Jump to content


Photo
* * * * * 1 votes

"ผมเป็นนักการเมืองมาตลอด 20 ปี อยากเรียกร้องว่านักการเมืองช่วยเสียสละได้ไหม ช่วงสั้นๆแค่ 5-6 เดือนให้บ้านเมืองเดินต่อได้"


  • Please log in to reply
6 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

    หน้าตาดี มีอุดมการณ์

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 21,670 posts

ตอบ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 16:22

*
POPULAR

คำพูดข้างบน เป็นของนักการเมืองคนหหนึ่ง ท่ามกลางกระแสเกลียดชังนักการเมือง และบอกว่านักการเมืองคือตัวชั่วร้าย ไม่มีดี ต้องกำจัดนักการเมืองให้หมดไปจากแผ่นดินไทย

 

http://www.oknation....4/05/14/entry-3

สรุปคำชี้แจงของคุณอภิสิทธิ์ กับที่ประชุมวุฒิสภา (นอกรอบ) ถึงแนวทางการหาทางออกให้กับประเทศ คัดลอกจาก Twitter : @FO_Abhisit ( https://twitter.com/FO_Abhisit )

 

ขอบคุณท่านประธาน และท่านสมาชิกที่ได้เปิดโอกาสแสดงความคิดเห็น และหวังว่าจะเป็นประโยชน์กับการดำเนินงานของท่านสมาชิก

ก่อนหน้าจะเสนอแผนทางออกให้กับประเทศ ยอมรับว่าไม่ได้เป็นกลาง และยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา ที่ทำให้บ้านเมืองมาถึงจุดนี้

ถ้านักการเมือง และกลุ่มอื่นๆยอมรับความจริงว่าเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา และพยายามมาเป็นส่วนหนึ่งของคำตอบ บ้านเมืองจะเดินไปได้

บ้านเมืองตอนนี้มีปัญหาหลายๆอย่าง ที่ไม่สามารถดำเนินการแก้ไขได้ทั้งปัญหาเศรษฐกิจของพี่น้องประชาชน ปัญหาของชาวนา ปัญหาเหล่านี้ รวมทั้งปัญหาทางการเมือง ถ้าปล่อยไว้ ก็จะสะสมความขัดแย้ง เพิ่มความเกลียดชังในสังคม

แผนที่ผมนำเสนอ ได้นำเสนอขณะที่คุณยิ่งลักษณ์ยังเป็นนายกอยู่ เพราะเห็นว่าคำตัดสินของศาลจะไม่นำมาสู่ทางออกที่ชัดเจนได้ ข้อเสนอของผมเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงความรุนแรง การแก้ปัญหาด้วยวิธีการนอกรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจทำให้ปัญหายุติชั่วคราว แต่จะปะทุขึ้นอีก ข้อเสนอของผม มีขึ้นก่อนคำตัดสินของศาล เพื่อต้องการให้สถาบันศาลอยู่เหนือความขัดแย้งทางการเมือง และสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอีกสถาบันสูงสุด ที่เราต้องระมัดระวังอย่างยิ่งที่จะไม่ให้ถูกนำมาสู่วังวนความขัดแย้ง

ผมไม่ได้เป็นกลาง มีความเห็นว่าบ้านเมืองควรเป็นอย่างไร เราต้องอยู่กับความเป็นจริง ถ้าแต่ละฝ่ายจะเอาตามที่เรียกร้อง ปัญหาไม่จบ

รัฐบาลเรียกร้องให้มีการเลือกตั้ง เดืนหน้าไปสู่การเลือกตั้งอย่างเดียว อาจหวังว่าจะกลับมามีอำนาจอีก แต่สถานการณ์ตอนนี้ ประชาชนจำนวนมาก สุญเสียความศรัทธาในตัวนักการเมืองไปแล้ว การทำให้การเลือกตั้งประสบความสำเร็จเป็นไปได้ยาก

