Jump to content


Photo
- - - - -

"" ผ่า 2 แนวทางหลังกฏอัยการศึก ""


  • Please log in to reply
2 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 อย่าหลอกตัวเอง

อย่าหลอกตัวเอง

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,850 posts

ตอบ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 13:32

ผ่า2แนวทางหลัง'กฎอัยการศึก' ผ่า2แนวทางหลัง'กฎอัยการศึก' ยึดกรอบรธน.หรือเดินเลยกรอบ! : ทีมข่าวความมั่นคงรายงาน

               แถลงการณ์ 7 ข้อของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ถือเป็นการส่งสัญญาณที่ชัดเจนที่สุดของกองทัพว่า ทหารคงไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากการใช้กำลังเต็มรูปแบบ และบังคับใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาด หากเกิดการปะทะจนถึงขั้นจลาจลนองเลือด

               กระนั้นการออกมาส่งสัญญาณสีเขียวเข้มของ ผบ.ทบ.ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก เพราะในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา ผบ.ทบ.ได้ออกมา "ปราม" การเคลื่อนไหวของแต่ละฝ่ายมาโดยตลอดว่า กองทัพพร้อมออกมาควบคุมสถานการณ์หากเกิดความรุนแรงขึ้น

               แต่ครั้งไหนก็คงไม่แรง และชัดเจนเท่าครั้งนี้ ท่ามกลางการประกาศ "ยกระดับ" ของมวลชนทั้งสองฝ่ายในช่วง 2-3 วันนี้ และหลังจากเหตุการณ์ระเบิดเอ็ม 79 และกระสุนปืนเอ็ม 16 คร่าชีวิตผู้ชุมนุม กปปส.3 ศพ บาดเจ็บอีก 20 กว่าชีวิต

               เหตุการณ์ความรุนแรงที่ยกระดับขึ้นอย่างต่อเนื่องแสดงให้เห็นว่า การเล่นบท "นักการทูต" ของกองทัพที่เชิญทุกฝ่ายมาหาทางออกตลอด 6 เดือนที่ผ่านมาไม่เป็นผล

               ดังนั้นกองทัพจึงต้องกลับมายืนอยู่ในบทบาทที่เป็นตัวของตัวเองมากที่สุด คือ ทหารที่มีภารกิจเพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และประชาชน

               การขยับตัวครั้งล่าสุดเกิดขึ้นท่ามกลางสถานการณ์ที่ร้อนแรงอย่างที่สุด โดยที่กองทัพประเมินแล้วว่า รัฐบาลไม่สามารถดูแลความปลอดภัยของประชาชนได้ ซ้ำยังมีปัญหาเรื่องสถานะที่ยังไม่มีความชัดเจน ขณะที่แนวทางของวุฒิสภานั้นก็อาจจะแก้ปัญหาได้ไม่สำเร็จ

               ประเด็นเรื่องความไม่ชัดเจนในเรื่องอำนาจของรัฐบาล โดยเฉพาะอำนาจด้านความมั่นคงในโครงสร้างของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ราชอาณาจักร (กอ.รมน.) เป็นคำถามมาตั้งแต่การพ้นจากตำแหน่งนายกฯ และรมว.กลาโหม ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

               ก่อนหน้านี้ กอ.รมน.พยายามตั้งคำถามถึงความชัดเจนในตำแหน่งประธาน ศอ.รส. ของ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ต่างประเทศ และร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.แรงงาน ในฐานะผอ.ศอ.รส.ว่า ยังมีอำนาจสั่งการในศอ.รส. หรือไม่ หลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่งไปพร้อมกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เพราะหากยังไม่มีความชัดเจน เจ้าหน้าที่คงไม่กล้าปฏิบัติตามคำสั่ง

               ต่อมา กอ.รมน.ยังทำหนังสือถามไปยังกฤษฎีกา และกกต. เพื่อขอให้ความชัดเจนว่า นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี มีอำนาจเป็นรักษาราชการแทน ผอ.รมน.หรือไม่ แต่ก็ยังไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจนกลับมา

               ปัญหาคือ ในเมื่อไม่มีความชัดเจนในตำแหน่ง ผอ.รมน. การปฏิบัติหน้าที่ภายใต้โครงสร้าง กอ.รมน. ที่มีอำนาจบังคับใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง จะเป็นคำถามทันทีว่า ใครมีอำนาจสูงสุด เพราะผบ.ทบ.ก็มีสถานะเป็น "รองผอ.รมน." โดยตำแหน่งอยู่แล้ว

               กองทัพจึงอยากเคลียร์ประเด็นนี้ เพราะในยามที่ต้องใช้อำนาจตามกฎหมายจริงจะได้ไม่เกิดความลักลั่นว่า ใครกันแน่ที่มีอำนาจเต็ม เพราะสถานการณ์ขณะนี้ถือว่า "รอไม่ได้" เพราะแกนนำผู้ชุมนุมทั้ง 2 ฝ่ายต่างพยายามปลุกเร้าอารมณ์มวลชนอย่างเต็มที่

               ท่ามกลางกระแสข่าวว่า ทาง ผบ.เหล่าทัพได้นัด "ประชุมลับ" เพื่อหาทางรับมือสถานการณ์รุนแรงที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้น

               สำหรับแนวทางที่มีการพูดคุยกัน คือ อาจมีการประกาศใช้ "กฎอัยการศึก" เพื่อนำมาแก้ไขสถานการณ์ เพราะหากมีกฎอัยการศึกจะทำให้ทหารมีอำนาจทั้งหมดเหนือพลเรือน

               ที่สำคัญ คือ หากมีผู้ได้รับผลกระทบ หรือกระทำผิดภายใต้กฎอัยการศึกจะไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียได้ ดังคำแถลงผ่าน พ.อ.วินธัย สุวารี รองโฆษกกองทัพบก ซึ่งตีความได้อย่างเดียวคือ การปฏิบัติงานภายใต้กฎอัยการศึกนั่นเอง

               นอกจากนี้ยังมีการประเมินกันว่า สถานการณ์หลังการประกาศใช้กฎอัยการศึกแล้ว อาจจำเป็นต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาของประเทศใน 2 แนวทางหลัก ซึ่งคงต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในขณะนั้นด้วย

               แนวทางที่ 1 การดำเนินการภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญปัจจุบัน โดยหลังจากกองทัพเข้ามาแก้ไขปัญหาแล้วก็ปล่อยให้องค์กรต่างๆ เช่น วุฒิสภา ดำเนินการแสวงหาทางออกประเทศด้วยการพูดคุยเจรจาหาทางออกกันต่อไป

               แนวทางที่ 2 หากสภาวะแวดล้อมยังไม่เอื้ออำนวยให้ดำเนินการตามแนวทางในรัฐธรรมนูญก็อาจจำ เป็นต้อง "ฉีกรัฐธรรมนูญ" ทิ้ง โดยกองทัพจะเป็นผู้ดำเนินการเองทั้งหมด เพราะหากไม่มีการฉีกรัฐธรรมนูญก็จะมีปัญหาในการดำเนินการหลังจากนั้น

               กองทัพมองว่า ขณะนี้มีความพยายามของบางฝ่ายในการลากดึงกองทัพเข้ามาเป็น "คู่กรณี" กับประชาชน และมีการสังหารประชาชนผู้บริสุทธิ์เพื่อยกระดับความขัดแย้งเพื่อให้บรรลุ เป้าหมายของฝ่ายตน

               กองทัพจึงต้องหาทางรับมือสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นภายในช่วง 2-3 วันนี้ ขณะที่แถลงการณ์ 7 ข้อของ ผบ.ทบ.ไม่ได้มีนัยอะไร นอกจากการประเมินสถานการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้น รวมทั้งต้องการแสดงจุดยืนของกองทัพต่อสถานการณ์ของประเทศในขณะนี้

               วงในกองทัพชี้ว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในเวลานี้แสดงให้เห็นชัดเจนว่า รัฐบาลไม่สามารถขับเคลื่อนในการแก้ไขปัญหาได้ เพราะแม้แต่ นายนิวัฒน์ธำรง ในฐานะปฏิบัติหน้าที่แทนนายกฯ ก็ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องสถานะ

               โดยเฉพาะอำนาจในฐานะ "ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกฯ" และรักษาราชการแทน ผอ.รมน. เพราะหากจะเทียบเคียงกับการพ้นตำแหน่งนายกฯ ในสมัย นายสมัคร สุนทรเวช และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เมื่อปี 2551 จะมีความแตกต่างกันในประเด็นสำคัญ

               กล่าวคือ นายสมัคร และนายสมชาย พ้นจากตำแหน่งตามคำพิพากษาของศาลในระหว่างที่ยังไม่ "ยุบสภา" จึงสามารถใช้กลไกของสภาผู้แทนฯ แต่งตั้งนายกฯ ได้ และสามารถแต่งตั้งรักษาการนายกฯ ไปจนกว่าจะมีนายกฯ คนใหม่ได้

               ทว่า กรณีนายนิวัฒน์ธำรงปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างการยุบสภา และศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเดิมเท่านั้น คือ "รองนายกรัฐมนตรี" และรมว.พาณิชย์ ไม่สามารถใช้อำนาจในฐานะนายกรัฐมนตรีได้

               ดังนั้น การอ้างว่านายนิวัฒน์ธำรงสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยอาศัย พ.ร.บ.ระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน จึงไม่สามารถทำได้ เพราะรัฐธรรมนูญไม่เปิดช่องเอาไว้ และไม่สามารถที่จะใช้กฎหมายที่มีศักดิ์เป็นรองมาไว้เหนือกฎหมายสูงสุดอย่าง รัฐธรรมนูญได้

               สรุปก็คือ นายนิวัฒน์ธำรงไม่สามารถใช้อำนาจในฐานะนายกฯ ได้ และหากมีการใช้อำนาจก็อาจมีความผิดตามกฎหมายหากมีผู้นำกรณีไปฟ้องร้องในภาย หลัง และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติตามคำสั่งก็จะมีความผิดตามไปด้วย

               วงในกองทัพยังมองถึงแนวทางการหาทางออกประเทศของวุฒิสภาในขณะนี้ด้วยว่า อาจจะไม่ประสบผลสำเร็จในบั้นปลาย เพราะอาจติดขัดปัญหาตามกรอบของกฎหมาย และรัฐธรรมนูญ

               ดังนั้น หากแนวทางที่ผ่านมาไม่สามารถผ่าทางตันของประเทศได้ กองทัพก็มีความจำเป็นที่จะต้องเข้ามาแก้ไขปัญหา โดยอาจต้องมีการจัดตั้ง "สภานิติบัญญัติ" ขึ้นมาทำหน้าที่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน

               อย่างไรก็ตาม ก็ต้องมองถึงผลกระทบที่จะตามมากับองค์กรตามรัฐธรรมนูญ เช่น กกต. ป.ป.ช. หรือศาลรัฐธรรมนูญ ด้วย เนื่องจากแนวทางเดิมอย่างการจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิด ความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) เมื่อปี 2549 ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้

               ทั้งนี้ กองทัพยังสั่งการให้จับตาการตั้ง "กองกำลัง" ในหลายจังหวัด เช่น นครราชสีมา เชียงใหม่ แพร่ กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ฯลฯ เป็นกรณีพิเศษ เพราะมองว่ามีแนวโน้มที่จะกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ

               สำหรับแนวทางการประกาศใช้กฎอัยการศึกเพื่อควบคุมสถานการณ์นั้น ผบ.ทบ.สามารถมอบหมายสั่งการให้นายทหารระดับสูงดำเนินการแทนได้

               อาทิ หากต้องการประกาศใช้ครอบคลุมพื้นที่ กทม.และปริมณฑล อาจมอบหมายให้ พล.ท.ธีรชัย นาควานิช แม่ทัพภาคที่ 1 เป็นผู้ประกาศ

               หรือหากต้องการประกาศใช้เฉพาะพื้นที่ กทม.อาจมอบหมายให้ พล.ต.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ เป็นผู้ประกาศ เป็นต้น

               จากแนวโน้มของสถานการณ์ และแนวทางของกองทัพที่กล่าวมาทั้งหมด แสดงให้เห็นว่า กองทัพพยายามยึดกรอบของ "กฎหมาย" ในการควบคุมดูแลภารกิจด้านความมั่นคงของประเทศอย่างรอบคอบ หลังจากแนวทางการเจรจา 6 เดือนที่ผ่านมาไม่ประสบผลสำเร็จ

               แต่ถ้าสถานการณ์ไปไกลเกินกว่ากรอบกฎหมาย และรัฐธรรมนูญของประเทศ ถึงขั้นนั้นก็อาจจะเป็นการบีบบังคับให้กองทัพจำเป็นต้องเดินออก "นอกกรอบ" ของกฎหมาย และรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น เว้นเสียแต่ว่าทางเลือกถูกปิดลงทุกทางจริงๆ

 

 

http://www.komchadlu...517/184817.html

 

 

 

Attached Images

  • ai.jpg

Edited by อย่าหลอกตัวเอง, 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 13:32.

แดงกลายพันธุ์  แดงลอยคอกลางทะเล  กำลังดิ้นเฮือกสุดท้าย  อาการจะเป็นอย่างไร  รอดูกันไปครับ


#2 อย่าหลอกตัวเอง

อย่าหลอกตัวเอง

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,850 posts

ตอบ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 13:38

วงในกองทัพชี้ว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในเวลานี้แสดงให้เห็นชัดเจนว่า รัฐบาลไม่สามารถขับเคลื่อนในการแก้ไขปัญหาได้ เพราะแม้แต่ นายนิวัฒน์ธำรง ในฐานะปฏิบัติหน้าที่แทนนายกฯ ก็ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องสถานะ

               โดยเฉพาะอำนาจในฐานะ "ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกฯ" และรักษาราชการแทน ผอ.รมน. เพราะหากจะเทียบเคียงกับการพ้นตำแหน่งนายกฯ ในสมัย นายสมัคร สุนทรเวช และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เมื่อปี 2551 จะมีความแตกต่างกันในประเด็นสำคัญ

               กล่าวคือ นายสมัคร และนายสมชาย พ้นจากตำแหน่งตามคำพิพากษาของศาลในระหว่างที่ยังไม่ "ยุบสภา" จึงสามารถใช้กลไกของสภาผู้แทนฯ แต่งตั้งนายกฯ ได้ และสามารถแต่งตั้งรักษาการนายกฯ ไปจนกว่าจะมีนายกฯ คนใหม่ได้

               ทว่า กรณีนายนิวัฒน์ธำรงปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างการยุบสภา และศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเดิมเท่านั้น คือ "รองนายกรัฐมนตรี" และรมว.พาณิชย์ ไม่สามารถใช้อำนาจในฐานะนายกรัฐมนตรีได้

               ดังนั้น การอ้างว่านายนิวัฒน์ธำรงสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยอาศัย พ.ร.บ.ระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน จึงไม่สามารถทำได้ เพราะรัฐธรรมนูญไม่เปิดช่องเอาไว้ และไม่สามารถที่จะใช้กฎหมายที่มีศักดิ์เป็นรองมาไว้เหนือกฎหมายสูงสุดอย่าง รัฐธรรมนูญได้

               สรุปก็คือ นายนิวัฒน์ธำรงไม่สามารถใช้อำนาจในฐานะนายกฯ ได้ และหากมีการใช้อำนาจก็อาจมีความผิดตามกฎหมายหากมีผู้นำกรณีไปฟ้องร้องในภาย หลัง และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติตามคำสั่งก็จะมีความผิดตามไปด้วย


แดงกลายพันธุ์  แดงลอยคอกลางทะเล  กำลังดิ้นเฮือกสุดท้าย  อาการจะเป็นอย่างไร  รอดูกันไปครับ


#3 หลวงประดิษฐ ดูมันทำ

หลวงประดิษฐ ดูมันทำ

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 836 posts

ตอบ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 13:47

ผมเป็นคนชอบอะไรแบบ mix ๆ เข้าด้วยกัน 

อาจจะเป็นไปได้ไม่มากก็น้อย ที่ทหารจะไม่ฉีกรัฐธรรมนูญ แต่ ๆ ๆ ๆ อาจจะออกบทเฉพาะกาลมาใช้ ประมาณช่วงระยะเวลาหนึ่ง

เพราะเคยมีการพูดถึงการงดใช้ รัฐธรรมนูญ บางมาตราได้ เช่นกัน ก็อาจจะงดใช้ทั้งฉบับได้ในระยะเวลาหนึ่งเช่นกัน 

แล้วอาจจะรวมไปถึง ออกบทเฉพาะกาลให้ วุฒิ มีอำนาจเต็มในการบริหารราชการแผ่นดินเสียด้วย

อันนี้ผม มโน เอาน่ะครับ แต่ถึงจะมโน ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้อ่ะครับ  :rolleyes:
  :rolleyes: 
 


คนที่อยากเลือกตั้ง ก็ไม่ต่างอะไรกับ คนที่ต้องการมี เพศสัมพันธ์ ????? ต่อให้เค้ารู้ว่าเมื่อเลือกไปก็เกิดปัญหา

ซึ่งก็ไม่ต่างอะไรกับกับการที่มีเพศสัมพันธ์ทั้ง ๆ ที่รู้ว่า กำลัง อึ๊-บ ปี๊ กับคนที่เป็นเอดส์
 





ผู้ใช้ 0 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 0 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน