
ใครคือผู้รับผิดชอบตามกฏหมายในการใช้อำนาจของศอ.รส.?
#1
ตอบ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 00:13
#2
ตอบ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 08:51
อยากรู้ด้วย
ดัน
Making you happy is not my priority! - Michael Yon
#3
ตอบ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 08:54
พอๆกับ DSI ยิ่งใหญ่สุด ๆ ในสามโลกแล้ว
"ความดี กับ ความเลว
ความจริง กับ คำโกหก
ความถูกต้อง กับ การทำผิดกฎหมาย"
ถ้าเกิดเป็น คน ไม่ได้เกิดเป็น ควาย มันไม่ต้องให้ทายหรอก ว่าจะเลือกอย่างไหน
#4
ตอบ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 09:08
ขออนุญาต จขกท. นำเนื้อข่าวฉบับเต็มมาลงครับ
โฆษกปชป. กล่าวถึง ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย ( ศอ.รส.) ว่า การทำงานของ ศอ.รส. ที่ผ่านมานั้น ไม่ได้เป็นการรักษาความสงบ แต่เป็นการทำงานเพื่อปกป้องรัฐบาล และใช้ทรัพยากรของรัฐในการออกแถลงการณ์ข่มขู่โครงสร้างหลักของสังคมไทย เช่น ตุลาการ สถาบันกระบวนการยุติธรรม และองค์กรอิสระ
ทั้งนี้นายชวนนท์ได้ตั้งข้อสังเกตถึง คำสั่งของกองอำนวยการรักษาความมั่งคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ซึ่งเป็นผู้ที่มีอำนาจในการแต่งตั้งผู้ดูแลการทำงานของศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย ( ศอ.รส.) ซึ่งในคำสั่งข้อที่ 1 ระบุว่า ให้ ศอ.รส.จัดตั้งเป็นหน่วยขึ้นตรงต่อ กอ.รมน. ทำหน้าที่ป้องกันและปราบปรามยับยั้งแก้ไขบรรเทาเหตุอันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรของพื้นที่ กทม. นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ บางส่วน ตั้งแต่ 19 มี.ค. – 30 เม.ย. 2557 และข้อ 2. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเป็นผู้อำนวยการ ศอ.รส. โดยให้เป็นผู้ที่มีอำนาจหน้าที่แทนผู้ที่อำนวยการกอ.รมน.ในการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติภารกิจข้างต้นได้
ดังนั้น ตั้งแต่ 8 พ.ค. ที่ผ่านมา ศอ.รส.จึงเป็นศูนย์เถื่อน เพราะเมื่อนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พ้นสภาพความเป็นนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีส่วนหนึ่ง รวมไปถึง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ที่ดำรงตำแหน่งรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานขณะนั้นจะต้องพ้นสภาพไปด้วย ดังนั้นจึงไม่มีอำนาจแต่งตั้งตามประกาศของ กอ.รมน. แต่อย่างใด “ได้มีการตรวจสอบมติครม.วันที่ 8 พ.ค. ว่าอำนาจผู้ดูแล ศอ.รส. ที่อยู่ในมือของนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รักษาการรองนายกรัฐมนตรี และ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ถูกย้ายไปอยู่ในมือนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รักษาการรองนายกรัฐมนตรี แต่ไม่มีการระบุถึงผู้รับผิดชอบงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานอย่างชัดเจน” โฆษกพรรคประชาธิปัตย์กล่าว
นายชวนนท์กล่าวอีกว่า ในส่วนของนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ที่เข้ามาดำรงตำแหน่งเลขานุการ ศอ.รส. ตนก็ยังไม่เห็นมีคำสั่งแต่งตั้งแต่อย่างใด จึงขอเตือนไปยังข้าราชการที่ปฏิบัติงานใน ศอ.รส. หากยังรับคำสั่งของศอ.รส. ในขณะนี้ อาจเป็นการกำลังปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญามมาตรา 157 เพราะรับคำสั่งเถื่อน กับผู้ที่ไม่มีอำนาจในการสั่งการตามโครงสร้างของ ศอ.รส. พรรคประชาธิปัตย์จะให้ทีมกฎหมายดำเนินการศึกษาในรายละเอียดของคำสั่งต่างๆ และหากตรวจสอบได้ว่าคำสั่งเป็นการกระทำเกินขอบเขตอำนาจหน้าที่หรือคำสั่งเถื่อน จะมีการร้องศาลอาญาในกรณีประพฤติผิดตามมาตรา 157 กับนายธาริต เพ็งดิษฐ์ ทันที
" จุดเริ่มของการรัฐประหาร 22 พ.ค. 2557 หลังจากรัฐบาลเพื่อไทยได้บริหารประเทศล้มเหลวมาตลอด 2 ปีเศษ มีการทุจริตคอรัปชั่นมากมาย มีการนำพรบ.นิรโทษกรรมมาอนุมัติผ่านสภาฯเพื่อช่วยเหลือ น.ช. ทักษิณ ทำให้มวลมหาประชาชนลุกขึ้นประท้วงต่อต้าน แม้จนกระทั่ง ศาลรัฐธรรมนูญและปปช. ได้ตัดสินและชี้มูลความผิดจนต้องพ้นออกจากตำแหน่งแล้วก็ตาม ทำให้ประเทศชาติต้องหยุดนิ่ง สุดท้ายเมื่อ พลเอก ประยุทธ ผบ.ทบ.ได้เรียกทุกฝ่ายเข้ามาคุยเพื่อหาทางออกแล้ว โดยขอให้ ครม.ที่ยังคงเหลือลาออกเพื่อตั้งนายกฯเพื่อการปฎิรูปประเทศ แต่ไร้ซึ่งการตอบสนองและการเสียสละ ทำให้พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา จำเป็นต้องประกาศยึดอำนาจ "
ผู้ใช้ 1 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้
สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 1 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน