" จึงแสดงให้เห็นออกอยู่บ่อยๆ จากการให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนว่า "เธอไม่เคยยอมรับว่าจะถูกตรวจสอบได้"
3. ไม่มีสติปัญญา :
ตลอดระยะเวลาการบริหารงานของเธอ , เคยมีครั้งหนึ่งครั้งใดหรือไม่ที่เธอได้แสดลงตนแสดงตัวต่อสาธารณะในมิติเชิงสติปัญญาที่น่าชื่นชม, เอาล่ะ ผมคงไม่เคยไปนั่งร่วมการประชุมทำงานกับเธอในคณะรัฐมนตรี
จึ่งอาจไม่ยุติธรรมที่จะตัดสินเธอจากการทำงาน
แต่ ไหนล่ะคือ การแสดงภาวะการใช้สติปัญญาในการแก้ไขปัญหาที่มีรากฐานจากสติปัญญา ความรู้ องค์ความรู้ที่เธอร่ำเรียนหรือมีประสบการณ์มา
กลับกัน การตัดสินใจแก้ปัญหาของเธอนั้น สะท้อนมาจากผู้ใกล้ชิด และมาจากแง่มุมผลประโยชน์ทางการเมืองมากกว่าผลประโยชน์ของชาติ
4. ไม่โปร่งใส :
เคยมีอะไรที่ตรงไปตรงมาในการพิจารณาคดีความเฉพาะที่คุณยิ่งลักษณ์เกี่ยวข้องหรือไม่ คดีความที่ป.ป.ช. มากมายรอเข้าตรวจสอบ และการแจ้งบัญชีสินทรัพย์ที่ยังคงเลื่อมลับทับซ้อนไม่มีความโปร่งใส ยังมินับว่า ก่อนหน้านี้เธอมีสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับคดีโอนหุ้น ซุกหุ้นของคุณทักษิณในสมัยก่อนหอย่างไร
หากเธอหลุดจากตำแหน่งแล้ว คงมีอีกหลายๆ คดีที่เข้าสู่กระบวนการตรวจสอบอีกมากมาย
ผู้นำประเทศควรมีความสุจริตโปร่งใส เพราะผุ้คนจะได้เชื่อถือและนำพาว่าเธอ/เขาจะเข้ามาบริหารประเทศด้วยความซื่อสัตย์
5. มีผลประโยชน์ทับซ้อน :
คุณอาจมองไม่เห็นชัดๆ ว่าอะไรคือผลประโยชน์ทับซ้อน แต่ถ้ามองเห็นว่า การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ของตระกูลชินวัตรที่ผ่านมานั้นล้วนสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับคนในตระกูล พี่เขย พี่ชาย ญาติ คนสนิท เหล่านี้มิได้การันตีในฐานะคนคุณภาพหรือมีที่มาที่ไปอย่างถูกต้อง
หลายๆ ครั้งที่คนตระกูลนี้ข้ามหน้าข้ามตาประชาชนคนทั่วไปที่มีผลงานแต่นามสกุลหรือเส้นสายไม่ดัง ก็กลายเป็นเรื่องของความสนิท เล่นพรรคเล่นพวกไป
ตำแหน่งราชการ กลายเป็นรางวัลปูนบำเหน็จความดีความชอบส่วนตัว
พฤติกรรมเช่นนี้เป็นเรื่องเลวร้ายในการกร่อนทำลายระบบราชการและการคัดเลือกคนดี คนเก่งมาทำงาน แต่กลายเป็นระบบเส้นสาย ผลประโยชน์กลุ่มก๊วน
ยังมีอีกหลายโครงการ ที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน เช่นโครงการจัดการน้ำ หรือ พรบ.กู้เงิน 2 แสนล้านบาททหรือ ความพยายามที่จะแก้ไขกฎหมาย ร่างพรบ. นิรโทษกรรมที่มีสาระสำคัญย้อนความเวลาไปไกลถึงสมัยที่คุณทักษิณยังเป็นนายกรัฐมนตรี เหล่านี้คือภาพสะท้อนว่ารัฐบาลนี้นั้นแฝงไปด้วยผลประโยชน์ส่วนตัวที่ทึกทักเอาว่าเป็นผลประโยชน์ของชาติ
ทัศนคตินี้แทบกลายเป็นสันดานของตระกูลนี้ไปแล้ว
6. 2 มาตรฐานตัวจริง :
พรรคเพื่อไทยแสดงมาชัดเจนว่า ตนเองนั้นเป็นเจ้าของทฤษฏี 2 มาตรฐานตัวจริง เพราะไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดๆ นักการเมืองพรรคนี้สามารถตะแบง แถ สีข้างคูเอาตัวรอดด้วยเหตุผลตรรกะวิบัติไปได้เสมอ
คุณยิ่งลักษณ์ในฐานะนายกรัฐมนตรีก็เช่นกัน การให้สัมภาษณ์ของเธอต่อกระบวนการเข้าสู่การพิจารณาคดีศาล บางครั้งก็บอกให้ยึดมั่นกฎหมาย บางครั้งก้บอกให้ดูเจตนา บางครั้งก็บอกให้ยึดรัฐธรรมนูญ บางครั้งหรือบ่อยครั้งก็แหกรัฐธรรมนูญ
ตีความเข้าข้าง เอาความเข้าส่วนตัว โดยมิได้สนใจตัวบทกฎหมาย ระเบียบขั้นตอน
กลายเป็นว่าความผิดพลาดต่างๆ ในการบริหารประเทศนั้น ผิดพลาดข้ามขั้นตอนต่างๆ และกลายเป็นเรื่องทางเทคนิกที่ตนเองและคนใกล้ชิดรู้ไม่ทัน
อีกทั้ง คำพูดคำจาก็มิอาจถือเอาเป็นสิ่งสาระสำคัญใดๆ ได้จากปากเธอ
เป็นคนไม้หลักปักเลน ไม่มีความน่าเชื่อถือทางคำพูดใดเลย
ในทางกลับกัน เราเห้นวิธีการซ่อนเล่ห์เพ่อุบายมากมายในการบริหารจัดการที่ไร้ระเบียบวินัยทางการทุต การเมือง และการคลัง
การบริหารงานเต็มไปด้วยการใช้อำนาจตามอำเภอใจ อยากทำอะไรก็ได้ อ้างเสียงส่วนมากเพื่อแหกกฎระเบียบ อะไรไม่มีกฎเดิม ก้ออกกฎใหม่ อะไรทำผิดไป ก้ไปออกกฎย้อนหลังเพื่อทำให้ถูก
กลายเป็นรัฐบาลที่ทำทุกอย่างสีดำให้กลายเป็นขาว และก่นด่าว่าคนอื่นที่จับผิด ไม่มองเจตนา
7. ไม่มีความสง่าสมฐานานุรูป :
คงไม่ผิดจนเกินไปที่จะนั้นเป็นนายกรัฐมนตรีที่สร้างความอับอายที่สุดของประเทศไทย
นับว่าเป็นผู้นำที่มีภาพลักษณ์แย่ที่สุดตั้งแต่ตั้งประวัติศาตร์ชาติมาเลย
เธอภาษาอังกฤษไม่เก่ง เธอพูดในที่สาธารณะไม่ได้ เธอไม่รู้จักการวางตัวกริยาในฐานะนายกรัฐมนตรีที่เหมาะสม บทบาทท่าทางเดินเหิน การพูดจาปราศรัย มิได้บ่งชี้เลยว่าได้รับการอบรมศึกษามาอย่างดี
ว่าที่จริง, การวางมาด วางภาพ ท่าทางสุขุม เรียบร้อย สมฐานานุรูปนั้น เป็นเรื่องที่ผู้นำพึงระวัง เพราะอยู่ในที่สาธารณะ , ส่วนตัวที่บ้านจะเป้นอย่างไรก็ได้
แต่เมื่อใดที่ปรากฎกายต่อสาธารณะ พึงกระทำวางกายใจอย่างรอบคอบ
8. ไม่มีวาทะศิลป์ :
อย่างที่บอกไป ผู้นำหลายๆ ประเทศที่เก่งฉกาจเและน่าเคารพนับถือนั้น ล้วนมีทักษะการพูดที่เชี่ยวชาญทั้งสิ้น นั่นมิได้มาจากการมีทีมงานสร้างภาพลักษณ์ที่เขียนร่างบทสุนทรพจน์อันน่าเลื่อมใสให้
แต่มาจากหัวจิตหัวใจของคนเป็นผู้นำ ที่พูดออกมาจากใจมิใช่สมอง (สมองก็ต้องใช้ แต่มีหรือไม่?)
การพูดผิด พูดถูก พูดอ่านโพย ดูโพยอ่านผิดของเธอนั้น ไม่ใช่เรื่องตลก แต่มันคือความอับอายขายขี้หน้าของคนไทยทั้งประเทศที่ได้ผู้นำเช่นนี้
วาทะของเธอนั้น ตรงข้ามกับสายตาและสติปัญญาที่แสดงออกในฐานะนายกรัฐมนตรี หลายๆ ครั้งมันพิสูจน์ชัดว่าเธอไม่เข้าใจระบบการบริหารงานราชการแผ่นดินเลย
ความที่เธอไม่เคยเป็นนักการเมือง ไม่เคยลงสนามการเมือง ทำอาชีพนักการเมืองมาก่อน ทักษะต่างๆ นั้นเธอมิได้เคยสั่งสมประสบการณ์เอาเอง
9. ไม่มีอุดมการณ์ทางการเมือง :
คุณยิ่งลักษณ์มีอุดมการณ์ทางการเมืองใด?
ที่เป็นแก่นแกนนำบ่งชี้การทำงานของเธอหรือ
ใช่ประชาธิปไตยที่เธออ้างว่ามาจากการเลือกตั้ง?
ใช่การบริหารงานแบบประชาธิปไปตยที่ไม่ให้ใครตรวจสอบ?
ใช่การอยู่เพื่อรักษาประชาธิปไตย หรือ ตายคาสนามประชาธิปไตย?
ผมว่ามันดูออกจะเป็นเรื่องยาก
ในการศึกษา ค้นหา แก่นอุดมการณ์ทางการเมืองแบบประชาธิปไตย
ตามที่เธอกล่าวอ้าง เมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งที่เธอกระทำออกมาในฐานะนายกรัฐมนตรี
คนเสื้อแดงนปช. อาจรักเธอ แต่มันถูกต้องและเท่าเทียมเป็นธรรมต่อประชาชนทุกคนในประเทศโดยมากหรือ
อย่าสับสนนะครับ ระหว่าง การดำรงตัวตนยึดมั่นในแนวทางประชาะิปไตยกับวาทกรรมบอกรักประชาธิปไตย มันคนละเรื่องกัน
กลับกัน คุณยิ่งลักษณ์ในฐานะนายกรัฐมนตรี ยังไม่ได้กระทำตวว่ายึดมั่นแนวทางประชาธิปไตยใดๆ เลย ยิ่งเป็นสปิริตแบบนักการเมืองในแนวทางประชาธิปไตยแบบรู้แพ้ รู้ชนะแล้วนั้น ไม่มีเลย
10. ไม่มีความเห็นอกเห็นใจ :
ผมนึกขันทุกที ที่เห้นเธออ้างทุกอย่างของการกระทำเธอว่าทำไปเพื่อชาติ ปละประชาชน , โดยเฉพาะที่เธอพูดถึงคนจน รากหญ้า ชาวนา พี่น้องเกษตรกร หรือ พี่น้องประชาชนผู้รักประชาธิปไตย ทั้งๆ ที่เธอเองไม่พยายามแก้ไขปัญหาอย่างแท้จริงในหลายๆ โครงการประชานิยม
กลับกัน เธออ้างวาทะกรรมการโดนกลั่นแกล้งโจมตีทางการเมือง มาเป็นเครื่องมือต่อรองการไม่ช่วยเหลือชาวนา ประชาชนผู้เดือดร้อน
เอาความทุกข์ยากของพี่น้อง ประชาชนผู้เลือกเธอมาบริหารประเทศ มาเป้นตัวประกันการอยุ่รอดทางการเมืองของเธอเอง เพื่อรักษาอำนาจ เก้าอี้ ผลประโยชน์ของตนและพวกพ้อง
ผมว่าเธอไม่มีน้ำใจสักนิดในฐานะนายกรัฐมนตรี ที่มองเห็นความเดือดร้องของประชาชนเป้นเกมการเมือง หรือผลประโยชน์ต่อรองทางอำนาจ
ยังไม่นับว่าเธอเป็นคนจริงจัง จริงใจต่อพี่น้องประชาชนหรือไม่ หรือความซื่อสัตย์ต่อสาธารณะชน การไม่โกหก ไม่หลักลอย ไม่ตอแหล ซึ่งนั่นควรเป้นสันดานส่วนตัว แต่ก็ยังถุกแสดงให้เห็นในนิสัยส่วนรวมของคนเป็นนายกรัฐมนตรี
ความเสียสละส่วนตัวเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม เป้นสิ่งที่เธอ ในฐานะนายกรัฐมนตรี ไม่เคยแสดงมันออกมาเลย
คนเช่นนี้ไม่ควรให้มีอำนาจใหญ่เกินมือ เพราะย่อมมองไม่เห็นหัวใจและความทุกข์ยากของประชาชน
เสียงเลือกตั้ง อาจนำพาเธอเข้ามาอยู่ในตำแหน่งสูงสุดทางการเมืองได้
แต่เป็น "คุณสมบัติของความเป็นผู้นำ" ต่างหาก ที่เธอไม่มีค่าคู่ควรกับตำแหน่งนี้
คนเป็นนายกรัฐมนตรี ต้องมีธรรมาภิบาล และอุดมการณ์ทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ประเทศ หาใช่พวกพ้องของตนไม่
ไม่ใช่อำนาจศาลดอกที่ทำลายเธอ
แต่เป็นอำนาจของความดี ความชอบ ความถูกต้องต่างหากที่เธอพ่ายแพ้
อำนาจเลว ย่อมทำร้ายผู้นำเลว