กกต.ก็ยอมรับว่า อาจจะไม่สามารถจัดการเลือกตั้งให้ประสบความสำเร็จได้ ถ้าเราเดินหน้าก็จะสูญเสียงบประมาณ แต่ไม่เป็นทางออกให้ประเทศ พรรคการเมือง แม้แต่กกต.เองก็ลงพื้นที่บางพื้นที่ไม่ได้ เราจะมั่นใจได้อย่างไร ว่าจะมีการเลือกตั้งที่บริสุทธิยุติธรรม ถึงการเลือกตั้งผ่านไปได้ คนที่ต่อต้านก็ยังคงเดินหน้าต่อต้านต่อไป แล้วรัฐบาลหลังเลือกตั้งจะเดินต่อไปอย่างไร

ถ้าเราจะหาแนวทางที่ดีที่สุดให้บ้านเมือง ถ้าเกิดขึ้นจากความยินยอมพร้อมใจของทุกฝ่ายก็จะเป็นแนวทางที่ดีที่สุด
ผมไม่ได้มองว่าเป็นความเพ้อฝัน เพราะผมมองว่ามีจุดร่วมหลายๆอย่าง ที่จะเดินต่อไปได้

ว่าด้วยข้อกฎหมาย ตอนนี้เรามีรธน.มาตราไหนรองรับ ให้มีการจัดการเลือกตั้งหลังยุบสภา ถึง 6 เดือน เมื่อนายกฯว่างลง รธน.บอกให้สรรหาภายใน 30 วัน แต่ตอนนี้ไม่มีสภา ถ้าเราจะยกมาตราใดขึ้นมาเพียงมาตราเดียว ก็จะขัดทั้งนั้น

สถานการณ์ตอนนี้เราไม่สามารถใช้รัฐธรรมนุญตามตัวอักษรได้ แต่สามารถตีความตามเจตนารมณ์เพื่อให้ประเทศเดินไปได้

เราไม่สามารถเดินหน้าได้โดยไม่สนใจการปฏิรูปที่พี่น้องประชาชนออกมาเรียกร้อง เส้นทางที่จะเดินต้องผูกโยงกับการปฏิรูปทันที
เราต้องยอมรับว่าการปฏิรูปมีหลายเรื่อง ไม่สามารถสำเร็จได้ในระยะเวลาอันสั้น และอาจจะต้องมีการแก้กฎหมาย ซึ่งต้องรอหลังเลือกตั้ง

เราหนีไม่พ้นการเลือกตั้ง แต่ทำอย่างไรให้การเลือกตั้งบริสุทธิ์เที่ยงธรรม และไม่เป็นอุปสรรคแก่การปฏิรูป เราต้องสร้างความชอบธรรมให้กับการปฏิรูป และสร้างหลักประกันว่าการปฏิรูปจะไม่ล้มเหลว

ผมเสนอให้ทำประชามติใน 3 ประเด็น 1. สภาปฏิรูปต้องไม่มีนักการเมือง 2. กำหนดประเด็นการปฏิรูปหลักๆ 3. รัฐบาลต่อไปต้องสนับสนุนปฏิรูป


หลังทำประชามติ ผมเสนอกกต.ให้แก้ระเบียบ ขยายความคำว่าหลอกลวง ให้พรรคการเมืองสนับสนุนการปฏิรูป ถ้าไม่ทำถือว่าหลอกลวง โทษในการหลอกลวง ไม่ปฏิรูป นักการเมืองจะถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง ยุบพรรค ตามระเบียบของกกต.

ถ้าพรรคการเมืองจริงใจกับการปฏิรูป พรรคการเมืองต้องแสดงออกด้วยการกระทำระหว่างการรณรงค์ทำประชามติ เหมือนซ้อมใหญ่การเลือกตั้ง เป็นการลดอุณหภูมิความขัดแย้ง เพื่อเดินหน้าไปสู่การเลือกตั้ง

วันที่ผมเสนอ รัฐบาลยังอยู่ครบสมบูรณ์ แต่ตอนนี้มีข้อถกเถียงถึงความสมบูรณ์ของครม.มากมาย ต้องพูดความจริงกันว่า การจัดประชามติ จัดการเลือกตั้ง ต้องมีรัฐบาลที่ทุกฝ่ายไว้วางใจ ไม่ใช่รัฐบาลที่ดำรงตำแหน่งอยู่ตอนนี้

เหตุการณ์คล้ายๆกันนี้เคยเกิดขึ้นตอนปี 2549 วิธีคือคนที่อยู่ในตำแหน่งขณะนี้ ต้องเปิดทางให้กับประเทศ ลาออกโดยความสมัครใจ การสิ้นสุดความเป็นรมต.เฉพาะตัวอยู่ใน มาตรา 182 ตาย ลาออก ถูกศาลตัดสิน รัฐธรรมนูญห้ามไม่ได้ เป็นเอกสิทธิ์ ปี 2549 รองนายกฯ วิษณุ ลาออกจากการเป็นรองนายกฯรักษาการ ไม่เคยมีใครไปบอกว่าท่านทำผิดกฎหมาย

การขอให้ผู้มีตำแหน่งสละอำนาจ โดยไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นเป็นเรื่องยาก จึงต้องมาพูดกันให้ชัดว่าคนที่จะเข้ามาใหม่ทุกฝ่ายยอมรับ

การได้บุคคลที่เป็นที่ยอมรับ ต้องเกิดขึ้นก่อนการเดินหน้าแผนตรงนี้

รัฐบาลที่จะเข้ามาใหม่ จะมีหน้าที่เพียงแค่จัดการเลือกตั้งให้เรียบร้อย จัดกระบวนการปฏิรูปให้เดินหน้า ทำประชามติ การจะแก้กฏหมาย ยังไงก็ต้องรอให้มีสภานิติบัญญัติหลังการเลือกตั้ง กกต.เองยังบอกว่าเลือกตั้ง 20 ก.ค. อาจจะใช้เวลา 5-6 เดือนถึงจะได้ส.ส.ครบ แต่ถ้าท่านเสียสละตามแผนผม 4-5เดือนก็จะมีการเลือกตั้ง


ปัญหาในขณะนี้เคลื่อนไปสู่การนำความขัดแย้งไปสู่สถาบันพระมหากษัตริย์ ทำไมท่านจะเสียสละกันไม่ได้เพื่อปกป้องไม่นำสถาบันลงมา สิ่งที่ท่านสว.ทำอยู่ขณะนี้ แม้จะไม่เป็นทางการ ถือว่าเป็นการแสดงความรับผิดชอบในฐานะนักการเมือง ถึงแม้จะสำเร็จหรือไม่สำเร็จ การดำเนินงานของท่านอาจจะต้องมีความหลากหลายกว่าประชุมตรงนี้ เพราะการจะเชิญรัฐบาลมาตรงนี้เป็นเรื่องยาก อาจจะต้องสื่อสารวิธีอื่น การจะเชิญฝ่ายต่างๆมา โดยเฉพาะศาล ต้องระวังอย่าให้ท่านต่างๆนั้นต้องทำเกินอำนาจหน้าที่ กฎษฏีกา เรื่องสำคัญๆต้องเข้าที่ประชุมใหญ่ ท่านเหล่านั้นต้องมีบทบาท ต้องบอกว่าทำอะไรได้ตามกฎหมาย ไม่ใช่เอากม.มาเป็นอุปสรรค

สิ่งที่ผมเสนอ คงไม่ง่าย แต่ทุกเวลานาทีที่ผ่านไปคือความเสียโอกาสของประเทศ ความรวดเร็วสำคัญ ถ้าแนวทางนี้ไม่สำเร็จ ยังไงท่านก็ต้องตัดสินใจ หลังจากตัดสินใจแล้ว อาจจะมีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่ถ้าท่านปล่อยไป เราก็มองเห็นว่า สถานการณ์บ้านเมืองต่อไปจะไม่ได้แน่ เป็นกำลังใจให้ทุกท่านฝ่าฟันวิกฤตเพื่อคนไทยต่อไป


คุณอภิสิทธิ์ ตอบคำถามจากสมาชิกวุฒิสภา กรณีเดินสายพบปะกับฝ่ายต่างๆก่อนเสนอแผน และต่อข้อถามสำคัญว่านายกรัฐมนตรีคนใหม่จะมีที่มาอย่างไร

เห็นว่าประธานคณะกรรมการกฤษฎีกาที่มีอยู่หลายคณะ ควรจะออกมาให้ความเห็น เป็นคำตอบของสังคมว่าแนวทางไหนทำได้ สว.อาจประสานไปได้

ที่ผมเดินสายพบแต่ละกลุ่ม สอบทานว่าสิ่งที่ผมจะเสนอ สอดคล้องกับที่ท่านต่างๆคิดหรือไม่ เช่น เรื่องปฏิรูปได้สอบถามกับเครือข่ายปฏิรูป ก็เห็นสอดคล้องกันในเรื่องของประชามติ

เรื่องเลือกตั้ง กกต.กับพรรคการเมืองก็เห็นตรงกันว่า ถ้าเลือกตั้งช้าไปสักหน่อย แต่การเลือกตั้งเป็นไปได้อย่างเรียบร้อย ก็ยินดี

ทางผบ.สส. ก็วิเคราะห์สถานการณ์คล้ายกัน และอยากให้ฝ่ายการเมืองแก้ปัญหา พร้อมที่จะสนับสนุน

การจะเสนอนายกฯคนกลาง วิธีที่ดีที่สุดคือทำให้ผู้มีอำนาจปัจจุบันเปิดทาง เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยาต่อต้าน และผลกระทบต่อสถาบัน แต่จากมุมมองของผู้มีอำนาจ ถ้ามีนายกฯคนใหม่เค้าจะถามว่าจะเกิดอะไรขึ้นหลังจากนั้น ต้องคิดให้ครบก่อนตัดสินใจ

ฝ่ายรัฐบาลคงอยากรู้ว่าถ้าเค้าลุกออกไป จะมีเลือกตั้งเมื่อไหร่ ท่านจะตีความมาตรา 7 แค่ไหน ถ้าสังคมไม่รู้ก่อน ปัญหาจะเกิด

อีสานโพล ฐานเสียงสำคัญของรัฐบาล กับคำถามว่าถ้าสว.สรรหานายกฯคนกลางมาดำรงตำแหน่ง 1 ปี คนอีสาน 70% ตอบว่ายอมรับได้ ถ้ามีคำตอบว่ากี่เดือนจะกลับไปเลือกตั้ง คนที่เข้ามามีอำนาจจำกัดก็จะบอกได้ว่าไม่ใช่รัฐประหาร เป็นแนวทางชั่วคราวคลี่คลายสถานการณ์

ถ้าทำแล้ว ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน คนที่เข้ามาก็จะมีคำถามว่า เข้ามาแล้วทำอะไรได้บ้าง ทางสว.คงต้องมีคณะทำงานขึ้นมาดู

การจะดำเนินการไม่ใช่เริ่มจากมาตรา 7 แต่ให้เริ่มจากว่ารธน.ให้สรรหานายกฯใหม่ภายใน 30 วัน แต่ตอนนี้ไม่มีส.ส. ต้องเริ่มจากหลักว่าต้องมีการสรรหานายกฯ ซึ่งสำคัญกว่าคุณสมบัตินายกฯ และเทียบเคียงว่าใครควรจะทำหน้าที่สรรหานายกแทนสภาผู้แทนราษฎร

วันนี้ทำอะไรก็ถูกโจมตี ถ้ามีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่โจมตีท่านเลย คำตอบนั้นจะไม่ยั่งยืน เพราะจะมีอีกฝ่ายลุกขึ้นมาต่อต้าน ถ้าไม่ทำอะไรเลย ก็ต้องรับผิดชอบเหมือนกัน เพราะบ้านเมืองอาจจะไปสู่ จุดที่เราไม่อยากให้เป็น วันนี้ท่านจะประสบความสำเร็จ ท่านต้องทำให้เห็นว่าการตัดสินใจของท่าน เป็นการตัดสินใจของท่านเอง

สังคมวันนี้ แผนหนึ่งอาจจะเป็นที่ยอมรับได้ แต่ถ้าคิดว่าแผนนี้เป็นเพราะคนนี้เสนอ หรือทำตามคนนั้น อาจจะไม่เป็นที่ยอมรับ อยากเสนอแนะให้พบปะทุกฝ่ายให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่ถ้าไม่เกิดความยินยอมพร้อมใจ ท่านต้องตัดสินใจ

อยากวิงวอนไปถึงพี่น้องด้านนอกให้โอกาสวุฒิสภาได้ทำงานอย่างเป็นอิสระ เพราะถ้าสว.ถูกมองว่าเลือกข้างจะไม่ได้ทางออกที่เป็นที่ยอมรับ

เรื่องกรอบเวลา แผนที่ผมเสนอใช้เวลา 5-6 เดือน เนื่องจากประชามติไม่สามารถทำให้เร็วกว่า 90 วันได้ และต้องปูทางไปสู่การเลือกตั้ง

หัวใจในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ อยู่ที่ความมั่นใจในเสถีรยรภาพ ความแน่นอนทางการเมืองมากกว่าการมีพรบ.งบประมาณ เราเคยมีการเลือกตั้งในเดือนก.ย. และสามารถใช้กรอบงบประมาณเดิมไปได้

การออกเป็นพ.ร.ก. จะเป็นการรวบอำนาจไปอยู่ที่ฝ่ายบริหาร และอาจจะมีการโตัแย้งผ่านศาลรัฐธรรมนูญ หลังเลือกตั้ง เสียงข้ามมากคว่ำพ.ร.ก.ได้ การทำประชามติจะเป็นหลักประกันที่แน่นอนกว่า

ขอบเขตอำนาจของรองนายกที่ทำหน้าที่นายกในขณะนี้ จะไปดูแต่ระเบียบบริหารราชการไม่ได้ แต่ต้องไปดูเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญด้วย ปัญหาตอนนี้คือ ถ้าไม่สามารถมีนายกฯที่มีคุณสมบัติครบถ้วนได้ เราจะเลือกทางไหน

การประกาศงดใช้รธน.บางมาตรา จะมีข้อโต้แย้งมาก เพราะเป็นการใช้อำนาจนิติบัญญัติ สถานการณ์ตอนนี้ ไม่ใช่การงดใช้รธน.บางมาตรา แต่เป็นสถานการณ์ที่ไม่สามารถปฏิบัติตามลายลักษณ์อักษรได้ทุกตัว จึงต้องทำตามเจตนารมย์

การมีพระบรมราชโองการ ผู้รับผิดชอบคือผู้รับสนองพระบรมราชโองการ และมีพระราชดำรัชว่าต้องมีกฎหมายรองรับ
ดีที่สุด ไม่ควรเอาเรื่องที่มีความขัดแย้งรุนแรง ไปให้ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท ตอนที่รัฐบาลจะขอพระบรมราชวินิจฉัย อีกฝ่ายก็ออกมาค้านว่าทำไม่ได้ ตอนนี้พออีกฝ่ายจะทำ รัฐบาลก็ค้าน แสดงว่าทำได้แต่ไม่ควร เรื่องเหล่านี้ไม่เคยมีปัญหาเลยในอดีต แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีการนำเงื่อนไขทางการเมืองไปทำลายสถาบัน จึงละเอียดอ่อนมากขึ้น สมัยผมเป็นนายกฯ ผมพยายามหลีกเลี่ยง ไม่ให้ความขัดแย้งไปเกี่ยวข้องกับสถาบันแต่คนที่จ้องทำร้ายกลับบอกว่าทำไมสถาบันไม่มาเกี่ยวข้อง

การลงเลือกตั้งของประชาธิปัตย์ไม่เกี่ยวกับเงื่อนเวลา แต่อยู่ที่ว่าเลือกตั้งแล้วบ้านเมืองจะเรียบร้อย ประชาชนยอมรับการเลือกตั้ง ถ้าประชาธิปัตย์ไม่ยอมรับการเลือกตั้ง รัฐบาลยิ่งลักษณ์ไม่ทำงานมาได้สบาย 2 ปี พวกผมยกมือผ่านกฎหมายรัฐบาลมากกว่าฝ่ายค้านสมัยอื่น แต่ที่ประชาชนยอมรับไม่ได้คือความพยายามออกฏหมายนิรโทษกรรม การข่มขู่คุกคามคนเห็นต่าง

ปกติจะมีคนไปเลือกตั้ง 34 ล้านคน จากผู้มีสิทธ์ 40 กว่าล้านคน แต่เมื่อ 2 ก.พ. มีคนไปลงคะแนนเลือกพรรคการเมืองเพียง 14 ล้านคน การเลือกตั้งส.ว. ไม่มีการขัดขวางการเลือกตั้ง แต่มีคนไปลงคะแนนแค่ 16 ล้าน น้อยที่สุดตั้งแต่มีการเลือกส.ว.มา


ประชาชนเกิดวิกฤตศรัทธาต่อการเลือกตั้ง ถ้าประชาชนยอมรับการเลือกตั้ง ถึงประชาธิปัตย์ไม่ลง การเลือกตั้งก็ประสบความสำเร็จได้

แผนของผม หลายฝ่ายสามารถนำไปปรับปรุงแก้ไขได้ ท่านส.ว.มีโอกาสดีในการรวบรวมความเห็นฝ่ายต่างๆ ผมสนับสนุนเต็มที่

รัฐบาลแห่งชาติ ผมไม่คิดว่าเป็นคำตอบ เพราะแรงต่อต้านตอนนี้พุ่งไปยังนักการเมืองและพรรคการเมือง ถ้ามีรัฐบาลแห่งชาติ ประชาชนจะยิ่งมองว่า นักการเมืองทุกคนอยากได้อำนาจ
ปชป.เป็นฝ่ายค้านได้ ผมยอมเว้นวรรคถ้าแผนผมได้รับการยอมรับ

คำถามสำหรับประชามติ 1) ให้ปชช.เห็นชอบกับองค์กร ขับเคลื่อนการปฏิรูป 2) สิ่งที่องค์กรปฏิรูปจะต้องทำ 3) ให้รัฐบาลสนับสนุนปฏิรูป

อยากให้พรรคการเมืองแสดงออกเห็นด้วยกับแนวทางปฏิรูป เพราะถ้าขัดแย้งกันอีก ก็จะไม่นำไปสู่การร่วมกันปฏิรูป 

อยากให้ท่านส.ว.ตัดสินใจ เพราะถ้าปล่อยไปความขัดแย้งจะไม่จบ แต่จะลุกลามบานปลาย กระทบต่อประชาชนมากขึ้น สังคมเรายึดติดกับตัวบทกฎหมาย และพยายามเขียนทุกอย่าง หลักการบริหารสามารถมอบหมายงานได้ แต่ผู้รับมอบหมายจะใช้อำนาจอย่างจำกัด แต่ตอนนี้มีข้อโต้แย้งว่า ไม่มีนายกรัฐมนตรีแล้ว ไม่ใช่ว่ามีอยู่แต่ปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ และก่อนหน้านี้ครม.รักษาการก็มีอำนาจจำกัด
เห็นด้วยกับส.ว.บุญยืนว่า สภาพรัฐบาลตอนนี้บริหารประเทศได้หรือไม่ อยากให้ยอมรับความจริง แล้วมาหาทาออกร่วมกัน การจะเชิญรัฐบาลมาพูดคุยต้องเอาใจเค้ามาใส่ใจเราว่า ถ้าเปิดทางแล้วจะเกิดอะไรขึ้นในกรอบระยะเวลาเท่าไหร่ เพื่อให้เกิดความมั่นใจ

อีกทางหนึ่งก็ต้องเรียกร้องไปยังรัฐบาล ว่าท่านจะพิสูจน์ความจงรักภักดี โดยไม่ให้ปัญหานี้ไประคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทได้หรือไม่ ถ้าท่านยินยอมเปิดทาง ก็มาคุยกันว่าจะตกลงอะไรกันได้อย่างไรบ้าง การรักษาประชาธิปไตยต้องหลีกเลี่ยงความรุนแรง หลีกเลี่ยงการนำสถาบันมาสู่ความขัดแย้ง หลีกเลี่ยงการนำไปสู่การกระทำนอกรัฐธรรมนูญ


ผมเป็นนักการเมืองมาตลอด 20 ปี อยากเรียกร้องว่า นักการเมืองช่วยเสียสละได้ไหม ช่วงสั้นๆแค่ 5-6 เดือนให้บ้านเมืองเดินต่อได้.


gladiator 1.jpg

 

 

 

 

 

 


#2 55555

55555

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 13,795 posts

ตอบ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 18:10

ผมว่าเมื่อวานอภิสิทธิ์ชี้แจงดีน๊ะ

 

มีการยกหลักกฏหมาย ก่อนที่จะเข้ามาตรา 7 ด้วย

 

แต่ก็ยังคงไปติดหล่มอยู่ตรง ท่านรักษาการณ์ รักษาการณ์แทนท่านรักษาการณ์ นี่แหละ

 

ทิ้งท้่ายด้วยถ้า บรรดาท่านรักษาการณ์แทนท่านรักษาการณ์ไม่ยอมสละ วุฒิก็ต้องตัดสินใจ

 

:D 


Edited by 55555, 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 18:12.


#3 ธีรเดชน้อย

ธีรเดชน้อย

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,659 posts

ตอบ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 18:24

สุดท้ายก็ต้องนำข้อเสนอเดิม หาทางออกประเทศไทย มาพูดให้ฟังอีกครั้ง 

 

อภิสิทธิ์ยอมประกาศ เสียสละ ทางการเมืองแล้ว เพื่อไทยและขี้ข้าทักษิณยังไม่พูดเลยว่า จะยอมเสียสละ ?


" จุดเริ่มของการรัฐประหาร 22 พ.ค. 2557 หลังจากรัฐบาลเพื่อไทยได้บริหารประเทศล้มเหลวมาตลอด 2 ปีเศษ มีการทุจริตคอรัปชั่นมากมาย มีการนำพรบ.นิรโทษกรรมมาอนุมัติผ่านสภาฯเพื่อช่วยเหลือ น.ช. ทักษิณ ทำให้มวลมหาประชาชนลุกขึ้นประท้วงต่อต้าน แม้จนกระทั่ง ศาลรัฐธรรมนูญและปปช. ได้ตัดสินและชี้มูลความผิดจนต้องพ้นออกจากตำแหน่งแล้วก็ตาม ทำให้ประเทศชาติต้องหยุดนิ่ง สุดท้ายเมื่อ พลเอก ประยุทธ ผบ.ทบ.ได้เรียกทุกฝ่ายเข้ามาคุยเพื่อหาทางออกแล้ว โดยขอให้ ครม.ที่ยังคงเหลือลาออกเพื่อตั้งนายกฯเพื่อการปฎิรูปประเทศ แต่ไร้ซึ่งการตอบสนองและการเสียสละ ทำให้พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา จำเป็นต้องประกาศยึดอำนาจ   "

 

 


#4 Et tu Brute?

Et tu Brute?

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,529 posts

ตอบ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 18:31

คนใช้ทักสินก็บอกว่า ผมจะเสียสละด้วยการกอดเก้าอี้รักษาการแทนนายกรักษาการแทนนายก

ตายคาติ้ปไตย ถึงประเทศจะตายห่านไปด้วยก็ยอม (เพื่อติ้ปตัย)


It's us against the world


#5 ปุถุชน

ปุถุชน

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 27,531 posts

ตอบ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 23:33

คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะพูดถึง นายกฯ มาตรา 7 หรือ นายกฯพระราชทาน...

พูดถึงในหลวงทรงพูดถึง นายกฯ มาตรา 7 อย่างไร....

 

พูดถึงว่าในหลวงทรงบอกว่า.....

จำเป็นจริงๆ ก็จะทำให้......!

 

 

ได้ยินอย่างที่ผมได้ยินไหมเอ่ย........ฮ่า ฮ่า อ่า ฮ่า


เคียงข้างลุงกำนัน ปฏิรูปการเมืองไทย กำจัดระบอบทักษิณ ขับไล่มวลหมู่ขี้ข้า วันที่ 26 พฤษภาคม 2557...


#6 Suraphan07

Suraphan07

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,016 posts

ตอบ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 09:24

ผมชอบกลอนบทนี้ ของ อ.เนาวรัตน์ ครับ...

 

หลีกทางให้ ประชาชน.jpg

http://www.naewna.com/politic/103514



#7 ParaDon

ParaDon

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,946 posts

ตอบ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 11:41

qqdiz.jpg

 

ท่านผึ้งฯ ยังคาดหวังกับนักการเมืองอยู่อีกหรือครับ

 

สำหรับผมมันจบไปนานแล้ว  เพราะประเทศไทยเปรียบเหมือนขนมเค็ก  ;)


Edited by ParaDon, 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 11:44.

" รัฐธรรมนูญไม่มีมาตราใด อนุญาติให้รัฐบาลที่มาจากประชาธิปไตย โกงบ้านกินเมืองได้โดยไม่ผิดกกหมาย "





ผู้ใช้ 1 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 1 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน